พระทิพย์ปริญญาเขียนเรื่องธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 18 มิถุนายน 2006.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    พระทิพย์ปริญญาเขียนเรื่องธรรมกาย<O:p</O:p

    <O:p> </O:p>
    หนังสือเล่มนี้ ตั้งชื่อว่า "ธรรมกาย" มิใช่ข้าพเจ้าคิดตั้งเอาเอง ท่านเจ้าของผู้แสดงเรื่องนี้เป็นผู้ตั้ง ท่านเจ้าของที่ว่านี้คือ ท่านพระครูสมณธรรมสมาทาน (สด) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ คลองภาษีเจริญในปัจจุบันนี้ ซึ่งเรียกกันอยู่แพร่หลายในหมู่ศิษย์ที่เคารพนับถือว่า "หลวงพ่อวัดปากน้ำ" ปัจจุบันนี้ เป็นที่ พระมงคลราชมุนี
    <O:p</O:p
    การแสดงเรื่องธรรมกายนี้ เป็นเรื่องที่ท่านแสดงแก่ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในวันพระและวันอาทิตย์ แสดงติดต่อกันเป็นลำดับไปข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ไปฟังได้จดบันทึกเอาแต่หัวข้อใจความไว้ แล้วเรียบเรียงไปขอให้ท่านตรวจเรื่อย ๆ มา เริ่มแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๘ จนถึงวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ รวมเป็นเวลา ๓ เดือนเศษจึงจบ จุดมุ่งหมายที่แสดงเป็นเรื่องสมาธิโดยตรง เป็นแต่ท่านยกเอาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นหลักแสดงและแสดงหนักไปในทางแนวปฏิบัติ ไว้แนวปริยัติบ้างพอสมควร แต่เมื่ออ่านดูให้จบแล้วจะจับใจความได้เป็นเรื่องเกี่ยวติดต่อกันหมด แต่สำนวนโวหารที่บันทึกไว้นี้ รู้สึกว่าอยู่ข้างจะสั้นอยู่มาก โดยยกเอาเทศนาโวหารออกเสีย บันทึกไว้แต่แก่นความ เพื่อให้รวมเป็นแนวปฏิบัติได้ง่าย ไม่ประสงค์ให้อ่านอย่างหนังสือเทศน์ต่าง ๆ ดังเคยพบเห็นมา อันจะทำให้เสียเวลาอันมีค่าของผู้อ่าน จึงหวังเอาละเอียดหมดจดไม่ได้ ข้อใดที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็ขอให้เป็นหน้าที่ของท่าน ผู้อ่านหาโอกาสไปไต่ถามผู้ที่ปฏิบัติดู เขาจะบอกท่านได้ หรือยังไม่หมดสงสัยจะไปไต่ถามท่านผู้แสดงเองก็ได้ ข้าพเจ้าเคยเห็นมีผู้สนใจในทางปฏิบัติไปไต่ถามท่านเนือง ๆ ท่านไม่มีความรังเกียจ<O:p></O:p>


    มูลเหตุที่ข้าพเจ้าจะได้ไปฟังธรรมที่วัดปากน้ำนั้น ก็เพราะเวลานั้น ประเทศไทยเราอยู่ในระหว่างสงครามโลก ในพระนครถูกเครื่องบินข้าศึกมาทิ้งระเบิดไม่หยุดหย่อน ข้าพเจ้าได้อพยพหลบภัยไปอยู่ตำบลวัดสิงห์ ข้าพเจ้าฉวยโอกาสนี้เที่ยวเตร่ไปตามวัดต่าง ๆ เพื่อศึกษาหาความรู้ในทางพระพุทธศาสนาไปหลายวัด ได้ความรู้แปลก ๆ กัน แต่เมื่อหันเข้าหาแนวปฏิบัติแล้ว บางท่านไม่ใคร่ขยายโจ่งแจ้ง สังเกตดูเหมือนจะปิดกัน จนในบางวัด ข้าพเจ้าไปมองเห็นหีบหนังสือเป็นหีบไม้แบน ๆ และเขียนเป็นหนังสือขอมบอกไว้ข้างหน้าหีบว่า "วิปัสสนา" ข้าพเจ้าอ่านออกเพราะข้าพเจ้าเคยเรียนหนังสือขอม ใจข้าพเจ้าอยากรู้เหลือเกินว่า ในนั้นจะมีหนังสืออะไรแต่ไม่กล้าจะละลาบละล้วง จึงเป็นแต่กระทบถามท่านในเรื่องแนวปฏิบัติบ้าง ก็ไม่ได้ความ นาน ๆ เข้าพอจะจับเค้าได้บ้างว่าทางวิปัสสนามักจะเพ่งของขาว<O:p></O:p>


    วันหนึ่ง ข้าพเจ้าไปนั่งคุยกับผู้หญิงผู้มีอายุคนหนึ่ง ซึ่งเป็นเพื่อนอพยพพักอยู่ใกล้กัน มีชายคนหนึ่งมาพูดกับข้าพเจ้า เล่าถึงว่าเขาเคยไปกับแม่ชีธุดงค์คนหนึ่ง เคยสอนวิปัสสนาให้ ข้าพเจ้าซักถามก็เล่าว่าให้พิจารณาสังขารร่างกายเทียบกับซากศพ หญิงผู้มีอายุขัดคอขึ้นทันทีว่า อย่างนั้นเขาเรียกว่าปลงอนิจจังไม่ใช่วิปัสสนา ข้าพเจ้าถามว่า วิปัสสนาเป็นอย่างไรเล่า แกเล่าต่อไปว่า วิปัสสนาเขาต้องเรียนเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นนิพพาน ทั้งต้องไปเที่ยวดูนรก สวรรค์นิพพานได้ด้วย ข้าพเจ้างง ชายคนนั้นก็งง เพราะถ้อยคำเช่นนี้ไม่เคยได้ยิน แม้ข้าพเจ้าจะเคยเรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้น ป.๖ ก็นึกได้แต่ว่าไปสวรรค์ นรก ก็มีเรื่องพระมาลัย และพระโมคคัลลานะ เป็นต้น แต่ข้อว่าไปเที่ยวนิพพานได้นั้น ข้าพเจ้าหมดความคิดทั้งหมดความรู้ด้วยจึงพูดอะไรต่อไปไม่ได้ หญิงคนนั้นยังท้าว่า เอาเถอะน่า วันหน้าจะเอาหนังสือของหลวงพ่อวัดปากน้ำให้ดู เขาเรียนกันอย่างนั้น ส่วนตัวแก่ว่าได้ลองบ้างเหมือนกัน แต่ไม่ทันรู้ผลอะไรแกกลัวจะเป็นบ้าเลยเลิกเสีย<O:p></O:p>


