ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG]เมื่อนักปริยัติและนักปฏิบัติมาพบกัน

    หลวงพ่อไปเทศน์สนามหลวงครั้งแรกเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในขณะที่จิตอยู่ในสมถกรรมฐาน

    สมถกรรมฐานนี่มันมีลักษณะอย่างไร มีลักษณะที่จิตสงบถึงขั้นละเอียด ร่างกายตัวตนหาย ยังเหลือแต่จิตดวงเดียว
    นิ่ง สว่างไสว รู้ ตื่น เบิกบาน อยู่เท่านั้น ในช่วงนั้นแหละ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นโลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก พอเทศน์จบแล้ว มานั่ง
    ท่านเจ้าคุณ... กับเจ้าคุณอะไรที่ไปอยู่อินเดีย เข้ามาคุยด้วย ท่านบอกว่า ความเข้าใจเรื่องธรรมะของนักปริยัติกับนักปฏิบัติไม่เหมือนกันเนาะ
    ท่านว่า หลวงพ่อก็บอกว่า ตามหลักวิชาการมันก็อย่างเดียวกันนั่นแหละ แต่ที่เราเข้าใจแตกต่างกันก็เพราะว่า
    คนหนึ่งรู้ขาด คนหนึ่งรู้เกิน ความรู้พอดีมันไม่มี มันจึงแตกต่างกัน ทั้ง ๒ ท่านก็เงียบกริ๊บเลย ไม่พูดอะไรต่อไปอีก

    ท่านเปรียบเทียบเอาไว้ ผู้รู้ปริยัติ แต่ไม่รู้ปฏิบัติ ก็เหมือนกับคนเลี้ยงโค คนเป็นลูกจ้างเลี้ยงโคเขา ตอนเช้าก็รับเอาโคไปเที่ยวหากินหญ้า
    ตอนเย็นก็ต้อนเข้าคอกให้เขา ก็รับได้แต่ค่าจ้าง แต่หาได้มีโอกาสดื่มรสของนมโคที่เอร็ดอร่อยไม่
    ทีนี้ผู้ปฏิบัติธรรม รู้ธรรม เห็นธรรม จิตได้บรรลุธรรม ก็เหมือนๆ กับเจ้าของโค ซึ่งเขามีสิทธิที่จะรีดนมโคกินเป็นอาหารทุกวัน


     
  2. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    ภาพถ่ายติดพลังจิต..!!!!

    "จะๆ"ชนิดที่ไม่ต้องใช้"สลิง"หรือ"สตันท์"(ผีสาง/เทวดา)ใดๆมาแสดงแทนเลยนั่นเทียว..!!!!!! <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เหตุเกิดในสมัยแรกๆที่ได้ไปกราบนมัสการ ครูบาเผือก ฐิตเมโธ วัดไชยสถาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (ขวา) ซึ่งท่านก็ได้เมตตาปลุกเสกของขลังให้เป็นที่ระลึก "พุทธวงศ์"ก็ถือโอกาสถ่ายภาพเก็บไว้ในทุกช็อต เพื่อเป็นอนุสรณ์และหลักฐานสืบไปในวันหน้าเหมือนเคย อันเป็นเหตุให้ได้มี"ภาพเด็ดๆ" ที่น่าอัศจรรย์และน่าตื่นตาตื่นใจมาโพสต์มาเสนอในเวปไซต์ให้แพร่หลายไปทั่วโลกในกาลต่อมา อย่างนับแทบไม่ถ้วน ราวกับได้ตกแต่งภาพขึ้นมาเองหรือโฟนอินให้พระให้เทวดาทำให้ดูได้ก็ไม่ปาน (แต่โดยความจริงแล้ว เป็นเรื่องจริงของจริงที่"เกิดขึ้นเอง"ตามวาสนาล้วนๆทั้งสิ้น ซึ่งท่านที่สนใจสงสัย อาจสามารถมาพิสูจน์ความจริงแท้ของภาพต่างๆได้ทุกเมื่อ) โดยที่ในชั้นแรกก็มิได้คิดอะไรมาก แต่พอล้างฟิล์มออกมาเจอภาพนี้เข้า ก็แทบจะถึงแก่การ"ช็อค"ไปด้วยความตื่นตะลึงเลยนั่นเทียว.... <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ครั้นเมื่อมีโอกาสได้ไปกราบนมัสการครูบาเผือกในเวลาต่อมาอีกครั้ง จึงได้นำเอาภาพนี้ไปกราบเรียนถามว่า ตอนนั้น ครูบาเสกอะไร ภาพจึงได้ปรากฏ"ดาวหางรูปหัวใจ"แบบจะๆ น่าอัศจรรย์ที่สุดเห็นปานนี้ได้..??
    คำตอบที่ได้รับ ก็ทำให้ละลานใจซ้ำซ้อนยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ
    "ตอนนั้น ครูบาเสก"ตะกรุดมัดใจ"น๊ะ..!!!???"

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ภาพ"ครูบาเผือกเสกตะกรุด"มัดใจภาพนี้ จึงนับเป็นหนึ่งในสุดยอด"ภาพถ่ายติดวิญญาณ"(เทวดา,พลังจิต) ที่ "สุดยอดที่สุด"ภาพหนึ่ง


    ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
    http://www.phuttawong.net
     
  3. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    ร่วมบุญเพิ่มเติม ประจำเดือนธันวาคม ครับ

    ฝากที่เคาเตอร์ สาขาเอสพานาด เข้าบัญชี 348-123-245-9

    วันที่ 2/12/2551 เวลา 18:08 น. จำนวน 300 บาท ครับ

    โมทนาบุญกับทุกท่าน ครับ
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]


    เมตตาธรรม ฉบับที่ ๑๐ <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ <O:p></O:p>
    โลกนี้มีแต่เรื่องทุกข์ ความสบายในโลกนี้ไม่มี จงพากันตั้งจิตให้มั่นอย่าหวั่นไห ก็จะเห็นแจ้งว่า โลกนี้เป็นทุกข์จริง โดยเฉพาะโลกในกาย กับจิตของเรานั้นเอง มันทุกข์จริง กายมันทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบายต่าง ๆ นานา ทั้งที่ล่วงมาแล้วก็นับครั้งไม่ถ้วน ทั้งที่เป็นอยู่ในเวลาเดี๋ยวนี้ มันทุกข์ในการบริโภคอาหาร ทุกข์ในการแสวงหาอาหาร ทุกข์ในการแสวงหาที่อยู่อาศัย ทุกข์กับเครื่องนุ่งเครื่องห่ม ทุกข์ในการแสวงหายาแก้โรค รูปร่างกายนี้เป็นสิ่งลำบากเต็มทน ผู้ใดทนได้ก็ทนอยู่ไป ผู้ทนไม่ได้ก็ตายไป นี้แหละทุกข์กาย ทุกข์จริงทางใจไม่มีเวลาว่าง ทุกข์เพราะตัณหา ความอยากได้ไม่มีเพียงพอที่พอในจิตนี้ไม่มีเสียแล้ว ถ้าใครปล่อยจิตให้ไปตามตัณหา ไม่ภาวนายิ่งอยู่ยิ่งทุกข์ ถ้าหากผู้ใดมารู้ว่า จะละตัณหาได้ด้วยการภาวนา ก็ให้รีบตั้งใจแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ไม่ประมาทในการรักษาจิต เพ่งพินิจอยู่แต่ในกายกับจิตเท่านี้ จนกระทั่งจิตรู้แจ้งเห็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ทุก ๆ คนแล<O:p></O:p>

    ด้วยความหวังดีแด่ทุก ๆ คน <O:p></O:p>


    พระครูสันติวรญาณ


    เมตตาธรรม ฉบับที่ ๑๑<O:p></O:p>
    วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ <O:p></O:p>
    พระธรรมวินัยเป็นครูเป็นอาจารย์ให้แก่ทุกคน แต่คนทุกคนต้องทำตามพระธรรมวินัย อย่าล่วงเกิด อย่าประมาทพลาดพลั้ง ให้มีสติทุกขณะ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกตมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องโผฏฐัพพะ ทุกขณะใจคิด ธรรมารมณ์ อย่างหลงใหลไปในข้างที่ดีจนดีแตก อย่าให้จิตหลงไปในทางชั่วจนถอนตัวไม่ขึ้น จงระลึกอยู่เสมอว่าพระธรรมท่านพร่ำสอนเราอยู่ทุกลมหายใจ ว่าให้ทำดีทางกาย ให้พูดดีทางวาจา ให้คิดดีทางใจ พระวินัยนั้นสอนให้ละออกไป สิ่งใดไม่ดี ผิดศีลอย่าทำ อย่าพูด ไม่ให้พากันพาตัวทำชั่ว ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ไม่ให้ความโลภอยากได้มานอนอยู่ในดวงใจ จนประพฤติผิพระวินัยไม่รู้สึกตัว ถ้าคนทุกคนทำตามครู คือพระวินัยดังกล่าวมา ก็จะได้รับแต่ความสุขความเจริญอย่างเดียว ดังนี้แล <O:p></O:p>
    ฉบับนี้ของวัดสันติธรรมขาดหายไป ได้คัดลอกจากหนังสือละอองธรรมของสำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง พิมพ์ครั้งแรกเมื่อสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ (ท่านพระอาจารย์<?:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:pERSoNNAME w:st="on" ProductID="บุญกู้ อนุวฑฺฒโน">บุญกู้ อนุวฑฺฒโน</ST1:pERSoNNAME> วัดอโศการาม ได้เก็บไว้)

