ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Pleased, 30 พฤษภาคม 2009.

  1. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,151
    ค่าพลัง:
    +3,821
    สรุปว่าอยากมาทุกรอบ --* ^-^-~
     
  2. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    น้องมิมิรุ่นที่ 2พี่ไปไม่ได้นะจ๊ะ ขอรุ่น3แทน -0-
     
  3. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,151
    ค่าพลัง:
    +3,821
    อิอิ รับทราบ ^^
     
  4. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    กรี๊สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส

    เเม่ไปซื้อ สาหรีสีเเดงให้เเล้ว เย้ เย้ เย้
     
  5. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    คำว่า มหายาน จึงเป็นการเปรียบเทียบหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากกว่าสาวกยาน ในคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ คุรุนาคารชุน ปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้อธิบายความหมายของมหายานไว้ว่า “พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุตติ ความรอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเพื่อตัวเอง ชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย” อันหมายความว่า ฝ่ายสาวกยานมุ่งเพียงความหลุดพ้นเป็นอรหันต์สิ้นกิเลสเฉพาะตน ไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นด้วย แต่ฝ่ายมหายานย่อมมีอุคมคติตรงกันข้าม กล่าวคือ ย่อมมุ่งพุทธภูมิมีปณิธานจะตรัสรู้เป็นพระพุทธะเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมดสิ้น อธิบายว่า พุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปมุ่งแต่อรหัตภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สาวกยาน ส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานย่อมมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้น จึงมีอีกชื่อว่า โพธิสัตวยาน หรือ พุทธยาน

    กล่าวโดยสรุป ยานในพระพุทธศาสนาได้แบ่งออกเป็น 3 (ตามมติฝ่ายมหายาน) คือ
    • สาวกยาน คือยานของพระสาวก ที่มุ่งเพียงอรหัตภูมิ รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
    • ปัจเจกยาน คือยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
    • โพธิสัตวยาน คือยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีน้ำใจกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า 2 ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม

    ที่มา www.buddhamahayan.com
     
  6. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ประกาศ
    ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์กำลังเปิดรับสมัครรุ่นที่ 3/2552

    ประจำเดือนสิงหาคม ในวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2552


    ผู้สนใจ สามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    สำหรับโปรแกรมกิจกรรม ยังคงเหมือนกับรุ่น 2/2552 ครับ
     
  7. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    พี่ภราดรภาพ ดีขึ้นมั้งยังงิ เจอรุ่นแรกไปซะเยอะเลย 555+

    ยังไงจองรุ่น 3 นะพี่ แล้วเจอกัง * -*/
     
  8. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    ผมขอจองรุ่นที่ 3 1 คนครับ

    ขอบคุณครับ
     
  9. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ยินดีต้อนรับ คุณ hastin
    จอง 1 ที่ สำหรับรุ่นที่ 3/2552
    ในวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2552<!-- google_ad_section_end -->

    คนที่ 1 hastin

    ยอดจำนวนที่รับ 20 ท่าน
    จำนวนยอดจองล่าสุด 1 ท่าน
    คงเหลือ 19 ท่าน

    ยังคงสมัครได้อยู่นะครับ

     
  10. ลุงชาลี

    ลุงชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,958
    ค่าพลัง:
    +4,763
    ขอลงชื่อด้วย 1 ที่ขอรับ
     
  11. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,151
    ค่าพลัง:
    +3,821
    รอบสอง รอบ สามหากหนูจะไปอีกได้ป่าวก๊ะ^^
     
  12. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <TABLE class=tborder id=post cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 11:44 PM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right></TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>dhammashare<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Aug 2008
    โพสต์: 50
    ได้ให้อนุโมทนา: 4
    ได้รับอนุโมทนา 236 ครั้ง ใน 44 โพส


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_ style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid">[​IMG] <CENTER>วีดีโออัปเดทใหม่

    </CENTER>พื้นฐานการฝึกสมาธิ เพื่อการผ่อนคลายรักษาสุขภาพกายและจิตโดยองค์รวม

    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>http://vdo.palungjit.org/video/2498/...??์รวม

    http://vdo.palungjit.org/video/2501/...??าธโร </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ยินดีต้อนรับ ลุงชาลี
    จอง 1 ที่ สำหรับรุ่นที่ 3/2552

    ในวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2552<!-- google_ad_section_end -->

    คนที่ 1 hastin

    คนที่ 2 ลุงชาลี

    ยอดจำนวนที่รับ 20 ท่าน
    จำนวนยอดจองล่าสุด 2 ท่าน
    คงเหลือ 18 ท่าน

    ยังคงสมัครได้อยู่นะครับ
     
  14. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ประกาศ
    ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์
    กำลังเปิดรับสมัครรุ่นที่ 3/2552


    ประจำเดือนสิงหาคม ในวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2552


    ผู้สนใจ สามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    สำหรับโปรแกรมกิจกรรม ยังคงเหมือนกับรุ่น 2/2552 ครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  15. จัมโบ้

