รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ เรียง ครับ

    เคยนั่งแล้วมีความรู้สึกว่าตัวเบาซักพักมีความรู้สึกมีเงาดำๆรอบๆตัวเป็นเพราะอะไร<!-- google_ad_section_end -->

    ถ้านิมิต เห็น หรือรู้สึกว่ามี เงาดำๆ
    มักจะเป็น เจ้ากรรมนายเวร มีคนมาขอส่วนบุญ หรือไม่ก็เป็นวิบาก
    อย่างในกรณีนี้ คาดว่าน่าจะมาขอส่วนบุญมากกว่า
    ให้เราตั้งจิต แผ่เมตตา พรหมวิหาร4 จากอารมณ์ของสมาธิ
    โดยระลึกถึงความสุข ของความเบาสบาย จากอารมณ์สมาธิที่เรากำลังทรงอยู่
    เป็นอารมณ์ที่มีความเบา ชุ่มเย็น อิ่มเอิบอิ่มเอมใจ ให้เพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งเต็มล้นดวงจิตของเรา
    ให้เราดึงความสุข ความปีติ ความอิ่มเอิบ จนรู้สึกมีความสุข ความเบาสบายอย่างถึงที่สุด
    จากนั้นให้ทำความรู้สึกว่า แผ่คลื่นแห่งความสุข อารมณ์ที่เบาสบายชุ่มเย็นนี้
    กระจายส่องสว่าง เป็นคลื่น เป็นแสง เป็นรัศมีเพชร รัศมีทอง
    เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่มีความสุข ให้แผ่ขยายออกไปจากดวงจิตของเรา
    นึกภาพใช้จินตภาพ พร้อมๆกับความรู้สึก ว่าความเย็นนี้แผ่ออกขยายออก
    ดัง
    ส่องสว่างไปยังทุกๆทิศทาง ออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ
    เป็นอารมณ์ที่จิตของเรา แผ่ออก ขยายออก สว่างออก ยิ้ม เบิกบาน ออกไปยังทุกๆทิศทาง
    ยิ่งความสุข ความชุ่มเย็น จากจิตของเราแผ่ออกไป ขยายอาณาบริเวณออกไปมากเท่าไหร่
    เราเองก็จะยิ่งมีความสุขความชุ่มเย็น ยิ่งๆขึ้นไปเท่านั้น
    จนกระทั่งความเมตตา ความชุ่มเย็น ความสว่างจากดวงจิตของเรา
    แผ่ขยายออกไปยังทั้งจักรวาล แผ่ออกไปไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ
    ความรักความเมตตาของเรามีให้ต่อทุกๆดวงจิตเสมอกัน

    ให้หมั่นเจริญจิต ประคอง รักษาจิตให้เต็มเปี่ยมด้วยความชุ่มเย็น ความอิ่มเอิบ ความเบิกบานด้วยเมตตาเอาไว้อยู่เสมอ
    การปฏิบัตินั้นหย่อนเกินไป ก็ไม่ดี บางครั้งก็ต้องเพิ่มความเพียรพยายามให้มากขึ้น
    ความเพียรพยายาม ในการทรงจิตให้มีความสุขให้ได้ตลอดเวลา
    พยายามรักษาจิตมาก ก็มีความสุขมาก พยายามปานกลางก็มีความสุขปานกลาง พยายามน้อยก็มีความสุขน้อย

    ขอพุทธบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเมตตาสงเคราะห์ ให้มีความตั้งมั่น มั่นคง ในหนทางแห่งความดีงามม ในสัมมาทิษฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา สัมมาปฏิบัติ ในไตรสรณคม ตลอดไป ทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกขณะจิต ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  2. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    วันนี้จะไปฝึกดูครับคงถึงช้าหน่อยไม่เป็นไรน๊ะครับ
     
  3. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    วันนี้ไม่มีฝึกที่สวนลุมนะครับ เริ่มครั้งแรกตั้งแต่วันที่7 มีนาคมครับ

    พอผมเคลียร์งานพ้นช่วงวันที่3มีนาคมไปแล้ว
    ผมจะกลับมาตอบคำถามแบบวันต่อวันเลยครับ
    และผมจะลงบทความเกี่ยวกับวิธีการเจริญจิต การตั้งกำลังใจ การตั้งคำอธิษฐานในการปฏิบัติธรรม วันละ1บทความ
    เพื่อจะบอกเล่าถึงประสบการณ์ และวิธีในการดำเนินจิตของตัวผมเอง
    ว่าเข้าสมาธิด้วยอารมณ์ไหน ประคองยังไง ตั้งกำลังใจในสิ่งต่างๆว่าอย่างไร
    ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆท่านไม่มากก็น้อยครับ
     
  4. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับคุณชัด จะขอน้อมรับคำแนะนำไปฝึกปฏิบัติให้ดียิ่งๆขึ้นไปครับ ผมมีเรื่องรบกวนขอคำปรึกษาครับ

    1. ตอนก่อนหลับ ผมจะนอนภาวนาไปด้วย จะรู้สึกเหมือนร่างกายอ่อนเพลีย ปวดตามแขนขาครับ คือยังไงหล่ะ ผมอธิบายไม่ถูก คือเหมือนคนไม่มีแรงครับ แต่เวลาต้องการยกแขนยกขา ก็ยกได้ตามปกติครับ
    2. ท่านชัดพอจะเมตตาช่วยบอกผมหน่อยได้หรือเปล่าครับ ว่าผมเหมาะที่ทำกรรมฐานกองไหนแบบไหน เพื่อที่จะได้ผลดีที่สุด เพราะตอนนี้ผมรู้สึกว่าผมเป็นคนโลเล คือเหมือนกับว่าต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ในการปฏิบัติทุกวัน
    3. เรื่องแผ่นซีดีธรรมมะ ผมได้เริ่มแจกไปบ้างแล้วครับ แต่แจกให้เพื่อนร่วมงานก่อน ยังไม่ได้แจกให้ผู้ป่วย ตอนนี้กำลังรวบรวมไฟล์เสียง และรอไฟล์เสียงของท่านชัดอยู่ครับ

    มีเรื่องรบกวนแค่นี้ครับ
    ขอขอบพระคุณสำหรับความเมตตา กรุณาที่ท่านชัดมีให้แก่ผู้ตั้งคำถามทุกท่านครับ
     
  5. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ thamsin ครับ

    ตอบให้ทางpm แล้วนะครับ
     
  6. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ sagi kaew ครับ

    สวัสดีค่ะ มีคำถามและอยากขอคำแนะนำค่ะ

    นั่งสมาธิแบบพุทโธไปจนละคำภาวนา และลมหายใจละเอียดจนไม่รู้สึกแล้ว ละทีนี้มันก็นิ่งไปเลย ก็งงว่าต้องทำยังไงต่อ คือถ้าปล่อยให้นิ่งไปเรื่อยๆบางทีจิตมันจะไปคิดเรื่องอื่นแทน แล้วก็จะกลายเป็นว่าต้องตามพุทโธกลับมาอีกครั้ง

    การจดจำอารมณ์ของสมาธิให้ได้ เป็นหลักสำคัญประการแรกของการปฏิบัติ
    เราจะต้องจดจำอารมณ์ความรู้สึก ของความนิ่ง เบาสบาย ของลมหายใจ ของร่างกาย ของจิตใจ
    ในขณะที่จิตเป็นสมาธิให้ได้
    อารมณ์ที่เราใช้ในการเข้าสมาธิ วางจิตด้วยอารมณ์สบายแบบใด ความรู้สึกเป็นอย่างไร
    เมื่อเราจดจำอารมณ์ได้ชัดเจนแล้ว
    เราก็จะสามารถเข้าสู่สมาธิจุดเดิมที่ได้เคยทำได้ โดยไม่ต้องไล่ภาวนาพุทโธใหม่
    เพียงแค่ตั้งจิต ระลึกถึงอารมณ์ของความสงบนั้น จิตก็จะเข้าสู่อารมณ์นั้นทันที
    วิธีการหนึ่งที่ช่วยให้จดจำอารมณ์ได้ง่ายขึ้น ก็คือ การอธิษฐานปักหมุดเอาไว้
    โดยเวลาอธิษฐาน เราจะต้อง สัมผัสความรู้สึก อารมณ์ของสมาธิ พยายามจดจำ และตั้งจิตอธิษฐานไปพร้อมๆกัน
    ขอให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงซึ่ง อาณาปานสติ ลมสบาย การจับลมหายใจจนจิตหยุดนิ่งเป็นสมาธิแบบนี้ ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ข้าพเจ้าต้องการตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
    อธิษฐานย้ำเอาไว้สามครั้ง

    เมื่อจดจำอารมณ์ได้แล้ว เราจะต้องรักษาเอาไว้ให้ได้
    การรักษาเอาไว้ให้ได้นั้น ในเบื้องต้น คือการทำไม่ให้เสื่อมลง อย่างน้อย จะต้องทำได้ทุกวัน
    เข้าออกได้ทุกครั้งที่ต้องการ
    ขั้นต่อมาก็คือ การพยายามลากอารมณ์สมาธิให้มีความยาวนาน สามารถประคองสมาธิได้ทั้งวัน ได้ในทุกอิริยาบถ ด้วยความสบายใจ
    ทำจนกระทั่งสมาธิกลายเป็นเนื้อเดียวกันกับจิตของเรา
    จนกระทั่งจิตของเราทรงอยู่ในสมาธิได้ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถ โดยไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องใช้ความพยายามมาก
    อารมณ์ทรงอยู่ตลอด
    ในเบื้องสุดท้ายก็คือ รักษาให้ได้แบบนี้ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
    สมาธิ เป็นอารมณ์ที่มีความเบาสบาย อิ่มเอิบ จิตใจมีความสุข ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ
    การรักษาสมาธิเอาไว้ได้ ก็คือ การรักษาความสุขให้อยู่กับใจเราได้ตลอดเวลา
    หากเราเห็นว่าสมาธิเป็นเรื่องง่าย แปลว่าเราเป็นผู้มีความสุขได้ง่าย
    หากเราเห็นว่าสมาธิเป็นเรื่องยาก แปลว่าเราเป็นผู้มีความสุขได้ยาก

    หลักสำคัญอันสุดท้าย ก็คือการทำให้สมาธิ วิปัสสนาญาณที่เราได้เข้าถึงแล้ว มีความสุข สงบ ชุ่มเย็น อิ่มเอิบ ละเอียดประณีตยิ่งๆขึ้นไป
    ให้จิตของเรามีความชุ่มเย็น ความสบาย ความสวยงามงดงาม เป็นเพชรที่สะอาดบริสุทธิ์ ยิ่งๆขึ้นไปทุกวัน
    จากการจับลมหายใจ ก็ไปสู่อารมณ์ที่จิตนิ่ง หยุด ลมหายใจดับ
    จากจิตหยุด นิ่ง ปราศจากความคิด รวมตัวเป็นหนึ่ง ก็ไปสู่จิตเมตตา ทรงอยู่ในพรหมวิหาร4
    จากพรหมวิหาร4 ก็หันไปจับ กสิณ อรูป วิปัสสนาญาณต่อขึ้นไปทีละขั้น

    เข้าถึงความสงบ จิตหยุด เบาสบาย อารมณ์ของสมาธิให้ได้
    รักษาให้ได้ ตลอดไป
    และทำให้ดียิ่งๆขึ้นไปเรื่อยๆ

    รวมถึงเราจะต้องแบ่งการทำสมาธิเป็นสมถะ วิปัสสนา
    สมถะก็คือ อารมณ์ที่จิตนิ่ง เบาสบาย มีความสุขอยู่ในสมาธิ
    วิปัสสนา ก็คือนำกำลังของสมถะ มาพิจารณาในธรรม เพื่อให้จิตเกิดการปล่อยวาง
    ถ้าเราจะทำสมถะ เราก็ทำสมถะไป ก็ปล่อยให้จิตนิ่งไปเลย ถ้าฟุ้งซ่าน ก็ดึงจิตกลับให้นิ่งดังเดิม
    ถ้าเราจะทำวิปัสสนา ก็เข้าสมถะจนจิตสงบ มีความสุข จนรู้สึกอิ่มใจ จึงค่อยเริ่มพิจารณา
    ถ้าสมถะยังไม่แน่น ก็เอาให้แน่นเสียก่อน
    จดจำ รักษา และพัฒนา สมถะให้เต็มที่ก่อน จึงค่อยหันไปจับวิปัสสนา

    บางทีก็เห็นแสงขาวๆ บางทีรู้สึกตัวเหวี่ยงหมุนๆๆ บางทีก็รู้สึกเหมือนถูกดูดเข้าไปในโพรงใหญ่ๆ

    พวกนี้จะเป็นอาการของปีติ ในช่วงอุปจารสมาธิครับ

    บางทีก็ปวดบริเวณตา (เหมือนจะเพ่งมากเกิน)

