ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="VERTICAL-ALIGN: top; PADDING-TOP: 15px">โคตรเหล็กไหล (เหล็กไหลงอกหรือเหล็กทรหด) เป็นเหล็กไหลที่มีปรากฏอยู่ค่อนข้างมาก สีดำสนิทเป็นมันเลื่อมเมื่อกระทบแสงสว่าง ผิวค่อนข้างละเอียด แม่เหล็กดูดไม่ติดพบเห็นได้ตามถ้ำที่ ลึกลับ เกิดจากเทพที่มาใช้วิบากกรรมในโลกนี้ จึงมีพวกเทพที่เป็นยักษ์ หรือ คนธรรพ์คอยให้ความอารักขา ไม่ยืดหรือหดได้อีก แม่เหล็กดูดไม่ติด แต่ชอบกินน้ำผึ้ง สามารถงอกโตขึ้นเอง บางทีหากเจ้าของบูชาให้ดี จะเปลี่ยนเป็นสีดำอมเขียว ไปจนถึงเป็นสี รุ้ง ๗ สี ดีทั้งเมตตา โชคลาภ แคล้วคลาดกันภัย มหาอุด คงกระพันถอนพิษสัตว์เขี้ยวงาต่าง ๆ งอกขึ้นอยู่ตามพื้นถ้ำและผนังถ้ำที่มีความชื้นและเย็นพอสมควร สามารถนำมาแกะหรือเจียรนัยเป็นเครื่องรางหรือรูปวัตถุ มงคลตามต้องการ
    โคตรเหล็กไหลที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
    [​IMG]หลวงพ่อสัมฤทธิ์ ได้เคยให้ลูกศิษย์นำเอา
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    มาดูเรื่องพุทธประวัติตอนต่อไปกันดีกว่า เรื่องอภินหารข้างต้น เป็นเรื่องที่นำมาสอดแทรกเพื่อเป็นเกร็ดความรู้สำหรับผู้ที่ชอบในเรื่องฤทธิเดชเป็นทุนเดิมครับ แต่ก็จะพยายามหามาให้เรื่อยๆ เช่นกัน

    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๗ : ทรงรับหญ้าคา
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๗ : ทรงรับหญ้าคา

    เสด็จกลับจากลอยถาด ทรงรับหญ้าคา
    ซึ่งพราหมณ์โสตถิยะถวายในระหว่างทาง


    [​IMG]
    พระมหาบุรุษจึงเสด็จเข้าไปยังดงไม้สาละ

    เสร็จจากทรงลอยถาดอธิษฐานแล้ว เวลาสายขึ้น แดดเริ่มจัด พระมหาบุรุษจึงเสด็จจากชายฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเข้าไปยังดงไม้สาละ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำแห่งนี้ ประทับอยู่ที่นี่ตลอดเวลากลางวัน เมื่อพระพุทธองค์ทรงพักกลางวันแล้ว เวลาบ่ายเกือบเย็นจึงเสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์

    [​IMG]
    พราหมณ์โสตถิยะ ได้ถวายหญ้าคา แก่พระมหาบุรุษ

    พระศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้ประเภทต้นโพธิ์ที่เราเห็นอยู่ในเมืองไทย ในป่าก็มี แต่ส่วนมากมีตามวัด ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ได้เรียกว่าพระศรีมหาโพธิ์ แต่เรียกโดยชื่อตามภาษาพื้นเมือง ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเป็นภาษาชาวบ้านเรียกว่า "ต้นปีบปัน" อีกอย่างหนึ่งเป็นภาษาหนังสือเรียกว่า "ต้นอัสสัตถะ" หรือ "อัสสัตถพฤกษ์"

    [​IMG]
    พระมหาบุรุษทรงรับกำหญ้าคา

    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วจึงเรียกว่า"โพธิ์" แปลว่า ต้นไม้เป็นที่อาศัยตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต่อมาเพิ่มคำนำหน้าขึ้นอีกเป็น มหาโพธิ์บ้าง พระศรีมหาโพธิ์บ้าง และว่าเป็นต้นไม้สหชาติของพระพุทธเจ้า คือ เกิดพร้อมกันในวันที่พระพุทธเจ้าสมัยที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะประสูติดังได้เคยเล่าไว้แล้ว

    [​IMG]
    พระมหาบุรุษทรงถือกำหญ้าคา


    ระหว่างทางเสด็จไปยังโคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระมหาบุรุษได้สวนทางกับชายผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในวรรณะพราหมณ์ชื่อโสตถิยะ พราหมณ์โสตถิยะเดินถือกำหญ้าคามา ๘ กำ ได้ถวายหญ้าคาทั้ง ๘ กำแก่พระมหาบุรุษ พระมหาบุรุษทรงรับ แล้วทรงนำไปปูเป็นอาสนะสำหรับประทับนั่งที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์

    [​IMG]
    พระมหาบุรุษทรงลาดหญ้าคา เป็นอาสนะ
    [/SIZE]
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    <CENTER>พร 4 ข้อ โดยท่าน ว.วชิรเมธี</CENTER>


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    (1) อย่าเป็นนักจับผิด
    (2) อย่ามัวแต่คิดริษยา
    (3) อย่าเสียเวลากับความหลัง
    (4) อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ

    1. อย่าเป็นนักจับผิด

    คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่า เป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง 'กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก'
    คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส 'จิตประภัสสร'
    ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี 'แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข'

    2. อย่ามัวแต่คิดริษยา

    'แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน'
    คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า 'เจ้ากรรมนายเวร' ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์
    ฉะนั้น เราต้องถอดถอนความริษยา ออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น 'ไฟสุมขอน' (ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน
    เราสามารถถอดถอน ความริษยาออกจากใจเรา โดยใช้วิธี 'แผ่เมตตา' หรือ ซื้อโคมมาแล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป

    3. อย่าเสียเวลากับความหลัง

    90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ 'ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น'
    มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขา พร้อมแบกเครื่องเครา
    ต่างๆ ไว้ที่หลัง ขึ้นไปด้วย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ
    'อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน'
    ' อยู่กับปัจจุบันให้เป็น ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี 'สติ'กำกับตลอดเวลา

    4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ

    ' ตัณหา' ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ 'ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม'
    ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกาคืออะไร คือ ไว้ดูเวลาไม่ใช่มีไว้ใส่เพื่อความโก้หรู
    คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่น ๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์
    เราต้องถามตัวเองว่า 'เิกิดมาทำไม' 'คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน '
    ตามหา'แก่น' ของชีวิตให้เจอ' คำว่า 'พอดี' คือ ถ้า 'พอ' แล้วจะ 'ดี' รู้จัก 'พอ' จะมีชีวิตอย่างมีความสุข'


    <CENTER>[​IMG]</CENTER><!-- End main-->


    ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=fernja&month=14-08-2008&group=6&gblog=7
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ...ความสุข 3 แบบ 3 ระดับ...พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) [​IMG]
    <!--MsgIDBody=0-->...ความสุข 3 แบบ 3 ระดับ...พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


    สุขนี้มีหลายแบบหรือหลายระดับ คือ


    1. สุขแบบแย่งกัน

    2. สุขแบบไปด้วยกัน หรือสุขแบบประสานกัน

    3. สุขแบบอิสระ



    สุขแบบแย่งกัน คือ ถ้าเขาสุขเราก็ทุกข์ ถ้าเราสุขเขาก็ทุกข์
    โดยมากจะเป็นความสุขประเภทที่เกี่ยวกับวัตถุ
    ความสุขที่เกี่ยวกับวัตถุนั้นต้องได้ต้องเอา
    พอเราได้มาเราสุข คนอื่นเสียหรือไม่ได้ เขาก็เกิดความทุกข์
    แต่พอเขาได้ เราเสียไม่ได้ เขาสุขเราก็ทุกข์
    ความสุขอย่างนี้ไม่เอื้อต่อกัน ยังก่อปัญหา


    ยิ่งมองกว้างออกไปในสังคม
    เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย ต่างก็หาความสุขจากการได้และการเอา
    ก็แย่งชิงเบียดเบียนกัน สังคมก็เดือดร้อนวุ่นวาย
    ในที่สุดก็มีแต่ความทุกข์ความเดือดร้อนแผ่ไปทั่ว
    ทุกคนแย่งกันสุข เลยต้องทุกข์กันทั่วไปหมด ไม่มีใครได้ความสุข
    เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความสุขที่พัฒนาต่อไป



    ความสุขขั้นที่สอง คือความสุขที่ประสานกัน ช่วยกันสุข
    ถ้าเราสุขก็ทำให้เขาสุขด้วย นี่ก็คือความสุขที่เกิดจากการพัฒนาจิตใจ
    โดยเฉพาะก็คือ ความรักแท้
    ความรักแท้คือ ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข แต่ต้องระวังแยกให้ดี

    เพราะความรักนี้เป็นศัพท์ที่คลุมเครือหน่อย
    ความรักนั้นมี 2 อย่างคือ รักแท้ กับรักเทียม
    ความรักประเภทที่เราต้องการคือ ความรักแท้ ได้แก่
    ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข อันนี้เป็นความหมายที่สำคัญของคำว่า ความรัก
    และความรักประเภทนี้มีชื่อพิเศษเรียกว่า เมตตา
    เมตตาหรือความรักที่ต้องการให้ผู้อื่นเป็นสุข
    ส่วนความรักอีกอย่างหนึ่งนั้นตรงกันข้าม
    คือ ความรักที่อยากเอาคนอื่นมาบำเรอความสุขของเรา
    ความรักที่ต้องการเอาคนอื่นมาทำให้เราเป็นสุข ความรักที่ต้องการครอบครอง
    อันนี้ก็จัดเข้าในจำพวกความสุขจากการที่ต้องได้ต้องเอา
    เป็นความสุขแบบแย่งกันเหมือนกับที่พูดแล้ว



    ความรักแท้ต้องการให้คนอื่นเป็นสุข
    จะเห็นได้ง่ายๆ เหมือนความรักของพ่อแม่
    พ่อแม่รักลูกก็คือ อยากให้ลูกเป็นสุข
    ถ้าเราอยากให้ลูกเป็นสุข เราก็ต้องพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกเป็นสุข
    เพื่อจะได้เห็นลูกมีความสุข พอเห็นลูกมีความสุข พ่อแม่ก็มีความสุขด้วย




    จะเห็นได้ว่า พ่อแม่อยากเห็นลูกเป็นสุข ก็เลยต้องพยายามทำให้ลูกเป็นสุข
    ตอนแรกลูกต้องการวัตถุสิ่งของเช่น อาหาร หรือสิ่งที่จะดู จะฟัง เป็นต้น
    พ่อแม่ก็หาวัตถุเหล่านั้นมาให้แก่ลูก เมื่อให้แก่ลูก พ่อแม่ก็ต้องสละ
    การสละนั้น ตามปกติจะทำให้ไม่สบายเป็นทุกข์ เพราะอะไร
    เพราะว่าเราเสียแต่พ่อแม่ให้แก่ลูกก็ไม่ทุกข์ พ่อแม่ไม่ทุกข์


    แต่กลับสุขด้วยเพราะอะไร เพราะอยากให้ลูกเป็นสุข และอยากเห็นลูกเป็นสุข
    พอสละให้เงินให้ทองให้ของแก่ลูกแล้ว เห็นลูกมีความสุข พ่อแม่ก็มีความสุขด้วย
    ก็เลยกลายเป็นว่า การให้ หรือการสละนี้เป็นความสุขได้เหมือนกัน
    ตามปกติเรานี้ จะต้องได้ต้องเอา จึงจะเป็นสุข ถ้าให้ต้องเสียก็ทุกข์
    แต่พอมีความรัก คือ เมตตาขึ้นแล้ว การให้ก็กลายเป็นความสุขได้ทีนี้
    พอเราให้ เขาเป็นสุข เราเห็นเขาเป็นสุขสมใจเรา เราก็สุขด้วย
    แสดงว่าความสุขของบุคคลทั้งสองนี้ อาศัยซึ่งกันและกัน
    เป็นความสุขแบบประสาน คือร่วมกันสุข หรือสุขด้วยกัน ไม่ใช่ความสุขแบบแย่งกัน



    ทั้งโลกจะสุขสันต์ เมื่อคนมีสุขแบบประสาน


    ถ้าเราพัฒนาจิตใจอย่างนี้แบบขยายความรักความเมตตาออกไป
    เราก็สามารถมีความสุขเพิ่มขึ้น โดยที่คนอื่นก็มีความสุขด้วย
    อย่างนี้ก็เป็นความสุขที่ประกอบด้วยธรรม
    ถ้าความสุขอย่างนี้เกิดขึ้นมาก ก็ทำให้โลกนี้มีสันติสุข
    เริ่มตั้งแต่ในครอบครัวเป็นต้นไป
    พ่อแม่อยากให้ลูกเป็นสุข สละให้แก่ลูกแล้วพ่อแม่ก็เป็นสุขด้วย
    ทีนี้ถ้าลูกรักพ่อแม่เหมือนอย่างที่พ่อแม่รักลูก
    ลูกก็จะทำแก่พ่อแม่อย่างเดียวกับที่พ่อแม่ทำให้แก่ตนเอง



    คือ ลูกพยายามทำให้พ่อแม่เป็นสุข
    เมื่อลูกพยายามทำให้พ่อแม่เป็นสุข ลูกก็ให้แก่พ่อแม่
    ลูกก็พยายามรับใช้ ทำอะไรต่างๆ ให้พ่อแม่มีความสุข
    พอลูกเห็นพ่อแม่มีความสุข ลูกก็สุขด้วย
    ความสุขของลูกก็ประสานกับสุขของพ่อแม่
    ถ้าอย่างนี้ก็มีแต่ความสุขสันติ์ร่มเย็นยิ่งขึ้น ในครอบครัวก็เป็นสุข

