ปริศนา (ในห้องกรรมฐาน)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tanyatornbtp, 26 เมษายน 2008.

  1. chalai

    chalai สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก ...เปรียบได้กับการเดินทางสายเอกนี้จะต้องอาศัย ศรัทธา(อย่างน้อยเชื่อว่าตนเองนี้แหละเป็นที่พึ่งแห่งตน ทอผ้าด้วยตนเองนำมาใช้ได้) ความเพียร(อดทนพยายามไม่ย้อทอต่อความยากลำบากในกาการทอ)สติ(ในการทอตอนนี้ทอ ลายอะไร สอดด้ายอย่างไร ดึงด้ายอย่างไร ใช้สีอะไร เป็นต้น) สมาธิ(มีสามธิจรดจ่อยู่กับสิ่งด้าย มือ บังคับเครื่องมือ ด้าย ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง) และ ปัญญา(คิดลายเอง คิดวิธีการถัก ทอ ที่เป็นแบบแบบของตัวเองได้ )

    อยากรู้ถูกถามเด็กเลี้ยงควาย ...เปรียบได้กับลักษณะนิสัยองเด็กเลี้ยงควายนั้นไม่ทุกข์ไม่ร้อนอะไรกับใคร ใครจะว่าอย่างไร เค้าก็ยังทำหน้าที่เลี้ยงดูแลควายอยู่อย่างนั้นเอง

    คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว ...ทุกข์ สุข เฉย ต่างก็เกิดที่จิตใจ นั่นเอง กัดกิน จิต ใจ ให้เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส หนีทุกข์ วิ่งเข้าหาความสุข กระทำเพื่อให้ได้ความสุข กระทำเพื่อไม่ให้ทุกข์ กระทำไปอย่างมีเจตนาเพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

    เดินทางเดียวอย่างเหยียบรอยกัน ...สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมใครกรรมมัน แม้ทางที่เดินจะนำไปสู่จุดหมายเดียวกัน แต่ด้วยความต่างของกรรมที่เป็นของใครของมันนั่นเองที่ทำให้ แต่ละคนนั้นจะต้อง รู้ตัวเอง อย่างแจ่มแจ้งว่า ตัวเคยที่อะไรไว้อย่างไร ตัว(ทำ)ดีมีบุญติดตัวแค่ไหน ตัว(ทำ)ชั่วมีบาปติดตัวแค่ไหน บุญ - บาป ของตนเกิดจากการกระทำอะไรต่อใคร อย่างไร รู้เป็นปัจจัตจัง ผุดรู้ขึ้นมาเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่จะเหมือนกัน ทัดเทียม เท่ากัน

    นะอยู่หัวสามตัวอย่าละ นะอยู่ที่ไหน ตามไปเอามาให้ได้ ...ทำใจให้เป็นเมตตา เปลี่ยนกุศลเป็นอกุศล ทำศัตรูให้เป็นมิตรให้ได้ จะหมายถึง การแผ่เมตตาให่แก่สรรพสัตว์ และการอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ทั้งที่เราจองเวรเขาเครียดแค้นเขา ก็จัดการจิตใจเราเสียอกุศลเป็นกุศลให้มีเมตตา ยกโทษให้อภัยอโหสิกรรมให้แก่ผู้ที่เคยกระทำการเบียดเบียนเราก่อน แล้วจึงขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวรจาการที่เราสำนึกผิดแลขอโทษเขาให้เขาให้อภัยเราอโหสิกรรมแก่เรา และขอให้เขาร่วมอนุโมทนาบุญแก่เรา เห็นดีด้วยกับเราในการที่เรารู้ตัวว่าผิดจริงยอมรับ สำนึกผิดแล้ว ยอมที่จะรับวิบากที่เคยกระทำไว้อย่างเต็มใจ กระทำสิ่งใดที่เป็นบุญแล้วอุทิศไปให้เขาแล้วเขาได้รับ ...วิธีการแผ่เมตตานั้น ควรกำหนดจิตไว้ที่ลิ้นปี่เพื่อที่จะแผ่ไปได้กว้างๆไกลๆ เมื่อแผ่เมตตาแล้วก็ยกขึ้นที่หน้าผากกำหนดจิตไว้ที่หน้าผากแล้วอุทิศ(บุญ)ส่วนกุศลออกไปตรงหน้าผาก ในการปฏิบัติจะทำได้จริงนั้น จิตจะต้องเป็นเมตตาในขณะนั้น ปราศจากซึ่งความ โลภ(หวังจะเอาบุญ หวังว่าจะได้รับการอภัยตอบ หวังว่าจะไม่ต้องรับวิบากกรรต่ออีก) โกรธ(อภัยทานด้วยไม่มีอคติ ไม่แค้นไม่เคือง )
     