    ใช่แล้วครับ เพ่งมากเกินไป

    ...แต่พอถ้าไม่สนใจในสิ่งที่เกิดขึ้นแบบนี้ ก็จะมาเป็นเสียงแทนค่ะ ก็เกิดอาการกลัวเสียงรอบตัว

    แต่ในบางทีก็ไม่สนใจพวกที่ว่าข้างบนนี้ได้ ไม่สนใจเสียงได้ ...แล้วมันก็นิ่งเฉยๆ แป๊ปเดียวละก็ไปคิดเรื่องอื่นแทน

    ไม่รู้ว่าต้องทำยังไงอ่ะค่ะ ช่วยกรุณาแนะนำด้วยค่ะ

    ใจยังไม่สบายครับ เลยประคองสมาธิไว้ไม่อยู่
    ต้องผ่อนคลายครับ ทำใจให้เบา ให้สบาย ให้ผ่อนคลาย
    หลักในการทำสมาธิอยู่ที่ผ่อนคลาย

    อันดับแรกเราผ่อนคลายร่างกายก่อน จัดท่านั่ง หาที่พิง หรือนอนไปเลย ให้ร่างกายเกิดความสบาย
    ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อาการเกร็งตัว ของร่างกายของเราทุกส่วน
    ให้เหลือแต่ความเบา สบาย ผ่อนคลาย คล้ายไร้น้ำหนัก ไร้ความรู้สึกทางร่างกาย

    อันดับที่สอง เราผ่อนคลายลมหายใจ หายใจเข้าลึกๆ กักลมหายใจเอาไว้ ภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโฆๆ ซ้ำไปซ้ำมาซัก10วินาที พร้อมๆกับทำความรู้สึกว่าผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย จากนั้นให้หายใจออก
    ทำซ้ำสิบครั้ง คราวนี้ปล่อยลมหายใจสบายๆ ดูลมหายใจไปเรื่อยๆ
    ลมหายใจจะช้าลง เบาลง ราบรื่น ต่อเนื่อง ลื่นไหล เบาสบาย จนกระทั่งหยุดไปเอง

    อันดับที่สาม ผ่อนคลายความคิดของเรา ผ่อนคลายจากความรู้สึกที่อยากติด
    ผ่อนคลายจากความวุ่นวายฟุ้งซ่านของใจ ผ่อนคลายจากความกังวล ความกลัวต่างๆ
    จากภาระหน้าที่ จากการเร่งรัดในการทำสมาธิ จากความอยากก้าวหน้า จากความบีบคั้นใจต่างๆ
    หันไปจับ ไปสัมผัสอารมณ์เบา สบาย ชุ่มเย็นของลมหายใจ ของจิตของเราแทน
    จิตที่หวาดกลัว จะมีอาการเกร็งทั้งร่างกาย และจิตใจ
    ถ้าเราผ่อนคลาย เราก็จะไม่มีอาการหวาดกลัว ไม่มีอาการเกร็ง จิตก็จะเป็นสมาธิและประคองได้นาน

    อันดับสุดท้าย เมื่อผ่อนคลายข้างต้นสามข้อ จิตจะเป็นสมาธิพอสมควร
    ตอนนี้จิตจะสัมผัสอารมณ์สมาธิได้ค่อนข้างชัดเจน
    สุดท้ายให้ผ่อนคลายที่จิตของเรา ปล่อยความรู้สึกให้เหลือแต่ความสบายของอารมณ์สมาธิ
    จิตจะนิ่ง ดิ่งลึก ลงสู่ความสบาย ความสุข ความชุ่มเย็น ของสมาธิที่มากขึ้นๆ
    ยิ่งผ่อนคลายมาก จิตก็ยิ่งนิ่งดิ่งลึกมากเท่านั้น

    (ปล. ไม่ทราบว่า มีใครพอรู้บ้างไหมคะ ว่าที่เชียงใหม่ที่ไหนสอนฝึกมโนบ้างคะ)<!-- google_ad_section_end -->

    วัดโขงขาว มีพระครูปิยะรัตนาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส อ.หางดง จ. เชียงใหม่ 50230

    ขอให้เข้าถึงอารมณ์สบาย จิตที่เบาสบาย ผ่อนคลายจากความกังวล ความกลัว มีความสุขชุ่มเย็น ได้โดยง่ายดาย ได้โดยฉับพลันทันใด ด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  7. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    วัน อาทิตย์ ที่ 7 มีนาคม 2553

    เชิญเข้าร่วมฝึกสมาธิเริ่มตั้งแต่พื้นฐาน<O:p</O:p

    ตั้งแต่ เวลา09:30 - 16:00น.
    ณ ศาลาหกเหลี่ยม เกาะลอย*สวนลุมพินีกรุงเทพฯ<O:p> </O:p>


    อันนี้เบอร์ของผมในกรณีที่ใครมาไม่ถูกนะครับ
    083-900-3388

    ขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่จะมาฝึกพรุ่งนี้ด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2010
  8. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    พรุ่งนี้ไปแน่ครับหลังจากที่พลาดมาหลายรอบ ขออนุโมทนาครับท่าน
     
  9. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    อนุโทนากับทุกๆท่านที่ได้ฝึกในวันนี้ด้วยครับ

    ขอให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปทั้งทางโลก ทางธรรม
    และรักษาจิตใจที่งดงามซึ่งได้เข้าถึงแล้วเอาไว้ได้ตลอดไป ทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกขณะจิต
    ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  10. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    อนุโมทนาด้วยคับกับผู้ที่ไปฝึกวันนี้ ผมไม่ได้ไปแต่ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ไปวันนี้นะคับ ส่วนผมก็ทรงสมาธิ ตลอดเวลา แม้แต่เวลานอนบางครั้ง นอนแบบมีสติ

    คำถามคับ
    เมื่อให้เรามองดูร่างกาย ดูจิต ดูทุกสิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงไปตามความไม่เที่ยง
    ว่า ในขณะที่เราหายใจเบา หายใจช้าลง จนไม่หายใจ ก็หันไปตั้งภาพพระแทนการมองดูลม แต่ สุดท้ายมันก็กลับมาหายใจก็ต้องมาดูลมใหม่ เพราะสาเหตุที่มองดูสิ่งที่ไม่เที่ยงนี้ยังไม่ชัดเจนดีพอ ปลงไม่ตก ถ้ามีกำลังใจดีก็คือตายก็ช่าง ไม่หายใจก็ช่าง ร่างกายก็คล้ายกับการตาย ตายแบบหลอก ตายไม่จริง ตายแบบมีสมาธิ จิตจึงหลุด จิตมุ้งไปในสิ่งที่เรากำหนด มุ้งไปที่เราเพ่ง มุ้งไปที่เรามอง แต่ ผ่านจุดนี้ได้ พ้นจุดนี้ได้ เรียกว่ากำลังใจเต็ม หรือ มโนเต็มกำลัง อย่างนี้ รึเปล่าคับ ตามผมเข้าใจ

    ตายหลอกนี้ ตายไม่จริง แต่ คนที่เค้าฝึกหลายคนเข้าใจว่า ตาย จริงๆ ตายแบบไม่กลับมาไม่มีลมหายใจ เลยเกิดความกลัว ไม่กล้า มีความกำหนัด มีความห่วง ความยึดติด เกิดขึ้น ผมจึงขอใช้คำว่าตายหลอก เพราะจะได้ลดความกำหนัด ความห่วง ความสงสัย ความยึดติด ลงไปได้เยอะ

    ส่วนจุดนี้ผมไปมุ้งเน้นพุ้งสมาธิไปที่ลมหายใจ และ ภาพพระ มีสมาธิและสติตรงนี้มากกว่าที่จะคิดเรื่องความกำหนัดความกลัว ความสงสัย ความยึดติด แต่มันก็มีน้อยลงไปมากแต่ก็ยังมี

    ลมที่ละเอียดขึ้นเราจะรับรู้หรือไม่ ว่าลมของเราละเอียดขึ้น กายของเราละเอียดขึ้น ทุกส่วนในร่างกายละเีอียดขึ้น รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ดีขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลง(ตัวผมเองรู้สึกถึงลมที่เปลี่ยนแปลงคับ ที่มันละเอียดขึ้น)หรือ สัมผัสทั้ง5ดีขึ้น รึเปล่าคับ?
     
  11. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    วันนี้ไปฝึกมาแล้วครับ สบาย ๆ นั่งสมาธิต่อเนื่องไป2ชั่วโมง รู้สึกว่าเวลามันเร็วจนคิดว่าผ่านไปแค่ราว ๆครึ่งชั่วโมงเองครับอาการปวดไม่ปรากฏเลย ก็ได้ประสพการณ์ใหม่ ๆความรู้ใหม่ ๆและกัลยามิตรใหม่ ๆครับ ดีครับที่สำคัญกันเองดี เหมือนพี่เหมือนน้อง ขอขอบคุณน้องชัชด้วยน๊ะครับ อนุโมทนาบุญกุศลที่ได้ทำความเพียรด้วยครับ
     
  12. Maxzimon

    Maxzimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +204
    อาทิตย์นี้จัดรึป่าวครับ ผมอยากหาโอกาสแวะไปแต่อาทิตย์ที่ผ่านมานี่ผมมีธุระพอดี

    อยากให้พี่ชัดได้ช่วยแนะนำเพิ่มเติมหน่อย ผมยังได้แค่ความรู้สึกอยู่เลยครับ ไม่ได้ไปไหนสักทีเหมือนยังมีติดขัดตรงไหน

    เวลาผมนั่งผมจะแผ่เมตตาไปเรื่อยๆ ด้วย แล้วก็จับลมหายใจ แต่ไม่ได้ภาวนาหน่ะครับ ความรู้สึกหลักๆที่ผมจับได้มีอยู่ 4ช่วง มันจะคอยวนไปวนมา
    1. ว่างเปล่าเหมือนตัวเราอยู่คนเดียว แต่ยังรู้สึกถึงตัวเองอยู่
    2. เย็นจากด้านนอกเข้าสู่ด้านใน แล้วรู้สึกเย็นไปทั่วร่างกาย
    3. ได้ยิน ได้กลิ่น ของที่อยู่ไกลออกไปจากปกติ
    4. เย็นจากด้านในออกสู่ด้านนอก แผ่ออกไปเหมือนไม่มีจุดสิ้นสุด

    แต่ละช่วงที่ความรู้สึกเปลี่ยน มันเหมือนกับว่าผมขาดหายไปช่วงหนึ่งก่อนคล้ายๆวูบหน่ะครับ

    ผมควรยึดความรู้สึกอันไหนดี เวลานั่งแล้วรู้เลยครับว่าอาการต่างๆ มันไม่สงบเหมือนกับที่เคยนั่งตอนที่ยังไม่ศึกษาอะไร เหมือนยิ่งรู้มากแล้วยิ่งสับสน ช่วงนี้เลยพยายามนั่งแบบไม่คิดอะไร แค่แผ่เมตตา แล้วก็จับลมหายใจ ไปเรื่อยๆหน่ะครับ

    แล้วก้สุดท้าย ขออนุโมทนาให้ผู้ที่ฝึกสมาธิทุกคนนะครับ
    ขอให้ทุกท่านสมความปราถนานะครับ
     
  13. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    <TABLE class=tborder id=post3039781 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->kananun<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3039781", true); </SCRIPT>
    หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: May 2006
    ข้อความ: 9,400
    Groans: 10
    Groaned at 19 Times in 19 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 39,990
    ได้รับอนุโมทนา 172,023 ครั้ง ใน 9,411 โพส
    พลังการให้คะแนน: 10172 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_3039781 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- google_ad_section_start -->บางครั้ง เราก็ประสพกับวังวนแห่งทุกข์ทางโลก มองหาทางออกแห่งชีวิตไม่เจอ มองทางใดก็ตันไปหมด ดูสิ้นหนทางอย่างที่สุด

    มีแต่เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ครั้งแล้วครั้งเล่า ความทุกข์ที่เข้ามาเป็นระลอกไม่สิ้นสุด

    หากเรายังมีวิบากอกุศล เจ้ากรรมนายเวรผสมโรงกลับจะยิ่งทำให้เรา กลับคิดทำร้าย ทำลายชีวิตเราเองก็มี

    แต่หาก เรายังพอมีกุศลช่วยหนุนนำค้ำจุนบ้าง ท่านก็ยังพอดลใจให้เราหาทางแห่งธรรมมาแก้ปัญหาแห่งชีวิตของเราให้คลี่คลายไปได้ในที่สุด

    ธรรมที่ที่เป็นเครื่องแก้ปมแห่งกรรมให้คลายตัวไปนั้น ก็คือ

    ธรรมอันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา หรือ โอวาทะปาฏิโมกข์นั่นเอง

