ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    หลักสากลของการภาวนา #2

    <TABLE width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2 height=10>หน้าที่ 2</TD></TR><TR><TD colSpan=2><DD>การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาคือการบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๖ อันเกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดาของเรา ซึ่งเป็นความจำเป็นและเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อเรามีความเคารพนับถือในท่านผู้ใด เราก็ต้องยกย่องท่านผู้นั้นว่าเป็นบุคคลสำคัญของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธเจ้า เป็นผู้ชี้ช่องทางแสงสว่างในด้านธรรมะ เราก็ย่อมมีความเคารพบูชาในพระองค์ท่านเป็นอย่างมาก เมื่อถึงวันสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์ เราก็จะต้องมีพิธีกรรมคือการบูชาเป็นเครื่องระลึกถึงพระองค์ท่าน และอีกอย่างหนึ่ง พระพุทธองค์ท่านนั้นเป็นบุคคลที่อยู่ในฐานะที่แปลก ที่แปลกนั้นก็เพราะเหตุว่า พระพุทธเจ้าประสูติในวันเพ็ญเดือน ๖ ตรัสรู้คือสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในวันเพ็ญ เดือน ๖ และปรินิพพานคือตายในวันเพ็ญ เดือน ๖ ซึ่งในโลกนี้จะหาบุคคลใดที่มีวันเกิด วันสำเร็จวิชาการ และวันตายตรงกันอย่างพระพุทธเจ้านั้นย่อมหาได้โดยยาก นี้เป็นเรื่องส่วนของพระองค์ <DD>ในฐานะที่เรานับถือพระองค์ท่านว่าเป็นพระบรมศาสดาของเรา เมื่อวันสำคัญเช่นนี้บรรจบครบรอบปีละครั้ง เราก็ทำพิธีระลึกถึงพระคุณของพระองค์ การที่เราจะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้านั้น เรามีบทสวดมนต์ที่เราสวดกันอยู่ทุกๆ วัน คือ</DD></TD></TR><TR><TD width=300><DD><DD>อิติปิ โส</DD></TD><TD width=300>แม้เพราะเหตุนี้</TD></TR><TR><TD width=300><DD><DD>ภควา</DD></TD><TD width=300>พระผู้มีพระภาคเจ้า</TD></TR><TR><TD width=300><DD><DD>อรหัง</DD></TD><TD width=300>เป็นพระอรหันต์ ผู้ไกลจากกิเลส</TD></TR><TR><TD width=300><DD><DD>สัมมาสัมพุทโธ</DD></TD><TD width=300>ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=300><DD><DD>วิชชาจรณสัมปันโน</DD></TD><TD width=300>ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือความประพฤติดี ประพฤติชอบ</TD></TR><TR><TD width=300><DD><DD>สุคโต</DD></TD><TD width=300>เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว</TD></TR><TR><TD width=300><DD><DD>โลกวิทู</DD></TD><TD width=300>เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลก</TD></TR><TR><TD width=300><DD><DD>อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ</DD></TD><TD width=300>พระองค์เป็นสารถีอันยอดเยี่ยม</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=300><DD><DD>สัตถา เทวมนุสสานัง</DD></TD><TD width=300>พระองค์เป็นศาสดาคือครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย </TD></TR><TR><TD colSpan=2><DD>การจะเข้าถึงพระคุณของพระพุทธเจ้านั้น ตามที่เราได้สมาทานพระไตรสรณคมน์ไปในเบื้องต้น คือ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก การถึงพระพุทธเจ้าเพียงการสวดมนต์เท่านั้น เป็นเพียงพิธีกระตุ้นเตือนให้เรามีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี แต่ที่เราจะเข้าถึงคุณของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงนั้นคือการบริกรรมภาวนาเป็นสำคัญ</DD></TD></TR><TR><TD colSpan=2><DD>ในเมื่อมากล่าวถึงการภาวนา การภาวนานั้นก็มีหลายแบบหลายอย่าง แม้แต่ผู้ให้การอบรมการสั่งสอนภาวนาก็ยังมีมติขัดแย้งกัน บางท่านก็ว่าแบบของข้าพเจ้านี่ดีวิเศษหนักหนา ของคนอื่นใช้ไม่ได้ อะไรทำนองนี้ ซึ่งเป็นการลำบากแก่ผู้ฝึกหัดภาวนาในเบื้องต้น ได้ยินได้ฟังแล้วไม่ทราบว่าจะเอาแบบไหนอย่างไรที่ควรจะยึดเอาเป็นแบบที่ถูกต้อง ผู้บรรยายขอให้ข้อแนะนำว่า การภาวนานั้น ใครจะภาวนาแบบไหน อย่างไร ในเมื่อจิตสงบลงเป็นสมาธิแล้วมีแนวโน้มไปในแนวเดียวกันหมด อย่าว่าแต่ชาวพุทธจะมาภาวนา แม้ในศาสนาอื่นๆ ที่เขามีการภาวนากัน เมื่อจิตสงบก็มีแนวโน้มไปในแนวเดียวกันหมด ชาวพุทธเราถือภาวนาว่า พุทโธๆๆ เมื่อจิตสงบลงไปแล้วก็มีอาการผ่านสมาธิตั้งแต่ขั้นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ในด้านศาสนาคริสต์ ถ้าเขามีการภาวนา เขาอาจระลึกถึงพระเป็นเจ้าของเขา เมื่อภาวนาแล้วก็มีแนวโน้มไปในแนวเดียวกันหมดเพราะเมื่อจิตเป็นสมาธินั้น มันเป็นความจริงอันหนึ่ง ในเมื่อจิตเป็นความจริง มันก็ต้องมีอยู่อันเดียว จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ จะแยกกันได้เฉพาะวิธีการเท่านั้น เช่น ในศาสนาพุทธของเรานั้น บางพวกก็สอนว่าให้ภาวนาพุทโธ บางพวกก็สอนว่าให้ภาวนายุบหนอ พองหนอ และทั้ง ๒ ลัทธิ ๒ แบบนี่ก็มีการขัดแย้งกัน ที่ขัดแย้งกันนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะเหตุว่าต่างฝ่ายต่างก็ภาวนาไม่เป็น ก็เกิดขัดแย้งกัน แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งเป็น ฝ่ายหนึ่งไม่เป็น ก็เกิดขัดแย้งกันอีก ถ้าต่างฝ่ายต่างภาวนาเป็น ทั้งสองฝ่ายจะไม่มีขัดแย้งกันเพราะแนวทางที่จิตเดินเข้าไปสู่สมาธินั้นมีลักษณะอย่างเดียวกันหมด อาศัย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เหมือนกันหมด เพราะฉะนั้น การที่จิตเป็นสมาธิหรือรู้ธรรมเห็นธรรมนั้นเหมือนกัน จะแตกต่างกันก็เฉพาะวิธีการเท่านั้น <DD>การภาวนานั้น หากใครภาวนาเป็นแล้ว ถ้าเป็นฆราวาสเกิดเบื่อครอบครัว อยากหนีครอบครัวก็ไม่ถูก ถ้าเป็นแม่บ้าน ภาวนาเป็นแล้วขี้เกียจหุงข้าวให้สามีรับประทานก็ไม่ถูก พ่อบ้านเมื่อภาวนาเป็นแล้วไม่เอาใจใส่ในครอบครัว มีแต่นั่งหลับตาภาวนาก็ไม่ถูก การภาวนาของพระพุทธเจ้านั้น ใครภาวนาเป็นแล้วจะต้องนำไปประยุกต์เข้ากับการงานและวิชาความรู้ทุกแขนง ใครเรียนวิชาการแพทย์ วิศวกรรม เกษตรกรรมอะไรก็ตาม เมื่อภาวนาเป็นแล้วจะไปประยุกต์เข้ากับวิชาการนั้นๆ หมด เกี่ยวกับเรื่องการงาน ถ้าใครภาวนาเป็นแล้วย่อมมีความหมั่นขยันเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในการประกอบการงานในหน้าที่ของตนเองนั้น เมื่อภาวนาแล้วขี้เกียจ ทำงานไม่เอาไหน ใช้ไม่ได้ อันนี้คือข้อสังเกตโดยทั่วๆ ไป ดังนั้น วิธีการปฏิบัตินั้น หากฟังพระเทศน์ไปมากๆ แล้วไม่ปฏิบัติ ก็ไม่เกิดผลเท่าที่ควร <DD>วิธีทำสมาธิง่ายๆ มีดังนี้ เช่นท่านทั้งหลายเป็นนักธุรกิจ การที่จะไปนั่งหลับตาบริกรรมภาวนา ๑-๒ ชั่วโมงอย่างพระที่ท่านว่างนั้นมันเป็นไปได้ยาก เมื่อผู้สนใจปฏิบัติ ได้ปฏิบัติตามหลักสากลทั่วๆ ไป คือท่านจะยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ได้กำหนดรู้ไปทุกอิริยาบถ จะทำอะไรตั้งใจทำ จะพูดอะไรตั้งใจพูด รู้ว่าเราพูดอยู่ จะคิดอะไรตั้งใจคิด รู้ว่าเราคิดอะไร และพร้อมๆ กันนั้นจะนึกภาวนาพุทโธๆๆ ไปด้วยก็ได้ หรือถ้าใครเคยภาวนาอะไร ก็ให้นึกบริกรรมภาวนาอันนั้น </DD></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2008
  2. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    หลักสากลของการภาวนา #3