    ขยายออกไป ในหมู่เพื่อนฝูงญาติมิตรก็เหมือนกัน
    ถ้าญาติมิตรเพื่อนฝูงให้แก่กัน หรือทำอะไรให้กัน
    โดยอยากจะให้ญาติหรือเพื่อนเป็นสุข
    พอเห็นญาติหรือเพื่อนเป็นสุขตัวเองก็เป็นสุขด้วย
    เมื่อความสุขแบบประสานกันอย่างนี้กว้างออกไปๆ
    โลกนี้ก็ร่มเย็น และมีการช่วยเหลือกัน การอาศัยกันได้
    วัตถุสิ่งของต่างๆ ก็จะกลายเป็นเครื่องประกอบที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน
    อันนี้ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่ชอบธรรม
    รวมแล้วความสุขที่พัฒนายิ่งขึ้นไปมีอยู่มากมาย




    อีกตัวอย่างหนึ่ง โยมมีศรัทธาในพระศาสนา
    มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยเชื่อในบุญกุศล
    พอไปทำบุญกุศลก็เกิดความอิ่มใจแม้จะให้จะสละก็ไม่ทุกข์
    เพราะใจมีศรัทธาเสียแล้ว เมื่อให้ด้วยศรัทธา การให้ก็กลายเป็นความสุขด้วย

    เป็นอันว่า ในขั้นต้น มนุษย์เรามีความสุขจากการได้การเอา
    จึงแย่งความสุขกัน แต่เมื่อพัฒนาไปพอถึงขั้นที่ 2 จิตใจมีคุณธรรม
    เช่น เมตตา มีไมตรี มีศรัทธา


    การให้กลายเป็นความสุข ก็เกิดความสุขจากการให้
    จึงเปลี่ยนเป็นความสุขที่ประสานส่งเสริมอุดหนุนซึ่งกันและกัน
    มนุษย์เราก็พัฒนาต่อไปในเรื่องความสุข แล้วก็ทำให้ทั้งชีวิต
    และทั้งโลกนี้มีความสุขมากขึ้นด้วย แต่รวมความก็คือว่า
    เราต้องพยายามทำตัวให้มีความสุขโดยถูกต้อง
    ถ้าทำได้อย่างนี้ก็เป็นการมีความสุขโดยชอบธรรม


    แม้แต่สุขที่ชอบธรรม ถ้าปฏิบัติผิด สุขก็กลายเป็นเสื่อม


    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าเป็นความสุขโดยชอบธรรมแล้วเรามีสิทธิ์เสวย
    ไม่ต้องไปสละละทิ้ง แต่ท่านสอนไม่ให้หยุดแค่นี้
    เพราะถ้าเราปฏิบัติผิด พอเรามีความสุขแล้ว
    เราก็อาจจะพลาดจุดที่จะพลาดอยู่ตรงนี้คือ
    เรามีสิทธิ์ที่จะสุข และเราก็สุขแล้ว


    แต่เราเกิดไปหลงเพลิดเพลินมัวเมา พอเราหลงเพลินมัวเมา
    ความสุขนั้นก็จะกลับกลายเป็นปัจจัยของความทุกข์ได้ พอถึงตอนนี้ก็จะเสีย
    เพราะฉะนั้นความสุขนั้นเราจะต้องรู้ทันด้วย

    ความสุขก็เป็นโลกธรรมอย่างหนึ่ง คือ มันเกิดขึ้นแล้ว ก็ตั้งอยู่และดับไป
    เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงได้
    ถ้าเรารู้ทันความจริงนี้ เมื่อสุขเราก็เสวยสุขนั้น โดยชอบธรรม
    แต่เราไม่หลงมัวเมาในความสุขนั้น เ
    มื่อรู้เท่าทันไม่หลงมัวเมาแล้วมันก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์
    แต่ถ้าเราหลงมัวเมา สุขก็เป็นปัจจัยแก่ทุกข์
    อย่างน้อยก็ทำให้ติด แล้วก็เพลิดเพลินหลงมัวเมา
    ไม่ทำอะไร ทำให้เกิดความประมาท



    คนที่คิดว่าเราสุขแล้ว เราสำเร็จแล้ว เราเก่งแล้ว เราดีแล้วนี้
    พระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้ว่า จะเป็นเหตุให้เกิดความประมาท
    เพราะเกิดความพอใจก็ได้แต่มีเสวยความสุขและความสำเร็จนั้น
    ไม่ทำอะไรที่ควรจะทำต่อๆ ไป หรือให้ยิ่งขึ้นไป
    มีกิจหน้าที่อะไรที่ควรทำก็ไม่ทำ
    อะไรเกิดขึ้นควรตรวจตราแก้ไข หรือจัดดำเนินการ ก็ปล่อยก็ละเลย
    มีแต่หลงในความสุขกลายเป็นทางของความประมาท แล้วก็เป็นความเสื่อมต่อไป




    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้แต่พระอริยะ อย่างพระโสดาบันก็ยังประมาทได้
    ประมาทเพราะอะไร เพราะว่าไปเกิดความพอใจขึ้นมา
    อิ่มใจว่านี่เราได้บรรลุธรรมสูงถึงขั้นนี้แล้วพอใจขึ้น ความประมาทก็ตามมาทันที
    ก็ไม่เพียรพยายามเพื่อก้าวหน้าในคุณความดียิ่งขึ้นไป ก็กลายเป็นความเสื่อม



    พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เรื่องความเจริญงอกงามในกุศลธรรมนั้นหยุดไม่ได้

    เราต้องพยายามยิ่งขึ้นไป มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งตรัสไว้ว่า

    เราไม่สรรเสริญ แม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย
    ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมจากกุศลธรรม


    เราสรรเสริญแต่ความก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปในกุศลธรรมเท่านั้น

    ก็หมายความว่า เราจะต้องเพียรพยายามปฏิบัติเจริญกุศลธรรมให้ก้าวหน้าไป
    จนกระทั่งหมดกิเลส หมดความทุกข์
    มีปัญญาสมบูรณ์ มีสติสมบูรณ์ทีสุด

    ถ้าเราเกิดไปติดในความสุข ในความเพลิดเพลิน

    เราก็หยุด เราก็ไม่ขวนขวาย ไม่ปฏิบัติต่อไป ก็จะกลายเป็นทางของความเสื่อม
    เพราะฉะนั้น ความสุขถ้าเราหลงติดมัวเมา ก็เป็นการผิดพลาด

    เพราะฉะนั้นต้องแสวงหาความสุขด้วยความรู้เท่าทัน
    แล้วความรู้เท่าทันที่เป็นตัวปัญญานี้ จะป้องกันไม่ให้สุขนั้นเกิดพิษเกิดภัย
    มันจะป้องกันเหตุร้าย ภัยพิบัติ และความเสื่อมได้ทั้งหมด
    นี่ก็คือ การเสวยสุขโดยไม่ประมาทนั่นเอง

    สิ่งทั้งหลายก็ทุกข์ต่อไปตามเรื่องของธรรมชาติ
    แต่ใจเราเป็นอิสระมีสุขที่สมบูรณ์

    สิ่งทั้งหลายที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    มีความเปลี่ยนแปลงเป็นไปต่างๆ มันก็ต้องเป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดา
    เพราะมันอยู่ในกฎธรรมชาติอย่างนั้น ไม่มีใครไปแก้ไขได้
    แต่ที่มันเป็นปัญหาก็เพราะว่า
    ในเวลาที่มันแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตามกฎธรรมชาตินั้น
    มันพลอยมาเบียดเบียนจิตใจของเราด้วย เพราะอะไร


    เพราะเรายื่นแหย่ใจของเราเข้าไปด้วย
    อิทธิพลความผันผวนปรวนแปรของธรรมชาตินั้นด้วย
    ดังนั้น เมื่อสิ่งเหล่านั้นปรวนแปรไปอย่างไร
    ใจของเราก็พลอยปรวนแปรไปอย่างนั้นด้วย
    เมื่อมันมีอันเป็นไปใจของเราก็ถูกบีบคั้นไม่สบาย

    แต่พอเรารู้เท่าทันถึงธรรมดาแล้ว
    กฎธรรมชาติก็เป็นกฎธรรมชาติ
    สิ่งทั้งหลายที่เป็นธรรมชาติ ก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติ
    ทำไมเราจะต้องเอาใจของเราไปให้กฎธรรมชาติบีบคั้นด้วย
    เราก็วางใจของเราได้


    ความทุกข์ที่มีในธรรมชาติก็เป็นของธรรมชาติไป
    ใจของเราไม่ต้องเป็นทุกข์ไปด้วย
    ตอนนี้แหละ ที่ท่านเรียกว่ามีจิตใจเป็นอิสระ
    จนกระทั่งว่า แม้แต่ทุกข์ที่มีในกฎของธรรมชาติ
    ก็ไม่สามารถมาเบียดเบียนบีบคั้นใจเราได้
    เป็นอิสรภาพแท้จริง ที่ท่านเรียกว่า วิมุตติ


    คัดลอกจากหนังสือ
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ผลแห่งการระลึกถึงความดีที่ตนเองเคยทำไว้ในโลกมนุษย์




    <CENTER><BIG>อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เทวทูตวรรคที่ ๔</BIG> <CENTER class=D>๖. ทูตสูตร</CENTER></CENTER>


    <CENTER>อรรถกถาทูตสูตรที่ ๖ </CENTER>พึงทราบวินิจฉัยในทูตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-


    <CENTER>
    เทวทูต </CENTER>บทว่า เทวทูตานิ ได้แก่ เทวทูตทั้งหลาย.
    ก็ในบทว่า เทวทูตานิ นี้มีความหมายของคำดังต่อไปนี้
    มัจจุชื่อว่า เทวะ ทูตของเทวะนั้น ชื่อว่าเทวทูต. อธิบายว่า คนแก่ คนเจ็บและคนตาย เรียกว่าเทวทูต เพราะเป็นเหมือนเตือนอยู่ว่า บัดนี้ ท่านกำลังเข้าไปใกล้ความตาย โดยมุ่งหมาย จะให้เกิดความสังเวช.
    อนึ่ง ชื่อว่าเทวทูต เพราะหมายความว่า เป็นทูตเหมือนเทวดาบ้าง.
    อธิบายว่า เมื่อเทวดาตกแต่งประดับประดา แล้วยืนพูดอยู่ในอากาศว่า ท่านจักตายในวันโน้น คำพูดของเทวดานั้นคนต้องเชื่อฉันใด แม้คนแก่คนเจ็บและคนตายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปรากฏก็เป็นเหมือนเตือนอยู่ว่า แม้ท่านก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา และคำพูดนั้นของคนแก่คนเจ็บและคนตายเหล่านั้น ก็เป็นเหมือนคำพยากรณ์ของเทวดา เพราะไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นเลย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวดา.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นเทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพก็ได้.
    อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทุกองค์เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตายและนักบวชเท่านั้น ก็ถึงความสังเวชแล้วออกบวช. คนแก่ คนเจ็บ คนตายและนักบวช ชื่อว่าเทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพทั้งหลายบ้าง ดังพรรณนามานี้.
    แต่ในสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า เทวทูตานิ เพราะลิงควิปัลลาส.


    <CENTER>
    พญายมถามเทวทูต </CENTER>ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า กาเยน ทุจฺจริตํ เป็นต้นไว้?
    ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงกรรมของผู้เข้าถึงฐานะที่เป็นเหตุ (ให้พญายม) ซักถามถึงฐานะของเทวทูตทั้งหลาย. (ปาฐะว่า เทวตานุยฺญฺชนฏฐานุปกฺกมทสฺสนตฺถํ ฉบับพม่าเป็น เทวทูตานุยุญฺชนฏฺฐานุปกฺกมกมฺมทสฺสนฺตํว แปลตามฉบับพม่า)
    จริงอยู่ สัตว์นี้ย่อมบังเกิดในนรกด้วยกรรมนี้. พญายมราชย่อมซักถามเทวทูตทั้งหลาย.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน ทุจฺจริตํ จรติ ความว่า ประพฤติทุจริต ๓ อย่างทางกายทวาร.
    บทว่า วาจาย ความว่า ประพฤติทุจริต ๔ อย่างทางวจีทวาร.
    บทว่า มนสา ความว่า ประพฤติทุจริต ๓ อย่างทางมโนทวาร.


    <CENTER>
    นายนิรยบาลมีจริงหรือไม่? </CENTER>ในบทว่า ตเมนํ ภิกฺขเว นิรยปาลา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ พระเถระบางพวกกล่าวว่า นายนิรยบาลไม่มีหรอก กรรมต่างหากเป็นเหมือนหุ่นยนต์สร้างเหตุการณ์ขึ้น. คำนั้นถูกคัดค้านไว้ในคัมภีร์อภิธรรมแล้วแล โดยนัยเป็นต้นว่า ในนรกมีนายนิรยบาล และว่า ใช่แล้ว ผู้สร้างเหตุการณ์ก็มีอยู่ เปรียบเหมือนในมนุษย์โลก ผู้สร้างเหตุการณ์คือกรรม มีอยู่ฉันใด ในนรก นายนิรยบาลก็มีอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน.


    <CENTER>
    พญายมคือเวมานิกเปรต </CENTER>บทว่า ยมสฺส รญฺโญ ความว่า พญาเวมานิกเปรต ชื่อว่าพญายม เวลาหนึ่ง เสวยสมบัติมีต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์ อุทยานทิพย์และเหล่านางฟ้อนทิพย์เป็นต้นในวิมานทิพย์ เวลาหนึ่ง เสวยผลของกรรม. พญายมผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีอยู่. และพญายมอย่างนั้นก็มิได้มีอยู่แต่พระองค์เดียว แต่ว่ามีอยู่ถึง ๔ พระองค์ที่ ๔ ประตู.


