๒๘ พระอรหันต์ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 2 พฤศจิกายน 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ๒๘ พระอรหันต์ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์


    อัญเชิญพระธาตุมาบรรจุ ณ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม


    [​IMG]


    ๑.หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล วัดดอนธาตุ จ.อบุลราชธานี
    ๒. หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร
    ๓.หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    ๔.หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    ๕.หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    ๖.หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย
    ๗.หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย
    ๘.หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
    ๙.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    ๑๐.หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม จ.อุดรธานี
    ๑๑.หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    ๑๒.หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
    ๑๓.ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
    ๑๔.หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม
    ๑๕.หลวงปู่สาม อกิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์
    ๑๖.หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย
    ๑๗.หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    ๑๘.หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    ๑๙.หลวงพ่อมหาเขียน ฐิตสีโล วัดป่ารังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์
    ๒๐.หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี
    ๒๑.หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี
    ๒๒.หลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
    ๒๓.หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์
    ๒๔.พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร(ภูทอก) จ.หนองคาย
    ๒๕.พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร
    ๒๖.หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต วัดภูจ้อก้อ จ.มุกดาหาร
    ๒๗.หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ วัดประสิทธิธรรม จ.อุดรธานี
    ๒๘.หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) จ.ขอนแก่น

    ภาพจาก สารคดีตามรอยพระอรหันต์

    http://www.pupasoong.com/node/16
     
  2. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๑. พระครูวิเวกพุทธกิจ
    (หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล)

    วัดดอนธาตุ บ้านทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

     
  3. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๒. ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

    วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

    พระอริยเจ้าผู้เป็นบิดาของพระกรรมฐาน

    พระเดชพระคุณท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นสุดยอดพระอรหันต์แห่งยุค เป็นบิดาของพระกรรมฐานตำนานชีวิตและปฏิปทาของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ ท่านสำเร็จปฏิสัมภิทานุศาสน์ ๔ อย่าง คือ
    ๑. ธัมมปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในธรรม
    ๒. อัตถปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในอรรถ
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในภาษา
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในปฏิภาณ

    ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ท่านบรรลุธรรมชั้นสูงสุดที่ ถ้ำดอกคำ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นท่านได้เดินธุดงค์ไปดอยมะโน ท่านได้พูดกับลูกศิษย์คือหลวงปู่ขาวว่า ​
     
  4. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๓. พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์
    (หลวงปู่สิงห์ ขนตยาคโม)
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    "ผู้เป็นยอดขุนพลเอกแห่งกองทัพธรรมกรรมฐาน"



    [​IMG]

    พระเดชพระคุณเจ้า อ.สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ท่านปฏิบัติเคร่งครัดในวินัย
    มากเป็นเสมือนองค์แทนของหลวงปู่เสาร์และท่านอาจารย์มั่น และเป็น
    ยอดขุนพลเอกแห่งกองทัพธรรมกรรมฐานภาคอีสาน เป็นหนึ่งในสาม
    พระบูรพาจารย์สายกรรมฐานที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล

    พระอาจารย์สิงห์ ท่านเกิดที่บ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ
    จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๗ ค่ำเดือน ๔ ปี ฉลู เป็นบุตรของท่านเพีย อัครวงศ์และนางหล้า บุญโท(เพีย อัครวงศ์มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าราชการหัวเมืองลาวกาว-ลาวพวนมีหน้าที่จัดการศึกษาและการพระศาสนา)บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ในสำนักพระอุปัชฌาย์ป้องณ.วัดบ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี


    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    พระอาจารย์สิงห์ ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ในสำนักพระอุปัชฌาย์"ป้อง" ณ วัดบ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญจ.อุบลราชธานี เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณพัทธสีมาวัดสุทัศน์ฯ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายนพ.ศ.๒๔๕๒ โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส)สมัยเมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์นับว่าเป็นสิทธิวิหาริกอันดับ ๒ ของสมเด็จมหาวีรวงศ์ ภายหลังอุปสมบทท่านได้ปฎิบัติและเจริญรอยตามโอวาทแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานไว้โดยย่อว่ารุกขมูลเสนาสนะ เป็นต้นท่านได้มุ่งสู่ราวป่าและปฎิบัติตามเยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลายที่เคยปฎิบัติมาด้วยความวิริยะอุตสาห์พยายาม ด้วยวิสัยพุทธบุตร พระอาจารย์สิงห์สามารถรอบรู้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายของกิเลสตัณหา ได้อย่างแยบยลด้วยสติปัญญาและกุศโลบายอันยอดเยี่ยมเข้าพิชิตติตตามฆ่าเสียซึ่งอาสวกิเลสต่างๆที่เข้ามารุมเร้าจิตใจของท่านได้อย่างภาคภูมิจนสามารถรอบรู้นำคณะพระกรรมฐานแห่งยุคนั้นออกเที่ยวอบรมสั่งสอนประชาชนผู้โง่เขลาเบาปัญญาให้หันมานับถือพระพุทธศาสนายึดมั่นในพระไตรสรณคมน์ น้อมจิตให้หันมาประพฤติปฏิบัติธรรม

    พระอาจารย์สิงห์ได้เข้าถวายตัวเป็น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตและได้ฝึกอบรมสมาธิภาวนากรรมฐานอยู่กับหลวงปู่มั่นจนมีกำลังอันแก่กล้าแล้วและเนื่องจากท่านเป็นศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจจากท่านหลวงปู่มั่นภูริทัตโต เป็นอย่างมาก หลวงปู่มั่น จึงได้แยกย้ายไปอบรมสั่งสอนประชาชนพระอาจารย์สิงห์ท่านเป็นพระที่สามารถให้อุบายธรรมแก่บรรดาลูกศิษย์โดยไม่ว่าผู้ใดติดขัดปัญหาธรรมแล้วท่านจะแนะนำอุบายให้พิจารณาจนกระจ่างแจ่มใสเลยทีเดียว ด้วยอำนาจญานวิเศษสามารถรู้วาระจิตของศิษย์เป็นเยี่ยมเป็นบางเวลาที่ศิษย์กลับเข้ามาหาท่านและขออุบายธรรมและขอให้ท่านแก้ไข ฉะนั้นท่านอาจารย์สิงห์จึงต้องรับภาระหน้าที่แทน หลวงปู่มั่น นับว่าหนักหนาพอสมควรทีเดียวพระอาจารย์สิงห์มักจะฝึกให้ศิษย์ทั้งหลายได้อสุภกรรมฐานจากซากศพที่ชาวบ้านเขานำเอามาฝังบ้างเผาบ้าง หรือไม่ก็ใส่โลงไม้อย่างง่ายๆ เก็บเอาไว้รอวันเผาบางครั้งท่านจะพาลูกศิษย์ไปเปิดโลงศพหรือขุดขึ้นมาดูเพื่อฝึกพระลูกศิษย์ของท่านดังที่พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) ได้กล่าวถึงพระอาจารย์สิงห์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านไว้และเมื่อท่านเห็นว่าคณะศิษย์องค์ใดพอฝึกสมาธิภาวนาแก่กล้าตามวาระความสามารถแล้วท่านจะแยกให้ไปอบรมธรรมเป็นแห่งๆโดยลำพังท่านได้เคยพาคณะศิษย์ของท่านไปปักกลดโดยยึดเอาสถานที่เป็นป่าช้าเก่าแก่เรียกว่าป่าช้าบ้านเหล่างา จังหวัดขอนแก่น ซึ่งในกาลต่อมาเป็นวัดชื่อว่าวัดป่าวิเวกธรรมอุปมาเป็นกองบัญชาการฝ่ายประพฤติปฎิบัติธรรมส่งเสริมสานุศิษย์ทั้งมวลออกเผยแพร่ธรรมไปตามอำเภอต่างๆจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกาลต่อมา พระลูกศิษย์ของพระอาจารย์สิงห์อีกองค์หนึ่งซึ่งในกาลต่อมาท่านได้มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดท่านหนึ่งคือหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเคยธุดงค์ในคณะหรือกองทัพธรรมที่มีพระอาจารย์สิงห์เป็นพระหัวหน้าคณะ

    ต่อมาหลวงชาญนิคมซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเลื่อมใสในธรรมของพระพุทธเจ้าและเลื่อมใสในพระธุดงค์กรรมฐานมากมีประสงค์เป็นอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นศูนย์รวมของพระผู้ปฎิบัติดีปฏิบัติชอบจึงได้นิมนต์ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโมให้ไปช่วยสร้างวัดป่าสาลวัน เพื่อเป็นวัดป่าตัวอย่างของฝ่ายวิปัสนาธุระซึ่งพระอาจารย์สิงห์ก็รับนิมนต์ตามคำขอร้องของหลวงชาญนิคมก่อร่างสร้าง"วัดป่าสาลวัน" จนเป็นที่เรียบร้อย เดิมบริเวณวัดป่าสาลวันนั้นเป็นป่ารกและมีต้นไม้ที่เป็นมงคลอยุ่ต้นหนึ่งซึ่งมีความสำคัญในทางพระพุทธศาสนาคือ ต้นสาละ ภายหลังสร้างวัดป่าสาลวันเสร็จสิ้นแล้วบรรดาลูกศิษย์ที่เป็นยอดขุนพลทางธรรมทั้งหลายได้เดินทางมาอยู่จำพรรษากับท่านต่อมาท่านได้พาคณะออกเดินธุดงค์ภายหลังจากออกพรรษาผ่านป่าเขาผ่านไปในที่ต่างๆจนมาถึงอำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ท่านได้พักปักกลดลง ณ บริเวณป่าช้ารกร้างว่างเปล่า ท่านพระอาจารย์สิงห์และบรรดาพระลูกศิษย์ต่างก็ออกไปยังหมู่บ้านต่างๆนำธรรมะของพระศาสดาเจ้ามาสู่ประตูบ้านให้ชาวบ้านที่ยังติดขัดในความประพฤติยึดถือในสิ่งที่ไร้ประโยชน์ต่างๆหันมารับพระไตรสรณคมน์ พระอาจารย์สิงห์ท่านได้ตั้งใจว่าจะพยายามสร้างวัดป่าขึ้นที่นี่เพื่อเป็นปูชนียสถานสำหรับผู้มีความสนใจในการประพฤติปฎิบัติปฎิบัติธรรมแต่ท่านก็ได้ถูกชาวบ้านส่วนใหญ่คัดค้านอย่างรุนแรง และข่มขู่ท่านว่า"ถ้าหากมีการสร้างวัดป่าขึ้นพวกเราจะฆ่าท่าน"ท่านมาพิจารณาด้วยสติปัญญาอันรอบคอบ ไม่เกรงกลัวต่อคำขู่ไม่เกรงว่าจะต้องตายด้วยน้ำมือชาวบ้าน ชีวิตนี้พระอาจารย์สิงห์ได้มอบกายถวายชีวิตไว้กับพระพุทธเจ้าแล้วและด้วยกระแสแห่งพรหมวิหารธรรมของท่านซึ่งมีพลังอำนาจได้แผ่ไปยังบุคคลที่ประสงค์ร้ายต่อท่านจึงสามารถเปลี่ยนใจเขาเหล่านั้นให้รับฟังธรรมะที่ท่านแสดงยกเหตุผลอันสุขุมอ่อนโยนป้อนเข้าสู่จิตใจจนระลึกถึงความผิดของตนที่คิดชั่วร้ายต่อพระสงฆ์ผู้มีความบริสุทธิ์ด้วยศีลธรรม และในที่สุดนอกจากยอมรับธรรมะอันวิเศษแล้วยังช่วยกันสร้างสำนักสงฆ์เพื่อถวายแก่พระอาจารย์สิงห์ และคณะด้วยจนสำเร็จ

    พระอาจารย์สิงห์ท่านได้มีโอกาสพบกับพระผู้สหายซึ่งต่อมาเป็นพระเถระผู้ใหญ่แห่งจังหวัดสุรินทร์ นั่นคือ หลวงปู่ดุลย์อตุโล หลวงปู่ดุลย์เองสมัยนั้นท่านก็ยังอยู่ในฝ่ายมหานิกายยังไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย ดังนั้นพระอาจารย์สิงห์เมื่อได้พบพระสหายคือหลวงปู่ดุลย์ อัตโลแล้ว ท่านเกิดชอบอัธยาศัยไมตรีของหลวงปู่ดุลย์และได้เห็นปฏิปทาในการศึกษาประพฤติปฏิบัติกิจในพระศาสนาอย่างจริงจังมีความตั้งใจจริงท่านพระอาจารย์สิงห์ จึงได้จัดการช่วยเหลือพระสหาย คือ หลวงปู่ดุลย์ได้ญัติเป็นพระธรรมยุติกนิกายได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑

    พระอาจารย์สิงห์ท่านมีน้องชายที่สนใจทางด้านปริยัติธรรมจนสามารถสอบได้เป็นมหา นั่นคือพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล แต่ท่านพระอาจารย์สิงห์มีความประสงค์ให้พระผู้น้องได้ประพฤติในทางปฎิบัติธรรมท่านจึงได้ปรารภเรื่องนี้กับ หลวงปู่ดุลย์และได้เชิญหลวงปู่ดุลย์ให้ช่วยทรมานและชักนำพระมหาปิ่นให้มาสนใจในทางธุดงคกรรมฐาน การทรมานมิได้ใช้วิธีอื่นที่เรียกว่ารุนแรง แต่เป็นการทรมานให้เห็นความสำคัญและปฏิปทาในการปฏิบัติ ในที่สุดพระอาจารย์สิงห์และหลวงปู่ดุลย์ท่านก็ค่อยสามารถทรมานโน้มน้าวความคิดจิตใจของท่านพระอาจารย์มหาปิ่นให้เลื่อมใสในกิจธุดงค์ได้จนหมดสิ้น