    <TABLE width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    หน้าที่ 3


    [​IMG]





    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 height=10></TD></TR><TR><TD colSpan=2><DD>การบริกรรมภาวนาพุทโธนี้มีผลดีอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่าผู้ใดนึก พุทโธๆๆ ติดกันไม่ขาดระยะ ในช่วงที่ท่านนึกอยู่นั้นจะ ๑ นาที ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที เมื่อท่านนึกติดๆ กันไม่ขาด เมื่อจิตใจอยู่ที่พุทโธแล้ว ช่วงนั้นจิตใจของท่านจะไม่มีโอกาสส่งไปสร้างบาปกรรมอย่างอื่น และถ้าหากว่าท่านยึดพุทโธๆๆ จนชำนาญ จิตติดกับพุทโธ พุทโธติดกับจิตไม่พรากจากกัน แม้ว่าจิตของท่านไม่สงบก็ตาม แต่จิตของท่านก็ได้พรากจากอารมณ์อื่นๆ อันเป็นเครื่องวุ่นวายทั้งหลายมารวมอยู่ที่พุทโธเป็นส่วนมาก และเมื่อบริกรรมภาวนามากๆ เข้าจิตใจของท่านจะมีความสงบ และเมื่อเกิดเหตุอันตรายใดๆ ขึ้นมาโดยไม่รู้สึกตัว เพราะอาศัยการที่ท่านนึกพุทโธไว้จนชำนิชำนาญ จิตของท่านจะวิ่งเข้าหาพุทโธทันที พุทโธจะกลายเป็นอาคมของขลังป้องกันอันตรายนั้นได้ ตัวอย่างเช่น นายสิบตำรวจผู้หนึ่งไปประจำอยู่ที่ตำบลหนึ่งที่อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา เขามีธุรกิจต้องเดินทางเข้าตลาดทุกวัน แต่ละวันจะต้องขี่มอเตอร์ ์ไซค์ผ่านจุดอันตรายแถบผกค. และในขณะนั้นมีผู้ก่อการร้ายคนหนึ่งคอยดักยิงอยู่ตรงทางโค้ง บางวันเมื่อตำรวจคนนี้ขี่มอเตอร์ไซค์มา ผู้ก่อการร้ายมองเห็นพระซ้อนท้ายมาก็ไม่กล้ายิง บางครั้งได้ยินเสียงรถมอเตอร์ไซค์แต่ไม่เห็นตัวคน เรื่องนี้ผู้ก่อการร้ายมามอบตัวแล้วเล่าให้เจ้าหน้าที่ฟัง จึงได้เรียกตำรวจคนนั้นมาถาม ตำรวจตอบว่าได้ภาวนาพุทโธอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะไปไหน แม้เมื่อภาวนาพุทโธแล้วจิตไม่เคยสงบ แต่ก็ภาวนาไปอย่างนั้น คงเป็นเพราะภาวนาพุทโธจึงได้รอดพ้นอันตรายมา อันนี้แสดงว่าตำรวจผู้นั้นเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า และการภาวนาพุทโธอยู่เช่นนั้นยังเป็นอุบายให้จิตสงบนิ่ง เมื่อจิตสงบสว่างแล้วก็จะรู้สภาพความเป็นจริงของจิตดั้งเดิมของเราว่าเป็นอย่างไร และขณะอยู่ในความสงบนั้นมีความสุขเพียงใด เมื่อรับรู้อารมณ์ภายนอกแล้วทำให้เราเกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนแค่ไหน สิ่งเหล่านี้เป็นอุบายที่จะให้เรารู้ความจริงของชีวิตอย่างนี้ การบริกรรมภาวนาจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับชาวพุทธเรา </DD></TD></TR><TR><TD colSpan=2><DD>การฟังธรรมต้องฟังลงที่จิตใจ ความรู้สึกนึกคิดอยู่ที่ตรงไหน จิตใจก็อยู่ที่ตรงนั้น โดยธรรมชาติของจิตใจย่อมมีความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกนึกคิดของจิตใจเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ความรู้สึกนึกคิดที่ไม่มีสติประกอบเป็นพลังก็ใช้การไม่ได้ เพราะธรรมชาติของใจ แม้จะรู้สึกนึกคิด แต่ก็ไม่รู้อะไรดี อะไรชั่ว จะต้องมีสติเป็นเครื่องควบคุมความคิด เช่นอย่างคนวิกลจริต เราถือว่าคนเหล่านั้นเป็นคนขาดสติ ขาดสติจนถึงขนาดที่ทำให้เขาเป็นคนวิกลจริต เป็นจิตที่ไม่รู้สึกรับผิดชอบชั่วดี ถ้าดูๆ แล้วก็สบายเหมือนกัน เพราะแสดงออกมาโดยธรรมชาติที่ไม่มีระเบียบและจุดหมาย ไม่มีที่ต่ำที่สูง แต่ความรู้สึกนึกคิดแบบนั้น ผู้ยังมีความคิดและมีสติสัมปชัญญะไม่ชอบ เพราะเป็นสิ่งที่ไร้สาระ และไม่มีประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากคนวิกลจริตนั้นเลย เราจึงไม่ต้องการความคิดของคนวิกลจริต <DD>โดยธรรมชาติของจิตใจย่อมมีความรู้สึกนึกคิดเป็นธรรมดา และจะให้ความคิดอันนั้นเกิดประโยชน์ก็ต้องเอาสติมาควบคุม นักจิตวิทยาหรือนักปรัชญาเขาลงความเห็นว่าคนเราโดยทั่วไปนั้นมีความวิกลจริตอยู่ประมาณคนละ ๒๕% หรือบางคนอาจจะมากกว่านั้น ดังนั้น นักปรัชญาทั่วไปได้ค้นดูความจริงของคน ได้ค้นคิดดูความจริงของจิตใจ ท่านจึงได้วางแบบฉบับเพื่ออบรมฝึกฝนจิตใจเอาไว้ สิ่งนั้นถ้าจะว่ากันโดยทั่วๆ ไป ก็คือธรรมะ </DD></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2008
  3. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    นักเลงพระ

