ปาฏิหาริย์แห่งธรรม เพื่อละวางอัตตาตัวตน โดยอาจารย์สุดใจ ชื่นสำนวน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย MOUNTAIN, 25 ธันวาคม 2008.

  1. horasarn

    horasarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +3,255
    พุทธองค์สอนให้ละอัตตาไม่ใช่ให้มีอัตตานะครับ ก็เพราะเรามีอัตตานั่นแหละจึงได้ทุกข์แบบนี้แหละครับ ถามตัวเองว่าทุกข์ไหม
     
  2. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    สาธุ ขออนุโมทนาครับ
     
  3. Digital

    Digital เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +612
    ตอนแรกก็ต้องยึดบุญกุศล ยึดคุณพระรัตนตรัย ยึดทาน ศีล ภาวนา ฌาณสมาบัติ ยึดครูบาอาจารย์ ฯลฯ ไปก่อน และในที่สุดแล้วก็ต้องละหมด เมื่อละหมดแล้ว ก็จึงไม่มีอัตตา

    ถ้าละอัตตาได้ ความทุกข์ก็ไม่มีนะคะ แต่เพราะการที่ยังมีอุปาทานยึดว่ามีอัตตา ตัวเรา ของเราอยู่ จึงไม่สามารถออกจากทุกข์ได้อย่างแท้จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2009
  4. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สุดใจเขากะลา [​IMG]

    ความรู้ ความเข้าใจ การคาดเดา มิอาจกำจัดทุกข์ได้ หากไม่ปฏิบัติจนเห็นจริง

    เพราะหนังสือธรรมะ อ่านกันมามากมาย หลายร้อยหลายพันเล่ม ก็แค่อยู่ในขั้น ความเข้าใจเท่านั้น แต่หากยังไม่เห็นจริงในสภาวะธรรมที่หนังสือธรรมะเล่มต่าง ๆ ได้กล่าวไว้ ก็ไม่สามารถเบาบางจากทุกข์ได้

    จนกว่าจะปฏิบัติ จน "เห็น" จริงนั่นแหละ จึงจะสามารถปล่อยวาง ละการยึดมั่นถือมั่นได้จริง และเป็นทางเดียวที่จะออกจากวัฏฏสงสารได้จริง

    เพียงเข้าใจ แล้วยังไม่ "เห็น" จริงในสภาวะธรรมเหล่านั้น ความทุกข์ก็ยังคงมีอยู่ต่อไป ยังเวียนวนหลงกลของอวิชชาอยู่ต่อไป ความเบาบางจางคลายจากการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้าก็จะไม่เกิดขึ้น จะมีแต่ยึด ยึด ยึด และยึดเพิ่มขึ้น ยึดมากขึ้นไปเรื่อย ๆ นั่นเอง

    แค่มีความเห็นผิด นิดเดียว ระยะทางจึงยาวไกลนัก

    วิชชา คือ ความเห็นที่ถูกตรงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่ตัวตนของตน เป็นของธรรมชาติ และเพราะไปเข้าใจผิดว่าธรรมชาติเป็นตัวเรา เป็นของเรา จึงเข้าไปยึดถือ บังคับบัญชาอยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วไม่เป็นดังหวัง จึงมีแต่ทุกข์ กับทุกข์ เพราะความเห็นผิดนั่นเอง เมื่อเห็นถูกตรงว่าขันธ์ห้าไม่ใช่ตัวใครของใคร เมื่อรู้ว่าไม่ใช่ ก็จะจางคลายจากการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้าไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายคืนสู่ความเป็นธรรมชาติที่ไม่ได้เป็นตัวใครของใครนั่นเอง

    อวิชชา คือความเห็นผิด เห็นว่าขันธ์ห้านี้ เป็นตัวตน เป็นของตน และทุกสรรพสิ่งเป็นของของตน จึงมีอุปาทานในขันธ์ห้า ว่าเป็นตัวเรา ตัวเขา จึงมุ่งที่จะยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตน และพัฒนาให้มีความยึดมั่นมากขึ้นไปอีก

    เพราะมีความเห็นผิดนิดเดียว เห็นว่าเป็นตัวตน เป็นของตน คราวนี้ ก็ต้องหาทางออกจากตัวตน ปล่อยวางตัวตน หาทางที่จะพัฒนาจิตให้เข้าสู่ความว่าง ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น

    จึงยังต้องเหนื่อย จึงยังต้องเดินทางกันอย่างยาวไกลในสังสารวัฏ เพื่อหาทางละวางตัวตน หาทางเอาตัวตนออก

    ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เพราะเข้าใจผิดนิดเดียวว่า ขันธ์ห้านี้มันเป็นตัวเรา มันเป็นของเรา จึงเฝ้าเพียรที่จะดูแล ประคับประคอง และปฏิบัติธรรมทุกอย่างก็เพื่อหาทางออกจากขันธ์ห้านั่นเอง

