ใกล้ถึงเวลาสะสางกรรมมวลมนุษย์ "โพธิสัตวื" เตรียมบำเพ็ญพันมือ (บำเพ็ญภาคปราบ)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ป่าวอันถัง, 8 มกราคม 2009.

  1. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114
    ท่านผู้นี้ได้เริ่มแล้ว อายุท่านไม่มาก แต่ได้ครองราชย์แล้ว ด้วยปณิธานที่ล้ำสมัย

    (ดัชนี้ชี้วัดความเจริญของประเทศที่ไม่ใช่เรื่องเงิน หรือวัตถุอีกต่อไป)


    [​IMG]
    "เจ้าชายจิกมี" ทรงยกย่องในหลวงทรงเป็นหัวใจสำคัญของคนไทย

    สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
    ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก
    วานนี้ ( 26 พ.ย.) มหาวิทยาลัยรังสิต กำหนดจัดพิธีประสาทปริญญา ประจำปี 2549 โดยปีนี้สภามหาวิทยาลัยรังสิต มีมติเป็นเอกฉันท์ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ แด่มกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน โดยมหาวิทยาลัยเล็งเห็นถึงพระอัจฉริยภาพในด้านแนวคิด ยุทธศาสตร์การบริหารพัฒนาประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
    ทั้งนี้ มกุฎราชกุมารจิกมี พระราชทานสุนทรพจน์แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรังสิตว่า ข้าพเจ้ายินดีและเป็นเกียรติที่มหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาให้แก่ข้าพเจ้า ซึ่งเปรียบเสมือนของขวัญที่มีค่าจากใจคนไทยทุกคน ความชื่นชมและความอบอุ่นที่คนไทยให้ข้าพเจ้านั้น เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่คาดคิดมาก่อน ข้าพเจ้าจะเก็บความรู้สึกที่อบอุ่นของทุกท่านไว้ในความทรงจำและไว้ในใจของข้าพเจ้า
    ในโอกาสที่ข้าพเจ้าได้เดินทางมาร่วมงานเฉลิมฉลองในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าได้เห็นประชาชนของไทยแสดงความจงรักภักดี และเสียสละแก่พระมหากษัตริย์และประเทศของตน ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญของประชาชนคนไทยในการป้องกันประเทศอีกด้วย
    ด้านนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวคำประกาศพระเกียรติคุณ โดยเน้นถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน เช่น ทรงเป็นประธานทำประชาพิจารณ์ ปรึกษาและให้ความรู้ราษฎรในชนบทเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฯลฯ นอกจากนี้ยังทรงมีพระจริยวัตรอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ กอปรด้วยความถ่อมพระองค์ ความนุ่มนวล และไมตรีจิตมิตรภาพ ทำให้ทรงเป็นแรงบันดาลใจ และต้นแบบอันสูงส่งของคนหนุ่มสาวยุคก้าวหน้าในสากลโดยเฉพาะในประเทศไทย
    สำหรับบรรยากาศเฝ้ารับเสด็จเจ้าชายจิกมี เต็มไปด้วยความคึกคัก ประชาชนจำนวนมากได้มารอรับเสด็จ และชื่นชมในพระจริยวัตรอันงดงามตลอดเส้นทางเสด็จ ต่างโบกธงประเทศภูฏาน
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ขออธิบายเชิงบัญชีกำไรขาดทุน กฏหมายล้มละลาย เล็กๆน้อยๆ

    ว่าด้วยการล้มละลาย ถ้าหากมูลค่าทุน ต่ำกว่า ส่วนขาดทุน 1 ทบ หรือ 1 เท่าตัว
    ก็จะถือว่า บุคคลนั้นๆ หรือ กิจการนั้นๆ อยู่ในฐานะล้มละลาย จะต้องชำระบัญชี
    และปิดกิจการลง ( อันนี้เคยอ่านกฏหมายมานานแล้ว ไม่รู้ยังมีกฏอย่างเดิมหรือเปล่านะ )

    จากตัวเลขของ มหาเศรษฐี แกมี สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็น บ้าน อสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง
    เวลาเอาไปจำนอง เพื่อเอาเม็ดเงินมาเป็นส่วน บัญชีทุน มันจะได้ราคาประมาณ
    70% ตามราคาประเมิณของราชการ(เพื่อคงกำไรให้มีอยู่ สำหรับผู้รับจำนอง เวลา
    ต้องยึดขายทอดตลาด) แล้ว เจ้าราคาราชการมักต่ำกว่าราคาตลาดอีก70%

    ที่นี้เอามูลค่าสินทรัพย์ของแกที่ว่ามี 3แสน มาคำนวนเล่นๆ โดยการลดทอนมูล
    ค่าตามหลักการคร่าวๆ พบว่า ตัวเลขราคาสินทรัพย์หลังเศรษฐกิจล้มแล้ว มีความ
    เป็นไปได้สูงว่า ส่วนบัญชีทุนมีต่ำกว่าครึ่งของส่วนก่อหนี้ได้(ราคาตอน 3แสน แล้ว
    เอาไปทำจำนอง หรือ ลงทุนทั้งหมด) แล้วตามข่าว แกลงทุนอย่างอื่นไม่เป็น ทำธุรกิจ
    เดียว