    ต่อมาวันหนึ่ง ข้าพเจ้ามาที่วัดแห่งหนึ่งในพระนคร พบนายทหารคนหนึ่งชื่อหลงจบฯ คุยให้ฟังว่าเขาเคยมาวัดปากน้ำ ได้ข่าวเล่าลือว่า พาไปสวรรค์ นรกได้ เขา ๒ คนกับภรรยาไปหา ขอให้พาไปพบพ่อตาที่ตายไปนานแล้ว ว่าจะไปอยู่ที่ไหน หลวงพ่ออิดเอื้อน แกตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ นานา ว่าถ้าไม่ทำให้เห็นจริง เสียงที่เล่าลือนั้นก็เป็นเรื่องไม่มีความจริง ในที่สุดแกว่าหลวงพ่ออดรนทนไม่ได้ จึงได้เรียกพระมา ๑ รูป ชี ๑ คน และบอกเรื่องที่หลวงจบฯ ต้องการให้ทราบ ทั้งพระและชีก็นั่งเข้าที่ หลวงจบฯบอกชื่อพ่อตาให้ทราบ สักประเดี๋ยวพระตอบว่าไม่พบ หลวงพ่อบอกว่าขอตรวจดูบัญชีให้ถ้วนถี่อีกประเดี๋ยวพระบอกว่าพบแล้ว ไปเกิดเป็นเทวดาอยู่ในชั้นยามาหลวงพ่อบอกให้เชิญมา และบอกแม่ชีว่าขอยืมร่างหน่อย ประเดี๋ยวบอกว่ามาแล้ว แม่ชีลืมตา หลวงพ่อก็ถามไปยังแม่ชี ๆ บอกว่ามาจากชั้นยามา และบอกว่าเมื่อเป็นมนุษย์ อยู่ทางวัดยายร่ม แล้วถามว่าทำบุญอะไรจึงไปเกิดเป็นเทวดา แม่ชีนั้นตอบว่าสร้างโบสถ์ หลวงจบฯ ว่าตอนนี้ชักตะลึง เพราะความจริงพ่อตาได้สร้างโบสถ์ไว้จริง หลวงจบฯ ยังช่วยทำแต่ก็นานมาแล้ว แม่ชีนี้สังเกตดูอายุยังน้อย คะเนว่าจะเกิดไม่ทันเสียอีก แต่ไฉนบอกถูกต้อง แล้วหลวงพ่อซักต่อไปว่า เคยมีลูกกี่คน บอกถูกทั้งลูกหญิงลูกชาย แล้วหลวงพ่อชี้ให้ดูหลวงจบฯ กับภรรยาแล้วถามว่านี่ใคร แม่ชีมองดูสักประเดี๋ยว ถามตรงมาที่หลวงจบฯ ว่านี่ไอ้แช่มใช่ไหม หลวงจบฯ ว่าใช่ แล้วถามต่อไปอีกว่า นี่นางเครือใช่ไหม ภริยาหลวงจบฯ รับว่าใช่ ที่สุดทั้งตัวหลวงจบฯ และภริยา ร้องไห้โดยคิดถึงบิดา เพราะความจริงแม่ชีนี้ไม่รู้จักชื่อหลวงจบฯ และชื่อภริยาก็ไม่รู้ หลวงพ่อก็ไม่รู้ ไฉนแม่ชีพูดถูกต้อง นี่เป็นเรื่องที่หลวงจบฯ เล่าให้ข้าพเจ้าฟังเอง ว่าตัวหลวงจบฯ แต่เดิมชื่อแช่ม แต่เป็นหลวงจบฯ มานานแล้ว ไฉนแม่ชีเอามาพูดถูก ในที่สุดหลวงจบฯ ว่าเรื่องที่พบมาเป็นเช่นนี้ จะมีเหตุผลเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ นี่เริ่มเป็นปฐมเหตุให้ข้าพเจ้าครุ่นคิดอยู่ และเวลานั้นมีท่านพระครูองค์หนึ่งอยู่วัดประดู่มานั่งอยู่ที่นั่นพูดขึ้นว่า เมื่อวันวิสาขะนี้มีคนโจทก์กันมาว่า เวลาเวียนเทียนที่วัดปากน้ำ มีคนเห็นเป็นรูปพระปฏิมากรลอยอยู่ ท่านว่าท่านได้ซักถามหลายคนก็รับว่าเห็นจริง ข้าพเจ้างงอีก เพราะคิดไม่ออกว่าอะไร เป็นแต่ข้าพเจ้าได้พูดต่อพระที่นั่งอยู่นั้นหลายรูปว่า เรื่องที่เราไม่รู้ไม่เห็นผู้อื่นเขาจะสามารถรู้เห็นได้หรือไม่ จะมีอะไรเป็นเครื่องวัด ไม่มีใครตอบ<O:p></O:p>