    ต่อมาพระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่นและบรรดาพระอาจารย์ฝ่ายปฏิบัติต่างๆหลายท่านเดินธุดงค์ผ่านมาถึงจังหวัดปราจีนบุรีท่านได้เปิดสำนักปฏิบัติธรรมขึ้นแห่งหนึ่ง ซึ่งบริเวณนั้นเป็นป่าช้า หรือเรียกว่า ป่ามะม่วงการมาอยู่จำพรรษาที่นี่ท่านได้นำธรรมะปฎิบัติสอนให้บรรดาชาวบ้านโดยทั่วไปประพฤติปฎิบัติจนปรากฎว่าชื่อเสียงในการสั่งสอนและแสดงพระธรรมเทศนาของท่านลึกซึ้งจับใจฟังแล้วเข้าใจง่ายคนที่ได้สดับรับฟังแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติตามจนเกิดสติปัญญารอบรู้ แต่ด้วยเหตุนี้เองทำให้สร้างความไม่พอใจแก่คนเลวบางคนเป็นยิ่งนักถึงขนาดจ้างมือปืนมาฆ่าท่านแต่ก็เกิดปาฏิหารย์ขึ้นในขณะที่มือปืนเล็งปืนขึ้นหมายยิงท่านนั้นต้นไม้ทุกต้นในบริเวณป่าช้าแกว่งไกวเหมือนถูกลมพัดอย่างรุนแรงขนาดต้นไม้โตๆล้มระเนระนาดหมดทำให้มือปืนใจชั่วตกใจเหลือกำลังจะวิ่งหนีแต่ขาก้าวไม่ออกปืนที่หมายจะยิงพระอริยเจ้าผู้ปฎิบัติชอบได้ตกหล่นอยู่บนพื้นดินมือปืนจึงก้มลงกราบพร้อมกับกล่าวคำสารภาพผิดพระอาจารย์สิงห์ได้อบรมจิตใจของมือปืนรับจ้างด้วยความเมตตา และปล่อยตัวไปซึ่งต่อมาผู้มีอิทธิพลซึ่งจ้างมือปืนฆ่าพระอาจารย์สิงห์ได้สำนึก และได้รับฟังธรรมะโอวาทจากพระอาจารย์สิงห์เกิดปิติในธรรมะอย่างล้นพ้นเลื่อมใสศรัทธาด้วยจิตใจบริสุทธิ์จึงพร้อมใจกันฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ และได้ชักชวนกันสร้างสำนักสงฆ์อันถาวรถวายพระอาจารย์สิงห์เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงคุณของท่านที่ได้เปิดตาเปิดใจพวกเขาให้ได้รับแสงสว่างในธรรมะและได้ตั้งชื่อไว้ว่า "วัดป่ามะม่วง"หรือวัดป่าทรงคุณแห่งจังหวัดปราจีนบุรีในปัจจุบันนี้

    ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ พระอาจารย์สิงห์ ท่านได้เดินธุดงค์ผ่านมาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีท่านได้พบกับเด็กหนุ่มรุ่นๆ คนหนึ่งมีความเคารพนับถือพระอาจารย์สิงห์มากเป็นพิเศษเข้ามารับใช้อุปัฎฐากทุกสิ่งอย่างเด็กรุ่นหนุ่มคนนั้นคือ หนุ่มเทสก์ เรี่ยวแรง ซึ่งก็คือพระราชนิโรจรังสีคัมภีร์ปัญญาวิศิษฐ์(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) นี้เองซึ่งในขณะนั้นมีอายุ ๑๖ ปีพระอาจารย์สิงห์ได้มองเห็นบุญญาธิการของหลวงปู่เทสก์ตั้งแต่แรกพบ เมื่อคณะธุดงค์ของท่านจะออกจากวัดบ้านนาสีดาหลวงปู่เทสก์ (ในขณะนั้นคือ หนุ่มเทสก์เรี่ยวแรง)ได้ขอติดตามพระอาจารย์ไปด้วย พระอาจารย์สิงห์จึงได้ให้ไปขออนุญาตบิดามารดาเสียก่อนและก็ได้เป็นไปตามสภาพกุศลเกื้อกูลทุกประการท่านได้พาคณะธุดงค์เดินตัดตรงไปทางอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายได้พักจำพรรษาโดยปักกลดในบริเวณป่าช้าแห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งปฎิบัติสมาธิภาวนาธรรมชื่อว่า"วัดป่าอรัญญวาสี"อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ท่านได้พร่ำสอนลูกศิษย์รัก คือ หนุ่มเทสก์เรี่ยวแรงให้รู้จักเจริญพรหมวิหารธรรมต่อมาท่านได้มอบหมายให้พระอาจารย์ลุยเป็นอุปัชฌาย์บรรพชาสามเณรเทสก์ขึ้นที่วัดบ้านเค็งใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

    ในการทดแทนพระคุณวันสูงล้ำของบิดามารดาพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโมได้เดินทางไปโปรดบิดามารดาขนมีจิตใจแจ่มใสเบิกบานในธรรมท่านได้ให้บิดามารดาเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยการแนะนำไปทีละน้อยๆซึ่งเป็นหน้าที่ของบุตรพึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง

    พระอาจารย์สิงห์ ได้รับพระราชสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระมีนามว่าพระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๐ และเมื่อวันที่๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๗ เวลา ๑๐.๒๐น.ท่านได้จากไปเพราะอาพาธด้วยโรคมะเร็งเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ณวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา รวมสิริอายุ ได้ ๗๓ พรรษา ๕๑ พรรษา



    http://www.maameu.ath.cx/index.php?option=com_smf&Itemid=39&topic=6593.0
     
  5. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๔. พระราชวุฒาจารย์
    (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

    วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    พระอริยเจ้าผู้มีความสามารถเป็นเลิศในการสอนธรรม


    พระเดชพระคุณหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระสุปฏิปันโนผู้มีโวหารธรรมอันแหลมคม เป็นเหมือนพี่ชายใหญ่ในสายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นสหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม

    ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดแต่น้อย รักความสงบเป็นนิตย์ จิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก จะเห็นได้ว่าท่านชอบสวดมนต์บท ​
     
  6. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]


    ๕. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

     
  7. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๖. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญา


    พระเดชพระคุณหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาญาน คือผู้ทรงความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนามีคุณสมบัติพิเศษ ๖ อย่าง

    ๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้
    ๒. ทิพโสต หูทิพย์
    ๓.เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น
    ๔.บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
    ๕.ทิพจักขุ ตาทิพย์
    ๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