    <CENTER>
    อธิบายศัพท์ อมัตเตยยะ อพรหมัญญะ </CENTER>บทว่า อมตฺเตยฺโย ความว่า บุคคลผู้เกื้อกูลแก่มารดา ชื่อว่ามัตเตยยะ. อธิบายว่า เป็นผู้ปฏิบัติชอบในมารดา. ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา ชื่อว่าอมัตเตยยะ. อธิบายว่า ผู้ปฏิบัติผิดในมารดา.
    แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
    ในบทว่า อพฺรหฺมญฺโญ นี้ มีอธิบายว่า พระขีณาสพชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าอพรหมัญญะ.
    บทว่า สมนุยุญฺชติ ความว่า พญายมให้นำระเบียบในการซักถามมาซักถาม. แต่เมื่อให้ยืนยันลัทธิ ชื่อว่าซักไซ้. เมื่อถามถึงเหตุ ชื่อว่าซักฟอก.
    ด้วยบทว่า นาทฺทสํ (ข้าพเจ้ามิได้เห็น) สัตว์นรกกล่าวอย่างนั้น หมายถึงว่าไม่มีเทวทูตอะไรๆ ที่ถูกส่งไปในสำนักของตน.


    <CENTER>
    พญายมเตือน </CENTER>ครั้งนั้น พญายมทราบว่า ผู้นี้ยังกำหนดความหมายของคำพูดไม่ได้ ต้องการจะให้เขากำหนด จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อมฺโภ ดังนี้กะเขา.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺณํ ได้แก่ ทรุดโทรมเพราะชรา.
    บทว่า โคปานสิวงฺกํ ได้แก่ โกง เหมือนกลอนเรือน.
    บทว่า โภคฺคํ ได้แก่ งุ้มลง.
    พญายมแสดงถึงภาวะที่บุคคลนั้น (มีหลัง) โกงนั่นแล ด้วยบทว่า โภคฺคํ แม้นี้.
    บทว่า ทณฺฑปรายนํ คือ มีไม้เท้าเป็นที่พึ่ง ได้แก่ มีไม้เท้าเป็นเพื่อน.
    บทว่า ปเวธมานํ แปลว่า สั่นอยู่.
    บทว่า อาตุรํ ได้แก่ อาดูรเพราะชรา.
    บทว่า ขณฺฑทนฺตํ ได้แก่ ชื่อว่ามีฟันหัก เพราะอานุภาพของชรา.
    บทว่า ปลิตเกสํ แปลว่า มีผมขาว (หงอก).
    บทว่า วิลูนํ ได้แก่ ศีระษะล้าน เหมือนถูกใครถอนเอาผมไป.
    บทว่า ขลิตสิรํ ได้แก่ ศีรษะล้านมาก.
    บทว่า วลิตํ ได้แก่ เกิดริ้วรอย.
    บทว่า ติลกาหตคตฺตํ ได้แก่ มีตัวลายพร้อยไปด้วยจุดขาวจุดดำ.
    บทว่า ชราธมฺโม ความว่า มีชราเป็นสภาพคือไม่พ้นจากชราไปได้ ธรรมดาว่าชราย่อมเป็นไปในภายในตัวเรานี่เอง.
    แม้ในสองบทต่อมาว่า พฺยาธิธมฺโม มรณธมฺโม ก็มีนัยความหมายอย่างเดียวกันนี้แล.


    <CENTER>
    เทวทูตที่ ๑ </CENTER>ในบทว่า ปฐมํ เทวทูตํ สมนุยุญฺชิตฺวา นี้ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้
    ธรรมดาว่า สัตว์ผู้ทรุดโทรมเพราะชราย่อมกล่าวโดยใจความอย่างนี้ว่า ดูเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ข้าพเจ้าก็ได้เป็นหนุ่มสมบูรณ์ด้วยพลังขา พลังแขนและความว่องไวเหมือนท่านมาแล้ว (แต่ว่า) ความสมบูรณ์ด้วยพลังและความว่องไวเหล่านั้นของข้าพเจ้านั้นหายไปหมดแล้ว แม้มือและเท้าของข้าพเจ้าก็ไม่ทำหน้าที่ของมือและเท้า ข้าพเจ้ากลายมาเป็นคนอย่างนี้ก็เพราะไม่พ้นจากชรา ก็แลไม่ใช่แต่เฉพาะข้าพเจ้าเท่านั้น ถึงพวกท่านก็ไม่พ้นจากชราไปได้เหมือนกัน เหมือนอย่างว่า ชรามาแก่ข้าพเจ้าฉันใด ชราก็จักมาแม้แก่พวกท่านฉันนั้น เพราะชรานั้นมาอย่างที่กล่าวมานี้ ในวันข้างหน้านั่นแล ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำแต่ความดีเถิด. ด้วยเหตุนั้น สัตว์ผู้ทรุดโทรมเพราะชรานั้น จึงชื่อว่าเป็นเทวทูต.


    <CENTER>
    เทวทูตที่ ๒ </CENTER>บทว่า อาพาธิกํ แปลว่า คนเจ็บ.
    บทว่า ทุกฺขิตํ แปลว่า มีทุกข์.
    บทว่า พาฬฺหคิลานํ แปลว่า เป็นไข้หนักเหลือประมาณ.
    แม้ในที่นี้ ธรรมดาว่าสัตว์ผู้เจ็บป่วยย่อมกล่าวโดยใจความอย่างนี้ว่า ดูเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ข้าพเจ้าก็เป็นคนไม่มีโรคเหมือนพวกท่านมาแล้ว แต่ว่า บัดนี้ ข้าพเจ้านั้นถูกความเจ็บป่วยครอบงำ จมอยู่กับปัสสาวะอุจจาระของตน แม้แต่จะ (ยันกาย) ลุกขึ้นก็ยังไม่สามารถ มือเท้าของข้าพเจ้าแม้จะมีอยู่ ก็ทำหน้าที่ของมือเท้าไม่ได้ ข้าพเจ้ากลายเป็นคนเช่นนี้ก็เพราะไม่พ้นไปจากพยาธิ (ความเจ็บไข้) ก็แลไม่ใช่แต่เฉพาะข้าพเจ้าเท่านั้น แม้พวกท่านก็ไม่พ้นจากพยาธิเหมือนกัน เหมือนอย่างว่า พยาธิมาแก่ข้าพเจ้าฉันใด พยาธิก็จักมาแม้แก่พวกท่านฉันนั้น เพราะพยาธินั้นมา<WBR>อย่าง<WBR>ที่<WBR>กล่าว<WBR>มา<WBR>นี้ในวัน<WBR>ข้าง<WBR>หน้าแน่ ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำแต่ความดีเถิด. เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เจ็บป่วยนั้น จึงชื่อว่าเป็นเทวทูต.


    <CENTER>
    เทวทูตที่ ๓ </CENTER>ในบทว่า เอกาหมตํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    สัตว์นั้นตายได้วันเดียว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเอกาหมตะ. (ท่านไม่เห็น) สัตว์ตายในวันเดียวนั้น (หรือ). แม้ในสองบทต่อมา (คือ ทฺวีหมตํ วา ตีหมตํ วา) ก็มีนัยนี้แล. ซากศพชื่อว่าอุทธุมาตกะ เพราะขึ้นพองโดยภาวะที่อืด สูงขึ้นตามลำดับนับตั้งแต่สิ้นชีวิตไป เหมือนสูบที่เต็มด้วยลมฉะนั้น.
    ซากศพที่มีสี (เขียว) ขึ้นปริไปทั่ว วินีละ วินีละนั้นเองชื่อว่าวินีลกะ. (ท่านไม่เห็น) ซากศพที่เขียวคล้ำนั้น (หรือ). อีกอย่างหนึ่ง ซากศพที่เขียวคล้ำนั้น นับว่าน่ารังเกียจเพราะเป็นของน่าเกลียด.
    บทว่า วิปุพฺพกํ ได้แก่ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม. อธิบายว่า ซากศพที่เปรอะเปื้อนไปด้วยน้ำเหลืองที่ไหลออกจากที่ที่แตกปริ.
    ในบทว่า ตติยํ เทวทูตํ นี้ มีอธิบายว่า ธรรมดาว่าสัตว์ตายย่อมบอกเป็นความหมายอย่างนี้ว่า ดูเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย (จงดู) ข้าพเจ้าถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบ ถึงความเป็นสภาพที่พองอืดเป็นต้น ก็ข้าพเจ้ากลายเป็นเช่นนี้ก็เพราะไม่พ้นจากความตาย ก็แลไม่ใช่เฉพาะข้าพเจ้าเท่านั้น แม้พวกท่านก็ไม่พ้นจากความตายเหมือนกัน เหมือนอย่างว่า ความตายมาแก่ข้าพเจ้าฉันใด ก็จักมาแก่พวกท่านฉันนั้น เพราะความตายนั้นจะมาอย่างที่กล่าวมานี้ในวันข้างหน้าแน่ ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำแต่ความดีเถิด. ด้วยเหตุนั้น สัตว์ตายนั้นจึงจัดเป็นเทวทูต.


    <CENTER>
    ใครถูกถามถึงเทวทูต-ใครไม่ถูกถาม </CENTER>ถามว่า ก็การถามถึงเทวทูตนี้ ใครได้ ใครไม่ได้ (ใครถูกถามใครไม่ถูกถาม).
    ตอบว่า บุคคลใดทำบาปไว้มาก บุคคลนั้น (ตายแล้ว) ไปเกิดในนรกทันที. แต่บุคคลใดทำบาปไว้นิดหน่อย บุคคลนั้นย่อมได้ (ถูกถาม).
    อุปมาเหมือน ราชบุรุษจับโจรได้พร้อมของกลาง ย่อมทำโทษที่ควรทำทันที ไม่ต้องวินิจฉัยละ แต่ผู้ที่เขาสงสัยจับได้ เขาจะนำไปยังที่สำหรับวินิจฉัย บุคคลนั้นย่อมได้รับการวินิจฉัยฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น. เพราะผู้ที่มีบาปกรรมนิดหน่อยระลึกได้ตามธรรมดาของตนเองบ้าง ถูกเตือนให้ระลึกจึงระลึกได้บ้าง.


    <CENTER>
    ตัวอย่างผู้ที่ระลึกได้ตามธรรมดาของตน </CENTER>ในการระลึกได้เองและถูกเตือนให้ระลึกนั้น มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
    ทมิฬชื่อทีฆชยันตะระลึกได้เองตามธรรมดาของตน. เล่ากันว่า ทมิฬนั้นเอาผ้าแดงบูชาอากาสเจดีย์ (เจดีย์ระฟ้า) ที่สุมนคิริมหาวิหาร ต่อมา (ตายไป) บังเกิดในที่ใกล้อุสสุทนรก ได้ฟังเสียงเปลวไฟ<SUP>๑-</SUP> จึงหวนระลึกถึงผ้า (แดง) ที่ตนเอาบูชา (อากาสเจดีย์) เขาจึง (จุติ) ไปบังเกิดในสวรรค์.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> ปาฐะว่า ชาลสทฺทํ ฉบับพม่าเป็น อคฺคิชาลสทฺทํ แปลตามฉบับพม่า.

    มีอีกคนหนึ่งถวายผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยงแก่ภิกษุหนุ่มผู้เป็นบุตร เวลาที่ทอดผ้าไว้แทบเท้า (พระลูกชาย) ก็ถือเอานิมิตในเสียงว่าแผ่นผ้าๆ ได้. ต่อมา บุรุษนั้น (ก็ตายไป) บังเกิดในที่ใกล้อุสสุทนรก หวนระลึกถึงผ้าสาฎกนั้นได้ เพราะ (ได้ยิน) เสียงเปลวไฟ จึง (จุติ) ไปบังเกิดในสวรรค์.
    ชนทั้งหลายผู้เกิดในนรกระลึกถึงกุศลกรรมได้ตามธรรมดาของตนแล้ว (จุติไป) บังเกิดในสวรรค์ ดังพรรณนามานี้ก่อน.
    ส่วนสัตว์ผู้ระลึกไม่ได้ตามธรรมดาของตน พญายมย่อมถามถึงเทวทูต ๓. บรรดาสัตว์เหล่านั้น ลางตนระลึกได้เพียงเทวทูตที่ ๑ เท่านั้น (แต่) ลางตนระลึกได้ถึงเทวทูตที่ ๒ และที่ ๓. สัตว์ใดระลึกไม่ได้ด้วยเทวทูตทั้ง ๓ พญายมจะเตือนสัตว์นั้นให้ระลึกได้เอง.


    <CENTER>
    ตัวอย่างผู้ที่ถูกเตือน </CENTER>เล่ากันมาว่า อำมาตย์คนหนึ่งบูชาพระมหาเจดีย์ด้วยดอกมะลิ ๑ หม้อแล้วได้แบ่งส่วนบุญให้แก่พญายม. นายนิรบาลทั้งหลายได้นำเขาผู้บังเกิดในนรกด้วย<WBR>อกุศล<WBR>กรรม<WBR>ไปยังสำนักพญายม. เมื่อเขาระลึกถึงกุศลไม่ได้ด้วยเทวทูตทั้ง ๓ พญายมจึงตรวจดูเอง พลางเตือนเขาให้ระลึกว่า ท่านได้บูชาพระมหาเจดีย์ด้วยดอกมะลิ ๑ หม้อแล้วได้แบ่งส่วนบุญให้เรามิใช่หรือ?
    เวลานั้น เขาก็ระลึกได้ (ขึ้นมาทันทีจึงจุติ) ไปบังเกิดยังเทวโลก ฝ่ายพญายม แม้ตรวจดูด้วยพระองค์เองแล้ว เมื่อไม่เห็นก็จะทรงนิ่งเสีย ด้วยทรงดำริว่า สัตว์นี้จักเสวยทุกข์มหันต์.