    หากเรา เชื่อ เรื่องบุญ กรรม

    ยามเราเสวยสุขก็คือ กรรมดี บุญกุศล ส่งผลหนุนนำ ให้เกิดสุขอยู่

    ยามเราเจอวิบากกรรมเวร ก็คือ วิบาก กรรมฝ่ายอกุศลส่งผลอยู่

    ดังนั้นยามที่เรา เจอวิบากกรรมอยู่ เราจะเติมเหตุให้เพิ่มหรือไม่ หากเติมเชื้อก็มีแต่ เคราะห์หนักดิ่งลงไปเรื่อย

    แต่หากเรา ทำเหตุดีแก้ กัน โดยสร้างแต่กุศลเอาไว้ทำแต่ความดีเอาไว้ ให้บุญคอยรองรับ หนุนนำ ส่งให้เราพ้นจากปลัก วิบากรรม ห้วงทุกข์นั้นไปได้

    และยิ่งจิตเราเศร้าหมอง เราก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งจมในอารมณ์ที่ระทมหนักลงไปอีก อกตรอมหมองหม่น จิตไร้กำลังกำลังจิต พลอย ดึงวิบาก อกุศลและเจ้ากรรมนายเวร ให้ซ้ำ กรรมยิ่งซัดลงไปอีก

    เพียงเราทำจิตเราให้ผ่องใสมีกำลัง มีความเชื่อมั่นในความดี พลังแห่งความมั่นคงในไตรสรณะคมม์ ให้เป็นหลักยึด พลังจิตดึงชีวิตให้ขึ้นพ้นจากวิบากทั้งปวงไปได้ในที่สุด


    แก่นธรรมนี้คือ หลักแห่งพระพุทธศาสนา ในที่นี้จะอรรถาธิบายโดยพิสดารตามที่พระพุทธองค์ท่านทรงเมตตาสงเคราะห์ สามห้อง สามชั้น สามระดับ

    -ทำแต่ความดียัง กุศลให้เกิดขึ้นงอกงามขึ้น

    ในดวงจิตของเรา ให้เกิดแต่สิ่งที่ เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นความดี ความงาม ความบริสุทธิ์ เป็นมงคล เป็นความคิดบวก เป็นความคิดเชิงสร้างสรรค์

    สิ่งที่จิตคิดพิจารณาเกิดขึ้นเป็น มโนกรรม อันเป็นบุญเป็นกุศล

    บุญกุศลก็จะหนุนส่งให้พ้นวิบากในที่สุด

    และให้เราตั้งจิตคิดพิจารณา ว่า

    เราจะรักษาจิตอันเป็นกุศล มงคลนี้ด้วยตนเอง คิดดีต่อตนเอง และคิดดีคิดแต่มงคลกับผู้อื่น

    เราจะส่งเสริมสงเคราะห์ให้ผู้อื่นมีจิตอันเป็นกุศล มงคล ในทุกดวงจิต

    เราจะยินดีชื่นใจเมื่อท่านผู้อื่นเข้าถึงความดีในจิตใจ

    เมื่อความดีกุศลจิต เกิดสมบูรณ์ในจิตใจ อย่างแท้จริงก็เกิด
    มโนกรรมอันบริสุทธิ์ขึ้นเป็นบุญเป็นกุศล ส่งผลสะท้อนกลับสู่เราเองในที่สุด


    รักษาวาจาเราให้มีการกล่าววาจาอันเป็นธรรม เป็นเมตตา ยังกำลังใจให้ผู้อื่นเข้าถึงความดี ความงาม ความบริสุทธิ์ในวาจาอันเป็นกุศล ทั้งต่อตนเองและและวาจาอันเป็นมงคลต่อผู้อื่น

    ส่งเสริมให้ผู้อื่นมีวาจาอันเป็นมงคลต่อตนเองและต่อทุกๆคน

    ยินดีและโมทนาชื่นใจเมื่อผู้อื่นมีวาจาอันเป็นมงคล ยังศรัทธา ความสุข กำลังใจแห่งความดีให้เกิดขึ้น

    เมื่อวาจาทั้งสามชั้นเป็นมงคล ก็เกิดเป็น วจีกรรมอันบริสุทธิ์ ยังผลสะท้อนกลับ เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นมงคล เป็นแรงกำลังใจจากคนรอบด้าน จนเราเกิดแรงใจพ้นจากอุปสรรค จากวิบากกรรมไปได้

    ทำแต่การบุญกุศล ความดี ทางกาย มีการให้ทาน การสงเคราะห์ การช่วยเหลือ เป็นความดีทางกาย ตามกำลังที่เราทำได้

    ส่งเสริมให้ผู้อื่นทำความดี สร้างกุศล มีทาน การให้ การสงเคราะห์ การช่วยเหลือมีมิตรจิต มิตรใจต่อกัน

    ยินดี โมทนาชื่นใจที่เห็นผู้อื่นกระทำดี มีกุศลปรากฏ

    เมื่อกายการกระทำเรามีบุญกุศลครบสามชั้น ก็ปรากฏเป็นกายกรรมบริสุทธิ์ ส่งผลสะท้อนกลับเป็น กุศลหนุนให้มีผู้ช่วยเหลือสงเคราะห์ เมตตาในที่สุด

    เมื่อทำ ห้องแห่งกุศลกรรม ทั้ง จิต วาจา กาย ให้บริสุทธิ์ทั้งสามชั้น คือโดย เป็นกุศลอันบังเกิดจากการทำโดยตนเองก็ดี
    เป็นกุศลอันส่งเสริมให้ผู้อื่นเข้าถึงความดีก็ดี
    เป็นกุศลอันยินดีที่ผู้อื่นเข้าถึงกุศลด้วยกายวาจาใจก็ดี

    ย่อมเกิดเป็นกุศลอันบริสุทธิ์สะอาดอย่างแท้จริง กรรมดี กุศลย่อมหนุนด้วยพลังความบริสุทธิ์ ในความดี ที่ละเอียดลึกซึ้งนี้


    -ละอกุศล ความชั่ว บาปทั้งปวง

    โดยระวังรักษา ใจเราเองไม่ให้คิดชั่ว คิดให้ร้าย คิดลบ คิดน้อยใจ คิดสั้น คิดตำหนิติเตียนด้วยแรงกิเลส ทั้งระัวังความคิดชั่ว ที่มีต่อตนเอง และที่สำคัญก็ชอบลืมก็คือ

    การคิดชั่วเพ่งโทษคนอื่น คิดว่าทำไมคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ เราหวังดีกับเขาเลยดูแต่ชั่วของเขา อยากช่วย เลยมีจิตพิจารณาเห็นแต่ชั่วของเขา จนลืมว่า ขณะนั้นไอ้ความชั่วของตนเองมันท่วมหัวท่วมหู ปิดตา ปิดใจตนเองจนหมด เป็นความหลงจนกลายเป็นมานะทิฐิซ้ำไปอีก

    ส่วนใหญ่ลืมพิจารณาว่าเรานั้นหากจะเอาดี ต้องละชั่วของเราออกจากใจ และละความคิดถึงความชั่วของผู้อื่นด้วย

    อุปมาดัง เราเอาขยะความสกปรกของเราออกไปจากห้องใจเรา แต่ลืม ไปหยิบ ไปคว้าเอาความสกปรก ความชั่วของคนอื่นที่เราไปคิดอกุศลต่อเขาเข้ามาสู่ห้องใจของเรา เช่นนี้แล้ว เราจะหมดชั่วได้อย่างไร

    เมื่อพิจารณาแล้วก็ตั้งจิตเราเองไม่ให้อกุศลจิต เปื้อนใจเราอย่างเด็ดขาด

    และไม่ส่งเสริมให้ผู้อื่นคิดชั่ว คิดในสิ่งอันเป็นอกุศล คิดลบ คิดไม่ดีต่อผู้อื่น

    ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นมีจิตเป็นอกุศล เป็นบาป

    เมื่อละวางมโนกรรมทุจริตออกไปจากใจเราแล้วนั้น ก็ปราศจาก กรรมชั่วที่คอยดึง คอยรั้งไม่ให้เราพ้นออกไปจากวิบาก ที่ประสบอยู่

    ระวังวาจา ของเราไม่ให้เกิดวจีกรรม อกุศลกรรมบาปหยาบช้า ให้หลุดออกไปกระทบใจใคร ไปกระแทก ไปแทงใจให้เจ็บ ให้เสียใจ คำพูดที่เชือดเฉือน ทำร้ายหัวใจกัน จนเกิดความโกรธความขุ่นเคือง ความอาฆาตพยาบาท หรือจนทำให้เกิดการฆ่ากันได้ ก็จากวจีกรรมอันหยาบช้านั้น วาจาอันก่อให้เกิดความแตกแยก เกลียดชังกัน ทำลายความสามัคคีกัน
    วาจาอันทำลายกำลังใจในการทำความดีของผู้อื่น วาจาอันเป็นคำนินทาว่าร้ายกัน วาจาที่ทำลายงานส่วนรวม

    ไม่ยุยงส่งเสริมให้เกิดวาจาทุจริตทั้งปวงเหล่านั้นให้เกิดขึ้นกับผู้ใดทั้งสิ้น

    ไม่ยินดีที่ผู้อื่นกล่าววาจาชั่วทั้งหลายเหล่านั้น และช่วยเตือนในขอบเขต วาระัความเหมาะสมที่ทำได้

    เหล่านี้เป็นวจีกรรมอันทุจริต เป็นอกุศล เป็นวิบากที่ทำให้เรารับผลกรรมได้รับ ความทุกข์ด้วยวาจาอกุศลของผู้อื่น ถูกทำลายน้ำใจ กำลังใจ ให้เจ็บช้ำน้ำใจเสมอ ต้องย้อนดูว่าเราเองเป็นผู้ทำกรรมนั้นเอง และเราไม่ได้มีหน้าที่ต้องไปทดสอบกำลังใจใคร ขึ้นชื่อว่าความชั่วอย่าให้หลุดออกไปจากวาจาเราได้

    ระวังไม่ทำก่อกรรมชั่วให้ปรากฏทางกาย การทำลายศีล ให้ขาด ให้เศร้าหมอง ให้ด่างพร้อย การทำร้ายร่างกายกัน เบียดเบียน เอาเปรียบกัน ฉ้อโกงกัน ละเมิดทางกามคุณกัน ทรมานกัน หรือการแสดงความหยาบของจิตใจทางการแสดงออกทางกาย ซึ่งรวมถึงอาการไม่สำรวมระวังในสิ่งสมควร ไม่นอบน้อมอ่อนโยนในพระรัตนไตร และที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีกตามภูมิจิต ภูมิธรรม ตามลำดับ

    การไม่ส่งเสริมให้ผู้อื่นเบียดเบียนทำร้่าย กันทางกาย ไม่ส่งเสริมหรือใช้ให้ผู้อื่นละเมิดศีล

    การไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีที่ผู้อื่นทำร้าย ทำลายกันทรมานกันในทุกทุกวิถีทาง

    เมื่อเราระวังไม่ให้อกุศลเกิดทางกาย รักษาศีลให้สะอาดบริสุทธิ์ ก็ไม่เกิดวิบากกรรมทางกายให้เกิดเป็นวิบากมาซ้ำเติมเรามากขึ้น ไม่มีอกุศล ไปกระทบ ใจ กระทบหู กระทบกาย ผู้อื่นให้เกิดควาามขัดเคืองจนคิดร้าย คิดไม่ดีกับเรา คิดแก้แค้น เอาคืนกับเรา มีเพียงกุศลเท่านั้น

    วิบากกรรม อกุศลกรรมที่สะท้อนกลับ มาทาง มโนกรรมทุจริต
    วจีกรรมทุจริต
    กายกรรมทุจริต

    ก็ไม่เกิดเพิ่ม มีเพียงกรรมเก่า เศษกรรมที่เรา ต้องใช้มัน ไม่มีเคราะห์ซ้ำกรรมซัดมาเพิ่มไปอีก

    บางคนทุกข์แล้วโทษคนอื่น
    บางคนทุกข์แล้วเพ่งโทษโยนบาปให้คนอื่น
    บางคนทุกข์แล้วด่าคนอื่น
    บางคนทุกข์แล้วต้องหาคนมาทุกข์ด้วย

    แล้ววิบากกรรมอกุศลมันจะหมดไหม

    เมื่อพิจารณาเห็นชัดเจนแล้ว เราก็ละบาปอกุศล ความชั่ว การเพ่งโทษ ออกไปจาก ใจ จากวาจา จากกายเราอย่างสิ้นเชิง

