รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    สภาวะอย่างนี้คืออะไรกันแน่?

    ขอความอนุเคราะห์ท่านเจ้าของกระทู้สอบถามข้อสงสัยด้วยครับ

    ผมเคยฝึกจิตมาบ้าง วิธีการที่ใช้จะเน้นอานาปานสติเป็นหลัก จับลมหายใจเข้า ออก ภาวนาว่าพุทโธไปด้วย ส่วนผลการปฏิบัติก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายเป็นสำคัญ บางวัน กินอิ่ม นอนหลับ ไม่มีเรื่องวุ่นวายรบกวนจิตใจก็ทำได้ดี บางวันร่างกายไม่พร้อม การปฏิบัติก็ไม่ได้เรื่องได้ราว สลับเปลี่ยนกันไป

    เวลาที่ปฏิบัติได้ดี หลายครั้งมีความรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป ลมหายใจเหลือน้อยลงทุกที เกือบหายไป ประสาทสัมผัสต่างๆ เกือบจะหายไปหมด หูแทบไม่ได้ยิน จมูกไม่ได้กลิ่น ผิวสัมผัสก็เหมือนกับจะไม่มี

    บางครั้งเลยเถิดไปถึงลมหายใจหายไปหมดสิ้น ประสาทสัมผัสทุกอย่างหยุดสนิท เหลือแต่จิตอยู่อย่างเดียวโดดๆ แต่ปรากฎการณ์อย่างนี้เกิดเป็นพักๆ วูบไป วูบมา เป็นช่วงสั้นๆ พักเดียวพอรู้ตัว ลมหายใจกับประสาทสัมผัสก็เริ่มกลับมารู้สึกเล็กน้อยอีก เข้าๆออกๆอยู่ระหว่างลมหายใจและประสาทดับ กับลมหายใจและประสาทรับรู้ได้เล็กน้อยอยู๋อย่างนี้

    ผมไม่ทราบว่าภวังค์แรกที่มีความรู้สึกลมหายใจหาย ประสาทสัมผัสดับไปหมดอย่างนี้คือเหตุการณ์อะไรครับ ผมไม่อยากจะเรียกว่าฌาณ เพราะรู้สึกว่าคำๆนี้ ยังอยู่ห่างไกลจากตัวผมจริงๆ

    ที่ผ่านมา ผมไม่เคยมีอาการตัวโยกไป โยกมา น้ำตาไหล ขนลุก ขนพอง เกร็ง หรือว่าอะไรต่างๆ ที่เป็นปรากฏการณ์ในระดับปฐมฌาณเลย

    เอาเป็นว่าปฐมฌาณก็ยังไม่เคยผ่าน ดังนั้นเรื่องฌาณ 2 ฌาณ 3 ฌาณ4 คงยังไม่ต้องไปพูดถึง

    สิ่งที่ผมสงสัยก็คือ อาการลมหายใจหาย ประสาทสัมผัสทุกอย่างหายไปเหลือแต่จิตโดดๆนี้ มันเป็นอะไรกันครับ ความจริงผมอยากจะฝึกประคองสภาวะนี้ไว้นานๆ เพราะอยู่ในนั้นแล้วก็สนุกดี แต่ใจหนึ่งก็กลัวว่าจะเป็นโทษ เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรจะไปยุ่งเกี่ยวกับสภาวะอย่างนี้

    อยากเรียนสอบถามว่าผมควรจะเอาจิตเข้าไปจดจ่อกับสภาวะลมหายใจหาย ประสาทสัมผัสหาย เหลือแต่จิตโดดๆ อย่างนี้ต่อไปหรือไม่ หรือว่าควรหลีกเลี่ยงไปเสีย ถอนจิตออกไม่ให้ไปเกี่ยวข้องเพราะว่าจะเป็นโทษครับ

    ไหนๆก็ไหนๆ แล้ว ผมขอถามเพิ่มเติมอีกว่า

    1. ถ้าเป็นฌาณ 3 ฌาณ 4 ของอานาปานสตินี่ การฝึกแปรสภาพการทรงฌาณ ไปเป็น ฌาณใช้งาน พวกอธิษฐานฤทธิ์ หรือ ใช้ญาณ 8 ต่างๆ นี้สามารถทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้ ต้องฝึกอย่างไรครับ (ของเหล่านี้เป็นสิ่งจูงใจเล็กๆ น้อยๆ ของผม ถ้าฌาณ 4 ของอานาปานสติทำสิ่งเหล่านี้ได้ ผมจะได้มีแรงจูงใจส่วนหนึ่ง ให้อยากฝึกให้ถึงปฐมฌาณให้ได้เป็นอันดับแรกครับ)

    2.ฌาณ 4 ของอานาปานสติ หากจะฝึกต่อยอดไปถึงอรูปฌาณคือ ฌาณ 5 - ฌาณ 8 นี่ จะฝึกต่อได้หรือไม่ครับ หรือต้องเปลี่ยนการฝึกเป็นสายอื่นที่ไม่ใช่อานาปานสติ แล้วเป็นฆราวาสนี่ฝึกฌาณ 5 - ฌาณ 8 ได้หรือไม่ครับ หรือต้องบวชเป็นพระอย่างเดียวถึงจะฝึกได้

    ขออภัยด้วยนะครับ ฌาณ 1 ยังไม่เคยผ่าน แต่ไปอยากรู้ถึงฌาณ 8 แล้ว อาจจะข้ามขั้นไปบ้าง แต่ก็ขอถามไว้เป็นความรู้เบื้องต้นนะครับ

    รบกวนสอบถามเพื่อเป็นความรู้และประโยชน์ในเชิงวิทยาการต่อไปด้วยครับ ขอขอบคุณครับ
     
  2. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ makoto12 ครับ

    คือ ปรกติธรรมดาก็อยู่ในสมาธิแต่ ในอดีตชาติ เคยอยู่จุดกึ่งกลางของทางช้างเผือก ภาพนั้นได้ติดตรึกหัวจิตหัวใจ เพราะเริ่มจะระลึกได้ แล้วมันก็คล้ายกับว่า เราอยู่ ณ ที่นั้นจริงๆ ตั้งหลายต่อหลายครั้ง สวยมากๆคับ และ ก็ที่เดิม กี่ครั้งๆก็ ที่เดิมคับ รูปพระที่เรากำหนดก็เห็นแต่ราวกับว่า แยกไปอีกจอนึง เหมือนโทรทัศมีสองเครื่อง เครื่องหนึ่ง ฉายรูปพระเป็นเพรช อีกเครื่องหนึ่ง เห็น เราเป็นเหมือนกับดวงดาวดวงนึง อยู่กลางทางช้างเผือก ไม่ทราบเหมือนกันว่ามันเป็ฯอย่างนี้ได้ไง ก็ไม่ได้ใส่ใจแต่ ทำไปสักพัก ภาพก็เริ่มชัดขึ้นอีก คับ ~~;

    เราต้องวางครับ ไม่ให้ใจเกิดความพอใจในสภาวะนั้น เพราะถือเป็นภพภูมิประเภทหนึ่งครับ
    รู้ว่าเราเคยอยู่ตรงนั้น แต่ว่าการเวียนว่ายตายเกิดก็ไม่เที่ยงเห็นไหมครับ
    หากการเวียนว่ายตายเกิดดีจริง เราก็ควรจะได้อยู่ตรงนั้นตลอดไปสิครับ
    แต่นี่เราต้องมาเกิดใหม่ ต้องคลาดจากสภาวะนั้น ซึ่งก็แปลว่าสภาวะนั้นก็ไม่เที่ยงเช่นกันครับ
    ให้ใจของเราพอใจอยู่เพียงสภาวะเดียว คือ สภาวะของพระนิพพาน
    ให้จิตเหลือแต่ภาพพระ ที่เป็นเพชร แย้มยิ้ม ชัดเจนแจ่มใสครับ
    สิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ให้ดูความไม่เที่ยงของสภาวะเหล่านั้น เพื่อที่ใจจะได้ไม่ปรารถนาในสภาวะนั้นอีกครับ

    จะสวยยังไงก็ไม่เที่ยง จะสวยยังไงก็ไม่สวยเท่าพระนิพพาน ให้พิจารณาแบบนี้ครับ<!-- google_ad_section_end -->

    ครับ ผมปฏิบัติตามคำสอนของหลวงพ่อฤษีลิงดำคับ และก็คำชี้แนะคำสอน ของ รุ่นพีุ่รุ่นน้องในการปฏิบัติตามหลักที่ถูกต้องในการปฏิบัติคนเดียวฝึกคนเดียวที่บ้านคับ<!-- google_ad_section_end -->

    การปฏิบัติคนเดียวฝึกคนเดียวที่บ้าน เป็นข้อที่เราควรจะระวังด้วยเหมือนกันครับ
    บางครั้งความคิดเช่นนี้ก็มีกิเลสตัวละเอียดซ่อนอยู่ครับ พวกมานะทิษฐิอาจจะฝังลึกได้ต้องระวังครับ
    การฝึกกันเป็นหมู่คณะ จะทำให้เราได้หลายสิ่งหลายอย่าง ที่เราจะไม่ได้หากเราฝึกคนเดียวครับ
    มีวิชชาหลายๆตัว ที่จะสอนต่อเมื่อมาเจอต่อหน้าเท่านั้นครับ
    เพราะเป็นเรื่องที่สอนผ่านเว็บ หรือระยะไกลไม่ได้ ต้องทำให้ดู และให้ทำตามครับ
    ถ้าเป็นไปได้ มีโอกาสก็มาฝึกด้วยกันก็ได้ครับ แต่ก็พอเข้าใจว่าตารางเวลาค่อนข้างจะแน่นครับ

    ขอให้มีความตั้งมั่นในไตรสรณคม และความปรารถนาในพระนิพพาน ตลอดไป ทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกภพชาติ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานอย่างแท้จริงด้วยเทอญ
     