    <TABLE width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
    วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

    เกร็ดธรรม ตอน นักเลงพระ
    </TD></TR><TR><TD>เรื่องของนักเลงพระนี่หลวงพ่อก็ยังเคยโดน เมื่อก่อนมีคนเขาชอบให้พระหลวงพ่อมา เป็นของเก่าของแก่โบราณประจำตระกูล เขาให้มาก็เก็บเอาไว้ มีคนมาขอดู เขาบอกว่าพวกนี้มีแต่พระเก๊ แต่เก๊เขาก็อยากได้เขาออกปากขอ "โอ๊ย! ของเก๊ คุณอย่าเอาไปเลย" หลวงพ่อรู้ทัน "เอาอย่างนี้ คุณอยากได้ของฉันจริง ๆ ฉันไม่หวงหรอก บอกมาเลย ที่คุณดูอยู่นี่องค์ไหนดียอดเยี่ยมคุณดูแล้วพอใจบอกมาเลย ฉันจะหยิบให้คุณทันที" แกก็กราบขอโทษ ผมเล่นไม่ซื่อกับครูบาอาจารย์ "นั่นแหละ ทีหลังคุณอย่าไปทำอย่างนั้น คุณเล่นไม่ซื่อ คุณได้ไปแทนที่พระจะเป็นมงคลแก่คุณ กลับจะให้ความวิบัติแก่คุณ บอกมาเลยคุณต้องการองค์ไหน แต่ว่าคุณจะเอามากไม่ได้เพราะว่าลูกศิษย์ลูกหาญาติโยมฉันยังมีตั้งเยอะ นอกจากคุณแล้วเขายังจะมาขอฉันอีก" เขาก็หยิบองค์ที่ต้องการไป มาภายหลังเขาก็มาบอกว่า "พระที่หลวงพ่อให้ผมไป มีคนเขามาให้ผมตั้งห้าแสน" หลวงพ่อว่า "คุณอย่ามาคุย ฉันไม่เสียดายหรอก คุณอย่าเข้าใจว่าฉันไม่รู้นะ พวกคุณอย่างดีก็รู้แต่เพียงแค่ว่าพระนี้เนื้อผงเข้าแบบเข้าตำราเท่านั้น ส่วนทางในพวกคุณไม่รู้หรอก จะเป็นอะไรก็ตาม แม้แต่เปลือกหมากที่ฉันเจียนเอาเนื้อมันมาเคี้ยวแล้วฉันโยนไปมันก็ยังดีนะ"


    ขอขอบคุณแหล่งที่มา >>ClickHere<<
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE class=tborder id=post cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>พิช<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT>
    ผู้ร่วมสนับสนุนบริจาค

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 04:01 PM
    วันที่สมัคร: Mar 2007
    ข้อความ: 42
    Groans: 2
    Groaned at 0 Times in 0 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 211
    ได้รับอนุโมทนา 363 ครั้ง ใน 47 โพส
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_ style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ผมได้ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธโดยโอนเงินทำบุญให้แล้วเมื่อวานนี้(03/07/51เวลา15.49น.)จากบัญชี1210462 ธนาคารกรุงไทย เข้าบัญชี"ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร" บัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา หมายเลข348-1-23245-9 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาถนนวิภาวดีรังสิต จำนวน 999.00บาท
    (ขอโทษด้วยครับที่แจ้งทางPM หากระทู้ไม่เจอไม่ทราบหายไปไหน)













    เมื่อเช้าไป up สมุดธนาคารแล้ว ยังงงอยู่ว่าเงินโอนมาจากไหน เพราะไม่ได้รับการแจ้ง มาคราวนี้ได้รู้แล้วว่ามาจากใคร ก็ขอโมทนาบุญด้วยครับ

    พันวฤทธิ์
    4/7/51

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 color="#000000"><TBODY><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=80>
    มหาชนก ๒



    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=40></TD></TR><TR><TD width="100%"><TABLE borderColor=#663300 width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff><CENTER>[​IMG]</CENTER>[COLOR=#00000]เมื่อขึ้นเกวียนเพราะความเหนื่อยและเพลียในการที่ระหกระเหิน พระนางก็เอนกายลงพักผ่อนและก็เลยหลับไป นางตื่นขึ้นในตอนเย็น ก็พบว่านางได้ถึงเมืองแห่งหนึ่ง จึงถามตาคนขับเกวียนว่า [/COLOR]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#663300 width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>[​IMG] [COLOR=#00000]ตาจ๋า เมืองที่เห็นอยู่ข้างหน้านั้นเขาเรียกว่าเมืองอะไร
     
  6. MEA

    MEA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +660
    วันนี้ 4/7/51 เวลา 16.15น. โอนเงินผ่าน ATM กรุงไทย จำนวน 300 บาท

    ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระสงฆ์ที่อาพาธด้วยครับ ขอโมทนาบุญครั้งนี้ด้วยครับ
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]


    "ทมะ" คือ ธรรมะ ๑ ข้อ...จาก...หลวงพ่อจรัญ ฯ

    @ เพียงธรรมะ ๑ ข้อ หลวงพ่อสอน
    ว่าหยุดก่อน รู้ยับยั้ง รู้ชั่งจิต
    คือ"ทมะ" ข่มใจ ให้รู้คิด
    ก่อนทำผิด ใดใด ให้ใคร่ครวญ

    เช่น ทะเลาะ วิวาท อาฆาตโกรธ
    จะทำโทษ ผู้อื่น ยืนกำสรวล
    ความโกรธเข้า ครอบงำ เกินคำนวณ
    ต้องทบทวน ข่มใจ ให้ได้จริง