    ธรรมเมตตา ฉบับที่ ๑๒<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ <O:p></O:p>
    การฝึกหัดทำจิตในสมาธิภายใน ให้ทำอยู่เสมอไม่ว่าเวลาใดจิตให้มีความระลึกอยู่ในดวงจิต ดวงที่รู้ภายใน คอยระวังจิตดวงในไม่ให้หลงใหลไปตามสังขารจิต จิตที่ไปไม่เอา ให้เอาดวงจิตที่รู้อยู่ดวงจิตที่รู้อยู่นี้ไม่ได้ไปที่ไหน ตั้งแต่เกิดมาก็อยู่ภายในนี่เอง ขณะใดที่จิตสังขารมันไป ก็ยังรู้อยู่ว่าจิตเราไป ขณะที่จิตสังขารมันกลับมา ให้ทุกคนกำหนดให้ได้ ว่าจิตดวงในนี้อยู่ภายในนี้ก่อนแล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น จงรู้เฉพาะหน้าเฉพาะใจอยู่เสมอ ๆ รู้ให้ได้ทุกอริยาบท ทั้งนั่งทั้งนอน ตั้งมั่นอยู่ในจิตดวงที่รู้อยู่นี้ นอกจากจิตดวงที่รู้อยู่นี้ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน นอกจากจิตนี้เป็นทุกข์ทั้งโลก นอกจากจิตที่รู้อยู่นี้เป็นของที่ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ควรลุ่มหลงไปกับสิ่งใด ๆ ทั้งหมด ควรรู้อยู่เห็นอยู่ในเวลาปัจจุบันนี้อย่างเดียว ถ้าผู้ปฏิบัติมาทำความเพียรเพื่อละกิเลส รวมกำลังจิตลงไปสู่ดวงจิตที่รู้อยู่นี้ ให้เต็มที่แล้ว ก็จะเกิดความรู้แจ้งแสงสว่างในธรรมะปฏิบัติทุก ๆ คนไป <O:p></O:p>

    โดยความเมตตาถึงทุกคนอยู่เสมอ <O:p></O:p>



    พระครูสันติวรญาณ


    ธรรมเมตตา ฉบับที่ ๑๓<O:p></O:p>
    วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ <O:p></O:p>
    วันนี้เรานั่งสมาธิแล้วหรือยัง เวลานี้จิตเราตั้งมั่นในสมาธิเป็นปรกติดีหรือยัง ผู้ใดปล่อยจิตไปตามกามารมณ์ ผู้นั้นจะต้องเดือดร้อนในภายหลัง เพราะกามทั้งมวลล้วนแต่นำทุกข์มาให้ ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน และติดตามไปในอนาคต นักปฏิบัติทางจิตทั้งหลาย ควรละทิ้งเสียให้ได้ในเวลานี้ เป็นการดีมาก เพราะท่านผู้ใดละกามตัวนี้ได้ย่อมอยู่เป็นสุขทุกลมหายใจ สิ่งเดือดร้อนทั้งหลายในโลกนี้ ทั้งมวลนี้ล้วนแล้วแต่กามเป็นเหตุ เหตุใหญ่อยู่ที่ใจหลงใหลในกามารมณ์ เหตุนี้ท่านผู้ยังละกามทางกายไม่ได้ ก็ให้พยายามละ ผู้ยังละกามทางวาจายังไม่ได้ ก็ให้พยายามละ ผู้ละกามทางจิตยังไม่หมด ก็ละให้หมดในเลานี้ ท่านผู้นั้นจึงชื่อว่า อยู่ในพุทธศาสนาแล. <O:p></O:p>

    โดยความหวังดีให้แก่ทุก ๆ คน <O:p></O:p>



    พระครูสันติวรญาณ


    ธรรมเมตตา ฉบับที่ ๑๔<O:p></O:p>
    วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ <O:p></O:p>
    คุณความดีทั้งหลายนั้น อยู่ที่ตัวบุคคลประพฤติดี มีการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ดี ความดีทั้งหลายรวมอยู่ที่จิตเจตนาดี มุ่งอยู่ในทางดีเสมอ ไม่ว่าความดีนั้น ๆ จะเป็นเรื่องดีภายนอกก็ตาม ดีภายในก็ตามสำเร็จขึ้นมาจากดวงใจที่มีความมุ่งหวังดีอยู่เสมอทั้งนั้น ถ้าจิตเจตนาอันนี้ไม่ดีมาแต่อดีต ก็ให้ตั้งจิตเจตนาเสียใหม่ให้เจตนานี้ดีตลอดไปและให้คอยระวังอยู่เสมอ เวลาตั้งจิตเจตนาดีอยู่นั้นเอง มักจะมีอุปสรรคมาคอยขัดขวาง อยู่เป็นระยะ ๆ ผู้สร้างความดีทั้งหลาย ให้มีสัจจะอธิษฐานตั้งใจให้เต็มบริบูรณ์อยู่ทุกเมื่อ ไม่ให้หลงลืม ถ้าหากมีอุปสรรคใด ๆ มาขัดข้อง ก็ให้เตือนจิตที่มุ่งทำดีนั้น เราจะเอาชีวิตนี้แหละบูชาความดี เราจะประพฤติดีต่อไปจนถึงวันตายเป็นที่สุด <O:p></O:p>

    โดยความเมตตาถึงทุก ๆ คน <O:p></O:p>



    พระครูสันติวรญาณ



    ขอขอบคุณ
    [URL="http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=4378"]http://www.watkoh.com[/URL]




     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    ไม่มีตัวตน ก็มีร่างกายและจิตได้

    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

    วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม)

    อ.ไชยาจ.สุราษฎร์ธานี<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    ทีนี้ ข้อถัดไปอีกก็ว่า เรามีร่างกายและจิตใจได้โดยที่ไม่ต้องมีตัวตน. นี้คงจะแปลกมาก สำหรับบางคน ที่มีความรู้สึกว่ามีตัวตน มีตัวกู เสียเป็นประจำ. ร่างกายของเรานี้มีได้ตามหน้าที่ระบบของร่างกาย, ตา หู จมูก ลิ้น กายมันก็รวมกันอยู่ที่ร่างกาย, มีระบบประสาท มีระบบอะไรต่างๆ ที่เป็นส่วนร่างกายทำหน้าที่ได้ดีที่สุดในส่วนร่างกาย, แล้วก็มีจิตใจ ที่รู้สึกสิ่งต่างๆได้โดยผ่านทางร่างกาย, เรามี สองอย่างนี้พอแล้ว, สองอย่างเท่านี้พอแล้ว เรียกว่านามรูป ก็ได้, เรียกว่า กายใจก็ได้ ในบาลี เรียกว่า นามรูป, นามรูป รวมกันแฝดติดกันอยู่, นามรูปไม่แยกเป็นสองสิ่ง, เรามีนามรูป คือ กายกับใจ หรือใจกับกายนี้พอแล้ว , ไม่ต้องมีอันที่สาม ที่เรียกว่า อัตตา หรือตัวตนนั้นไม่ต้องมีดอก ถ้าเรารู้สึกว่ามี เรามันโง่ไปเอง; รู้สึกว่า มีตัวตนอะไรอีกอันหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของ กายและใจ ที่เป็นเจ้าของใจบังคับกายบังคับใจ อีกทีหนึ่ง เรียกว่า ตัวตน.<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องนี้แปลกจากที่เขาสอนกันอยู่ก่อนก็ตรงที่มาสอนว่ามันไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตน, มันมีสิ่งทีเรียกว่ากายกับใจนามกับรูป ก็พอแล้ว. ถ้ามันเกิด ความคิดว่า ตัวตนขึ้นมา มันก็เป็นความเข้าใจผิด คิดผิด ของสิ่งที่เรียกว่า ใจ, มันคิดผิด ก็โดยที่การสัมผัสทางกาย ทางภายนอกมันผิด, แล้วก็ให้ เกิดความสำคัญผิด ในภายใน คือ ใจ, ใจก็สำคัญผิดว่า มีตัวตน. เรื่องมันเลยยุ่งกันใหญ่ จนตายก็ ไม่สามารถจะดับทุกข์ได้, หรือ แก้ไขอะไร ให้มันดีขึ้นมาได้.<O:p></O:p>
    ท่านทั้งหลาย ถือหลักข้อนี้ไว้ก่อนเถิดว่าเรามี กายกับใจโดยไม่ต้องมีตัวตนก็ได้,มีเพียงสองส่วนนี้รวมกันเข้าเป็นอันหนึ่ง เรียกว่า คนๆหนึ่ง ก็แล้วกัน. สมมติเรียกว่า คนๆหนึ่ง แต่ที่แท้ มันก็มิใช่คนๆ หนึ่ง, มันเป็นเพียง ร่างกายกับจิตใจ รวมกำลังกันทำหน้าที่ การงานอะไรของมันอยู่ตามธรรมชาติ. กายเป็นส่วนที่เป็นโครง, เป็นโครงสร้างเป็นเปลือกเป็นสิ่งรับใช้. ใจเป็นสิ่งที่รู้สึก ทำหน้าที่เหมือนนาย บังคับร่างกายไป, ต้องอาศัยกันจึงจะอยู่ได้; ถ้าเกิดไม่อาศัยกันเมื่อใด ก็ตายหมดทั้งสองอย่าง.กายอยู่ได้ก็เพราะมีใจ, ใจมีอยู่ได้ ก็เพราะมีกาย, ทำหน้าที่ต่างกันอาศัยกันจึงอยู่ได้; ฉะนั้น จึงคลอดออกมาจากท้องแม่พร้อมกันทั้งกายและใจ. <O:p></O:p>
    แต่ทุกสิ่งเป็นการปรุงแต่งของธรรมชาติ: ปรุงแต่งอย่างหนึ่งเป็นเรื่องกาย, ปรุงแต่งอย่างหนึ่งเป็นเรื่องจิต, ไม่ใช่ของจริงแท้ถาวรอะไร, แต่มันก็ทำอะไรของมันได้ตามที่มันเป็นอย่างนั้น.มันทำหน้าที่อะไรของมันได้ตามที่มันทำได้อย่างนั้น, ทั้งที่มันไม่ต้องเป็นของจริงแท้แน่นอนตายตัว, มันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ตามปัจจัยเรื่อย, แล้วมันก็ทำอะไรได้ แปลกๆ
    ก็คิดดูสิ กายใจนี้ มันรู้สึกอะไรแปลกๆ แปลกๆหลายหมื่นหลายแสนปีเข้า เดี๋ยวนี้ มนุษย์ ทำอะไรได้บ้าง. ดูเถอะเขาไปนอกโลก หรือ เขาทำอะไรกัน ได้อย่างประหลาด น่ามหัศจรรย์ ซึ่งคนป่าสมัยโน้น ทำไม่ได้; เช่น เรื่องวิทยุเรื่องอิเลคโทรนิค คอมพิวเตอร์ อะไรต่างๆมันทำไม่ได้ดอก.แต่ที่มนุษย์สมัยนี้ทำได้ ใครมันสอนเล่า? มันก็ ตา หู จมูกลิ้นกาย ใจ ที่มันมองเห็นมากเข้า ลึกเข้า กว้างออกไป กว้างออกไปมันก็มารวมเป็นความรู้, พบอะไรแปลกขึ้นมา แปลกขึ้นมาแปลกขึ้นมา, แล้วหลายๆอย่างมารวมกันเข้า ก็แปลกออกไปอีก แปลกออกไปอีก, จึงมีเรื่องเหมือนกับว่าเป็นของทิพย์เป็นของปาฏิหาริย์ เหาะเหินเดิน อากาศอะไรก็ได้.<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:
    นี่ไม่ต้องมีตัวตนนะ มีแต่กายกับใจ ตามธรรมชาติ, ผสมปรุงแต่งกันไปตามธรรมชาติ มีความก้าวหน้า มีความเจริญพัฒนาออกไปๆ, ไม่ต้องไปหลงยึดถือให้วิเศษประเสริฐไปกว่า ว่ามันเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง.เราไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด เพราะมันเป็นธรรมดาเช่นนั้นเอง.<O:p></O:p>
    แต่จิตใจตามปกติ มันไม่เป็นอย่างนั้น มันไปหลงรักหลงยึดถือ หลงความรู้ ยึดถือความรู้ หลงการงาน ก็ยึดถือการงานหลงทรัพย์สมบัติ เกียรติยศชื่อเสียง ความสุข สนุกสนานเอร็ดอร่อย, ก็หลงไปจนสุดเหวี่ยง ก็ไม่ต้องมองหน้าใครเพราะเราหลงของเรา จนสุดเหวี่ยง.ฉะนั้นการกระทำของเรา จึงทำให้ผู้อื่น พลอยเดือดร้อน ซึ่งเป็นปัญหาคาโลกอยู่ในปัจจุบันนี้; พวกหนึ่งเขาเห็นแก่ประโยชน์ของเขา เพราะเขามีอำนาจจนทำให้ อีกพวกหนึ่งเดือดร้อน, โลกนี้มันจึงแบ่งเป็นซ้าย เป็นขวาแล้วก็ต่อสู้กันมา ไม่มีที่สิ้นสุด, ยังจะต่อสู้กันไปอีกนานระหว่างคนที่มีอำนาจกับคนที่ไม่มีอำนาจในการที่ยึดครอง เหยื่อต่างๆ ในโลกนี้.<O:p></O:p>
    มีกาย กับใจ โดยไม่ต้องมีอัตตา โดยไม่ต้องมีตัวตนนี้ก็ข้อหนึ่งนี่รู้ไว้เป็นหลักเถอะว่า มันมีนามรูป กายกับใจเท่านั้นพอแล้ว, ไม่ต้องมีอัตตา เรื่องต่างๆ ก็เป็นมาได้หรือจะเป็นต่อไปได้, หรือว่า เราจะดับทุกข์ ไปนิพพานกันได้ก็ไม่ต้องมีอัตตา มีแต่กายกับใจ ที่มันอบรม ดีขึ้นๆ เพราะ การถูกเข้ากับอารมณ์ในโลก มันทำให้เกิด ความเฉลียวฉลาดเปลี่ยนแปลง, นี่เรียกว่ามันพัฒนาตัวเองดีขึ้นๆ.<O:p></O:p>
    คนทีแรก ก็ไม่มีความรู้เรื่องนิพพานแต่พอเขาเป็นทุกข์มากเข้าๆ เขาค้นหา เรื่องเกี่ยวกับนิพพาน. เขาก็พบๆพบๆจนพบถึงที่สุดว่า อ้าว! จิตใจ มันดำรงไว้ผิด จิตใจมันตั้งไว้ผิดมันก็มีความทุกข์, ไม่ต้องมีตัวตน ไม่ต้องมีพระเป็นเจ้า, ไม่ต้องมี อะไรที่ไหนมาเข้าเกี่ยวข้อง, มันทำผิดทำถูก ได้ในตัวมันเอง ของกายและของใจ, นี่เรียกว่า ไม่มีตัวตน.<O:p></O:p>
    แล้วใน กายและใจนี้ มันมีส่วนที่เป็นใจ นั่นแหละสำคัญที่สุดเป็นเหมือนกับว่าหัวใจ. ร่างกายนี้เหมือนกับ เนื้อหนัง หรือเปลือกนอก, ใจสำคัญที่สุด.เพราะฉะนั้น เรื่องที่จะต้องรู้จักกันจริงๆ ก็คือ เรื่องใจ มากกว่า เรื่องกาย, ที่เราจะศึกษากันจริงๆนั้น เป็นเรื่องใจมากกว่าเรื่องกายเพราะอะไรมันก็รู้สึกที่ใจ, ผลเสียผลได้ ผลอะไรต่างๆ มันก็อยู่ที่ใจ, เรื่องของกายมันเป็นเพียงเปลือก หรือ เครื่องใส่ เครื่องรับรอง; ฉะนั้นจะต้องศึกษา เรื่องจิต เป็นพิเศษ; ถ้าเราเรียนเรื่องกาย เท่าไร, เราต้องเรียน เรื่องจิต ให้ดีกว่านั้น ให้มากกว่านั้นหลายเท่าทีเดียว<O:p></O:p>