  3. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Dhamma T-PO ครับ

    คือ ผมมาสนใจการฝึกสมาธิ เมื่อประมาณ 2-3 เดือนที่แล้ว เกิดจากการได้อ่านหนังสือ
    ไอ สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น และก็เล่มอื่นๆ อีกค่อนข้างหลายเล่ม ทำให้ผมเกิดศรัทธา ในองค์ สัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างมาก บวกกับการฟังซีดีธรรมมะ ของพี่ที่ผมรู้จัก ที่มาวานผมช่วยไรท์ซีดีให้ ตอนแรกก็ไม่ได้สนใจอะไร คิดว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่พอได้มาลองฟังดู เรื่องราวต่างๆ ก็คล้ายกับ
    ในหนังสือ เรื่องราวที่ทั้งผู้เขียนและผู้บรรยาย ได้เจริญภาวนา ได้ประสบพบเจอ ทั้งๆที่เป็นคนละ
    คนกันแต่กับคล้ายกัน จึงเกิดการสงสัยว่าเป็นจริงหรือไม่ จึงอยากลองพิสูจน์ดู เพราะผมไม่เชื่อใน
    เรื่องราวของปาฏิหารย์ต่างๆ เรื่องราวที่เกินจากความจิง ผมคิดว่ามันอาจเป็นแค่กุสโลบาย ให้คน
    หันมาเชื่อ และหันมาทำความดี อย่างเช่นเรื่องของสวรรค์และนรก มันคงเป็นเรื่องปกติที่ผมเกิดมา
    ในยุคที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า เกิดจะเชื่ออะไรที่เป็น นามธรรมจับต้องไม่ได้ จึงทำให้ผมอยาก
    ทดลองดู


    พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า วิปัสสนากรรมฐาน และสมถกรรมฐาน นี้เป็น สายเอก เพื่อจะไปแห่งมรรคผลนิพพาน จึงทำให้ผมน้อมใจอยากเข้ามาลองปฏิบัติ


    จนมื่อเดือนที่แล้วได้มีโอกาสเข้าไปปฏิบัติธรรมได้ 2 วัน ที่วัดภัททันตะอาภาสราม หลังขึ้นครูกรรมฐานเสร็จพระอาจารย์ บอกให้กำหนดยุบหนอ-พองหนอสังเกตุอาการที่หน้าท้อง ในตอนนั้น นั่งกำหนดไปไม่ค่อยเเห็นอาการพอง-ยุบ และก็รู้สึกไม่ค่อยสงบ ไปครั้งนั้นคิดว่าคงไม่ได้อะไร



    แต่ไม่เป็นอย่างนั้น พอผมขับรถกลับบ้าน เสียงที่เกิดขึ้นภายในรถกับดังอย่างมาก ขับรถไปก็กลับรู้สึกว่าถนนไม่เรียบเหมือนกลับตอนมา ทุกๆการสั่นสะเทือนรับรู้ชัดเจนขึ้นอาจเป็นว่าเพราะเรามีสติมากขึ้นก็ได้

    ถามคุณ Xorce ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ

    ถูกครับ พอมีสติมากขึ้นจะรับรู้สิ่งต่างๆทางประสาทสัมผัสได้ชัดเจนขึ้นครับ



    หลังจากนั้นก็มีกำลังใจทำต่อไป แต่ว่าการดู พอง-ยุบ ของหน้าท้องไม่ค่อยชัดนัก ก็เลยลองไปหาศึกษาเพิ่มพบว่าสามารถ ฝึกสมถะกรรมฐานก่อนให้จิตนิ่งแล้วจึงค่อย เจริญวิปัสสนาได้ ก็เลยเริ่ม
    ลองกำหนดแบบอานาปาณสติ กำหนดลมหายใจ พุท-โธ รู้สึกว่าตัวเองทำสมาธิง่ายขึ้น


    วันที่สองที่ทำก็เป็นปกตินั่งด้วยท่าขัดสมาธิ ก็รู้สึกว่ามีสมาธิมากขึ้น แต่พอวันที่สาม ผมนั่งอยู่บนเก้าอี้ ไม่ได้ตั้งใจนึกได้แล้วลองกำหนด พุท-โธ คราวนี้รู้สึกว่าลมหายใจที่มากระทบที่ขอบจมูกเบามากเลยครับ นั่งไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกว่ามือหายไป ลมหายใจเบามาก รู้สึกว่าตัวหายไปด้วย พอออกจากสมาธิก็รู้สึกดีใจมาก คิดว่าสมาธิเราน่าจะก้าวหน้า

    ถามคุณ Xorce สามารถนั่งบนเก้าอี้แล้วเจริญภาวนาได้หรือเปล่าครับ
    มีข้อเสียหรือไม่ครับ


    ทำได้ครับ ไม่มีข้อเสียครับ
    จะนั่งบนโซฟา ที่มีความนุ่ม พิงหลังให้สบาย เพื่อให้กายสบาย ใจเกิดความสบายที่สุด ก็ทำได้ครับ
    หรือจะนอนบนเตียงนุ่มๆ จับลมหายใจสบายๆ ก็ได้ครับ
    คนนั่งเก้าอี้กับนอนฝึกนี่ ถอดจิตได้กันหลายคนแล้วครับ
    เทคนิคนะครับ ทำร่างกายให้สบายก่อน แล้วก็ค่อยทำใจให้สบายครับ
    พอกายสบาย จิตมันก็ไม่เกาะกับกาย ไม่พะวงร่างกาย จิตก็เป็นสมาธิได้โดยง่าย
    อาการที่ตัวหาย อันนี้เป็นฌาณ4ละเอียด แล้วนะครับ อารมณ์นี้ต้องทำให้ได้เสมอๆจะดีมากครับ



    หลังจากนั้นวันต่อมาลองนั่งอีก แต่คราวนี้กับไม่สงบ และรู้สึกปวด และก็มึนหัวมาก พยายามทำให้สงบแต่ก็ไม่สงบ กลับไม่สงบเหมือนเมื่อวาน เริ่มเกิดอาการท้อ


    หลังจากนั้นผมก็นั่งมาเรื่อย และก็ปวดหัวทุกครั้ง ซักพัก ผมจึงคิดว่าทำไมจึงปวดและมึนหัวทุกครั้งที่ออกจากสมาธิ ผมก็ลองเอาจิตไปสังเกตุที่บริเวณคิ้ว รู้เลยว่ามันเกร็งมาก จากนั้นก็เลยเข้าใจเลยครับ ว่าถ้าหากอยากให้มันสงบมันจะไม่สงบ ต้องปล่อยใจให้เป็นกลาง ไม่ต้องอยากให้มันเป็นเหมือนวันนั้น

    ลักษณะที่ปวดคิ้ว มึนศรัษะ เรียกว่า อารมณ์หนักไปครับ
    คือ เคร่งไป คาดคั้นตัวเองมากไป อยากให้สงบมากไป อยากให้สงบจนเครียดก็ว่าได้ครับ

    ต่อจากนั้นผมก็ค่อยๆ คลายความรู้สึก มันก็คลาย แล้วผมก็ ภาวนาต่อ ก็รู้สึกตึงอีก ผมก็เอาจิตไปสังเกตุอีกมันก็คลาย ทำอยู่อย่างนี้อยู่ตลอด จนมันไม่เกร็ง เหนื่อยเหมือนกันครับ

    จากวันนั้นผมก็เริ่มทำสมาธิใหม่ คราวนี้สมาธิมันเริ่มเหมือนเดิม คิดว่าน่าจะสงบ ลมหายใจเบาขึ้นจนแทบไม่มีลมหายใจ แล้วที่แปลกก็ตรงที่คำว่า พุท-โธ เริ่มเบาเรื่อยๆ ตอนนั้นรู้สึกว่ามันเบาเหลือเกิน ออกจากสมาธิ รู้สึกว่า ไม่ง่วงนอนเลย แต่ปกติเป็นคนชอบง่วงน่ะครับ

    มีอยู่วันหนึ่งวันนั้นก็ไม่ได้กะจะนั่งสมาธินะครับกำลังหยิบหนังสือมาอ่าน จากล็อคเกอร์ ก็เห็นได้เห็นเส้นสั้นๆ เป็นสีๆ อยู่เต็มไปหมด คล้ายๆมองภาพผ่านคอม ผมจึงมองมาทางซ้าย ก็ยังเห็นอยู่ หันไปมาตรงๆ ก็เห็น แต่ผมจึงพยายามจะจ้องมองดูว่ามันเป็นอะไร มันกลับหายไป อาจเป็นภาพลวงตาก็ได้ แต่ก็สงสัย หลังจากนั้นก็เลยนั่งสมาธิ แต่คราวนี้กลับไม่เห็นอะไร แล้วแถมยังไม่สงบอีก คงเ้ป็นเพราะใจผมคงจะอยากเห็นและอยากรู้ว่าสิ่งที่ผมได้เห็นคืออะไร บางครั้งผมก็คิดว่าการทำสมาธินั้นง่ายๆ แต่บางทีก็แสนยาก ไม่ว่าจะพยายาม
    แค่ไหนก็ไม่สงบ เกิดอาการท้อบ้างครับ

    ถามคุณ Xorce ที่เห็นนี่คืออะไรครับ

    ต้องอย่าไปสนใจครับ ถ้าเป็นอาการของสมาธิจะเห็นด้วยใจ เห็นด้วยจิตครับ
    ถ้าเห็นด้วยตาเนื้อ ก็อย่าไปสนใจครับ นอกจากจะเห็นเป็นเทวดา หรือพระมาหา ด้วยตาเนื้อ อันนี้อีกเรื่องนึงครับ


    แต่แล้วผมก็มานั่งวิเคราะห์ว่าทำไมไม่สงบ อาจจะเป็นเพราะความอยากเห็นภาพนั้นอีก เหมือนกับตอนแรกที่อยาก อยากให้สมาธิสงบ จึงเริ่มมาตัดความอยาก หลังจากนั้นได้ลองปฏิบัติดูก็พบว่ายังไม่สงบ
    แต่อาจเป็นเพราะผมอาจจะแค่ตัดความอยากออกไปจากสมองเพียงอย่างเดียวแต่ในจิตอาจจะมีความอยากอยู่ ผมจึงรู้ทันทีเลยครับว่ามันช่างละเอียดอ่อนจัง จึงทิ้งจากการนั่งไป 2-3 วัน ลืมเรื่องนั้นไปเลย