    <CENTER>
    การลงโทษในนรก </CENTER>บทว่า ตตฺตํ อโยขีลํ ความว่า นายนิรยบาลทั้งหลายจับอัตภาพ (สูงใหญ่) ประมาณ ๓ คาวุต ให้นอนหงายบนพื้นโลหะที่ไฟลุกโชนแล้ว เอาหลาวเหล็กขนาดเท่าต้นตาลแทงเข้าไปที่มือขวา ที่มือซ้ายเป็นต้น (ก็ทำ) เหมือนกัน. นายนิรยบาลจะจับสัตว์นรกนั้นให้นอนคว่ำหน้าบ้าง ตะแคงซ้ายบ้าง ตะแคงขวาบ้าง เหมือนให้นอนหงายแล้วลงโทษฉันนั้นเหมือนกัน.
    บทว่า สํเวเสตฺวา ความว่า (นายนิรยบาล) จับอัตภาพประมาณ ๓ คาวุตให้นอนบนพื้นโลหะที่ไฟลุกโชน.
    บทว่า กุฐารีหิ ความว่า ถากด้วยผึ่งใหญ่ขนาดเท่าหลังคาเรือนด้านหนึ่ง. เลือดไหลนองเป็นแม่น้ำ. เปลวไฟลุกโชนจากพื้นโลหะไปติดที่ที่ถูกถาก. ทุกข์มหันต์เกิดขึ้น (แก่สัตว์นรก) ส่วนนายนิรยบาลทั้งหลาย เมื่อถากก็ถากให้เป็น ๘ เหลี่ยมบ้าง ๖ เหลี่ยมบ้าง เหมือนตีเส้นบรรทัดถากไม้.
    บทว่า วาสีหิ คือ ด้วยมีดทั้งหลายมีขนาดเท่ากระด้งใหญ่.
    บทว่า รเถ โยเชตฺวา ความว่า (นายนิรยบาลทั้งหลาย) เทียมสัตว์นรกนั้นให้ลากรถพร้อมกับแอก เชือก แปรก ล้อรถ ทูบและปฏักซึ่งมีไฟลุกโพลงรอบด้าน.
    บทว่า มหนฺตํ คือ มีประมาณเท่าเรือนยอดขนาดใหญ่.
    บทว่า อาโรเปนฺติ ความว่า ตีด้วยฆ้อนเหล็กที่ไฟลุกโชติช่วง แล้วบังคับให้ขึ้น (ภูเขาไฟ).
    บทว่า สกึป อุทฺธํ ความว่า สัตว์นรกนั้น (ถูกไฟเผาไหม้) พล่านขึ้นข้างบน จมลงข้างล่างและลอยขวาง คล้ายกับข้าวสารที่ใส่ลงไปในหม้อที่เดือดพล่านฉะนั้น.
    บทว่า มหานิรเย คือ ในอเวจีมหานรก.
    บทว่า ภาคโส มิโต คือ (มหานรก) แบ่งไว้เป็นส่วนๆ.
    บทว่า ปริยนฺโต คือ ถูกล้อมไว้.
    บทว่า อยสา คือ ถูกปิดข้างบนด้วยแผ่นเหล็ก.
    บทว่า สมนฺตา โยชนสตํ ผริตฺวา ติฏฺฐติ ความว่า เปลวไฟพวยพุ่งไปอยู่อย่างนั้น. เมื่อสัตว์นรกนั้นยืนดูอยู่ในที่ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ นัยน์ตาก็จะถลนออกมาเหมือนก้อนเนื้อ ๒ ก้อนฉะนั้น.
    บทว่า หีนกายูปคา ความว่า เข้าถึงกำเนิดที่ต่ำ.
    บทว่า อุปาทาเน ได้แก่ ในป่าชัฏคือตัณหาและทิฏฐิ.
    บทว่า ชาติมรณสมฺภเว ได้แก่ เป็นเหตุแห่งชาติและมรณะ.
    บทว่า อนุปาทา ได้แก่ เพราะไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ๔.
    บทว่า ชาติมรณสงฺขเย ความว่า หลุดพ้นในเพราะนิพพาน อันเป็นแดนสิ้นไปของชาติและมรณะ.
    บทว่า ทิฏฺฐธมฺมาภินิพฺพุตา ความว่า ดับสนิทแล้ว ในเพราะดับกิเลสทั้งหมดในทิฏฐธรรม คือในอัตภาพนี้นั่นแล.
    บทว่า สพฺพํ ทุกฺขํ อุปจฺจคุ ํ ความว่า ล่วงเลยวัฏทุกข์ทั้งหมด.


    <CENTER>
    จบอรรถกถาทูตสูตรที่ ๖


    ----------------------------------------------------- </CENTER>
    .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เทวทูตวรรคที่ ๔ ๖. ทูตสูตร จบ




    ใครที่ทำความดีไว้ประจำไม่ต้องกลัวเน้อ...จิตจำได้แน่นอน สายบุญเดียวกันไม่ทิ้งกัน ฝากบุญไว้ทุกเดือนเมื่อยามละไปจากโลกนี้ยืนงงๆ ต่อหน้าท่านพญายม ก็คงมีผู้มาตาม "นี่ไงบุญเค้า บุญที่ช่วยสงเคราะห์สงฆ์ทั้งอาหาร ทั้งผ้า ทั้งยา ทั้งเลือด เขาทำบุญยังเรียกฉันมาโมทนาให้ ฉันเป็นพยานให้ได้จ๊ะ" (บัญชีบุญของทุนนิธิฯ คณะกรรมการฯ ให้พี่ใหญ่ที่เป็นฌาณลาภีบุคคล ขอบารมีท่านข้างบนช่วยฝากบุญ และเป็นพยานบุญให้ทุกเดือนๆ หรือหากพบเจอครูอาจารย์ที่เป็นพระกัมมัฏฐานที่เป็นสงฆ์ที่เป็นเนื้อนาบุญที่ควรกราบไหว้ ก็จะนำไปให้ท่านโมทนาบุญให้ด้วยทุกครั้ง เช่นเคยนำไปให้หลวงปู่อ่อนศรี วัดถ้ำประทุน ที่มรณะภาพไปแล้วท่านโมทนาให้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 สิงหาคม 2008
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ความรู้ที่ควรจดจำ และนำไปสอนลูกหลานต่อไปให้ได้รู้เช่นกันครับ




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=2><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#204080 colSpan=2 rowSpan=2>
    • <!--WapAllow0=Yes--><!--pda content="begin"--><BIG><BIG><!--Topic-->เจดีย์มีกี่อย่าง </BIG></BIG>
      <!--MsgIDBody=0-->ในสมัยพุทธกาล ท่านพระอานนท์ก็ได้ปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่วัดพระเชตวัน เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมหาชน แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาที่พระองค์ไม่อยู่ ดังมีเรื่องว่า

      เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จหลีกจาริกไปตามชนบท เพื่อจะทรงสงเคราะห์เวไนยสัตว์ ชาวกรุงสาวัตถีต่างถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น ไปยังพระเชตะวัน ครั้นไม่ได้ปูชนียสถานอย่างอื่น ก็เอาวางไว้ที่ประตูคันธกุฎี แล้วกลับไป พวกเขาไม่ได้มีความปราโทย์กันอย่างยิ่งเลย

      ท่านอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีทราบเหตุนั้นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์เถระ ในเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาที่พระเชตวัน เรียนว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อพระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปพระวิหารนี้ก็ไม่มีที่พึ่งอาศัย มนุษย์ทั้งหลายไม่มีสถานที่บูชาด้วยของหอม และดอกไม้ เป็นต้น ขอโอกาสเถิดท่านเจ้าข้า ขอท่านจงกราบทูลความเรื่องนี้แด่พระตถาคต แล้วจงทราบสถานที่ที่ควรบูชาสักแห่งหนึ่ง

      พระอานนท์เถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า เจดีย์มีกี่อย่างพระเจ้าข้า?

      พระศาสดาตรัสตอบว่า มี๓อย่าง พระอานนท์

      มีอะไรบ้างพระเจ้าข้า?

      มีธาตุกเจดีย์ ปริโภคเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์**

      **ธาตุกเจดีย์ - สถูปที่มีพระธาตุบรรจุอยู่
      **ปริโภคเจดีย์ - ต้นโพธิ์ (ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า)
      **อุทเทสิกเจดีย์ - พระพุทธรูป

      เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป ข้าพระองค์สามารถทำเจดีย์ได้หรือพระเจ้าข้า?

      อานนท์ สำหรับธาตุกเจดีย์ไม่สามารถทำได้ เพราะธาตุกเจดีย์นั้นจะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วเท่านั้น สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ก็ไม่มีวัตุปรากฏ เป็นเพียงสิ่งที่เนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น (องค์ของพระพุทธเจ้า ตอนนั้นยังไม่มีพระพุทธรูป) ส่วนต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายใช้สอยแล้ว ถึงพระพุทธเจ้าจะยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม ย่อมเป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน

      พระอานนท์จึงทูลว่า พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จหลีกไป พระมหาวิหารเชตะวันก็หมดที่พึ่งอาศัย ข้าพระองค์จักนำเมล็ดจากต้นมหาโพธิ์มาปลูกที่ใกล้ประตูพระเชตวัน พระเจ้าข้า

      พระศาสดาตรัสว่า ดีแล้วอานนท์ เธอจงปลูกเถิด เมื่อทำอย่างนั้น ในพระเชตะวันก็จักเป็นเหมือนมีตถาคตอยู่เป็นนิจ

      พระอานนท์เถระจึงบอกแก่พระเจ้าโกศล อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นต้น ให้เตรียมหลุม ณ ตำแหน่งที่จะปลูกต้นโพธิ์ที่ใกล้ประตูพระเชตะวัน แล้วขอร้องพระโมคคัลลานเถระว่า ท่านขอรับ กระผมจักปลูกต้นโพธิ์ที่ใกล้ประตูพระเชตะวัน ท่านช่วยนำลูกโพธิ์สุกจากต้นมหาโพธิ์ให้กระผมทีเถิด

      พระโมคคัลลานเถระรับว่า ดีละ แล้วเหาะไปยังโพธิมณฑลเอาจีวรรับลูกโพธิ์ที่หล่นจากขั้วแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน ได้แล้วนำมาถวายพระอานนท์เถระ พระอานนท์เถระได้แจ้งเนื้อความพระเจ้าโกศลเป็นต้นว่า วันนี้อาตมาจะปลูกต้นโพธิ์ พระเจ้าโกศลให้พระราชบุรุษถือเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง เสด็จมาพร้อมด้วยบริวารใหญ่ในเวลาเย็น อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี มหาอุบาสิกา และผู้มีศรัทธาอื่นๆ ก็ได้ทำเช่นนั้น

      พระอานนท์เถระได้ตั้งอ่างทองใบใหญ่ไว้ ณ ตำแหน่งที่จะปลูกต้นโพธิ์ ให้เจาะก้นอ่างแล้วบรรจุโคลนผสมของหอมจนเต็ม เสร็จแล้วก็ให้ลูกโพธิ์สุกแด่พระเจ้าโกศล ทูลว่า มหาบพิตรพระองค์จงปลูกโพธิ์สุกนี้เถิด พระเจ้าโกศลทรงพระดำริว่า เราไม่สามารถจะกุมอำนาจความเป็นพระราชาไว้ในมือได้ตลอดไป ควรที่เราจะให้อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีปลูกต้นโพธิ์นี้ ดังนี้แล้วได้วางลูกโพธิ์สุกนั้นไว้ในมือของมหาเศรษฐี อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีคุ้ยโคลนผสมของหอมแล้ว ฝังลูกโพธิ์สุกไว้ในเปือกตมนั้น

      พอลูกโพธิ์สุกพ้นจากมือมหาเศรษฐี เมื่อชนทั้งปวงกำลังแลดูอยู่ ลำต้นโพธิ์ประมาณเท่างอนไถ ก็ตั้งขึ้นไปสูง๕๐ ศอก แตกกิ่งใหญ่๕กิ่ง กิ่งละ๕๐ ศอก คือในทิศทั้ง๔ และเบื้องบน ต้นโพธิ์นั้นเป็นต้นไม้ใหญ่กว่าต้นไม้เจ้าป่าตั้งขึ้นในทันใดนั้นเอง ด้วยประการฉะนี้....

