พระปิดตาทำไม ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 24 เมษายน 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    [​IMG]

    มีพระเครื่องประเภทหนึ่ง ซึ่งมีพุทธศิลปะ เป็นเอกลักษณ์แตกต่าง จากพระเครื่อง ประเภทอื่นๆ จนกลายเป็น ความโดดเด่น และได้รับความนิยม อย่างสูงยิ่ง ในหมู่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะ วงการพระเครื่อง ซึ่งรู้จักกัน ในนาม " พระปิดตา"

    พุทธลักษณะของพระปิดตา เป็นรูปองค์พระ ที่ค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนัก ก็จะทำเป็นรูปมือ เพิ่มอีก ๒ ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง (วงการเรียก "โยงก้น") อีกด้วย

    ประวัติการสร้างพระปิดตาในสยามประเทศนั้น เริ่มต้นในยุคอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานที่พบพระปิดตายุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    ต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและพระปิดตาอื่นๆ เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี

    การสร้างพระปิดตา เริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักพากันจัดสร้างพระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่ว เช่น พระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) พระปิดตาวัดหนัง พระปิดตาวัดทอง พระปิดตาหลวงปู่ศุข พระปิดตาแร่บางไผ่ และ พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม เป็นต้น

    จากข้อมูลดังกล่าวอาจได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า พระปิดตาทั้งหมดเป็นพระปิดตาคณาจารย์ ซึ่งหมายถึงพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณเป็นผู้จัดสร้าง ไม่ใช่เป็นพระกรุที่สร้างโดยเจ้าพระยามหากษัตริย์ แม้แต่กรณีพระปิดตาท้ายย่านก็น่าจะจัดอยู่ในลักษณะเดียวกัน และไม่มีการสร้างก่อนสมัยอยุธยาตอนปลาย
    ลักษณะเด่นของพระปิดตานั้นนับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม" แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้

    ความหมายเบื้องต้นแห่งการปิดตาก็คือ การปิด "ทวาร" หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย
    ซึ่งเราชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์ (หรือสัตว์) มี "ทวาร" หมายถึง ประตูแห่งการเข้าออก ๙ ทาง ได้แก่ ตา ๒ จมูก ๒ หู ๒ ปาก ๑ รวมทั้ง ช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและ ด้านหลังอีก ๒ รวมเป็น ทวารทั้ง ๙
    การปิดกั้นทวารทั้ง ๙ เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณาจารย์ที่สร้างพระปิดตา (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น

    แต่การสร้างรูปจำลองในลักษณะนี้ ค่อนข้างยากต่อการออกแบบ ส่วนใหญ่จึงพบการแสดงความหมายให้เห็นเพียงการปิดพระพักตร์ ซึ่งรวมถึงการปิดปากเท่านั้น
    หากมองในแง่ความสำคัญทางการเมืองการปกครองจะพบว่า อำนาจของภิกษุสงฆ์ไม่ได้จำกัดอยู่ใน "พุทธจักร" อย่างเดียว หากแต่ยังก้าวไปถึง "อาณาจักร" อีกด้วย ตัวอย่างของบทบาทดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในกรณี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรี ที่สามารถเดินเข้าไปถาม เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ถึงข่าวลือเรื่องการยึดอำนาจกลับจาก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ และขอคำยืนยันว่าจะไม่เกิดเหตุดังกล่าว

    หรือแม้แต่การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จุดไต้ตอนกลางวันเข้าไปเตือนพระสติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ "พุทธจักร" ที่มีต่อ "อาณาจักร" อย่างเด่นชัด
    เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเกจิอาจารย์ที่สร้างพระปิดตาในระยะแรกๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนักไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) หลวงปู่ศุข หลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่ทับ เป็นต้น
    ดังนั้น "พระปิดตา" อาจถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการประกาศตนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ "อาณาจักร" เพื่อมิให้เกิดการถูกนำไปอ้างอิงหรือใช้เป็นเครื่อง "ชี้นำ" ในชะตาของบ้านเมือง

    ในระยะเวลาต่อมา คติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวารเกี่ยวเนื่องกันเรื่อยมา มีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ย ซึ่งได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ พระสังกัจจายนะ หรือ พระภควัมบดี อัครสาวกองค์สำคัญของพระพุทธองค์
    พระภควัมบดี หรือ พระมหาสังกัจจายน์ นั้น ไม่ใช่รูปสมมติแทนองค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า
    คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" อันเป็นอีกนามหนึ่งของพระมหาสังกัจจายนะ หนึ่งในพระสาวกผู้ทรงเอกทัคคะ (เป็นเลิศ) ๘๐ รูป ของพระพุทธองค์
    พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า "กาญจน" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้)