    คราวนี้ลองกลับมานั่งดูคราวนี้สงบเหมือนกับครั้งแรกๆ ลมหายใจเเบาลงเรื่อยๆ จนเหมือนไม่ได้หายใจเลยครับ ( ลืมบอกไปครับผมไม่ได้นั่งขัดสมาธิพอดีนั่งบนเก้าอี้น่ะครับ ) แต่พอนั่งไปได้ซักพัก เหมือนลืมภาวนาไป เลยกลับมาภาวนาต่อ พอภาวนาต่อได้ซักพัก คราวนี้ ตัวผมเริ่มสั่นครับ สั่นเหมือนว่าหนาวสั่นมันไม่ยอมหยุด ผมสั่นอยู่ได้ซักพัก ผมก็กำหนดรู้หนอ แต่มันก็ไม่หาย คราวนี้ผมเปลี่ยนใหม่ไม่สนใจกับอาการสั่น หันกลับมาภาวนา พุท-โธ ต่อ ซักพักอาการสั่นก็หายไป คราวนี้สมาธิกลับมาเหมือนตอนเพิ่งเริ่มนั่ง คือได้ยินเสียงรอบๆ ชัด จึงไม่แน่ใจ อาจจะสมาธิหลุดหรือเปล่าก็ไม่รู้ เลยนั่งอีกพักก็เลยเลิกไป อยากรู้เหมือนกันครับว่า อาการสั่นมันคือ อะไร แล้วต่อไปต้องทำยังไง


    แต่หลังจากนั้นผมก็ลงไปหาความรู้ในอินเตอร์เน็ตครับ อ่านดูที่อาการ ของ ปิติ เทียบดู แต่ก็ไม่แน่ใจ เพราะไม่มีอาการสั่น เห็นมีแต่อาการ ตัวโยก หรือเห็นเป็นแสง ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่าครับ

    ถามคุณ Xorce อาการสั่นเป็นอาการของปิติใช่หรือเปล่าครับ ผมลองเปิดดูในเว็บเค้าบอกว่าเป็นอาการที่ยึดอยู่กับร่างกายมากเกินไปครับ

    สั่น เป็นอาการของปีติครับ เป็นอาการที่จิตเข้าสู่อุปจารสมาธิครับ
    ถ้าคำภาวนาหายต้องล่อยให้มันหายครับ อย่าไปดึงมันกลับมา ให้จับแต่ลมหายใจอย่างเดียว
    จนกระทั่งลมหายใจสบาย ราบรื่น ปลอดโปร่ง ลมหายใจ เบาลงช้าลง จนกระทั่งหยุดไป คล้ายกับไม่หายใจ
    ไม่คิด ความคิดหายไป จิตนิ่ง เบาสบาย ปราศจากความคิด ให้ประคองอยู่ในอารมณ์ที่นิ่ง สบาย เบานี้ ตราบนานเท่านานครับ

    ต่อมาผมก็ทำสมาธิอยู่เรื่อยรู้สึกว่า ลมหายใจมันเบามาก ขนาดตอนออกจากสมาธิ มันก็ยังเบาครับ ตอนใช้ชีวิตประจำวันก็รู้สึกว่าเบาอยู่ตอนเวลาเลยครับ แต่ข้อดีของมันก็คือ ผมเข้าสมาธิได้เร็วกว่าเดิม ( ปกติต้องประมาณครึ่งชั่งโมง กว่าจะรู้สึกว่าลมหายใจเบา แล้วก็ตัวเหมือนหายไปแต่ตอนนี้รู้สึกว่าไม่น่าถึง ) แต่มันเป็นอุปสรรค เพราะว่าช่วงหลังมานี้ตั้งแต่เริ่มทำสมาธิจับลมหายใจไม่ได้เลยครับ (ผมกำหนดจากลมที่มากระทบกับขอบจมูกครับ) บางครั้งเพิ่งเริ่มหลับตาได้พักเดียวเริ่มลืมคำภาวนาซะแล้ว


    ถามคุณ Xorce ผมควรใช้อะไรกำหนดต่อไปดีครับ

    แปลว่าจิตทรงอยู่ในฌาณทั้งวัน ลมหายใจจึงไม่ค่อยมีครับ
    ให้กำหนดอยู่ที่ความสบายครับ เป็นความสบาย ผ่อนคลาย อาการหยุด
    พักผ่อนจากความคิด จิตไม่คิด เหลือแต่ความสบาย
    ให้กำหนดจิตอยู่ในอารมณ์สบายครับ

    ตอนนี้นั่งสมาธิกับไม่ค่อยสงบ บางทีก็มีภาพคนต่างๆ ที่ผมไม่เคยเห็น อยู่ๆก็ผุดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ทั้งที่ผมก็ไม่ได้คิด จากนั้นก็ตั้งใจจดจ่อลมหายใจและคำภาวนาอีกครั้ง ซักพักรู้สึกแปล๊บ เหมือนโดนไฟซ็อต คราวนี้เหมือนสมาธิหลุดออกมา เสียงรอบข้างดังปกติ แต่รู้สึกว่าไม่ค่อยสนใจ กลับมาภาวนาต่อทำได้ง่ายครับ ไม่ต้องตั้งใจมากเหมือนตอนแรก แต่นั่งได้ซักพักก็ออกจากสมาธิ

    ถามคุณ Xorce ภาพที่เห็นเกิดขึ้นจากอะไรครับ , แล้วความรู้สึกแปล๊บแล้วเหมือนสมาธิหลุดนี่เป็นอะไร และต้องทำอย่างไรต่อครับ

    ภาพเกิดจกจิตไม่สงบครับ ความรู้สึกแปลป ก้คือจิตประคองสมาธิเอาไว้ไม่ได้ครับ
    อาการเหล่านี้พยายามอย่าไปสนใจครับ

    เรามาเน้นแก้ให้ตรงจุดดีกว่าครับ
    ตอนนี้ การทรงสมาธิของคุณยังมีขึ้นๆลงๆ รู้สึกใช่ไหมครับ
    วันนึงทำได้ดี พอมาอีกวันนึงก็ไม่ทรงตัว
    ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า
    1. คุณยังจดจำอารมณ์ของสมาธิไม่ได้
    2.ยังวางอารมณ์ได้ไม่มั่นคงนัก ยังมีหนักไป ในบางคราว
    3.ยังไม่รู้ลำดับขั้นของสมาธิ ทำให้วางไม่ถูกว่า ควรจะจับอารมณ์ไหน อันไหนควรจะปล่อยมันไปดี
    4.คุณไม่ได้ อธิษฐานปักหมุด และจดจำอารมณ์เอาไว้ ก็เลยขาดความคล่องตัวในการเข้าออกสมาธิ และประคองสมาธิ

    วิธีแก้นะครับ
    1.ผมจะอธิบาย ลำดับขั้นของสมาธิก่อนครับ
    -คำภาวนา
    -คำภาวนาหายใป เหลือแต่ลมหายใจ
    -ลมหายใจเบาลง ช้าลง พริ้วไหว เนียนนุ่ม ดุจแพรวไหมสีขาว
    -ลมหายใจหยุดไป ดับไป เบาลงจนไม่หายใจ จิตหยุดนิ่ง ความคิดหยุด เหลือแต่ความสบาย อารมณ์สบาย นิ่ง หยุด

    ดังนั้นหากคำภาวนาหายไป แล้วเราดึงกลับมาใหม่ ก็เท่ากับเราถอยสมาธิตัวเองครับ
    ถ้าหายไปก็ปล่อยไปเลยครับ หันมาจับลมหายใจแทน
    พอลมหายใจหายไป ก็ปล่อยไปเลยครับ ประคองอารมณ์สบายเอาไว้ครับ

    2.ใจสบาย ทุกอย่างอยู่ที่ทำใจให้สบายครับ
    ถ้านั่งเก้าอี้สบายไม่พอ ก็นั่งโซฟา หรือนอนเลยก็ได้ครับ
    กายยิ่งสบาย ยิ่งทำสมาธิได้ง่ายครับ
    นั่งให้สบาย ให้ห้องที่อากาศถ่ายเท มีความสดชื่นของอากาศ
    คนที่ไม่ได้สมาธิ จะฝึกให้ได้สมาธิ ต้องนั่งให้สบาย
    คนที่ได้สมาธิแล้ว จะไปฝึกนั่งอย่างไรก็ได้ครับ
    แต่ถ้ายังไม่ได้สมาธิ แล้วไปฝืนนั่งลำบากๆ ก็จะไม่ได้อะไรเลยครับ

    3.ก่อนจะจับลมหายใจ

    ให้ทำขั้นตอนที่มีชื่อว่า การกักลมและล้างลมหยาบ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ก็คือให้เราหายใจเข้าลึกๆ แรงๆกลั้นลมหายใจเอาไว้<o:p></o:p>
    จากนั้น ภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆๆๆ ซ้ำไปซ้ำมาประมาณ10วินาที<o:p></o:p>
    จากนั้นจึงหายใจออก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    ให้เราทำซ้ำ 10ครั้งนะครับ<o:p></o:p>
    เวลาหายใจเข้าให้สัมผัสถึงความเย็น เบาสบาย โล่ง ของลมหายใจที่ไหลเข้ามาจนเต็มปอดด้วยครับ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    พอครบ10ครั้ง<o:p></o:p>
    คราวนี้ให้เราจับลมหายใจไร้ฐาน ลมตลอดสายองเราให้เป็นเส้นสีขาวๆ<o:p></o:p>
    ที่ไหลตั้งแต่จมูก จนถึงท้อง พริ้วผ่านทั้งร่างกายเหมือนเดิม<o:p></o:p>
    แต่คราวนี้เราจะรู้สึกว่าลมหายใจของเราค่อยๆช้าลงๆค่อยเบาลงๆค่อยๆช้าลงเรื่อยๆเบาลงเรื่อยๆ<o:p></o:p>
    ใจของเรายิ่งเบาสบาย ยิ่งชุ่มเย้น ยิ่งอิ่มเอิบมากขึ้นเรื่อยๆ<o:p></o:p>
    จนเรารู้สึกว่าลมหายใจของเราหายไปรู้สึกว่าลมหายใจของเราหยุดไป<o:p></o:p>
    คล้ายเราไม่หายใจแล้วให้เราประคองลมหายใจของเราให้นิ่ง<o:p></o:p>
    ให้จิต หยุดนิ่ง หยุดคิด ประคองความสุข จากความสงบ ความนิ่งปราศจากความคิดอาการหยุดแบบนี้เอาไว้ซักระยะหนึ่ง<o:p></o:p>
    ประคองความสุข ความเบาสบาย ความนิ่งนี้ไว้<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    พอลมหายใจของเรากลับมา<o:p></o:p>
    ก็ให้จับลมหายใจของเราตามเดิม<o:p></o:p>