      ในอรรถกถาพหุธาตุกสูตรกล่าวไว้ว่า แม้บุญที่ได้จาการปฏิบัติในต้นโพธิ์ ก็เหมือนกับบุญที่ได้จากการปฏิบัติพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า.... <!--MsgFile=0-->
      <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>จากคุณ : <!--MsgFrom=0-->เป็นประธานกฐินปีละวัด [​IMG] - [ <!--MsgTime=0-->16 ส.ค. 51 10:09:26 <!--MsgIP=0-->] <!--InformVote=0--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[0], 0);</SCRIPT>[​IMG] [​IMG] <!--EcardSend=0--><!--pda content="end"--><!--Begin Console-->


      <HR align=left width="93%" color=#e0e0e0 SIZE=1>
      <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="87%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[SIZE=-2]หน้าหลัก[/SIZE]</TD><TD align=middle>[SIZE=-2]แจ้งลบ[/SIZE]</TD><TD align=middle>[SIZE=-2]bookmark[/SIZE]</TD><TD align=middle>[SIZE=-2]ส่งต่อกระทู้[/SIZE]</TD><TD align=middle>[SIZE=-2]พิมพ์[/SIZE]</TD><TD align=middle>[SIZE=-2]โหวตกระทู้[/SIZE]</TD><TD align=middle>[SIZE=-2]เก็บเข้าคลังกระทู้[/SIZE]</TD><TD align=middle>[SIZE=-2]กระทู้ก่อนหน้า[/SIZE]</TD><TD align=middle>[SIZE=-2]กระทู้ถัดไป[/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>

      <!--End Console-->
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><!--pda content="begin"-->

    <HR align=center width="90%" color=#f0f0f0><!--pda content="end"-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2008
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ทำบุญกับใครได้บุญมากที่สุด อ่านแล้วอย่าลืมล่ะ ทำบุญกับท่านแล้ว อย่าให้ท่านเสียใจด้วยล่ะ จะได้บุญสองต่อเชียว

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

    ขตสูตรที่ ๒
    [๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวก เป็น
    คนพาล ไม่ฉลาด ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ปราศจากคุณสมบัติ เป็นผู้
    ประกอบด้วยโทษ ทั้งนักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก

    บุคคล ๔ จำพวกใครบ้าง คือ มารดา ๑ บิดา ๑ พระตถาคต ๑ สาวกของ
    พระตถาคต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวกนี้แล
    เป็นคนพาล ไม่ฉลาด ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ปราศจากคุณสมบัติ
    เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ ทั้งนักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญ
    เป็นอันมาก


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔ จำพวก เป็น
    บัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้เสื่อมเสีย เป็นผู้ไม่มีโทษ
    ทั้งนักปราชญ์ก็สรรเสริญ และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก


    บุคคล ๔ จำพวกมีใครบ้าง คือ มารดา ๑ บิดา ๑ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔ จำพวกนี้แล เป็นบัณฑิต
    ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้เสื่อมเสีย เป็นผู้ไม่มีโทษ ทั้งนัก
    ปราชญ์ก็สรรเสริญ และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก


    นรชนใด ปฏิบัติผิดในมารดา บิดา พระตถาคตสัมมา สัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคต นรชนเช่นนั้นย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนนรชนนั้น ในโลกนี้ทีเดียว เพราะเหตุที่ไม่ประพฤติธรรม ในมารดาบิดา และเขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปสู่อบาย ส่วนนรชนใดปฏิบัติชอบในมารดาบิดา ในพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคตนรชนเช่นนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้ทีเดียว เพราะเหตุที่ประพฤติธรรมในมารดาบิดา และเขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ

    จบสูตรที่ ๔

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=74&Z=100 <!--MsgFile=8-->
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้เข้ารายงานตัวช้าหน่อยเพราะช่วงบ่ายไปประชุมเรื่องงานบุญของทุนนิธิฯ ในเดือนนี้ ที่บ้านของพี่ใหญ่เพื่อสรุปโครงงานทั้งหมด พร้อมทั้งพูดคุยเรื่องการปฏิบัติทางจิต เรื่องภัยของวาตภัยที่จะเกิดในอ่าวไทย ซึ่งเดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง แต่ขอประชาสัมพันธ์งานบุญที่จะจัดในวันอาทิตย์นี้ก่อนครับ

    งานบุญในเดือนนี้ที่ รพ.สงฆ์วันอาทิตย์ที่ 24/8/51 (วันพระ) เจอะกันเวลาเดิม 7.00-7.30 น.ที่โรงอาหารด้านขวาทางเข้าของ รพ.สงฆ์ มีกำหนดการบริจาคปัจจัยช่วยเหลือพระสงฆ์ พร้อมถวายสังฆทานอาหารต่อสงฆ์อาพาธดังนี้

    1. การบริจาคเงิน

    รพ.สงฆ์ กรุงเทพฯ

    1. บริจาคเป็นค่าสังฆทานอาหารพระ 200 รูป 5,000.- บาท
    2. บริจาคเป็นค่าซื้อเลือด 7,500.- บาท
    3. บริจาคเป็นค่าซื้อเวชภัณฑ์ และวัสดุในการรักษา 7,500.- บาท
    รวม 20,000.- บาท

    รพ. 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ จ.อุบล

    - บริจาคเพื่อซื้อเวชภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงวัสดุในการรักษา 5,000.- บาท

    รพ. ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น บริจาคโดยผ่านกองทุนสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    - บริจาคเพื่อช่วยเหลือพระที่อาพาธในหอสงฆ์ของ รพ. และ
    ช่วยในกิจการอื่นของกองทุน เช่นหน่วยแพทย์ที่ออกไปรักษา
    พ่อแม่ครูอาจารย์ที่อาวุโสที่พักตามวัดต่างๆ ในที่ห่างไกลไม่สามารถ
    เดินทางเข้ามารักษาตัวในตัวจังหวัดได้ 5,000.- บาท

    รวมประมาณการการบริจาคในเดือนนี้ทั้งสิ้น 30,000.- บาท

    ซึ่งขณะนี้ผมและนายสติได้ร่วมลงนามเพื่อถอนเงินจากบัญชีทุนนิธิฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    2. กิจกรรมการสอนดูพระ

    ในเดือนนี้จะมีการสอนดูพระพิมพ์อยู่ 2 ประเภท โดยนายสติ หรือ อ.ปุ๊ เป็นผู้สอนเช่นเดิมคือ
    1. พระพิมพ์สมเด็จเนื้อปัญจสิริรุ่นแรก
    - อะไร และทำไมถึงเรียกว่าปัญจสิริ
    - รุ่นแรกและรุ่นหลัง? ต่างกันตรงไหน อย่างไรเป็นพระแท้
    - ผลการตรวจทางนามเป็นอย่างไร และทางรูปคือทรงพิมพ์เป็นยังไง

    2. พระพิมพ์สมเด็จวังหน้า สมัยอยุธยา
    - พระพิมพ์สมเด็จพิมพ์ซุ้มไทรย้อย
    - พระพิมพ์สมเด็จพิมพ์ซุ้มไข่ปลา
    - จุดต่าง
    - เนื้อหาทรงพิมพ์
    - ผลการตรวจทางรูป ทางนาม

    สำหรับพระพิมพ์สมเด็จในข้อ 2.นี้ จะเป็นพระพิมพ์ที่แจกให้ฟรี ให้กับผู้ทำบุญในกระทู้เป็นประจำ นับแต่เดือน เมษายน 2551 ที่ได้รับแจกพระพิมพ์บรมครูเทพโลกอุดรไปแล้ว จนถึงเดือนสิ้นเดือนกันยายน นี้ โดยใครที่รู้ตัวว่าอยู่ในข่ายเดือนหน้าต้นเดือนเตรียมส่ง pm. มาที่คุณโสระได้ พระพิมพ์นี้อธิษฐานจิตโดยหลวงปู่ใหญ่ มีแบบทั้งฤทธิ์เดชกันปืนกันไฟ และแบบร่ำรวยเมตตามหานิยม รายละเอียดทั้งหมด นายสติ จะนำมาลงให้ทราบทั้งรูปและประวัติย่อ ชอบแบบไหนเตรียมขอมาได้ฟรี ยกเว้นค่าจัดส่ง 50.-ที่ต้องแยกโอนมา เช่นเดิม (พระพิมพ์ชุดนี้ ปิดทองมาแต่ในกรุ หากนำไปเลี่ยมทองจะสวยมั่กๆ ครับ)พระจะเริ่มแจกในเดือนตุลาคม 2551นี้

    ส่วนความรู้เรื่องการปฏิบัติทางจิต และภัยพิบัตินั้นขออธิบายต่อในวันพรุ่งนี้ครับ
    เอาตั้งแต่หลักวิปัสสนาอย่างง่ายทำแล้วได้เลย จนถึงวินาทีสุดท้ายก่อนวิญญาณออกจากร่างความสำคัญเป็นอย่างไร

    พรุ่งนี้เจอกันช่วงสายๆ ครับ



    พันวฤทธิ์
    17/8/51


    มหาวาตภัย (storm surge) ตามที่คุณสมิธ ธรรมสโรช ทำนายไว้เป็นอย่างไรดูตามนี้ครับ
    http://hk.youtube.com/watch?v=XTvkrLESrwU
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2008
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เตือน! สตอร์ม เซิร์จ คลื่นพายุหมุน แรงเท่านาร์กีส




    [​IMG]
    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต


    หลังจากที่ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมากล่าวเตือน แนวชายฝั่งอ่าวไทย 3 จังหวัด คือ สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมถึงบริเวณชายฝั่งทะเลในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ระวังวิบัติภัยจากสตอร์ม เซิร์จ (Storm Surge) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวถือเป็นช่วงอันตรายอย่างยิ่ง จากความเร็วของแรงลมที่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะส่งผลให้คลื่นสูงเฉลี่ย 2.2-4.5 เมตร ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงๆ ความรุนแรงอาจเท่าพายุนาร์กีสเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามข่าวดังกล่าวได้สร้างความแตกตื่นกันไม่น้อย กับปรากฎการณ์ สตอร์ม เซิร์จ (Storm Surge) หรือ พายุหมุน หรือ คลื่นซัดเข้าชายฝั่ง

    เชื่อหรือไม่ว่า ปรากฎการณ์ Storm Surge เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้ว! และเคยเกิดบ่อยครั้งด้วย ซึ่งแต่ละครั้งก็นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง....

    ย้อนกลับไปเมื่อปี 2532 เกิดพายุไต้ฝุ่น เกย์ (คุ้นๆ ใช่ไหมล่ะ) พัดถล่ม จังหวัดชุมพร มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ต่อมาปี 2540 พายุลินดา ก็พัดซ้ำรอยเดิม ใน จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตน้อยกว่า ทว่าก็สร้างความเสียหายมากครั้งหนึ่งเช่นกัน และครั้งสำคัญในปี 2505 พายุที่แหลมตะลุมพุก อันเกิดจากพายุโซนร้อนแฮเรียต ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์อันน่าโศกเศร้า ยังมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิต และภูมิประเทศ โดยในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตกว่าพันคน!!!

    หันมาดูในฝั่งกรุงเทพฯ กันบ้าง เมื่อปี 2504 Storm Surge ก็เคยมีปรากฏการณ์เกิดพายุใหญ่ซัดเข้ามาในอ่าวไทย จนเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ เช่นกัน และในปี 2526 ก็เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าฝนพันปี มีน้ำท่วมและขังในพื้นที่นาน ที่สำคัญ การเกิดขึ้นของพายุได้สร้างความเสียหายต่อการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพฯ จนเป็นพื้นที่ที่เรียกว่าทะเลตรม และไม่สามารถป้องกันน้ำทะเลได้ในหลายจุด

    อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเริ่มรู้สึกว่า Storm Surge เป็นเรื่องใกล้ตัวกันบ้างแล้วใช่ไหมหล่ะคะ . . . แล้ว Storm Surge เกิดขึ้นได้อย่างไรกัน???
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้มาคุยกันต่อหลังจากที่เมื่อวานได้เปิดกะโหลกเพื่อรับเอาข้อมูลความรู้เรื่องทางจิตจากพี่ใหญ่ ในเรื่องต่างๆ พร้อมกับข้อมูลที่ได้พบเห็นในกระทู้อื่นๆ จากแหล่งความรู้เพื่อนำมาเป็นความรู้ในหัวข้อธรรมะของคณะกรรมการฯ เองนั้นพอสรุปได้ดังนี้

    1.การทำสมาธิเพื่อให้เกิดแนววิปัสนาอย่างง่าย จากหัวข้อกระทู้ที่นำมาลงคือการกราบไหว้พระพุทธรูปไม่ว่าจะทำมาจาก ปูน แก้ว พลาสติก หรือโลหะอื่น อย่าคิดแต่เพียงว่าสักแต่ว่ากราบเท่านั้น ให้คิดไปทีละส่วน พิจารณาไปโดยละเอียดเช่น มวลผมที่วนเป็นก้นหอยหมายถึงอะไร พระเนตรที่ทอดต่ำ พระพักตร์ที่แลดูนุ่มนวล พระกรรณที่ใหญ่ยาน พระโอษฐ์ที่แย้มน้อยๆ นั้นคืออะไร มีความหมายอย่างไร ค่อยคิดไปเรื่อยๆ จนเต็มองค์ จะเกิดพุทธานุสสติ และวิปัสสนากรรมฐานโดยไม่รู้สึกตัว จิตจะรวมเร็วขึ้น ละเมียดละมัยขึ้น ไม่เชื่อลองทำดู ทำกับพระของตัวเองที่บ้านนี่ล่ะ เพ่งพิจารณาดู โน้มจิตดู จะเกิดแสงเรืองรองขึ้นมาเอง ผมลองทำแล้วจึงบอกได้ เมื่อวานก็เลยสอบถามจากพี่ใหญ่อีกครั้งเพื่อทวนความถูกต้องผลก็คือให้ทำไปอย่างนี้ดีแล้วเพราะการเพ่งคือสมถะ การพิจารณาคือวิปัสสนานั่นเอง