    การข่มใจ ท่านให้ ใช้สติ
    รู้จักวิเคราะห์เหตุ กิเลสสิง
    นี่...ชั่วหนอ ! ชั่วหนอ ! ชะลอประวิง
    แล้วตัดทิ้ง ข่มใจ ไม่กระทำ

    การคิดดี รู้ดี มีเหตุผล
    ควบคุมตน ไว้ได้ ไม่ถลำ
    เพราะผลชั่ว ที่ทราบ คือบาปกรรม
    ย่อมจะนำ ตนสู่ ประตูอบาย

    จึงอยากบอก ท่านทั้งหลาย ทั้งชายหญิง
    จงข่มใจ ให้ได้จริง สิ่งทั้งหลาย
    ท่านหลวงพ่อจรัญ ฯ ท่านบรรยาย
    เพื่อขยาย ข้อธรรม ก่อกรรมดี

    ท่านบอกว่า ๑ ข้อ ก็...พระกรรมฐาน
    ถือเป็นการ เจริญธรรม นำวิถี
    เมื่อคิดชั่ว ครั้งใด ใช้ทันที
    "ทมะ"นี้...ยับยั้ง...บาปทั้งปวง

     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]


    <TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    สังสารวัฏฏ์เวียนอยู่นั้น ในใจ
    จิตว่ายเคล้าคลุกไป มิสิ้น
    กุศลจิตชิตธรรมนัย ทุกเมื่อ
    พาจิตยามด่าวดิ้น สู่อ้อมกัลยาฯ

    จึ่งมิควรจะประมาท ในธรรม
    สร้างกุศลที่จะย้ำ จิตท่าน
    ให้อ่อนโยนควรแก่ธรรม พระสุคต เจ้าเอย
    อย่าปล่อยให้จิตซ่าน กรุ่นไว้ในธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    บทกวีจากคุณหิ่งห้อย

    http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=1366
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    โห!!!..หายไปนานพร้อมกับคุณกุ้งเลยครับ นานเข้ามาทีก็ยังดีครับ อย่าเพิ่งลืมกันเน้อ....
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระมหาชนก ๓



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 color="#000000"><TBODY><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=80>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=40></TD></TR><TR><TD width="100%"><TABLE borderColor=#663300 width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>[​IMG]
    ได้ว่าเป็นวันอุโบสถ ก็ยังได้สมาทานโดยอธิษธานอุโบสถในขณะลอยคออยู่ในทะเล ..ด้วยบุญบารมีแต่ปางบรรพ์ของเจ้ามหาชนกได้ทำไว้ให้ ร้อนถึงนางเมขลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#663300 width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#a8defb width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>ซึ่งกล่าวว่าเป็นผู้รักษาสมุทรดังที่เล่าไว้ในรามเกียรติ์ว่า นางเมขลาเป็นพนักงานรักษาสมุทร มีแก้วประจำตัวอยู่ ๑ ดวง ถ้านางโยนขึ้นจะเห็นแสงแวววับจับตา ซึ่งเราเรียกกันว่าฟ้าแล่บ ได้ไปเล่นกับเทพบุตรและนางฟ้าในเวลานักขัตฤกษ์ได้โยนแก้วเล่นแสง แก้วนี้ส่องไปจนรามสูรเห็นก็อยากได้ จึงไปไล่หวังจะได้แก้ว แต่ก็ไม่ได้ เพระนางเมขลาเอาแก้วส่องตาทำให้หน้ามืด เลยโมโหขว้างขวานหวังจะฆ่าซึ่งก็ไม่ถูกนาง ทางมนุษย์เราเรียกฟ้าร้องและฟ้าผ่านั้นเอง นี้แหละเป็นเรื่องของนางเมขลา
    เผอิญวันเรือแตกนั้นนางเมขลากำลังไปประชุมอยู่กับเทพบุตรนางฟ้า จวบจนถึงวันที่ ๘ จึงกลับมา ได้เห็นมหาชนกว่ายน้ำอยู่จึงช่วยพาขึ้นจากสมุทรมาไว้ในอุทยานของพระเจ้าโปลชนก แล้วก็กลับไปที่อยู่ เจ้ามหาชนก ก็นอนหลับอยู่ในสวน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE borderColor=#663300 width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>[​IMG] [​IMG]
    เมื่อเจ้ามมหาชนกมาหลับอยู่ในพระราชอุทยาน นั้น พระเจ้ากรุงมิถิลาสวรรคตได้ ๗ วันนี้ ราชธิดาของเจ้าโปลชนกพยายามเลือกหาผู้สมควร ให้เสวยราชสมบัติแทนพระบิดา โดยป่าวร้องให้อำมาตย์ข้าราชการมาเฝ้านางจะเลือกเอาเป็นคู่ครอง นางก็ไม่เลือกใคร ต่อมาถึงวาระเศรษฐีคฤหบดีก็ไม่มีใครได้นาง นางจึงปรึกษากับราชปุโรหิตว่า จะทำอย่างไรดีจึงจะได้คนมาครองราชสมบัติ ราชปุโลหิตจึงทูลตอบว่า
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
    <!--Main-->[SIZE=-1]
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]


    ข้าน้อยเป็นมนุษย์ด้อย........ ปัญญา
    กิเลสราคตัณหา........ หลากล้น
    ลดละเลิกกามา........ มิอาจปลดปลง
    "อยาก"มั่งคั่งถั่งท้น........ ท่วมห้วงดวงใจ.....

    มาดมุ่งไปค่ำเช้า........ ด้วยหวัง
    ใจและกายเปี่ยมพลัง........ เอ่อล้น
    ทุ่มเทหมดกำลัง........ ลืมเหน็ดเหนื่อย เฮย
    นับสิบปีผ่านพ้น........ ปลกเปลี้ย เสียดุล......

    แม้มีเพื่อนทักท้วง........ ห่วงใย
    กลับตอกหน้าเพื่อนไป........ "อย่าเผยอ"
    ตัวข้าเก่งเกินใคร........ โอ้อวด ละเมอ
    ผยองหยิ่งเพ้อเจ้อ........ แกร่งกร้าว "ตัวกู".....

    เห็นผิดเป็นถูกถ้วน........ กระบวนความ
    ติดบ่วงแห่งกลกาม........ แหล่งหล้า
    หลงโลกเห็นสิ่งทราม........ ว่างดงามตา
    มิต่างจาก "คนบ้า"........ หอบหิ้วฟอนฟาง......

    กว่าจะรู้ล่วงแล้ว........ กาลสมัย
    อยากกลับไป ณ วัย ........ อ่อนนั้น
    ได้เพียงแค่อาลัย........ วันล่วง แล้วลับ
    เหตุเพราะตัวตนรั้น........ บัดนี้ กล้ำกลืน.......

    ทั้งที่ได้เกิดแล้ว........ ใต้ร่ม พุทธศาสน์
    กลับปล่อยชีพขื่นขม........ เปล่าปลี้
    ซ้ำร้ายคลุกเปือกตม........ ปลักคูถ ราคี
    นานเนิ่นปานฉะนี้........ สุดเศร้า เสียดาย......