    จัมโบ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    228
    ค่าพลัง:
    +334
    สมัครรุ่น 3ค่ะ

    จัมโบ้ จอง 2 ที่ค่ะ (กับคุณไพวรรณ)
     
  16. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328

    5555+

    มาๆ
     
  17. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    พื้นฐานการฝึกสมาธิ เพื่อการผ่อนคลายรักษาสุขภาพกายและจิตโดยองค์รวม

    หรือ วิธีการปฏิบัติสมาธิอายตนะวิปัสสนากรรมฐาน (กรรมฐานเเก้กรรม)




    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->วิธี นี้เป็นอายตนะวิปัสสนา เริ่มต้นจากได้ยินเสียงที่หูมารู้ที่ใจ แล้วหมุนไปที่หู กลับมารู้ที่ใจ หมุนเป็นรอบ ๆไป เป็นวงกลม วงรี หมุนซ้ายหมุนขวาก็ได้ หมุนนอกหมุนในก็ได้ ตอนแรกๆอาจต้องช่วยโยกตัวไปตามแรงหมุน แล้วให้ความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับการหมุน จะเกิดพลังแรงหมุน เป็นทอร์นาโดแรงมาก


    ดยธรรมชาติแล้วจิตของเราจะอยู่ที่สมอง และที่หัวใจ ถ้าอยู่ที่สมองแล้วจะคิดไม่หยุด คิดจนปวดหัว สมองไม่สามารถสั่งใจได้ สมองควบคุมสั่งงานได้แค่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สั่งใจไม่ได้ ถ้าจิตอยู่ที่หัวใจแล้วจะเป็นทาสของความรู้สึกชอบไม่ชอบ แรงหมุนตัวนี้จะไปล่อจิตออกจากใจ ล่อจิตออกจากสมอง สมองไม่มี ใจไม่มี เหลือสติกับจิต สติกับจิตเป็นหนึ่งเดียวกัน พลังจะเกิดอย่างมหาศาลเข้าไปจิตในจิตใต้สำนึก จิตเสวยเวทนา เวทนาส่งผลมาที่กาย ต่อไปนี้ก็เป็นผลของกรรม ถ้าเป็นกรรมดีเขาจะร่ายรำวิชาต่างๆ ออกมาปฏิบัติอย่างมีความสุข ถ้ากรรมชั่วเขาจะแสดงความทุกข์ทรมานออกมาเป็นเรื่องราวใช้หนี้กรรม จะเห็นชัดๆเลยว่าสวรรค์หรือนรกอยู่ในจิต สติในปัจจุบันพิจารณาธรรมารมณ์ที่เกิด จิตรู้ผลบาปบุญคุณโทษ ทุกอย่างเป็นอนิจจัง เราไม่เสียเวลาพิจารณา ว่า “นั่นดีนี่ชั่ว” เหวี่ยงทิ้งดีก็ไม่เอา ชั่วก็ไม่เอา สุขก็ไม่เอา ทุกข์ก็ไม่เอา เหวี่ยงทิ้งๆๆ.... ดีใจ เสียใจ สงบ นิ่ง ว่าง ก็เหวี่ยงทิ้ง เจ็บตรงไหนปวดตรงไหนเหวี่ยงทิ้ง.....เราจะเห็นอุปาทานของจิตที่ยึดติด ถ้ายึดมากแรงเหวี่ยงแรงหมุนก็ต้องแรงมาก บางท่านจะหมุนทรมานมาก อะไรที่ยึดติดจะถูกเหวี่ยงจนหมด จนจิตไม่มีอะไรในอารมณ์ จิตจะใสเป็นกระจก ในขณะที่จิตพิจารณาธรรมอารมณ์อยู่นั้น จิตจะยอมรับการใช้หนี้ผลของกรรม

    เมื่อใช้หนี้ผลของกรรมหมดแล้ว ความรู้สึกที่ดีๆปลอดโปร่งโล่งใจก็เกิดขึ้น สมองก็หลั่งสารเอ็นโดรฟินร่างกายก็เกิดปิติสุขชุ่มเย็น สุขกายสบายใจ เมื่อจิตดี ความรู้สึกดีๆก็เกิดขึ้น ทำให้เราไม่โง่ที่จะทำให้ตัวเองทุกข์อีกต่อไป ถ้าทุกข์กาย-ทุกข์ใจเกิดขึ้น จิตจะหมุนของเขาเองเป็นกงล้อธรรมจักรขจัดขัดเกลาจิตใจเป็นออร์โต้รันเอง ทุกระบบของร่างกายและจิตใจจะมีการทำงานแบบบูรณาการควบคู่กันไป มันเป็นกลไกลที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกันทุกระบบ ไม่ใช่แยกส่วนกันทำ “ทุกวันนี้เราปฏิบัติไม่ได้ผลเพราะเราปฏิบัติแบบแยกส่วน” การเข้าสู่กระบวนนี้เรียกว่าเจริญมรรค ๘ คือ ศีล สมาธิ ปํญญา จะสัมพันธ์เกื้อกูลกันไป