    คิดเล่นๆ แกคงเห็นกาลในอนาคตจะตกเป็น Bankrupt หรือ บุคคลล้มละลายตามกฏ
    หมาย ก็เลยอาจทำอะไรสั้นๆ ไป

    ทั้งนี้ก็ต้องติดตามข่าวต่อไป ว่าแกทำของแกจริงๆ หรือ มีคนจับแกโยนไป

    * * * * *

    และด้วย กฏหมาล้มละลายนี้ ทำให้ บริษัทในไทย ซึ่งส่วนใหญ่ ยึดกระแสเงินสด
    เป็นหลักเกณฑ์ จึงนิยมคงรายได้ในส่วนกำไรเอาไว้ให้เยอะๆ อย่าให้เข้าข้างขาด
    ทุน ทำให้รีบปิดบริษัทหนีบ้าง เอาคนงานออกบ้าง ไม่จ่ายเงินเดือน หรือ สวัสดิการ
    บ้าง หรือ ไม่ชำระหนี้ที่มีการวางบิลแล้วบ้าง ทั้งนี้เพื่อ หลีกเลี่ยว ตัวเลขขาดทุนทบ
    เท่าส่วนทุน ซึ่งจะทำให้ถูกบังคับให้ปิดบริษัท หมดภาวะเป็นเจ้าของทุน หมดอำนาจต่อ
    รองทางธุรกิจ -- ก็ต้องลองในมุมมองของนายทุนไว้นิดหน่อย ช่วยๆกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2009
  3. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">ราชาภิเษกยิ่งใหญ่! "จิกมี"กษัตริย์ภูฏาน </TD><TD class=buttonheading align=right>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2></TD></TR><TR><TD align=right colSpan=2>[​IMG] </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>[​IMG]ราชอาณาจักรภูฏานจัดยิ่งใหญ่ พิธีราชาภิเษก สมเด็จพระราชาธิบดี "จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก" ขึ้นปกครองประเทศเป็นทางการในระบอบประชาธิปไตยรายใหม่สุดของโลก หลังพระราชบิดาสละพระราชบัลลังก์เมื่อ 2 ปีก่อน เผยเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 ของประเทศ มีพระชนมายุน้อยที่สุดในโลกเพียง 28 พรรษา ประชาชนนับพันเข้าแถวถวายพระพร

    เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ราชอาณาจักรภูฏานจัดงานพระราชพิธีราชาภิเษก สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 ของประเทศ และเป็นกษัตริย์ที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดในโลกขณะนี้ ด้วยพระชนมายุ 28 พรรษา โดยสำนักข่าวต่างประเทศต่างนำเสนอว่า องค์จิกมีทรงเป็นกษัตริย์หนุ่มในช่วงที่ประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตยเป็นรายใหม่ที่สุดของโลก

    สำหรับพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งนี้จัดขึ้นหลังจากสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก พระชนมายุ 52 พรรษา พระราชบิดาขององค์จิกมี เคเซอร์ นัมเกม วังชุก สละราชบัลลังก์ตั้งแต่ 2 ปีก่อน ตามพระราชประสงค์ที่ทรงต้องการปรับเปลี่ยนประเทศให้ทันตามยุคสมัย เมื่อตรัสในปี 2548 ว่า "นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะเปลี่ยนแปลงระบบทางการเมืองในช่วงที่ประเทศมีเสถียรภาพและสันติภาพ ไม่จำเป็นต้องรอจนให้เกิดการปฏิวัติ"

    สำนักข่าวเอพีรายงานว่า การเว้นระยะ 2 ปีกว่าจะมาถึงงานพระราชพิธีราชาภิเษกในครั้งนี้น่าจะถือตามฤกษ์ที่ดีที่สุดเพื่อความสำเร็จของประเทศที่มีประชากร 635,000 คน หลังจากที่องค์จิกมี ซิงเย ทรงวางแผนการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยมาเป็นขั้นตอน กระทั่งปัจจุบันภูฏานมีรัฐสภาและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง พร้อมกับกษัตริย์พระองค์ใหม่ที่ทรงดำรงตำแหน่งภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศ กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการติติง วิพากษ์วิจารณ์องค์ประมุขได้ และกษัตริย์จะทรงครองราชย์ได้จนถึงพระชนมายุ 65 พรรษา

    งานพระราชพิธีครั้งนี้กำหนดจัดขึ้นเป็นเวลา 5 วัน ในวันแรกประกอบพระราชพิธีตามธรรมเนียมโบราณ จัดที่เมืองภูนาคา เมืองหลวงเก่า มีเพียงพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธี จากนั้นงานจัดในกรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศ ประกอบด้วย พระราชพิธีเลี้ยงพระกระยาหารอาคันตุกะ พระราชพิธีเฉลิมฉลองพิธีราชาภิเษกในพระบรมมหาราชวัง และพระราชาธิบดีจิกมีทรงพบประชาชนที่สนามกีฬาแห่งชาติ