    ธ-น้อย๔๐/๑๖-๑๙<O:p></O:p>​


    คัดจากหนังสือ ธรรมานุกรมธรรมโฆษณ์ ฉบับประมวลธรรม เล่ม ๒เรียบเรียงโดย

    นาย พินิจ รักทองหล่อ พิมพ์ ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยธรรมทานมูลนิธิ




    <TABLE class=tableBorder style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=1 cellPadding=3 align=center><TBODY><TR><TD class=msgOddTableRow vAlign=top></TD></TR><TR class=msgOddTableRow><TD class=msgLineDevider vAlign=top height=150><!-- Start Member Post --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ลักษณะของจิตรวม

    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พระธรรมเทศนาของหลวงปู่คำดี ปภาโส
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]วัดผาปู่ อ.เมือง จ.เลย[/FONT][/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๕[/FONT]​
    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]​
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]โพสท์ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ 007982 -
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]โดยคุณ : แสวงธรรม [ 12 ก.พ. 2546 ][/FONT]
    [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] เมื่อจิตรวมจะเกิดอาการต่างๆ เช่นมีความรู้สึกว่าเบามือทั้งสองข้าง ซาบซ่านตามร่างกาย ขนลุกขนพองคล้ายกับไปพบกับสิ่งที่น่ากลัว มีอาการตัวเบาหวิว บางคนเมื่อรู้ว่าจิตเริ่มจะรวม จึงคอยดูว่า จิตจะรวมอย่างไร จิตก็รวมไม่ได้ สมาธิก็ไม่เกิด อันนี้เป็นการกระทำที่ผิด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เมื่อเรารู้ว่าจิตของเรากำลังจะรวม ให้เรา กำหนดดูผู้รู้นิ่งอยู่ สติกับใจอย่าให้เคลื่อนจากกัน อย่าให้สติเคลื่อนไหวไปตามอาการใดๆ เมื่อสติไม่เคลื่อนไปตามอาการใดๆแล้ว จิตก็รวมเอง บางครั้งก็รวมสนิทเลย เปรียบเหมือนเอาไม้ปักลงในน้ำที่ไหลเชี่ยว ปักให้นิ่งไว้อย่าให้เคลื่อนไปตามน้ำ อย่าให้จิตเคลื่อนจากผู้รู้[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ผู้ที่สามารถทำจิตรวมได้แล้ว ก็ให้กำหนดจิตตามเดิม กำหนดอย่างใดที่ทำให้จิตรวมได้ก็ให้กำหนดอย่างนั้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ถ้าจิตรวมสนิทก็อย่าเพิ่งออกจากสมาธิเสียทีเดียว ก่อนออกจากสมาธิให้พิจารณาเสียก่อน เราจะได้ทราบว่าเราบริกรรมอย่างใด ตั้งสติอย่างใด ละวางอารมณ์สัญญาอย่างใด จิตของเราจึงรวมได้เช่นนี้ ถ้าเราสามารถพิจารณาถึงกรรมวิธีต่างๆได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติครั้งต่อไป[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ขอย้ำอีกครั้งกำหนดให้แน่วแน่ นิ่งอยู่กับผู้รู้ สติกับผู้รู้อย่าให้เคลื่อน ไปตามกิริยาอาการใดๆ จิตก็จะรวมลงได้ก็เพราะสติ อย่างเดียวเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พูดตามปริยัติ สติ แปลว่า ความระลึกได้ในกิจที่ได้กระทำแม้คำพูด ทั้งในอดีตและปัจจุบัน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ในทางปฏิบัติ สติ แปลว่า ระลึกอยู่ที่ใจ ไม่ให้รู้ไปตามสิ่งอื่น ถึงจะมีสัญญาอะไรก็ไม่ให้เคลื่อนไหวไปตามอาการนั้น กำหนดรู้นิ่งไว้อย่างนั้น ระลึกอยู่ที่ใจ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ใจ ก็หมายถึงผู้รู้ เมื่อสติกับใจบังคับกันแนบนิ่งดีแล้ว จิตก็จะรวมสนิท[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เมื่อเรานั่งกำหนดแล้ว ขณะที่เรารู้สึกเบาเนื้อเบากาย ก็ให้เรานิ่งไว้อยู่กับ ผู้ รู้ คำบริกรรมต่างๆ ก็ให้เลิกบริกรรม ให้เอาแต่สตินิ่งไว้ ให้ระลึกแต่ผู้รู้เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ตามธรรมดาสติมักจะส่งไปนอก ชอบเล่นอารมณ์ สังขารที่ปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นคิดดี คิดร้าย ไม่ร้าย เราจะต้องพยายามฝึกหัดละวาง อารมณ์ เหล่านี้ อย่าให้จิตส่งออกไปภายนอก ให้สติอยู่ที่ผู้รู้เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เมื่อเรานั่งสมาธิภาวนา เรากำหนดคำบริกรรมใดๆ ก็ตาม ถ้าเราเผลอจากคำบริกรรมนั้น เมื่อเรารู้สึกว่าเราเผลอไปรับรู้อารมณ์ภายนอก ก็ให้เรารีบกลับมาบริกรรมอย่างเดิมตามที่เราเคยปฏิบัติมาได้[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]จิตจะรวมได้หรือสมาธิจะเกิดนั้นจะต้องปราบนิวรณธรรมทั้ง ๕ เสียก่อน คือ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]๑. กามฉันท์ ความยินดีพอใจในความสุข[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]๒. พยาบาท ความอาฆาต ความโกรธ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]๔. อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญ ความสงสัย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในเรื่องบาปเรื่องบุญ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ดังได้แสดงมาก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา เอวัง[/FONT]