    2.ช่วงความรู้ทางจิต ได้ถามพี่ใหญ่ว่าจิตที่ออกจากร่างก่อนตายนั้นเป็นอย่างไร พี่ใหญ่เล่าให้ฟังจากที่เคยกำหนดจิตตามดูผู้ที่ใกล้จะหมดลมว่า จิตที่ออกจากร่างช่วงก่อนตายนั้น หากเป็นจิตของผู้มีบุญก็จะมีเทพ พรหม มาห้อมล้อมรอรับ พอจิตออกจากร่างปุ๊บ จิตก็จะถูกเทพ พรหม นำไปจุติยังสวรรค์ ตรงกันข้าม หากจิตของมนุษย์ที่มีใจบาปหยาบช้า พอจิตออกจากร่างปุ๊บ ก็จะจ๊ะเอ๋กับยมทูต ที่รออยู่ แล้ว หลังจากนั้น ก็จะพาไปยังที่พิจารณาบาปบุญคุณโทษต่างๆ เพื่อทบทวนความจำทั้งหลายว่าในชาติหนึ่งที่เกิดมาทำบาปหรือบุญอะไรไว้บ้าง ถึงตอนนี้ล่ะตอนสำคัญ เพราะท่านที่เราฝากบุญเอาไว้ หรือบุญที่เราทำเอาไว้ยามมีชีวิตจะปรากฏเป็นพยานบุญพยานบาปล่ะ ใครฝากบุญไว้เยอะใครเรียกพยานบุญไว้เยอะก็ได้เปรียบล่ะ หรือใครฆ่าสัตว์ไว้เยอะ เค้าก็จะยกโขยงกันมาทวงหนี้กรรมของเค้า ถึงได้บอกว่าทุกเดือนเราจะนำบัญชีธนาคารของทุนนิธิฯ ไปขอบารมีฝากบุญกับท่านข้างบนไว้ให้ ของงี้เราไม่เห็นเองก็ต้องเชื่อพี่ใหญ่ไว้ก่อน ดีกว่าทำบุญเฉยๆ แล้วไม่มีพยาน แต่พี่ใหญ่บอกว่าถึงยังไงท่านท้าวเวสสุวรรณ ท่านมีเมตตาอยู่แล้ว ถึงยังไงท่านก็ช่วยให้เราคือผู้ที่อยู่ต่อหน้าท่านนั้นพยายามนึกถึงบุญให้ได้ เพื่อให้ไปเสวยบุญคือเป็นเทวดาตามบุญที่ทำมาก่อน แต่เพื่อความมั่นใจฝากบุญไว้ก่อน หรือหาพยานบุญไว้ก่อนดีกว่าครับ อย่างน้อยบุญเห็นๆ ก่อนที่เราตาย ก็คือได้รู้ว่าเราช่วยท่าน ช่วยสงฆ์ที่อาพาธให้ท่านดีขึ้น โดยจะดูจากรูปที่นำมาให้โมทนา ดูจากอนุโมทนาบัตร ฯลฯ ก็นับว่าเป็นปิติ หรือสุข ก่อนตายทั้งนั้นล่ะครับ

    3. ทีนี้มาถึงเรื่องวาตภัยคือพายุคลื่น หรือ storm surge ที่คุณสมิธ ทำนายไว้ พี่ใหญ่ก็เล่าให้ฟังไว้ ว่าเป็นเวรกรรมของประเทศจริง เพราะที่ผ่านมาผู้มีบารมีหลายท่านได้ช่วยไว้หมดแล้ว คราวนี้ถึงคราวล่ะ หนีไม่ออก ก็คงต้องมาดูกันว่าสาหัสขนาดไหน เราก็ถามว่า ดูเหมือนว่าคุณสมิธ นอกจากจะมีข้อมูลทางด้านอุทกวิทยาแล้ว คุณสมิธ น่าจะมีญาณ คือตัวหยั่งรู้ที่พิเศษกว่าคนธรรมดาด้วยใช่หรือไม่ เพราะขนาดในหลวงท่านยังเคยกล่าวถึง พี่ใหญ่บอกว่า คุณสมิธนี่ล่ะ นักกัมมัฏฐานตัวยงเลยเชียว ท่านปฏิบัติได้ดีด้วย ท่านถึงใช้ทั้ง 2 วิธีมาช่วยทำนายเพื่อช่วยชีวิตมนุษย์ไว้ได้ แต่คนมักไม่เชื่อท่าน หาว่าท่านเพ้อฝัน ก็คงต้องปล่อยให้เป็นกรรมของแต่ละคนไป ผู้เตือนท่านก็มีหน้าที่เตือนแล้วยังไม่ฟังเหมือนอย่างท่านที่ลี้ภัยในขณะนี้เช่นกัน ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่กันนา ถ้าทำอย่างเขาไม่ได้ก็อย่าปรามาสกันนา จับพลัดจับผลูกรรมเวรมาถึงก็จะสาหัสมาก
    หลายคนมีทางเดินของตนเอง ก็ได้แต่แค่เตือน อย่าดูถูกกันเป็นพอ ทุกวันนี้แขวนพระที่ทุนนิธิฯ ทำไว้ในเสื้อเพียงองค์เดียว ส่วนนอกเสื้อก็เป็นพระที่ผ่านการตรวจจากพี่ใหญ่แล้วว่าใช้ได้ คุ้มตัวได้ และก็อวดได้ในกลุ่ม 3-4 คนเท่านั้นก็เป็นแต่เพียงพระของหลวงปู่ใหญ่ หรือหลวงปู่ทวด หรือท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ อธิษฐานจิตไว้ เป็นพระนอกพิมพ์มาตรฐานทั้งสิ้น ก็เท่านั้น จะเอาอะไรมาก สะสมมาก ตายไปก็เอาไปไม่ได้ อย่าง นายสติ ก็เอามาสอนก่อน สอนเสร็จให้รู้คุณค่า รู้เนื้อหา ทรงพิมพ์ แล้วก็แจก ปะเหมาะไปเจอในสนามพระหรือที่อื่น จะได้เก็บไว้ให้ลูกหลาน แค่นี้ก็มีความสุขจะตายไป

    เขียนมาซะยืดยาว ก็ขอจบเพียงเท่านี้ สำหรับเรื่องที่ประกอบการประชุมในอาทิตย์นี้ อ้อ..เกือบลืม หลังวันเกิด อ.ประถมปีนี้ หนังสือปู่เล่าให้ฟัง 2 ที่วางแผนการสร้างยังกะหนังเป็นปี แต่น่าเก็บมาก เสร็จพอดี เสร็จแล้ว อาจจะแจกเลยหรือเปล่าต้องรอทีมใหญ่ รุ่นใหญ่ เค้าแถลงและสังคายนาการจัดงานกันอีกที พิมพ์ แค่ร้อยเล่มเองมั๊ง หรือไม่มากก็ถ่ายเอกสาร เข้าปกเอง แต่เนื้อเรื่องและรูปภาพพระรุ่นเก่าๆ นี่สิโอ้โฮ รอให้เจ้าของเค้ามาลงเองดีกว่าเดี๋ยวหาว่าเอาเรื่องเค้ามาบอกก่อน

    ยังไงๆ ก็อย่าลืมวันอาทิตย์นี้ก็แล้วกัน ดูพระให้เป็นก่อน แล้วค่อยมารับพระไปครับ

    พันวฤทธิ์
    18/8/51
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2008
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๘ : ทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะอธิษฐาน
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๘ : ทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะอธิษฐาน

    ทรงลาดหญ้าคาประทับเป็นโพธิบัลลังก์
    แล้วทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะอธิษฐาน

    [​IMG]

    ในเวลาเย็นวันเพ็ญเดือนหก ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ทรงลาดหญ้าคาเป็นบัลลังก์ที่ใต้ต้นมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงทำประทักษิณถ้วน 3 รอบ แล้วประทับนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคาที่ทรงลาด ทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะอธิษฐานแน่วแน่ว่า หากยังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด จักไม่ยอมลุกขึ้นจากโพธิบัลลังก์นี้ ตราบนั้น

    [​IMG]
    [/SIZE]<!-- End main-->
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันที่ถูกลืม

    วันอัฐมีบูชา(วันสำคัญที่ถูกลืม )



    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]
    [SIZE=-1]วันอัฐมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘ วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว ๘ วัน เป็นที่น่าเสียดายว่า วันอัฏฐมีบูชานี้ ในเมืองไทยเรามักลืมเลือนกันไปแล้ว จะมีเพียงบางวัดเท่านั้น ที่จัดให้มีการประกอบกุศลพิธีในวันนี้ [/SIZE]

    ความสำคัญ

    โดยที่วันอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล



    การบำเพ็ญกุศลเนื่องในพิธีวันอัฏฐมีบูชา

    การบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันอัฐมีบูชานี้ มีไม่กี่แห่งที่จัด เพราะในเมืองไทยมักไม่เป็นที่นิยม แม้สมัยก่อนอาจจะมีงานฉลองในพิธีวันอัฏฐมีบูชาบ้าง แต่เดี๋ยวนี้ก็เลิกราไปมากแล้ว คงมีไม่กี่วัด เฉพาะในกรุงเทพ ที่ยังจัดพิธีเฉลิมฉลองในวันนี้อยู่ เช่นวัดราชาธิวาส ส่วนการบำเพ็ญกุศลในวันนี้ ก็เหมือนกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และมีการเวียนเทียนในตอนค่ำ บางวัดในบางจังหวัด ยังมีการนิยมบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันอัฎฐมีบูชานี้อยู่บ้าง บางแห่งถึงกับจัดเป็นงานใหญ่ มีการจำลองเหตุการณ์วันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลด้วย เช่น วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ประวัติความเป็นมา

    พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด ๗ วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๘ คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิง

    พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๔ คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ ๕๐๐ รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี

    ครั้งนั้นพระมหากัสสปะเถระและหมู่ภิกษุเดินทางจากเมืองปาวา หมายจะเข้าเฝ้าพระศาสดา ระหว่างทาง ได้พบกับพราหมณ์คนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพสวนทางมา พระมหากัสสปะได้เห็นดอกมณฑารพก็ทราบว่า มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น ดอกไม้นี้มีเพียงในทิพย์โลก ไม่มีในเมืองมนุษย์ การที่มีดอกมณฑารพอยู่ แสดงว่าจะต้องมีอะไร เกิดขึ้นกับพระศาสดา พระมหากัสสปะถามพราหมณ์นั้นว่า ได้ข่าวอะไรเกี่ยวกับพระศาสดาบ้างหรือไม่ พราหมณ์นั้นตอบว่า พระสมณโคดมได้ปรินิพพานไป ล่วงเจ็ดวัน แล้ว "พระศาสดาปรินิพพานแล้ว" คำนี้เสียดแทงใจของพระภิกษุปุถุชนยิ่งนัก พระภิกษุศิษย์ของพระมหากัสสปะบางรูป ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็กลิ้งเกลือกไปบนพื้น บ้างก็คร่ำครวญร่ำไห้ ว่า "พระศาสดาปรินิพพานเสียเร็วนัก" ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมเกิดธรรมสังเวชว่า "แม้พระศาสดา ผู้เป็นดวงตาของโลก ยังต้องปรินิพพาน สังขารธรรมไม่เที่ยงแท้เสียจริงหนอ"

    แต่ในหมู่ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น เสียงของสุภัททะ วุฑฒบรรพชิตก็ดังขึ้น "ท่านทั้งหลายอย่าไปเสียใจเลย พระสมณโคดมนิพพานไปซะได้ก็ดีแล้ว จะได้ไม่มีคนมาคอยจ้ำจี้จ้ำไช ว่าสิ่งนี้สมควรกับเรา สิ่งนี้ไม่สมควรกับเรา"
    คำพูดของหลวงตาสุภัททะ เป็นที่สังเวชต่อ พระมหากัสสปะยิ่งนัก ท่านคิดว่า "พระผู้มีพระภาคยังนิพพานไปได้ไม่นาน ก็มีภิกษุบาปชนกล่าวจาบจ้วงพระศาสดา จาบจ้วงพระธรรมวินัยเช่นนี้ ถ้าเวลาผ่านไป ก็คงมีภิกษุบาปชนเช่นนี้ กล่าวจาบจวงพระธรรมวินัยเกิดขึ้นเป็นอันมาก" แต่ท่านก็ยั้งความคิดเช่นนี้ไว้ก่อน เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะกระทำสิ่งใดๆ นอกจากจะต้องจัดการ ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสียก่อน