    ท่านมีนิสัยชอบโดดเดี่ยวเที่ยวไปอยู่ในป่า ทำในสิ่งที่บุคคลอื่นทำได้ยาก ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับหมู่ชนพระเณร เป็นผู้มีความองอาจเด็ดเดี่ยวอดทนเป็นเลิศ ไม่กลัวความทุกข์ยากลำบาก เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย กล้าได้กล้าเสียในการปราบกิเลส ถึงกับพระอาจารย์มั่นออกปากชมท่ามกลางสภาสงฆว่า
     
  8. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๗. หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.สะพุง จ.เลย

    "พระอริยเจ้าผู้มีปฏิปทามักน้อย สันโดษหาผู้เสมอได้ยาก"




    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่หลุยจนฺทสาโร เป็นบุตรของ คุณพ่อคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าวแขวงไชยบุรี ประเทศลาว และ เจ้าแม่นางกวย (สุวรรณภา) วรบุตรธิดาของผู้มีอันจะกินเขตเมืองเลย

    ท่านถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2444 เวลารุ่งอรุณจวนสว่าง ได้ชื่อว่า วอมีพี่สางต่างบิดา 1 คน และ น้องชายร่วมบิดามารดาอีก 1 คน

    เมื่อเข้าโรงเรียนท่านมีนิสัยช่างซักช่างเจรจา ออกความเห็นเหมือน ครูบา จึงถูกเรียกว่า บาท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดศรีสะอาดจนจบชั้นประถมปีที 3ซึ่งขณะนั้นถือเป็นการศึกษาชั้นสูงสำหรับเมืองชายแดน

    ต่อมาท่านได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากรอำเภอเชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี)และที่ห้องอัยการภาค จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด

    ขณะที่อยู่ที่เชียงคานด้วยวัยหนุ่มคะนอง มีการติดต่อกับฝรั่งฝั่งลาวท่านจึงรู้จักวิธีผสมสุราอย่างฝรั่งเศส และศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ 5 ปีจนคุณพระเชียงคาน ลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุย หรือ หลุยท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา ชีวิตราชการของท่านไม่ค่อยราบรื่นนักท่านจึงรู้สึกอึดอัดใจในชีวิตฆราวาสอย่างยิ่งประกอบกับรู้สึกเบื่อหน่ายกับการต้องคลุกคลีอยู่กับการจัดอาหารในงานเลี้ยงที่ต้องมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตคิดอยากบวชเพื่อแผ่บุญกุศลไปให้สรรพสัตว์ที่ตายไปแล้วท่านจึงตัดสิ้นใจลาออกจากชีวิตราชการเข้าสู่พิธีอุปสมบท เป็นพระมหานิกาย ณอำเภอแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปีพุทธศักราช 2466โดยมีอัยการภาคเป็นเจ้าภาพบวชให้

    ระหว่างพรรษาแรกที่ธวัชบุรีท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติครั้นถึงคราวออกพรรษาท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลยและได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนมระหว่างทางได้พบพระธุดงค์กัมมัฏฐานรูปหนึ่งมาจากอำเภอโพนทองรู้สึกถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ท่านได้ร่วมถวายภาวนาเป็นพุทธบูชา ณลานพระธาตุพนมตลอดคืน บังเกิดความอัศจรรย์ กายลหุตา จิตลหุตา คือ กายเบาจิตเบา จึงตั้งสัจจาอธิษฐานว่าจะบวชกัมมัฏฐานตลอดชีวิต

    ระหว่างทางสู่จังหวัดเลยเมื่อมาถึงบ้านหนองวัวซอ ท่านได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนาจาก ท่านพระอาจารย์บุญปญฺญาวโร รู้สึกเลื่อมใสมากจึงขอถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ได้แนะนำให้ขอญัตติเป็นธรรมยุตที่จังหวัดเลยหลังจากเกณฑ์ทหารแล้วท่านจึงได้ขอญัตติจตุตถกรรมใหม่เป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดเลย

    ต่อมาท่านได้กลับมาอยู่กับพระอาจารย์บุญ ที่วัดหนองวัวซอ และติดตามไปวัดพระพุทธบาทบัวบก ซึ่ง ณที่นี้เอง ท่านได้พบกับ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลและอยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจาก พระอาจารย์เสาร์ โดยมี พระอาจารย์บุญเป็นพระพี่เลี้ยง จากนั้น ก็ได้ไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่นภูริทตฺโต มหาเถระที่ท่าบ่อ จังหวัดหนองคายได้อยู่อบรมรับฟังโอวาทและฝึกปฏิบัติกับพระอาจารย์มั่น จวบจนเข้าพรรษาจึงกลับมาจำพรรษาต่อกับ พระอาจารย์เสาร์ ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก

    ในพรรษานี้ท่านได้ภาวนาจนจิตรวมแล้วเกิดอาการสะดุ้ง พระอาจารย์บุญจึงให้ญุตติจตุถกรรมใหม่ที่ วัดโพธิสมพรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2468 โดยมี ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)เมื่อครั้งเป็นพระครูสังฆวุฒิกรป็นพระอุปัจฌาย์ และ ท่านพระอาจารย์บุญปญญาวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ท่านจึงได้บวชถึง 3 ครั้ง คือ ปี 2466, 2467 และ 2468

    พรรษาที่1-6 ( พ.ศ. 2468-2473) ท่านจำพรรษาอยู่กับ ท่านพระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุโธพ.ศ.2468 จำพรรษา ณ วัดพระบาทบัวบก อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2469-2473 จำพรรษา ณ วัดป่าหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันมีชื่อว่าวัดบัญญานุสรณ์) และในปี พ.ศ. 2473 พระอาจารย์บุญ ปญฺญวุโธ มรณภาพซึ่งในปีนี้ ท่านได้จำพรรษาอยู่ร่วมกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ชอบฐานสโม

    พรรษาที่ 7-8 พ.ศ. 2474 ท่านจำพรรษาที่วัดป่าบ้างเหล่างาอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบัน คือ วัดป่าวิเวกธรรม) ร่วมกับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล พระอาจารย์อ่อนญาณสิริ พระอาจารย์ชอบ ฐานสโมและหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    ปีพ.ศ. 2475 ได้ร่วมกับคณะไปส่งสตรีกัมมัฏฐานที่ นครราชสีมา และร่วมสร้างวัดป่าสาลวัน และได้จำพรรษาที่ วัดป่าศรัทธา ร่วมกับพระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์ภูมี จิตฺตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญพระอาจารย์คำดี ปภาโส

    พรรษาที่ 9-10(พ.ศ.2476-2477) ท่านได้ร่วมเดินธุดงค์กับ พระอาจารย์เสาร์และได้วิชาม้างกายจากท่านอาจารย์ ในปีนี้ท่านได้จำพรรษา ณถ้ำบ้านโพนงาม-หนองสะไน ตำบลผักคำภู อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