    ขอขอบคุณ
    http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=198

    [/FONT]
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    ข้อคิด คำคม พระพรหมคุณาภรณ์

    เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของวัดญาณเวศกวัน ที่ต้องให้ธรรมทานแก่ญาติโยมในโอกาสต่างๆ พระนวกะเพิ่งบวชใหม่ เมื่อได้เล่าเรียนธรรมะ และอยู่ในขั้นฝึกฝนตนเอง ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน ในที่นี่จะยกมากล่าวถึงใน ๒ สถานการณ์ <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    ๑. การให้ธรรมะในรูปของพุทธศาสนสุภาษิตสั้นๆ หลังรับอาหารบิณฑบาตในตอนเช้า ซึ่งพระนวกะสามารถทำได้ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่บวช หลังรับอาหารบิณฑบาตแล้วก็ให้พรด้วยพุทธศาสนสุภาษิตสั้นๆ ดังตัวอย่าง ...เชิญรับฟังพุทธศาสนสุภาษิต...จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ ...ขออนุโมทนา เจริญพร.
    (พุทธศาสนสุภาษิตที่ให้ครั้งแรกตอนบิณฑบาต) แล้วก็ออกเดินต่อ สำหรับการให้พุทธศาสนสุภาษิตเป็นธรรมทานนั้น ในแต่ละวันก็จะสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในสายที่ออกบิณฑบาต ทั้งตัวผู้กล่าว และพุทธศาสนสุภาษิต (สายออกรับบิณฑบาตทั้งหมด ๓ สาย ก็สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทุกวันอาทิตย์)

    ๒. การให้ธรรมะหลังฉันภัตตาหาร ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาและความพร้อม ในช่วงที่ยังไม่สามารถให้ธรรมะด้วยการพูด เพราะยังมีความรอบรู้ไม่พอ พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระอุปัชฌาย์สอนตั้งแต่วันบวชว่า ถ้าให้ธรรมะด้วยวาจาไม่ได้ ก็ให้โดยไม่ต้องพูด ประพฤติตนให้ดีงาม ให้ความรู้สึกไม่มีภัย ให้ผู้พบเห็นเกิดความร่มเย็นผ่องใสของจิต (ปสาทะ) ตามพุทธพจน์ที่ว่า

    ...ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ วณฺณคนฺธํ อเหฐยํ
    ปเลติ รสมาทาย เอวํ คาเม มุนี จเร.
    ภิกษุพึงเที่ยวไปในหมู่ชาวบ้านเหมือนกับแมลงผึ้ง
    ที่นำเอาแต่น้ำหวานและเกสรบินไป
    ไม่ทำดอกไม้แม้แต่กลีบและสีให้ชอกช้ำ...

    ท่านพร่ำสอนว่าถ้าตั้งใจแบบนี้ เราเองก็จะได้ธรรมะด้วย จิตใจก็จะมีเมตตา และตัวเราจะประพฤติดีสำรวมกิริยามารยาทไปเอง คงไม่ผิดถ้าจะพูดว่า วัดญาณเวศกวันก็สร้างขึ้นด้วยแนวความคิดนี้ จากประสบการณ์ส่วนตัวก่อนบวชประมาณปีกว่าๆ ทุกครั้งที่มาวัดจึงรู้สึกและสัมผัสได้ถึงบรรยากาศความสงบ ร่มรื่น ร่มเย็น ความมีระเบียบ มีแหล่งความรู้ให้ค้นหา ทั้งพระสงฆ์ที่สอน หนังสือ และซีดีธรรมะ หรือแม้แต่คนงานในวัดก็ประกาศธรรมะแก่คนที่พบเห็น เพราะด้านหลังเสื้อที่คนงานวัดสวมมีพุทธศาสนสุภาษิตเขียนไว้ว่า
    ...อตฺตานํ ทมยฺนติ ปณฺฑิตา บัณฑิตย่อมฝึกตน...

    เวลาหนึ่งเดือนผ่านไป ตารางแสดงธรรมกถาหลังภัตตาหารออก ถึงวาระที่ต้องให้ธรรมทานตอบแทนผู้ที่ถวายอามิสทาน บำรุงเลี้ยงดูให้มีกำลังในการศึกษา ซึ่งก็เอื้อประโยชน์และส่งเสริมสติปัญญาทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งผู้ให้และผู้รับ ด้วยเหตุผลคือ <O:p></O:p>
    ๑. พระเองมีโอกาสได้นำเรื่องที่เรียนมา สร้างเสริมศรัทธาปสาทะแก่พุทธบริษัท
    ๒. เป็นการฝึกฝนตนเองของพระใหม่ในการแสดงธรรม เปิดโอกาสให้นำธรรมะที่ได้ศึกษามาตอบแทนญาติโยม ที่ให้ความอุปถัมภ์บำรุงปัจจัยสี่ แต่เมื่อปัญญายังไม่แก่กล้าพอก็ต้องอาศัยที่พึ่ง เป็นธรรมดาที่เมื่อลูกมีปัญหา ก็นึกถึงพ่อแม่ ลูกศิษย์เกิดความไม่มั่นใจ ก็ย่อมนึกถึงครูอาจารย์ เพื่อให้ท่านช่วยเหลือ หรือให้มีพลังใจในการพัฒนาตนเอง ผู้เขียนเองนึกถึงบารมีของพระเดชพระคุณพระอุปัชฌาย์ ผู้มีความรู้กว้างและลึกดั่งมหาสมุทร ประกอบกับในวัดเป็นแหล่งรวบรวมธรรมนิพนธ์เรื่องต่างๆ ก็เลยขอนำข้อคิดในหนังสือเรื่องต่างๆ ที่ได้อ่านมานำเสนอ เสมือนการเล่าประสบการณ์สอดแทรกธรรมะและข้อคิด สำหรับท่านที่ได้อ่านแล้ว ก็ขอให้ถือว่า เป็นการทบทวนหรือย้ำเตือน

    ธรรมกถาที่นำเสนอครั้งแรกจึงตั้งชื่อว่า ...ข้อคิด คำคม พระพรหมคุณาภรณ์... ดังที่จะนำเสนอตามความเหมาะสมของพื้นที่

    ข้อคิดที่ ๑ ...คนฉลาด ทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส แต่คนประมาท ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์... (ตื่นเถิดชาวไทย)

    คตินี้หมายถึง คนจำนวนมากนับถือศาสนา เพียงเพื่อหวังจะหนีเคราะห์ขอโชค แล้วมองว่า การสะเดาะเคราะห์ หรืออำนาจดลบันดาลเป็นเรื่องศาสนา คนเราส่วนมากเวลาประสบสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ก็ไปสะเดาะเคราะห์ หาความสบายใจ ความอุ่นใจ เพื่อเพิ่มความหวังขึ้นมา ไม่ดิ้นรนขวนขวาย แล้วก็นอนใจ รอคอยความหวัง ไม่ได้มองเห็นกระบวนการความเป็นเหตุผลเป็นผลว่า จะแก้ปัญหาได้อย่างไร ได้เพียงความสบายใจ แล้วก็ตกอยู่ในความประมาท เมื่อไม่ได้แก้ไขปัญหา ต่อไปปัญหาก็อาจจะร้ายแรงขึ้น จนกลายเป็นเคราะห์ไปจริงๆ แต่ชาวพุทธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม นับถือศาสนาเพื่อช่วยพัฒนาความสามารถ ที่จะเปลี่ยนเคราะห์ให้เป็นโชค บัณฑิตเปลี่ยน...ปัญหา... ให้เป็น ...ปัญญา... ใช้ปัญหาเป็นเครื่องพัฒนาปัญญา จากเคราะห์ก็กลายเป็นโอกาสให้พัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง แม้ในยามที่รุ่งเรืองก็ต้องใช้เป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไป
    ท่านสรุปไว้ว่า
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE class=tableBorder style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=1 cellPadding=3 align=center><TBODY><TR><TD class=msgEvenTableRow vAlign=top>
    [​IMG]



    แม่ไก่ฟังธรรม
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    จากหนังสือธรรมะของ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ. ๙) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ท่านนำออกมาจากพระไตรปิฏกอีกทีหนึ่ง และชี้ให้เห็นว่าผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานไปเกิดอยู่ในพรหมโลกแล้ว เมื่อหมดบุญก็สามารถกลับมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้อีก

    มีเรื่องเล่าไว้ว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ มีแม่ไก่ตัวหนึ่งอยู่ในที่ใกล้อาสนะศาลา แม่ไก่ตัวนั้นได้ฟังเสียงประกาศธรรมของภิกษุ ผู้เป็นนักปฏิบัติธรรมรูปหนึ่ง กำลังสาธยายเรื่องวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ขณะนั้นเอง เหยี่ยวตัวหนึ่งบินมาโฉบเอาแม่ไก่ไปกินเสีย พอแม่ไก่ตัวนี้ตายไปในขณะที่ฟังธรรมอยู่ จึงได้เกิดมาเป็นพระราชธิดานามว่า อุพพรี และได้ออกบวชในสำนักของปริพาชิกาทั้งหลาย

    วันหนึ่งนางได้เข้าไปสู่ในเว็จกุฎี (ห้องส้วม) ทอดพระเนตรเห็นหมู่หนอนแล้วได้เจริญสมถกรรมฐานโดยเอาหนอนเป็นอารมณ์ เรียกว่า ปุฬุวกสัญญา ได้บรรลุปฐมฌาน เพราะสามารถฝึกสมาธิจนได้ฌาน