    แต่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ในความจริงของธรรมชาติ แล้วนำมาสั่งสอน นำมาบอกแล้วว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่ได้เป็นตัวตนทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติล้วน ๆ ที่มันเปลี่ยนแปลงไป มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่มันผลักดันอยู่ตลอดเวลา มันจึงไม่เที่ยง และมันก็มีความทุกข์มีความแปรปรวนในตัวของมันเองอยู่แล้ว และเพราะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่ใช่ของตนแล้วมันบังคับบัญชาไม่ได้ มันจึงกลายเป็นไปยึดทุกข์ของธรรมชาติมาเป็นทุกข์ของตนเอง จึงเกิดตัวตนของผู้ทุกข์ ผู้สุขนั่นเอง

    แค่ไม่ไปอุปาทานว่าขันธ์ห้า เป็นตัวเรา ของเรา แล้วละจากอุปาทานเหล่านั้นเสีย ก็ออกจากวัฏฏสงสารกันได้แล้ว

    แค่ "เห็นถูก" ก็จบกัน ลาจากกัน ปิดฉากการเวียนว่ายตายเกิดเสียที

    หาก "เห็นผิด" ก็ยังคงต้องเวียนวน หลงกลในวัฏฏะสงสาร ยังต้องเหน็ดเหนื่อยกันอีกนานแสนนาน ในวัฏฏสงสารอันยาวไกล

    ขออนุโมทนา ให้ทุกท่านค้นพบเส้นทางที่ถูกตรง ที่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงวางแนวทางไว้ ให้มุ่งตรงต่อการละวางอุปาทานขันธ์ห้าเป็นหลัก เพื่อออกจากวัฏฏสงสารในชาติปัจจุบันนี้กันทุก ๆ ท่านเทอญ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    .
     
  5. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    ใครถูกกับโอสถใดก็พึงบริโภคโอสถนั้น ให้ถึงซึ่งความไร้ซึ่งกิเลสตันหาพาสู่พระนิพพานเทอญ จุดหมายเดียวกันจ้า
     
  6. เทพบัญชา

    เทพบัญชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2006
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +212
    สุขทุกข์อยู่ที่ใจ
     
  7. OGypsoO

    OGypsoO สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +6
    ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ ขอบคุณมาก ๆ ครับ จะติดตามต่อๆไป

    แค่เรา คิดดี พูดดี แล้วก็ ทำดี เท่านี้ ก็พอแล้วครับ *-*
     
  8. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    อ้างอิง:

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ สุดใจเขากะลา [​IMG]
    ขออนุโมทนากับคุณ kingkaewmath เป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ที่ได้ค้นพบต้นตอของความทุกข์ คือ อุปาทานขันธ์ห้า

    แล้วปฏิบัติเพื่อละการยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ห้าเหล่านั้น

    ผลจากการปฏิบัติ ก็จะพบว่าความทุกข์ลดน้อยลง

    เพราะความทุกข์เหล่านั้นเกิดจาก อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า เห็นว่าเป็นตัวตน จึงมีเรา มีเขา มีสุข มีทุกข์ ตามการยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง

    เมื่อไม่มีอุปาทาน ก็จะไม่มีใครสุข ไม่มีใครทุกข์

    แต่การเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ในขันธ์ห้า ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ตามปกติ อารมณ์ชอบใจ พอใจ อารมณ์เบื่อหน่าย เศร้าหมองหดหู่ วิตกกังวล ยังคงมีให้เห็นในเวทนาของขันธ์ห้า

    แต่เมื่อเห็นว่ามันเป็นเพียงกลไก ที่ต้องแสดงไปตามเหตุปัจจัยของขันธ์ห้า อย่างนั้น อย่างนั้น เป็นธรรมดาแล้ว

    ก็จะไม่เข้าไปแทรกแซง เข้าไปเปลี่ยนแปลง เข้าไปบังคับบัญชาให้มันเลิกเบื่อหน่าย เลิกหดหู่ เลิกเศร้าหมอง เลิกดีใจ เลิกเสียใจ

    มีแต่จะคอยดู คอยมอง คอยสังเกตุอารมณ์เหล่านั้นที่เกิดขึ้นในขันธ์ห้า ณ ขณะอย่างเงียบ ๆ ด้วยความเข้าใจ แต่ไม่เข้าไปแตะต้อง ไม่เข้าไปบังคับให้มันเป็นอย่างโน้นอย่างนี้

    จึงมีสติในการตามดู ตามรู้เท่าทันในอารมณ์เหล่านั้น ในกลไกของขันธ์ห้าเหล่านั้น เมื่อเห็นว่ามันกำลังคิด กำลังร้อนรน กำลังกังวล กำลังห่อเหี่ยวใจ

    เมื่อดูไป แล้วจะเห็นว่าขันธ์ห้า มันแก้ปัญหาของมันได้ โดยใช้กลไกในร่างกาย ในขันธ์ห้าของมันนั่นแหละ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันแก้ปัญหาที่ขันธ์ห้ามันก่อขึ้นมา