    สติ ญาณ ปํญญา การรู้ใจรู้จิตรู้ความนึกคิดก็เกิดขึ้นเอง การรู้ผลของกรรมที่เกิดจากการกระทำ การระลึกชาติ เป็นเรื่องปกติของการปฏิบัติ เรื่องของจิตวิญญาณ บุญบารมีเป็นเรื่องของการสั่งสมอบรมมา จะมาถามว่าเธอปฏิบัติกี่ปีแล้วไม่ถูกนะ ต้องถามว่าเธอปฏิบัติมากี่ภพกี่ชาติแล้ว บุญบารมีที่เราสั่งสมกองเป็นภูเขา เป็นฟอสซิล เป็นพรสวรรค์อยู่ในจิตใต้สำนึก เรามัวแต่หาพรแสวง จนลืมพรสวรรค์ ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม ชีวิตที่เหลือควรจะทำอะไร สุดท้ายก็เสียชาติเกิด
    ในขณะที่ปฏิบัติจิตจะหมุน-วิ่ง-วน-เหวี่ยง-วาง-ว่าง โดยใช้เสียงเพลงธิเบต เพลงแขก และบทสวดต่างๆ ที่สรรเสริญคุณงามความดี เป็นตัวช่วย ตลอดเวลาของการปฏิบัติ จะใช้เสียงเพลงตลอด พอเราเริ่มหมุนได้แล้ว พลังแรงหมุนจะหมุนไปตามร่างกาย จะเกิดการเหวี่ยงแขน ขา มือ เท้าไปตามอวัยวะร่างกาย เจ็บตรงไหน ปวดตรงไหน ไม่สบายตรงไหน มีสารพิษตรงไหน เขาจะไปหมุนตรงนั้นรักษาตรงนั้นทันที ผลที่ออกมา บ้างก็อาเจียน น้ำมูก น้ำตาไหลออกมา ถ้าไม่อาเจียนก็จะฉี่ออกมาเป็นสีขาวขุ่นหรือ เป็นก้อนนิ่วออกมา หรือถ่ายอุจาระมาเป็นสีดำ บางท่านอาเจียนออกมาเป็นหนองเหม็นเน่าก็มี บางท่านจะผายลมออกมา “บรื๊ด....ยาวๆออกมา” ท้องจะโล่งเบาสบาย บางท่านจะขับออกมา ทางกลิ่นตัว เรียกว่าอะไรที่เป็นส่วนเกิน เป็นของเสียจะถูกเหวี่ยงออกมา
    ในขณะที่จิตเหวี่ยงแล้ว บางท่านจะเข้าไปในจิตใต้สำนึก ไปรับรู้ผลกรรมที่กระทำมาในอดีตถ้าเป็นบาป เวทนาที่แสดงออกมาทางร่างกายเช่น ถูกฆ่าตาย ถูกยาพิษ ถูกทรมานต่าง ๆ แสดงผลกรรมให้เห็นกันเลย ถ้าเป็นความสุขก็จะร่ายรำออกมาเป็นท่าต่างๆ เหมือนวิชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่อุมาเทวี สวยงามมาก อาจจะมีทั้ง ไท้เก๊ก เส้าหลิน โยคะ

    การเข้าไปรู้ผลกรรม การระลึกชาติย้อนหลังเป็นเรื่องง่ายสำหรับวิธีนี้ ซึ่งเป็นไปตามเหตุของทุกข์ เพราะจิตจะไหลไปตามอริยสัจ 4 ผลที่ผู้ปฏิบัติเกิดสภาวะ หมุน-เหวี่ยง ได้แล้วผลที่ตามมาจะรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องทานยาอะไร พลังตัวนี้จะไปทำให้เลือดลมไหลสะดวก ถ้าจุดไหนติดขัดเขาจะเข้าไปทะลุทะลวงเปิดชีพจรให้ เมื่อเลือดไหลสะดวกเลือดก็จะนำอาหารไปให้เซลล์ตามร่างกายได้ แล้วเลือดดำก็นำของเสียมาฟอกใหม่ หรือขจัดทิ้งไป เพียงแค่นี้ร่างกายก็เกิดภูมิคุ้มกันขึ้นเองตามธรรมชาติ
    *ขอย้ำว่า... วิธีนี้ไม่ใช่เราไปรักษาท่าน แต่เราสอนให้ท่านหมุนได้ เหวี่ยงได้แล้วรักษาตัวเอง ถ้าท่านทำได้ก็หายได้แน่นอน ถ้าทำไม่ได้ก็แล้วแต่วาสนา เราช่วยได้แค่นี้ บุญของท่านยังมีอยู่เพียงแต่กรรมมันบังไว้ ทำดีต่อไปอย่าท้อก็แล้วกัน “สักวันหนึ่งเราต้องพบทางสว่าง เท่าที่เราสอนมา ถ้าเข้าปฏิบัติครบ ๓ วัน ไม่หนี ไม่กลัว ไม่ขี้เกียจ ได้หมดทุกคน ยกเว้นอย่างเดียว คือพวกที่ไปดูเขา แล้วไม่ปฏิบัติ<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2009
  18. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ยินดีต้อนรับ คุณจัมโบ้ จอง 2 ที่ สำหรับรุ่นที่ 3/2552
    ในวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2552<!-- google_ad_section_end -->