    ตายจากชาตินั้นจึงได้ไปเกิดในพรหมโลก อยู่บนนั้นเสียนาน ตายแล้วมาเกิดในตระกูลเศรษฐี จากนั้นก็ตายไปเกิดเป็นลูกนางสุกรในกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นกาลแห่งพระพุทธเจ้าของเรานี้ พระบรมศาสดาได้ทอดพระเนตรเห็นลูกนาง<?:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:pERSoNNAME ProductID="สุกรตัวนั้น จึงทรงแย้มพระโอษฐ์" w:st="on">สุกรตัวนั้น จึงทรงแย้มพระโอษฐ์</ST1:pERSoNNAME> พระอานนท์เถระจึงได้ทูลถาม พระพุทธองค์จึงได้ตรัสตอบข้อความนั้นทั้งหมด (คือเล่าตั้งแต่แม่ไก่มาถึงลูกนางสุกร)

    ภิกษุทั้งหลายมีพระอานนท์เป็นประมุขได้สดับเรื่องนั้นแล้ว ต่างพากันสังเวชสลดใจเป็นอันมาก พระศาสดายังความสังเวชสลดใจให้เกิดแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงประกาศโทษแห่งราคะตัณหา ทั้งๆ ที่ประทับยืนอยู่ในระหว่างถนนนั่นเอง ท่านตรัสเป็นพระคาถาแปลเป็นใจความว่า
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [FONT=Times New Roman, Times, serif][​IMG][/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]วาทะธรรม ของ..[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ในพรรษา ปี 2545[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ความสุขที่แท้จริงได้แก่สุขอันเกิดจากจิตนิ่งสงบ.[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ตัวเราได้ตัวตนเป็นคนมนุษย์[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]แต่ไม่รู้จักคุณค่าของมนุษย์[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]นี่เรียกว่า ประมาท.[/FONT]






    [FONT=Times New Roman, Times, serif]บุคคลผู้มีนิสัยปัจจัยต้องมีเครื่องอยู่[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ศีล 5 เป็นเครื่องอยู่[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ศีล 8 เป็นเครื่องอยู่[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เมตตาเป็นเครื่องอยู่[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คุณงามความดีใด ๆ เป็นเครื่องอยู่[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เหล่านี้เป็นเครื่องหมายของความดี.[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]การจะปล่อยวางได้[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]การจะละคลายความยึดถือ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]การจะหายจากความยึดมั่นสำคัญหมาย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ต้องทำจิตให้สงบเสียก่อน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เพราะอาศัยความสงบของจิตนั้นเอง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]วิปัสสนาญาณจึงจะเกิดได้.[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อาการของจิตนั้น เป็นได้ทั้งกิเลส[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เป็นได้ทั้งธรรมมะ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ต้องระมัดระวังอย่า หลงจิต อย่าหลงตน.[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อยู่เฉย ๆ มันไม่ได้ประโยชน์อันใดดอก[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มันต้องพิจารณาฝึกหัดใช้ปัญญา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ใช้ปัญญาพิจารณา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อย่าอยู่เฉย ๆ .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ทุกขํเป็นวิหารธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สุขเป็นวิหารธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ธรรมเป็นวิหารธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คำว่า วิหารธรรม คือ เป็นเครื่องดำเนินของชีวิต[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เป็นเครื่องดำเนินของวัฏฏะ .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อย่าไปกลัวทุกขํ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อย่าอยากได้สุขจนเกินตัว[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนกลัว - คนอยากมากเกินไป[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]นั้นมันทำความดีไม่ถูก[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนใดกลัวทุกข์คนนั้นกลัวธรรม.[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เราเกิดมาในกามภพนี้[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]จึงได้สุขจากกาม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]จึงได้ทุกข์จากกาม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ความรัก ความชัง ความยินดี ความยินร้าย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]จึงเป็นตัวกาม , เป็นตัวตัณหา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]แม้สุขก็สุขอยู่กับทุกข์[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]จึงเป็นทุกข์ล้วน ๆ ในชีวิตของเรา.[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]รูปกายนี้[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]จะมีอะไร นอกเสียจากรูป[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]รูปเป็นธาตุทั้ง 4 ธาตุดิน –ธาตุน้ำ –ธาตุลม –ธาตุไฟ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]รูป อนิจจํ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]รูป ทุกขํ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]รูป อหัตตา .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ใจไม่มีตน มีตัว แต่เป็นของมีฤทธิ์[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คำว่ามีฤทธิ์นั้น แปลว่า ทำกรรมได้ กรรมดีได้[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]กรรมชั่วได้[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คำว่า กรรมมันเกิดจากความคิด คิดดี คิดชั่ว[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เรียกว่า มโนกรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ใจของเราเป็นความดีอยู่แล้ว อย่าเอาไปทำกรรมชั่ว.[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนโลภก็ตั้งแต่โลภ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนอยากได้ก็ตั้งแต่อยากได้[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนเมาก็ตั้งแต่เมา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนโทสะร้ายก็ตั้งแต่โทสะร้าย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนลุ่มหลงมัวเมาก็ไปตามเรื่อง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เกิดมามันจึงเป็นทุกข์อยู่เสมอ .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คิดถึงอายุของตน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]วันนี้อายุเท่าใด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]วันไหนจะตาย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ตายไปด้วยอะไร[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ตายแล้วถืออะไรไป .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]วันหนึ่งวันหนึ่ง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]นึกถึงตนกี่ครั้ง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]นึกถึงความตายกี่ครั้ง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]รู้ไหมว่าตัวเองมันแก่เฒ่าทุกวัน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อะไรบ้างจะเป็นสมบัติของตน .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนได้สุขก็เมาสุข[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนได้ทุกข์ก็เมาทุกข์[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนเมาก็เมา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนศึกษาก็เมาศึกษา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนปฏิบัติก็เมาปฏิบัติ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ความรู้สึกตัวมันมีน้อย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]จึงไม่ค่อยรู้จักตนเอง .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อนิจจํ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ทุกขํ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อนัตตา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วไม่มีผิดพลาด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มั่นคงแน่นอน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เป็นธรรมแท้แน่นอน .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สบายดี...[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สบายรอท่าวันตาย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เมื่อใดมันจะตาย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อายุมากแล้วนี้[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มันก็อยากตาย[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เราเดินทางไกล[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มันอยากจะให้ถึงจุดหมายปลายทาง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อย่างเร็ว ๆ กำลังแข้งขาไม่พอ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนเกิดมาแล้วมันมีทุกข์มาก[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เมื่อทุกข์อยู่ตลอดก็อยากจะพ้นทุกข์[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มาถามหาความสำเร็จมรรคผล[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ตามหาทั้งที่กำลังของตัวไม่พอ .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ความดีอันตนทำไว้นั้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มันซึมซาบเข้าถึงหัวใจ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มันซาบซ่านอยู่ในใจ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]นี่เรียกว่า สุขใจ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สุขสัมผัสของเรา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สุขอันคนอื่นไม่มีส่วนด้วย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ด้วยเหตุนี้...[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]จึงให้ตั้งใจทำความดี .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ความชั่วทั้งหลายมันเป็นอันตรายของธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ความโลภเกิดขึ้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ความหลงเกิดขึ้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ความโกรธเกิดขึ้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เกิดขึ้นแล้วเต็มอยู่ในใจ ความสงบก็ไม่เกิด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ความสว่างก็ไม่เกิด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ใจก็ไม่ใสสะอาด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ในที่สุดก็ไม่รู้ช่องหนทางการแก้ไข - การรักษา .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อย่าไปเชื่อหลายกับพระสมัยใหม่[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พระขี้กะโล่ ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าไม่ถือ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ทำอะไรไปตามความพอใจ .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]รูปนี้เป็นของใคร[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เวทนาเป็นของใคร[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สัญญาเป็นของใคร[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สังขารเป็นของใคร[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]วิญญาณเป็นของใคร[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เป็นของเราอยู่หรือ เป็นแล้วทำไมมันต้อง [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มีเกิด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มีแก่[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มีเจ็บ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มีตาย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]มีทุกข์มีสุข ด้วยเล่า[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คิดถึงตัวเองบ้างไหม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ตัวตนนี้ใช่หรือไม่ใช่ตัวตน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อย่างไรจึงเป็นเช่นนั้น .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนมีทรัพย์เป็นนกเขา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนมีทานเป็นนกเขา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนมีศีลเป็นนกเขา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนมีภาวนาเป็นนกเขา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คนมีปัญญาเป็นนกเขา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อะไรก็ของกูของกู[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]นิดหน่อยก็ของกู ของกู[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ระวังอย่าให้เป็นนกเขา .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สิ่งใดควรรักษา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สิ่งใดควรละควรเอา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สิ่งใดควรถอน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สิ่งใดควรทิ้ง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สิ่งใดควรดำเนินต่อไป[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ให้รู้ตนของตน ให้เห็นโทษภัยและคุณประโยชน์ .[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ฐานที่ตั้งของธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]คือความสงบ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ความเกิดจากมีสติ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]สติเกิดจากรู้จักจิตของตน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]การฟังธรรมคำสอนต้องได้ความและรู้เรื่อง .[/FONT]

    [FONT=Georgia, Times New Roman, Times, serif][FONT=Times New Roman, Times, serif]ใจมันตั้งอยู่ในกาย[/FONT][/FONT][FONT=Georgia, Times New Roman, Times, serif]
    [FONT=Georgia, Times New Roman, Times, serif]เราอยู่อย่างใดใจมันก็อยู่ด้วยอย่างนั้น[/FONT]
    [FONT=Georgia, Times New Roman, Times, serif]ให้รู้จักกาย[/FONT]
    [FONT=Georgia, Times New Roman, Times, serif]ให้รู้จักใจ.[/FONT]


    [FONT=Times New Roman, Times, serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ที่มา [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]http://www.dhammasavana.or.th/article.php?a=25[/FONT]

    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2008
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ โสระ [​IMG]
    วันนี้โอนเงินให้กับพยาบาลที่เป็นผู้จัดซื้อผ้าห่มให้กับโรงพยาบาลที่แม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 1500 บาท

    วันศุกร์ที่21ที่ผ่านมาได้โอนเงินให้กับโรงพยาบาลที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน จำนวน 7000 บาท

    และเพื่อนผมได้นำเครื่องดูดเสมหะจำนวน 2 เครื่องและผ้าห่มอีกประมาณ 60 ผืน โดยจำนวน32ผืนเป็นส่วนของที่ได้รับบริจาคโดยทุนนิธิฯ ถวายหลวงปู่แฟ๊บ วัดป่าดงหวาย จังหวัดสกลนคร เพื่อท่านนำผ้าห่มเหล่านี้แบ่งไปตามโรงพยาบาลต่างๆ และที่เหลือเป็นส่วนของที่เพื่อนผมถวายหลวงปู่เพื่อให้กับพระหรือชาวบ้านที่ยากจนครับ