    มันทำมาอย่างนี้หลายภพหลายชาติ ที่ไม่หลุดพ้นกันสักทีก็เพราะไปมีอุปาทานว่าเป็นตัวเราผู้ทำ ผู้สุข ผู้ทุกข์ หรือแม้แต่ในชาตินี้ มันก็ทำอย่างนี้ของมันเองมาหลายปีแล้ว เท่าที่เราเกิดมา มันสร้างปัญหา มันแก้ปัญหา มาทำมาหากิน มันสุข มันทุกข์ ด้วยกลไกของมันเองมาตลอด

    แต่ด้วยความไม่รู้ อุปาทานว่ามีตัวเราอยู่ในขันธ์ห้า จึงไปรับภาระ ไปแบก ไปยึด ไปร่วมสุข ร่วมทุกข์กับมัน

    ทั้ง ๆ ที่ ถ้าถอยออกมาดูขันธ์ห้ามันทำงานไปตามกลไกของมัน ออกมาจากการยึดมั่นว่าเป็นตัวเราแล้ว มันก็ยังปรุงสุข ปรุงทุกข์ของมันได้เองอย่างเดิม แม้ไม่มีใครไปสนใจร่วมสุข ร่วมทุกข์ด้วยก็ตาม

    นี่เอง ที่เมื่อมีเราในขันธ์ห้า ก็จะมีเราเกาะไปสุข ไปทุกข์ ตามกลไกที่มันทำของมันเอง จึงต้องมีเราผู้ขึ้นลงไปตามอารมณ์ของการปรุงตามเหตุปัจจัยที่ขันธ์ห้ามันปรุงขึ้นมา กระเด็นกระดอนไปตามอารมณ์เหล่านั้น เพราะความไม่รู้ไปยึดไปเกาะมันนั่นเอง

    เราจึงต้องมาเรียนรู้ มาทำความรู้จัก มูลเหตุแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า ตัวอุปาทาน กันให้มากกว่านี้สักหน่อยแล้ว

    จึงจะออกมาเป็นผู้ดูได้ และออกมาจากอุปาทานขันธ์ห้า ด้วยการเห็นว่า มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง


    ความหมายของ ..... อุปาทาน

    อุปาทาน

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา







    อุปาทาน คือ การยึดมั่นถือมั่นทางจิตใจ เช่น
    • ยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ คือร่างกายและจิตใจรวมกันว่าเป็น"ตัวตน" และยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ถูกใจ อันมาเกี่ยวข้องด้วยว่าเป็น"ของตน"
    • หรือที่ละเอียดลงไปกว่านั้นก็คือยึดถือจิตส่วนหนึ่งว่าเป็น"ตัวเรา" แล้วยึดถือเอารูปร่างกาย ความรู้สึก ความจำ และความนึกคิด ๔ อย่างนี้ว่าเป็น"ของเรา"
    พุทธภาษิตมีอยู่ว่า "เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว เบญจขันธ์ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทานนั่นแหละเป็นตัวทุกข์"

    ดังนั้น เบญจขันธ์ที่ไม่มีอุปาทานครอบงำนั้นหาเป็นทุกข์ไม่ ฉะนั้น คำว่าบริสุทธิ์หรือหลุดพ้นจึงหมายถึง การหลุดพ้นจากอุปาทานว่า"ตัวเรา" ว่า"ของเรา"นี้โดยตรง ดังมีพุทธภาษิตว่า "คนทั้งหลายย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน"



    อ้างอิงจาก

    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...B8%B2%E0%B8%99





    สมาธิภาวนา

    ผู้ชมการแข่งขัน
    ย่อมจะเห็นการต่อสู้ที่แท้จริง
    ผู้ดูย่อมเห็น
    ผู้มองไปข้างหน้า หรือข้างหลัง
    ย่อมไม่เห็นตัวเอง


    จากหนังสือธรรมะ

    ฝนประปราย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    ขอให้ความรัก ความเมตตา ความสุขสงบ จงบังเกิดแก่กลุ่มชนทุกหมู่เหล่า
    และขอให้ค้นพบสัจธรรมความจริงแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้โดยทั่วกันเทอญ

    [VDO]http://www.freewebs.com/madunmusic04/April16KwamRak.wma [/VDO]
     
  10. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    ^0^ หวัดดีคับป๋าเม้าเทน นานๆจะเห็นป๋ามาปรากฏห้องนี้ส่วนใหญ่จะเห็นอยู่ห้องพลังจิต อิอิ หรือว่าผมไม่ค่อยเห็นป๋า อนุโมทนาครับ ได้ความรู้แนวทาง เยอะแยะเลยครับ
    สาธุ สาธุ
     
  11. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    แนวทางความรู้นั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่า เราจะสามารถนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่ชีวิตและจิตวิญญาณ หรือไม่

    ขออนุโมทนากับคุณmakoto12 ด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...