    สำหรับพระราชพิธีที่สำคัญที่สุดในวันที่ 6 พ.ย. คือ พิธีการสวมมงกุฎผ้าไหมสีดำแดงที่องค์จิกมีทรงรับพระราชทานจากพระราชบิดา ขณะที่ประชาชนหลายพันคนต่างเข้าแถวเพื่อถวายพระพรและถวายผ้าพันคอสีขาว สัญลักษณ์ของการถวายพระพรแด่องค์จิกมี

    พิธีเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 08.31 น. ที่ห้องบัลลังก์ทองในพระราชวัง องค์จิกมีทรงได้รับสิ่งของล้ำค่า 7 สิ่งสำหรับกษัตริย์ อันหมายถึงความรอบรู้ อำนาจแห่งความชอบธรรม พลังอันไม่หมดสิ้น ความแข็ง แกร่ง ความรัก สติปัญญา และอำนาจจากพรศักดิ์สิทธิ์ของผู้นำศาสนา นอกจากนี้จะทรงได้รับวัตถุมงคล 8 อย่างเป็นสัญลักษณ์ของสติปัญญา ชีวิตยืนยาว ความมุ่งมั่น มีน้ำใจ เข้าอกเข้าใจ จิตบริสุทธิ์ กรรมอันถูกต้อง และสัมมาวาจา

    สำหรับผู้เข้าร่วมงานสำคัญ ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ และเหล่าอาคันตุกะ ซึ่งประเทศอินเดียมีนางประติพา ปาติล ประธานาธิบดีอินเดีย และนางโซเนีย คานธี ประธานพรรคคองเกรสของอินเดียและครอบ ครัว ผู้ใกล้ชิดกับราชวงศ์ภูฏาน มาร่วมงานพระราชพิธีในครั้งนี้

    นายจิกมี ทินลีย์ นายกรัฐมนตรีภูฏาน กล่าวว่า สมเด็จพระราชาธิบดีจะทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในฐานะผู้นำหลักธรรมจริยาของประเทศ และจะทรงเป็นพลังที่จะสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืนสำหรับราชอาณาจักรภูฏานต่อไป

    ด้านประเทศไทย นายเฉลิมพล ทันจิตต์ เอกอัคร ราชทูตไทยประจำราชอาณาจักรภูฏาน ถิ่นพำนัก ณ กรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยเข้าร่วมในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่กรุงทิมพู

    เวลา 15.00 น. วันเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยรังสิต สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในงานแสดงทางวัฒนธรรมของภูฏานเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิ เษก องค์จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และฉลอง 100 ปีราชวงศ์วังชุก ซึ่งเอกอัครราชทูตภูฏานและภริยาเป็นเจ้าภาพ โดยมีแขกร่วมงานประมาณ 400-500 คน ประกอบด้วยข้าราชการสำนักพระราชวัง คณะทูตานุ ทูต ข้าราชการและชาวภูฏานในประเทศไทย ซึ่งภายในงานมีการแสดงพื้นเมือง 11 ชุดและมีอาหารพื้นเมืองเลี้ยงรับรองด้วย

    สำหรับพระราชประวัติของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 ก.พ.2523 ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก และสมเด็จพระราชินีอาชิ เชอริง ยางดน วังชุก พระมเหสีองค์ที่ 3 ในบรรดาพระมเหสีพี่น้อง 4 พระองค์

    ในวัยพระเยาว์ องค์จิกมีทรงศึกษาที่ประเทศอินเดีย จากนั้นเสด็จไปศึกษาต่อในที่สหรัฐอเมริกาในระดับมัธยมศึกษาที่คัชชิง อะคาเดมี โรงเรียนประจำสหศึกษาที่มีชื่อเสียงของมลรัฐแมสซาชูเซตส์ จากนั้นทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยวีตัน ด้านศิลปศาสตร์ ก่อนเสด็จมาศึกษาต่อปริญญาโทในสาขาการทูตและสาขาวิชาการเมืองที่วิทยาลัยม็อดเลน มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ในอังกฤษ

    ทรงเริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกและเป็นที่ชื่นชมในหมู่ชาวไทย เมื่อครั้งเสด็จทรงร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 12-13 มิ.ย.2549 ที่กรุงเทพมหานคร ในขณะทรงเป็นมกุฎราชกุมาร โดยเป็นพระราชอาคันตุกะที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดในหมู่ราชวงศ์ที่มาร่วมงาน

    ในปีเดียวกันนั้น พระราชบิดาทรงสละราชสมบัติพระราชทานให้พระองค์เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2549 องค์จิกมีได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอย่างแรกโดยทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันชาติของภูฏาน ว่า จะทรงสานต่อแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติของพระราชบิดาเพื่อประชาชน

    นายจิกมี ธินเลย์ นายกรัฐมนตรีภูฏาน กล่าวว่า องค์จิกมีทรงมีพระทัยงามมาก สุภาพ และมีพระเมต ตาสูง รักเด็ก ไม่ทรงเคยล่าสัตว์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทั้งที่การล่าสัตว์เป็นสิ่งที่พระมหากษัตริย์ทรงต้องปฏิบัติ ตนไม่เคยเห็นพระองค์ทรงขับรถเร็วด้วย สมัยที่ทรงเป็นมกุฎราชกุมารทรงรับอุปถัมภ์เด็กชายในหมู่บ้านที่สายตามีปัญหาและส่งตัวไปรักษาที่ต่างประ เทศเพื่อให้เด็กชายกลับมามองเห็น สะท้อนน้ำพระทัยที่มีต่อเยาวชนของชาติ