    โมทนา สาธุ กับทุกๆท่านครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    วันนี้เพิ่งได้มีโอกาสโทร.แจ้ง พยาบาลประจำหอสงฆ์ดังกล่าวให้ทราบเรื่องการโอนปัจจัยการบริจาคทั้งหมดด้วยแล้วครับ ได้รับคำอนุโมทนามาเป็นอย่างดี และรับเป็นธุระให้ด้วยความยินดีจาก รพ. ทั้ง 2 แห่งเช่นกัน





    เมื่อวาน (2/12/51)ได้มีโอกาสโทร.เช็คปลายทางที่ รพ.ทั้ง 2 เรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างสำเร็จตามความประสงค์ด้วยดี ผ้าห่มได้ถูกซื้อ และถูกนำไปใช้โดยทันที ส่วนของ หลวงปู่แฟ้บนั้น ตอนโทร.ไป คุณเพชรและภรรยาอยู่ที่วัดพอดี พร้อมกับได้ถวายกับท่านหลวงปู่แฟ้บทั้งหมดด้วยมือตนเองทั้งผ้าห่ม และเครื่องดูดเสมหะ 2 เครื่อง เสร็จแล้วก็ได้รับมอบทั้งรูปถ่ายท่าน ทั้งเหรียญ ทั้งผ้าอังสะที่หลวงปู่อธิษฐานให้ทั้ง 2 ผืนลงมาจากวัดป่าดงหวาย สกลนคร ติดมาฝากพวกเราด้วย เดี๋ยวทั้งหมดถ้าพวกผมได้รับมอบจากคุณเพชรแล้ว จะพยายามส่งให้ผู้ที่ทำบุญผ้าห่มมาทั้งหมดทุกคนครับ ขอเวลารวบรวมรายชื่ออีกครั้งก็แล้วกัน เพราะรูปหลวงปู่เท่าแผ่น A4 ดูว่าส่งอย่างไรถึงจะไม่ให้รูปเสียหายครับ

    พันวฤทธิ์
    3/12/51
     
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    หัวใจเศรษฐี

    อุ อา กะ สะ หัวใจเศรษฐี

    พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่มนุษยชาติตลอดสี่สิบห้าปี เพื่อมุ่งหมายให้เกิดประโยชน์สูง 3 ประการ คือ

    o ประโยชน์สุขสามัญที่สามารถมองเห็นได้ในปัจจุบันที่บุคคลทั่วไปปรารถนามีทรัพย์สมบัติ เกียรติยศชื่อเสียง อันประกอบด้วยลาภ ยศ สุข สรรเสริญ

    o ประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป อันได้แก่ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดีทำให้ชีวิตมีค่าและเป็นหลักประกันในชาติหน้า

    o ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน อันได้แก่ สภาพที่ดับกิเลสความโลภ ความโกรธและความหลง อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา



    หัวใจเศรษฐี อุ อา กะ สะ โดยจะต้องประพฤติดีปฏิบัติชอบ ดังต่อไปนี้

    1. อุ ย่อมาจากคำว่า อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ให้ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียรในการแสวงหาความรู้ หนักเอาเบาสู้ในหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย กิจการทั้งหลายต้องรู้จักรับผิดชอบ โบราณกล่าวว่า ทรัพย์นี้มิไกล ใครปัญญาไว หาได้บ่นาน ทั่วแคว้นแดนดินมีสิ้นทุกสถาน ผู้ใดเกียจคร้าน บ่พานพบนา ซึ่งหมายถึง ทรัพย์สินเงินทองมีอยู่ทุกหนแห่ง ขออย่างเดียวอย่าเกียจคร้านให้ลงมือทำงานทุกชนิดอย่างจริงจังตั้งใจ งาน คือ ชีวิต ชีวิต คือ งานบันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน มิใช่รอความสุขจากความสำเร็จของงานอย่างเดียวขาดทุนและขอให้ถือคติว่า ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง ขี้หึ้งเป็นแมลงป่อง จองหองเป็นกิ่งก่า


    2. อา ย่อมาจากคำว่า อารักขสัมปทา แปลว่า ให้ถึงพร้อมด้วยการรักษาคุ้มครองทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ด้วยความ ขยันหมั่นเพียร ไม่ให้เงินทองรั่วไหลมีอันตราย ระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมิให้เปลืองเงินทองโดยใช่เหตุ ตลอดจนรักษาหน้าที่การงานของตัวเองไม่ให้เสื่อมเสีย ขอให้ยึดหลักการเก็บเล็กผสมน้อยหรือการเก็บหอมรอมริบ ซึ่งล้วนเป็นขบวนการเก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองที่ได้ผลเป็นอย่างยิ่ง เพราะนี้คือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่เลี้ยงตัวเองได้อย่างสุขกายสบายใจไม่ต้องอยู่ร้อนนอนทุกข์สนุกอยู่กับคำว่า พอ เงินทองมีเกินใช้ ได้เกินเสียไม่ละเหี่ยจิตใจและขอให้ถือคติว่า ความไม่พอใจจนเป็นคนเข็ญ พอแล้วเป็นเศรษฐีมหาศาล จนทั้งนอกทั้งในไม่ได้การ จงคิดอ่านแก้จนเป็นคนพอ


    3. กะ ย่อมาจากคำว่า กัลยาณมิตตตา แปลว่า การมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว เพราะคบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล คบคนจึงต้องดูหน้าว่าเพื่อนเป็นคนดีที่มีลักษณะไม่เป็นคนปอกลอก ไม่ดีแต่พูด ไม่หัวประจบและไม่เป็นคนชักชวน ไปในทางฉิบหาย มีการดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน มั่วเมาในการเล่นและผีการพนันเข้าสิงจิตใจ และขอให้ถือคติว่า มีเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา เหมือนมีเกลือนิดหน่อยด้อยราคา ดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล


    4. สะ ย่อมาจากคำว่า สมชีวิตา แปลว่า การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ รู้จักกำหนดรายรับและรายจ่าย อย่าให้สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยหรืออัตคัดขัดสนจนเกินไปให้รู้จักออมเงิน ออมเงินเอาไว้ ฉุกเฉินเมื่อไร จะได้ใช้เงินออม และขอให้ถือคติว่า

    มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ แม้มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน


    ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
    http://www.phuttawong.net



    หมายเหตุ : ตอนนี้ผมได้ทำการปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมเว็บไซท์ http://www.pratheplokudon.com เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ก็มีข้อมูล 33 หน้าพร้อมกับพระพิมพ์ของหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    ก็ขอเชิญทุกท่านเข้าไปศึกษาหาความรู้กันได้ตามอัธยาสัยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2008
  12. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524

    จ๊ะเอ๋! คุณนิว โมทนาบุญด้วยนะคะ
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ต้องขอประชาสัมพันธ์เรื่องด่วนควรค่าแก่การโมทนาและสาธุบุญให้ผู้ที่บริจาคเข้าบัญชีทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธฯ ของเราได้ทราบครับ วันนี้ในช่วงราวๆ สี่โมงเช้า ได้รับโทรศัพท์แจ้งจากคุณวรารัตน์ หน.หอสงฆ์อาพาธ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ได้ทราบว่า หอสงฆ์มีความจำเป็นที่จะต้องขอบริจาคเครื่องดูดเสมหะจากทุนนิธิฯ เรา 1 เครื่อง ค่อนข้างเร็วนิดนึง เนื่องจากว่าตอนนี้มีพระรูปหนึ่ง คือท่านพระครูอาทรกิจจานุกิจ (ยอด) ระเวรี ซึ่งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ท่านป่วยเป็นอัมพาตซีกซ้ายขยับตัวไม่ได้ และท่านมีความจำเป็นที่จะต้องเจาะลำคอ เพื่อให้อาหารทางสายยาง โดยทางหอสงฆ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่านอกจากต้องเจาะลำคอแล้ว การดูดเศษอาหารที่ตกค้างในลำคอ เมื่อกลับไปวัดแล้ว จะทำได้ลำบาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องดูดเสมหะดูดออกมา โดยท่านจะมีเวลานับแต่วันนี้ที่จะพักรักษาตัวอยู่ที่ รพ.อีกเพียง 2 อาทิตย์ ก่อนที่ รพ.จะส่งท่านกลับวัด ดังนั้น หากทางทุนนิธิฯ จะพอบริจาคเครื่องดูดเสมหะให้ ภายในอาทิตย์หน้า ทาง รพ.จะได้มีเวลารีบสอนการใช้เครื่องให้ลูกศิษย์หรือญาตินำไปใช้ต่อที่วัดได้ทัน ผมจึงรีบตกลงโดยทันที โดยแจ้งให้ทางบริษัทที่เราซื้อประจำแพคเครื่องในวันนี้ทันทีเช่นกัน และให้ส่งเครื่องฯ ไปถึง รพ.ภายในวันจันทร์ หรือ อังคารที่จะถึงนี้ ส่วนเรื่องเงินนั้น ทางเราจะโอนไปให้ทีหลัง ซึ่งทางบริษัทฯ ก็ยินดีให้ตามความประสงค์

    ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขอแจ้งมายังพวกเราก่อนว่า เรื่องนี้ผมได้ตัดสินใจไปเฉพาะหน้าก่อน แล้วจึงโทร.แจ้งให้กรรมการอีก 2 ท่านทราบคือคุณโสระ และนายสติ เพื่อที่จะได้รีบถอนเงินและนำส่งไปยังบริษัทในภายหลังซึ่งอาจจะผิดหลักการที่ไม่ได้เข้าที่ประชุมและแจ้งให้พวกเราก่อน แต่เครื่องฯ นี้ เป็นราคาเดิมที่เคยซื้อคือเครื่องละ 5,000.-บาท รุ่นเดิม spec เดิม จึงขออนุญาตแจ้งให้ทราบย้อนหลังทันทีที่มีโอกาสเข้ามาในกระทู้ครับ