  2. chalai

    chalai สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก อยากรู้ถูกถามเด็กเลี้ยงควาย คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว เดินทางเดียวอย่าเหยียบรอยกัน นะอยู่หัวสามตัวอย่าละนะอยู่ที่ไหนตามไปเอามาให้ได้ ...
    เมื่อสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม แล้ว หากจะประเภทของ กรรม แบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ได้แก่ กรรมที่ส่งผลนำไปเกิด และกรรมที่ไม่ส่งผลให้ไม่ต้องไปเกิดอีกเรียกว่า "กรรมเหนือกรรม" ลงสรุปลงที่ กระทำอย่างไร จะเป็น กรรมเหนือกรรม
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    คันหูกคือเครื่องทอ มีองค์ประกอบคือ ผู้ทอ เส้นด้าย กระสวยด้าย สลับกัน ขึ้นลง ขึ้นหนึ่งครั้งได้หนึ่งเส้น ลงหนึ่งครั้งได้หนึ่งเส้น ซ้ำกันไปเรื่อยๆ แต่ผู้ทอก็ต้องมีความสามารถและประสบการณ์พอสมควรทีเดียว ที่สำคัญคือ ความเพียร เด็กเลี้ยงควายทำอะไร ก็เอาควายไปปล่อยแล้วดูมันกินโน้นกินนี่ไปเรื่อยถ้ามันจะไปทำความเดือดร้อนก็ปรามมัน ห้ามมัน สติ คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว บุญอันเกิดจาก ทาน ศีล ภาวนา เดินทางเดียวอย่างเหยียบรอยกัน
    ความจริงอันประเสริฐ กฏไตรลักษณ์ และ อริยะสัจจ์ ๔ มรรคมีองค์แปด นะอยู่หัวสามตัวอย่าละ พระรัตนตรัย นะอยู่ไหน ตามไปเอามาให้ได้" นิพพาน
    ไม่รู้ใช่ไหมครับลองเดาดูครับอนุโมทนาครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2009
  4. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอตอบเจ้าของกระทู้ดังนี้ครับ

    เท่าที่อ่านปริศนาธรรมนี้ สามารถแปลได้หลายนัย ขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์ และจุดมุ่งหมายว่าจะนำไปใช้ในด้านไหน เอาเป็นว่าผมขอตอบอย่างนี้ในแนวของผมดังนี้ครับ

    "อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก"

    ตอบ คำว่า "คันหูก" มาจากภาษาอีสานว่า "เฮ็ดหูก" คือ ผู้หญิงทำหูก หรือผู้หญิงทอผ้า

    "ผู้หญิง" เปรียบได้กับ "ผู้รู้", "พระสงฆ์" หรือ "กัลยาณมิตร" ส่วน "หูก" หรือ "ผ้า" ก็เปรียบได้กับ "อริยผล" นั่นแล

    เมื่อเราปรารถนาที่จะทอผ้าให้สำร็จ คือ ปรารถนาทำอริยผลให้เกิดขึ้น แต่เราไม่มีความรู้ว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร สิ่งที่ควรทำ คือ ควรไปถามไปเรียนรู้กับคนที่เขารู้ ไปถามเขาว่ามีวิธีการอย่างไรหนอ? ถึงทำให้ทอผ้าสำเร็จได้ หรือทำอริยผลสำเร็จได้ เมื่อถามเขาแล้ว เขาใจดีเขาบอกเรามา เราก็ได้รับความรู้ และวิธีการปฏิบัติ จากนั้นเราก็สามารถนำมาปฏิบัติตามได้