    พระมหาสังกัจจายนะท่านมีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง
    นอกจากนี้ท่านยังมีรูปร่างและผิวกายงดงามมาก จนได้ชื่อว่า "พระภควัมปติ" อันมีความหมายว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า"
    ความงดงามแห่งรูปกายนี้เองก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิงจนเกิดเรื่องพิพาทกันไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทำให้พระมหาสังกัจจายนะเกิดสลดสังเวชในใจพิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงาม ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย ท่านจึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างกลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน
    แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติยังส่งให้พระสังกัจจายน์เป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญตลอดมามิมีขาด

    ด้วยความนิยมในพุทธสาวกองค์นี้ โบราณาจารย์จึงได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดีในรูปพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติ อันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในหลายลักษณะ อาทิ

    - พระสังกัจจายน์ อันเป็นที่รักใคร่นิยมยินดีเปี่ยมไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ
    - พระปิดตาทวารทั้ง ๙ อัน เป็นการปิดกั้นอาสวะกิเลสแห่งทวารเข้าออกทั้ง ๙ ของร่างกาย
    - พระปิดตามหาอุด อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง ในกระบวนพระปิดตาของคณาจารย์แต่โบราณนั้น มีที่ขึ้นชื่อลือเลื่องหลายสำนักด้วยกัน วัสดุมวลสารที่นำมาประกอบเป็นองค์พระมีทั้งเนื้อชินตะกั่ว เนื้อผงคลุกรัก เนื้อผงใบลาน เนื้อผงมวลสาร เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ เป็นต้น
     
  2. ศิษย์หลวงพ่อ

    ศิษย์หลวงพ่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +366
    โมทนาครับ
     
  3. tassanai_k

    tassanai_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,518
    โมทนา สาธุ
    ทุกอย่างแฝงไปด้วยคติธรรม
     
  4. UFO99

    UFO99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2005
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +983
    ขออนุโมทนาด้วยน๊ะครับ บังเอิญผมก็มีพระปิดตาอยู่องค์หนึ่ง พึ่งจะรู้ความหมายก็วันนี้แหละ ขอบคุณครับ
     
  5. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,332
    พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี
    หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เป็นการสร้างตามแบบของ"พระภควัมบดี"แปลว่าผู้มีความงามละม้ายคล้ายพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นพระนามหนึ่งของพระมหา
    กัจจายนะ ซึ่งมีความเด่นด้าน ผู้มีลาภสักการะ เมตตามหานิยม เกจิอาจารย์จึงได้สร้างรูปลำลองของพระมหากัจจายนะในปาง " เข้านิโรธสมาบัติปิดตาอธิฐานลาภ "
    http://www.geocities.com/buddhamontra/page007.htm


    <TABLE width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=151>[​IMG]</TD><TD width=22> </TD><TD width=156>[​IMG]</TD><TD width=21> </TD><TD width=152>[​IMG]</TD><TD width=17> </TD><TD width=151>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่ หลังแบบ[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่ หลังแบบ[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่ หลังแบบ[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่ หลังแบบ[/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่ หลังแบบ[/FONT]​
    </TD><TD>
    </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่ หลังแบบ[/FONT]​
    </TD><TD>
    </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่ หลังเรียบ[/FONT]​
    </TD><TD>
    </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่ หลังเรียบ[/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์หลังแบบ[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์หลังแบบ[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่หลังยันต์[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่ หลังแบบ[/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่หลังยันต[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์ใหญ่หลังยันต์[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์กลาง[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์กลาง หลังเรียบ[/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์กลาง[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์กลาง หลังแบบ[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์กลาง หลังแบบ[/FONT]​
    </TD><TD> </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิมพ์กลาง หลังเรียบ[/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  6. รสิตา

    รสิตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +475
    โมทนาบุญด้วยค่ะ ..
    นอกจาก..ลักษณะความงามต่าง ๆ ที่พระมหาสังกัจจายนะมีความละม้ายคล้ายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ แส้ว บารมีของพระสังกัจจายน์ยังแผ่กว้างไกล ได้รับการยอมรับนับถือ ศรัทธาอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน หรือชนชาติต่าง ๆ เชื้อสายจีน นับอันดับน่าจะรอง ๆ ลงมาจากองค์พระแม่กวนอิม