    คนที่ 1 hastin

    คนที่ 2 ลุงชาลี
    คนที่ 3 จัมโบ้
    คนที่ 4 ไพวรรณ

    ยอดจำนวนที่รับ 20 ท่าน
    จำนวนยอดจองล่าสุด 4 ท่าน
    คงเหลือ 16 ท่าน

    ยังคงสมัครได้อยู่นะครับ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  19. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]ธัมมนันทา สามเณรี
    [SIZE=+3][SIZE=+2]พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามผู้หญิงบวช[/SIZE][/SIZE] <HR noShade SIZE=1>[SIZE=-1]ณศักดิ์ อัจจิมาธร -สัมภาษณ์*[/SIZE] [SIZE=-1]ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
    จุดประกาย–เสาร์สวัสดี
    ฉบับที่ ๑๐๒ วันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๔
    [/SIZE]





    [SIZE=+1]เอ่ยถึงชื่อ ‘รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์’ [/SIZE]หลายคนจะคิดถึงภาพ ของนักวิชาการ สาขาปรัชญาศาสนา ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่บัดนี้ไม่มี รศ. ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ อีกแล้ว คงเหลือไว้แต่ ธัมมนันทา สามเณรีผู้อุทิศตนเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนา เพื่อที่จะยกฐานะของสตรีที่อยู่ในพระศาสนาให้ดีขึ้น ‘หลวงแม่’ สามเณรี ธัมมนันทา ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ตัดสินใจเจริญรอยตาม ‘หลวงย่า’ พระภิกษุณี วรมัย กบิลสิงห์ ภิกษุณีองค์แรกของประเทศไทย ผู้เป็นมารดาด้วยการเกษียณก่อนกำหนด จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อบรรพชาเป็นสามเณรีในนิกายสยามวงศ์
    การบรรพชาเป็นสามเณรีของอาจารย์ฉัตรสุมาลย์เป็นไปตามพุทธบัญญัติ ที่ระบุไว้ว่าต้องกระทำโดยคณะสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือมีทั้งพระภิกษุณีและพระภิกษุสงฆ์ให้การรับรองในการบวช พิธีบรรพชามีขึ้นเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ที่ประเทศศรีลังกา โดยมี พระธัมมโลกมหาเถระ ผู้ช่วยสังฆนายกของนิกายอมรปุระ เจ้าอาวาส วัดตโปธาราม เป็นผู้จัดการบวชให้ และพระภิกษุณีสัทธาสุมนะ เป็นอุปัชฌาย์
    “ธัมมนันทา” หมายความว่าผู้ที่มีความร่าเริงในธรรม “ธัมม” มาจากชื่อของหลวงปู่ธัมมโลกมหาเถระ ซึ่งเป็นผู้จัดการบวชให้ ส่วน “นันทา” มาจากชื่อพระธิดาของพระนางมหาปชาบดี ซึ่งเป็นปฐมภิกษุณี ปัจจุบันได้จำพรรษาอยู่ วัดทรงธรรมกัลยาณี หรือ วัดชี ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ช่วงกิโลเมตรที่ ๕๓ บริเวณทางแยกก่อนเลี้ยวเข้าตัวเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นวัดที่ภิกษุณี วรมัย เป็นผู้ก่อตั้ง
    “ในสมัยนั้นท่านเป็นผู้หญิงเปรี้ยว” อดีตอาจารย์ฉัตรสุมาลย์เอ่ยถึงผู้เป็นมารดา พร้อมกับเล่าถึงจุดหักเหที่ทำให้พระภิกษุณีวรมัยตัดสินใจเดินเข้าสู่ทางธรรมว่า พระภิกษุณีวรมัยเป็นคนที่ทันโลกมาก เป็นผู้หญิงคนแรกที่เรียนยูโด เป็นนักพละฟันดาบ เป็นนักหนังสือพิมพ์ และเป็นอะไรอีกหลายอย่างที่ผู้หญิงใน พ.ศ.๒๔๗๕ ไม่กล้าทำ
    นางวรมัยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้ศึกษาพระธรรมเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๙๙ จึงตัดสินใจออกบวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีท่านเจ้าคุณพรหมมุณี (ผิน ธรรมประทีป) เป็นผู้ให้ศีล ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ได้เดินทางไปบวชเป็นภิกษุณีที่ประเทศไต้หวัน โดยได้รับฉายาว่า “ต้าเต้า” หรือ “มหาโพธิ์” ทุกวันนี้พระภิกษุณีต้าเต้า ยังครองสมณเพศอยู่แต่อาพาธพักรักษาตัวอยู่ในห้องพยาบาลพิเศษ ซึ่งอยู่บนชั้นสองของอาคารด้านหน้าวัดทรงธรรมกัลยาณี
    สำหรับภิกษุณีในศรีลังกา มีจุดกำเนิดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งลูกสาวของตนไปทำการบวชให้ จนทำให้คณะภิกษุณีในศรีลังกาเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๕๖๐ กษัตริย์อินเดียใต้รุกรานศรีลังกา ทำให้พระภิกษุสงฆ์และภิกษุณีหมดไปจากศรีลังกา ต่อมา พ.ศ.๑๖๑๐ พระเจ้าวิชัยพาหุ กษัตริย์ศรีลังกา ได้ทำการสืบพระศาสนาขึ้นมาใหม่ โดยการนิมนต์คณะสงฆ์ทั้งจากประเทศไทยและพม่า คณะสงฆ์ศรีลังกาที่ได้รับการบวชจากคณะสงฆ์ไทย เรียกว่า “สยามนิกาย” และที่ได้รับการบวชจากพม่าเรียกว่า “นิกายอมรปุระ”
    ภิกษุณีในศรีลังกาเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา โดยภิกษุณีส่วนหนึ่งได้รับการบวชมาจากพม่า และอีกส่วนหนึ่งได้รับการบวชจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาก็ได้มีการบวชภิกษุณีขึ้นในศรีลังกา โดยความช่วยเหลือของประเทศเกาหลีและไต้หวัน ปัจจุบันมีการจัดบวชขึ้นเองในศรีลังกาปีละ ๒ ครั้ง โดยภิกษุณีสงฆ์ในศรีลังกาเอง ขณะนี้มีภิกษุณีในศรีลังกากว่า ๒๐๐ รูป