    ด้านนางพิไลพรรณ สมบัติศิริ กรรมการผู้จัดการโรงแรมปาร์คนายเลิศ แรฟเฟิลส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานะที่ปรึกษาในการจัดเตรียมงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้องค์จิกมีทรงให้ความสำคัญเรื่องความใกล้ชิดกับประชาชนมาก ทรงยึดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นองค์แบบอย่าง โดยมีพระราชประสงค์ให้การจัดงานอย่างพอเพียงและอบอุ่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114
    เหตุที่ทรงครองราชย์ทั้งยังเยาว์ (พระราชบิดาก็ยังทรงแข็งแรงดี)


    1. เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศโดยไม่ต้อง "ผ่านการปฏิวัติ"
    2. เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันนานาชาติ ซึ่งระบบเก่าๆ อาจยังช้าไปหน่อย
     
  5. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114
    [​IMG]


    โลกกำลังเปลี่ยนด้วยอัตราเร่ง
    เรากำลังก้าวหน้าหรือล้าหลัง


    อยู่ที่มือคุณ?
     
  6. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114
    [​IMG]


    ไปเถิดเหล่าพุทธภูมิ เวลาแห่งการบำเพ็ญที่หาได้ยากนี้ กำลังมาถึงแล้ว "เธอทั้งหลายพร้อมหรือยัง"?
     
  7. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 align=left bgColor=#f5f5f5 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>






























    ทรงพระเจริญ...
     
  8. ซอฮาบีย์

    ซอฮาบีย์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +3
    เปลี่ยนตัวเองก่อน ก่อนที่โลกจะเปลี่ยนเรา
     
  9. humanbeing

    humanbeing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +214
    ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ
     
  10. humanbeing

    humanbeing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +214
    ขอบคุณที่ให้ข้อมูลค่ะ
     
  11. ซอฮาบีย์

    ซอฮาบีย์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +3
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom background=Photo/head02.gif>
    ความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH)
    </TD><TD width=48>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=88 background=Photo/head04.gif> </TD><TD vAlign=top bgColor=#ffcc00 height=400><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=right border=0><TBODY><TR><TD height=30>

    ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์
    อาจารย์ประจำำภาควิชามนุษยศาสตร์
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ​
    </TD></TR><TR><TD>

    *** ​
    ท่ามกลางกระแส "ไข้เจ้าชายจิกมี" (Jigme fever) นักวิชาการ สื่อมวลชน และชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง นำโดยศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี และรองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ และภายใต้การสนับสนุนของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม ได้พบปะหารือกันถึงแนวคิดเศรษฐศาสตร์ทางเลือกเรื่อง "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" (Gross National Happiness หรือ GNH) ซึ่งประเทศภูฏานเป็นผู้นำเสนอ โดยจะมีการหารือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมไทยหันมาสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง

    "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" หรือ GNH เป็นแนวความคิดใหม่ในทางเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro Economics) ซึ่งตั้งอยู่บนฐานคิดของพุทธศาสนา มีความแตกต่างอย่างเด่นชัดกับ "ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ" (Gross National Product หรือ GNP) อันเป็นแนวคิดเก่าของเศรษฐศาสตร์ตะวันตกหรือเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ปัจจุบันแนวคิดเรื่อง "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล

    "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" หรือ GNH ได้รับการประกาศเป็นครั้งแรกโดยกษัตริย์จิกมี ชิงเย วังชุก (King Jigme Singye Wangchuck) แห่งราชอาณาจักรภูฏาน (Bhutan) ในปี พ.ศ.2515 แนวคิดเรื่อง "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า ความสุขคือเป้าหมายหรือความต้องการสูงสุดในชีวิตของมนุษย์แต่ละคน ถ้าการพัฒนาประเทศจะเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางแล้ว การพัฒนาก็ควรจะนำไปสู่การบรรลุความพึงพอใจของมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

    เสาหลักของ "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" มี 4 ประการคือ (1) การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืนและเสมอภาค (2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) การรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรม และ (4) การส่งเสริมการปกครองที่ดี ในการนำเสนอแนวคิดเรื่อง "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" นั้น กษัตริย์วังชุกมิได้ทรงนำเสนอแต่เพียงทฤษฎีเท่านั้น แต่พระองค์ได้ทรงแสดงออกในเชิงปฏิบัติทางนโยบาย โดยมีราชอาณาจักรภูฏานเป็นแบบอย่างที่สำคัญให้แก่โลก

    เสาหลักข้อที่หนึ่ง "การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืนและเสมอภาค" นั้นมิได้ปฏิเสธตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจแบบตะวันตกแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นจะต้องกระทำไปตามแนว "ทางสายกลาง" โดยนำเอาปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมและปัจจัยทางด้านจิตใจในส่วนลึกของประชาชนเข้ามาพิจารณาประกอบด้วย เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจนั้นเป็นไปอย่างยั่งยืนและเสมอภาค บนพื้นฐานของสังคมที่เคารพประชาชนและวัฒนธรรมของตนเอง