    วันหลังข้าพเจ้าได้ไปสนทนากับแกอีก แกส่งหนังสือให้ดู ๑ เล่ม ข้าพเจ้าอ่านดูเป็นเรื่องวิธีเจริญสมาธิของหลวงพ่อวัดปากน้ำ มีภาพคนนั่งสมาธิ และบอกจุดที่ตั้งปริกรรมนิมิตไว้โดยละเอียด และมีคำอธิบายย่อ ๆ ลงท้ายสุดเรื่องนิพพาน เมื่ออ่านไปความมึนงงของข้าพเจ้ายิ่งทวีขึ้นอีกหลายเท่า คิดไปต่าง ๆ นานา ว่านี่อะไรกัน ซ้ำในที่สุดว่าทำได้ตามวิธีนี้แล้วยังมีวิชาที่จะต้องเรียนอีกมากยิ่งงงใหญ่ไม่รู้ว่าวิชาอะไร เพราะข้าพเจ้าเรียนปริยัติมาจนสอบไล่ได้ชั้น ป.๖ แล้วไม่ได้ความเข้าใจอย่างนี้เลย แต่ในที่สุดข้าพเจ้าได้คิดขึ้นมาว่า คนเราเขาว่ามีวิชาที่จะต้องเรียนเรื่อย ๆ ไปจนตายไม่มีจบ ใครหยุดเรียนเมื่อใดโดยถือเสียว่า ตนมีความรู้พอแล้ว เขาว่านั่นคือคนโง่ ทางพระเรียกว่า ทิฎฐิ หากยังปล่อยให้ทิฎฐินี้ฝังแน่นอยู่ในสันดาน ไม่ต้องสงสัยว่าจะต้องอมโรคโง่ไปจนตาย สิ่งใดที่เราไม่รู้ ไม่ควรจะไปตั้งมานะทิฎฐิว่าคนอื่นก็คงไม่รู้วิเศษไปกว่าเรา สิ่งใดที่เราทำไม่ได้ไม่ควรจะไปตั้งทิฏฐิว่า คนอื่นก็คงจะทำไม่ได้ แม้สิ่งใดที่เราว่าเรารู้ดีแล้วก็ไม่ควรจะไปตั้งทิฏฐิว่าไม่มีคนอื่นจะดีกว่าเรา ซึ่งเป็นมูลเหตุให้ข้าพเจ้าต้องสืบเสาะมาหาหลวงพ่อวัดปากน้ำให้จงได้<O:p></O:p>
    เหตุที่ทำให้ข้าพเจ้างงดังกล่าวมา ก็เพราะว่านอกจากแนวปริยัติที่ข้าพเจ้าเคยผ่านมา รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ท่านผู้รู้ได้เขียนไว้ในที่ต่าง ๆ กัน ข้าพเจ้าก็ได้เอาใจใส่ค้นคว้าอ่านดูมากต่อมากแล้ว มีรูปในทำนองตำรา หรือที่เรียกว่าเป็นแนวทางปรัชญาเป็นส่วนมาก บางฉบับพูดทีแรกเหมือนจะเป็นแนวปฏิบัติ แต่ลงท้ายก็เป็นการกล่าวตามตำราไปเสีย คิดไปมารู้สึกว่าเราจะเป็นแต่คนดูแผนที่เสียแล้ว ถ้าเขาจะให้เดินไปจริงจังตามแผนที่จะไปไม่รอดกระมัง ถ้ากระนั้นก็ควรศึกษาการเดินเองดูบ้าง คงจะได้ความรู้อะไรแปลก ๆ บางฉบับก็วิพากษ์วิจารณ์หันเหธรรมลงมาเทียบกับวิทยาศาสตร์ทางโลกจนรู้สึกอึดอัดใจ แต่ส่วนฉบับของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่กล่าวมานั้น ข้าพเจ้าอ่านแล้วตันเลย ไม่ใช่เพียงอึดอัด เพราะตามที่กล่าวไว้นั้นสั้นเหลือเกินจนเห็นเป็นของแปลก ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงต้องมาหาให้พบท่านเจ้าของจนได้<O:p></O:p>


    วันแรกข้าพเจ้ามาหาท่านเวลาฉันเพล เห็นมีคนนั่งล้อมรอบไปกราบ ๆ ท่านและบอกชื่อเสียงแก่ท่าน บอกความประสงค์แก่ท่านว่ามีความสนใจในทางธรรม ท่านบอกให้นั่งรออยู่นั่นก่อน (ชี้ไปทางหลัง) ท่านก็ฉันเพลเงียบ ๆ เวลานั้นก็เห็นแม่ชีคนหนึ่ง อุบาสกคนหนึ่งควบคุมแนะนำให้คนเหล่านั้นนั่งสมาธิตาม ๆ กันหมด (ต่อมาได้ความว่าเป็นคนไข้ที่มาขอให้ท่านรักษา) พอเสร็จสนทนาปราศรัย ท่านก็ยกบทพุทธคุณขึ้นมาพูดเป็นข้อ ๆ ไป พร้อมทั้งคำแปลคำอธิบาย หูข้าพเจ้าฟังดูรู้สึกว่ามีรสชาติซาบซึ้งกว่าที่ข้าพเจ้าเคยได้ยินหรือเคยอ่านมาในที่ต่าง ๆ นั้นมาก ข้าพเจ้าติดใจในอรรถรสมาก แต่นั้นมาก็พยายามไปฟังเวลาท่านลงแสดงธรรมในโบสถ์เสมอ ท่านลงแสดงเองทุกวันพระและวันอาทิตย์ ข้าพเจ้ารู้สึกจับใจมาก ส่วนมากแสดงหนักไปในทางปฏิบัติ ข้าพเจ้านึกเสียดายว่าที่ท่านแสดงนั้น แสดงด้วยปากเปล่า เราฟังแล้วก็มีแต่จะเสื่อมสูญไป เสียดายความเหน็ดเหนื่อยที่ท่านพยายามแสดง จึงคิดหาทางขอบันทึกไว้ ท่านเห็นชอบด้วยจึงได้เริ่มลงมือบันทึก<O:p></O:p>


    เท่าที่ข้าพเจ้าเคยพบปะมา พระที่เป็นฝ่ายสมถะมักไม่ใคร่แสดงธรรม พระที่แสดงธรรมโดยมากเป็นฝ่ายปริยัติ แต่หลวงพ่อวัดปากน้ำนี้ไฉนจึงชอบแสดงธรรม ได้ความว่าท่านเป็นนักปริยัติมาแต่เก่าก่อนแล้ว ฉะนั้นสังเกตดูแนวการแสดงในเบื้องต้นแต่ละกัณฑ์ ๆ ระวังบาลีมิให้คลาดเคลื่อน และแปลเป็นข้อ ๆ ไปก่อน แล้วจึงจะขยายความชี้แนวปฏิบัติท่านแสดงธรรมอยู่ในหลักนี้เสมอ ไม่ใช่นึกว่าเอาตามใจชอบ ถ้าจะยกอะไรขึ้นเป็นต้องอ้างอาคตสถานที่มาแห่งธรรมเหล่านั้นประกอบด้วย<O:p></O:p>


    จริยาของท่าน<O:p</O:p
    ๑. คุมภิกษุ สามเณรลงทำวัตรไหว้พระในโบสถ์ทุกวัน วันละ ๒ เวลา คือเช้าหนหนึ่ง เย็นหน<O:p></O:p>
    หนึ่ง และได้ให้โอวาทสั่งสอนภิกษุสามเณรทั้ง ๒ เวลา<O:p></O:p>