    - ทำจิตใจให้ผ่องผ้ว ผ่องใสเบิกบาน ให้อิ่มให้เต็ม เมื่อเรา น้อมนำเอากุศลความดีจนเต็มใน จิตในใจ ในวาจาอันเป็นอรรถเป็นธรรม เป็นกำลังใจ ทุกสิ่งเราทำด้วยเมตตาเอาไว้ให้จิตเราประดุจ แก้วอันมีเพียงน้ำสะอาด น้ำใจและไมตรีอันงดงามเติมหัวใจให้เต็มด้วยเมตตา พรหมวิหารสี่ ไตรสรณะคมม์เอาไว้

    จนไม่มีที่ว่างให้บาปอกุศลสิิงใจ ติดในวาจา หรือออกมาเป็นความดุร้ายเบียดเบียนทางกาย

    ใจเราก็จะผ่องพิสุทธิ์ใสดั่งจันทร์วันเพ็ญอันบริสุทธิ์ จิตแช่มชื่นเบิกบาน เป็นสุข คิดดี คิดบวก คิดแต่กุศลคิดแต่บุญ คิดแต่สิ่งเป็นมงคล

    จนวาจาเรามีเพียงวาจาอันเป็นมงคล เป็นกำลังใจ เป็นเเรงบันดาลใจ ในความดีให้ทุกๆคน

    การกระทำอันเปี่ยมด้วยน้ำใจ

    เมื่อนั้นจิตใจเราก็จะพ้นจากห้วงทุกข์ เกิดปัญญาจักษุ มองแจ้งแทงออกจากปัญหานั้นได้ในที่สุด

    มีผู้คิดดีต่อเรา พูดให้กำลังใจเรา มาช่วยเหลือสงเคราะห์เราได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยเราไม่ต้องคาดหวังผลที่เราปฏิบัติด้วยความบริสุทธิ์ใจนั้น

    มีหลายท่าน ที่ปฏิบัติตามและพ้นจากวิบากกรรมตามวาระได้ในที่สุด

    แก่นพระพุทธศาสนานั้น เราชาวพุทธ ขาดความเข้าใจ อย่างแท้จริง

    ทำบุญ ทำกุศล ปฏิบัติธรรมแต่ขาดข้อ ละอกุศลกรรมทางวาจา ทำให้เกิดการกระทบใจกัน ขาดการละอกุศลทางใจทำให้คิดอกุศลต่อกัน เบียดเบียนกันทางใจ

    หรือขาดข้อที่ต้องระวังรักษาจิตให้ผ่องแผ้วเบิกบานในธรรมในความดี ในกุศล เพื่อให้ใจที่ผ่องใสเป็นกำลังหล่อเลี้ยงใจในการปฏิบัติธรรมรักษาฌาน รักษาศีล รักษาความดี ความอ่อนโยนของจิตเอาไว้ให้เป็นปกติ

    ขอให้ทุกๆท่านจงเกิดจิตอันเป็นกุศล ปฏิบัติรักษาแก่นธรรมในพระพุทธศาสนาอัน ยังประโยชน์ให้เกิดสุขทั้งทางโลกและทางธรรมให้งอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นด้วยในทุกๆดวงใจด้วยเทอญ

    ขอธรรมแห่งองค์สมเด็จพระจอมไตรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จงบังเกิดกระแสธรรมอันพิสุทธิ์ใส แผ่ซึมซาบชะโลมจิตเวไนยสัตว์ทั้งปวง ให้สลายซึ่งบาปอกุศลทางกาย วาจา ใจ ยังธรรมอันสะอาดบริสุทธิ์งดงามส่องท่ามกลางดวงใจทุกดวงให้ปรากฏความดีกุศลแห่ง กาย วาจา ใจ จงเต็มเติบใหญ่งดงาม ยังให้เกิดดวงจิตอันผ่องใสพิสุทธิ์จนหลุดพ่นจากห้วงวัฏฏะสงสารได้ในที่สุดด้วยเทอญ"<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
    " จิตใจที่ดีงามจะคงอยู่ตลอดไป "

    วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ
    แจกเหรียญทำน้ำมนต์เพื่อบรรเทาภัยพิบัติ ทั่วประเทศไทย

    บัญชี เพื่องาน พลังจิตพิชิตภัยพิบัติ คณานันท์ ทวีโภค
    บัญชี ออมทรัพย์ ธ.กรุงเทพ สาขาคลองสานเลขที่ 151-0-91868-1
    บัญชี เพื่องานพระบรมสารีริกธาตุ และ การสร้างพระเจ้าองค์แสน
    ธ.กรุงเทพ สาขาสยามพารากอน เลขที่ 855-0-14998-6
    <!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    <TABLE class=tborder id=post3042300 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] 06-03-2010, 08:42 PM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #3256 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->kananun<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3042300", true); </SCRIPT>
    หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: May 2006
    ข้อความ: 9,400
    Groans: 10
    Groaned at 19 Times in 19 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 39,990
    ได้รับอนุโมทนา 172,023 ครั้ง ใน 9,411 โพส
    พลังการให้คะแนน: 10172 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_3042300 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- google_ad_section_start -->ส่วนที่อยากจะทบทวนกันอีกครั้งหนึ่งคือ

    เรื่องหลัก ของใจในการปฏิบัติ ซึ่งย้ำซ้ำๆเพื่อ ให้แน่นในจิต จนชินจนเป็นฌาน ยิ่งย้ำยิ่งดี ยิ่งแน่น

    หลักที่ไม่ควรคลาดไปจากจิตใจ และเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆในการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น ลงไปจนถึงเพื่อความสงบของใจ

    -ไตรสรณะคมม์ ต้องแน่น ลึกซึ้งถึงจิตส่วนในสุด จนเกิดความนอบน้อมอ่อนโยนเคารพในพระรัตนไตรอย่างถึงที่สุด ความคิดปรามาสหรือลังเลสงสัยไม่มีใน พระพุทธ พระธรรม พระอริยะสงฆ์แม้แต่น้อย ซึ่งเป็นตัวตัดสังโยชน์ข้อ วิจิกิจฉาไปในตัว ความคล่องตัวในพุทธานุสติกรรมฐาน ทรงภาพพระพุทธเจ้าได้ชัดเจนแจ่มใส เป็นแก้วประกายพรึกระยิบระยับชัดเจน นึกถึงเมื่อไรชัดเจนเมื่อนั้น และแม้ไม่เห็นในจิตก็รู้สึกได้ว่าท่านอยู่ในความรู้สึกเมตตารักษาคุ้มครองเราได้เสมอ อย่าได้มีจิตกังวลว่าไม่เห็นหรือเห็นไม่ชัด แล้วว่าท่านจะไม่อยู่คุ้มครองเรา ให้ตั้งกำลังใจว่า

    "ตราบที่เราทำความดีอยู่ จะทางใด ทางกาย ทางวาจา ทางใจก็ดี ท่านรู้ท่านทราบและคุ้มครองรักษาเราเสมอ"

    -ให้จิตเราเสวยอารมณ์ใน พรหมวิหารธรรม เมตตาจิต เพื่อให้จิตมีน้ำหล่อเลี้ยงใจ เอาไว้เสมอ ให้จิตใจเราชุ่มเย็นเป็นสุข เกิดรอยยิ้มอิ่มสุขในเมตตาเบ่งบานในใจของเรา

    น้ำจิตเมตตาเหือดแห้งเมื่อไร เมื่อนั้นจิตจะเริ่ม เร่าร้อนหงุดหงิด จิตขาดความสุขเย็น ปฏิฆะเริ่มเข้ามากวนได้ เมื่อเมตตาจิตเหือดแห้ง ความดุร้ายทำลายศีลก็จะเกิดขึ้นในใจเรา

    สร้างกำลังใจว่าเราตั้งไว้ในเมตตาอันไม่มีประมาณ ให้เป็นปกติของใจ ไปที่ไหนมีแต่ดี มีแต่มงคล รุ่งเรือง ร่มเย็น เป็นกระแสแผ่ออกไป

    ให้ คนก็ดี สัตว์ก็ดี ดวงจิตทั้งหลายสัมผัสกระแสแห่งเมตตานั้นได้ด้วยใจ

    ข้อที่ ติดกันก็คือ หลายท่าน ทั้งที่เคยฝึกสมาธิมานานแล้ว ก็ตาม แผ่เมตตาไม่ออก และไม่ออกจากใจได้จริง

    ปรากฏเป็นเพียงอาการ คล้ายการรินขวดน้ำที่ว่างเปล่าปราศจาก น้ำ ไม่มีเมตตาออกมาจากใจและตนเองก็ไม่อาจสัมผัส หรือลิ้มรสแห่งเมตตาได้เลยเเม้แต่น้อย

    สิ่งที่รู้เป็นเพียงสัญญา ความจำ จำไปพูดไปสอนต่อเอาเอง ปราศจากกระแสจิตที่ชุ่มเย็นเป็นสุขที่ถ่ายทอดจากจิตสู่จิต

    ลองพิจารณาดูว่า เราเจริญเมตตาจิตได้ยิ่งไปกว่านี้ ชุ่มเย็นกว่านี้ สุขุมละเอียดอ่อนปราณีตยิ่งไปกว่านี้ได้หรือไม่

    และเมตตาระดับสูงสุดก็คือ การให้อภัยทาน การอโหสิกรรมโดยปราศจากความขุ่นเคืองใจ

    อารมณ์เมตตาทานสูงสุด คือการทรงจิตในอารมณ์พระนิพพานและเจริญเมตตาฌาน จากพระนิพพาน ตั้งจิตปรารถนาให้ทุกๆดวงจิตประสพแต่ความสุขเย็น พ้นจากความทุกข์ บาป อกุศลทั้งปวง และเข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ในที่สุด เป็นเมตตาสูงสุดที่พึงแผ่พึงให้ต่อทุกดวงจิตโดยเมตตาจากส่วนลึกของจิตใจเราอย่างแท้จริง



    -วิปัสสนาญาณ อันมีความหยาบ ความละเอียด ความแนบแน่นในการพิจารณาธรรมในกฏไตรลักษณะญาณตื้นลึกต่างกันไปตามภูมิธรรม แต่พื้นฐานคือ ความไม่ประมาทในความตาย เพื่อให้ใจเราไม่ประมาทในการทำความดีสั่งสมกุศลผลบุญเอาไว้

    เพื่อให้เราไม่ลืมที่จะกำหนดเป้่าหมายแห่งการเกิดการจุติหรือเพื่อ ความไม่เกิดต่อไปอีกมีพระนิพพานเป็นที่สุด

    อารมณ์ใจที่ง่ายที่สุดก็คือ เห็นตัว "ธรรมดา" ในทุกสรรพสิ่ง จนจิต รู้เท่าทันสภาวะความเป็นไปของขันธุ์ห้า สภาวะความไม่เที่ยงแท้แปรปรวนในทุกสรรพสิ่ง

    ความตายเป็นของธรรมดา

    การเกิดโลกธรรมแปด ก็เป็นธรรมดา

    การพลัดพรากจากของรัก คนรัก ก็เป็นเรื่องธรรมดา

    การได้อภิญญา ก็เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ทำให้ใจเราเกิดมานะ

    เมื่อเห็นธรรมดาในทุกสรรพสิ่งรู้เท่าทัน จิตเราก็ไม่เกาะเกี่ยว ไม่เกิดทุกข์ ปล่อยวางได้มากขึ้น เห็นธรรมมะชัดเจนขึ้นเป็นธรรมดา

    เมื่อเห็นธรรมดามากเข้า ก้เกิดสังขารุเบกขาญาณขึ้น จิตไม่ทุกข์ไม่เกาะเกี่นวในกายรู้เท่าทันกายสังขารจนปล่อยวาง สักกายะทิฐิได้มากขึ้นไปตามลำดับ

    ตัดสังโยชน์สิบได้มากเข้า จนอารมณ์ใจธรรมมะเริ่มละเอียดปราณีตขึ้น ทุกข์ก็น้อยลงไปตามลำดับจนจิตสุขเย็นได้ จากการสงบระงับของกิเลส

    -หมั่นตรวจกำลังใจเราเองเสมอว่า เราตั้งกำลังใจถูกไหม เป็นสัมมาทิฐิไหม ทำ คิด พูด เพื่อส่วนรวม หรือทำเพื่อตนเอง ทำด้วยเมตตา หรือทำด้วยริษยา เส้นแบ่ง นั้นบาง ละเอียด

    ต้องหมั่นตั้งกำลังใจให้เป็นกุศล เป็นเมตตา เป็นเพื่อส่วนรวมให้เป็นปกติ บ่อยๆจนเป็นนิสัย อย่าไว้ใจจิตตนเอง ตั้งกำลังใจ เช็คกำลังใจเราเองเอาไว้บ่อยๆ จนมันชิน ทุกอย่างเป็นไปโดยธรรมชาติของจิตใจที่คิดเพื่อส่วนรวม ไว้เสมอ จนเป็นฌาน