    พระอาจารย์มีเหตุผลอย่างไรในการออกบวชครับ
    [SIZE=+1] [/SIZE][SIZE=+1] คุณแม่บวช [/SIZE]หลวงแม่ (พระภิกษุณี วรมัย กบิลสิงห์) บวชมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๙ มันก็ ๔๕ ปีมาแล้ว แต่ว่าตอนนั้นที่เมืองไทยบอกว่าผู้หญิงไม่มีการบวชเป็นภิกษุณี ถามพระองค์ไหนก็บอกว่าไม่มีหมด สายไปแล้วไม่มีการบวช แต่ท้ายที่สุดท่านก็ได้ไปบวชที่ไต้หวัน อาตมาสังเกตดูว่าบรรยากาศของคนไทยนี่ได้รับการสนับสนุนดี เพราะท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่ท่านเป็นสายจีน ถ้าบอกว่าเป็นสายจีนเป็นมหายาน การที่จะมีคนอยากบวชตามอย่างท่านก็รู้สึกว่าเป็นไปได้ยาก เมืองไทยก็ยังรู้สึกว่าเราเป็นสังคมไทย ไอ้จะบวชเป็นพระเจ๊กพระจีนนี่มันขัดต่อความรู้สึกของเรา แต่ท่านก็ได้รับการสนับสนุนจากฆราวาสที่เห็นดีเห็นชอบ วัดถึงได้เป็นวัดอยู่อย่างนี้
    ช่วงที่อาตมาคิดจะบวช เราได้ศึกษาพุทธศาสนามานานหลาย ๑๐ ปี เมื่อพอได้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง เราเห็นว่าเป็นหนทางอันประเสริฐ ในเมื่อพระพุทธเจ้าออกบวช บรรดาพระก็ออกบวชแล้วทำไมผู้หญิงจะออกบวชไม่ได้ ทำให้เราย้อนกลับไปศึกษาว่าผู้หญิงออกบวชได้หรือเปล่า ก็พบว่าจริง ๆ แล้วผู้หญิงออกบวชได้ การที่ผู้หญิงบวชนี่พระพุทธเจ้าอนุญาต
    มันเป็นเรื่องเข้าใจผิดกันที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่อยากให้ผู้หญิงได้บวช แต่โดนคาดคั้นเหมือนกับว่า พระพุทธเจ้าทนพระอานนท์รบเร้าไม่ได้ก็เลยจำใจต้องให้ผู้หญิงบวช การพูดแบบนี้เป็นการดูถูกพระพุทธเจ้านะ...พระพุทธเจ้าเป็นสัมมาสัมพุทธมีสัพพัญญุตญาณ ซึ่งแปลว่า ญาณความรู้รอบ ไม่มีใครที่จะไปบีบบังคับให้ท่านหันเหจิตใจของท่าน ท่านต้องเห็นแล้วว่าการที่อนุญาตให้ผู้หญิงบวช ต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องกับหลักการคำสอนของพุทธศาสนา ที่สอนว่าการหลุดพ้นทางจิตใจหรือพระนิพพาน ไม่มีขอบเขตจำกัด แล้วทำไมจะมาจำกัดเรื่องผู้หญิง ท่านจึงอนุญาตให้ผู้หญิงบวช
    อาตมาจะถือจุดนี้ว่าการบวชของผู้หญิงเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ประทานเอาไว้ จะถือจุดตรงนี้เป็นจุดหลัก เมื่อเราเข้าใจหลักการของพระพุทธศาสนาแล้ว เราก็อยากจะรับใช้พุทธศาสนาให้มากขึ้นกว่าการเป็นฆราวาส การบวชเป็นการเดินทางลัด เป็นเส้นทางลัดที่เดินไปสู่ความสงบสุขอย่างแท้จริง ซึ่งในเมื่อผู้ชายสามารถเดินทางลัดโดยการบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้แล้ว ทำไมผู้หญิงจะเดินทางลัดโดยการบวชเป็นพระภิกษุณีไม่ได้
    แต่การบวชจะต้องละทิ้งหลายอย่าง สิ่งที่เราต้องละทิ้งก็คือเงินเดือน เกียรติยศ ชื่อเสียง ความสุขสบาย ความสนุกสนาน เพลิดเพลินทางโลก