    ๒. วันพระและวันอาทิตย์ลงแสดงธรรมในโบสถ์เองเป็นนิจ<O:p></O:p>

    ๓. ทำกิจภาวนาอยู่ในสถานที่ซึ่งจัดไว้เฉพาะเป็นกิจประจำวัน และควบคุมพระให้ไปนั่งภาวนา<O:p></O:p>
    รวมอยู่กับท่านทั้งกลางวันและกลางคืน ส่วนพวกชีก็ให้ทำกิจภาวนาเหมือนกัน<O:p></O:p>

    ๔. ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๔.๐๐ น. ลงสอนการนั่งสมาธิแก่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา <O:p></O:p>
    ต่างถิ่นมาเรียนกันเป็นจำนวนมาก ๆ ทุกวันพฤหัสบดี สอบถามได้ความว่ามีผู้ไปเรียนกันมากแต่ต้นจนบัดนี้ ไม่ต่ำกว่า ๔ หมื่น แล้ว เพราะสอนมากกว่า ๑๕ ปีแล้ว<O:p></O:p>

    ๕. จัดให้มีครูสอนปริยัติในวัดนี้อีกแผนกหนึ่งด้วย นอกจากจำเป็นจริง ๆ แล้ว ท่านไม่ยอมออกจากวัด การสวดมนต์ฉันเช้า ถ้าใครไปนิมนต์มักจะถูกถามว่าให้พระอื่นไปแทนได้ไหม อย่างนี้โดยมาก เพราะท่านชอบหมกมุ่นอยู่แต่กิจภาวนาโดยมาก ออกรับแขกก็เป็นเวลา ตอนเพลครั้งหนึ่งที่ไปพบได้เสมอ ถัดจากนั้นก็เวลา ๑๗.๐๐ น. อีกหนหนึ่ง ออกมานั่งพักผ่อนสนทนาปราศรัย นอกจากนี้ท่านอยู่ในห้องภาวนา ซึ่งเรียกว่าโรงงาน ซึ่งใครไม่เข้าใจ ได้ยินคำว่าโรงงานเลยเข้าใจไปเป็นอื่นก็มี ข้าพเจ้าเองเคยได้ยินเหมือนกันว่าหลวงพ่อมีโรงงานทำ บุ้งก็ขาย จึงเลี้ยงพระได้ทั้งวัดซึ่งเป็นเสียงอกุศล ข้าพเจ้าได้สอบถาม ไวยาวัจกรของท่านดูได้ความว่า เดิมเคยมีเจ๊กมาทำบุ้งกี๋ขายอยู่หน้าวัดคราวหนึ่งจริง จึงกลายเป็นข่าวอกุศลนี้ ความจริงวัดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย<O:p></O:p>


    วัดนี้มีโรงครัวหุงหาอาหารเลี้ยงพระภิกษุสามเณรทั้งวัด รวมทั้งแม่ชีและอุบาสกอุบาสิกา ถ้าวัน<O:p></O:p>
    อุโบสถพวกที่รับอุโบสถก็ได้รับการเลี้ยงดูด้วย ทำมาดังนี้ ๒๐ ปีเศษแล้ว เช้าเลี้ยงข้าวต้ม เพลเลี้ยงข้าวสวย เฉพาะปีนี้มีภิกษุสามเณรที่จำพรรษา ๑๐๕ รูป อุบาสก อุบาสิกา ๑๒๐ คนเศษ มักจะมีผู้เลื่อมใสศรัทธามารับเลี้ยงเนือง ๆ เช่น ทำบุญวันเกิดหรืออะไรเป็นต้น วิธีทำไม่ยาก เอาเงินไปมอบไวยาวัจกรกำหนดวันไว้ ถึงวันก็ไปแต่ตัว โรงครัวจัดไว้เสร็จและมีวิธีนำถวายเป็นแบบสังฆทาน และโดยมากมักมีเทศน์ด้วย ซึ่งข้าพเจ้าเคยพบบ่อย ถ้าวันใดไม่มีเจ้าภาพก็เป็นส่วนของหลวงพ่อ ข้าพเจ้าเคยสอบถามพระที่วัดนั้นว่า หลวงพ่อเห็นจะมีเงินทุนสำรองมาก ท่านบอกว่าเปล่า ทำหมดไปมีมาใหม่ ทำหมดไปมีมาใหม่อย่างนั้นเองแต่ไม่ขาด การที่คนไข้มารักษาก็ไม่ได้เรียกร้องอะไร ข้าพเจ้าเห็นว่าแปลกกว่าวัดทั้งหลาย จึงนำมาเล่าสู่กันฟังไว้ในที่นี้ด้วย ภิกษุสามเณรในวัดนี้มี ๒ ประเภท คือ นักวิปัสสนาประเภท ๑ นักเรียนปริยัติประเภท ๑ หลวงพ่อเลี้ยงดูทั้งนั้น การขบฉันไม่ต้องกังวลเนื่องจากเหตุที่ว่า ผู้ที่หุงหาอาหารในโรงครัวของวัดนี้ เป็นพวกอุบาสิกาและพวกที่ปฏิบัติธรรม<O:p></O:p>


    ถึงแม้จะมีอุบาสกปนบ้าง แต่ก็มีอุบาสิกาเป็นส่วนมาก จึงเป็นมูลเหตุให้มีข่าวอกุศล อันนำความมัวหมองมาสู่สำนักนี้ขึ้นอีกทางหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้ยินเข้าหูตั้งแต่ก่อนที่จะได้ไปติดต่อกับวัดนี้ แม้วันแรกที่ไปฟังลาดเลา ก็ได้พบพระองค์หนึ่งในวัดนั้น ท่านพูดขึ้นเองว่าที่วัดนี้มักมีข่าวอกุศลต่าง ๆ อยู่ ถ้าได้มาดูเสียด้วยตนเองดังนี้ดีกว่า ท่านไม่ได้พูดอะไรมากไปกว่านี้ ข้าพเจ้าเองก็ไม่ได้ไต่ถามในเรื่องเหล่านี้ แต่เพื่อพิสูจน์หาความจริง วันหนึ่งข้าพเจ้าไปพบชายมีอายุคนหนึ่งที่วัดสิงห์ แกพูดว่าเคยอยู่วัดปากน้ำมา ๒ ปี แต่เดี๋ยวนี้ไปอยู่ที่อื่นแล้ว ข้าพเจ้าเห็นเป็นโอกาสจึงลองกระทบถามดูถึงข่าวอกุศลเหล่านี้ แกหัวเราะแล้วตอบว่า แกก็เคยได้ยินเข้าหูมามากเหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงถามว่าก็แล้วความจริงเป็นอย่างไรเล่า แกว่าไม่เห็นมีวี่แววดังข่าวนั้นเลย ผมก็อยู่ที่นั่นมานาน และยังพูดต่อไปอีกว่า เรื่องอย่างนี้ถ้าเป็นความจริงแล้ว ไม่ต้องมีคนอื่นว่าดอกตนของตนย่อมจะติตนเอง ที่ไหนจะทนอยู่ดูหน้าคนทั้งหลายได้ ในที่สุดแกยังท้าว่า ถ้าคุณยังไม่เคยไปก็ไปพิจารณาดูเถิด ท่านพระครูวัดปากน้ำองค์นี้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังกล่าวต่อไปว่า อันภิกษุที่ไม่บริสุทธิ์แล้ว ย่อมเศร้าหมอง พอจะดูกันออก ข้าพเจ้าถามต่อไปว่า ท่านเทศน์เป็นอย่างไรบ้าง แกตอบว่าพอฟัง ข้าพเจ้านึกในใจว่าตานี่พูดสูงอยู่เหมือนกัน จึงต้องซักแกต่อไปว่า ที่ว่าพอฟังน่ะหมายความว่าอย่างไร แกตอบว่าฟังที่นี่วันหนึ่งคุ้มกับฟังที่อื่นตั้งปี<O:p></O:p>


    นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังเงี่ยหูฟังอีกหลายทางตลอดจนเสียงพระเถระผู้ใหญ่บางองค์ในพระนครก็ <O:p</O:pไม่ติฉินประการใด แถมบางรูปยังพูดไปถึงมูลเหตุแห่งข่าวอกุศลเหล่านี้เสียอีกว่า เกิดจากคนที่มุ่งอิจฉาและยังได้ความต่อไปจนถึงว่า พวกที่อิจฉาเคยใช้คนมาลอบยิงเมื่อท่านไปอยู่ใหม่ ๆ เพราะท่านไม่ใช่คนถิ่นนี้ และถึงกับร้องเรียนข่าวอกุศลต่าง ๆ มายังสมเด็จพระสังฆราชครั้งกระโน้น ถึงแก่ส่งพระไปอยู่ประจำคอยสังเกตเหตุการณ์ และตำรวจปลอมตัวไปสอดแนม ในที่สุดก็ไม่ได้ความจริงตามที่กล่าวหา นี่เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าสืบสวนได้ความมาจะสมควรฟังเป็นความจริงได้เพียงใดหรือไม่ แล้วแต่ท่านผู้อ่านจะพิจารณาเอาเอง เพื่อที่จะรู้ว่าข้าพเจ้าผู้สืบสวนและเขียนข้อความเหล่านี้เป็นใคร จึงขอบอกไว้ให้ปรากฏในที่นี้ว่า ข้าพเจ้าชื่อพระทิพย์ปริญญา (ธูป กลัมพะสุต) ข้าพเจ้าเคยบวชเรียนมาแล้ว มีวิทยฐานะเป็นเปรียญ ๖ ประโยค และเคยรับราชการเป็นผู้พิพากษามา ๓๒ ปีแล้ว และตอนสุดท้ายเป็นผู้พิพากษาอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ ๑๐ ปี ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านนึกคิดเอาเองว่า ข้าพเจ้าจะเชื่ออะไรง่ายยากเพียงใด ข้าพเจ้าสืบได้ความจนถึงต้นตอผู้ที่แพร่ข่าวอกุศลทั้งสาเหตุที่ท่านเหล่านั้นจะคิดอิจฉาด้วยทุกประการ ออกรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่งแต่ฟังดูทางหลวงพ่อไม่เห็นเอาใจใส่อะไร ไม่กล่าวขวัญถึงใคร ที่ข้าพเจ้าสืบได้ความดังกล่าวนั้นจากผู้อื่น

    <O:p</O:p
    เท่าที่ข้าพเจ้าสืบสวน และสังเกตการณ์โดยใกล้ชิดมาเป็นเวลาเกือบปีแล้ว ได้ข้อเท็จจริงพอแล้ว<O:p></O:p>
    ที่จะชี้ขาดว่า ข่าวอกุศลต่าง ๆ นั้นไม่มีมูลแห่งความจริงเลย ในทางตรงกันข้าม ข้าพเจ้าเชื่อเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ว่า ท่านเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวง และมีภูมิรู้ในทางปริยัติกว้างขวาง เป็นพระธรรมกถึกชั้นเยี่ยม ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติอย่างดีเลิศ การปฏิบัติและแนวเทศนาของท่าน ดำเนินตามหลักในคัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งสิ้น<O:p></O:p>


    เรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องยาก ผู้ไม่ใช่นัก<O:p></O:p>
    ปฏิบัติแล้ว ยากที่จะนำมาแสดงได้แจ่มแจ้งให้เป็นผลปฏิบัติได้ แต่หลวงพ่อวัดปากน้ำแสดงได้แจ้งชัด และชี้ทางปฏิบัติให้โดยตรง จึงสมควรเทิดไว้ในฐานันดรพระธรรมกถึกชั้นเยี่ยม ซึ่งข้าพเจ้าขอกราบแสดงความเคารพอย่างสูงต่อท่านไว้ในที่นี้ด้วย<O:p></O:p>


    ที่ข้าพเจ้าเอาเรื่องของวัดมาพูดโดยยืดยาวเช่นนี้ ความมุ่งหมายก็เพื่อจะบรรเทาบาปให้แก่ผู้แพร่ข่าวอกุศล เพราะการกล่าวเท็จใส่ไคล้ผู้มีศีลเช่นนี้เป็นบาปหนักหนาเพื่อว่าเขารู้ตัวจะยับยั้งกรรมอันชั่วนี้เสียได้ ข้าพเจ้าก็จะพลอยอนุโมทนา แล้วจะมีส่วนได้บุญอันนับเนื่องในปัตตานุโมทนามัยด้วย<O:p></O:p>
    ท่านทั้งหลาย การที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ มิได้มาตัวเปล่าต่างมีบุญและบาปที่ทำไว้ในอดีตติดมาทุกคน ต่างกันแต่มากบ้างน้อยบ้าง ไม่ช้าเราก็ตายดอก อย่ามาแบกเอาบาปเพิ่มไปอีกเลย ลาภสักการะอันหมุนลงได้เป็นราคาเงินนั้น เป็นสมบัตินอกกายตายแล้วเอาไปไม่ได้ดอก มันเป็นของใช้สอยประจำโลก เราตายแล้วก็ตกเป็นของคนอื่นเขาอาศัยใช้สอยต่อไป ใครจะว่าเป็นของใครไม่ได้ทั้งนั้น โลกมนุษย์เป็นแหล่งกลางสำหรับอาศัยสร้างบุญ สร้างบาป โลกนรก โลกสวรรค์เป็นเพียงโลกที่คอยรับรองผลบุญ-บาปเท่านั้น เราได้มาเกิดอยู่ในโลกอันเป็นแหล่งกลางเช่นนี้แล้ว จงพยายามหาทางผ่อนบาปให้เบาลงให้เบาลงกว่าที่เราแบกจากอดีตนั้นเถิด อย่าเติมเข้าอีกเลย ไหน ๆ เราก็ต้องตายแน่ อย่าหอบเอาบาปเพิ่มไปอีกเลย<O:p></O:p>