    4.การอธิษฐานปักหมุด
    ให้เราตั้งจิตอธิษฐานว่า<o:p></o:p>
    ขอให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงซึ่งลมหายใจสบาย จนลมหายใจหยุดไปได้นี้ ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ข้าพเจ้าต้องการ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อธิษฐานสามครั้ง<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    แล้วประคองความสุข เบาสบายจากความสงบนี้ เอาไว้ตราบนานเท่านาน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เสร็จแล้วให้หันมาทำขั้นแผ่มตตาต่อไปครับ<o:p></o:p>
    ใจของเราจะยิ่งเบาสบาย ชุ่มเย็น อิ่มเอิบอิ่มเอม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ก่อนจะออกจากสมาธิให้หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ สามครั้ง<o:p></o:p>
    หายใจเข้าครั้งที่1 ภาวนา พุท หายใจออก โธ<o:p></o:p>
    ครั้งที่2 ภาวนา ธัม หายใจออก โม<o:p></o:p>
    ครั้งที่3 ภาวนา สัง หายใจออก โฆ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วค่อยๆถอนจิตออกจากสมาธิช้าๆครับ<o:p></o:p>
    ให้ทำความรู้สึกว่าใจของเราเบ่งบานดั่งดอกไม้ยามเช้า <o:p></o:p>
    พร้อมๆกับที่ตื่นขึ้น ลืมตาขึ้น ถอนออกจากสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p>เสร็จแล้วให้เราฝึกในการแผ่เมตตาด้วยนะครับ </o:p>
    <o:p>ผมลงขั้นตอนการฝึกทั้งหมดเอาไว้ในหน้าที่ 72 ครับ</o:p>
    <o:p>ลองปฏิบัติตามนั้นดูก่อนครับ</o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p>ส่วนพวกเรื่องปาฏิหารย์ อภิญญาเบื้องต้นถ้าอยากฝึกต้องลองหาเวลามาฝึกด้วยกันครับ</o:p>
    <o:p>เรื่องทุกอย่าง พอทำได้เองก็สิ้นสงสัยครับ</o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p>ขอให้เข้าถึงซึ่งไตรสรณคม สิ้นจากความลังเลสงสัย อันเป็นสังโยชน์ที่ร้อยรัดพันใจให้เกิดความทุกข์ </o:p>
    <o:p>และเข้าถึงซึ่งความสุข ความคล่องตัว ความสบายจากสมาธิ</o:p>
    <o:p>ได้โดยง่ายดาย ได้โดยฉับพลันทันใด้ ได้ด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ</o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  4. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ suthipongnuy ครับ

    สวัสดีครับ ผมมีเรื่องที่จะรบกวนปรึกษาคุณ Xorce ครับ

    1. การปฏิบัติกรรมฐาน40 แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไรกับแบบ สติปัฏฐาน4 ครับ

    เหมือนกันครับ เรื่องเดียวกันครับ เพียงแต่มองจากคนละมุมองก็เท่านั้นเองครับ

    ยกตัวอย่างเช่น การภาวนาพุทโธ ตามหลักกรรมฐาน40 เรียกว่า พุทธานุสติกรรมฐาน

    ถ้าจะใช้พุทธานุสติกรรมฐาน ทำตามหลักของสติปัฏฐาน4 ก็ทำได้
    -ทำเป็นกายานุปัสสนา ก็คือ ระลึกดูลมหายใจเข้าออก พร้อมๆกับภาวนาพุทโธ
    -ทำเป็นเวทนานุปัสสนา ก็มาดู ความสุข ความสบายใจ ที่เกิดจากการรู้ลมหายใจ ว่ารู้ลมหายใจแล้ว จิตใจมีความเบาสบาย สุขอะไรเช่นนี้
    -ทำเป็นจิตตานุปัสสนา ก้มา ดูความสะอาด สว่าง สงบของจิต ว่าเมื่อภาวนาพุทโธ จนจิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ในพระคุณของพระพุทธเจ้า ผู้ตื่นขึ้นสุ่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ผู้เบิกบานในธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
    ดวงจิตของเรามความสว่างไสวเพียงไร เมื่อถึงซึ่ง พุทโธ
    -ทำเป็นธัมมานุปัสสนา ก็มาพิจารณาดู พระวรกายของพระพุทธเจ้า
    พระองค์ยังต้องเสด็จดับขันธปรินิพพาน แล้วเราดีไม่ได้ธุลีของพระองค์
    จะอยู่ยงตลอดไปก็ไม่ได้ ต้องตายซักวันหนึ่ง ถ้าตายเมื่อไหร่ เราจะไปอยุ่กับพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานเท่านั้น

    เราสามารถใช้กรรมฐาน 40กอง พิจารณา ตามแนวสติปัฏฐานได้ทั้งหมด
    ขึ้นอยู่กับปัญญาของเรา
    ดังนั้นสติปัฏฐาน4 กรรมฐาน40กอง วิปัสสนาญาณ9 ธรรมะของพระพุทธเจ้าทุกประการเป็นเรื่องเดียวกันครับ
    ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถหยั่งถึงความสัมพันธ์ของธรรมะทุกข้อได้หรือไม่ก็เท่านั้นเอง

    2. ที่ผมปฏิบัติอยู่เป็นแบบสายพระป่าใช่หรือปล่าวครับ ถ้าต้องการฝึกแบบหลวงพ่อฤาษีลิงดำต้องทำแบบไหนครับถึงจะไม่ต้องเริ่มต้นใหม่

    มีสายเดียวคือสายพระพุทธเจ้า ดังนั้นใช้กันได้หมด ไม่ต้องเริ่มใหม่ครับ
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านสอนกรรมฐานครบ40กอง และท่านสอนทั้งพุทโธ สัมมาอรหัง นะมะพะธะ สติปัฏฐาน4 และวิปัสสนญาณ9 ทั้งหมดครับ
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านปรารถนาพุทธภูมิครับ
    ท่านรอบรู้ในกรรมฐานทุกกอง จริตทั้งหมด ฌาณ ญาณ อภิญญา วิปัสสนาญาณทั้งหมด
    ดังนั้นหลวงพ่อท่านจึงสามารถสอนครอบคลุมกรรมฐานได้ทั้งหมดครับ
    หากท่านใดเป็นพุทธภูมิ จะชอบศึกษากรรมฐานจนแตกฉานครบทั้ง40กอง
    สรรพวิชชาทั้งหมดในพระพุทธศาสนาจะฝึกให้ได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นหลักสูตรบังคับของพุทธภูมิครับ
    มันอดใจไม่ได้ ต้องรู้ให้หมด เป็นลักษณะของพุทธภูมิครับ
    ลองหาไฟล์เสียงที่ท่านเทศน์ เรื่องพุทธานุสติกรรมฐาน หรือ พุทโธดูครับ
    ไม่มีคำว่าเริ่มต้นใหม่ครับ เพราะหลวงพ่อท่านสอนคลุมครบทุกอย่างเอาไว้ทั้งหมด ในไฟล์เสียงหลายร้อยชุดของท่านครับ
    ท่านสอนวิธีใช้ทุกอย่างให้ไปพระนิพพานได้ครับ พุทโธก็ไปพระนิพพานได้ ยุบหนอพองหนอก็ไปได้ ไปได้หมดแหละครับ
    เพียงแต่เราต้องไปหาไฟล์ที่ท่านเทศน์แต่ละเรื่องให้เจอเท่านั้นเองครับ

    พุทโธ ทำเป็นมโนมยิทธิได้ อภิญญาได้ อรูปก็ทำได้ อยู่ที่วิธีการในการพลิกแพลงของเราครับ

    3. มีความสงสัยเรื่อง ฌาน4 ในส่วนของลมหายใจที่อึดอัดเหมือนใจจะขาด ตอนแรกก็ว่าจะเรียนถาม แต่มีอะไรมาดลใจก็ไม่รู้ครับ เลยคลิกเข้าไปที่หน้า20ของกระทู้นี้ ก็ได้รับคำตอบที่ใกล้เคียงแล้วครับ

    ฌาณ4ลมหายใจมีความเบาสบายใจ จนถึงที่สุด ลมหายใจจึงดับไป
    ไม่มีความอึดอัดแม้แต่ประการใดครับ
    หากอึดอัดแม้เพียงน้อยนิด แปลว่ายังวางอารมณ์ใจไม่ถูกครับ
    ฌาณ4 ที่ถูกต้องเบาสบายใจ สบายสุดๆครับ

    4. เมื่อเราทรงอารมณ์ในฌานได้ เราควรพิจารณาวิปัสสนาเลย หรือว่าต้องให้อารมณ์หลุดจากฌานมาสู่อุปจารก่อนครับ

    ทรงจนอิ่มหนำ สำราญใจ ในฌาณก่อนครับ พอจิตอิ่มในสุข สบาย เบา จากสมาธิถึงที่สุด ค่อยถอนมาวิปัสสนาครับ

    5. ตอนนั่งสมาธิ เมื่อจิตแวบออกไปคิดเรื่องต่างๆเช่นนึกถึงคนๆหนึ่ง ก็คล้ายๆกับว่ามีภาพปรากฏขึ้น แต่เกิดแค่แว๊บเดียวนะครับ เหมือนเปิดทีวีแล้วปิดทัีนที คือคล้ายๆกับการกระพริบ