    พรรษาที่11 (พ.ศ.2478) เป็นปีที่สร้างวัดป่าหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคมจังหวัดสกลนคร หรือ วัดภูริทัตตถิราวาส และท่านได้ออกอุบายให้ชาวบ้านอาราธนานิมนต์ ท่านพระอาจารย์ฝั้น มาจำพรรษาที่นี่นานถึง 5 ปี

    พรรษาที่ 12 (พ.ศ.2479) อยู่จำพรรษากับ พระอาจารย์เสาร์ ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

    พรรษาที่ 13-14 (พ.ศ.2480-2481) กลับมาสู่แผ่นดินถิ่นกำเนิด จำพรรษา ณ ป่าช้าหนองหลางฝาง ถ้ำผาปู่ และ ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย

    พรรษาที่15 (พ.ศ.2482) ธุดงค์แสวงหาที่ว่างปฏิบัติธรรมในเขตป่าดงเถื่อนถ้ำจังหวัดเลย จำพรรษา ณ ถ้ำผาปู่ และ พักเจริญธรรมบ้านหนองบง

    พรรษาที่ 16(พ.ศ.2483) เกิดอัศจรรย์ในดวงจิต จำพรรษา ณ โพนสว่าง อำเภอกุดบากจังหวัดสกลนคร (โพนงาม. หนองสะไน) ได้โสรจสรงอมฤตธรรม ครั้นออกพรรษาได้ไปนมัสการ หลวงปู่มั่น ที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี

    พรรษาที่ 17-19 ใน พ.ศ.2484 ได้ร่วมอยู่ในรัศมีบารมีบูรพาจารย์ ขณะที่ หลวงปู่มั่น จำพรรษา ที่โนนนิเวศน์

    พ.ศ.2485-2486 จำพรรษาที่ บ้านอุ่นโคก และ ป่าใกล้วัด ป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร

    พรรษา ที่ 20-25 ใน พ.ศ.2487-2488 ทำหน้าที่เปรียบได้ดังนายทวารบาล แห่งบ้านหนองผือ จำพรรษา ณ บ้านหนองผือ จังหวัดสกลนคร

    พ.ศ.2489-2490 จำพรรษา ณ บ้านอุ่นดง จังหวัดสกลนคร

    พ.ศ. 2491 จำพรรษา ณ บ้านโคกมะนาว จังหวัดสกลนคร

    พ.ศ.2492 จำพรรษา ณ บ้านห้วยป่น ตำบลนาใน อำเภอพรรณนิคม สกลนครขณะที่หลวงปู่มั่น จำพรรษาช่วงปลายชีวิต ณ วัดป่าหนองผือท่านจึงอยู่พรรษากับบูรพาจารย์ใหญ่ ในช่วงนี้ โดย เฉพาะในปีนี้ มีพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์มนู พระอาจารย์อ่อนสาพระอาจารย์เนตร ตนฺติสีโล พระอาจารย์วัน อุตฺตโมร่วมจำพรรษาด้วย

    พรรษาที่26-31 พ.ศ.2493 หลังจากประทีปแก้วของพระกัมมัฏฐานได้ดับลง ณวัดป่าสุทธาวาส เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2492 และได้ถวายเพลิงในต้นปี2493 หลังจากนั้น ท่านได้ออกธุดงค์เรื่อยไป จำพรรษาที่วัดศรีพนมมาศอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

    พ.ศ. 2494 จำพรรษา ณ ถ้ำพระนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

    พ.ศ. 2495 จำพรรษา ณ วัดป่าเขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น กับ เจ้าคุรอริยคณาธาร

    พ.ศ. 2496 จำพรรษา ณ วัดดอนเลยหลง อำเภอเมือง จังหวัดเลย และถ้ำผาปู่

    พ.ศ.2497 จำพรรษา ณ บ้านไร่ม่วง (วัดป่าอัมพวัน) กับ หลวงปู่ชา อจฺตฺโตผู้เคยร่วมธุดงค์กันหลายครั้ง และในปีนี้ ด้มาที่ท่าแพ อำเภอเมืองจังหวัดเลย

    พ.ศ. 2498 จำพรรษา ณ สวนพ่อหนูจันทร์ บ้านฝากเลย จังหวัดเลย

    พรรษาที่ 32 พ.ศ.2499 อยู่บ้านกกกอก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย (ปัจจุบัน คือ วัดปริตตบรรพต) และ ผจญพญานาคที่ภูบักบิด

    พรรษาที่ 33-35 พ.ศ.2500 จำพรรษาร่วมกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย ณ วัดป่าแก้วชุมพล สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

    พ.ศ. 2501-2502 ร่วมจำพรรษา และ ร่วมสร้าง วัดถ้ำกลองเพล กับ หลวงปู่ขาว

    พรรษาที่ 36 พ.ศ. 2503 จำพรรษา ณ ถ้ำมโหฬาร ตำบลหนองหิน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และ ในเขตป่าเขาถ้ำเถื่อน ในเขตจังหวัดเลย

    พรรษาที่ 37 พ.ศ. 2504 จำพรรษา ณ ถ้ำแก้งยาว บ้านโคกแฝก ตำบลผาน้อย อำเภอสะพุง จังหวัดเลย ในปีนี้ ได้พบงูใหญ่มาอยู่ใต้แคร่

    พรรษาที่ 38 พ.ศ. 2505 จำพรรษาที่ เขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น

    พรรษาที่ 39 พ.ศ. 2506 ได้อุบายธรรม เนื่องจากการจำพรรษากับ หลวงปู่ขาว อนาลโย ณ ถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

    พรรษาที่ 40 พ.ศ.2507 จำพรรษาที่ บ้านกกกอก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    พรรษาที่ 41-42 พ.ศ.2508-2509 เสวยสุขจำพรรษา ณ ถ้ำผาบิ้งบ้านนาแก ตำบลผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    พรรษาที่ 43-48 พ.ศ. 2510-2515 จำพรรษา ณ ถ้ำผาบิ้ง สร้างวัดผาบิ้งและเริ่มรับนิมนต์โปรดพุทธชนภาคอื่นๆ ขณะมีอายุกว่า 70 ปีแล้ว

    พรรษาที่ 49-50 พ.ศ. 2516-2517 กลัปไปบูรณะ บ้านหนองผือ และถ้ำเจ้าผู้ข้า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

    พรรษาที่ 51 พ.ศ. 2518 จำพรรษา ร สวนบ้านอ่าง อำเภอบะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อโปรดชาวภาคตะวันออก

    พรรษาที่ 52 พ.ศ.2519 เดินทางไปโปรดชาวภาคใต้ และ จำพรรษา ณ วัดกุมภีร์บรรพต นิคมควนกาหลง จังหวัดสตูล วัดควนเจดีย์ จังหวัดสงขลา