    และจงเชื่อมั่นความดีงามของจิตใจผู้อื่น จะเร็วจะช้า ความดีเขางอกงามขึ้นได้ในที่สุด

    หลักทั้งหลายเหล่านี้ ขอให้ทุกๆคน ลองพิจารณาดู ทบทวนอารมณ์จิต ความคิด กระแสใจให้ใส สะอาด บริสุทธิ์ชุ่มเย็น ไว้ให้เป็นปกติ

    "ขอความงดงามชุ่มเย็นเป็นกุศลจงเบ่งบาน ในสายธารแห่งพระพุทธศาสนา ยังความสุขสู่ผู่ประพฤติธรรมและยังความสุขแด่ทุกดวงใจที่รายรอบให้พลอยชุ่มเย็นได้รับร่มเงาแห่งเมตตาในทุกๆดวงใจด้วยเทอญ"<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
    " จิตใจที่ดีงามจะคงอยู่ตลอดไป "

    วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ
    แจกเหรียญทำน้ำมนต์เพื่อบรรเทาภัยพิบัติ ทั่วประเทศไทย

    บัญชี เพื่องาน พลังจิตพิชิตภัยพิบัติ คณานันท์ ทวีโภค
    บัญชี ออมทรัพย์ ธ.กรุงเทพ สาขาคลองสานเลขที่ 151-0-91868-1
    บัญชี เพื่องานพระบรมสารีริกธาตุ และ การสร้างพระเจ้าองค์แสน
    ธ.กรุงเทพ สาขาสยามพารากอน เลขที่ 855-0-14998-6
    <!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ NICKAZ ครับ
    <O:p</O:p
    ผมเคยกล่าวถึงช่วงเวลาในการปฏิบัติสมาธิของผม ตามที่คุณตถาตาได้สอบถามมาว่าผมนั้นไม่มีเวลาแน่นอน ได้จังหวะเมื่อไหร่ ปฏิบัติทันทีไม่เกี่ยงว่ามีเวลามากเวลาน้อยซึ่งเจ้าของกระทู้ได้เสริมว่าแบบนี้คือการทรงสมาธิเอาไว้ตลอดเวลาตามที่อ้างถึงนะครับ

    การทรงสมาธิไว้ตลอดเวลาแบบนี้ในการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปบางทีก็ต้องมีการกระทบกระทั่งกับผู้อื่นบ้างตามภาระกิจการงานทั่วไปผมก็พยายามหลีกเลี่ยงและควบคุมสภาพจิตใจอยู่ตลอด เพราะสภาพจิตที่ทรงสมาธิโดยอำนาจของสมาบัติแล้ว สัมผัสได้ว่าจิตค่อนข้างจะมีกำลังมากหากใจขุ่นมัวไปเนื่องจากสาเหตุการกระทบกระทั่งกันถ้าในขณะนั้นอารมณ์ฝ่ายมารเข้าครอบงำ แล้วเผลอนึกคิดไปในสิ่งที่ไม่ดีก็จะเกิดการก่อเวร สร้างกรรมกับคู่กรณีต่อเนื่องกันไปอีกเปล่าๆ

    จากการที่ต้องควบคุมจิตของตัวเองขนาดนี้ ผมคิดว่าน่าจะต้องใช้ตัวช่วยบ้างดูไปดูมา การเจริญพรหมวิหาร 4 น่าจะช่วยได้มาก (แต่เดิมไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่)จึงคิดว่าอยากจะเจริญพรหมวิหาร 4 ให้เข้มข้นให้มากๆ เอาชนิดที่ว่า เจริญพรหมวิหาร 4 ให้เป็นฌาณ (ฌาณคืออารมณ์ชินนะครับ) ถ้าทำได้อย่างนี้ ถึงตัวเรายังเป็นมนุษย์อยู่แต่ใจเราก็ทรงอารมณ์ของพรหมตลอดเวลาผมคงจะใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น

    การทรงฌาณโดยมีอารมณ์ของพรหมกำกับอยู่ตลอดเวลาเข้าใจว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับผมในเวลานี้

    จึงเรียนมาเพื่อขอคำแนะนำในการเจริญพรหมวิหาร 4 ให้เป็นฌาณ ด้วยครับ ขอขอบคุณในความอนุเคราะห์ล่วงหน้าครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ฟืนที่แห้งติดไฟง่าย<O:p</O:p
    ฟืนที่เปียกน้ำติดไฟยาก<O:p</O:p
    ฟืน คือ จิตไฟ คือ กิเลสน้ำ คือ พรหมวิหาร4 เมตตา<O:p</O:p
    จิตที่ชุ่มฉ่ำด้วยเมตตาย่อมมีกิเลสกำเริบขึ้นได้ยากดั่งฟืนที่ชุ่มด้วยน้ำ<O:p</O:p
    วิธีการแผ่เมตตาให้เป็นฌาณนั้น ให้ทุกๆคนที่ได้อ่านคิดตามทำตามไปเลยนะครับ จะเกิดอานิสงค์ทันที
    <O:p</O:p
    ให้เริ่มจากการเข้าฌาณ ให้สุดอารมณ์ที่เราทำได้เสียก่อน<O:p</O:p
    ก็คือให้ใจมีความบเ สบาย ชุ่มเย็น หยุดนิ่ง สงบ ตั้งมั่น มากที่สุด<O:p</O:p
    ถ้าใครยังเข้าได้ไม่คล่องก็อ่านต่อและทำตามไปเลย แค่คิดตามจนสุด จิตจะเกิดความชุ่มเย็นเอง<O:p</O:p
    จากนั้นให้เรานึกถึงความสุข ความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีที่เรามีต่อผู้อื่น ความปรารถนาดีที่ผู้อื่นมีต่อเรา<O:p</O:p
    อารมณ์ของความแช่มชื่นเบิกบาน อิ่มเอิบใจ ความสุขที่เกิดจากบุญ จากกุศล<O:p</O:p
    ให้หลั่งไหลเข้ามาคล้ายเป็นแสงสว่าง ที่หลั่งไหลจากทุกทิศทางเข้ามาชะโลมล้างดวงจิต ที่กลางอกของเรา<O:p</O:p
    ให้มีแต่ความเบา สบาย ชุ่มเย็น สุขล้น ออกมาจากหัวใจ<O:p</O:p
    ยิ่งเราดึงความสุข ยิ่งดึงความปีติ ยิ่งดึงความชุ่มเย็น ให้เพิ่มมากขึ้นได้เท่าไหร่<O:p</O:p
    เราก็จะยิ่งมีความสุข และยิ่งแผ่เมตตาออกไปได้ในรัศมีที่มากขึ้นเท่านั้น<O:p</O:p
    ให้รู้สึก นึกภาพ ว่าดวงจิตของเรากำลังเบ่งบานดั่งดอกไม้ สัมผัสอาการที่ดวงจิตของเราเบ่งบาน เบิกบาน <O:p</O:p
    ดั่งดอกไม้ ที่รับหยาดน้ำค้างแห่งความสุข ในยามเช้า<O:p</O:p
    ให้ดวงจิตของเราแผ่ออก ขยายออก ตื่นขึ้น สว่างขึ้น สู่ความเป็นเพชร สู่จิตใจที่งดงามด้วยอำนาจแห่งเมตตา<O:p</O:p
    ให้ดวงจิตของเราเป็นเพชรใสระยิบระยับ มีแต่ความสุข ความชุ่มเย็น ความเบาสบาย<O:p</O:p
    หลั่งไหล เอ่อล้นท่วมท้นจากบริเวณกลางอกของเรา<O:p</O:p
    ให้ความสุขเพิ่มมากขึ้นๆ ความอิ่มเอิบใจเพิ่มมากขึ้นๆ ความเบาสบายใจเพิ่มมากขึ้นๆ<O:p</O:p
    จนเรารู้สึกมีความสุขอย่างถึงที่สุด<O:p</O:p
    หัวใจ ดวงจิตของเรา ยิ้มมากขึ้นๆ จนรอยยิ้มฉายจากจิตใจออกมาสู่ร่างกาย ใบหน้าของเรา<O:p</O:p
    ให้ความสุขความชุ่มเย็น หล่อเลี้ยง ชะโลมล้างดวงจิตของเราให้ชุ่มเย็น ด้วยน้ำแห่งเมตตา<O:p</O:p
    พอจิตของเรามีความชุ่มเย็น เบาสบาย อิ่มเอิบอิ่มเอมแล้ว<O:p</O:p
    ให้เราทำความรู้สึก นึกภาพ ว่า มีคลื่นแห่งความเย็นจากเมตตา อารมณ์ที่มีความสุข แผ่กระจายส่องสว่างจากดวงจิตของเราที่กลางอก<O:p</O:p
    ออกมาเป็นรัศมีเพชร ใส ประกายระยิบระยับ แผ่ขยายไปยังร่างกายของเราทุกส่วน<O:p</O:p
    จนร่างกายของเราทั้งร่างเปลี่ยนเป็นเนื้อเพชรใสระยิบระยับทั้งร่าง กล้ามเนื้อทั้งหมดผ่อนคลาย ใจของเราก็ผ่อนคลาย<O:p</O:p
    เสวยสุขอยู่ในอารมณ์ของเมตตา<O:p</O:p
    จากนั้นให้เราแผ่เมตตา รัศมีเพชร คลื่นแห่งความเย็น ส่องสว่างจากร่างกายของเรากระจายออกไปจนปกคลุมยังบ้านที่เราอาศัยอยู่ทั้งหมด<O:p</O:p
    เห็นภาพว่าบ้านของเราเปลี่ยนเป็นรัศมีเพชรใสระยิบระยับ ทั้งหลัง ทุกๆคนในบ้านมีแต่ความสุข มีแต่รอยยิ้มในจิตใจ<O:p</O:p
    รัศมีเพชรแผ่กระจายส่องสว่างจากบ้านเรา ขยายออกไป จนปกคลุมยังจังหวัดที่เราอยู่อาศัยทั้งหมด
    <O:p</O:p
    ให้ทุกๆคนในจังหวัดนี้มีแต่ความสุข ความชุ่มเย็น ความอิ่มเอิบอิ่มใจ มีแต่ความเมตตาปรารถนาดีต่อกัน<O:p</O:p
    ยิ่งเราแผ่เมตตาออกไปมากเท่าไหร่ ดวงจิตของเราก้ยิ่งอิ่มเอิบยิ่งมีความสุข ยิ่งมีความชุ่มเย็นมากขึ้นเท่านั้น<O:p</O:p
    แผ่เมตตาส่องสว่างเป็นเพชร จากจังหวัดของเราไปปกคลุมยังทั้งประเทศไทย<O:p</O:p
    ขอให้ทุกๆดวงจิต ทุกๆสรรพชีวิตในประเทศไทย มีแต่ความสุข มีแต่รอยยิ้มในจิตใจของทุกๆคน<O:p</O:p
    ปราศจากซึ่งภัยพิบัติ ซึ่งศึกสงคราม ซึ่งความเกลียดชัง มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ทุกย่อมหญ้า<O:p</O:p
    ด้วยพืชพันธ์ ธัญญาหาร มังสาหาร ให้คลื่นแห่งความเมตตาของเรา<O:p</O:p
    แผ่ไปยังทุกหย่อมหญ้า ทุกแม่น้ำลำคลอง เปลี่ยนสภาพแม่น้ำลำคลองทั้งหมด ให้เป็นเพชรใสระยิบระยับ<O:p</O:p
    ด้วยอำนาจของความเมตตาของเรา<O:p</O:p
    แผ่เมตตาส่องสว่างไปยังโลกนี้ทั้งใบ เห็นภาพว่าโลกใบนี้เรืองแสงสว่างเป็นเพชร ประกายระยิบระยับ
    <O:p</O:p
    ทุกๆคนบนโลกใบนี้ มีแต่รอยยิ้ม มีแต่ความชุ่มชื่น ชุ่มเย็น ในจิตใจ<O:p</O:p
    ขอให้โลกนี้มีแต่สันติสุข ปราศจากซึ่งศึกสงครามทุกประการ<O:p</O:p
    ยิ่งเราแผ่เมตตาไปกระทบกับดวงจิตอื่น ให้เขามีความสุข ความชุ่มเย็นมากเท่าไหร่ เราเองก็ยิ่งมีความสุขมกาเท่านั้น<O:p</O:p
    แผ่เมตตากระจาย ส่องสว่าง วาบ ไปทั้งจักรวาล ออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณความรักความเมตตาของเรามีอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ<O:p</O:p
    ขอให้ทุกๆดวงจิต ทุกๆสรรพชีวิตทั้งจักรวาล ได้เข้าถึงซึ่งความงดงามในจิตใจ ความเมตตา เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้โดยเร็วไวด้วยเทอญ<O:p</O:p
    ยิ่งจิตของเราแผ่ออก ขยายออก มอบความเย็น มอบแสงสว่างแห่งเมตตา<O:p</O:p
    ประดุจพระอาทิตย์ ท่ามกลางจักรวาลที่มืดมิด มากเท่าไหร่<O:p</O:p
    เราเองก็ยิ่งค้นพบจิตใจที่งดงาม ความงดงาม เป็นเพชร ของจิตใจของเรามากเท่านั้น<O:p</O:p
    แผ่เมตตาไปยังทิศเบื้องบน ยังภพภูมิของเทวดา รุกเทวดา ภุมเทวดา อากาศเทวดา พ่อ แม่ ญาติของเรา
    <O:p</O:p
    ทุกท่านทุกพระองคืที่อยู่บนพระนิพพาน<O:p</O:p
    ขอให้มีแต่ความสุข มีแต่ความชุ่มเย็น อิ่มเอิบใจ ในบุญกุศลยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ<O:p</O:p
    แผ่เมตตาลงไปยังทิศเบื้องล่างยังภพภูมิของสัตว์ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก<O:p</O:p
    ขอให้ทุกๆดวงจิต ที่เร่าร้อนด้วยไฟแห่งกิเลสก็ดี ไฟแห่งความทุกข์ก็ดี ไฟแห่งนรกก็ดี<O:p</O:p
    ขอให้ความเมตตาของเรา ดับไฟแห่งความเร่าร้อนเหล่านี้ ในดวงจิตทุกๆดวง ที่ได้สัมผัสกับเมตตาของเราได้ด้วยเทอญ<O:p</O:p
    แผ่เมตตาส่องสว่างออกไปยังทุกๆทิศทาง ยังทุกๆดวงจิตทั่วทั้งสังสารวัฏ เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลายขอให้ได้รับ<O:p</O:p
    คลื่นแห่งความเมตตาของข้าพเจ้าและแมตตาอโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้า ดั่งที่ข้าพเจ้าได้ให้อภัย ได้อโหสิกรรมให้กับดวงจิต ด้วยกำลังของเมตตานี้ด้วยเทอญ<O:p</O:p
    แผ่ความรักความเมตตา เสวยสุขอยู่ในอารมณ์ของพรหมวิหาร4 ที่มีความละเอียด ประณีต ชุ่มเย็น อิ่มเอิบอิ่มใจ<O:p</O:p
    จดจำอารมณ์นี้เอาไว้<O:p</O:p
    อารมณ์นี้คืออารมณ์ของจิตเดิมแท้ อันประภัสสร อันมีแต่ความสว่างไสวด้วยอำนาจแห่งเมตตา<O:p</O:p
    เป็นจิตใจที่มีความงดงาม ของทุกๆคนเอง <O:p</O:p
    เราจะต้องจดจำ และรักษา ดวงจิตที่งดงาม ด้วยเมตตาของเรานี้ เอาไว้ให้ได้ ตลอดไป ทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกขณะจิต ทุกภพชาติ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน<O:p</O:p
    ขอให้ข้าพเจ้าสามารถรักษาดวงจิตที่มีความงดงาม ประภัสสร ด้วยอำนาจแห่งเมตตานี้ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ<O:p</O:p
    ขอให้ข้าพเจ้ามีความตั้งมั่น ในสัมมาทิษฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา สัมมาปฏิบัติ ในเมตตาพรหมวิหาร4 <O:p</O:p
    ให้เป็นดั่งเข็มทิศนำทางข้าพเจ้าให้ตั้งมั่นอยู่ในหนทางแห่งความดีงามตลอดไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ<O:p</O:p
    แผ่เมตตา คลื่นแห่งความเย็น ส่องสว่างไปยังทั้งจักรวาล ออกไปยังทุกๆทิศทาง อย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณอีกครั้งนึง<O:p</O:p
    ยิ่งเราแผ่ ยิ่งจิตของเรา ขยายออก เผื่อแผ่ออกซึ่งความเมตตามากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น<O:p</O:p
    เมตตา เป็นพลังที่ไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งให้ก็ยิ่งได้ ยิ่งให้ก็ยิ่งเย็น ยิ่งสว่าง ยิ่งมีความสุข<O:p</O:p
    เป็นความสุขที่เกิดจากจิตใจ ไม่เนื่องด้วยความเร่าร้อนทางวัตถุ มีแต่ความเย็น ที่เข้าถึงได้ตลอดเวลา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ให้เราตั้งใจรักษาประคอง อารมณ์นี้ ให้อยู่กับดวงจิตของเราให้ได้ตลอดเวลา ในทุกๆอิริยาบถ<O:p</O:p
    จะเดิน จะนั่ง จะยืน จะนอน จะทำงาน จะอาบน้ำ จะทำกิจการต่างๆ ก็ให้ประคองจิตให้เอิบอิ่มด้วยเมตตาเอาไว้เสมอ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ขอให้ทุกๆคนสามารถเข้าถึงซึ่ดวงจิตที่งดงาม ที่เอิบอิ่มด้วยเมตตาอัปปมาณฌาณ<O:p</O:p
    คือ ความเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ ได้โดยง่ายดาย ได้โดยเร็วไว ได้โดยฉับพลันทันใด <O:p</O:p
    และรักษาเอาไว้ได้ตลอดไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มีนาคม 2010
  16. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ suthipongnuy ครับ
    <O:p</O:p

    ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับคุณชัดจะขอน้อมรับคำแนะนำไปฝึกปฏิบัติให้ดียิ่งๆขึ้นไปครับผมมีเรื่องรบกวนขอคำปรึกษาครับ

    1. ตอนก่อนหลับ ผมจะนอนภาวนาไปด้วยจะรู้สึกเหมือนร่างกายอ่อนเพลีย ปวดตามแขนขาครับ คือยังไงหล่ะ ผมอธิบายไม่ถูกคือเหมือนคนไม่มีแรงครับ แต่เวลาต้องการยกแขนยกขา ก็ยกได้ตามปกติครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ภาวนาว่าอะไร และทำอารมณ์ยังไงครับ<O:p</O:p
    จริงๆยิ่งภาวนาควรจะต้องยิ่งเบาสบาย ทั้งร่างกายและจิตใจ<O:p</O:p
    ถ้ายิ่งภาวนายิ่งปวล แปลว่าเราอาจจะวางอารมณ์ผิดหรือว่ามีปัจจัยภายนอกที่เข้ามาส่งผลครับ<O:p</O:p

    2. ท่านชัดพอจะเมตตาช่วยบอกผมหน่อยได้หรือเปล่าครับว่าผมเหมาะที่ทำกรรมฐานกองไหนแบบไหน เพื่อที่จะได้ผลดีที่สุดเพราะตอนนี้ผมรู้สึกว่าผมเป็นคนโลเลคือเหมือนกับว่าต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ในการปฏิบัติทุกวัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คุณทำกรรมฐานได้หลายกองแหละครับ แต่ต้องฟัดให้แหลกทำให้จบไปทีละกอง<O:p</O:p
    กองแรกที่ต้องทำให้จบก่อน ก็คือ อาณาปานสติกรรมฐานจับลมหายใจเข้าออก<O:p</O:p
    ก่อนอื่นต้องเข้าใจอารมณ์ของการจับลมหายใจก่อน<O:p</O:p
    อารมณ์ที่ต้องใช้คือ เบา สบาย ผ่อนคลาย<O:p</O:p
    เวลาทำสมาธิ ห้ามอยากก้าวหน้า หรือบีบคั้นเร่งรัดตัวเองให้ก้าวหน้า<O:p</O:p
    เพราะถ้ามีความรู้สึกแบบนี้แม้เพียงนิดเดียว จิตจะหนักสมาธิจะมีความอึดอัดทันที<O:p</O:p
    พออึดอัดปุ้ป ถ้าจับลมหายใจ ก็จะรู้สึกคล้ายหายใจไม่ออกถ้าแผ่เมตตาก็จะแผ่ไม่ออก ถ้าจะจับภาพพระ ก็จะมองไม่เห็นภาพพระ<O:p</O:p
    เพราะอยากก้าวหน้านั่นเอง ยิ่งอยากก้าวหน้าก็ยิ่งไม่ก้าวหน้า<O:p</O:p
    พอไม่ก้าวหน้าก็เลยยิ่งอยากก้าวหน้า ก็เลยยิ่งหนักยิ่งเครียดยิ่งกว่าเดิม<O:p</O:p
    ดังนั้นให้ย้อนกลับมาที่พื้นฐานของการตั้งกำลังใจในการทำสมาธิก่อน<O:p</O:p
    เราทำสมาธิเพื่ออะไร<O:p</O:p
    ให้เปลี่ยนใหม่ ให้ตั้งใจว่า เราทำสมาธิเพื่อให้ใจของเรารู้สึกเบารู้สึกสบาย<O:p</O:p
    ถ้าวันนี้เราทำสมาธิแล้วใจของเราสบายแปลว่าเราก้าวหน้ามากกว่าเมื่อวาน<O:p</O:p
    ถ้าวันนี้เราทำสมาธิแล้วใจไม่สบาย ไม่เบา ไม่ผ่อนคลายไม่รู้สึกอิ่มเอิบแช่มชื่น แปลว่าเราวางกำลังใจผิด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พอเราตั้งกำลังใจว่า เราทำสมาธิเพื่อให้ใจเกิดความสบายแล้ว<O:p</O:p
    เราต้องรู้จักการอธิษฐานปักหมุด และจดจำอารมณ์ในการปฏิบัติ<O:p</O:p
    วันนี้เราฝึกจนถึงอารมณ์ที่มีความสบายระดับไหนให้เราจดจำอารมณ์นั้นให้ได้<O:p</O:p
    พอพรุ่งนี้ เราเริ่มฝึกุ้ปต้องเข้าอารมณ์ที่มีความสบายต่อจากเมื่อวานให้ได้ทันที<O:p</O:p
    ไม่ต้องมาไล่จับลมหายใจใหม่ ไล่พุทดธใหม่ ให้นึกถึงอารมณ์เมื่อวานและทำต่อจากนั้นเลย<O:p</O:p
    เราจะได้ไม่ต้องถอยกลังกลับมาไล่ใหม่ ทำใหม่ทุกวันซึ่งบางวันก็ถึงอารมณ์เดิม บางวันก็ไม่ถึง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คราวนี้เรามาพิจารณาในการจับลมหายใจก่อน<O:p</O:p
    อารมณ์ที่เราต้องการจะเข้าถึง และทรงให้ได้จากการจับลมหายใจก็อารมณ์<O:p</O:p
    ที่จิตของเรา หยุด ปราศจากความคิด เหลือแต่อารมณ์ของความสบายความเบา<O:p</O:p
    การที่เราจะเข้าถึงซึ่งอารมณ์นี้ได้โดยง่าย สำคัญมากนะครับถ้าทำได้ครบจิตจะดิ่งเป็นสมาธิทันที<O:p</O:p
    1.ให้เราผ่อนคลาย ความรู้สึกทางร่างกายไล่ความรู้สึกทางร่างกายให้ผ่อนคลายจนครบทุกส่วนในร่างกาย ตั้งแต่ศรีษะ ใบหน้า แขนมือ ขา เท้า<O:p</O:p
    ทำความรู้สึกให้เบา ให้สบาย ให้ผ่อนคลายคล้ายกับไร้ความรู้สึกไร้น้ำหนักทางร่างกาย<O:p</O:p
    ยิ่งเบา ยิ่งสบาย ยิ่งผ่อนคลายยิ่งไม่รู้สึกถึงร่างกายมากเท่าไหร่<O:p</O:p
    ลมหายใจยิ่งราบรื่น จิตยิ่งสงบเป็นสมาธิได้มากเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2.ให้เราล้างทางเดินหายใจ ระบบการหายใจของเรา ให้โล่ง โปร่งเสียก่อน<O:p</O:p
    โดยให้เราหายใจเข้าลึกๆ จนลมหายใจเต็มปอดจากนั้นประคองลมหายใจเอาไว้<O:p</O:p
    และภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ซ้ำไปซ้ำมา ที่บริเวณท้องประมาณ10วินาที<O:p</O:p
    จากนั้นจึงหายใจออก และทำซ้ำ 10ครั้ง<O:p</O:p
    เน้นให้รู้สึกว่าเราสูดลมหายใจ สัมผัสลมหายใจจนเต็มปอดและให้รู้สึกถึงความโล่งโปร่งสบายของลมหายใจเวลาหายใจออก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พอเราทำครบสองข้อแล้ว ให้เราปลอ่ยลมหายใจสบายๆ<O:p</O:p
    ใช้จินตนาการจินภาพ นึกภาพว่า ลมหายใจเป็นเส้นแพรวไหม สีขาวใสบางๆ<O:p</O:p
    ที่พริ้วเข้า พริ้วออกจากร่างกายอย่างต่อเนื่อง ลื่นไหล ราบรื่นเบาสบาย<O:p</O:p
    ให้ใจของเราประคองเอาไว้กับความเบาสบายของลมหายใจ<O:p</O:p
    ลมหายใจจะค่อยๆเบาลง ช้าลง สบายมากขึ้นๆจนกระทั่งจิตของเราหยุดนิ่ง<O:p</O:p
    ลมหายใจของเราหยุดนิ่ง จิตของเราหยุดนิ่ง รวมตัวเป็นหนึ่งเหลือแต่ความเบาสบายของจิต<O:p</O:p
    จากนั้นให้จดจำอารมณ์นี้ประคองรักษาอารมณ์นี้เอาไว้ให้ได้ตราบนานเท่านาน<O:p</O:p
    อธิษฐานปักหมุดย้ำเอาไว้สามครั้ง<O:p</O:p
    ขอให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงซึ่งอาณาปานสติ ลมสบาย สภาวะจิตที่หยุดนิ่งปราศจากความคิดนี้ ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ข้าพเจ้าต้องการตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จากนั้นให้ประคองอารมณ์นี้เอาไว้ให้ได้ตลอดเวลาทั้งหลับตาลืมตา<O:p</O:p
    ทรงให้ได้ตลอดเวลา ทรงให้ได้เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเป็นอาทิตย์เป็นเดือน เป็นปี จนถึงตลอดไป<O:p</O:p
    หลวงพ่อฤาษีท่านบอกว่าผู้ทรงฌาณ ท่านจะทรงกันตลอดเวลาทำกันตลอดเวลา<O:p</O:p
    พระอริยเจ้า จิตท่านก็เป็นสมาธิตลอดเวลาเช่นกัน<O:p</O:p
    ดังนั้นยิ่งเราทรงได้ใกล้กับตลอดเวลามากเท่าไหร่เราก็ยิ่งใกล้พระนิพพานมากเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในขั้นแรก ทรงอารมณ์จิตในระดับนี้ให้ได้ก่อนครับ ลมสบายอาณาปานสติด้วยอารมณ์สบาย<O:p</O:p
    พอได้ตรงจุดนี้แล้ว จะต่ออะไรก็จะสำเร็จโดยฉับพลันทันใดได้ทุกกอง<O:p</O:p