    "ธรรมะ"มี ไม่รู้ ........ ความหมาย
    กรรมก่อมิเว้นวาย........ บดบี้
    เบียดเบียนเพื่อนหญิงชาย........ ตนอีก คณะนา
    กาย จิต วาจา ขยี้ ........ ขับเคลื่อน เป็นวง......

    แค่อยากบอกเพื่อนพ้อง........ ร่วมทุกข์
    ว่าอย่ามัวเห็นสนุก........ พี่น้อง
    วันนี้เริ่มเพรียกปลุก........ ตนตื่นก่อนนา
    "ธรรม"เท่านั้นจักป้อง-........ ปกให้ พ้นภัย......



    http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=1376
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    คำกลอนข้างต้นสอนอะไรได้เยอะเหมือนกัน ดังนั้นพวกเราควรตักตวงเวลา ณ ปัจจุบันทำให้มีค่ามากที่สุด ด้วยการทำความดี ทำความกตัญญู ช่วยเหลือผู้ที่แย่กว่าเรา ดีใจไปกับบุญของเขา หลีกเลี่ยงการทำความชั่วทั้งปวง เอาทานเป็นไม้เท้า เอาศีล 5 เป็นบาทก้าวย่าง เอาปัญญาเป็นตาคอยมองทาง เอาใจ (สติ) เป็นดังตัวควบคุม ไม่ให้หลง ไม่ให้เผลอ จะด้วยสมถะทั้ง 40 ก็ดี วิปัสสนาพลิกไปพลิกมา ย้อนหน้าย้อนหลังก็ดี แค่นี้ก็ไม่ต้องเสียใจว่าเสียเวลาเปล่า และ เมื่อถึงเวลานั้น...เวลาที่ทุกคนต้องไป...เราก็ดีใจว่าเราจะไปดี ไปแบบไม่หลงตายนั่นเอง....
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ความรู้ทางพุทธศาสนาความแตกต่าง ระหว่างฌาณสมาบัติ กับ อภิญญาจิต โดยคัดลอกมาจาก http://ecurriculum.mv.ac.th/ebhuddismmusiem/religion/dhammathai/view.php-No=181.htm


    แนวทางปฏิบัตินั้นประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่
    1.การอบรมจิตด้วยอิทธิบาท 4
    2.การอบรมจิตจากข้อ 1 เพื่อบรรลุกำลังแห่งอภิญญา

    การเข้าใจพอเข้าใจได้ครับแต่การปฏิบัติจริงยากสุดๆครับ
    แต่ไม่เกินความเพียรของมนุษย์ครับ

    ในเบื้องต้นจะอธิบายถึงการอบรมจิตด้วยอิทธิบาท 4 กันก่อน
    การอบรมจิตด้วยอิทธิบาท 4 ก็คือการเข้าฌานบ่อยๆ ให้ชำนาญนั่นเอง
    แต่การที่จะฝึกอภิญญานั้นยากกว่าการฝึกฌานสมาบัติธรรมดาเป็นหมื่นเป็นแสนเท่าทีเดียวครับ

    สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดกันอยู่ส่วนมากคือเชื่อกันว่าได้ฌานเมื่อไหร่ก็มีฤทธิ์เมื่อนั้น อันนี้ไม่จริงครับ ได้ฌานแล้วต้องมาฝึกหนักต่อกันอีกครับ

    ผู้ต้องการบรรลุกำลังแห่งอภิญญา จะต้องได้ฌานสมาบัติ 8
    และต้องเข้าฌานสมาบัติ 8 ที่มาจาก กสิณ 8 ให้ชำนาญ
    ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ สีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีขาว
    เว้นอากาศกสิณและอาโลกกสิณ

    กสิณานุโลมโต / กสิณาปฏิโลมโต / กสิณานุโลมปฏิโลมโต ฯลฯ... รวมทั้งหมด 14ขั้นตอน

    1.เข้าฌานสมาบัติ 8 เรียงตามลำดับกสิณจากดิน น้ำ ลม ไฟ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว
    2.เข้าฌานสมาบัติ 8 ย้อนกลับกสิณจากสีขาว สีเหลือง สีเขียว สีแดง ไฟ ลม น้ำ ดิน
    3.เข้าฌานสมาบัติ 8 ทั้งเรียงตามลำดับกสิณและย้อนกลับกสิณจากดิน น้ำ ลม ไฟ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีขาว สีเหลือง สีเขียว สีแดง ไฟ ลม น้ำ ดิน

    4.เข้าฌานสมาบัติ 8 เรียงตามลำดับฌานเรียงตามลำดับกสิณ ดินฌาน 1 ดินฌาน 2 ดินฌาน 3 ดินฌาน 4 ดินเป็นอากาศไม่มีที่สุด รู้สึกว่าเป็นดิน ดินไม่มีเหลือ จำได้ว่าดินแต่ทำเป็นจำไม่ได้.....ฯลฯ...จำได้ว่าสีขาวแต่ทำเป็นจำไม่ได้

    5.เข้าฌานสมาบัติ 8 ย้อนกลับฌานเรียงตามลำดับกสิณ จำได้ว่าดินแต่ทำเป็นจำไม่ได้ ดินไม่มีเหลือ รู้สึกว่าเป็นดิน ดินเป็นอากาศไม่มีที่สุด ดินฌาน 4 ดินฌาน 3 ดินฌาน 2 ดินฌาน 1......ฯลฯ.....สีขาวฌาน 1

    6.เข้าฌานสมาบัติ 8 เรียงตามลำดับฌานและย้อนฌาน ดินฌาน1 ดินฌาน 2 ดินฌาน 3 ดินฌาน 4 ดินเป็นอากาศไม่มีที่สุด รู้สึกว่าเป็นดิน ดินไม่มีเหลือ จำได้ว่าดินแต่ทำเป็นจำไม่ได้ จำได้ว่าดินแต่ทำเป็นจำไม่ได้ ดินไม่มีเหลือ รู้สึกว่าเป็นดิน ดินเป็นอากาศไม่มีที่สุด ดินฌาน 4 ดินฌาน 3 ดินฌาน 2 ดินฌาน 1 .......ฯลฯ....สีขาวฌาน 1

    7.เข้าฌานสมาบัติ 8 เรียงตามลำดับฌานแต่ข้ามกสิณ ดินฌาน 1...ฯลฯ...จำได้ว่าดินแต่ทำเป็นจำไม่ได้.../...ลมฌาน 1...ฯลฯ...จำได้ว่าลมแต่ทำเป็นจำไม่ได้ .../...สีแดงฌาน 1...ฯลฯ...จำได้ว่าสีแดงแต่ทำเป็นจำไม่ได้.../...สีเหลืองฌาน 1...ฯลฯ...จำได้ว่าสีเหลืองแต่ทำเป็นจำไม่ได้

    8.เข้าฌานสมาบัติ 8 ข้ามฌานเรียงตามลำดับกสิณ ดินฌาน 1 ดินฌาน3 ดินเป็นอากาศไม่มีที่สุด ดินไม่มีเหลือ.......ฯลฯ.....สีขาวไม่มีเหลือ

    9.เข้าฌานสมาบัติ 8 ข้ามฌานและข้ามกสิณ ดินฌาน 1 ลมฌาน 3 สีแดงเป็นอากาศไม่มีที่สุด สีเหลืองไม่มีเหลือ