    ที่มา http://www.skyd.org/html/sekhi/49/sekhi49-6-1.html
     
  20. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    (ต่อ)

    รากเหง้าหรือต้นกำเนิดจริง ๆ ของภิกษุณีเราไปค้นพบที่ไหนครับ
    [SIZE=+1]ในช่วง[/SIZE]พระเจ้าอโศกส่งพระนางสังฆมิตตาเถรีไปบวชให้ชาวศรีลังกา จนเป็นคณะภิกษุณีสงฆ์ใหญ่ที่ศรีลังกา เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากสถาบันกษัตริย์ ในขณะเดียวกันศาสนาพุทธก็เจริญไปที่เมืองจีน ผู้หญิงจีนที่ศึกษาศาสนาพุทธจึงคิดอยากจะออกบวช
    ตอนแรกภิกษุจีนไม่ยอมบวชให้เพราะไม่มีสงฆ์สองฝ่าย แต่มีพระภิกษุจากอินเดียชื่อ คุระวรมัน ที่มาจากแคว้นแคชเมียร์ บอกว่าบวชได้ เนื่องจากในพระธรรมวินัยกล่าวไว้ว่า ภิกษุสงฆ์สามารถบวชให้ภิกษุณีได้ และในกรณีถ้าไม่มีภิกษุณีก็สามารถบวชได้โดยสงฆ์ฝ่ายเดียวได้
    ต่อมาชาวจีนได้นิมนต์ภิกษุณีมาจากศรีลังกา เพื่อที่จะได้ทำการบวชโดยสงฆ์ทั้งสองฝ่าย โดยภิกษุณีที่มามี ๓ องค์ นำโดยภิกษุณีชื่อ เทวศร แต่ก็ยังบวชไม่ได้เพราะไม่ครบองค์บวช พอปีต่อมาภิกษุณีจากศรีลังกาก็ได้เดินทางมาเพิ่มจนครบองค์บวช การบวชภิกษุณีครั้งแรกในจีนมีขึ้นที่เมืองหนานกิง มีผู้หญิงเข้าบวชถึง ๓๐๐ คน ต่อมาหลังจากที่จีนถูกคอมมิวนิสต์เข้าครอบครอง ภิกษุณีสงฆ์ในจีนก็ได้อพยพออกมาอยู่ที่ไต้หวัน และได้รับการช่วยเหลือจากภิกษุณีที่อพยพมาก่อนแล้ว ไต้หวันจึงเป็นแหล่งภิกษุณีสงฆ์ที่แข็งแรงที่สุดในโลก และสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีภิกษุณีอยู่ที่ไต้หวันจำนวนกว่าพันคน