    3. เรื่องแผ่นซีดีธรรมมะ ผมได้เริ่มแจกไปบ้างแล้วครับแต่แจกให้เพื่อนร่วมงานก่อน ยังไม่ได้แจกให้ผู้ป่วย ตอนนี้กำลังรวบรวมไฟล์เสียงและรอไฟล์เสียงของท่านชัดอยู่ครับ
    <O:p</O:p


    มีเรื่องรบกวนแค่นี้ครับ
    ขอขอบพระคุณสำหรับความเมตตากรุณาที่ท่านชัดมีให้แก่ผู้ตั้งคำถามทุกท่านครับ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2010
  17. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ makoto12 ครับ

    อนุโมทนาด้วยคับกับผู้ที่ไปฝึกวันนี้ ผมไม่ได้ไปแต่ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ไปวันนี้นะคับ ส่วนผมก็ทรงสมาธิ ตลอดเวลา แม้แต่เวลานอนบางครั้ง นอนแบบมีสติ

    คำถามคับ
    เมื่อให้เรามองดูร่างกาย ดูจิต ดูทุกสิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงไปตามความไม่เที่ยง

    ดูว่าไม่เที่ยงแล้ว มันต้องสรุปอารมณ์ด้วยครับ
    ว่ามันมีความไม่เที่ยง เป็นของ "ธรรมดา" เมื่อมันเป็นเรื่องธรรมดาใจเราก็ปล่อยวาง
    และตั้งใจจะไปสู่สภาวะที่เที่ยง คือ พระนิพพาน ต้องตั้งใจจะไปพระนิพพานด้วย ถึงจะครบวงจรของการพิจารณาครับ

    ว่า ในขณะที่เราหายใจเบา หายใจช้าลง จนไม่หายใจ ก็หันไปตั้งภาพพระแทนการมองดูลม แต่ สุดท้ายมันก็กลับมาหายใจก็ต้องมาดูลมใหม่

    ถ้าลมหายใจกลับมา ถือว่า จิตตกจากอารมณ์ของฌาณ4ครับ
    เราต้องจดจำอารมณ์ ที่จิตหยุดนิ่ง เหลือแต่อารมณ์ เบาสบาย ปราศจากลมหายใจให้ได้
    หรือประคองจิตเอาไว้ในเมตตาตลอด ลมหายใจก็จะไม่ปรากฏครับ

    เพราะสาเหตุที่มองดูสิ่งที่ไม่เที่ยงนี้ยังไม่ชัดเจนดีพอ ปลงไม่ตก ถ้ามีกำลังใจดีก็คือตายก็ช่าง ไม่หายใจก็ช่าง ร่างกายก็คล้ายกับการตาย ตายแบบหลอก ตายไม่จริง ตายแบบมีสมาธิ จิตจึงหลุด จิตมุ้งไปในสิ่งที่เรากำหนด มุ้งไปที่เราเพ่ง มุ้งไปที่เรามอง แต่ ผ่านจุดนี้ได้ พ้นจุดนี้ได้ เรียกว่ากำลังใจเต็ม หรือ มโนเต็มกำลัง อย่างนี้ รึเปล่าคับ ตามผมเข้าใจ

    จะว่า มโนเต็มกำลัง ต้องมีกำลังใจเต็มก็กล่าวได้ถูกต้องครับ
    ก็คือ การจะออกเป็นมโนเต็มกำลังได้ จะต้องตัดร่างกาย ตัดความรู้สึกที่ยึดในร่างกายให้ได้ทั้งหมด
    หนึ่งในความรู้สึกที่ตัดยากที่สุด ก็คืออารมณ์ที่กลัวตาย
    จิตต้องไม่กลัวตายชั่วขณะ
    แล้วการตัดร่างกาย ตัดอารมณ์ที่กลัวตายคืออะไร ก็คือวิปัสสนาญาณ
    ดังนั้นผู้ฝึกมโนมยิทธิจะต้องจับวิปัสสนาญาณเข้ม
    หากไม่มีวิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิจะไม่เกิดผล
    ยิ่งวิปัสสนาเข้มทำไร มโนมยิทธยิ่งคล่องตัว ยิ่งแจ่มใสมากเท่านั้น
    จิตยิ่งปล่อยวาง ยิ่งเบาสบาย ยิ่งผ่อนคลายมากเท่าไหร่ มโนยิ่งแจ่มใสมากเท่านั้น
    ให้ใช้อารมณ์ของการปล่อยวาง ผ่อนคลายเข้าช่วยจะง่ายกว่า การตัดแบบหักดิบครับ
    คือให้เราผ่อนคลาย ร่างกาย ทำใจให้เบาสบาย
    ยิ่งร่างกายผ่อนคลายมากเท่าไหร่ จิตก็ยิ่งเกาะร่างกายน้อยลงเท่านั้น
    ดังนั้นเราก็ตั้งจิตถึงพระท่าน ขอให้พระองค์เมตตาสงเคราะห์ยกจิตของเราออกจากร่างกาย
    จากนั้นเราก็ผ่อนคลายร่างกาย ทำความรู้สึกให้คลาย ให้เบา ให้สบาย คล้ายไร้น้ำหนัก ทางร่างกาย
    เบาขึ้นๆ สบายขึนๆ ผ่อนคลาย ปล่อยวางมากขึ้นๆ
    ลมหายใจก็จะหยุด จิตก็จะออกมาได้เอง

    จุดที่ติดคือ ยังมีการตั้งใจมากไปนิด ต้องผ่อนคลายเพิ่มอีกครับ
    การตั้งใจเกินไปแม้เพียงนิดเดียว ถือว่าเป็นอารมณ์หนัก เป็นอัตถะกิลมะถานุโยค
    คือทรมานตัวเอง การตั้งใจมากไปนี่ ถือเป็นการทรมานตัวเองประเภทหนึ่งเลยนะครับ
    ดังนั้นต้องทำใจให้ผ่อนคลาย ให้เบาให้สบายมากขึ้นๆ เรื่อยๆ

    ตายหลอกนี้ ตายไม่จริง แต่ คนที่เค้าฝึกหลายคนเข้าใจว่า ตาย จริงๆ ตายแบบไม่กลับมาไม่มีลมหายใจ เลยเกิดความกลัว ไม่กล้า มีความกำหนัด มีความห่วง ความยึดติด เกิดขึ้น ผมจึงขอใช้คำว่าตายหลอก เพราะจะได้ลดความกำหนัด ความห่วง ความสงสัย ความยึดติด ลงไปได้เยอะ

    ส่วนจุดนี้ผมไปมุ้งเน้นพุ้งสมาธิไปที่ลมหายใจ และ ภาพพระ มีสมาธิและสติตรงนี้มากกว่าที่จะคิดเรื่องความกำหนัดความกลัว ความสงสัย ความยึดติด แต่มันก็มีน้อยลงไปมากแต่ก็ยังมี

    วิธีตัดความกลัวตาย คือ ผ่อนคลายครับ
    คนที่หลับตาย เป็นคนที่ตายโดยไม่กลัวตาย
    เพราะตอนที่หลับจิตเกิดความเบา เกิดความสบาย
    ตายณขณะนั้น จึงไม่รับรู้ถึงอารมณ์กลัวตาย
    เราก็ต้องทำอารมณ์แบบเดียวกันกับคนหลับ คือ สบาย คือผ่อนคลาย
    แต่เราต้องอธิษฐานเอาไว้ก่อน ขอบารมีพระ ให้ท่านเมตตาพาจิตไปตามที่พระองค์ต้องการ
    จากนั้นก็ทำใจให้สบายไปเลยครับ เดี้ยวจิตจะออกเอง
    แต่ถ้าใจยังไม่สบาย ต่อให้เราทำยังไงมันก็ไม่ออกครับ

    ลมที่ละเอียดขึ้นเราจะรับรู้หรือไม่ ว่าลมของเราละเอียดขึ้น กายของเราละเอียดขึ้น ทุกส่วนในร่างกายละเีอียดขึ้น รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ดีขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลง(ตัวผมเองรู้สึกถึงลมที่เปลี่ยนแปลงคับ ที่มันละเอียดขึ้น)หรือ สัมผัสทั้ง5ดีขึ้น รึเปล่าคับ?

    จิตของเราเหมือนกับน้ำในขันใบหนึ่ง
    น้ำที่ไม่นิ่ง ก็ขุ่นมัว มีตะกอน ไม่สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน
    น้ำที่หยุดนิ่ง ก็ใส สะอาด สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน
    ประสาทสัมผัสของเราทั้งหมด จะชัดเจนขึ้น เมื่อจิตของเราเป็นสมาธิ
    เพราะเมื่อจิตใส สะอาด ก็ย่อมรับรู้ทุกสิ่ง ได้ชัดเจนยิ่งกว่าเดิม เหมือนกับน้ำในขัน

    เคยได้ยินไหมครับว่า ผู้ที่ทรงฌาณ จะทำให้สภาพแวดล้อมเป็นทิพย์ทั้งหมด
    อาหารที่กินก็เป็นทิพย์ สิ่งที่มองเห็น ที่รับรู้ก็เป็นทิพย์ทั้งหมด
    แม้อาหารจะเป็นอาหารธรรมดา แต่หากจิตเราเป็นฌาณ เราก็จะสัมผัสรสชาติที่มันละเอียดกว่าปรกติทั่วไปได้
    กลายเป็นว่า ผู้ทรงฌาณ เห็นอะไรก็สวยงาม ฟังอะไรก็เพราะ ลิ้มรสอะไรก็อร่อย
    เพราะทุกอย่าที่ข้องเกี่ยวมันกลายเป็นทิพย์หมด
    ดังนั้นพระ หรือฤาษีที่ท่านทรงฌาณ ท่านกินแต่ผลไม้ กินแต่ของป่า ก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยมีสุขภาพแข็งแรงมากกว่าคนปรกติ

    แม้แต่ร่างกายของเราก็ตาม อ้างอิงจากเรื่อง สาส์นจากวารี
    หากจิตของเราดี ผลึกน้ำ ธาตุในร่างกายของเราทั้งหมดก็จะเป็นเพชร
    ยิ่งจิตของเราดีขึ้น ละเอียดขึ้น งดงามขึ้นมากเท่าไหร่
    ธาตุของร่างกายก็จะยิ่งละเอียดขึ้น งดงามมากขึ้นเท่านั้น
    จนระดับสูงสุดก็คือพระอรหันต์ ธาตุของท่านจะมีความบิรสุทธิ์สูงสุด เป็นพระธาตุทุกส่วน
    พอจิตของเราละเอียดขึ้น กายของเราละเอียดขึ้น แม้แต่การฟังเพลง หรือเลือกชมสิ่งต่างๆก็จะเปลี่ยนไป
    จะหันไปฟังเพลงที่อ่อนโยน เป็นเพลงบรรเลงมากขึ้น เพลงที่รุนแรงก็จะค่อยๆไม่อยากฟังไปเองโดยปริยาย