    10.เข้าฌานสมาบัติ 8 โดยเลื่อนองค์ฌานเรียงตามลำดับกสิณ ดินฌาน 1....ฯลฯ....จำได้ว่าดินแต่ทำเป็นจำไม่ได้.....ฯลฯ.....จำได้ว่าสีขาวแต่ทำเป็นจำไม่ได้

    11.เข้าฌานสมาบัติ 8 โดยการเลื่อนอารมณ์เรียงตามลำดับกสิณ
    ดินฌาน 1....น้ำฌาน 1....ฯลฯ.....สีขาวฌาน 1
    ดินฌาน 2....น้ำฌาน 2....ฯลฯ.....สีขาวฌาน 2
    ดินฌาน 3....น้ำฌาน 3....ฯลฯ.....สีขาวฌาน 3
    ดินฌาน 4....น้ำฌาน 4....ฯลฯ.....สีขาวฌาน 4
    ดินเป็นอากาศไม่มีที่สุด.........ฯลฯ......สีขาวเป็นอากาศไม่มีที่สุด
    รู้สึกว่าเป็นดิน....................ฯลฯ.......รู้สึกว่าเป็นสีขาว
    ดินไม่มีเหลือ.....................ฯลฯ.......สีขาวไม่มีเหลือ
    จำได้ว่าดินแต่ทำเป็นจำไม่ได้..ฯลฯ......จำได้ว่าสีขาวแต่ทำเป็นจำไม่ได้

    12.เข้าฌานสมาบัติ 8 โดยเลื่อนทั้งองค์ฌานและอารมณ์
    ดินฌาน 1 น้ำฌาน 2 ลมฌาน 3 ไฟฌาน 4 สีแดงเป็นอากาศไม่มีที่สุด รู้สึกว่าเป็นสีเขียว สีเหลืองไม่มีเหลือ จำได้ว่าสีขาวแต่ทำเป็นจำไม่ได้

    13.กำหนดองค์ฌาน ฌาน 1มีองค์ 5 / ฌาน 2 มีองค์ 3 / ฌาน 3 มีองค์ 2
    / ฌาน 4 มีองค์ 2 / อากาสานัญจายตนฌานมีองค์ 2 / วิญญานัญจายตนฌานมีองค์ 2
    / อากิญจัญญายตนฌานมีองค์ 2 / เนวสัญญานาสัญญายตนฌานมีองค์ 2

    14.กำหนดอารมณ์ คือกำหนดรูปร่างลักษณะของนิมิตของ ดิน น้ำ ลม ไฟ สีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีขาว

    หมั่นฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวครบทั้ง 14 ข้อ เป็นพันเที่ยวหมื่นเที่ยว
    จนจิตนั้นเป็นจิตที่บริสุทธิ์ขาวรอบ เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่มีอำนาจ(อ่อน) เป็นจิตที่ควรแก่การงาน
    จึงน้อมจิตนั้นไปเพื่ออบรมให้บรรลุกำลังแห่งอภิญญา



    การฝึกอภิญญา
    เมื่อจิตนั้นเป็นจิตที่บริสุทธิ์ขาวรอบ เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่มีอำนาจ(อ่อน) เป็นจิตที่ควรแก่การงานแล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อทำกายและจิตให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    ตั้งกายเอาไว้ในจิต คือการน้อมจิตพิจารณาอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายตั้งแต่ศีรษะจนจรดปลายเท้าฌาน1-2-3-4
    ตั้งจิตเอาไว้ในกาย คือการน้อมจิตพิจารณากายนี้ว่าไม่งามฌาน1-2-3-4
    น้อมจิตไปด้วยอำนาจกาย คือการน้อมจิตติดตามความเคลื่อนไหวของร่างกายในทุกอริยาบทฌาน1-2-3-4
    น้อมกายไปด้วยอำนาจจิต คือการน้อมจิตพิจารณาว่าทุกขณะที่กายเคลื่อนที่ไปนั้นกายเกิดดับจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เห็นกายเกิดดับๆๆๆฌาน1-2-3-4
    ตั้งไว้ยิ่งซึ่งจิตด้วยอำนาจกาย คือการพิจารณาว่าจิตนี้จะต้องอาศัยอยู่ในกาย จะต้องอาศัยกายเป็นที่ระลึกรู้ กำหนดให้จิตอยู่แต่ในกายฌาน1-2-3-4
    ตั้งไว้ยิ่งซึ่งกายด้วยอำนาจจิต คือการพิจารณาว่าถึงแม้ว่าจิตจะอาศัยอยู่ในกายก็จริงอยู่แต่จิตเป็นนายมีอำนาจเหนือร่างกาย จิตเป็นนายฌาน1-2-3-4

    เมื่อน้อมจิตไปด้วยอำนาจกาย น้อมกายไปด้วยอำนาจจิต
    ตั้งไว้ยิ่งซึ่งจิตด้วยอำนาจกาย ตั้งไว้ยิ่งซึ่งกายด้วยอำนาจจิตแล้ว
    ก็ก้าวลงสู่ความเข้าใจว่าเป็นสุขและเบาด้วยฌาน 4
    เรียกว่าสุขสัญญาและละหุสัญญา


    การอบรมอยู่อย่างนี้เป็นการทำกายและจิตให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    การบรรลุกำลังแห่งอภิญญาเกิดขึ้นโดยอาการอย่างนี้
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สำหรับผมพยายามฝึกง่ายๆ ตามคำสอนของหลวงปู่เทสก์จากเทปที่ฟังบ่อยๆ ดังนี้ครับ

    สติ-ควบคุมจิต (ที่เรียกว่าเจตสิก หมายถึง สิ่งที่มากระทบกับจิตทั้งหลายทั้งดีและไม่ดี เช่นอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดจากขันธ์ 5) คือเมื่อรู้สิ่งที่มากระทบแยกว่าอะไรเป็นอะไรได้แล้วก็ละซะอย่าไปยึดหนักสมองเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์อันใด
    แล้วเอาจิต-มาควบคุมใจ ซึ่งใจคือของกลาง อยู่เฉยๆ ไม่มีร้อน ไม่มีหนาว ไม่มียินดีหรือไม่ยินดี ไม่มีบุญบาป คือใจแท้ กำหนดเพ่งเอาใจแท้แค่นี้ล่ะ

    หากยึดตามสูตรนี้สั้นๆ สติคุม-จิต(รู้แล้วละมันซะ)-เอาผลที่ได้มาคุมใจ แล้วเพ่งดูอยู่ที่ใจแค่นี้ก็หมดเรื่องแล้วล่ะ สูตรข้างต้นนี้ระงับอารมณ์ความโกรธ ความบ้าระห่ำ และอารมณ์ยินดีในตัวเอง ได้ชะมัดนัก ถึงหลุดออกมาก็แป๊บเดียว เดี๋ยวสติก็มาลากเอาไปเอง ไม่ต้องกลัว..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2008
  16. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    แจ้งรายชื่อผู้โอนเงินทำบุญให้กับทุนนิธิฯเมื่อวันที่4กรกฎาคม
    คุณสำรวม คุณอรอุมา คุณรัดเกล้า สิริมาตร
    คุณถวัลยศักดิ์ จิตพิสิฐชัย
    คุณธวัชชัย คลองสกุล
    รวมกัน 600 บาท
    ขอโมทนาด้วยครับ
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 28 มีนาคม 2551 2:04:06 น.-->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๒๗ : เสด็จไปศึกษากับอาฬารดาบส และอุทกดาบส
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๒๗ : เสด็จไปศึกษากับอาฬารดาบส และอุทกดาบส[/SIZE]