    ประเด็นหนึ่งที่จะเพิ่มเติมเรื่องหญิงทำหูก เราจะเห็นว่า หากเราไปดูเวลาที่เขาทอผ้าจริงๆ เราจะได้ธรรมะหลายอย่างที่เดียว ที่นำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติธรรมให้เจริญก้าวหน้าได้ เราเคยเห็นหรือเปล่า จะต้องมีเทคนิคหลายอย่างทีเดียวนะ และจะมีธรรมะอยู่ในนั้นหลายข้อที่เขานำมาใช้อย่างไม่รู้ตัว คือ เขาได้มีความเพียรพยายาม ทอผ้าด้วยความใจเย็น ทำไปเรื่อยๆ ทำเป็นดั่งอาชีพหลักที่ขาดไม่ได้ไม่อย่างนั้นจะไม่มีกิน เขาจึงทำไปเรื่อยๆ ขี้เกียจก็ทำ ขยันก็ทำ ไม่ได้หวัง หรืออยากจะให้มันเสร็จเร็วๆ ต้องมีเทคนิคอย่างนี้นะไม่งั้นผ้าก็ไม่เสร็จแบบสวยงามเรียบร้อย หากไปดูจะได้ข้อคิดธรรมะดีๆ กับเรา

    "อยากทำถูกต้องถามเด็กเลี้ยงควาย"

    ตอบ จะต้องมารู้จักก่อนว่า "ควาย" นี่คืออะไร ควายนี้เปรียบได้กับจิตนั่นแหละ จิตเราที่มันยังมีโมหะ มีอวิชชา มีความไม่รู้อยู่ ส่วน "เด็ก" คือ ผู้ปฏิบัตินั่นแล ที่กำลังต้องการจะเลี้ยงควายให้เป็น ทำควายให้ฉลาด พามันเดินไปยังทุ่งหญ้าอย่างถูกทางไม่แตกฝูง "เลี้ยง" คือ วิธีการเลี้ยง มาเทียบกับทางธรรม คือ วิธีการปฏิบัติธรรม ที่เราได้เรียนรู้มาแล้ว

    ทีนี้ หากเราทำตัวแบบเด็กเลี้ยงควาย เราจะทำถูกต้อง คือ เราไม่ดื้อไง เด็กเลี้ยงควายนี้ เปรียบกับ "คนโง่" นะ เพราะคนโง่สมัยก่อน เขาจะบอกให้ไปเลี้ยงควาย หากเราไม่ดื้อนะ ยอมรับตัวเอง ว่าเราเป็นเด็กเลี้ยงควาย ไม่ทำเป็นรู้มาก เราทำตามวิธีที่เรียนมา เขาสอนวิธีเลี้ยงมาอย่างไร เราก็ทำวิธีเลี้ยงไปตามนั้น เราจะสำเร็จได้ในที่สุด แต่จริงๆ วิธีเลี้ยงควายนี้มันก็ไม่ได้ง่ายๆ ทั้งหมดนะ ยังต้องมีเทคนิคอยู่ คือ ต้องรู้จักพฤติกรรมของควาย(จิต) ด้วย รู้ว่าควายตัวไหนมันเป็นหัวหน้า รู้ว่าตอนไหนเราต้องตีมัน ตอนไหนเราต้องปล่อยมัน แล้วควายมันถึงจะเชื่อฟังคนเลี้ยง ฉลาดขึ้นได้ หากไปตีมันอย่างเดียว ควายมันจะดื้อควิดเราเอาได้ หรือไม่ควายมันก็จะหนีไป หรือตายไปเลย...

    "คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียวกัน"

    ตอบ "บ่อน้ำ" นี้เปรียบเหมือน "พระนิพพาน" นั่นแหละ "คนสามบ้าน" ก็คือผู้ปฏิบัติธรรม และสัตว์โลกในสามภพที่ยังอยู่ในวัฏสงสารเหมือนกัน และมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเดียวกัน ประโยคนี้จึงหมายถึง ให้มุ่งหน้าสู่จุดมุ่งหมาย คือ พระนิพพาน และเป็นการเกริ่นนำสู่ท่อนต่อไป...

    "เดินทางเดียวอย่าเหยียบรอยกัน"

    ตอบ ลองคิดถึงเวลาเราไปตักน้ำที่บ่อน้ำนะ บ่อน้ำแถวชนบทสมัยก่อน สมัยนี้ก็อาจจะยังมีอยู่ บางบ่อมันจะอยู่ไกล เวลาเดินไปเราก็เดินบนพื้นดิน บางทีเราต้องหาบถังน้ำเดินผ่านร่องคันนาไปก็มี เวลาเดินหาบน้ำ เราจะต้องพยายามเดินดีๆ ไม่ไปเดินเหยียบในร่องน้ำที่มีรอยเท้าเป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำเปียกอยู่ ไม่งั้นหากเราเดินไม่ดีมันจะลื่นหกล้ม ข้อเท้าพลิก น้ำที่จะไปตักก็ไม่ได้มา