    ในขั้นนี้อย่าพึ่งสนใจครับ ต้องรอฝึกให้ได้ฝึกมโนมยิทธิก่อนครับ

    6. เมื่อเราทรงอารมณ์ฌานได้ ความสุขจะเกิดขึ้น แต่ทำไมผมยังรู้สึกหดหู่ ไม่สดชื่นเลยครับ (ผมเคยป่วยเป็นโรคเครียดมาก่อน) ทำให้ผมไม่แน่ใจว่าผมทรงอารมณ์ถูกต้องหรือปล่าว

    อาจจะยังไม่ถูกครับ ถ้าจิตเป็นฌาณเต็มที่ปุ้ป ใจเรา หน้าเราจะยิ้มอัตโนมัติเลยครับ
    หยุดยิ้มยังไงก็หยุดไม่ลงครับ ยิ้มมันสุข มันสบาย มากครับ
    ยิ่งถ้าใครได้อารมณ์พระนิพพาน ยิ่งยิ้มไม่หยุดเลยครับ
    ถ้าเรายังไม่ยิ้ม ยังหดหู่ แปลว่า เรายังอารมณ์หนักไปครับ
    ถ้าเรายังไม่ยิ้มจากใจถึงที่สุด อย่าพึ่งวิปัสสนาครับ เอาให้ใจยิ้มเต็มที่ก่อนครับ
    ต้องทำใจให้เบา ให้สบาย ให้แย้มยิ้มให้ได้ครับ

    ขอรบกวนเพียงเท่านี้ก่อนครับ ขอบคุณครับ
    ถ้ายังมีที่คาใจอีกก็ถามมาได้เลยครับ ถามยาวกว่านี้ก็ได้ครับ

    ขอให้มีความแตกฉานในธรรมะของพระพุทธเจ้า และมีพระนิพพานเป็นที่สุดในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. kalikama

    kalikama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +19
    ถึงคุณ Xorce ค่ะ
    รบกวนปรึกษาด้วยนะค่ะ
    1. เวลานั่งสมาธิดิฉันจะสวดมนต์ในใจไปด้วย เช่นชินบัญชร หรือบางวันก็สวดมงคลโสฬล อยากทราบทำว่าเป็นวิธีนี้ถูกหรือผิดค่ะ เพราะรู้สึกว่าถ้านั่งเฉยๆไม่สวดมนต์มันจะไม่ค่อยสงบ
    2.บางทีเวลานั่งใจเราภาวนาคาถา แต่ทำไมร่างกายเหมือนจะสัปหงก ค่ะ คือรู้ตัวตลอดนะคะแต่มันจะสัปหงกเองค่ะ
    3.เวลานั่งจะปวดตรงหัวคิ้ว กับปวดหูมากเลยค่ะ เป็นเพราะอะไรค่ะ หรือว่าดิฉันทำผิดวิธีค่ะ
    4.ทำยังไงจะสามารถนั่งได้นานๆค่ะ ดิฉันนั่งได้เต็มที่ ก็ 15 นาทีเอง บางทีเหมือนนั่งนานแต่พอมาดูเวลาก็จะเวลาประมาณ 15 นาทีตลอดเลย บางทีก็ท้อใจว่าทำไมไม่ก้าวหน้าซักที พอได้เวลาแล้วมันเหมือนจะขี้เกียจแล้วค่ะทำยังไงถึงจะก้าวหน้าค่ะ ยอมรับว่ายังเอาชนะความขี้เกียจไม่ได้ ฮือๆๆๆนึกแล้วเศร้า วันนี้รบกวนแค่นี้ก่อนนะค่ะ เดี๋ยวนึกอะไรได้จะมาถามใหม่
    ขออนุโมทนา และขอบคุณล่วงหน้าค้า
     
  6. Fluffy (New)

    Fluffy (New) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    287
    ค่าพลัง:
    +1,228
    ขออนุญาต ก็อปปี้ ขึ้นตอนในของขวัญวันพ่อ และการแผ่เมตตาอัปปมาณฌาณ ไปไว้ฝึกนะคะน้อง Xorce ขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญที่น้อง Xorce ได้ตั้งจิตและเพียรพยายามทำกุศลนี้ทุก ๆประการค่ะ สาธุ อนุโมทนา ค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2009
  7. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    ผมได้ส่งจิตอธิฐานไปร่วมย้อนหลังในพิธีเททองหล่อพระเจ้าองค์แสน อนุโมทนาคับไปไม่ได้จริงๆอยากไปร่วมมากคับ อนุโมทนาสาธุ สาธุ

    คำถามมันไม่ได้ไกลตัวเลย สัมมาทิธิผุดขึ้น ความกำหนัดก็ยังมีอยู่เรื่อยๆ แต่ มีเสียงของใครก็ไม่รู้แต่เราเหมาเอาเป็นเสียงของพระพุทธเ้จ้าองค์นึง ที่บางครั้งบางทีเตื่อนเราเรื่องต่าง
    ๆนาๆผุดขึ้นมา ว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนไม่ดีบางครั้ง ก็จะมีการเสวนาธรรมกับ พุทธบริวารพระองค์อื่นๆให้เราได้ยิน

    จิตมันปรุงแต่งหรืออย่างไรไม่ทราบแต่ผมเชื่อว่าจะปรุงแต่งหรือไม่ในส่วนนี้ก็เป็นส่วนที่ดี
    ถึงช่วงนี้กิเลสจะรุมเร้า หนักหนาอยู่บ้างแต่ก็ไม่ลืมที่จะกำหนดลมหายใจเลยเพราะใส่สร้อยพระและสร้อยพระจะกระทบหน้าอกตลอดเวลาเราก็กำหนดจิตให้องค์พระอยู่กับเราบริเวณหน้าอกได้ทั้งวันถึงจะมีประกายบ้างไม่ประกายบ้าง ถึงจะได้บ้างลืมบ้างแต่ก็ประคองไว้ตลอดทั้งวัน

    อนุโมทนาคับ คุณชัด มีฝึกที่สวนเมื่อไหร่บอกด้วยนะคับอยากไปอีกคับขอบคุณมากๆคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ธันวาคม 2009
  8. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Nickas ครับ

    ขอความอนุเคราะห์ท่านเจ้าของกระทู้สอบถามข้อสงสัยด้วยครับ

    ผมเคยฝึกจิตมาบ้าง วิธีการที่ใช้จะเน้นอานาปานสติเป็นหลัก จับลมหายใจเข้า ออก ภาวนาว่าพุทโธไปด้วย ส่วนผลการปฏิบัติก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายเป็นสำคัญ บางวัน กินอิ่ม นอนหลับ ไม่มีเรื่องวุ่นวายรบกวนจิตใจก็ทำได้ดี บางวันร่างกายไม่พร้อม การปฏิบัติก็ไม่ได้เรื่องได้ราว สลับเปลี่ยนกันไป

    ร่างกายมีผลกับจิตใจครับ
    ดังนั้นถ้าเป็นไปได้เวลาฝึกใหม่ๆผมแนะนำให้ ทำสภาพแวดล้อมของเราให้สบายครับ
    จะนั่งบนเก้าอี้ โซฟานุ่มๆ หรือนอนไปเลยก็ได้ครับ อากาศก็ให้ถ่ายเท เอาให้ใจสบายเต็มที่ครับ

    เวลาที่ปฏิบัติได้ดี หลายครั้งมีความรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป ลมหายใจเหลือน้อยลงทุกที เกือบหายไป ประสาทสัมผัสต่างๆ เกือบจะหายไปหมด หูแทบไม่ได้ยิน จมูกไม่ได้กลิ่น ผิวสัมผัสก็เหมือนกับจะไม่มี

    บางครั้งเลยเถิดไปถึงลมหายใจหายไปหมดสิ้น ประสาทสัมผัสทุกอย่างหยุดสนิท เหลือแต่จิตอยู่อย่างเดียวโดดๆ แต่ปรากฎการณ์อย่างนี้เกิดเป็นพักๆ วูบไป วูบมา เป็นช่วงสั้นๆ พักเดียวพอรู้ตัว ลมหายใจกับประสาทสัมผัสก็เริ่มกลับมารู้สึกเล็กน้อยอีก เข้าๆออกๆอยู่ระหว่างลมหายใจและประสาทดับ กับลมหายใจและประสาทรับรู้ได้เล็กน้อยอยู๋อย่างนี้

    ตอนที่หายไปเป็นฌาณ4ละเอียดครับ จะรู้สึกว่าร่างกายจะหายไป เหลือแต่จิต
    คือใจมีความเบาสบาย มาก จนไม่รับรู้ประสาทสัมผัสทางกาย
    ถ้าฌาณ4หยาบ ลมหายใจดับ แต่จะไม่รู้สึกว่าร่างกายหายไปครับ
    จิตยังรับการกระทบทางอายตนะ เช่น ได้ยินเสียง ได้กลิ่นหอม
    แต่ว่าจิตใจนิ่งๆ เฉยๆ อยู่ในความสบาย
    ไม่ไปคิด ปรุงแต่ง ว่ามันสวยอย่างนั้นอย่างนี้ ใจจะเบาๆ นิ่งๆ สบายๆ

    ผมไม่ทราบว่าภวังค์แรกที่มีความรู้สึกลมหายใจหาย ประสาทสัมผัสดับไปหมดอย่างนี้คือเหตุการณ์อะไรครับ ผมไม่อยากจะเรียกว่าฌาณ เพราะรู้สึกว่าคำๆนี้ ยังอยู่ห่างไกลจากตัวผมจริงๆ

    ฌาณ4 ละเอียดครับ เป็นอารมณ์สุดเต็มที่ของการจับลมหายใจแล้วครับ

    ที่ผ่านมา ผมไม่เคยมีอาการตัวโยกไป โยกมา น้ำตาไหล ขนลุก ขนพอง เกร็ง หรือว่าอะไรต่างๆ ที่เป็นปรากฏการณ์ในระดับปฐมฌาณเลย