    [SIZE=-1]เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีป่ากับอาฬารดาบส[/SIZE]
    [SIZE=-1]และคณะอุทกดาบสรามบุตร[/SIZE]
    [SIZE=-1]เห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ก็ทรงหลีกไป[/SIZE]

    [SIZE=-1]ในสมัยที่กล่าวนี้ แคว้นมคธมีนักบวชที่ตั้งตนเป็นคณาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงมากคณะด้วยกัน แต่ละคณะต่างก็มีศิษย์สาวก และมีคนนับถือมาก กรุงราชคฤห์ก็เป็นที่สัญจรจาริกผ่านไปมาของเจ้าลัทธิต่างๆ เพื่อเผยแพร่ลัทธิของตนให้คนเลื่อมใส คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช ซึ่งอยู่ในแคว้นนี้มีสองคณะด้วยกัน คือ คณะอาฬารดาบสกาลามโคตร และคณะอุทกดาบสรามบุตร ทั้งสองคณะนี้ตั้งอาศรมสอนศิษย์อยู่ในป่านอกเมือง [/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]
    [SIZE=-1]เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีป่ากับอาฬารดาบส[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระมหาบุรุษจึงเสด็จไปยังที่นี่ เพื่อทรงศึกษาเล่าเรียน และทดลองดูว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่ ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่สำนักแรกก่อน แต่ทรงศึกษาจนสิ้นความรู้ของท่านคณาจารย์เจ้าสำนักแล้ว ทรงเห็นว่ายังมิใช่ทรงตรัสรู้ จึงเสด็จไปทรงศึกษาในสำนักคณาจารย์ที่สอง ทรงได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นนิดหน่อย แต่ก็ได้เพียงสมาบัติแปด [/SIZE]

    [SIZE=-1]"สมาบัติ" หมายถึง ฌาน คือ วิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ มีตั้งแต่อย่างหยาบขึ้นไปจนถึงละเอียดที่สุด ทั้งหมดมีแปดขั้นด้วยกัน ทรงเห็นว่า จิตใจในระดับนี้ก็ยังอยู่ในชั้นของโลกีย์ ปุถุชนสามารถมีได้ แต่มีแล้วยังเสื่อมได้ ยังไม่ใช่โลกุตตระ คือ ทางหลุดพ้น [/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]
    [SIZE=-1]เสด็จไปศึกษากับอุทกดาบสรามบุตร[/SIZE]


    [SIZE=-1]ท่านคณาจารย์ทั้งสองสำนักชวนพระมหาบุรุษให้อยู่ด้วยกัน เพื่อช่วยสั่งสอนศิษย์สาวกต่อไป ทั้งสองท่านสรรเสริญพระมหาบุรุษว่าทรงมีความรู้ยอดเยี่ยมเทียมกับตน แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธคำเชิญชวนนั้นเสีย เพราะเมื่อทรงทดลองร่ำเรียนวิชาลัทธิของคณาจารย์ที่มหาชนยกย่องนับถือว่ามีความรู้สูงสุด แต่ทรงเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ได้ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์แล้ว พระมหาบุรุษจึงทรงดำริจะลองทดลองสิ่งที่นักบวชนักพรตจำนวนมากสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน ว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่ ทางนั้นก็คือ ทุกกรกิริยา ที่หมายถึงการบำเพ็ญเพียรที่เข้มงวด เกินที่วิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้ ที่คนทั่วไปเรียกว่า ทรมานตน ให้ได้รับความลำบากนั่นเอง.[/SIZE]

    ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=travelaround&month=14-11-2007&group=20&gblog=1


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    การทำบุญด้วยการบริจาคเลือด
    <!--Main-->[SIZE=-1]ตามโบราณว่าไว้ว่า คนที่เคราะห์ไม่ดีจะมีอุบัติเหตุเลือดตกยางออก [/SIZE]
    [SIZE=-1]ให้แก้ด้วยวิธีการบริจาคเลือด ถ้าท่านไม่อยากบริจาคเลือดของท่าน ท่านก็สามารถไปที่รพ.สงฆ์[/SIZE]
    [SIZE=-1]ขอซื้อเลือดบริจาคให้แก่สงฆ์ที่อาพาธได้ แล้วแต่จิตศรัทธาเช่นกัน [/SIZE]

    [SIZE=-1]อธิฐานว่า ตราบใดที่เลือดหมุนเวียนไม่ขาดสาย ตราบนั้นขอให้เงินทองไหลมาเทมาไม่ขาดสายเช่นกัน และขอให้สิ่งร้ายกลับกลายเป็นดี[/SIZE]


    นำมาจาก
    http://www.pantip.com/cafe/religious/

    การทำบุญด้วยการบริจาคยาพระสงฆ์อาพาธ
    <!--Main-->[SIZE=-1]ไปบริจาคได้ที่รพ.สงฆ์ตามจิตศรัทธา
    และอธิษฐานว่า ขอให้โรคภัยไข้เจ็บจงอย่าได้เกิด
    แต่ถ้ามีโรคภัยไข้เจ็บอยู่ก็ขอให้สูญสิ้นไปด้วยเทอญ
    และขอให้ข้าพเจ้ามีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดไป
    [/SIZE]

    นำมาจาก
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=p-magician&month=04-07-2008&group=8&gblog=5
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ดูมันเถียงพระ
    <!-- Main -->[SIZE=-1][​IMG]
    วันนั้น ไปเทศน์ที่...สิงห์บุรี... เทศน์ให้ครูฟัง...

    ครูนั่งกันเต็มห้องประชุม... ๒-๓ ร้อยคน...
    พวกครูผู้ใหญ่...พวกผู้อำนวยการ... ก็นั่งโซฟาข้างหน้า...

    มีครูผู้ชายคนหนึ่ง... นั่งเก้าอี้ข้างหน้า...เหยียดขา...

    ตาแดง...โงนไป...โ งนมา...เมา....

    ชาวบ้านเวลาฟังพระเทศน์.เขาพนมมือกันหมด...
    มันไม่พนมมือ...

    แถมเวลาพระเทศน์...มันกระดิกขา...เคาะจังหวะอีก.

    ผู้อำนวยการอยู่ข้างหน้า...พยายามจ้องหน้ามัน...
    มันหันหนี...ไม่สบตา...ทำเป็นไม่รู้ ไม่ชี้...

    อาตมาเทศน์ไปสักพัก...ทนไม่ไหว...เลยถามว่า...

    'โยม...ทำไมไม่ไหว้พระล่ะ...'