    เหมือนกับการปฏิบัติธรรมนั่นแหละ เวลาเราเห็นใครเขาปฏิบัติธรรม อะไรที่คนอื่นเขาทำมาก่อน แต่เป็นไปผิดทาง หรือผิดพลาด เราเห็นแล้วก็อย่าได้ไปผิดทาง ผิดพลาด ไปอย่างเขา ใครเขาทำผิด เราก็คอยดูสังเกตเอาไว้ จำไว้เป็นครูสอน พยายามหลบหลีกอย่าให้เดินผิด เดินไปแต่ในทางที่ถูกต้องแล้วจะถึงบ่อน้ำ คือ พระนิพพาน อย่างสมใจ

    "นะ อยู่หัวสามตัวอย่าละ"

    ตอบ "นะ" คือคำย่อของ "รัตนะ" ซึ่งมีอยู่ ๓ ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เวลาจะปฏิบัติธรรม เราอย่าได้ละทิ้ง เราจะต้องนำมาเป็นที่พึ่งที่ระลึก นอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า เอาพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เข้าไปเฝ้ารอฟังธรรมะ เรียนรู้ธรรมะจากพระสงฆ์

    "นะ อยู่ไหนไปตามเอามาให้ได้"

    ตอบ ไม่ใช่ว่าเราจะฟัง ไปอ่าน ไปจำมาเท่านั้น พระรัตนตรัย จะไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้เราได้จริงด้วยเหตุเพียงเท่านั้น เราจะต้องทำให้เข้าถึงตามด้วย เราต้องทำให้พระพุทธ หรือพุทโธ คือ ผู้รู้ ทำให้พระธรรม คือ ธรรมะ ที่เราได้ร่ำเรียนมา และทำให้ความเป็นพระอริยสงฆ์บังเกิดขึ้นภายในใจของเราด้วยให้ได้

    ตอบแต่เพียงเท่านี้ ใช่หรือไม่อย่างไรพิจารณาดูนะครับ

    ขอให้เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2009
  5. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ปริศนาพวกนี้สนุกดีนะครับ อารมณ์คล้ายๆเรื่อง เทวากับซาตาน angels and demons
     
  6. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    มีท่านผู้รู้มาตอบไว้หลายท่านนะคะ กราบอนุโมทนาค่ะ

    “คนหลายคนกินน้ำบ่อเดียวกัน เที่ยวทางเดียวกัน แต่ไม่เหยียบรอยกัน”
    หมายถึง ศึกษาธรรมจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน

    “แต่อุบายการปฏิบัติต้องใช้ปัญญาแยบคายเอาเอง”
     
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    "อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก
    อยากทำถูกถามเด็กเลี้ยงควาย
    คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว
    เดินทางเดียวอย่างเหยียบรอยกัน
    นะอยู่หัวสามตัวอย่าละ
    นะอยู่ไหน ตามไปเอามาให้ได้"

    "อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก ยากทำถูกถามเด็กเลี้ยงควาย
    คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว เดินทางเดียวอย่าเหยียบรอยกัน

    นะฯ อยู่หัวสามตัวอย่าละ นะฯ อยู่ที่ไหนไปเอาที่นั้น"


    คนสมัยก่อนเข้าใจผูกเป็นคำกลอนสอนใจนะคะ อ่านแล้วได้คิดเหมือนผญาทางอีสาน
     
  8. thummakaya

    thummakaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +634
    ขออนุญาติ ลง เฉลยของท่านอาจารย์ เกตุแก้ว มณีโชติ
    เฉลยปริศนาธรรมข้อที่ 1."อยากเรียนรู้ ให้ถ้าหญิงทอหูก"
    การจะทำสิ่งใดๆให้สำเร็จนั้นต้องมี อิทธิบาทสี่ คือ
    1.ฉันทะ ความรัก ความพอใจในสิ่งที่จะทำ
    2.วิริยะ ความเพียร คือขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้น ด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
    3.จิตตะ มีจิตจดจ่อ สนใจในสิ่งที่ทำอยู่
    4. วิมังสา ความไตร่ตรองหรือทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยี่งหย่อน
    ในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง ดังนั้นถ้าสิ่งที่จะทำแล้วไร้ประโยชน์ จะไม่มีใครทำ
    เหมือนการทอผ้าในสมัยก่อน เป็นเครื่องนุ่งห้มและร้ายได้เลี้ยงตน
    ถ้าเกิดอิทธิบาทสี่แล้วย่อมจะนำความสำเร็จมาให้แน่นอน
    เรื่องนี้เป็นวิชากรรมฐานที่จะทำให้เข้าสมาธิขั้นสูงโดยงาย
    ซึ่งมีค่ามากกว่าแก้วสารพัดนึกของพระเจ้าจักรพรรดิสำเร็จประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม
    ข้าพเจ้าจะเปิดเผยเคล็ดลับตามลายแทงนี้ ไม่ใช่เรื่องยากเว้นแต่ไม่ทำจริง
    ความหมายของหญิงทอผ้า ต้องเป็นผู้มีสติ ปัญญาละเอียดอ่อน รอบคอบ มีความอดทน
    เส้นด้ายที่ทอเดินกลับไป กลับมา คือการเดินจงกรมอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเดินมากก็ยิ่งใกล้ความสำเร็จ
    ถ้าต้องการผลน้อยก็เดินน้อยๆ เช่นเดียวกับเด็กทอผ้าที่ทอแค่ หนึ่งหรือสองหรือสามชั่วโมง ได้ผ้าผืนเล็กๆ
    ผลที่ได้คือจิตรวมแค่ขณิกะสมาธิหรืออุปจารสมาธิ มีความเพียรน้อยความอดทนน้อย
    เหมือนเด็กทอผ้า ส่วนใหญ่จะกระโดดข้ามขั้นเอาแต่สบายมานั่งสมาธิเลย ไม่มีผลใดๆ
    เพราะการนั่งสมาธิเขาทำกันทั่วโลก แต่ผลที่จะได้สมาธิขั้นสูงเปอร์เซ็นน้อยมาก
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงกลุ่มพระต่างๆที่เดินกำลังจงกรมเป็นหมู่ๆ ไม่เว้นแม้แต่พระที่บรรลุพระอรหันต์แล้ว
    นี้คือสิ่งที่แตกต่างจากการทำสมาธิในศาสนาอื่น
    การเดินจงกรมคือการทำความเพียรหรืองานของผู้ที่ต้องการของวิเศษที่สุด
    การทอผ้ามีการสืบทอดวิชามาแต่โบราณดังนั้นการจะให้สำเร็จผลต้องทำตามแบบโบราณที่เขาสำเร็จกัน
    เส้นด้ายที่ยาววิ่งกลับไปกลับมายังหมายถึงจุดเริ่มต้นการหายใจ
    เวลายืนทำสมาธิหรือนั่งสมาธิ ลมหายใจต้องทำลมหายใจยาวๆ
    ทั้งลมหายใจเขาและลมหายใจออกที่วิ่งกลับไปกลับมาเมื่อทำต่อเนื่องกันไปเรื่อย ที่สุดลมก็เหลือน้อยลงๆเบาลง
    เหมือนเส้นด้ายที่สั้นลงก็เหมือนชีวิตของคนเราที่กำลังเดินเขาใกล้ความตายไปทุกวันเมื่อ
    ทอผ้าสำเร็จหนึ่งผืนเปรียบชีวิตคนเราหมดไปหนึ่งชาติแล้วจงรีบเร่งเข้า เวลาในโลกนี้มีน้อยนัก
    ขอให้ดูให้จบทั้งสามคำตอบ ท่านจะได้เคล็ดลับในการเข้าสมาธิขั้นสูง
    ที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์สารพัด แต่ขอให้อยู่ในขอบเขตของศีล ไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่น
    โปรดติดตามคำตอบต่อไป
     
  9. thummakaya

    thummakaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +634
    เฉลยข้อที่ 2 "อยากทำถูกให้ถามเด็กเลี้ยงควาย"
    เด็กเลี้ยงควายหมายถึง ผู้ควบคุมจิต คือ"สติ" "ปัญญา "
    ควายฝูงใหญ่ เกิดความนึกคิดฟุ้งซาน ที่แล่นไปในทวารทั้งหก มีตาเห็นรูปเป็นต้น
    ดังนั้น จึงต้องสำรวมอินทรีย์คือทวารทั้งหก ไม่ส่งจิตออกไปข้างนอก ใช้ศีลควบคุม
    การเรียนรู้นิสัยควายแต่ละตัว ก็คือการเรียนรู้นิสัยตัวเอง
    การลงโทษควายตัวที่ดือ เมือใดจิตเกิดดือรั้น ฟุ้งซานจะวิ่งไปหากิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นต้น
    อย่าคิดแต่แง่บวก หรือผลประโยชน์แง่เดียว ต้องเล็งผลเสียไว้ด้วย
    ต้องใช้ปัญญาเข้าควบคุม สอนตัวเองให้เห็นทุกข์ เห็นโทษให้ชัดแจ้งจนกว่าจิตจะยอมรับ
    โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เพื่อไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นมาเป็นของเรา
    ปล่อยวางสิ่งที่จิตจะเข้าไปยึดถือ อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์
    ความฟุ้งซานนั้นเสีย ทำใจเป็นกลางๆ เฉยๆ ใจที่ไม่นึกคิด ว่างๆ ไม่หลงไปในอารมณ์
    ไม่วิ่งไปตามกิเลส เมื่อเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน
    ควายกินหญ้ามาก กินอาหารมาก ทำให้ร่างกายร้อน
    ลักษณะควายไม่ชอบร้อน ชอบที่เย็น ชอบแช่น้ำแช่ปลัก
    ขาดน้ำไม่ได้ เพื่อระบายความร้อนในร่างกายจึงจะสงบลงได้
    เมื่อครั้งที่ฝูงพรหมชั้นที่ 6 เสวยปิติ คือความเย็นเป็นอาหาร มีรัศมีแสงสว่าง
    เมื่อพรหมเกิดกิเสลความโลภ อยากกินอาหารหยาบคือง้วนดิน
    ร่างกายเกิดธาตุไฟ คือความร้อน ร่างกายหยาบขึ้นเป็นมนุษย์ ลมหายใจหยาบขึ้นชัดขึ้น
    รัศมีแสงสว่างภายในกายดับลงทุกตัวตน พรรณาปิติ ปิติคือความเย็นหายไป เสื่อมจากฑุติยฌาณ
    ทั้งหมดอาหารจึงเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายร้อน
    ไม่สามารถดับตัวตนภายในได้ ยิ่งห่างไกลจากพรรณาปิติ
    คือความเย็นของร่างกาย จึงมีการฉันมือเดียว กินน้อย
    และยังต้องเพิ่มการเดินจงกรรมมาก ๆ เพื่อทำลายพลังงานเก่าที่สะสมในรูปไขมัน
    เพื่อทำลายธาตุไฟจากอาหาร บางท่านต้องเดินจงกรมที่เย็นๆจึงจะสงบ
    การกินอาหารมากๆ เดินจงกรมน้อยๆ จิตย่อมไม่สามารถยกขึ้นสู่ฌาณที่ 1 หรือฌาณที่ 2
    นิวรณ์ 5 ย่อมไม่สามารถระงับได้ เพราะขาดปิติ
    การกินน้อย เดินจงกรมต่อเนื่องกันให้มาก
    เมื่อถึงจุดหนึ่งกายจะเบา และเย็นเอง
    โดยที่ไม่ต้องไปตามหาที่ใด จิตจะรวมเป็นอัปณาสมาธิได้อย่างง่ายดาย
    การไปนั่งสมาธิรอเวลาให้พรรณาปิติมหา อย่าพึงหวังเลย
    ติดตามเฉลยข้อสามต่อไป.
     
  10. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ต้องให้ครูภาษาไทยมาตีความ..
     
  11. thummakaya

    thummakaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +634
    เฉลยปริศนาธรรมข้อที่ 3 "คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว
    เดินทางเดียวอย่างเหยียบได้รอยกัน
    นะอยู่หัวสามตัวอย่าละ
    นะอยู่ไหน ตามไปเอามาให้ได้"

    นี้เป็นกรรมฐานที่เพ่งธาตุลมเป็นหลัก มีประโยชน์ทำให้เข้านิโรธสมาบัติได้
    มีความหมายโดยย่อดั้งนี้

    คนสามบ้านหมายถึงฐานที่พักของกองลม คือ 1.ปลายจมูก 2.หน้าอก 3.ลิ้นปี่
    ธาตุลมคือบ่อน้ำ มีฐานอยู่ที่ระดับสะดึอ หรือใต้สะดือลงมาก็ได้
    กินน้ำบ่อเดียวหมายถึง ทั้งลม 3 ฐานล้วนกินลมหายใจเป็นอาหาร
    คือกายและจิตต้องอาศัยลมหายใจหล่อเลี้ยงชีวิต
    เดินทางเดียวอย่างเหยียบได้รอยกัน หมายถึงเมื่อลมหายใจเดินผ่านทั้งสามฐานแล้ว
    คือ ปลายจมูก หน้าอก และลิ้นปี่แล้วอย่าได้หายออกเหียบทางเดินเก่า
    คือตอนที่หายใจเข้าให้ระบายลมหายใจออกทางรูขุมขน หรือทางผิวหนัง
    สรุปว่าหายใจเข้าทางจมูกแต่ไม่หายใจออกทางจมูก ให้ออกทางอื่นคือทางรูขุมขน
     
  12. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ตอบคำถาม ที่คุณถาม เพราะเห็นว่าดีมีประโยชน์ ว่า

    ฌาน(ชาน) คือ ลักษณะงานของระบบการทำงานของร่างกายลักษณะหนึ่ง

    ญาณ(ยาน) หมายถึง ความรู้ยิ่ง คือ ความมีปัญญารอบรู้ นั่นแหละ

    ฌาน(ชาน) เป็นลักษณะงานของระบบการทำงานของร่างกายลักษณะหนึ่ง จะเรียกว่า เป็นธรรมชาติของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์เท่านั้น) ทุกคนก็ได้ จะว่าเป็นเหตุ ก็ได้ จะว่าเป็นผลก็ได้ เพราะก่อนที่จะเกิดฌาน(ชาน)คุณก็ต้องได้รับการสัมผัสทางอายตนะมาก่อน แล้วจำไว้ในร่างกาย แล้วเกิดการทำงานตามระบบ(ซึ่งย่อมต้องมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นปัจจัยประกอบ) ไปตามลำดับ เรียกว่า ฌาน(ชาน) ควรศึกษาเรื่องของ ฌาน(ชาน) ประกอบ จะได้เกิดความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้นขอรับ

    คำว่า เพ่ง มีความหมายหลายสถาน จะหมายถึง การมองไปที่จุดเดียวก็ได้ จะคิดไม่ที่เรื่องเดียวก็ได้ จะระลึกนึกถึงไปที่เรื่องเดียวก็ได้ ฯลฯ ดังนั้น ฌาน(ชาน) จึงไม่ใช่การเพ่ง ....ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้นในเรื่องของฌาน(ชาน)

    ญาณ(ยาน) อาจจะต้องเพ่ง ดังคำอธิบายในเรื่องของ ญาณ(ยาน) ขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2014
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ตอบคำถาม ที่คุณถาม เพราะเห็นว่าดีมีประโยชน์ ว่า

    ฌาน(ชาน) คือ ลักษณะงานของระบบการทำงานของร่างกายลักษณะหนึ่ง

    ญาณ(ยาน) หมายถึง ความรู้ยิ่ง คือ ความมีปัญญารอบรู้ นั่นแหละ

    ฌาน(ชาน) เป็นลักษณะงานของระบบการทำงานของร่างกายลักษณะหนึ่ง จะเรียกว่า เป็นธรรมชาติของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์เท่านั้น) ทุกคนก็ได้ จะว่าเป็นเหตุ ก็ได้ จะว่าเป็นผลก็ได้ เพราะก่อนที่จะเกิดชาน คุณก็ต้องได้รับการสัมผัสทางอายตนะมาก่อน อาจจำไว้ แล้วเกิดการทำงานตามระบบ (ซึ่งย่อมต้องมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นปัจจัยประกอบ) ไปตามลำดับ เรียกว่า ฌาน(ชาน) ควรศึกษาเรื่องของ ฌาน(ชาน) ประกอบ จะได้เกิดความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้นขอรับ

    คำว่า เพ่ง มีความหมายหลายสถาน จะหมายถึง การมองไปที่จุดเดียวก็ได้ จะคิดไปที่เรื่องเดียวก็ได้ จะระลึกนึกถึงไปที่เรื่องเดียวก็ได้ฯลฯ ดังนั้น ฌาน(ชาน) จึงไม่ใช่การเพ่ง ....ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้นในเรื่องของฌาน(ชาน)

    ญาณ(ยาน) อาจจะต้องเพ่ง ดังคำอธิบายในเรื่องของ ญาณ(ยาน) ขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2014

แชร์หน้านี้

Loading...