    เพราะจิตดิ่งรวดเดียวเป็นฌาณ4 จึงไม่มีอาการของปีติครับ

    เอาเป็นว่าปฐมฌาณก็ยังไม่เคยผ่าน ดังนั้นเรื่องฌาณ 2 ฌาณ 3 ฌาณ4 คงยังไม่ต้องไปพูดถึง

    ผ่านไปนานแล้วครับ แต่ว่าผ่านไปเร็วมาก
    เหมือนกับรถที่วิ่งด้วยความเร็วสูง จนมองสิ่งที่อยู่ข้างทางเช่น ปีติไม่ทัน
    กว่าจะรู้สึกตัว ก็ถึงเป้าหมาย ที่เป็นฌาณ4แล้ว

    สิ่งที่ผมสงสัยก็คือ อาการลมหายใจหาย ประสาทสัมผัสทุกอย่างหายไปเหลือแต่จิตโดดๆนี้ มันเป็นอะไรกันครับ ความจริงผมอยากจะฝึกประคองสภาวะนี้ไว้นานๆ เพราะอยู่ในนั้นแล้วก็สนุกดี แต่ใจหนึ่งก็กลัวว่าจะเป็นโทษ เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรจะไปยุ่งเกี่ยวกับสภาวะอย่างนี้

    เป็นคุณประโยชน์มากครับ ยิ่งทำได้มาก จิตใจยิ่งสะอาด เบาสบาย ห่างไกลจากกิเลส และอารมณ์ลบ
    ถ้าตายตอนนั้นก็เป็นพรหมครับ พรหมก็ใกล้พระนิพพานยิ่งกว่ามนุษย์ครับ
    เป็นพรหม ไม่ต้องทำงาน ไม่ต้องกินข้าว จะฝึกสมาธิ วิปัสสนาทั้งวัน ก็ไม่มีใครว่า
    ถ้าจิตตัดกิเลสหมดเมื่อไหร่ ก็เป็นพระอรหันต์เข้าพระนิพพานได้ทันที ไม่ต้องรอหมดอายุขัยเหมือนมนุษย์ครับ

    อยากเรียนสอบถามว่าผมควรจะเอาจิตเข้าไปจดจ่อกับสภาวะลมหายใจหาย ประสาทสัมผัสหาย เหลือแต่จิตโดดๆ อย่างนี้ต่อไปหรือไม่ หรือว่าควรหลีกเลี่ยงไปเสีย ถอนจิตออกไม่ให้ไปเกี่ยวข้องเพราะว่าจะเป็นโทษครับ

    ทำเลยครับ ยิ่งทำมาก ยิ่งใกล้พระนิพพานมากเท่านั้นครับ

    ไหนๆก็ไหนๆ แล้ว ผมขอถามเพิ่มเติมอีกว่า

    1. ถ้าเป็นฌาณ 3 ฌาณ 4 ของอานาปานสตินี่ การฝึกแปรสภาพการทรงฌาณ ไปเป็น ฌาณใช้งาน พวกอธิษฐานฤทธิ์ หรือ ใช้ญาณ 8 ต่างๆ นี้สามารถทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้ ต้องฝึกอย่างไรครับ (ของเหล่านี้เป็นสิ่งจูงใจเล็กๆ น้อยๆ ของผม ถ้าฌาณ 4 ของอานาปานสติทำสิ่งเหล่านี้ได้ ผมจะได้มีแรงจูงใจส่วนหนึ่ง ให้อยากฝึกให้ถึงปฐมฌาณให้ได้เป็นอันดับแรกครับ)

    ได้ฌาณ4 ในอานาปานสติไปแล้วครับ
    หากทรงสภาวะที่ตัวหาย เหลือแต่ดวงจิตได้นานๆ ญาณต่างๆ จะเริ่มมาเองครับ
    ซึ่งหากตอนนี้เราไปฝึกมโนมยิทธิเพิ่ม ผมเชื่อว่าจะสามารถทำได้ดีครับ
    ส่วนการใช้อภิญญา ถึงเรามีฌาณ4ยังไง ก็ต้องมีคนมาสอนเราครับ
    หากไม่มีใครมาสอน เป็นเรื่องยากมากครับ ที่จะพบวิธีใช้ได้ด้วยตัวเอง
    ส่วนฌาณ4ใช้งาน ให้เราฝึกว่า เราทำงานอยู่ กินข้าว อาบน้ำแปรงฟัน ก็สามารถทรงจิตให้ ลมหายใจดับ จิตหยุดคิดได้
    ไม่ต้องถึงขั้นตัวหาย แค่ใจเบาสบาย จิตหยุดคิดครับ แล้วก็ประคองเอาไว้เรื่อยๆครับ

    2.ฌาณ 4 ของอานาปานสติ หากจะฝึกต่อยอดไปถึงอรูปฌาณคือ ฌาณ 5 - ฌาณ 8 นี่ จะฝึกต่อได้หรือไม่ครับ หรือต้องเปลี่ยนการฝึกเป็นสายอื่นที่ไม่ใช่อานาปานสติ แล้วเป็นฆราวาสนี่ฝึกฌาณ 5 - ฌาณ 8 ได้หรือไม่ครับ หรือต้องบวชเป็นพระอย่างเดียวถึงจะฝึกได้

    เป็นฆราวาสก็ฝึกได้ครับ
    ลองนำการฝึกในหน้า72 ของผม ไปฝึกดูก็ได้ครับ "ของขวัญวันพ่อ" น่ะครับ
    ต้องฝึกทรงภาพพระ แย้มยิ้ม และเป็นเนื้อเพชร ให้ได้ก่อนครับ
    จึงค่อยขึ้นอรูปฌาณได้
    ตามคำทำนายของหลวงพ่อนะครับ ยุคต่อไปฆราวาสจะได้อภิญญากันเยอะครับ
    ฝึกเตรียมๆกันไว้ก่อนก็ดีครับ พอถึงช่วงนั้นจะได้ทำได้กันเลย

    ขออภัยด้วยนะครับ ฌาณ 1 ยังไม่เคยผ่าน แต่ไปอยากรู้ถึงฌาณ 8 แล้ว อาจจะข้ามขั้นไปบ้าง แต่ก็ขอถามไว้เป็นความรู้เบื้องต้นนะครับ

    ผมยืนยันให้อีกครั้งว่า ตัวหาย เหลือแต่จิต เป็นฌาณ4ละเอียดแล้วครับ
    ถ้าปรารถนาฌาณ8นี่ ต้องเป็นปฏิสัมภิทัปปัตโตแน่นอน หรือไม่ก็ต้องเป็นพุทธภูมิ

    รบกวนสอบถามเพื่อเป็นความรู้และประโยชน์ในเชิงวิทยาการต่อไปด้วยครับ ขอขอบคุณครับ

    อนุโมทนาด้วยนะครับ

    ขอให้สามารถเข้าถึงซึ่ง ฌาณ ญาณ<!-- google_ad_section_end --> อภิญญา อรูป วิปัสสนาญาณ ได้โดยง่ายดาย ได้โดยฉับพลันทันใด ได้ด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  9. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    อยากทราบเรื่องการควบคุมการเข้าฌาณ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทูที่ได้กรุณาอธิบายให้เข้าใจนะครับ เดี๋ยวขอผมลองกลับไปปฏิบัติเพื่อทบทวนดูอีกครั้งว่าจะเป็นอย่างที่ท่านเจ้าของกระทู้อธิบายไว้อย่างนั้นหรือเปล่า

    ที่ผ่านมามัวแต่ไปยึดติดว่าจะต้องผ่านอาการปิติก่อน ถึงจะขึ้นไปถึงฌาณชั้นต่างๆได้ ก็เลยคิดว่าอาการที่เป็นอยู่ คือลมหายใจดับ ประสาทสัมผัสดับ เป็นกับดักทางจิตอย่างหนึ่งเหมือนพวกนิมิตต่างๆ เพราะพวกนิมิตต่างๆที่เกิดในระหว่างนั้น เช่นเสียงสวดมนต์ เสียงดนตรี กลิ่นหอม กลิ่นเหม็นเน่า ภาพต่างๆ ผมตัดทิ้งไปหมด ไม่สนใจ มุ่งเอาลมหายใจอย่างเดียว เหลืออาการอย่างที่ว่านี่เท่านั้นที่ตัดสินใจยังไม่ได้ว่าจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือตัดทิ้งดี พอดีท่านเจ้าของกระทู้อธิบายมาก็เข้าใจขึ้นครับ

    แต่ว่าอย่างนี้เป็นการเข้าฌาณที่พรวดพราดไปหน่อย ไม่มีความนุ่มนวลเอาเลย สิ่งที่อยากขอเรียนถามต่อคือ ทำอย่างไรถึงจะควบคุมการเข้าฌาณได้ล่ะครับ จับจุดอารมณ์ตรงไหนได้ว่า ตรงนี้เป็นฌาณ 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 เผื่อบางที่ ผมอยากจะไล่ฌาณเล่นแก้กลุ้มบ้าง เป็น 1234 4321 3142 2431 อะไรพวกนี้ ถ้าจะทำอย่างนี้ให้ได้ ต้องฝึกอย่างไรครับ และต้องใช้เวลานานไหมครับ กว่าจะทำได้ (ที่มีวัตถุประสงค์อย่างนี้ เพราะสนใจเรื่องการอธิษฐานฤทธิ์ต่างๆ น่ะครับ )

    แล้วสงสัยว่าถ้าในอดีตชาติก่อนๆ ถ้าเราเคยได้เรื่องฤทธิ์ต่างๆ มาก่อนนี่ ถ้าทรงฌาณ 4 ไปอย่างต่อเนื่อง ของเก่ามีโอกาสกลับมาไหมครับ หรือต้องฝึกใหม่ลูกเดียว ไม่ว่าจะเคยได้มาก่อนแล้วหรือไม่เคยได้มาก่อนเลยก็ตาม