    'พระเดี๋ยวนี้ประพฤติตัวไม่ค่อยดี...ไหว้แล้วเสียมือ. ..'

    แน๊ะ...มันเมาเหล้ากลิ่นคลุ้ง...จนโงหัวไม่ขึ้น...
    ยังเสือกมาสอนพระอีก...

    'โยม...ที่พระเทศน์นี่...ท่านเอาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาสอนเรา...
    ไม่ใช่ความคิดของท่าน...กา รที่เราไหว้...เวลาพระเทศน์...

    เป็นการบูชาธรรม...เป็นการแสดงความเคารพพระพุทธเจ้า...'

    ไม่ไหว้...

    'โยม...อาตมาขอถามอะไรหน่อยได้ไหม?'

    'ถามอะไร...?'

    'ระหว่างเรายกมือไหว้พระเอง...กับมีคนจับมือให้ไหว้พร ะ...
    อันไหนดีกว่ากัน...?
    ระหว่างสวดมนต์เอง...กับนอนให้พระสวดให้...อันไหนดีก ว่ากัน..?'

    มันเงียบ...ไม่ตอบ...คงเริ่มสำนึกบาปแล้วล่ะ...

    อาตมารีบถามต่อเลย...เดี๋ยวจะช้าไป...

    'โยม...เคยไปวัดบ้างไหม...?'

    'ไม่ไป...ไม่ชอบวัด...'

    'โยม...ระหว่างเดินไปวัดเอง...กับเขาหามไปวัด...อันไห นดีกว่ากัน...?'

    มันจ้องตาเขม็งเลย...แล้วลุกขึ้นยืน. ...

    'นี่...หลวงพี่...ผมขอถามอะไรหน่อยได้ไห ม...?'

    'ได้...'

    'ระหว่างเดินกลับวัดเอง.กับมีคนหามกลับวัด...อันไหนดี กว่ากัน...?'
    ______________________________________________
    ที่มา : เทศนา...ฮาสุดขีด ของ พระพยอม กัลยาโณ
    ได้รับมาจาก forward mail
    [/SIZE]
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ระหว่างทาง...ของการเดินทางถอยกลับ
    <!-- Main -->[SIZE=-1]


    [​IMG]>


    เคยไหม...ที่คุณก้าวเดินไปข้างหน้า
    แต่รู้สึกว่ามันเป็นการถอยหลังกลับ


    เคยไหม...ที่ท้องฟ้าในโลกส่วนตัวของคุณ
    กลับเปลี่ยนจากสีฟ้ามาเป็นเมฆครึ้มสีเทาหม่น
    โดยไม่มีเค้าลางแห่งพายุร้าย

    ทุกอย่างพัดพาคุณกลับไปสู่จุดเริ่มต้น
    หรือไกลกว่านั้น...เปลี่ยนจากรอยยิ้มเป็นหยดน้ำตา
    เปลี่ยนเสียงหัวเราะเป็นเสียงสะอื้นไห้
    ความทุกข์เข้ามาทดแทน
    วันเวลาแห่งความสุขของคุณจนหมดสิ้น

    ความคาดหวังคือปัจจัยหลักของความทุกข์
    ความฝันบางครั้งก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดทุกข์
    ชีวิตคนเรามีปัญหา เพิ่มมากขึ้นตามวันเวลาที่หมุนไป

    ทุก ๆ วันเหมือนกับต้องตื่นขึ้นมา
    เพื่อเดินเข้าไปในสมรภูมิรบ ฟาดฟันกับปัญหา
    หากคุณชนะคุณก็จะเดินจากมา พร้อมความสำเร็จอีกครั้งหนึ่ง
    หากคุณแพ้คุณก็อาจล้มจมอยู่กับที่

    แล้วจะมีใครสักกี่คนบนโลกใบนี้
    ที่จะคอยยื่นมือให้ความช่วยเหลือเมื่อเราเจ็บปวด
    เอาเข้าจริงในโลกใบนี้...เราจะมีใคร?
    ใครที่เป็นของเราจริงๆ เกิดมาเพื่อเราจริง ๆ

    บทเรียนของการเดินถอยหลัง
    ทำให้รู้ว่าความคาดหวัง มักมาพร้อมกับความผิดหวังเสมอ
    เราคาดหวังว่าจะมีใครมาร่วมแบ่งปันความรู้สึก
    คอยประคับประคองอยู่เคียงข้าง...คอยรับเมื่อเราล้ม
    แล้วตั้งความหวังว่าเขาจะยืนอยู่เคียงข้างเราไปจนวันตาย
    มีลมหายใจของกัน และกันอย่างอบอุ่น




    [​IMG]>



    แต่ในโลกของความเป็นจริงก็คือ...เราต้องยืนด้วยตัวเองให้ได้
    หายใจด้วยตัวเองให้ได้...ลุกด้วยตัวเองให้ได้
    อ้อมแขนและลมหายใจของคนอื่น
    เป็นเพียงส่วนประกอบ ที่ทำให้เราเต็มพร้อมสมบูรณ์


    เราจำเป็นต้องก้าวเดินต่อไปให้ได้ แม้ไม่มีส่วนประกอบนั้นก็ตาม
    ฉันได้เรียนรู้ว่า...ความฝันจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
    เพื่อลดความเจ็บปวดในชีวิต


    เช่นเดียวกับความรัก
    สิ่งที่เรามอบไปอย่างทุ่มเท...โดยไม่เคยคิดถึงความผิดหวังที่จะตามมา
    มักทำให้เราเจ็บปวดจนสุดจะทน

    ความรัก...เปลี่ยนแปลงได้
    รอยเท้าของเราเหยียบย่ำไปท่ามกลางความสับสน
    บางครั้งเข็มนาฬิกาก็เดินเร็วขึ้น...บางครั้งกลับเดินช้าลง
    ทุกอย่างไม่เป็นดั่งที่วาดหวังไว้เสียที
    เพราะเราควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้

    ความคิดของเขา...อาจทำให้เราเจ็บปวดจนสุดจะทน
    แต่เราก็ยังจำเป็นต้องมีชีวิตอยู่...เพื่อรับรู้ถึงความเจ็บปวดนั้น
    ดังนั้นเมื่อมีน้ำตาและตัดสินใจว่าจะต้องเปลี่ยนแปลง
    อย่าหันกลับไปทางเดิม
    เพราะเรากำลังจะเดินจากมันมา...อาจไม่ใช่เขาหรือเราเป็นคนไม่ดี

    แต่ในบางเรื่อง...ก็อาจมีเหตุผลมากกว่าหนึ่งอย่าง
    อย่าพูดว่าเราทำเพื่อเขา...แต่กลับเอาตัวของเราเป็นที่ตั้ง
    เพราะนั่นไม่ใช่รักที่แท้จริง

    ถ้าบนทางเดินที่ผ่านมาเราก้าวเร็วเกินไป
    มองย้อนกลับไปดูตัวเองใหม่...แล้วหัดเดินให้ช้าลง



    ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=savika&month=02-07-2008&group=5&gblog=45
    [/SIZE]
     

แชร์หน้านี้

Loading...