    ดังนั้นทุกๆอย่าง ปรับที่จิต แก้ที่จิต รักษาที่จิต เป็นสำคัญ
    ร่างกายของเราจะปรับตัวตามจิตของเราเองโดยอัตโนมัติ

    จิตเป็นกุศลมากร่างกายก็ปรับตัว ให้เป็นหนุ่มเป็นสาว แก่ช้า โรคภัยไข้เจ็บน้อย โรคที่มีก็หายไป
    จิตเป็นอกุศลมาก ร่างกายก็ปรับตัว ให้ชราภาพเร็ว ให้พังทลายเร็ว มีโรคภัยไข้เจ็บมาก
    โรคอย่างมะเร็ง ความดันโลหิตสูง ไมเกรน แค่เราปรับจิตของเรา พลิกจิตของเรา
    ให้มีแต่กุศล ให้มีแต่ความดีโดยส่วนเดียวได้
    โรคทั้งหมดจะหายไปโดยแทบจะในทันที อย่างช้าก็เพียงไม่กี่อาทิตย์เท่านั้น
    แต่กลับกันต่อให้เราไปรักษาด้วยยา ด้วยวิทยาการต่างๆมากเท่าไหร่
    แต่ใจเรายังเป็นอกุศลเหมือนเดิม เดี้ยวมันก็กลับมาป่วยเป็นโรคเดิมอีกครั้ง
    เพราะเป็นการแก้ปลายเหตุ ไม่ได้แก้ต้นเหตุ คือ ความสะอาดของใจของเรา
    เราจึงไม่ควรที่จะละเลย ในการดูแล คอยชำระล้าง ทำความสะอาด จิตใจของเรา ทุกๆวัน
    เมื่อเราล้างกายแล้ว ก็ควรต้องล้างใจไปพร้อมๆกันด้วย ทุกวัน
    อายน้ำทุกครั้ง ก็ตั้งใจชำระจิตของเราไปพร้อมๆกับร่างกาย
    ให้จิตของเราเป็นเพชร มีความงดงาม มีความสุข ชุ่มเย็น ทุกครั้งที่อาบน้ำ

    ขอให้จิตมีแต่ความเบาสบาย ผ่อนคลาย สามารถเข้าถึงซึ่งธรรมะ ความงดงามของดวงจิต ที่มีความละเอียด ประณีต ยิ่งๆขึ้นไปได้
    ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกภพชาติตลอดไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทอญ <!-- google_ad_section_end -->
     
  18. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    สำหรับวันอาทิตย์นี้ ผมขอดูสถานการณ์ของบ้านเมืองก่อนครับ
    ถ้ามีความวุ่นวายมาก อาจจะงดสำหรับอาทิตย์นี้ครับ แต่อาทิตย์ต่อไปยังคงมีเหมือนเดิม
    ซึ่งผมจะมายืนยันอีกทีประมาณวันศุกร์ครับ
    ขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่จะมาฝึกด้วยครับ
     
  19. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    สมถกรรมฐานนี่เขาเน้นเรื่องวิธีการหรือเน้นที่อารมณ์กันแน่

    ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่แนะนำการเจริญพรหมวิหาร 4 ให้เป็นฌาณ อ่านไปด้วยพิจารณาไปด้วย ทำตามไปด้วย พอเห็นทางมากขึ้นครับ

    ตอนนี้มาจับวิปัสสนามากขึ้น แต่เรื่องฌาณของเก่าก็ยังไม่ทิ้ง เรื่องของอรูปฌาณยอมรับกับตัวเองว่ามีปรากฏการณ์แปลกๆให้ตื่นเต้นอีกเยอะ ทีนี้ก็สงสัยว่าเรื่องของวิธีการเข้าถึงอรูปฌาณนั้นมันมีวิธีการต่างๆ สำหรับผมก็มีวิธีเฉพาะตัวของผม ซึ่งไม่เคยเห็นมีการแนะนำที่ไหนมาก่อน คือการใช้อานาปนสติ พอตัวหาย ลมหายใจหาย เหลือแต่จิตโดดๆ ก็เพิกถอนการมีอยู่ของจิตออกไปเสีย (จิตนั้นยังมีอยู่ ไม่ได้หายไปไหน เพราะจิตหายไปไหนไม่ได้ แต่ที่ดูเหมือนไม่มีจิตอยู่ เพราะไม่ยอมรับรู้การมีอยู่ของจิต อ่านแล้วพอเข้าใจไหมครับ ผมอธิบายเองยังเรียบเรียงไม่ค่อยตรงเลย)

    ตรงนี้อย่างนี้อารมณ์มันได้ในเรื่องของอรูปฌาณ ซึ่งก็เคยปรึกษากับเจ้าของกระทู้มาก่อน เมื่อนานมาแล้ว
    ตามนี้ครับ

    แต่ก็ยังคิดสงสัยว่าวิธีการของเราไม่เหมือนกับที่อื่นๆ มันจะใช้ได้หรือเปล่า แต่สำหรับผมคิดว่าเรื่องวิธีการไม่สำคัญเท่าเรื่องอารมณ์ของฌาณ ถ้าได้ตามนั้นก็น่าจะพอใช้ได้แล้ว ไม่ทราบว่าเจ้าของกระทู้มีความเห็นว่าอย่างไรครับ

    ทีนี้มาถึงข้อสงสัยครับ

    1. ในเรื่องของอรูปฌาณพยายามไล่ดูแต่ละระดับขั้น ในเรื่องของการกำหนดอากาศ การกำหนดวิญญาณ การกำหนดความว่างเปล่านั้นไม่ยาก ถ้าจิตหายไปก็สามารถทำได้ แต่ถ้าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (ผมไม่คุ้นกับศัพท์บาลี ถ้าเขียนผิด ขออภัยด้วยครับ) กำหนดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อันนี้เขากำหนดกันอย่างไรครับ เพราะจิตของผมมันเลือนหายไปแล้ว จะกำหนดเอาสัญญาจากตรงไหนมาเป็นอารมณ์ของฌาณ ตรงนี้ขอคำแนะนำด้วยครับ

    เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เหมือนๆกับเป็นการหลอกลวงตัวเองอย่างไรก็ไม่รู้ คือมีสัญญา แต่ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ จำสัญญาที่มีไม่ได้ไปเสียอย่างนั้น คล้ายๆกับที่ผมไม่ยอมรับรู้ว่ามีจิตอยู่ที่ตรงไหน ทั้งๆที่จิตก็ยังคงอยู่ตรงนั้นอยู่ดี พูดไปก็วกไปวนมาอีกแล้ว

    จริงๆแล้วเรื่องอรูปฌาณนี่ใกล้เคียงกับวิปัสสนามากครับ เพราะเกือบจะไม่ยึดอะไรเลย ถ้าเกิดหลงใหลยึดติดในฌาณเข้าก็คงยุ่งยากมากเหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ในสังโยชน์ 10 ท่านถึงต้องให้ละในเรื่องของรูปราคะและอรูปราคะ แต่นั่นก็คงจะเป็นเรื่องของพระอนาคามีที่จะต้องปฏิบัติกัน (ปุถุชนอย่างผมคงยังไม่คิดไปถึงขั้นนั้น)

    2. อีกอย่างหนึ่ง สงสัยมานานแล้วว่าระหว่างอรูปฌาณกับนิโรธสมาบัติที่พระอริยเจ้าท่านเข้ากันนี่ เรื่องของอารมณ์ฌาณแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ
    เคยได้ยินเขาเล่ากันมาว่าเวลาที่พระอริยเจ้าเข้านิโรธสมาบัตินั้นต้องใช้เวลาหลายๆวัน ซึ่งการเข้าอรูปฌาณ จะเข้ากันเป็นวันๆ ก็ทำได้เหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ คือเรื่องของอารมณ์และรายละเอียดปลีกย่อยคงจะแตกต่างกันอยู่ ถ้าพอจะทราบ ขอความอนุเคราะห์เล่าให้ฟังบ้างก็จะขอบคุณอย่างยิ่งครับ

    3. เรื่องของฤทธิ์ต่างๆ ก็ยังสนใจอยู่ครับ ตอนนี้เน้นปฏิบัติไปทางด้านของฌาณฤทธิ์คือฤทธิ์ที่เกิดจากการทรงฌาณ ทรงสมาบัติ (ฤทธิ์มีหลายประเภท เช่น วิกุพนาฤทธิ์ อธิษฐานฤทธิ์ บุญฤทธิ์ กรรมวิปากชาฤทธิ์ เป็นต้น) เพราะคิดว่าน่าจะเหมาะกับตัวเองที่สุด คือทรงฌาณไปเรื่อยๆ รอให้ของเก่า (ที่อาจจะพอมีอยู่บ้าง) มารวมตัวกันเอง ทีนี้มีคำถามว่าถ้าเราทรงฌาณระดับลึกๆ ไว้บ่อยๆ ฤทธิ์ต่างๆ จะมารวมตัวกันเร็วขึ้นหรือไม่ครับ ถ้ามันจะช่วยเร่งเวลาได้ ผมก็คงจะล่อแต่อรูปฌาณลูกเดียวเลยว่างั้น

    แต่เรื่องฤทธิ์นั้น คงจะเป็นแค่แรงจูงใจเบื้องต้น เป็นความสนใจแต่เก่าก่อนเท่านั้น ได้หรือไม่ได้ก็ไม่มีนัยสำคัญอะไร เพราะภารกิจหลักของผมตอนนี้คงจะอยู่ที่วิปัสสนาเป็นหลักมากกว่าครับ เพราะมีความตั้งใจว่าชาติหน้าไม่อยากจะมาเกิดอีกแล้ว (อ่านงานเขียนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ รู้สึกว่านิพพานนี่ไปกันได้ง่ายดายเหลือเกิน ไม่ใช่ของยากเย็นอะไร อาศัยศรัทธา ความตั้งใจที่มุ่งมั่นเท่านั้นเอง)

    4.หลวงพ่อฤาษีลิงดำสอนว่าเราต้องถือ มรณานุสสติกรรมฐาน เป็นอารมณ์ แล้วก็ต้องคิดว่าถ้าตายขณะใดเราจะไปไหน ถ้าหากว่าตั้งใจว่าจะไปนิพพาน ตอนเช้ามืดจะทำจิตให้เป็นฌานถึงที่สุด แล้วก็ถอยหลังอารมณ์ฌานมาพิจารณาสังโยชน์ สังโยชน์ 10 นี่ก็ตัดสักกายทิฏฐิตัวเดียว แล้วก็เมื่อตัดสักกายทิฏฐิตัวเดียวแล้ว ก็เอาอารมณ์จับพระนิพพานเป็นสำคัญ แล้วก็วันนั้นทั้งวันจะใช้ อุปสมานุสสติกรรมฐาน ประจำใจ คือปรารถนาพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้ถ้าตายเมื่อไรไปนิพพานเมื่อนั้น

    ตรงนี้ค่อนข้างสำคัญ การที่ทั้งวันจะใช้อุปสมานุสสติกรรมฐาน ประจำใจอยู่ตลอดยังเป็นของที่ยากอยู่ จะมีเผลอมีหลุดตลอด ต้องคอยระวังอยู่มาก (ลำพังแค่การทรงฌาณอยู่ตลอดเวลาทุกนาทีก็แทบจะทำไม่ได้อยู่แล้ว เพราะมีเรื่องต้องติดต่อ กิจธุระต่างๆบ้าง) แต่ว่าเรื่องความตายนี้ไม่มีนิมิตล่วงหน้า จะมาถึงไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ก็เกรงว่าเมื่อความตายเข้ามาถึงจริงๆ จะทรงอารมณ์ปรารถนาพระนิพพานไว้ไม่ทัน ตรงจุดนี้ขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ

    จึงเรียนมาเพื่อขอคำแนะนำเป็นแนวทางต่อไปด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2010
  20. เดือนยี่

    เดือนยี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    783
    ค่าพลัง:
    +1,378
    อยากลองนั่งสมาธิ แต่กลัว บอกไม่ถูกว่ากลัวอะไร คิดว่าอาจจะกลัวเห็นอะไรที่ไม่เคยเห็น พอลองทำมักคิดว่ามีคนนั่งจ้องเราอยู่ไม่รู้จะทำไงดี ขอความกรุณาด้วยนะค่
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...