    ในเรื่องของอรูปฌาณ จริงๆแล้วสนใจในสภาวะของฌาณ 8 มากครับ แต่ถ้าฝึกไปก็กลัวว่า ถ้าเกิดเป็นอะไรไปในช่วงของฌาณ 8 คงต้องไปอรูปพรหมลูกเดียว ตรงนี้ที่กลัวคือว่าอรูปพรหมระดับนี้จะสามารถฝึกอะไรต่อได้ไหมครับ ถ้าฝึกไม่ได้เพราะปิดอายตนะต่างๆหมดแล้ว ก็อันตรายทีเดียว เพราะอยู่อย่างนั้นก็กินแต่ของเก่า ถ้าของดีหมดไป เหลือแต่บาป คงต้องไปอบายภูมิลูกเดียว น่ากลัวครับ

    อีกอย่างหนึ่ง ตอนนี้กำลังสนใจฝึกด้านมโนมยิทธิอยู่ครับ แต่ไม่ได้ไปฝึกกับครู เพราะไม่ค่อยสะดวก เลยฝึกเองที่บ้านอาศัยดูตำราเอา ไม่มีครูนำทางให้ เกิดปัญหาครับ เพราะการฝึกนี้ต้องอาศัยการวิปัสสนาเข้าร่วมด้วย ที่ผ่านมาไม่เคยได้ฝึกการวิปัสสนามาก่อน จึงไม่ค่อยเข้าใจนัก อ่านเอกสารแล้วก็ได้แต่นึกคิดเอาเองให้เห็นว่าชีวิตนี้เป็นทุกข์ แต่ยังน้อมนำจิตให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 ไม่ได้เลย การฝึกมโนมยิทธิจึงยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ จึงเรียนมาเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องของวิปัสสนาด้วยครับว่าควรจะฝึกปฏิบัติอย่างไรดีครับ เพื่อให้ได้ผลในเชิงของมโนมยิทธิ

    ตั้งใจเอาอภิญญาน้อยให้ได้ก่อน อภิญญาใหญ่ค่อยว่ากันอีกทีครับ

    ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำล่วงหน้าครับ
     
  10. choosake

    choosake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    482
    ค่าพลัง:
    +647
    อยากทราบความแตกต่างของอารมร์ระหว่าง ฌาณใช้งาน กับ ฌาณไม่ใช้งาน(ถ้าเข้าไม่ผิดคือทรงอารมณ์)

    ขอบคุณครับ
     
  11. Dhamma T-PO

    Dhamma T-PO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +184
    ขอบคุณ คุณ Xorce มากครับ สำหรับคำแนะนำครับ :cool:
    การตอบของ คุณ Xorce ตอบให้กับทุกคน และก็เต็มใจตอบไม่ว่าจะเป็นใคร
    ขอแสดงความนับถือครับ

    กระทู้นี้เป็นกระทู้แห่งความรู้ และความเสียสละ (เวลา) จริงๆ ครับ
     
  12. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    สวัสดีครับคุณ Xorce กราบขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำครับ ตอนนี้ก็กำลังพยายามทำตามคำแนะนำ ค่อยๆทำไปเรื่อยๆครับ ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ถึงตอนนี้เริ่มรู้สึกได้ว่าการปฏิบัติกำลังดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากคุณ Xorce ได้แนะนำให้อธิฐานปักหมุดไว้ ทำให้เวลาทำสมาธิจิตรวมเร็วกว่าเดิม และทรงตัวได้นานขึ้นครับ แต่ก็มีข้อสงสัยจากการปฏิบัติ จึงขอเรียนถามเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และเพื่อให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติครับ

    1. บางวันในตอนทำงาน รู้สึกว่ามีอารมณ์ปกติ นิ่ง เงียบ สงบ คิดอะไรไม่ค่อยออก เหมือนจะยิ้มๆจากข้างใน นั่งทำงานไปยิ้มไป ปกติผมเป็นคนเงียบๆไม่ค่อยพูดค่อยจา ออกจะหน้าบึ้งอยู่นิดๆ ทำนองเคร่งขรึมครับ ตามความเข้าใจของผมในลักษณะนี้ถือว่าอารมณ์ทรงตัวอยู่ในฌานหรือปล่าวครับ ถ้าใช่ผมจะได้จำอารมณ์นี้ไว้
    2. ตอนทำสมาธิ ในช่วงที่ลมหายใจจะหายไป รู้สึกเหมือนลมหายใจค่อยๆสั้นลงๆ แล้วก็หายไป พยายามทำใจให้ยอมรับ แต่ร่างกายก็ไม่ทำตามคือมันพยายามจะหายใจต่อไปให้ได้ บางครั้งมีอาการกุกกักๆ ยื้อกันไปมา บางทีผมก็รู้สึกว่าตัวเองกลั้นหายใจไปเองเพราะรู้สึกหน้าจะออกร้อนๆเหมือนขาดอากาศ ผมคิดว่าผมคงวางอารมณ์หนักไป คือไปใส่ใจกับลมหายใจมากเกินไป และคงอยากจะได้ฌาน4เพราะรู้ขั้นตอนในเข้า เนื่องจากแต่ก่อนผมคิดว่าผมยังไม่ได้ฌาน4 ก็ทำไปเรื่อยๆโดยไม่มีความอยาก และก่อนหน้าที่ผมจะเน้นดูลม ผมจะบริกรรมพุทโธๆ เร็วๆ โดยไม่สนใจลม แต่หลังจากที่เน้นดูลม ก็เกิดอาการแบบนี้ครับ (คำถามอาจสับสนหน่อย เพราะผมเองก็ไม่ค่อยเข้าใจครับ )
    3. ตอนที่บวชในเดือนแรก ครูบาอาจารย์ท่านดุผมว่าเป็นขึ้โลภกรรมฐาน เพราะว่าทำอันนี้ยังไม่ได้ ก็หันไปทำอันอื่น สรุปว่าไม่ได้ดีสักอย่าง เหมือนการปลูกต้นไม้ ปลูกวันนี้ พรุ่งนี้จะเอาผลมากินซะแล้ว หรือไม่ก็ปลูกต้นไม้ตรงนี้ไม่โต ก็ย้ายไปปลูกที่อื่น ย้ายไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็เหี่ยวตาย เหมือนกับในตอนนี้ครับ เพราะบางทีผมก็ใช้คำบริกรรมพุทโธเร็วๆ บางทีก็ดูลมหายใจ บางทีก็พยายามจับภาพพระ ในแต่ละวันไม่ซ้ำแบบกันเลย คือถ้าผมใช้วิธีใดวิธีหนึ่งแล้วไม่ได้ผล ผมก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนได้จุดที่จิตสงบ ผมทำแบบนี้จะมีผลอะไรหรือปล่าวครับ

    ขอถามแค่นี้ก่อนครับ ขอบพระคุณสำหรับความกรุณาตอบคำถามครับ
     
  13. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ช่วงนี้ผมติดธุระนิดหน่อยครับ เดี้ยวช่วงเย็นของวันพรุ่งนี้ผมจะมาไล่ตอบให้ทั้งหมดครับ
    ขออนุโมทนากับทุกๆท่านด้วยครับ
     
  14. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ kalikama ครับ

    รบกวนปรึกษาด้วยนะค่ะ
    1. เวลานั่งสมาธิดิฉันจะสวดมนต์ในใจไปด้วย เช่นชินบัญชร หรือบางวันก็สวดมงคลโสฬล อยากทราบทำว่าเป็นวิธีนี้ถูกหรือผิดค่ะ เพราะรู้สึกว่าถ้านั่งเฉยๆไม่สวดมนต์มันจะไม่ค่อยสงบ

    เราต้องแยกว่าเราจะฝึกอะไรครับ เพราะว่าจะได้คนละอย่าง
    เวลาทำสมาธิเริ่มแรกไม่ควรจะนั่งนิ่งๆโดยไม่จับอะไรเลยครับ จะสงบได้ยาก และประคองไม่ค่อยอยู่ครับ ควรจะจับลมหายใจครับ

    ถ้าจะฝึกทำจิตให้นิ่งให้หยุดคิด ปราศจากความคิด ผมแนะนำให้จับลมหายใจครับ

    ส่วนการสวดมนต์จะทำให้จิตของเรามีความแช่มชื่น และเป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง
    แต่จิตของเราจะไม่นิ่ง ไม่หยุด ไม่ปราศจากความคิดเท่ากับการจับลมหายใจครับ

    การสวดมนต์นั้นเราก็สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้
    และเวลาที่เราสวดมนต์ให้เรานึกภาพนิมิต นึกจินตภาพประกอบบทสวดด้วยครับ
    เช่น ชินบัญชรให้เรานึกภาพพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ หลวงปู่ หลวงพ่อ
    ให้ท่านเสด็จมาประทับส่วนต่างๆของร่างกาย ตามบทสวดครับ

    ถ้าสวดมงกุฏพระพุทธเจ้า อิติปิโสวิเสเสอิ ก็ให้นึกว่ามีภาพพระพุทธรูปเนื้อแก้ว เสด็จลงมาประทับอยู่บนรอบศรีษะของเราทั้งแปดทิศ และมีองค์ใหญ่ตรงกลางอีก1องค์
    เป็นมงกุฏที่เกิดจากบารมีของพระพุทธเจ้า
    ถ้าบทกำแพงแก้ว ก็ต้องนึกว่ามีกำแพงแก้วเจ็ดชั้น มาห้อมล้อมกายและจิตของเรา

    แต่ละบทสวดให้นึกจินตภาพ นึกภาพนิมิตประกอบด้วยครับ
    ถ้าทำแบบนี้ก็จะเป็นการเปิดญาณทัศนะไปในตัวด้วยครับ เพราะเป็นการฝึกกสิณควบกับการสวดมนต์ไปด้วย

    2.บางทีเวลานั่งใจเราภาวนาคาถา แต่ทำไมร่างกายเหมือนจะสัปหงก ค่ะ คือรู้ตัวตลอดนะคะแต่มันจะสัปหงกเองค่ะ