    พรรษาที่ 53-57 โปรยปรายสายธรรม

    พ.ศ.2520 จำพรรษาที่ สวนปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

    พ.ศ. 2521 จำพรรษาที่ วัดป่าหนองแซง อำเภอหนองวัวซอ อุดรธานี

    พ.ศ. 2522 จำพรรษาที่ โรงนายาแดง คลอง 16 อำเภอองครักษ์ นครนายก

    พ.ศ. 2523 จำพรรษาที่ วัดอโศการาม อำเภอเมือง สมุทรปราการ

    พ.ศ. 2524 จำพรรษา ณ ที่พักสงฆ์ บ้านคุณประเสริฐ โพธิ์วิเชียร อำเภอศรีราชา ชลบุรี

    พรรษาที่ 58 พ.ศ.2525 พิจารณาธาตุขันธ์จะแตกดับ จำพรรษา ณ ถ้ำเจ้าผู้ข้า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

    พรรษาที่59-65 (พ.ศ.2526-2532) เป็นช่วงแสงตะวันลำสุดท้ายของชีวิต ในช่วงปี พ.ศ.2526-2528 ท่านจำพรรษาที่ วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) กิ่งอำเภอศรีวิไลจังหวัดหนองคาย

    พ.ศ. 2529-2532 จำพรรษาที่พักสงฆ์ ก.ม.27 ดอนเมือง กรุงเทพมหานครกับ ที่พักสงฆ์เย็นสุดใจ อำเภอท่าหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    ในบรรดาศิษย์ของหลวงปู่มั่น นั้น หลวงปู่หลุย เป็นผู้ทีสันโดษ มักน้อยประหยัดมัธยัสถ์ที่สุด ท่านเป็นผู้ละเอียดละออมาก เป็นนักจดบันทึกมีบันทึกหลายสิบเล่มเกี่ยวกับหลวงปู่มั่นซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการค้นคว้าศึกษาสำหรับสาธุชนคนรุ่นหลังรวมทั้งธรรมโอวาท ของท่านเองด้วย ธรรมโอวาท

    ธรรมเทศนาของหลวงปู่มีมากมายหลายร้อยหลายพันกัณฑ์เพราะท่านได้เทศน์โปรดญาติโยมลูกศิษย์มากกว่าครึ่งศตวรรษและกระทำเรื่อยมาจนกระทั่งคืนสุดท้าย ก่อนจะมรณภาพเพียงหนึ่งชั่วโมงท่านก็ยังอบรมสั่งสอนศิษย์อยู่ ท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของ การรักษาศีลโดยเฉพาะในวันอาทิตย์ ท่านจะเน้นให้บรรดาศิษย์รักษาเพิ่มจาก ศีล 5 เป็นศีล 8 ท่านได้อธิบายอานิสงส์ของศีลให้ฟังว่า ศีล 5 นี้ พระพุทธเจ้าท่านมีเมตตาต่อผู้ครองเรือน ผู้รักษาศีล 5 ย่อมสำเร็จโสดาบันได้ สำหรับศีล8 ย่อมช่วยให้สามารถสำเร็จถึงอนาคามีได้

    พระธรรมเทศนาของท่านจะย้ำเสมอเรื่องการบริจาคทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนาท่านมักจะเน้นเรื่องศีลอยู่เสมอ เพราะ ศีล แปลว่า ความปกติเป็นการรักษาใจให้ปกติ อันเป็นบาทเบื้องต้นของการภาวนาหากรักษาศีลได้บริสุทธิ์ การภาวนาก็จะก้าวหน้ารวดเร็วผู้มีศีลย่อมต้องมีจิตใจผ่องใส เป็นที่รักของบุคคลทั้งหลายในสังคมที่อยู่ร่วมกันนี้ ถ้าทุกคนรักษาศีล 5 บ้านเมืองก็จะสงบราบรื่นปราศจากขโมย ไม่มีการฆ่าฟันกัน อานุภาพแห่งศีล ย่อมรักษาตัวผู้รักษาศีลและ สังคมโดยรอบได้ หลังจากได้ฟอกจิตด้วยการรักษาศีลแล้ว การบำเพ็ญทานก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้จิตใจโน้มน้าวตัดความตระหนี่ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ถึงกัน

    ส่วนเรื่องจิตภาวนา นั้น ท่านจะเน้นว่ามีอานิสงส์มาก ท่านกล่าวเสมอว่ากิเลสมีร้อยแปดประตู แต่พุทโธมีประตูเดียว เพราะฉะนั้นให้ฝึกหัดปฏิบัติให้คุ้นเคยวาระที่เราจะเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดดังนั้นจงเพียรฝึกจิตให้คุ้นไว้กับพุทโธท่านละเอียดพิถีพิถันมากในทุกเรื่องเป็นต้นแบบให้สาธุชนรู้จักฝึกตนให้รู้จักการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างถูกต้อง คือ นอกจากเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง ศอกจรดพื้นหน้าผากต้องแตะถีงพื้นด้วย จึงจะเป็นท่ากราบที่งดงาม

    ในการกราบครั้งที่หนึ่งให้มีน้อมจิตรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้ากราบครั้งที่สองให้นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของท่านที่สืบต่อพระศาสนามาจนทุกวันนี้กราบครั้งที่สามให้ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นสมมติสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการกราบทุกครั้งต้องน้อมจิตให้รำลึกด้วยเสมอ จิตจะเอิบอาบในการบุญจะเป็นจิตที่อ่อนน้อมควรแก่การงาน หากฝึกเช่นนี้เสมอจะเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตน ให้ดูจิตของตัวเอง ภาวนาให้จิตใจสงบมัธยัสถ์ปัจจุบัน ม้างกายให้มากจะช่วยให้หมดความกำหนดหลงติดในสีสันของกามวัตถุให้หมั่นมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอานิสงส์ของการช่วยชีวิตสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่า มีผลทำให้อายุยืนแม้ยามตกทุกข์ได้ยาก ก็จะมีคนมาช่วยเหลือ ไม่ติดคุกติดตาราง

    หลักการม้างกายของท่าน คือ การพิจารณาปล่อยวางธาตุขันธ์ ส่วนการภาวนาหรือทำจิตทำใจให้ดูอาการของจิต ก่อนตาย อย่าไปดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียวเวลาธาตุจะตีลังกาเปลี่ยนภพ จิตจะออกจากร่าง ให้พิจารณาตามจิต จะเห็นว่าจิตจะออกจากร่างอย่างไร ไปอย่างไร จิตจะเข้าๆ ออกๆ อย่างไร จะมืดๆ สว่างๆอย่างไร จะมีอาการเหนื่อยหอบมาก ให้กำหนดตามจิต จะเห็นอาการจิตชัดแต่หากตามไม่ทัน ก็ให้ปล่อยไปให้ได้ปัจจุบันขณะ ท่านจะย้ำเสมอว่าอย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียวและ ขอให้เร่งทำความเพียรมีความสามัคคี กลมเกลียวกัน


    ปัจฉิมบท

    ในวันที่ 7 ตุลาคม 2532 ท่านรำพึงระหว่างที่พักอยู่ ณ ที่พักสงฆ์ กม.27 ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ความว่า