    อาจเนื่องมาจากองค์พระท่านมหาสังกัจจายนะเอง มีบารมีของพุทธภูมิเดิมสั่งสมอยู่ไม่น้อย ท่านก็เคยปรารถนาพระโพธิญานมาแต่ครั้งอดีตกาล แต่ได้ลาพุทธภูมิภายหลัง

    ความเป็นเอกทัคคะในทางปฏิภาณ ทำให้ท่านถูกยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์เอก ในด้านวิปัสสนา
     
  7. หนูมาลี

    หนูมาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2005
    โพสต์:
    605
    ค่าพลัง:
    +1,148
    บูชาอยู่เหมือนกันคะ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า มันมีอานิสงค์ยังไง
    ที่อ่านๆมาก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เอาเป็นว่าดี ทุกพระก็แล้วกัน
     
  8. ภ.ภากรเกียรติ

    ภ.ภากรเกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +187
    ขออนุญาตทำความเข้าใจ

    ขออนุญาตทำความเข้าใจนิดหนึ่งนะครับ เนื่องจากมีผู้เข้าใจผิดและสับสนกันมากในความคล้ายคลึงระหว่าง "พระกัจจายนะมหาเถระ" ของพุทธเถรวาท และ "พระเมตไตรย์โพธิสัตว์" หรือ หมีเล่อผูซ่า ของพุทธมหายาน ว่าเป็นองค์เดียวกัน แต่ความเป็นจริงแล้วทั้ง 2 ท่าน เป็นคนละองค์กันนะครับ

    จุดสังเกตุง่ายๆ คือ พระกัจจายนะมหาเถระ หรือ พระสังกัจจายน์ ท่านจะมีรูปลักษณ์อ้วนท้วน สมบูรณ์ ครองจีวรแบบสงฆ์ ส่วนมากจะประสานมือ 2 ข้างไว้ที่บริเวณหน้าท้องหรือพุงของท่านนั่นแหละครับ ส่วน พระเมตไตรย์โพธิสัตว์ หรือ พระศรีอริยะเมตไตรย์ แบบจีน ท่านจะมีลักษณะอ้วนท้วนเหมือนกัน แต่จะมีย่ามติดตัวด้วย 1 ใบ จีวรของท่านส่วนใหญ่มีสีสันแบบจีน (มีประวัติตำนานที่มาครับ แต่ขอละไว้ก่อน) ส่วนอากัปกิริยาจะยิ้มแย้ม แจ่มใส เบิกบาน มักจะประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าของวัดจีนทั่วไป หันหลังชนกับ พระเวทโพธิสัตว์ ผู้ตั้งปณิธาณในการปกป้องพระพุทธศาสนา ตามความเชื่อของพุทธมหายาน

    ซึ่งโดยมากวิหารนี้จะอยู่หน้าอุโบสถใหญ่ที่ประดิษฐานของ พระศากยะมุนีพุทธเจ้า หรือ ซือเจียมอนีฝอ (และมักจะมี พระอมิตตาภพุทธเจ้า หรือ ออมีทอฝอ และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชตถาคตเจ้า หรือ เอียะซือฮุก ประดิษฐานอยู่เคียงข้างด้วย) ทั้งนี้เพราะถือว่า พระเมตไตรย์โพธิสัตว์ เป็น "พระอนาคตพุทธะ"

    ขอแสดงความนับถือครับ

    [b-wai] [b-wai] [b-wai] [b-wai] [b-wai] [b-wai]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2006
  9. ภ.ภากรเกียรติ

    ภ.ภากรเกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +187
    อนุโมทนาครับ

    " ... พระมหาสังกัจจายนะท่านมีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง ... "

    ชัดเจนดีแท้แล้วครับ ขออนุโมทนา :cool:
     
  10. ท่าข้าม

    ท่าข้าม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2006
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +2,513
    โมทนา ก็สิ่งที่ตาเนื้อเห็นมันไม่จริงเลยซักอย่าง รู้สึกว่าเห็นพระสังกัจจายน์แล้วคิดถึงหลวงพ่อฤาษีลิงดำจัง ไม่รู้เกี่ยวหรือเปล่าแต่เวลาอ่านธรรมมะของหลวงพ่อแล้วรู้สึกแบบนั้น คือท่านอธิบายเรื่องยาวและยากให้สั้นเข้าและเข้าใจง่ายด้วย
     
  11. ศักดิ์

    ศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,187
    ค่าพลัง:
    +2,022
    ขออนุโมทนา..สาธุ...สาธุ...สาธุ.....นโมพระโพธิสัตว์กวนอิม....
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...