    เมื่อพระมหากัสสปะ และภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางมาถึงสถานที่ถวายพระเพลิงมกุฏพันธนเจดีย์แล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ รอบเชิง ตะกอน ๓ รอบ พระมหากัสสปะเปิดผ้าทางพระบาทแล้ว ถวายบังคมพระบาททั้งสองด้วยเศียรเกล้า โดยท่านกำหนดว่าตรงนี้เป็นพระบาทแล้ว เข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากฌานแล้วอธิษฐานว่า "ขอพระยุคลบาท ของพระองค์ที่มีลักษณะเป็นจักรอันประกอบด้วยซี่พันซี่ ขอจงชำแรกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ พร้อมทั้งสำลี ไม้จันทน์ ออกเป็นช่อง ประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าของข้าพระองค์ด้วยเถิด" เมื่ออธิษฐานเสร็จ พระยุคลบาทก็แหวกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ออกมา พระเถระจับยุคลบาทไว้มั่น และน้อมนมัสการเหนือเศียรเกล้าของตน มหาชนต่างเห็นความอัศจรรย์นั้น ก็ส่งเสียงแสดงความอัศจรรย์ใจ เมื่อพระเถระและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายบังคมแล้ว ฝ่าพระยุคลบาทก็เข้าประดิษฐานในที่เดิม ครั้นแล้วเปลวเพลิงก็ลุกโพลงท่วมพระสรีระของพระศาสดา ด้วยอำนาจของเทวดา ในการเผาไหม้นี้ ไม่มีควันหรือเขม่าใดๆฟุ้งขึ้นเลย เมื่อเพลิงใกล้จะดับ ก็มีท่อน้ำไหลหลั่งลงมาจากอากาศ และมีน้ำพุ่งขึ้นจากกองไม้สาละ ดับไฟที่ยังเหลืออยู่นั้น เหล่าเจ้ามัลละก็ปะพรมพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยของ หอม ๔ ชนิด รอบๆบริเวณ ก็โปรยข้าวตอกเป็นต้น แล้วจัดกองกำลังอารักขา จัดทำสัตติบัญชร (ซี่กรงทำด้วยหอก) เพื่อป้องกันภัย แล้วให้ขึงเพดานผ้าไว้เบื้องบน ห้อยพวง ของหอม พวงมาลัย พวงแก้ว ให้ล้อมม่านและเสื่อลำแพนไว้ทั้งสองข้าง ตั้งแต่มกุฏพันธนเจดีย์ จนถึงศาลาด้านล่าง ให้ติดเพดานไว้เบื้องบน ตลอดทางติดธง ๕ สีโดยรอบ ให้ตั้งต้นกล้วย และหม้อน้ำ พร้อมกับตามประทีปมีด้ามไว้ตามถนนทุกสาย พวกเจ้ามัลละนำพระธาตุทั้งหลายวางลงในรางทองแล้ว อัญเชิญไว้บนคอช้าง นำพระธาตุเข้าพระนครประดิษฐานไว้บนบัลลังก์ที่ทำด้วยรัตนะ ๗ อย่าง กั้นเศวตร ฉัตรไว้เบื้องบน แล้วจัดกองกำลังอารักขาอย่างนี้คือ "จัดเหล่าทหารถือหอกล้อมพระธาตุไว้ จากนั้นจัดเหล่าช้างเรียงลำดับกระพองต่อกันล้อมไว้ พ้นจากเหล่าช้างก็เป็น เหล่า ม้าเรียงลำดับคอต่อกัน จากนั้นเป็นเหล่ารถ เหล่าราบรอบนอกสุดเป็นทหารธนูล้อมอยู่" พวกเจ้ามัลละจะจัดฉลองพระบรมธาตุตคลอด ๗ วัน ต้องการความมั่นใจว่า ๗ วัน นี้แม้จะมีการละเล่นก็เป็นการละเล่นที่ไม่ประมาท

    หลังจากนั้น เมื่อข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พระสรีระกลายเป็นพระบรมสารีริกธาตุแล้ว เหล่ากษัตริยน์ในนครต่างๆ เมื่อทราบข่าวก็ปรารถนาจะได้พระบรมธาตุไปบูชา จึงส่งสาสน์ ส่งฑูตมาขอพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคของเรา" "พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น กษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราจึงมีส่วนที่จะได้พระบรมธาตุบ้าง" เหล่ามัลละกษัตริย์ก็ไม่ยอมยกให้ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองของเรา" ดังนั้น กษัตริย์ในพระนครต่างๆ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู จอมกษัตริย์แคว้นมคธ และกษัตริย์เหล่าอื่นๆ จึงยกกองทัพมาด้วยหวังว่า จะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อยกกองทัพ มาถึงหน้าประตูเมือง ทำท่าจะเกิดศึกสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุ ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ใหญ่คนหนึ่ง คือ โทณพราหมณ์ หวั่นเกรงว่าจะเกิดสงครามใหญ่ จึงขึ้นไปยืน บนป้อมประตูเมือง ประกาศว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทรงสรรเสริญขันติ สรรเสริญสามัคคีธรรม การที่เราจะมาประหัตประหารเพราะแย่งชิง พระบรมธาตุ ของพระองค์ผู้ประเสริฐ ย่อมไม่สมควร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงยินดีในการที่จะแบ่งกันไปเป็น ๘ ส่วน และนำไปบูชายังบ้านเมืองของท่านทั้งหลายเถิด เพราะ ผู้ศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมาก"

    ในพระไตรปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตรได้กล่าวถึงเหตุการณ์ขณะที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ว่า หมู่คณะเหล่านั้นตอบว่า ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นขอท่าน นั่นแหละจงแบ่ง พระสรีระพระผู้มีพระภาคออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เรียบร้อย เถิด โทณ พราหมณ์ รับคำของ หมู่คณะเหล่านั้นแล้ว แบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาค ออกเป็น ๘ ส่วนเท่ากันเรียบร้อย จึงกล่าว กะหมู่คณะเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ขอพวกท่าน จงให้ตุมพะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้า จักกระทำพระสถูป และกระทำการฉลองตุมพะบ้าง ทูตเหล่านั้นได้ให้ตุมพะแก่โทณพราหมณ์ ฯ

    พวกเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวัน ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพาน ในเมืองกุสินารา จึงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาค เป็นกษัตริย์ แม้ เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระ พระผู้มีพระภาคบ้าง จักได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละ เมือง กุสินาราตอบว่า ส่วนพระสรีระพระผู้มี พระภาคไม่มี เราได้ แบ่งกันเสียแล้ว พวกท่านจงนำพระอังคารไปแต่ที่นี่เถิด พวกทูตนั้น นำ พระ อังคารไปจากที่นั้นแล้ว ฯ

    ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ได้กระทำ พระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในพระนครราชคฤห์ พวก กษัตริย์ ลิจฉวีเมืองเวสาลี ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มี พระภาคในเมืองเวสาลี พวกกษัตริย์ ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ก็ได้กระทำพระสถูป และการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกบิลพัสดุ์ พวกกษัตริย์ถูลีเมือง อัลกัปปะ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมือง อัลกัปปะ พวกกษัตริย์ โกลิยะเมืองรามคาม ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง พระสรีระพระผู้มี พระภาคในเมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ ก็ได้ กระทำพระสถูป และการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวฏฐทีปกะ พวก เจ้ามัลละเมืองปาวา ก็ได้กระทำพระสถูปและ การฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในเมืองปาวา พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา ก็ได้กระทำพระสถูป และการ ฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ ก็ได้กระทำสถูปและ การฉลอง ตุมพะ พวกกษัตริย์โมริยะ เมืองปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระอังคารในเมือง ปิปผลิวัน ฯ พระสถูปบรรจุพระสรีระมีแปดแห่ง เป็นเก้าแห่งทั้งสถูปบรรจุตุมพะ เป็นสิบแห่ง ทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร ด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุและการก่อ พระสถูปเช่นนี้ เป็นแบบอย่างมาแล้ว ฯ

    พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ แปดทะนาน เจ็ดทะนาน บูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีระอีกทะนาน หนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษที่ ประเสริฐ อันสูงสุด พวก นาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม พระเขี้ยวองค์หนึ่งเทวดา ชาวไตรทิพย์บูชาแล้ว ส่วนอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ใน คันธารบุรี อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ใน แคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีก องค์หนึ่ง พระยานาคบูชากันอยู่ ฯ ด้วยพระเดชแห่งพระสรีระพระพุทธเจ้า นั้นแหละ แผ่นดินนี้ ชื่อว่า ทรงไว้ซึ่งแก้วประดับแล้วด้วยนักพรตผู้ ประเสริฐที่สุด พระสรีระของพระพุทธเจ้า ผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่าอันเขาผู้สักการะๆ สักการะดีแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันจอมเทพจอมนาคและจอมนระบูชาแล้ว อัน จอมมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ขอท่านทั้งหลาย จงประนม มือ ถวายบังคมพระสรีระนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นพระพุทธเจ้า ทั้งหลายหาได้ยากโดยร้อยแห่งกัป ฯ พระทนต์ ๔๐ องค์ บริบูรณ์ พระเกศา และ พระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานำไปองค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆ กันไปในจักรวาล ดังนี้แล ฯ
    [SIZE=-1]( พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ข้อที่ ๑๕๙-๑๖๒) [/SIZE]


    [SIZE=-1]ขอขอบคุณ[/SIZE]

    [SIZE=-1]http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jkmf&month=16-08-2008&group=1&gblog=3[/SIZE]
    <!-- End main-->
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ลองสำรวจอวัยวะตัวเองหน่อยปะไร เป็นอย่างที่เค้าว่าไว้อะเปล่า


    หน้าที่ของอวัยวะที่ไม่เคยรู้มาก่อน


    <!-- Main -->[SIZE=-1]หน้าผาก............เป็นอวัยวะที่ใช้ประกอบกับเท้าเวลามีทุกข์ เช่น...นอนเอาเท้าก่ายหน้าผาก

    ตา.....................เป็นอวัยวะที่ใช้ในการมอง จะมีอุณหภูมิสูงมากเมื่อเห็นใครได้ดี

    หู......................เป็นอวัยวะที่ใช้ในการฟัง ส่วนมากจะมีน้ำหนักเบา จึงก่อให้เกิดเรื่องขึ้นบ่อยๆ

    ปาก...................เป็นอวัยวะที่ใช้พูด ส่วนมากจะอยู่ไม่ตรงกับใจ

    ไหล่...................เป็นอวัยวะที่คู่กับบ่า เช่นเคียงบ่าเคียงไหล่ มีไว้ให้คนเหงาใจหรือเศร้าใจซบโดยเฉพาะ

    บ่า.....................เป็นอวัยวะที่คู่กับไหล่ เช่นเคียงบ่าเคียงไหล่ ....อาชีพจับกังมีไว้แบกข้าวสาร ........(ส่วนถนนข้าวสาร จับกังไม่เกี่ยว)

    หัวใจ.................เป็นอวัยวะสูบฉีดเลือดและฟอกเลือดให้กับร่าง กาย มีไว้ให้แสดงความรักและเก็บรักไว้... แต่บังเอิญว่ามันมีถึง 4 ห้อง

    หน้าอก...............เป็นอวัยวะที่รองรับเรื่องหนัก อาทิเรื่องหนักอก... ซึ่งผู้หญิงจะหนักกว่าผู้ชาย ( รึเปล่า!!!)

    นม.....................เป็นอวัยวะที่บ่งบอกภาระการรับน้ำหนักของอก ผู้หญิงมีไว้...!!! บริการนมให้บุตร

    ศอก...................เป็นข้อต่อระหว่างแขนและข้อมือ มีไว้เป็นอาวุธประจำกาย และใช้รองน้ำ...

    มือ......................เป็นอวัยวะปลายสุดของแขน มีนิ้วเป็นส่วนประกอบ ...(no comment)

    ตัว......................เป็นชิ้นส่วนใหญ่ของร่างกายให้อวัยวะ อื่นได้พักพิง.....จะลืมกันมากเวลาได้ดี

    สะดือ..................เป็นอวัยวะที่ใช้เชื่อมต่อกับแม่ยามอยู ่ในครรภ์ เมื่อโตขึ้นใช้วัดระดับความสุภาพ .........ถ้าต่ำกว่านี้ทะลึ่ง!!

    ขาอ่อน................เป็นอวัยวะเชื่อมต่อจากสะโพกลงมา นิยมใช้ในการประกวด ..........เพราะเห็นได้เด่นชัดกว่าสมอง!!!

    หัวเข่า................เป็นข้อต่อระหว่างขาและหน้าแข้ง เป็นอาวุธประจำกาย ผู้หญิงใช้โจมตีจุดอ่อนผู้ชาย และบางคนใช้ซับน้ำตาเวลาเศร้า ... นิยมมากสำหรับคนหลงรักชาวบ้าน

    ขนหน้าแข้ง.........เป็นที่วัดระดับของฐานะ ยิ่งรวยมากขนหน้าแข้งจะร่วงน้อย

    เท้า......................เป็นอวัยวะที่ใช้ยืน บางครั้งใช้ก่ายหน้าผาก ...หรือเป็นอวัยวะที่ใช้ผลัก ...ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไป

    [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]ได้มาจาก[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=oo-imaginewing-oo&month=05-2008&date=16&group=4&gblog=30[/SIZE]
    [SIZE=-1]


    <STYLE type=text/css>body {background-image: url(http://i63.photobucket.com/albums/h122/freeglitters/backgrounds/91.gif);}
    </STYLE>

    [/SIZE]
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เช้านี้เปิดกระทู้ด้วย storm surge จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่แสดงภาพเป็น power point ลองเข้าไปดูเพื่อเป็นความรู้กันครับ



    http://www.ndwc.or.th/stunami_news/smith.ppt#544,2,Slide 2

    ส่วนเวบของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติตามนี้ครับ

    http://www.ndwc.or.th/index_newweb.html
     
  17. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    พระวังคีสเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ

    พระวังคีสะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ นครสาวัตถี ได้รับการศึกษาจบไตรเพท
    จนมีความชำนาญเป็นที่พอใจของอาจารย์ จึงให้เรียนมนต์พิเศษอีกอย่างหนึ่งชื่อว่า
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เคยอ่านกันหรือไม่ "กัมมัฏฐานหัวเย็น" โดยหลวงปู่หลุย ลองอ่านกันดูเป็นภูมิรู้ จากพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ได้ชื่อว่าเป็นอรหันต์องค์หนึ่งเลยล่ะ


    กัมมัฏฐานหัวเย็น โดย หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    <HR SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]
    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ตำบลผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย



    นามเดิม เดิมบิดามารดาตั้งชื่อว่า
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๙ : ทรงสมาธิ (สมาธิเพชร)
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๙ : ทรงสมาธิ (สมาธิเพชร)

    ทรงสมาธิ (สมาธิเพชร)

    [​IMG]

    พระมหาบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิ พระบาทขวาวางทับพระบาทซ้าย และพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ผินพระปฤษฎางค์ คือ หลัง ไปทางลำต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วเจริญสมาธิมั่น เฉพาะอาณาปานสติกรรมฐาน พิจารณาวิธีหลุดพ้นจากทุกข์ ทรงนั่งคู้อปราชิตบัลลังก์ (สมาธิเพชร) ซึ่งแม้สายฟ้าจะผ่าลงตั้ง ๑๐๐ ครั้งก็ไม่แตกทำลาย และทรงตั้งจาตุรงค์มหาปธานในพระหฤทัยแน่วแน่ว่า