    "แก่ชรา มานานเท่าไร พึงภาวนาให้คุ้นเคยกับความตาย เพราะจะต้องตายอยู่แล้วเตรียมตัวไว้ก่อนตาย รอรถ รอเรือ ที่จะต้องขึ้นไหสวรรค์พระนิพพานหูยิ่งหนวกหนักเข้าทุกวัน ตายิ่งไม่เห็นหน ตีนเท้าอ่อนเพลียหันไปหาความตายเสมอไป ถือภาวนาใน ไตรลักษณ์ ทุกขอนิจจัง อนัตตามีเกิดแล้วย่อมมีตาย เพราะโลกไม่เที่ยงอยู่แล้ว แปรปรวนไปต่างๆสังขารเราบอกเช่นนั้น เที่ยงแต่พระนิพพานอย่างเดียว"

    เช้าวันอาทิตย์ที่24 ธันวาคม 2532 หลวงปู่ยังคงเดินจงกรมตามปกติหลังจากนั้นได้เรียกพระเณรมาขอนิสัยใหม่ แล้วท่านก็ได้อบรมธรรมะโดยให้พระเณร ภาวนาดูจิตนเอง ภาวนาให้จิตสงบ ม้างกายให้มากท่านปรารภถึงความตาย จนเวลา 13.00น.ท่านเรียกพระอุปัฏฐากขึ้นไปพบและปรารภให้ฟังว่า รู้สึกแน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวก ลมตีขึ้นเบื้องบน แล้วบอกให้ช่วยนวดขา ครั้นเวลาผ่านไปถึง16.00น. อาการกำเริบหนักท่านหายใจไม่ออก พระอาจารย์อุทัย สิริธโร และบรรดาลูกศิษย์จึงขอนิมนต์ท่านไปโรงพยาบาล แต่ท่านบอกว่า "หมอก็ช่วยไม่ได้ขอตายที่หัวหิน ไม่ยอมเข้ากรุงเทพฯ เพราะสถานที่ไม่สงบจะทำให้เข้าจิตไม่ทัน" ลูกศิษย์จึงไปตามแพทย์มาดูอาการและวินิจฉัยว่าเป็นอาการของโรคหัวใจ และ อาหารไม่ย่อยตรงตามที่ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ไว้ก่อนที่หมอจะมา

    ท่านขอแสดงอาบัติและ บอกบริสุทธิ์ต่อท่ามกลางสงฆ์ ด้วยน้ำเสียงที่แจ่มใสยิ่งพร้อมแสดงธรรมปฏิญานปลงอายุสังขารแล้วปรารภปัจฉิมเทศนาในเรื่องการทำกิจ การภาวนาการดูอาการของจิตก่อนตาย ย้ำว่า อย่าไปตามดูอาการของเวทนาให้ดูจิตอย่างเดียว

    ท่านเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธิคุณกรุณาธิคุณ โดยไม่อ้างกาลเวลาแม้อาพาธอย่างหนักก็ยังปรารภปัจฉิมเทศนาเป็นครั้งสุดท้าย จวบจนเวลา 23.30น. ท่านได้กล่าวว่าท่านประคองธาตุขันธ์ต่อไปไม่ไหว คงจะปล่อยวางแล้วขอเอาจิตอย่างเดียว และขอขอบใจที่พระเณรได้ช่วยกันอุปัฏฐากท่านหากได้ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ก็ขอให้อโหสิกรรมให้แก่กันและกันด้วยกระทั่งถึงเวลา 00.43น. ของ คืนวันที่ 24 ล่วงเข้าสู่ วันจันทร์ที่ 25ธันวาคม 2532 หลวงปู่ได้กล่าวเป็นคำสุดท้ายว่า "เอาขันธ์ไว้ไม่ไหวแล้ว"

    หลวงปู่ได้จากไปพร้อมอาการสงบด้วยสติ รวมสิริอายุได้ 88 ปี 10 เดือน 14 วัน 64 พรรษา

    http://www.maameu.ath.cx/index.php?option=com_smf&Itemid=39&topic=6593.0
     
  9. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๘. หลวงปู่ขาว อนาลโย

    วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

    พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งเพชรน้ำหนึ่ง

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นพระอริยเจ้าที่ชื่อได้ว่า
     
  10. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๙. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

    วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

    พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตเหนือฟ้าดิน

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมชั้นสูงสุด อุปนิสัยท่านเป็นคนเรียบร้อย อ่อนโยน นิสัยสุขุมเยือกเย็นและกว้างขวาง ปรารภความเพียรแรงกล้าเด็ดเดี่ยว ไปตามภูผาป่าเขาเพียงลำพัง แสวงหาความสงบวิเวก ยินดีต่อความสงบ เป็นผู้มักน้อยสันโดษ พอใจในปัจจัยสี่ที่ตนมีอยู่แล้วได้มาโดยชอบธรรม เป็นนักต่อสู้เพื่อเอาชนะกิเลส มีสหธรรมิกคือพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์กว่า สุมโน

    ท่านมีความเคารพเลื่อมใส ตั้งอยู่ในโอวาทของพระอาจารย์มั่นอย่างถึงใจ ทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน จนจิตสว่างจ้า ที่จังหวัดเชียงใหม่ พอรุ่งเช้าท่านพระอาจารย์มั่นได้พูดกับท่านว่า​
     
  11. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๑๐. หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ

    วัดป่าประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

    พระอริยเจ้าผู้มีอุปนิสัยแก่กล้าในทางธรรม

    พระเดชพระคุณหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ พระอริยสงฆ์ประเภทขิปปาภิญญา (บรรลุธรรมเร็ว) เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้าหาได้ยาก สละทรัพย์สมบัติ ออกบวชตามรอยบาทพระศาสดา ไม่มีความอาลัยเสียดาย ประดุจบ้วนน้ำลายลงบนแผ่นดิน เป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้สดับฟังโอวาทและติดตามพระอาจารย์มั่น ท่านเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธุดงควัตร ชอบเที่ยวธุดงค์ในประเทศลาวและประเทศพม่า เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีนิสัยวาสนาแก่กล้า พยายามฟันฝ่ากับอุปสรรคทั้งปวงเพื่อจะขอเอาดวงจิตของท่านพ้นทุกข์ให้ได้

    ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร พุทธศักราช ๒๔๓๑ ปีขาล ณ บ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรนายจันทร์ และนางวันดี สุภาพงษ์

    ชีวิตสมัยเป็นฆราวาสท่านแต่งงานสองครั้ง ครั้งแรก ภรรยาคลอดลูกตายทั้งกลม ท่านเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก ทำให้ครุ่นคิดได้ว่า​
     
  12. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๑๑. หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

    วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

     
  13. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]



    ๑๒. หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ
    วัดดอยธรรมเจดีย์ ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

     
  14. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๑๓. ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

    วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

    พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า

    พระเดชพระคุณพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ หรือท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอริยะเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ถึงพร้อมด้วยอำนาจแห่งบารมีและบุญที่สั่งสมไว้แต่ปางบรรพ์ เป็นพระสุปฏิปันโนปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ที่มีภูมิธรรมและพลังจิตสูงยิ่ง มีจริยวัตรที่งดงาม มีศรัทธาที่เต็มเปี่ยมในการเผยแพร่สัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ท่านเป็นศิษย์ที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต โปรดเป็นที่สุด ในยามที่ท่านเดินทางไปคารวะท่านพระอาจารย์มั่นสำนักวัดบ้านหนองผือ จังหวัดสกลนคร ท่านได้รับการต้อนรับจากท่านพระอาจารย์มั่นเป็นกรณีพิเศษ ว่ากันว่า.... ​

     
  15. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371

    [​IMG]

    ๑๔. หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

    วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวันครพนม

    พระอริยเจ้าผู้มีปฏิปทาประดุจเสือโคร่ง


    พระเดชพระคุณหลวงปู่ตื้อ อจลมฺโม พระอริยเจ้าชื่อดังแห่งภาคอีสาน เป็นศิษย์ที่สำคัญรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นผู้มีนิสัยรักความสงบสันโดษ ท่านเข้าเป็นศิษย์วัดตั้งแต่ยังเด็กและได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ระยะหนึ่ง เป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษา มีนิสัยตรงไปตรงมา ข้อวัตรปฏิบัติเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว เอาจริงเอาจัง นิสัยโผงผาง พูดจาขวานผ่าซาก มีลีลาการแสดงธรรมแปลกกว่ารูปอื่นๆ มีคำคมขำขันแฝงอยู่เสมอในเทศนาธรรม โดยส่วนมากภาวนาอยู่ตามท้องถ้ำในป่าลึกทางภาคเหนือ เช่น ถ้ำเชียงดาว เป็นต้น

    ปฏิปทาของท่านอาจหาญสมกับเป็นนักรบธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ลักษณะนิสัยท่านเป็นประดุจเสือโคร่ง และท่านมักปฏิบัติกรรมฐานอย่างอุกฤษฏ์ โดยถือเอาเสือโคร่งเป็นแบบอย่างย่าง โดยอริยาบถ ๔ คือ

    ๑. ต้องมีน้ำจิตน้ำใจแข็งแกร่งกล้าหาญในการเที่ยวธุดงค์ล่ากิเลส ปรดุจเสือตัวเปรียว เที่ยวล่าเหยื่อไม่กลัวต่อภยันตรายใดๆ

    ๒. ต้องกล้าเที่ยวไปในค่ำคืน ประดุจเสือไม่กลัวต่อมรณภัยในความมืด

    ๓. ต้องชอบอยู่ในท้องถ้ำที่สงัดจากผู้คน ประดุจเสือหลีกเร้นซ่อนตัวอยู่ในถ้ำอันลึกลับที่ผู้คนเข้าไปไม่ถึง

    ๔. คิดทำอะไรลงไปแล้วต้องมุ่งความสำเร็จเป็นจุดหมาย ประดุจแววตาเสือได้จ้องเขม็งไปที่เหยื่อรายใดแล้ว ต้องตามตะปปขย้ำจนสำเร็จ

    ท่านได้สำเร็จอภิญญาญาณสามารถเรียกสัตว์มีเสือเป็นต้น มาขี่เป็นพาหนะในการเดินทางได้และสามารถท่องเที่ยวรกสวรรค์ได้ตามใจปราถนา ท่านมีหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นสหธรรมิกในการเดินทางธุดงค์ภาวนาในภาคอีสาน และภาคเหนือของประเทศไทย เมืองเวียงจันทร์ เมืองหลวงพระบางของประเทศลาว

    ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด ณ บ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวันครพนม เป็นบุตรของนายปา และนางปัตต์ ปาลิปัตต์

    ปีพุทธศักราช ๒๔๕๒ อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี ในฝ่ายมหานิกายกับพระอุปัชฌาย์คาน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม นานถึง ๑๙ พรรษา

    ได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุต ในปี พ.ศ.๒๔๗๑ เมื่ออายุ ๔๐ ปีที่วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศรีพิสารคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูนพิสี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ ท่านอาพาธด้วยโรคชรา จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดป่าอรัญญวิเวก ซึ่งเป็นบ้านเกิด ครั้นถึงกาลใกล้นิพพาน ท่านได้แสดงธรรมโปรดสานุศิษย์ด้วยบทธรรมสั้นๆ ว่า

     
  16. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]


    ๑๕. หลวงปู่สาม อกิญฺจโน
    วัดป่าไกตรวิเวก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

     
  17. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]


    ๑๖. พระครูญาณทัสสี
    (หลวงปู่คำดี ปภาโส)
    วัดถ้ำผาปู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย

     
  18. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๑๗. พระญาณสิทธาจารย์
    (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)

    วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

    พระอริยเจ้าผู้มีกลิ่นศีลธรรมกำจรกำจาย

    พระเดชพระคุณหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร พระอริยเจ้าผู้ทุ่มเทชีวิตจิตใจในเพศพรหมจรรย์ บากบั่นดำเนินตามรอยพระบูรพาจารย์ อุปนิสัยละมุนละไม มีเมตตาเป็นสาธารณะ ใจเด็ด มุ่งหวังเพียงความพ้นทุกข์ ได้รับคำชมจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ว่า
     
  19. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๑๘. พระธรรมวิสุทธิมงคล
    (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)

    วัดป่าบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

    พระอริยเจ้าผู้เป็นมหาบุรุษของแผ่นดิน

    พระเดชพระคุณพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) พระอริยเจ้าที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ยิ่งใหญ่ด้วยบุญบารมี ทายาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น เป็นมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค สามารถทำประโยชน์ใหญ่ให้แก่ชาติและพระพุทธศาสนา เป็นพระของแผ่นดินไทยที่ประวัติศาสตร์ต้องจดจารึก เป็นศักดิ์ศรีและเกียรติยศประดับวงศ์พระพุทธศาสนาอย่างสง่างาม ปฏิปทาและคำสอนของท่านหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก ท่านจึงเป็นที่ยอมรับจากพระคณาจารย์น้อยใหญ่และประชาชนทั่วไป

    ท่านสามารถทำในเรื่องที่บุคคลอื่นทำได้ยาก เรื่องที่แสนยากเมื่อท่านดำริกลับเป็นเรื่องง่ายประดุจพลิกแผ่นดินได้ ท่านคิดทำเรื่องใดไม่ว่าน้อยใหญ่กิจนั้นสำเร็จราวปาฏิหาริย์ ท่านเล่าว่า ​
     
  20. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๑๙. พระอริยเวที
    (เขียน ฐิตสีโล)
    วัดรังสีปาลิวัน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

     

แชร์หน้านี้

Loading...