    ถ้าการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นทำให้คนรวยรวยขึ้น คนจนจนลง การเข้าถึงทรัพยากรของประชาชนเป็นไปอย่างไม่เสมอภาค การพัฒนานั้นไม่สอดคล้องกับหลัก "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" หรือถ้าการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นเพื่อมุ่งประโยชน์ของคนปัจจุบันเป็นหลัก มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง โดยมิได้คำนึงถึงอนาคตระยะยาวของคนในรุ่นต่อๆ ไป การพัฒนานั้นไม่สอดคล้องกับหลัก "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" หลักการข้อนี้ภูฏานได้แสดงให้โลกเห็นเป็นแบบอย่าง โดยประชาชนส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรน้อย แต่มีความสุขในชีวิตมาก เป็นระบบเศรษฐกิจแบบ "พอเพียง"

    เสาหลักข้อที่สอง "การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" ให้หลักประกันที่ว่า การพัฒนาใดๆ ไม่ว่าจะมาจากรัฐบาล หรือภาคเอกชน หรือประเพณีท้องถิ่น หรือจากปัจเจกบุคคล จะต้องไม่ทำลายความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ชาวโลกจำเป็นจะต้องรับรู้ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้มีสถานะเป็น "ชีวภาพที่อาจตายได้" (mortal organism) จำเป็นจะต้องได้รับการบำรุงเลี้ยงและปกป้อง ภูฏานได้รับการยกย่องจากสหประชาชาติว่า เป็นประเทศแนวหน้าในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีพื้นที่ป่ามากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ประเทศ และมีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ในระดับสูง

    ภูฏานเป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย สภาพอากาศหนาวเย็นเป็นส่วนใหญ่ เมื่อโลกกำลังเผชิญกับสภาวะโลกร้อน (global warming) อันเนื่องมาจากวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ภูฏานก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นเดียวกัน โดยเมื่อโลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมาถึงจุดหนึ่งน้ำแข็งบนภูเขาก็จะถล่มลงมา บางครั้งพัดพาหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเชิงเขาหายไปทั้งหมู่บ้าน สภาวะโลกร้อนจึงคุกคามทุกประเทศในโลกนี้ ภูฏานแม้จะเป็นเพียงประเทศเล็กแต่ก็กำลังกล่าวขานกับชาวโลกให้ตระหนักถึงภัยจากสภาวะโลกร้อน และเป็นแบบอย่างของการแก้ไขปัญหา

    เสาหลักข้อที่สาม "การรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรม" เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในยุคปัจจุบัน เพราะคุณค่าของมนุษย์ เช่น ความเมตตากรุณา ความมีน้ำใจ ความอ่อนโยน ความเสียสละ ความอ่อนน้อมถ่อมตน การรู้จักให้อภัย การรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเอง เป็นต้น กำลังถูกกัดกร่อนจากโลภจริตหรือความโลภ อันเนื่องมาจากลัทธิบริโภคนิยมที่กำลังครอบงำโลกในขณะนี้ อันที่จริงแล้วคุณค่ามนุษย์ดังกล่าว เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้สังคมมีความหมาย มีความเอื้ออาทรต่อกัน และทำให้สังคมสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

    ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในภูฏานยังคงแต่งกายตามแบบประเพณีดั้งเดิม นับตั้งแต่กษัตริย์ นักการเมือง ข้าราชการ ตลอดจนถึงประชาชนโดยทั่วไป (เครื่องแต่งกายเป็นแบบเดียวกับเครื่องทรงของเจ้าชายจิกมี วังชุก ที่เสด็จเยือนไทยเมื่อเร็วๆ นี้ จะแตกต่างกันก็แต่โดยสีของผ้าคลุมบ่าเท่านั้นที่บ่งบอกถึงสถานะทางสังคม) สถาปัตยกรรมในภูฏานมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น "ซอง" (Dzong) อันเป็นที่ตั้งของทั้งวัด ปราสาทราชวัง และที่ทำการรัฐในอาณาบริเวณเดียวกัน หรือแม้แต่บ้านเรือนของสามัญชนก็คงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไว้

    ในเทศกาลวันสำคัญทางพุทธศาสนา ประชาชนจำนวนมากจะมารวมตัวกันที่ "ซอง" เพื่อร่วมงานเฉลิมฉลอง โดยมีพระภิกษุเป็นผู้ที่ประกอบพิธีกรรม แต่งกายร่ายรำระบำหน้ากากต่างๆ และขับร้องประโคมดนตรีพื้นบ้าน เพื่อขับไล่ปีศาจร้ายและเพื่อความเป็นสิริมงคล ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน (Vajrayana) หรือตันตระ (Tantra) ในภูฏาน การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด ทำให้ภูฏานมีเสน่ห์ดึงดูดใจชาวโลก จนต้องจำกัดนักท่องเที่ยวในแต่ละปี เพื่อมิให้ประเทศต้องเข้าสู่วังวนของกระแสโลกาภิวัตน์