    "ถ้าเรายังไม่ไดบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้น แม้ว่าเนื้อ และเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที"

    [​IMG]

    ตำบลอุรุเวลาซึ่งพระพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ และจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณในลำดับต่อไปนั้น บัดนี้คือตำบลพุทธคยา ตรงที่วิหารพุทธคยาประดิษฐาน อยู่ทุกวันนี้

    [/SIZE]<!-- End main-->
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ต่อไปจะนำเสนอความรู้ในเรื่องทศชาติเรื่อง "พระสุวรรณสาม" ในตอนที่ 3 เป็นตอนสุดท้าย โดยตอนที่ 1 นั้น อยู่ในหน้า 80 ตอนที่ 2 อยู่ในหน้า 85 และทศชาติในเรื่องต่อไปจะเป็นเรื่อง "พระเนมิราช" ครับ




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 color="#000000"><TBODY><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=80><CENTER>พระสุวรรณสาม ๓</CENTER><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=80>[​IMG] </TD></TR><SCRIPT language=JavaScript>if (document.all)document.body.style.cssText="border:10 outset #ddcf77"</SCRIPT></TBODY></TABLE><TABLE width="90%" align=center>
    เจ้าสุวรรณสามก็ออกไปหาผลหมากรากไม้ พร้อมทั้งตักน้ำตักท่ามาไว้เพื่อให้ท่านทั้งสองได้ใช้ เจ้าสุวรรณสามได้ปฎิบัติบิดามารดามาโดยอาการเช่นนี้เป็นปกติ บิดามารดาก็รับความสุขขึ้นกว่าแต่ก่อน..
    ในเมืองพาราราณสีมีพระราชาองค์หนึ่ง ครอบครองราชสมบัติ ท้าวเธอทรงพระนามว่ากบิลยักษ์ พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ชอบเข้าป่าล่าสัตว์อยู่เป็นนิตย์ เมื่อท้าวเธอชอบเช่นนี้ก็ออกไปล่าสัตว์ แต่ดูก็แปลกประหลาดสักหน่อย เพราะพระเจ้ากบิลยักษ์ไปเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ไม่เอาใครไปด้วยเลย เมื่อออกไปถึงบริเวณสถานที่ซึ่งสุวรรณสามเคยมาตักน้ำเห็นรอยเท้าสัตว์เกลื่อนไปหมด ก็ทรงดำริว่า
    “ตรงนี้เข้าทีมีรอยเท้าสัตว์ลงมากินน้ำมากมาย คงจะได้ยิงสัตว์แน่ล่ะ”
    แล้วท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปซุ่มเพื่อยิงสัตว์ เมื่อคอยดูอยู่ได้สักครู่ ก็พอดีกับสุวรรณสามออกมาตักน้ำ มีหมู่เนื้อและกวางแวดล้อมกันมาเป็นหมู่ มาถึงฝั่งน้ำก็ลงไปตักเอาขึ้นมาท้าวกบิลยักษ์ทรงดำริว่า
    “ผู้นี้จะเป็นเทวดาหรือใครแน่หนอ ดูรูปร่างงดงามเสียเหลือเกิน ถ้าเราปรากฎตัวเข้าไปให้เห็นก็คงจะหนีไปเสีย ทำอย่างไรจึงจะรู้ความเล่า” แล้วพระองค์ก็คิดขึ้นได้ว่า
    "อย่าเลยเราต้องเอาศรยิงให้ล้มลงก็จะหนีไปไหนไม่ได้"
    พอคิดได้เช่นนั้น พระองค์ก็โก่งศรเขม้นมุ่งยิงเจ้าสุวรรณสามทันที ลูกศรเหมือนมีวิญญาณ วิ่งไปเสียบร่างของเจ้าสุวรรณสามเข้า บรรดาสัตว์ก็พากันแตกตื่นหนีไป
    สุวรรณสามพอรู้ว่าถูกศร ก็ปลดหม้อน้ำลงจากล่า ทรุดตัวลงนั่ง ปากก็ร้องถามออกไปว่า
    “ท่านผู้ใดซึ่งเป็นคนยิง ได้โปรดออกมาเจรจากันสักหน่อยว่าจะต้องการอะไรจึงมายิงข้าพเจ้า ช้างเขาจะยิงก็เพื่องาเสือเล่าก็เพียงเพื่อหนัง ส่วนข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะต้องการอะไร จึงมายิงข้าพเจ้า ขอโปรดออกมาเถิด”
    พระยากบิลยักษ์ชักเอ๊ะใจ
    “เอ๊ะ? แปลก ชายคนนี้ถูกเรายิง ยังไม่โกรธเรายิง ยังไม่แสดงอาการโกรธเคืองเลยสักนิดเดียว ยังแถมเรียกเราออกไปเสียด้วยว่าต้องการอะไร”
    พระองค์ก็ออกไปยังที่สุวรรณสามนอนอยู่ พร้อมกับกล่าวว่า
    “พ่อหนุ่ม เราเป็นคนยิงเจ้าเอง แต่เพราะความพลาดพลั้งไปเท่านั้น เพราะเราตั้งใจจะยิงเนื้อที่กำลังมา ก็พอดีเจ้ามาทำให้เหล่านั้นแตกตื่นหนีไปหมด”
    สุวรรณสามพูดขึ้นว่า
    “ท่านอย่าได้กล่าวเช่นนั้นเลย ท่านเป็นใคร เนื้อในป่าไม่เคยกลัวข้าพเจ้าเลย เพราะข้าพเจ้าเป็นเพื่อนของเขา ไปไหนเคยไปด้วยกัน มาตักน้ำเขาก็จะมาด้วย มากินน้ำกินท่าแล้วกลับไปด้วยกัน ท่านประสงค์อะไรก็ขอให้โปรดบอกเถิด”
    พระยากบิลยักษ์ทรงละอายพระทัย แต่ฝืนถามว่า
    “พ่อหนุ่ม เจ้าเป็นใครอยู่ในป่านี้ เป็นรุกขเทพ หรือเจ้าป่าเจ้าเขาประการใด ส่วนตัวเราเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่ในกรุงพาราณสี ออกมาล่าสัตว์ "
    สุวรรณสามคิดว่า
    “หากเราจะหลอกลวงท้าวเธอว่าเป็นอารักขไพรสนฑ์หรือเทวดา พระองค์ก็ทรงเชื่อ แต่จะทีประโยชน์อะไรกับการโกหกเช่นนั้น เราพูดความจริงดีกว่า” จึงได้ตอบท้าวเธอ
    “ข้าแต่สมมติเทพ ขอให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาวเถิด หม่อมฉันเป็นบุตรฤาษีอยู่ในป่านี้ และที่มาตักน้ำนี้ก็เพื่อจะเอาไปให้บิดามารดาได้อาบกิน”
    พระเจ้ากบิลยักษ์ยิ่งคิดสลดพระทัย เพราะแทนที่เจ้าลูกฤาษีจะโกรธเคืองพระองค์ กลับให้ศีลให้พรเสียอีก อนิจจาเราทำกรรมหนักเหลือเกิน แต่ก็ยังไม่แน่ใจจึงถามอีกว่า
    “พ่อหนุ่มที่เรายิงเจ้านี่ เจ้าไม่โกรธเคืองเราเลยหรือ"
    “ข้าพระองค์ไม่โกรธเคืองพระองค์ และไม่เคยคิดจะโกรธเคืองพระองค์ เพราะคิดเสียว่าเป็นกรรมเก่าของข้าพระองค์เอง สงสารแต่พ่อแม่เท่านั้น เพราะท่านทั้งสองตาเสีย ไม่สามารถจะหาเลี้ยงชีพได้”
    “พ่อแม่เจ้าเสียตาทั้งสองคนรึ”
    “เป็นอย่างนั้นพระเจ้าค่ะ จึงตกเป็นหน้าที่ของพระข้าองค์จะต้องหาเลี้ยงชีพด้วยตนเองได้ แต่เมื่อข้าพระองค์ต้องมาประสบภัยเสียเช่นนี้ท่านทั้งสองก็มีแต่จะรอความตายเท่านั้น” พระราชายิ่งคิดก็ยิ่งร้อนพระทัย เพราะความวู่วามของเราวูบเดียวเท่านั้นจะล้างชีวิตคนไม่ผิดเสียอีกตั้งหลายคนเราจะทำอย่างไรดี ได้แต่คิดอยู่ในพระทัย ในที่สุดก็ตกลงใจแน่วแน่ว่าจะพยายามไถ่บาปให้น้อยลงบ้าง จึงกล่าวกับสุวรรณสามว่า
    “พ่อหนุ่ม เราได้ผิดไปแล้วที่ยิงเจ้า ยังแถมจะให้บิดามารดาเจ้าถึงแก่ความตายเสียอีกด้วย เจ้าบอกทางไปบรรณศาลาของเจ้าให้เราทราบ เราจะเลี้ยงบิดามารดาของเจ้าเอง”
    “เป็นพระคุณล้นเกล้า ข้าพระองค์คิดถึงแต่บิดามารดาเท่านั้น เมื่อพระองค์จะเลี้ยงท่านทั้งสองแทนข้าพระองค์ ก็นับได้ว่าข้าพระองค์หมดห่วงได้จริง ขอพระองค์จงทรงพระเกษมสำราญไร้โรคาพยาธิเถิด”
    แล้วเขาก็ได้บอกทางไปยังบรรณศาลาของเขาให้พระเจ้ากบิลยักษ์ได้ทราบ พร้อมกับลมหายใจได้แผ่วเบา สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง สุวรรณสามตายเสียแล้ว พระเจ้ากบิลยักษ์จับเนื้อต้องตัวดู ก็เห็นว่ามือเท้าของเจ้าหนุ่มซึ่งนอนเพราะพิษศรของพระองค์เย็นขึ้นมาทุกขณะแล้ว เห็นว่าตายแน่ก็ตัดสินพระทัยหยิบหม้อน้ำขึ้นแบก สะพายศรไว้กับไหล่ดุ่มเดินไปอาศรมของฤาษีทั้งสอง
    พอไปถึงอาศรมเห็นสองดาบสนั่งอยู่หน้าอาศรมคอยการกลับมาของเจ้าสุวรรณสามอยู่ ได้ยินเสียงใช่เท้าก็ทราบว่าไม่ใช่เจ้าสุวรรณสาม เพราะฝีเท้าหนักไม่เหมือนลูกชายของตัวเลย จึงเรียกไปว่า
    “พ่อสาม พ่อพาใครมาด้วย”
    พระเจ้ากบิลยักษ์พอได้ยิน ก็ทราบว่าเป็นบิดามารดาของสุวรรณสาม จึงเดินเข้าไปใกล้ วางหม้อน้ำลงพร้อมกล่าวว่า
    “ท่านผู้เจริญ ...ข้าพเจ้าเป็นพระราชาอยู่ในพระนครพาราณสี มาเที่ยวยิงสัตว์ในป่านี้”
    “ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญเถิด ขอเชิญพระองค์ เสวยน้ำท่าผลาหารที่เจ้าสามบุตรของหม่อมฉันจัดแจงไว้ใกล้ ๆ นี้เถิด” เมื่อสนทนากันพอสมควรแล้ว พระเจ้ากบิลยักษ์ก็บอกให้ทราบว่า เจ้าสุวรรณสามได้ตายไปแล้ว เพราะความเข้าใจผิดของพระองค์เอง ดาบสทั้งสองก็เศร้าโศก และขอให้พาไปที่ศพของเจ้าสุวรรณสาม ซึ่งพระเจ้ากบิลยักษ์ก็ยินยอมพาไป เมื่อไปถึงสถานที่ศพเจ้าสุวรรณสามนอนอยู่ ดาบสทั้งสองก็เข้าไปยังศพของเจ้าสุวรรณสามลูบคลำ เผอิญมารดาไปคลำถูกอกรู้สึกว่ายังอุ่นอยู่ จึงตั้งสัตย์ขอให้เข้าสุวรรณสามได้คืนชีพ แม้นางเทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาเจ้าสาม ในชาติก่อนซึ่งก็มาด้วยได้อธิษฐานพร้อมบิดาของเจ้าสาม ก็พลอยอธิษฐานด้วย
    ด้วยแรงอธิฐาน ก็ได้บันดาลให้เจ้าสุวรรณสามกลับฟื้นคืนสติขึ้นมาได้ ได้ถามไถ่กันทราบความตลอด จนฟื้นขึ้นมา และเมื่ออาการเป็นไปเช่นนี้ ทั้งหมดก็ได้พากันกลับไปนังสถานที่อยู่ของตน โดยพระเจ้ากบิลยักษ์เ มื่อไปถึงสถานที่แล้วก็คิดได้ถึงการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และเห็นว่าสุวรรณสามและดาบสเหล่านี้อยู่ด้วยความสุข จึงได้ลากลับยังสถานที่ของตน คติที่เราจะได้จากเรื่องนี้ ก็อยู่ที่ความเมตตากรุณา ซึ่งก็จะเป็นคุณช่วยให้เรารอดจากภัยอันตราย และไม่มีเวรไม่มีภัยด้วยประการต่าง ๆ ทางศาสนาจึงกล่าวว่าเป็นกัลยาณธรรม คือเป็นธรรมอันงามที่จะเป็นเครื่องป้องกันมิให้ผู้อื่นทำร้ายได้ ก็เป็นอันว่าจบเรื่องสุวรรณสามเพียงเท่านี้.....




    <TBODY></TBODY>

    </TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...