จงทำความเข้าใจ ในพระไตรปิฎก เขียนเองโดย telwada

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย telwada, 22 มีนาคม 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้าเข้ามาเสวนา และเผยแพร่ ธรรมะ และการปฏิบัติ ในเวบธรรมะต่าง นาน หลายปี พบเห็น บุคคล และกลุ่มบุคคล บางกลุ่ม ที่ชอบนำเอา ความในพระไตรปิฎกมากล่าวอ้าง โดยความรู้เท่าไม่ถึงกาล และด้วยความอยากที่แสดงภูมิความรู้ของตัวตน แห่งเขาผู้นั้น
    พระไตรปิฎก แบ่งเป็น 3 ตะกร้า คือ

    ๑. พระวินัย ปิฎก คือ คัมภีร์ที่รวบรวมเอา ข้อห้าม ข้อละเว้น ข้อควรปฏิบัติ ในการครองเรือนเป็นภิกษุ หรือ ในการครองเรือน เป็นคฤหัสถ์
    อันได้แก่
    อกุศลกรรมบท หมายถึง ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ ก) กรรม ๓ ได้แก่ ๑) ปาณาติบาต การทำลายชีวิต ๒) อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓) กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ข) วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔) มุสาวาท พูดเท็จ ๕) ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗) สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ ค) มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘) อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙) พยาบาท คิดร้ายเขา ๑๐) มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เทียบ กุศลกรรมบถ

    กุศลกรรมบท หมายถึง ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือก.กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต ๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามข.วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ๕.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ ๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อค.มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘.อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙.อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

    วินัยสำหรับ ภิกษุ คือ ศีล ๒๒๗ ข้อ
    วินัย สำหรับ ภิกษุณี คือ ศีล ๓๑๑ ข้อ
    ศีล ๕, ศีล,๘, ศีล ๑๐


    ๒. สุตตันตปิฎก คือ คัมภีร์ที่บรรลุพุทธพจน์ อันได้เล่าต่อๆกันเนื่องจากได้ฟังจากพระโอษฐ์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นคำสอนหรือคำอธิบายในรายละเอียดของหลักธรรมต่างๆ สำหรับ ภิกษุ ผู้มีสมองสติปัญญาน้อย หรือ ปานกลาง

    ๓. อภิธรรม ปิฎก หมายถึง หมวดแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา ฝ่ายปรมัตถธรรม ว่าด้วยจิต เจตสิก รูป นิพพาน (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก) อภิธรรมปิฎกนี้ ความจริงแล้ว เป็นการอธิบายในรายละเอียด แห่ง ขันธ์ ๕ หมายความว่า ในขันธ์ ๕ คือ จิตวิญญาณ,รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร(การปรุงแต่ง) ล้วนต้องประกอบไปด้วย จิต เจตสิก รูป นิพพาน หรือจะเรียกว่า เป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง หรือเป็นผล แห่งการได้สัมผัส รับรู้ เรียนรู้ หรือศึกษา ในวิชชาการด้านต่างๆ
    หรือหากจะกล่าว เป็นศัพท์ภาษาในยุคสมัยนี้ ก็คือ หลักวิชา วิทยาศาสตร์ ในทางพุทธศาสนานั่นเอง


    ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้อธิบายขยายความ พระไตรปิฎก เพื่อให้เป็นแนวทางในการศึกษา หาความรู้ และทำความเข้าใจในการสื่อความหมายของข้อความในพระไตรปิฎก เพื่อท่านท้้งหลายจะได้ไม่หลงเข้าใจกันผิดๆ เที่ยวยกเอาวรรค นั่น ตอนนี้ มากล่าว โดยความรู้เท่าไม่ถึงกาล ข้าพเจ้าไม่ได้ห้ามท่านทั้งหลายไม่ให้นำมากล่าว แต่ก่อนที่จะนำมาอวดอ้าง ก็ควรได้ศึกษา พิจารณา และคิดไตร่ตรอง ถึงข้อความนั้นๆว่า เขาสื่อการสอนถึงเรื่องอะไร หมายความว่าอย่างไร ไม่ใช่ยกเอามาอ้าง แบบ อวดอุตริฯ
    ขอให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาเถิด
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
  3. ธาตุ 4

    ธาตุ 4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2009
    โพสต์:
    123
    ค่าพลัง:
    +110
    แน่นอนทีเดียวถ้าคนไทยทุกคนได้ศึกษาหรืออ่านและพิจารณาพระไตรปิฏกทุกคนประเทศไทยคงไม่เดือดร้อน มีความวุ่นวายขนาดนี้ เพราะในพระไตรปิฏกบอกทุกอย่างแก่พุทธศาสนิกชน ทั้งเป็นฆราวาสและภิกษุ แต่ทุกวันนี้คนไทยเราไม่ได้ศึกษาจากพระไตรปิกฏก อย่างแท้จริง ทำให้การนับถือศาสนามั่วซั่วกันหมด จนเป็นกันแบบนี้
     
  4. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    มีกันทุกคนนะครับเรื่องอวดอุตริมนุสธรรม เพราะยังมีมานะทิฏฐิ เป็นสังโยชน์ ตัวร้ายกาจกันอยู่ จึงไม่ต้องเเปลกใจเลย ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เป็นบาปแก่ตัวเอง จึงควรให้แจ้งในธรรมนั้นเสียก่อน แล้วจึงมาบอกกล่าวธรรมนั้นออกไปจึงจะถูกต้องและเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...