    เสาหลักข้อที่สี่ "การส่งเสริมการปกครองที่ดี" หรือ "ธรรมาภิบาล" (Good Governance) เป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดในการนำพาประชาชนไปสู่ "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" ประเทศทั้งหลายในโลกจะโดยเต็มใจหรือไม่ก็ตาม กำลังถูกแรงกดดันทั้งจากประชาชนท้องถิ่นและชุมชนระหว่างประเทศ ให้เข้าสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยหรือ "ธรรมาภิบาล" (การปกครองที่ดี)

    แม้ว่าภูฏานยังคงอยู่ใต้ระบอบราชาธิปไตย แต่กษัตริย์วังชุกทรงโปรดให้ร่างรัฐธรรมนูญและทำประชาพิจารณ์ ถ้ามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามกำหนดในปีหน้า จะทำให้ภูฏานเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างสันติ ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กษัตริย์องค์ปัจจุบันทรงประกาศจะสละราชสมบัติ เพื่อให้เจ้าชายจิกมี (องค์ที่เสด็จเยือนไทย) เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญพระองค์แรกต่อไป

    กล่าวโดยสรุป "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" หรือ GNH นับเป็นการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมที่สมดุล โดยตั้งอยู่บนความตระหนักที่ว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์แสวงหาความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้นหลักการของ "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" จึงมุ่งตอบสนองต่อความต้องการอันสูงสุดนี้ของพลเมืองทุกคน โดยภูฏานเป็นผู้ประกาศทฤษฎีและดำเนินนโยบายเป็นแบบอย่างแก่โลกในปัจจุบัน

    การปรึกษาหารือกันถึงเรื่อง "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" ในหมู่นักวิชาการ สื่อมวลชน และชาวพุทธไทยกลุ่มดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อไป โดยการพบปะกันครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม 2549 นี้

    *** ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๑๐๓๘๒. คอลัมน์หน้าต่างความจริง, หน้า ๖.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. ซอฮาบีย์

    ซอฮาบีย์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +3
    <CENTER>ความสุขมวลรวมประชาชาติกับเศรษฐกิจพอเพียง

    </CENTER>


    ความสุขมวลรวม หรือ สังคมอยู่เย็นเป็นสุข
    ดร เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์
    ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการพัฒนานโยบาย
    สำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ

    : นโยบายสาธารณะที่คนไทยต้องร่วมกันสร้าง(สพน. )
    ความสุขมวลรวมประชาชาติ กับ เศรษฐกิจพอเพียง​
    การพัฒนาทั่วโลกในปัจจุบัน ต้องการความเอาใจใส่ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้าน สิ่งแวดล้อม สันติภาพ
    ความยุติธรรม และสภาพทางจิตใจ ดังนั้นเป้าหมายการพัฒนาของเราจึงต้องไม่มุ่งไปที่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
    เพียงอย่างเดียว ปัญหาสังคมหลาย ๆ อย่างที่เพิ่มขึ้น เช่น รายได้ที่ไม่เท่าเทียม การเน้นความรุนแรง ความเครียด
    และความทุกข์รูปแบบต่าง ๆ ทำให้โลกต้องหาแนวคิดการพัฒนาและการวัดการพัฒนาที่มีความหมายมากขึ้น
    การพัฒนายุคใหม่ในทั่วโลกจำเป็นต้องดำเนินอย่างเป็นองค์รวม และมีความสมดุล จึงจะสามารถสร้างสังคมใน
    อนาคตที่มีความสุขและมีสันติภาพได้ นี่คือสาเหตุที่ทำให้นักวิชาการ และนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก ต้อง
    สำรวจตรวจสอบหลักการ ความสุขมวลรวมประชาชาติ กันอย่างจริงจัง
    สาระสำคัญความท้าทายของ
    ประเทศไทยน่าจะใช้คำว่า
    ประชาชาติ
    การเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนา ทั้งในกรอบงานการพัฒนาและเป้าหมายการพัฒนา โดยมุ่งหมายให้
    ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และทำให้ประชาชนมีความสุข จึงไม่วัดการพัฒนากันอย่างแคบ ๆ ที่
    ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ในระยะสั้นที่แสดงด้วยผลผลิตมวลรวมประชาชาติ
    ความสุขมวลรวมประชาชาติ
    และนี่คือจุดเริ่มของการพัฒนาที่มีดุลภาพอย่างแท้จริง เพราะการพัฒนานี้คำนึงถึงต้นทุนหลาย ๆ ด้าน ทั้ง
    ทรัพยากรธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม และทุนมนุษย์เอง การพัฒนาเช่นนี้สะท้อนมาตรการ การพัฒนาที่ยั่งยืน
    สะท้อนคุณภาพการพัฒนาที่จะส่งผลต่อคนรุ่นต่อ ๆ ไปในระยะยาว รวมถึงสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของ
    ประชาชน ตลอดจนเงื่อนไขที่จะทำให้ทั้งปัจเจกบุคคลและสังคมมีความสุข
    ความสุขมวลรวมประชาชาติ เป็นวิถีที่จะปรับปรุงความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ แน่นอน การ
    สร้างมาตรวัดการพัฒนาแบบที่ว่านี้ย่อมมีความยากลำบากอยู่บ้าง เพราะความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งในแง่ภววิสัย
    และอัตวิสัย เราคงไม่สามารถวัดทุกปัจจัยที่ทำให้เกิดความสุข เราจึงต้องนิยามความสุขตามมิติที่วัดได้ และ
    คัดเลือกเงื่อนไขเชิงปริมาณ ที่สามารถกำหนดความสุขของมนุษย์ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด
    แนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฐาน ดำเนินตามทัศนะการพัฒนาของชาวพุทธ ซึ่งให้คุณค่า
    แก่ความสมดุลระหว่างวัตถุกับจิตใจ โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี
    ของประชาชนนั้น ยึดเสาหลักแห่งการพัฒนาสี่ประการ คือ
    และสร้างความยั่งยืน
    เงื่อนไขสำคัญที่สุด
    ความสุขมวลรวมประชาชาติ เป็นหนทางสร้างสุข และสร้างความก้าวหน้าให้แก่มนุษย์ ในแง่ที่ทำให้
    มนุษย์มีความสุขความพอใจทางวัตถุ ทางจิตวิญญาณ ทางวัฒนธรรม และอารมณ์ไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด
    หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดความสุขทางวัตถุไว้ต่ำสุดแล้วค่อย ๆ ขยับขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ ดังนี้
    ธรรมาภิบาล การศึกษา วัฒนธรรม การสื่อสาร การมีส่วนร่วมทางสังคม การอนุรักษ์ธรรมชาติ สวัสดิการสังคม
    การอนุรักษ์วัฒนธรรม และจิตว่าง
    แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศไทย ซึ่งมีที่มาจากปรัชญาพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ก็คำนึงถึง
    ความเป็นอยู่อย่างมีดุลยภาพของประชาชน ตลอดจนดุลยภาพในพฤติกรรมของมนุษย์ ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
    คือการสร้างหลักประกันให้แก่ชีวิตในระยะยาว และมุ่งหวังสร้างสังคมที่มีความสุข แนวคิดนี้รวมถึงการสร้าง
    ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ระบบสวัสดิการและการคุ้มครองสังคม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และธรรมาภิ
    บาล จึงเป็นหลักการที่ก่อให้เกิดความสุขมวลรวมเช่นกัน ดังนั้นในทางการติดตามผลจากการพัฒนา เราจึงควร
    พัฒนา ตัวชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียง ในทำนองเดียวกันกับ ความสุขมวลรวมประชาชาติ
    ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี ได้เคยกล่าวปาฐกถาในการสัมมนานานาชาติว่าด้วยความสุขมวล
    รวมประชาชาติ ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
    จากความเป็นอยู่ที่ดีสี่ด้าน ซึ่งต้องบูรณาการกัน​
    ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (จีเอ็นเอช) ที่ใช้เรียกในภูฐาน หรือที่ในความสุขมวลรวมภายในประเทศ” (จีดีเอช) ที่มีต่อแนวคิด ผลผลิตมวลรวมของ(จีดีพี) อย่างที่เคยใช้กันนั้น หาใช่เป็นเพียงการนำแนวคิดใหม่มาแทนที่แนวคิดเก่าเท่านั้น แต่เป็น(จีดีพี) เพียงเท่านั้น แนวคิด(จีเอ็นเอช) เป็นการพิจารณาการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ด้วยวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล1) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีความยุติธรรม2) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) อนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรม และ 4) ธรรมาภิบาล ซึ่งถือเป็น(เอไอที) กรุงเทพ เมื่อเดือนกันยายน 2547 ว่า ความสุขอาจเกิด
    . ​
    ทางกาย รวมถึง สุขภาพอนามัย ความพอเพียงทางเศรษฐกิจ และระบบนิเวศที่ดี
    . ​
    ทางจิตใจ รวมถึง การมีความเครียดน้อย ความมีสติ และ สุขภาพจิตดี
    .
    พัฒนาด้านวัฒนธรรมและสันติภาพ​
    ทางสังคม รวมถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดีทั้งในครอบครัว ในชุมชน และในสังคม รวมถึงการ
    .
    ดังนั้นดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมประชาชาติ จึงควรพัฒนาภายในกรอบการพัฒนาอย่างบูรณาการนี้
    เพื่อเป็นความสุขบนพื้นฐานความสุขร่วมกันอย่างแท้จริงของคนในสังคมอันจะเป็นหนทางในการพัฒนาอย่าง
    ยั่งยืนต่อไป
    ดัชนีชี้วัดความสุขที่วัดได้อาจประกอบด้วยองค์ประกอบหลายด้าน อาทิ ด้าน เศรษฐกิจ​
    ทางจิตวิญญาณ รวมถึง ความเมตตา สัมมาทิฏฐิ และ เอาตนเป็นศูนย์กลางให้น้อยลง(พอเพียง)
    คุณภาพชีวิตด้านการศึกษา สาธารณสุข และ การทำงาน ด้านครอบดรัว ชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
    รวมทั้งการเข้าถึงศาสนา และการมีธรรมาภิบาล ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค
    ดังนั้นการดำเนินนโยบายสาธารณะที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนมีความสุขหรือสร้างแรงจูงใจไปใน
    แนวทางที่จะทำให้ความสุขโดยรวมของสังคมเพิ่มขึ้น จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลควรทำในการสร้างมาตรการที่
    เอื้ออำนวยให้สังคมส่วนรวมมีความสุขมากขึ้น และลดผลกระทบเชิงลบจากการพัฒนา ขณะที่คนทุกคนใน
    สังคมต้องร่วมกันปฎิบัติให้เกิดผลสำเร็จขึ้นได้จริง เพราะเป็นนโยบายสาธารณะของคนไทยทุกคน โดย
    ประชาชนเอง และเพื่อประโยชน์สุขของคนไทยทุกคน​
    ###​
    หมายเหตุ​
    ความแตกต่างของคำว่าความสุขมวลรวมประชาติ ​
    (จีเอ็นเอช) และความสุขมวลรวมภายในประเทศ (จีดีเอช)
    ความสุขมวลรวมประชาติ
    หมายถึงความสุขมวลรวมของคนในชาติ ในกรณีของประเทศไทยจะหมายถึงความสุขมวลรวมของคนไทย ซึ่ง
    รวมถึงคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศด้วย
    ความสุขมวลรวมภายในประเทศ
    (GDH)
    ของคนที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงคนต่างชาติที่อยู่ในประเทศด้วย​
    (จีเอ็นเอช) มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Gross National Happiness (GNH) ซึ่ง(จีดีเอช) มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Gross Domestic Happinessซึ่งหมายถึงความสุขมวลรวมของคนในประเทศ ในกรณีของประเทศไทยจะหมายถึงความสุขมวลรวม