    ทั้งนี้ อย่างที่บอกเรื่องเครื่องดูดเสมหะนี้ เราได้ปาวารณากับทาง รพ.ภูมิภาคทุก รพ. ที่เราช่วยเหลือไว้ทั้ง 6 แห่งไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า หากทาง รพ.ใดเห็นว่าหากมีพระสงฆ์รูปใดที่ควรใช้เครื่องดูดเสมหะไว้ประจำตัวแล้ว ทางทุนนิธิฯ ยินดีบริจาคให้ไม่ว่าท่านจะมีระยะเวลาการใช้นานหรือไม่ก็ตาม หรือหากท่านละไปแล้ว ทางวัดจะคืนเครื่องกลับมาให้ รพ.หรือไม่ก็ตาม ผมจึงขอแจ้งมาให้พวกเราได้รับรู้และโมทนาในบุญกุศลในครั้งนี้ด้วย เพราะอย่างน้อยในช่วงระยะเวลาที่เหลือไม่มากของท่านนั้น เราก็ได้มีส่วนช่วยให้ท่านได้รับความลำบากน้อยลง และประเหมาะเคราะห์ดี ทาง รพ.สามารถทำให้ท่านดีดังเดิม เพียงพอที่ไม่ต้องให้อาหารทางหลอดลมแล้ว ก็ถือว่า เราได้ช่วยพระสงฆ์อีก 1 รูป ให้ท่านได้ทำกิจในพุทธศาสนาต่อได้อีกครับ บุญกุศลนี้ เราไม่ต้องหวังว่าจะมีหรือไม่ หรือถ้ามีอานิสงส์ประมาณ เท่าใดเอาแค่พวกเราได้รับรู้และเกิดความสบายใจก็เพียงพอต่อการโมทนาสาธุบุญ สมดังเจตนารมย์ที่เราตั้งทุนนิธิฯ นี้ขึ้นมาแล้วล่ะ...เอาเป็นว่าขอแจ้งให้ทราบเท่านี้ก่อนครับ ส่วนรูปถ่ายนั้นเมื่อมอบเครื่องให้ท่านแล้ว ทางคุณวรารัตน์จะส่งเมล์มาให้ผมได้ลงในกระทู้ไว้อีกทีนึง...

    พันวฤทธิ์
    3/12/51
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2008
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>คำสอนเรื่อง . . .ปฎิบัติบูชา <HR width="100%" color=#dddddd SIZE=1></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "ปฏิบัติบูชาเป็นบูชาอย่างเลิศสูงสุด" คือ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ เป็นการบูชาอย่างถูกพระทัยและเป็นการสนองพระคุณพระพุทธเจ้าอย่างสูงสุด คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักหัวใจสำคัญที่สุดก็คือ ทางกาย วาจา ใจ ทิฏฐิ ความเห็นด้วยปัญญา

    1. ศีล - คือการฝึกกาย วาจา ให้สุภาพ อ่อนโยน นิ่มนวล ละมุนละไม ไม่มีเวร ไม่มีภัยกับใครๆ เป็นเหตุให้ผู้ประสบพบเห็นเกิดความรัก ความเอ็นดู ความเมตตา กรุณาปรานีและเกรงใจ ศีลเป็นเสน่ห์สำคัญให้เกิดความรัก ความเอ็นดูกรุณาปรานี ช่วยอนุเคราห์-สงเคราะห์ ให้สำเร็จกิจที่ประสงค์ได้อย่างนี้

    2. สมาธิ - คือการฝึกหัดใจให้อ่อนโยน สุภาพ นิ่มนวลละมุนละไม ไม่อยู่ใต้อำนาจของความอาฆาต พยาบาท โลภ อิจฉาริษยา ความลุ่มหลงมัวเมา ความหดหู่ ซบเซามึนซึม ท้อแท้อ่อนแอ เกียจคร้าน สะดุ้งหวาดกลัว ตื่นเต้น ประหม่า ฟุ้งซ่านรำคาญใจ และความสงสัยลังเลเงอะๆ งะๆ ไม่แน่ใจเหล่านี้ เมื่อจิตมีอำนาจอยู่เหนืออารมณ์ฝ่ายต่ำที่กล่าวมานี้แล้ว เป็นเหตุให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ปลอดโปร่ง เข้มแข็งกล้าหาญเด็ดขาด เป็นเหตุให้เกิดอำนาจทางจิต เป็นเสน่ห์ที่จะดึงดูดใจผู้ที่ได้ประสบพบเห็น ให้เกิดความรัก ความเมตตาเอ็นดู กรุณาปรานี และเกรงใจ ช่วยสงเคราะห์-อนุเคราะห์ เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จกิจที่มุ่งหมาย

    3. ปัญญา - คือการพิจารณาให้เห็นคนทุกชั้น เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ร่วมสุขร่วมทุกข์ หัวอกอันเดียวกันทั้งนั้น เป็นเหตุให้เกิดความรักความเอ็นดู ความเมตตา กรุณาปรานี ซึ่งจะแสดงออกมา ทางจิตใจและกายวาจา เป็นเหตุให้ผู้ประสบพบเห็นทุกชั้น วรรณะที่เกี่ยวข้องติดต่อในสังคม เกิดความรัก ความเอ็นดู ความเมตตา กรุณาปรานี ยินดีช่วยสงเคราะห์ให้สำเร็จกิจที่สมประสงค์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : หนังสือ เรียนธรรมะ บูชาพระสุปฎิปันโน</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอขอบคุณ

    http://www.dhammathai.org/store/talk/view.php?No=168
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ที่พึ่งทางใจ <HR width="100%" color=#dddddd SIZE=1></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    [​IMG]


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> เวเลากลางคินก่อนหลับก่อนนอน
    เราควรจะได้ทำจิตสักอย่างหนึ่ง
    คือการทำการไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอน
    ไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้ว เราก็นั่งสงบใจ นั้งให้สงบครั้นสงบแล้ว ก็มองดูตัวเองว่า
    วันนี้เราตั้งแต่เช้ามาจนเย็น เราได้กระทำอะไรบ้าง

    เราได้ประพฤติปฏิบัติในเรื่องใด
    ให้พิจารณาอย่งรอบคอบโดยความเป็นธรรม
    อย่าเข้าข้างความชั่ว แต่จงเข้าข้างความดี
    ให้รู้ว่าตัวเรามันเป็นอย่างไร ทุกวันทุกเวลา
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ธรรมะจากหลวงพ่อ <HR width="100%" color=#dddddd SIZE=1></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG].....ความหมายตามบาลี(ยมกสูตร) คนที่เห็นว่าพระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็นความเห็นผิด แล้วท่านบรรดานักเขียนนักแต่งทั้งหลายท่านเอามาจากไหนว่า นิพพานสูญ อันนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดอะไรกันสักอย่าง เพราะมีพระบาลีบทหนึ่งว่า นิพพานนัง ปรมังสูญญัง แปลว่านิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง ท่านอาจจะไปคว้าเอา ปรมังสูญญัง โดยเข้าใจว่า สูญโญเข้าให้ ......

    ผู้ถาม : เกิดมาแล้วทำไมจึงต้องตายครับ
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>นรก-สวรรค์ ตามหลักของพระพุทธเจ้า <HR width="100%" color=#dddddd SIZE=1></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    พุทธทาสภิกขุ
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    [​IMG]


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ทีนี้อยากจะให้รู้เสียเลย ที่เกี่ยวกับ ทวารเหล่านี้นะ พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า นรกทางอายตนะ ฉันเห็นแล้ว สวรรค์ทางอายตนะ ฉันเห็นแล้ว เมื่อก่อน เขาพูดกัน ถึงเรื่อง นรกอยู่ใต้ดิน อย่าง ภาพเขียนฝาผนัง นั่นมันคือ นรกทางกาย นรกทางวัตถุ ก็หมายถึง ร่างกาย ถูกกระทำ อย่างนั้น เป็นนรกใต้ดิน ตามที่ว่า แล้วสวรรค์ ก็อยู่ข้างบน บนฟ้า ข้างบนโน้น มีวิมาน มีผู้เสวยสวรรค์ เป็นบุคคล มีนางฟ้า ส่งเสริม ความสุข เป็นร้อยๆ ร้อยๆ นั้นคือ สวรรค์ข้างบน แต่ เป็นเรื่อง ทางกาย หรือ ทางวัตถุทั้งนั้น

    นรกกับสวรรค์ ชนิดนั้น เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระพุทธเจ้า เขาสอนกันอยู่ก่อน แต่คุณจับใจความให้ได้ มันเรื่องทางกายนี้ เจ็บปวดทางกายอยู่ใต้ดิน คือนรก เอร็ดอร่อยทางกายอยู่ข้างบน นั่นแหละสวรรค์

    ทีนี้
    พระพุทธเจ้าท่านมาตรัสเสียใหม่ว่า นรกที่อายตนะฉันเห็นแล้ว ก็คือที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ; นี่นรก เมื่อทำผิด มันร้อนขึ้นมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันนรกที่ไม่ใช่วัตถุ ที่ไม่ใช่กาย มันเป็นนามธรรม เป็นความรู้สึก เป็นทุกข์ร้อน อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่นรกฝ่ายวิญญาณ ฝ่ายโน้น ฝ่ายนี้ ฝ่ายวิญญาณ

    ทีนี้ สวรรค์ก็เหมือนกัน เมื่อถูกต้อง เขาก็จะเป็นสุขสนุกสนาน อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็นั้นแหละ คือ สวรรค์ เป็น สวรรค์ทางวิญญาณ มันคู่กัน อย่างนี้ มันคู่กันมา อย่างนี้

    ถ้าเอาวัตถุ เอาร่างกายเป็นหลัก นรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้า แล้วก็เป็นไป ตามเรื่องนั้น แต่ถ้าเอาเรื่อง นามธรรม ฝ่ายวิญญาณ เป็นหลักแล้ว
    ทั้งนรก ทั้งสวรรค์ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ที่นั่น พูดอย่างนี้ ชี้ไปยังที่ตัวจริง พูดอย่างโน้น มันอุปมา เหมือนกับว่า ถูกฆ่า ถูกเผา ถูกอะไรอยู่ หรือว่า เสวยอารมณ์ อันเป็น กามคุณอยู่ นั้นควรจะเป็นอุปมา แต่เขากลับเอามา เป็นตัวจริง