    การที่พระอาจารย์ได้รับเชิญจากฮาร์วาร์ดไปพูดเรื่องภิกษุณี ถือเป็นจุดเปลี่ยนหรือเปล่าที่ทำให้พระอาจารย์มาสนใจทำเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภิกษุณี
    [SIZE=+1]ปี ๑๙๘๓[/SIZE] การประชุมที่ฮาร์วาร์ดเปลี่ยนทีท่านักวิชาการของเราสองอย่างคือ ไม่เอาความเป็นเฟมินิสต์ เพราะเราเป็นผู้ปฏิบัติฐานพุทธ เราจะต้องนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ด้วยความเมตตามิใช่ใช้ความโกรธเกรี้ยว แล้วอีกอย่างเราไม่อยากที่จะเป็นนักวิชาการที่นั่งอยู่บนหอคอยงาช้างเอาแต่ศึกษาตำราอย่างเดียว มันทำให้ความเป็นนักวิชาการของเรามันเป็นโมฆะ เพราะว่าเราเป็นคนเดียวในประเทศไทยที่รู้กลไกของภิกษุณีสงฆ์ แต่เราไม่เป็นนักกิจกรรมที่จะนำซึ่งการเปลี่ยนแปลง
    หลังจากนั้นเราก็ออกจดหมายข่าวที่มีชื่อว่า จดหมายข่าวกิจกรรมของสตรีชาวพุทธนานาชาติ ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ยโสธรา ออกทุก ๆ ๓ เดือน ตั้งแต่ปี ๑๙๘๔ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ยังออกอยู่ เป็นเครือข่ายงานที่โยงใยผู้หญิงนานาชาติให้รู้ว่าเรามีอะไรเกิดขึ้นยังไง นำไปสู่การจัดประชุมสตรีนานาชาติครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาวพุทธในปี ๑๙๘๗ ที่พุทธคยา
    จากตรงนั้นผู้หญิงชาวพุทธมารวมตัวกันแล้วเริ่มก่อตั้งสมาคมเรียกว่า สมาคมศากยธิดา โดยมีอาตมาและภิกษุณีจากเยอรมนี ภิกษุณีจากอเมริกาเป็นคนเริ่มงาน
    ในปี ๑๙๙๑ ก็มาจัดการประชุมในเมืองไทย ก็ทำให้คนไทยตื่นตัวในระดับหนึ่ง และบรรดาแม่ชีก็เริ่มตื่นตัว ๑๙๙๓ ไปจัดการประชุมที่ศรีลังกา ปรากฏว่าทันทีที่หลังจากเราเลิกประชุม ก็มีคนให้ที่ดินสร้างศูนย์ฝึกภิกษุณี ทำให้แม่ชีที่ศรีลังกาเริ่มตื่นตัวและเริ่มบวช ข้อสำคัญคือพระสงฆ์ของศรีลังกาเล่นด้วย พระสงฆ์ของเขามีส่วนหนึ่งที่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นความถูกต้องที่ต้องสนับสนุน เพราะว่าโลกข้างนอกมันพัฒนาไปไกล
    อาตมาเปรียบเทียบศรีลังกากับเมืองไทยว่า ทำไมภิกษุของเขาถึงมีความก้าวหน้ากว่า เพราะว่าเขาสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ ทำให้ภิกษุสามารถอ่านข่าวสารจากต่างประเทศ และเข้าใจว่าประเด็นเรื่องผู้หญิงจะเป็นปัญหาที่กระทบโดยรวม พระภิกษุเขาจึงเริ่มให้การสนับสนุน แม่ชีในศรีลังกาก็เริ่มบวชเองในปี ๑๙๙๖ ก็ได้เริ่มจัดการบวชเองโดยการช่วยเหลือของคณะภิกษุสงฆ์จากเกาหลี ๑๙๙๘ จีนบวชให้ที่พุทธคยา ตอนแรกบวช ๑๐ รูป และไปบวชที่พุทธคยา ๒๐ รูป เสร็จแล้วกลับไปบวชเองที่ศรีลังกา

    ในขณะนี้เครือข่ายของภิกษุณีได้โยงใยไปที่ไหนบ้าง
    [SIZE=+1]เวลานี้[/SIZE]ในอเมริกาก็มีลักษณะเด่นของพุทธศาสนาในอเมริกา คือมีผู้หญิงเข้าร่วมในลักษณะของการเป็นพระ การเป็นอาจารย์ ในทิเบตตอนนี้บวชแค่เณร ต้องมาบวชภิกษุณีสงฆ์จากไต้หวัน
    ที่อาตมาประหลาดใจมากก็คือเมื่อตอนที่เราจัดงานที่ธรรมศาสตร์ปี ๑๙๙๑ มีสามเณรมาจากยูโกสลาเวีย ที่เราไม่นึกว่าจะมีกลับมี คือเมื่อศาสนาพุทธเผยแผ่ไปที่ไหน การตอบรับมันเป็นการตอบรับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มันจะต้องเกิดคำถามขึ้นเองว่า เอ๊ะ...นี่เราจะบวชได้ไหม ถ้าหากว่าเราสนใจจริง ๆ ถ้าหากว่าเราต้องการที่จะถวายชีวิตจริง ๆ
    อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมันก็มี แม้กระทั่งในรัสเซียที่ล่มสลายไปแล้ว ที่ไต้หวันจะบวชปีนึงหนเดียว ผู้ที่จะบวชก็จะสมัครบวชเอาไว้แล้วก็บวชทีเดียว แต่ละปีมีผู้หญิงบวช ๗๐๐ คน ผู้ชายบวชประมาณ ๓๐๐–๔๐๐ คน อาตมาจะไม่ด่วนสรุปว่าผู้หญิงศรัทธามากกว่า มันไม่ใช่...มันเป็นเหตุผลทางวัฒนธรรมที่ลูกผู้ชายจะต้องดำเนินกิจการค้าต่อจากครอบครัว เพราะฉะนั้นผู้ที่จะมีโอกาสบวชได้ง่ายกว่าก็จะเป็นผู้หญิง เพราะฉะนั้นเวลานี้ผู้หญิงบวชมากกว่าผู้ชาย ในไต้หวันแต่ละปีผู้หญิงจะบวชมากกว่า ทีนี้ตามสายจีนผู้ที่บวชแล้วก็จะไม่สึก คนที่เข้าบวชก็จะเป็นคนที่ตัดสินใจดีแล้วว่า จะอุทิศชีวิตจริง ๆ เพราะฉะนั้นการทำงานของภิกษุและภิกษุณีสงฆ์ไต้หวัน จะเป็นการทำงานที่อุทิศตัว ซึ่งมีกฎเกณฑ์อยู่ในพระไตรปิฎกว่า ถ้าผู้หญิงบวชเป็นสามเณรได้ ๒ ปีแล้วภิกษุณี ผู้เป็นอาจารย์จะต้องบวชให้สามเณรผู้นั้นเป็นภิกษุณี ถ้าไม่ทำการบวชให้อาจารย์ของสามเณร ถือได้ว่ามีความผิด
    [​IMG]
    การที่พระอาจารย์ผลักดันเรื่องภิกษุณีเพราะมีเรื่องเฟมินิสต์อยู่ในใจหรือเปล่าครับ
    [SIZE=+1]ไม่มีเรื่อง[/SIZE]เฟมินิสต์ในใจเลย หลายคนจะตีตราว่าอาจารย์ฉัตรเป็นเฟมินิสต์ แต่จริง ๆ แล้วไม่เคยได้ศึกษาทฤษฎีเฟมินิสต์เลย อาตมาเริ่มต้นโดยการศึกษาพุทธศาสนา จึงพบว่าศาสนาพุทธเปิดฐานกว้างมาก ไม่มีการกดขี่ผู้หญิงเลย ทีนี้ก็เลยมีคำถามว่าทำไมไม่บวชชี โดยความเป็นนักวิชาการทำให้เราศึกษาจนพบว่า ความเป็นชีไม่มีที่มา ถามใครว่าเป็นมายังไงก็ไม่มีใครรู้ หลักฐานเก่าแก่ที่สุดก็คือในสมัยอยุธยา เป็นหลักฐานที่ฝรั่งเขียนเอาไว้ว่า เห็นผู้หญิงบวชโกนหัวนุ่งขาวอยู่ในวัดส่วนมากเป็นผู้หญิงแก่ ๆ ที่ละทิ้งทางโลกแล้ว
    สำหรับอาตมาเรียนมาทางพุทธ ศาสนา รูปแบบที่เราเห็นในพุทธศาสนาก็คือ การบวชเป็นภิกษุณี อาตมาไม่เห็นว่าเป็นแม่ชีนั้นมันเป็นมายังไง ที่เลือกเป็นภิกษุณีนั้น หลายคนจะบอกว่าอาจารย์ฉัตร ดื้อรั้น ดันทุรัง หัวแข็ง จะเอาอย่างนี้ให้ได้
    เราเป็นนักวิชาการทีนี้วิธีคิดของนักวิชาการก็คือ ต้องคิดจากฐานที่มันมีที่มา แต่แม่ชีนั้นไม่มีที่มา อาตมาหาที่มาไม่ได้ แล้วแม่ชีก็เป็นรูปแบบที่ไม่อยู่ในพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกมีอยู่ ๒ รูปแบบ รูปแบบหนึ่งก็คือเป็นผู้หญิงนุ่งขาวไม่ได้โกนหัวถือศีล เรียกว่า สาวิกา อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ และก็มีอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ การบวชเป็นเณร การบวชเป็นภิกษุณี
    มีพระผู้ใหญ่บางรูปบอกว่าอาตมาหัวแข็ง อาตมาคิดว่าถ้าหากเรายึดอยู่กับความถูกต้องแล้ว ใครเขาว่าเราหัวแข็งเราก็คงต้องยอมหัวแข็ง เพราะเราได้รูปแบบความคิดนี้มาจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ลุกขึ้นมารื้อโครงสร้างในสมัยนั้น เรียกได้ว่าปฏิวัติสังคมเพราะว่ามันอยู่บนฐานความถูกต้องที่ท่านเป็นสัมมาสัมพุทธ อยู่บนฐานความถูกต้องที่ท่านค้นพบสัจธรรมอันนี้ สัจธรรมที่ไม่ได้ถูกจำกัดโดยวรรณะ ไม่ได้ถูกจำกัดโดยเชื้อชาติ สีผิว และเพศ
     

แชร์หน้านี้

Loading...