    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=1938
     
  13. humanbeing

    humanbeing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +214
    ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
     
  14. ซอฮาบีย์

    ซอฮาบีย์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +3
    [​IMG]
    [​IMG]


    ผู้นำของโลกท่านหนึ่งประกาศ "เศรษฐกิจพอเพียง"
    ผู้นำของโลกอีกท่านหนึ่งก็ประกาศ "ความสุขมวลรวม"
     
  15. ซอฮาบีย์

    ซอฮาบีย์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +3
    [​IMG]


    โลกร้อนเกินไปด้วย "ทุนนิยม" และ "วัตถุนิยม" ถึงเวลาเปลี่ยน!
     
  16. sutanee

    sutanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +3,248
    เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยเพราะการมีเงินมีความเจริญทางวัตถุไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง
    ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่รู้จักพอเพียง
    รับรองได้ด้วยประสบการณ์ของตนเอง
    อดีตเพราะเหตุที่สุรุ่ยสุร่ายใจดีขี้ใจอ่อน
    ทำให้เป็นหนี้มากมาย
    แต่ปัจจุบันกลับไม่ทุกข์เท่าตอนที่มีเงินใช้คล่องมือ
    เพราะเข้าใจธรรมเป็นเพราะไม่พอเพียง
    แต่ตอนนี้รู้แล้วแต่ไม่ทุกข์ด้วยธรรม
     
  17. Wizaro

    Wizaro Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +88
    สาธุ..ขอโมทนาบุญกับกำลังสำคัญเหล่าพุทธภูมิทุก ๆ ท่าน

    ๑๑ มกราคมนี้..ร่วมเททองหล่อสมเด็จองค์ปฐมทรงเครื่องพระจักรพรรดิ ปางพระนิพพานวิสุทธิเทพ ภาคประทานพร
    หนึ่งเดียวในโลก
    http://www.tonkwamdee.com/forum/index.php?topic=4.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2009
  18. walaphako

    walaphako ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +1,599
    สุดท้ายระบบทุนนิยม ที่คนรวยก็รวยล้นฟ้า คนจน ก็จนต่อไป ความฟุ้งเฟ้อ ที่พร่ำเพ้อแต่ทรัพย์ภายนอก เอาสิ่งภายนอกเป็นตัววัดความเจริญ สุดท้าย รวยเป็นแสนล้าน ยังไม่พอ ตายไปก้เอาไปไม่ได้ นี่เป็นตัวชี้ให้เห็นว่าอนิจจังไม่เที่ยง คุณจิตนิมิตร เตือนเราได้ดีมากเลยว่า ไม่ต้องไปทุกข์กับเศรษฐกิจให้มาก ให้คิดเสียว่า รวยใจ ไม่ใช่รวยทรัพย์
     
  19. kwamawauyo

    kwamawauyo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    499
    ค่าพลัง:
    +64
    อนุโมทนาสาธุคะ สำหรับข่าวสารดีๆ แต่ว่าอภิญญานี้ดิฉันคงจะปฏิบัติไม่ได้แน่เลยคะ
     
  20. หล่อลากดิน

    หล่อลากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,201
    ค่าพลัง:
    +235
    ใครจะมีร้อยมือพันกร ผมไม่ได้สนใจสักเท่าไหร่หรอก

    แต่ผมกำลังมองดู ศิวะนาฏ ว่าจะร่ายรำใน ท่าไหน

    ร่ายดีก็ดีไป ร่ายไม่ดีก็ตัวใครตัวมันก็แล้วกัน .. ดูสิ !
     

แชร์หน้านี้

Loading...