    การเรียนสมาธินั้น ถ้าจะเอากันให้ได้ผลจริงจังแล้วต้องมีอาจารย์จะทำสุ่มไปไม่ใคร่ได้ผล แม้เราจะได้อ่านตำรับตำราในทางนี้ เช่น วิสุทธิมรรค เป็นต้น ถ้าไม่มีอาจารย์แนะนำวิธีปฏิบัติอีกชั้นหนึ่งแล้วก็ยากที่จะปฏิบัติให้ได้ผล เพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่อาจารย์จะพึงแนะนำอีกมากหลาย<O:p></O:p>
    สมาธิเป็นยอดคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ว่ายอดนี้หมายความว่าเป็นหลักสำคัญยิ่งในจำพวกคุณธรรม ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น ศีลเป็นส่วนประกอบคือ เป็นเพียงเหตุที่จะให้ดำเนินไปสู่สมาธิ ส่วนปัญญานั้นเป็นผลของสมาธิ จุดมุ่งหมายสำคัญจึงอยู่ที่สมาธิตัวกลาง ซึ่งต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ดังมีบาลีในวิสุทธมรรคยืนยันว่า "นัตถิฌานัง อะปัญญัสสะ นัตถิปัญญา อะฌายิโน" ซึ่งแปลความว่า ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไร้ปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน และอานิสงส์ของสมาธินั้นก็มีอยู่ว่า บุคคลผู้ได้สมาธิแล้วย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ ๑. ความสุขในปัจจุบัน ๒. วิปัสสนาปัญญา ๓. ฌาน ๔. ภพอันวิเศษ ๕. นิโรธ ฉะนั้น สมาธิจึงเป็นเรื่องที่ควรสนใจ<O:p></O:p>


    เท่าที่ข้าพเจ้าได้ฟังมา วิธีปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ มีผู้กล่าวออกความเห็นกันไปหลายอย่างต่าง ๆ กัน พวกหนึ่งว่าเป็นฌานโลกีย์ พวกหนึ่งว่าติดรูป บางพวกว่า ติดนรกสวรรค์ แต่อีกพวกหนึ่งว่าท่านเลยเถิดไปถึงนิพพาน ซึ่งมองไม่เห็น<O:p></O:p>


    ข้าพเจ้าเคยนำวาทะเหล่านี้ไปสนทนากับผู้ปฏิบัติในสำนักหลวงพ่อวัดปากน้ำแล้ว เขาตอบขบขันเหมือนกัน เขาว่าที่ติดรูปนั้นดีนะให้มันรู้ว่าติดรูปเถอะ จะได้มีโอกาสแกะรูปออก แต่ข้อสำคัญว่าเราไม่รู้ว่าติดรูปนี่ซิ เมื่อไม่รู้ว่าติดก็ไม่รู้จักรูป เมื่อเราไม่รู้ว่าติดเราก็ไม่ได้แกะ เมื่อเราไม่แกะมันจะหลุดได้อย่างไร เหมือนของโสโครกติดหลังเสื้อที่เราสวมอยู่ เมื่อเราติดไม่รู้ว่ามันติดเราก็ไม่พยายามเอาออกแล้วมันจะไปไหน ฟังดูก็แยบคายดี<O:p></O:p>
    แต่สำหรับความเห็นของข้าพเจ้านั้น เห็นควรรวมวาทะที่ว่าติดรูปกับวาทะที่ว่าเป็นฌานโลกีย์รวมวินิจฉัยเสียเป็นข้อเดียว เพราะตามที่ว่านี้คงหมายถึงรูปฌาน เมื่อเช่นนั้นทางที่จะปลดเปลื้องความสงสัยของเจ้าของวาทะเหล่านี้ก็ง่ายขึ้น สมเด็จพระบรมศาสดาก่อนที่จะได้ตรัสรู้นั้น พระองค์ผ่านรูปฌาน อรูปฌานหรือเปล่า ข้อนี้จะต้องรับกันว่าผ่าน ก็เมื่อเช่นนี้ใครจะปฏิเสธได้หรือว่าโลกีย์ฌานนั้นจะไม่เป็นอุปการะแก่พระองค์ การตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณความข้อนี้ข้าพเจ้าเคยนำไปสนทนาวิสาสะกับพระเถระบางรูปซึ่งฝักใฝ่ทั้งปริยัติและปฏิบัติ ท่านได้กล่าวอุปมาให้ฟังว่าการข้ามแม่น้ำหรือมหาสมุทร ถ้าไม่ใช้เรือหรือเครื่องบินเป็นพาหนะแล้ว มันจะข้ามไปได้อย่างไร ในที่สุดท่านยืนยันว่าฌานโลกีย์นั้นแหละ ยังพระองค์ให้ข้ามถึงซึ่งฝั่งโลกุตตระ เมื่อนำเอาบาลีข้างต้นมาประกอบการวินิจฉัยความข้อนี้จะแจ่มใสยิ่งขึ้น เพราะคำว่า "นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน" นั้น เป็นหลักอยู่ ซึ่งแปลได้ความอยู่ชัด ๆ ว่า ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ดังนี้เราจะไปยกวาทะติฌานโลกีย์อย่างไรกัน<O:p></O:p>