    ถ้าจิตของเราตื่น จิตของเราสว่างเต็มที่ ด้วยการเห็นภาพพระ เห็นภาพสมเด็จโตท่านได้ชัดเจนเวลาสวด จะไม่มีอาการสัปหงกครับ

    3.เวลานั่งจะปวดตรงหัวคิ้ว กับปวดหูมากเลยค่ะ เป็นเพราะอะไรค่ะ หรือว่าดิฉันทำผิดวิธีค่ะ

    ถ้าปวดคิ้วนี่ เป็นเครื่องบ่งบอกว่าเราอาจจะวางอารมณ์หนักไปครับ
    ลองสังเกตดูว่าเวลาทำสมาธิเราขมวดคิ้วรึเปล่าครับ ถ้าขมวดคิ้ว แปลว่าเริ่มอารมณ์หนักไปแล้วครับ
    ต้องคลาย ต้องให้ใจยิ้ม ให้กายยิ้ม ถ้าใจเรายิ้มได้ เราจะไม่ปวดหัวครับ ไม่ปวดหูครับ
    ลองทำให้ใจยิ้ม ให้ใจสบาย ให้ร่างกายผ่อนคลาย ให้ใจเบา เวลาทำสมาธิครับ
    นั่งพิงกำแพงก็ได้ นั่งบนเก้าอี้ บนเบาะก็ได้ ให้ร่างกายผ่อนคลาย พอร่างกายผ่อนคลาย อาการปวดคิ้วจะหายไปครับ

    4.ทำยังไงจะสามารถนั่งได้นานๆค่ะ ดิฉันนั่งได้เต็มที่ ก็ 15 นาทีเอง บางทีเหมือนนั่งนานแต่พอมาดูเวลาก็จะเวลาประมาณ 15 นาทีตลอดเลย บางทีก็ท้อใจว่าทำไมไม่ก้าวหน้าซักที พอได้เวลาแล้วมันเหมือนจะขี้เกียจแล้วค่ะทำยังไงถึงจะก้าวหน้าค่ะ ยอมรับว่ายังเอาชนะความขี้เกียจไม่ได้ ฮือๆๆๆนึกแล้วเศร้า วันนี้รบกวนแค่นี้ก่อนนะค่ะ เดี๋ยวนึกอะไรได้จะมาถามใหม่
    ขออนุโมทนา และขอบคุณล่วงหน้าค้า<!-- google_ad_section_end -->

    1.หนึ่งนะครับ ไม่ต้องพะวงกับเวลาครับ อย่าเน้นนั่งให้ได้นานๆครับ ให้เน้นนั่งแล้วใจสบาย
    ถ้านั่ง10ชั่วโมงแต่ใจไม่สบายเลย เรานั่ง1นาทีแต่ใจสบายตลอด1นาที ก็ได้อานิสงค์มากกว่าครับ
    เหมือนคนแรกทำสมาธิเล็กน้อยได้เป็นวันสองวัน อีกท่านทำเป็นฌาณ4 จิตหยุด จิตนิ่ง ใจสบาย มีความสุข ชุ่มเย็น สบายใจถึงที่สุด ได้แค่10นาที ก็อานิสงค์มากกว่าครับ
    สมาธิให้เน้นคุณภาพอย่าเน้นปริมาณ คุณภาพคือความสุขครับ เน้นให้มีความสุขสบายใจมาก ไม่เน้นเวลาครับ

    2.ลองฝึกทรงสมาธิเอาไว้ทั้งวันครับ ไม่จำกัดเฉพาะเวลานั่ง ไม่มีเวลาตายตัว
    เช่น ระหว่างวันเราทำงานอยู่ หรือว่างๆ นั่งพัก ก็ลองคิดสวดมนต์ในใจ ไม่ต้องพนมมือ ไม่ต้องตั้งท่า
    สวดมนต์ในใจตามที่เราถนัด ทำงานไปสวดชินบัญชรไปก็ได้ หรือทำกับข้าว ขับรถ นั่งรถประจำทาก็ว่าชินบัญชรในใจ ไม่ต้องพนมมือ ว่าบทสวดในใจไประหว่างวันครับ
    หรือระหว่างวันจับลมหายใจได้ ประคองใจให้สบายได้ แผ่เมตตาได้ ทำไปเลยครับ
    ทำเมื่อไหร่ก็ได้ที่ว่างครับ ใจว่างๆ ใจเพลินๆเมื่อไหร่ทำได้เลยครับ ไม่ต้องรอมานั่งวันละ15นาทีก่อนนอน หรือตอนตื่นนอน เล่นทำมันตลอดเวลาที่ว่างเลยครับ

    3.ความก้าวหน้าในการฝึกสมาธิคืออะไร อะไรคือความก้าวหน้า
    นั่งได้นานๆเป็นชั่วโมง ก็ยังไม่ใช่
    ความก้าวหน้าก็คือ จิตของเรามีความสุขขึ้น สบายใจมากขึ้น มีรอยยิ้มในจิตใจมากขึ้น
    นั่นแหละครบก้าวหน้า ถ้าวันนี้เรามีรอยยิ้มมีความสุข จิตนิ่ง จิตเคารพพระพุทธเจ้ามากกว่าเมื่อวาน แม้เพียงนิดเดียว ถือว่าเราก้าวหน้าแล้วครับ
    เวลาในการนั่งไม่ใช่ความก้าวหน้า ความสุขที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวันคือความก้าวหน้าครับ
    แค่วันนี้เรามีความสุขกับการสวดมนต์ หรือความสุขจากใจที่สบาย จากจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา หรือเรานึกถึงพระบ่อยมากกว่าเมื่อวาน
    ก็ถือว่าเราก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดเจนแล้วครับ

    ปฏิบัติธรรม เน้นที่ความสุข ความสบายใจ รอยยิ้มในจิตใจที่เพิ่มมากขึ้นครับ
    เน้นคุณภาพของความสุข ไม่เน้นปริมาณของเวลาครับ

    ทุกครั้งที่สวดมนต์ให้อธิษฐานนะครับ ว่า
    ถ้าตายเมื่อไหร่ด้วยอานิสงค์ของการสวดมนต์นี้ขอให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานเพียงจุดเดียวเท่านั้น
    พระพุทธเจ้า สมเด็จโต ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ขณะนี้ท่านอยู่ที่ไหน
    เมื่อตายแล้วเราจะไปที่นั่น ไม่ยอมไปที่อื่นเด็ดขาด ตั้งใจเอาไว้แบบนี้ ทุกครั้ง ทุกวัน ทุกลมหายใจที่ระลึกได้ครับ
    สวดมนต์ให้ถึงพระนิพพาน ตายแล้วจะไปพระนิพพานเท่านั้น

    ขอให้มีความสุขความเบาสบายใจ คลายสลายเรื่องที่คาใจ
    มีแต่ความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกทางธรรมยิ่งๆขึ้นไป
    สวดมนต์ด้วยจิตใจที่เบิกบานแช่มชื่น และเข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ในชาติปัจจุบันนี้
    ด้วยอานิสงค์จากการระลึกถึงบทสวดมนต์ประจำใจอยู่เสมอด้วยเทอญ
     
  15. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ผมไปสอนสมาธิที่ชะอัม 4 วันนะครับ
    เน้น การฝึกจับลมหายใจ แผ่เมตตา การรักษาโรคด้วยสมาธิ และอภิญญาเบื้องต้นครับ
    ถ้าใครมีคำถามอะไรก็ฝากเอาไว้ได้เลยครับ
    ผมคงใช้เวลาซักระยะ กว่าจะตอบจนครบครับ

    ขอให้ทุกๆคนมีส่วนรวมในบุญกุศลนี้ด้วยเทอญ
     
  16. kalikama

    kalikama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +19
    ขอบคุณมากๆๆนะคะสำหรับคำตอบ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยค่ะแล้วจะนำไปปฏิบัติตามนะคะ ขออนุโมทนาะ
     
  17. Ukie

    Ukie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +594
    ท่านเก่งจังเลยนะคะ ตอบได้ทุกคำถามจะพยายามทำให้ได้แบบท่านนะคะ อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  18. foxiikizz

    foxiikizz สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +24
    รบกวนถามบ้างนะคะ คือว่าก่อนนอนจะภาวนา นะมะพะธะ หรือไม่ก็ นะโมพุทธายะ แล้วสักพักนึง เห็นเป็นวงกลมสีขาวระยะใกล้จนติดลูกตา แล้วก็ไกลออกไประดับสายตาและก็เห็นเป็นผู้หญิงเกล้าผม นุ่งขาวห่มขาว มายื่นวงกลมๆนั้นให้เราน่ะค่ะ แล้วก็หายไป
    หรือบางที จะรู้สึกตัวเราอยู่ในอวกาศ ลอยๆ ไร้แรงโน้มถ่วง หมุนๆบ้าง หรือไม่ก็ร้องไห้ออกมาเอง คืออยากทราบว่า พอหลังจากนี้น่ะค่ะ เราควรจะทำอะไรต่อไปดีคะ ภาวนาไปเรื่อยๆหรือป่าวคะ
    ส่วนตัวอยากทำแบบจับลมหายใจ แต่ว่า เหมือนเสียงหัวใจเต้นมันเต้นดังและก็แรงมากน่ะค่ะ เลยไม่มีสมาธิ จากจับลมหายใจกลายเป็นไปนับเสียงหัวใจเมื่อไรไม่รู้ อยากให้ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ จะภาวนาไปเรื่อยๆแบบนี้ได้ไหมคะ แล้วจะภาวณาว่าอย่างไรดีคะ เพราะบางทีก็แอบเอาบทสวดมนต์มาภาวนาน่ะค่ะ ไม่ทราบว่าผิดไหมคะ คือว่าอยากจะให้สมาธิตัวเองก้าวหน้าไปเรื่อยๆน่ะค่ะ
     
  19. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
  20. nataphat

    nataphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2009
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +246
    สวัสดีปีใหม่พี่ชัดและคนทุกๆน่ะครับ ปีใหม่แล้ว ผ่านไปหนึ่งปีสมาธิยังไม่ก้าวหน้าเลยผมจะ18แล้ว
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...