พระราชทานพระไตรปิฎกสากล แก่ ๑๔ สถาบันสำคัญในญี่ปุ่น

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย paang, 12 กันยายน 2008.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>



    เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๐๘.๐๐ น. ที่อาคารท่าอากาศยานทหารอากาศ ดอนเมือง (บน.๖) พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ร่วมกับ คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานโครงการสมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ฯ

    จัดพิธีอัญเชิญพระไตรปิฎกสากล ๑๔ ชุด ชุดละ ๔๐ เล่ม ขึ้นเครื่องบินเที่ยวพิเศษของกองทัพอากาศ เพื่อเดินทางไปในพิธีพระราชทานพระไตรปิฎกสากล ณ ประเทศญี่ปุ่น

    ในโอกาสนี้ ผศ.ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ เป็นผู้นำกล่าวสังวัธยายพระไตรปิฎก (การอ่านออกเสียงดังๆ ให้จำได้) เพื่อถวายเป็นพระกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมกับผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎก ข้าราชการทหารอากาศ และประชาชน ที่ร่วมในพิธีประมาณ ๑,๐๐๐ คน
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>



    หลังจากเสร็จพิธีสังวัธยายพระไตรปิฎกแล้ว พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข และ รศ.ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข เป็นผู้อัญเชิญพระไตรปิฎกสากล ขึ้นสู่เครื่องบินกองทัพอากาศ เที่ยวพิเศษ ออกเดินทางสู่ประเทศญี่ปุ่น เวลา ๐๘.๓๐ น.

    พิธีพระราชทานพระไตรปิฎกสากลแก่ ๑๔ สถาบันสำคัญในประเทศญี่ปุ่น มีขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๑ ณ พุทธสถานชิเตนโนจิ เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถาบันในพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น มีอายุ ๑,๔๐๐ ปี โดยมี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธี โอกาสนี้ได้มีพิธีสมโภช และสังวัธยาย (อ่านออกเสียงดังๆ) พระไตรปิฎกสากล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ และชาวญี่ปุ่น โดยทั่วกัน

    และในวันเสาร์ที่ ๑๓ กันยายน นี้ เวลา ๑๑.๐๐ น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปทรงเป็นประธานในการแสดงปาฐกถา เทคโนโลยีพระไตรปิฎก ณ ห้องประชุมคณะเกษตรศาสตร์และชีววิทยา มหาวิทยาลัยโตเกียว โดยมี เจ้าชายอากิชิโน ร่วมงานด้วย
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>



    สำหรับการพระราชทานพระไตรปิฎกสากลในครั้งนี้ ได้ดำเนินตามพระศรัทธาใน สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์อุปถัมภ์พระไตรปิฎกสากล โปรดให้พระราชทานแก่สถาบันสำคัญในนานาประเทศ ตามรอย พระไตรปิฎกอักษรสยาม ในสมัย รัชกาลที่ ๕ ซึ่งถือเป็นการเผยแผ่คลังอารยธรรมทางปัญญา และเสริมสร้างสัมพันธไมตรีทางภูมิปัญญาระดับสูง กับนานาประเทศทั่วโลก ซึ่งสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้พระราชทานพระไตรปิฎกสากลให้แก่ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศแรก เมื่อ วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๘ และประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศในเวลาต่อมา

    พระไตรปิฎกสากล คือ พระไตรปิฎกที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็น อักษรโรมัน โดย กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ได้นำต้นฉบับพระไตรปิฎกปาฬิ จากการสังคายนานานาชาติ พ.ศ.๒๕๐๐ มาจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน เพื่อช่วยให้ชาวโลกสามารถอ่านออกเสียงพระไตรปิฎกปาฬิ ได้ง่ายขึ้น ทำให้การเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างกว้างขวางขึ้น อันจะเป็นแนวทางปฏิบัติสู่สันติสุขของแต่ละบุคคล และสันติสุขของชาวโลกได้

    พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน จัดพิมพ์สำเร็จในประเทศไทย นับเป็นชุดสมบูรณ์ครั้งแรกของโลก (ชุดละ ๔๐ เล่ม) เพื่อให้เป็นที่แพร่หลายไปในนานาประเทศ ดังนั้น บุคคลผู้สนใจและศรัทธาในวัฒนธรรมแห่งปัญญาในพระไตรปิฎก ย่อมสามารถอ่านพระไตรปิฎกปาฬิ และสามารถศึกษาคำแปลในภาษาต่างๆ ได้

    สำหรับผู้สนใจ สมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ติดต่อสอบถามได้ที่ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯเพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตึกมหิดล ถนนราชวิธี เขตราชเทวี กทม.๑๐๔๐๐ โทร.๐๘-๙๑๘๕-๐๖๓๓, ๐๘-๑๙๒๙-๔๕๗๘ หรือที่ www.worldtipitaka.org

    พระไตรปิฎกคืออะไร ?

    พระไตรปิฎก คือคัมภีร์ที่ประมวลเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาจารึกไว้ พระไตรปิฎกจึงเป็นที่รวบรวม บรรจุไว้ หรือจารึกไว้ซึ่งพระพุทธศาสนานั่นเอง

    ในเมื่อพระพุทธศาสนา แปลว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระไตรปิฎกเป็นที่ประมวลไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการรักษาพระไตรปิฎกจึงเป็นการรักษาพระพุทธศาสนา

    ถ้าตอบอย่างสั้นที่สุด ก็พูดได้ว่า พระไตรปิฎกกับการธำรงพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องเดียวกัน การธำรงพระไตรปิฎก ก็คือ การธำรงพระพุทธศาสนานี้เป็นความหมายอย่างง่ายที่สุด

    รักษาพระไตรปิฎก เท่ากับรักษาพระพุทธเจ้า

    ถ้าพูดให้ลึกลงและให้กว้างออกไป พระไตรปิฎกมีความสำคัญต่อการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาอีกหลายอย่าง นอกจากมองพระพุทธศาสนาในความหมายที่เป็นคำสั่งสอนแล้ว พระพุทธศาสนายังหมายถึงการเล่าเรียน การศึกษา การปฏิบัติ และการจัดการต่างๆ ให้มีการเล่าเรียนศึกษา และเป็นพระพุทธศาสนาที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจ ในความหมายนี้ พระไตรปิฎกก็มีความสำคัญต่อการธำรงพระพุทธศาสนา ดูง่ายๆ ดังต่อไปนี้

    พระพุทธเจ้า ตรัสไว้เองก่อนปรินิพพาน ซึ่งเราจำกันแม่นทีเดียวว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงไป ไม่ได้ทรงตั้งพระภิกษุองค์ใดเป็นศาสดาแทนพระองค์ ชาวพุทธได้รู้กันว่า พระธรรมวินัย นั้นแหละเป็น พระศาสดาแทนพระองค์

    พระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยนี้ก็คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นั่นเอง พระธรรมวินัยจึงเท่ากับเป็นองค์พระศาสดา และเป็นตัวพระพุทธศาสนา

    พระธรรมวินัย นี้ประมวลอยู่ใน พระไตรปิฎก พระไตรปิฎกจึงเป็นที่สถิตของพระธรรมวินัย พระไตรปิฎกจึงเป็นที่สถิตของพระบรมศาสดาของชาวพุทธ เมื่อรักษาพระไตรปิฎกไว้ จึงเท่ากับดำรงรักษาพระพุทธเจ้าไว้ และรักษาพระพุทธศาสนาด้วยนั่นเอง

    เพราะฉะนั้น ในความหมายนี้ พระไตรปิฎกก็มีความสำคัญต่อการรักษาพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่

    (จากหนังสือ "รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้" พระพรหมคุณาภรณ์ : ป.อ. ปยุตโต)

    ที่มา คมชัดลึก
     
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ขอนอบน้อมกราบขมาพระรัตนตรัย
    ขอนอบน้อมสาธุการ ประวัติศาสตร์การพระบวรพุทธศาสนา ค่ะ
     
  3. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,329
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,265
    อนุโมทนากับทุกท่านที่ได้ร่วมสร้างพระไตรปิฎกด้วยครับ สาธุ
     
  4. chanoknon

    chanoknon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +776
    อนุโมทนากับทุกท่านที่ได้ร่วมสร้างพระไตรปิฎกด้วยครับ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...