    อันวาทะที่ว่าติดนรกสวรรค์นั้น ข้อนี้น่าเห็นใจผู้สงสัย เธอคงจะไม่ได้มีโอกาสไปฟังการแสดงธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำเสียเลย เธอคงจะได้ฟังหางเสียงของบางคนที่ฟังไม่ได้ศัพท์จับเอาไปกระเดียดเข้าแล้วเพราะการแสดงธรรมนั้น เมื่อถึงเรื่องบาปบุญคุณโทษก็ต้องอ้างเรื่องนรกสวรรค์ ท่านมีอะไรพิสูจน์แล้วหรือว่า นรกสวรรค์ไม่มีท่านมีปัญญาพอจะพิสูจน์แล้วหรือว่า นรกสวรรค์นั้น ไม่มีผู้รู้ ผู้เห็นท่านได้เคยสนใจอ่านวิสุทธิมรรคบ้างหรือเปล่า ถ้าเคยสนใจในคำว่า "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ" ดีแล้วหรือ ว่ากินความเพียงไร หรือตัวท่านมีภูมิปัญญาเหนือพระคันถรจนาจารย์เหล่านั้น ขอจงใคร่ครวญเอาเอง<O:p></O:p>


    ส่วนวาทะที่ว่าเลยเถิดไปถึงนิพพานนั้นข้าพเจ้าจะขอพูดแต่โดยย่อ เพราะถ้าจะพูดกันกว้างขวางแล้วจะเกินหน้ากระดาษหนังสือเล่มนี้จะต้องเป็นอีกเล่มหนึ่งต่างหาก<O:p></O:p>


    ท่านคงจะได้เคยอ่านคำถวายวิสัชนาของพระเถรานุเถระ ๑๘ ความเห็น ที่พิมพ์แจกกันแพร่หลายอยู่แล้วนั้น ในหนังสือนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปุจฉาถึงเรื่อง นิพพาน ว่าคืออะไร พระเถรานุเถระ ๑๘ รูป ถวายความเห็นโดยโวหารต่าง ๆ กัน แต่ในที่สุดมีรูปหนึ่ง ถวายวิสัชนาหลักแหลมโดยกล่าวว่า แปลคำว่านิพพานนั้นไม่ยาก ข้อยากอยู่ที่ ทำให้แจ้ง ท่านพูดทิ้งไว้เท่านี้เอง ขอให้เรามาคิดกันดูทีหรือทำให้แจ้ง หมายความว่ากระไร นี่ก็จะเห็นได้แล้วว่า เรื่องนิพพานนั้นเป็นของยากหรือง่ายคนซึ่งมีปัญญาอย่างสามัญจะพูดได้ไหม เราต้องรู้ตัวดีว่าไม่สามารถ เพราะเป็นวิสัยของมรรคญาณ และการบำเพ็ญให้บรรลุมรรคญาณนั้น ทำกันอย่างไร เรารู้ไหม ถ้าเราไม่รู้จะแปลว่าคนอื่นก็ไม่รู้เหมือนกับเรากระนั้นหรือ สิ่งที่เราก็ไม่รู้ สมควรหรือที่เราจะยกวาทะกล่าวถึงผู้อื่น ในที่สุดข้าพเจ้าเห็นว่า ทางดีที่สุด เราควรปฏิบัติตัวของเราเองให้รุดหน้าไปตามแนวปฏิบัติ ดีกว่าจะมามัววิจารณ์ผู้อื่น อย่าลืมคำว่า "สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ"<O:p></O:p>


    การแสดงธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น ตามที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาอยู่ในเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา นรก สวรรค์ นิพพาน แต่โดยมากหนักไปในทางปรมัตถ์ เวลานี้กำลังแสดงพระอภิธรรมว่าด้วยมหาปฐานอนันตนัย เรียงลำดับบทมาติกา วันพระที่แล้วมาถึงบทอินทรียปัจจโยแล้ว<O:p></O:p>
    ในที่สุด ขออานุภาพพระรัตนตรัย จงคุ้มครองรักษาท่านผู้ประพฤติธรรมทั้งหลายให้มีความสุขทั่วกันเทอญ<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2006
  2. shesun

    shesun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +1,327
    ขออนุโมทนาสาธุค่ะ อยากอ่านบันทึกคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ท่านพระทิพย์ปริญญาบันทึกไว้ ไม่ทราบว่าจะหาอ่านได้ที่ไหนคะ ท่านใดมีข้อมูลขอความอนุเคราะห์ด้วย ขอบคุณมากค่ะ ดิฉันเพิ่งไปปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพะราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นวัดที่ร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมมาก หลวงพ่อเจ้าอาวาส(พระราชญาณวิสิฐ)ท่านสืบทอดวิชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำไว้ได้อย่างดียิ่ง เมื่อก่อนดิฉันสงสัยว่าทำไมการปฏิบัติธรรมที่นี่ใช้คำว่า"วิชชา" เดี๋ยวนี้ดิฉันคิดว่าเข้าใจและหายสงสัยแล้ว ท่านใดสนใจก็ขอเชิญชวนไปปฏิบัติธรรมนะคะ หรือลองท่อง WEB ไปที่ www.dhammakaya.org. ก่อนก็ได้ ขออนุโมทนา
     
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ประวัติ พระทิพย์ปริญญา<O:p</O:p

    <O:p> </O:p>
    พระทิพย์ปริญญา นามเดิม นาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]ธูป นามสกุล</st1:personName> กลัมพะสุต บิดาชื่อ สุด มารดาชื่อ ปาน ปู่ชื่อ กล่ำ ย่าชื่อ เปีย ตาชื่อ ทิทพย์ ยายชื่อ พันธ์<O:p></O:p>
    เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๒ ที่ตำบล ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี<O:p></O:p>
    ได้มาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดระฆัง แล้วย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พระนคร สอบไล่ได้เป็นเปรียญ ๖ ประโยค<O:p></O:p>
    ลาสิกขาบทเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ อายุได้ ๒๒ ปี เป็นเสมียนฝึกหัดศาลแพ่ง แล้วไปเป็นจ่าศาลประจำศาลโปรีสภาที่ ๓ และสอบกฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิต พ.ศ.๒๔๕๕<O:p></O:p>
    รับราชการเป็นผู้พิพากษาศาลมณฑลนครไชยศรี พ.ศ.๒๔๕๖<O:p></O:p>
    ย้ายไปเป็นหัวหน้าศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ ย้ายไปอยู่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ.๒๔๖๙ ย้ายไปอยู่ศาลจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.๒๔๗๓ ย้ายไปอยู่ศาลโปรีสภาที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๗ แล้วย้ายไปอยู่ศาลอุทธรณ์ในปีนั้น<O:p></O:p>
    ประจำอยู่ศาลอุทธรณ์ ๑๐ ปี อายุได้ ๕๕ ปี ครบเกษียณอายุก็ปลดออกรับเบี้ยบำนาญ เมื่อเวลาปลดเกษียณนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เงินเดือน ๖๐๐ บาท เหรียญตราที่ได้รับพระราชทาน คือ บ.ม. บ.ช. จ.ม. จ.ช. ต.ม. ต.ช. และเหรียญจักรพรรดิมาลา<O:p></O:p>
    เมื่อออกจากราชการแล้วไปเรียนพระอภิธรรมกับท่านอาจารย์สัทธรรมโชติกธรรมาจารยะ ที่วัดระฆัง ๑๐ ปี และเป็นกรรมการแปลและตรวจสอบคำแปลพระอภิธรรมปิฏกฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งพิมพ์ขึ้นในงานฉลอง ๒๕ ศตวรรษ และได้เรียบเรียงหนังสือจุลอภิธัมมัตถสังคหะ หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท พร้อมทั้งคำอธิบายประกอบ ๑ เล่ม ให้แก่กองธรรมสนามหลวง<O:p></O:p>
    พระทิพย์ปริญญา ได้สมรสกับ นางทิพย์ปริญญา (ผ่องศรี) เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ พระทิพย์ปริญญา มีบุตรธิดา คือ : <O:p</O:p
    ๑. น.ส.สุจิตรา กลัมพะสุต (ถึงแก่กรรม)<O:p></O:p>
    ๒. นายศิริ กลัมพะสุต (ถึงแก่กรรม)<O:p></O:p>
    ๓. นางทัศนีย์ บุรุษพัฒน์<O:p></O:p>
    ๔. นานฤมล กาญจนารมย์<O:p></O:p>
    ๕. นายสวัสดิ์ กลัมพะสุต<O:p></O:p>
    ๖. นายบุรี กลัมพะสุต<O:p></O:p>
    ๗. นางทองสุก เวชประสิทธิ์<O:p></O:p>
    พระทิพย์ปริญญา ถึงแก่กรรมเนื่องจากหัวใจวาย เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๐ เวลาประมาณ ๙ ๑๐ น. รวมอายุได้ ๘๗ ปี ๖ เดือน ๒๕ วัน<O:p></O:p>
    คุณพระทิพย์ปริญญา หรือที่รู้จักกันในหมู่ศิษย์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ว่า มหาธูป) กลัมพะสุต นับว่าเป็นศิษย์รุ่นแรกสมัย เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต อุทยมหาเถระ อธิบดีสงฆ์องค์ที่ ๑๓ ท่านมหาธูปเป็นพระที่ทันสมัย รูปร่างปลอดโปร่งมีสง่าราศี เรียนหนังสืออยู่ในเกณฑ์ดี สำเร็จเป็นเปรียญ ๖ ประโยค ซึ่งนับเป็นชั้นสูงสุดในสมัยนั้น เมื่อครั้งดำรงเพศบรรพชิต ได้ช่วยรับภารธุระในการอบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรภายในวัด เป็นกำลังของเจ้าอาวาสเป็นอย่างดีเป็นผู้มีส่วนที่ได้สร้างคุณงามความดีให้เป็นมรดกตกทอดไว้ในวัดมหาธาตุผู้หนึ่ง<O:p></O:p>
    เมื่อสิกขาลาเพศบรรพชิตไปดำรงเพศคฤหัสถ์ ท่านมหาธูปก็ได้ใช้ความอุตสาหะวิริยะโดยมีความรู้อันได้จากสำนักมหาธาตุเป็นมูลฐานสร้างตนให้เจริญในวิชาการในทางคดีโลก สำเร็จเป็นเนติบัณฑิต ได้มอบตนเข้ารับใช้ชาติในกระทรวงยุติธรรม จนได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในที่สุด และได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระทิพย์ปริญญา เป็นครั้งสุดท้าย<O:p></O:p>
    เมื่อคุณพระทิพย์ปริญญา พ้นจากราชการรับพระราชทานเบี้ยบำนาญแล้ว ยังมีความสนใจฝักใฝ่อยู่ในวัด มีการสัมพันธ์ไปมาติดต่อกับวัดมหาธาตุ และช่วยรับภารธุระนั้น ๆ ของวัดตามโอกาสอันมาถึง<O:p></O:p>
    เมื่อทางการคณะสงฆ์ไทย ดำเนินการแปลพระไตรปิฎกออกสู่ภาษาไทย ภายใต้ความอุปถัมภ์ของคณะรัฐบาล เป็นครั้งแรก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ คุณพระทิพย์ปริญญาได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎกแผนกพระอภิธรรมด้วยผู้หนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นการมหากุศลครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสุดท้ายของคุณพระทิพย์ปริญญา<O:p></O:p>
    อนึ่ง สมัยเมื่อข้าพเจ้าได้ขอพระอาจารย์ระดับชั้นธรรมาจริยะจากประเทศพม่า คณะสงฆ์และคณะรัฐบาลพม่าได้ให้พระอาจารย์มาตามที่ขอ ๒ รูป คือ พระสัทธัมมโชติกะ ธรรมาจริยะ ๑ พระเตชินฺทธรรมาจริยะ ๑ เมื่อพระอาจารย์ทั้ง ๒ รูปนี้ ได้เปิดการสอนพระอภิธรรมปิฏกขึ้น ณ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และที่วัดระฆังโฆสิตาราม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นต้นมา คุณพระทิพย์ปริญญาได้มอบตนเข้าช่วยอุปการะ ทั้งในฐานะนักศึกษาทั้งในฐานะผู้อุปถัมภ์ จนการศึกษาพระอภิธรรมปิฎกเจริญเป็นปึกแผ่นแน่นหนาถาวรมาถึงปัจจุบันนี้ นับว่าคุณพระทิพย์ปริญญาได้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตอีกครั้งหนึ่ง<O:p></O:p>
    ปฏิปทาจริยาวัตรของคุณพระทิพย์ปริญญา ดังที่ยกขึ้นมากล่าวไว้โดยสังเขปนี้ เป็นสิ่งที่ควรแก่การที่จะพึงอนุโมทนาสาธุการโดยแท้และควรแก่การที่จะพึงยกขึ้นมาประกาศไว้ให้ปรากