อยากถามว่า พ.ศ. ที่เราใช้ปัจจุบัน มันคลาดเคลื่อนจริงเหรอ แล้ว พ.ศ.จริงๆคือเท่าไร ? (พี่เกษมช่วยตอบหน่อยค่ะ)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Angel_Internet, 25 กรกฎาคม 2009.

  1. Angel_Internet

    Angel_Internet Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +56
    พี่เกษมช่วยตอบหน่อย หรือใครที่มีความรู้เรื่องนี้อ่ะค่ะ

    1. อยากถามว่า พ.ศ. ที่เราใช้ปัจจุบัน มันคลาดเคลื่อนจริงหรือคะ ?
    2. ทำไมถึงคลาดเคลื่อน เพราะอะไรคะ ?
    3. แล้ว พ.ศ. ที่แท้จริงของไทยคือ พ.ศ. อะไรกันแน่คะ ?
    4. เคยได้ยินมาว่าปัจจุบัน พ.ศ. ของไทยคือ พ.ศ. 2497 จริงเหรอคะ ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2009
  2. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ตารางเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

    ตารางเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ที่จะแสดงต่อไปนี้ อ้างอิงข้อมูลพื้นฐานจากเว็บไซต์ www.buddhanet.net พุทธศาสนิกชนทั่วไปโดยเฉพาะในประเทศไทยเข้าใจกันว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 623-543 B.C.E. และพุทธศักราช ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะเร็วกว่าคริสต์ศักราช 543 ปี กล่าวคือ พุทธศักราช 2550 จะตรงกับ คริสต์ศักราช 2007 แต่ในความเป็นจริงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 565-485 B.C.E. ซึ่งหากนับ พ.ศ. ตามนี้แล้วจะตรงกับ พ.ศ.2492 ไม่ใช่ พ.ศ.2550 ต่างกันอยู่ 58 ปี กล่าวคือ พ.ศ.ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันเร็วกว่าความเป็นจริงประมาณ 58 ปี​

    ความคลาดเคลื่อนนี้เกิดขึ้นเนื่องจากพุทธศักราชที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ประเทศศรีลังกาเป็นผู้จัดทำขึ้นในช่วงประมาณ 1000 ปีหลังพุทธกาล โดยนำข้อมูลจากระยะเวลาการครองราชย์ของกษัตริย์ลังกาแต่ละพระองค์นับแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งมีบันทึกไว้ในคัมภีร์ลังกาวงศ์และคัมภีร์มหาวงศ์ (คัมภีร์บันทึกเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของลังกาและพระพุทธศาสนา) มารวมกันกำหนดเป็นพุทธศักราชขึ้นและพม่ากับไทยก็นำมาใช้

    แต่ข้อมูลจากคัมภีร์ลังกาวงศ์และคัมภีร์มหาวงศ์มีความคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 58 ปี เนื่องจากในช่วงหนึ่งลังกาถูกพวกทมิฬจากอินเดียยกทัพบุกไปยึดเป็นเมืองขึ้นและเกิดสงครามกลางเมือง ผลของสงครามทำให้การบันทึกข้อมูลการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ลังกาในช่วงนั้นมีความคลาดเคลื่อนไป เราสามารถตรวจสอบเวลาที่คลาดเคลื่อนนี้ได้จากหลักฐาน 2 ประการคือ 1) การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าอโศกมหาราชกับพุทธปรินิพพานห่างกัน 218 ปี ซึ่งมีกล่าวไว้ในคัมภีร์บาลี เช่น สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย และคัมภีร์กถาวัตถุในพระอภิธรรมปิฎก เป็นต้น 2) เวลาที่พระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์คือ 267 ปีก่อนคริสต์ศักราช

    สรุปได้ตัวเลขว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานเมื่อ 485 (218+267 = 485) ก่อนคริสต์ศักราช เพราะฉะนั้นคริสต์ศักราช 2007 จึงตรงกับพุทธศักราช 2492 (2007+485) เพื่อป้องกันความสับสน ตารางแสดงเหตุการณ์นี้จึงใช้คริสต์ศักราชและจะวงเล็บพุทธศักราชไว้ข้างท้ายเหตุการณ์สำคัญๆ

    บางเหตุการณ์ที่จะกล่าวในตารางต่อไปนี้อาจจะระบุปี พ.ศ. แตกต่างกับบทอื่นๆ บ้างเล็กน้อยทั้งนี้เพราะแหล่งอ้างอิงต่างกัน เหตุที่ไม่ใช้แหล่งอ้างอิงเดียวกันเพราะไม่อาจจะหาตำราหรือแหล่งข้อมูลที่กล่าวถึงทุกเหตุการณ์ได้ครบสมบูรณ์ในเล่มเดียวกันได้ การศึกษาประวัติศาสตร์จึงมุ่งให้นักศึกษาทราบระยะเวลาของเหตุการณ์ต่างๆ ในลักษณะกว้างๆ เพราะบางกรณีไม่อาจจะระบุเวลาได้ชัดเจน และมุ่งหวังให้นักศึกษาได้บทเรียนจากประวัติศาสตร์มากกว่าการจดจำวันเวลาที่เกิดขึ้นของแต่ละเหตุการณ์ในอดีต

    ดาวโหลดตารางได้ที่นี่ครับ GB405_ch7.pdf

    ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=340&page=4

    หมายเหตุ

    พ.ศ.ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันเร็วกว่าความเป็นจริงประมาณ 58 ปีนั้น ในความคิดของผมคิดว่าน่าจะเร็วไปประมาณ 48 ปีมากกว่า โดยผมจะถือเอาพุทธทำนายจากศิลาจารึกเป็นหลัก ที่มีบางตอนได้กล่าวไว้ดังนี้

    เมื่อศาสนาของอาตมาล่วงมาได้ ๒๕๐๗ (ปีมะโรง) คนเปลี่ยนสภาพเดินเป็นคลาน

    ล่วงได้ ๒๕๐๘ (ปีมะเส็ง) ตลิ่งจะพัง แผ่นดินถิ่นอธรรมจะถล่มเป็นทะเล

    ล่วงได้ ๒๕๑๒ (ปีระกา) เมืองมนุษย์จะมืด ๗ วัน ๗ คืน โลกดิ่งสู่ความหายนะ

    ในปีนี้เป็นปี พ.ศ.2552 (ปีฉลู) ถ้าเรานับตามความเป็นจริง คือลดจำนวนปีลงมา 48 ปี ก็จะเป็นปี พ.ศ.2504 (ปีฉลู) เมื่อนำมาเทียบกับปี พ.ศ.ในพุทธทำนายก็จะได้ปีนักษัตร ที่ตรงกับปีนักษัตรในพุทธทำนายพอดี

    เช่นในพุทธทำนายได้กล่าวเอาไว้ว่า ปี พ.ศ.2512 (ปีระกา) เมืองมนุษย์จะมืด 7 วัน 7 คืน เมื่อเราเอาปี พ.ศ.2560 มาลดจำนวนปีลง 48 ปี ก็จะได้เป็นปี พ.ศ.2512 ซึ่งตรงกับปีระกาในพุทธทำนายอย่างไม่มีผิดเพี้ยน


    ***************************************************
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2009
  3. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ประวัติความเป็นมาของปีนักษัตร

    [​IMG]

    จุดเริ่มต้นเริ่มที่การปฏิวัติระบบปฏิทินบนแผ่นดินฮ่องเต้ จากการใช้ปฏิทินระบบสุริยคติที่คิดคำนวณวันเวลาจากวิถีทางโคจรของสุริยเทพ (ดวงอาทิตย์) มาเป็นระบบจันทรคติ ทำให้เกิดหน่วยของเวลาที่คล้ายๆกันกับที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน การจัดแบ่งหน่วยวันเวลาของจีนเป็นการผสมผสานระหว่างราศีบนหรือที่เรียกว่า กิ่งฟ้า (Heavenly Stems) ๑๐ ราศี ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข ๑๐ ตัว กับราศีล่าง หรือก้านดิน (Earthly Stems) ๑๒ราศีประกอบด้วยตัวเลขอักษรโรมัน ๑๒ตัว(I-XII) คือ ในหนึ่งวันมี ๒๔ ชั่วโมง แต่แบ่งออกเป็นช่วง ช่วงละ ๒ ชั่วโมง ไม่ใช่ ๑ชั่วโมง และ๑๐วัน เท่ากับ ๑ สัปดาห์ ๒๙–๓๐วัน เท่ากับ ๑ เดือน (๑เดือนแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงละ ๑๕ วัน) และท้ายสุดก็คือ ๑ รอบ เท่ากับ ๑๒ ปี จะไม่มีการนับเป็นรอบทศวรรษ (๑๐ปี) หรือศตวรรษ (๑๐๐ปี) เหมือนพวกฝรั่ง โดยในแต่ละปีจะมีชื่อเรียกเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ ๑๒ ชนิด เรียกว่า ๑๒ นักษัตร

    คำว่า “นักษัตร” หมายถึงชื่อรอบเวลากำหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ โดยกำหนดสัตว์ ๑๒ ชนิด เป็นเครื่องหมายในแต่ละปี เริ่มจากปีชวด-หนู , ฉลู-วัว , ขาล-เสือ , เถาะ-กระต่าย , มะโรง-งูใหญ่ , มะเส็ง-งูเล็ก , มะเมีย-ม้า , มะแม-แพะ , วอก-ลิง , ระกา-ไก่ , จอ-สุนัข , กุน-หมู ประวัติตำนานของการใช้สัตว์เป็นชื่อปีเป็นเรื่องที่หาหลักฐานได้ยาก

    เรื่องสิบสองนักษัตรเป็นเรื่องที่ดึกดำบรรพ์นานมาก ตามตำนานการตั้งจุลศักราชกล่าวว่า ได้เริ่มต้นใช้จุลศักราช๑ เมื่อรุ่งเช้าวันอาทิตย์ ขึ้น๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุนเอกศก ซึ่งตรงกับพุทธศักราช ๑๑๘๒ การที่กล่าวว่าเริ่มจุลศักราชในปีกุนนั้นแสดงว่าปีนักษัตรมีมาตั้งแต่ก่อนจุลศักราช แต่จะมีเมื่อไรไม่ทราบ

    ในหนังสือพงศาวดารไทยใหญ่ พระราชนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปพันธ์พงศ์ ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ในนาม ๑๒ นักษัตรข้างไทยสยามนั้น น่าจะเลียนนามสัตว์ประจำองค์สาขามาจากเขมรอีกต่อ จึงไม่ใช้นามปีตามภาษาไทยเหมือนไทยใหญ่ กลับไปใช้ตามภาษาเขมร ฝ่ายไทยใหญ่เล่าเมื่อคำนวณกาลจักรมณฑลก็ไพล่ไปเลียนนามปีและนามองคสังหรณ์อย่างไทยลาว หาใช้นามปีของตนไม่ และไทยลาวน่าจะถ่ายมาจากแบบจีนอันเป็นครูเดิมอีกต่อ แต่คำจะเลือนมาอย่างไรจึงหาตรงกันแท้ไม่ เป็นแต่มีเค้ารู้ได้ว่าเลียนจีน”

    จัดทำโดย
    นางสาวทิพย์สุดา อมรวิทยาชาญ
    โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร


    ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no18/horoscope/sec01m01p02.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12-Haed.jpg
      12-Haed.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.6 KB
      เปิดดู:
      18,606
  4. Angel_Internet

    Angel_Internet Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +56
    ขอบคุณพี่เกษมมากเลยค่ะ เพราะเรื่องนี้มีไม่กี่คนที่รู้นะคะ
    พี่เกษมความรู้เยอะจริงๆเลย สมเป็นนักปราชญ์แห่งเว็บพลังจิตจริงๆค่ะ ^^
     
  5. xyuno

    xyuno Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +54
    ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ครับ :d
     
  6. narata 12

    narata 12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    990
    ค่าพลัง:
    +1,462
    สุดยอดฝีมือ ตัวจริงเลยครับ พี่เกษม ข้าน้อยขอคารวะ มีอะไรก็ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ขออนุโมทนาครับ
     
  7. วิญญูชนจอมปลอม

    วิญญูชนจอมปลอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2008
    โพสต์:
    312
    ค่าพลัง:
    +1,124
    ขอบคุณมากๆครับ
     
  8. gatsuja

    gatsuja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    837
    ค่าพลัง:
    +876
    เวลาที่แท้จริงหรือครับ
     
  9. bluejet

    bluejet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +2,181
    เรื่อง พ.ศ. เราอาศัยนับศักราชจากลังกา
    บางทีการเปลี่ยนราชวงศ์ กษัตริย์อยากเป็นใหญ่ประกาศเดชานุภาพ ก็ประกาศนับใหม่ หรือปีไหนดวงไม่ค่อยดี ก็เปลี่ยนศักราชเสียใหม่ เพื่อให้ดี ทำให้การนับวุ่นวาย ไม่ตรงไปตรงมา

    แต่ ค.ศ. ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีปัญหา ก็คลาดเคลื่อนได้เช่นกัน
    คล้ายเราพยายามเทียบเรือสองลำในแม่น้ำที่ไหลไปเรื่อยๆ

    ความรู้สึกผมก็เชื่อว่า คลาดเคลื่อนไป ๔๘ ปี ด้วยเหตุผล ๒ อย่างคือ
    ๑ ครูบาอาจารย์ท่านบอก
    ๒ จำนวนเลข ๔๘ นั้นหารได้ด้วย ๑๒ (จำนวนปีนักษัตร) ลงตัว ผมคิดว่า ถ้าคนโบราณจะนับพลาด พลั้งเผลอไปบ้าง ก็เพราะเขาพลาดกันทีละรอบ ๑๒ ปีนี่แหละ
     
  10. tastiny

    tastiny Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +59
    แล้วถ้าเทียบกับ พศ ตามบันทึกของจีนล่ะครับ เหมือนเคยอ่านผ่าน ๆ ว่าต่างกันเยอะมาก
     
  11. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    ข้อมูลเกี่ยวเนื่องกัน ครับ

    พุทธทำนาย ต้นฉบับ

    https://www.facebook.com/permalink.php?id=426772470714870&story_fbid=426869994038451

    " เมื่อศาสนาของอาตมาล่วงมาได้ ๒๕๐๗ (ปีมะโรง) คนเปลี่ยนสภาพเดินเป็นคลาน
    ล่วงได้ ๒๕๐๘ (ปีมะเส็ง) ตลิ่งจะพัง แผ่นดินถิ่นอธรรมจะถล่มเป็นทะเล
    ล่วงได้ ๒๕๑๒ (ปีระกา) เมืองมนุษย์จะมืด ๗ วัน ๗ คืน โลกดิ่งสู่ความหายนะ "


    ไม่ทราบท่านใดมีพุทธทำนายที่เป็นภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ที่เป็นข้อความเดียวกับ 3 ประโยคข้างบนหรือปล่าวครับ ผมพยายามหาแต่ยังหาไม่เจอ จักขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

    .
     
  12. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681

    ที่ถามในความเห็นข้างบน ^ เพราะต้องการเสาะหาความจริง ส่วนตัวได้พยายามหา พุทธทำนาย ภาษาอังกฤษ ของ ฝรั่ง / จีน / แขก แต่ยังไม่สามารถหา ข้อมูลที่มีการระบุ ปี / เรื่องราว ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไร ที่เห็นก็จะพูดเกี่ยวกับ 5000 ปี หรือ กึ่งพุทธกาลหรือ 2500 ปี เท่านั้นเอง

    ศิลาจารึกทางพุทธศาสนา น่าจะถูกถ่ายทอดและตีแผ่ ทั้งภาพถ่ายและข้อความ อย่างกว้างขวาง ทั้งๆที่มีผู้เข้าไปศึกษา(ทั้งคนท้องถิ่นและต่างชาติ)ประวัติพุทธศาสนากันอย่างมากมายตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน

    เป็นเพียงคำถามที่ค้างคาในใจมาเกือบปี ที่เห็นคำทำนายนี้ครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...