    ทีนี้ ผม อธิบายตาม พระบาลี เรื่องตัวจริง ว่า ร้อนอยู่ที่ อายตนะทั้ง ๖ นี้ มันเป็นนรก สบายอย่างนี้ เป็นสวรรค์ เขากลับหาว่า นี้อุปมา นี่มัน กลับกัน อย่างนี้ ใครโง่ ใครฉลาด? คุณก็ไปคิดเอาเอง แต่ผมยืนยันว่า ตามหลักของพระพุทธเจ้าว่า นี้คือ จริง : นรกที่อยู่ที่อายตนะ ๖ นี้ คือ นรกจริง สวรรค์ที่อยู่ที่อายตนะ๖ นี้คือ สวรรค์จริง ท่านจึงตรัสว่า ฉันเห็นแล้วๆ ก็ไม่ได้พูด ตามที่เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระองค์ ที่เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระองค์ นั้น เขาพูดกันว่า อย่างนั้น มันจะเป็น เรื่องคาดคะเน หรือ เป็นเรื่องอะไร ก็ตามใจเขา เราจะไม่แตะต้อง เราจะไม่ไปคัดค้าน

    นี่คุณช่วยจำไว้ ข้อหนึ่ง ด้วยนะ แทรกให้ได้ยินว่า เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น ไม่ตรงกับ ลัทธิของเรา พระพุทธเจ้า ท่านว่า อย่าไปคัดค้าน แล้วก็ ไม่ต้องยอมรับ เมื่อเราไม่เห็นด้วย เราก็ไม่ยอมรับ แต่แล้ว อย่าไปคัดค้าน อย่าไปด่าเขา อย่าไปอะไรเขา ก็บอกว่า คุณว่าอย่างนั้น ก็ถูกของคุณ เราไม่อาจจะยอมรับ แต่เราก็ไม่คัดค้าน แต่เรามีว่าอย่างนี้ๆ เราก็พูดของเราไป ก็แล้วกัน

    นี่ควรจะถือเป็นหลัก กันทุกคน ถ้าลัทธิอื่น เขามาในแบบอื่น รูปอื่น เราก็ไม่คัดค้าน เราไม่ยอมรับ แต่เราบอกว่า ของพุทธศาสนานี้ เป็นอย่างนี้ๆ ก็ว่าไป ไม่ต้องทะเลาะกัน ที่มันจะไป ทำลายของเขา ยกตัวของตัว ขึ้นมา นี้มันจะได้ทะเลาะกัน จะทำอันตรายกัน เพราะหลักธรรมะ นั้นเอง พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่พูด ถึงเรื่องอะไรๆ ที่เขาพูดกันอยู่ก่อน ในหลายๆเรื่อง รวมทั้งเรื่อง นรก สวรรค์ นี้ด้วย แต่ท่านพูด ขึ้นมาใหม่ว่า ฉันเห็นแล้ว คือ อย่างนี้ๆ

    ฉะนั้น เรามี นรก สวรรค์ ทั้งที่เป็น การกล่าวกัน อยู่ตาม ทางวัตถุ ทางกาย มาสอนใน ประเทศไทย ตั้งแต่ ก่อนพุทธศาสนาเข้ามา ฝ่ายพุทธศาสนาเข้า เขาก็ไม่ได้เอา คำของพระพุทธเจ้า ข้อนี้ มาสอน ประชาชน ก็ยังถือตาม ก่อนโน้นๆ นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า นรก สวรรค์ อย่างที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสนี้ ไม่ค่อยมีใครสนใจ พอเอามาพูดเข้า เขาเห็นเป็น เรื่องอุปมา ไปเสียอีก มันกลับกัน เสียอย่างนี้


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : หนังสือธรรมานุกรมธรรมโฆษณ์ ฉบับประมวลธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณ

    http://www.dhammathai.org/store/talk/view.php?No=152
     
  18. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    <TABLE width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG] </TD><TR><TD align=middle>นรก สวรรค์ มีจริงหรือไม่</TD></TR><TR><TD><DD>หลวงพ่อไปเทศน์อบรมพระอยู่ที่จังหวัดลพบุรี ในภูเขา มีพระเถระองค์หนึ่งท่านถามว่า นรกมีไหม สวรรค์มีไหม ถ้ามีอยู่ที่ไหน ท่านถามว่าอย่างนั้น ทีนี้ถ้าหากว่า เรื่องนรก สวรรค์ ถ้าใครไม่ปลงใจเชื่อ ก็ให้พยายามเชื่อว่าสวรรค์ในอก นรกในใจ <DD>ขณะใดที่จิตของเราเดือดร้อนวุ่นวาย มีทุกข์หนัก ในขณะนั้นนรกเกิดขึ้นในใจของเรา ขณะใดที่จิตใจแช่มชื่นเบิกบาน มีความสุข ในขณะนั้นสวรรค์เกิดที่ใจของเรา <DD>นรก แปลว่า แดนหาความเจริญมิได้ เมื่อใจไม่มีความเจริญ มีแต่ความทุกข์ ใจก็เสื่อม ในเมื่อเสื่อมแล้วนรกก็ปรากฏขึ้นในใจ <DD>สวรรค์ แปลว่า แดนให้อารมณ์เลิศด้วยดี เมื่อจิตใจเบิกบานแช่มชื่น มีความสุขสันต์หรรษา ในขณะนั้นใจของเราก็อยู่ในระดับแห่งสวรรค์ <DD>เรื่องที่ว่านรก สวรรค์ มีหรือไม่นั้น เราพึงสันนิษฐานว่า อันใดที่มีภาษาพูดกล่าวขวัญถึง อันนั้นต้องมีแน่นอน ถ้าไม่มีเขาเอาคำพูดนั้นมาจากไหน อันนี้เป็นทางสันนิษฐาน หลวงพ่อพูด ก็พูดโดยสันนิษฐานเหมือนกัน เพราะว่านรกก็ยังไม่เคยเห็น ที่ว่านรกมีเท่านั้นหลุม เท่านี้หลุมก็ยังไม่เคยเห็น ก็ว่ากันตามคัมภีร์เหมือนกัน <DD>เพราะฉะนั้น อะไรที่เรายังไม่รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง รับฟังไว้ก่อน อย่าเพิ่งรับรอง และอย่าเพิ่งปฏิเสธ ถ้าได้ยินแล้วเชื่อเลยทีเดียวก็โง่ ถ้าไม่เชื่อปฏิเสธเลยทีเดียวก็โง่ <DD>ยกตัวอย่างเรื่องแปลจากหนังสือฝรั่งเล่มหนึ่ง มีนายคนหนึ่งเป็นนักปาฐกถา เป็นนักพูด วันหนึ่งมีนักปราชญ์ท่านหนึ่งมาพูดเรื่องวิญญาณมีวิญญาณไม่มี เขาก็ไปนั่งฟังอยู่ แต่เขาไม่แสดงอาการคัดค้านหรือออกความเห็นอย่างใดทั้งสิ้น ซึ่งโดยปกติแล้วอะไรที่เขาไม่เห็นด้วย เขาจะคัดค้าน พอผู้ปาฐกถาพูดเรื่องวิญญาณจบ มีท่านผู้หนึ่งถามว่า เรื่องนี้ท่านเห็นว่าอย่างไร เขาก็ตอบว่า ขอเวลาอีก ๗ ปีจึงจะพูด พอครบ ๗ ปี เขาสามารถพิสูจน์เรื่องวิญญาณ ถึงขนาดสร้างกล้องถ่ายรูปวิญญาณมาพิมพ์ลงในหนังสือที่เขาเขียนด้วย <DD>อันนี้เรื่องที่เราว่าอาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่มันก็เป็นไปได้ ในสมัยปัจจุบันนี้เราว่า โลกมันเจริญ วิชาการต่างๆ เจริญรุ่งเรือง แล้วเราศึกษาจนจบระดับดอกเตอร์ แต่สิ่งที่เราเรียนไม่ถึงยังมีอยู่อีกเพราะฉะนั้นเรื่องที่เราได้ยินได้ฟัง เราจะเชื่อหรือไม่เชื่อ รับฟังไว้ก่อนจนกว่าเราจะพิสูจน์รู้เห็นด้วยตัวเอง เรื่องนรกสวรรค์ก็เช่นเดียวกัน เป็นคำตอบของผู้ไม่เคยเห็นนรก สวรรค์ แต่เคยเห็นสวรรค์ในอก นรกในใจ ซึ่งมันเกิดขึ้นกับตัวเอง

    </DD></TD></TR><TR><TD><HR width=300></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณ
    http://www.geocities.com/thaniyo/dhamma0345_2.html
     
  19. ahantharik

    ahantharik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,595
    ค่าพลัง:
    +6,346
    วันนี้ ที่ 4 ธันวามคม 2551 ผมและแฟนผมได้โอนเงินจำนวน 300 บาท เพื่อเข้าบัญชี ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ

    บุญกุศลที่ข้าพเจ้าและคุณสิริกานต์ได้บริจาคเงินในครั้งนี้ เพื่อรักษาพระสงฆ์ที่อาพาธเจ็บปวด ขอมอบบุญกุศลนี้ ให้แก่บิดา มรรดาของข้าพเจ้า ท่านเทพเทวดาผู้รักษาตัวข้าพเจ้าทั้งสอง เจ้ากรรมนายเวรตั้งแต่อดีตชาติ มาจนถึงชาติปัจุบัน สัตว์นรกทั้งหลายทั้งปวง ท่านพญายม และยมพบาล ขอให้พวกเขาเหล่านั้นที่เอ่ยนามมานี้ จงมีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป พ้นจากทุกข์ และมีดวงตาเห็นธรรม หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเถอะ....สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. คีตา

    คีตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    665
    ค่าพลัง:
    +4,309
    [​IMG]


    [SIZE=+3][SIZE=+4]ฑีฆา ยุโก โหตุ มหาราชา [/SIZE][/SIZE]
    [SIZE=+4]ขอพระองค์ทรงพระเจริญ[/SIZE]


    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC]ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ [/FONT]​

    ขอเชิญชวนสหายธรรมทุกท่านแสดงความจงรักภักดี โดยการร่วมลงนาม ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ<WBR>พลอดุลยได้ที่



    เว็บไซต์วัดป่าโนนจ่าหอม<WBR>


    ตามลิ้งค์แนบด้านล่างนี้ได้<WBR>เลยครับ

    http://www.watpanonjahom.com/index.php?mo=5&qid=200277
     

แชร์หน้านี้

Loading...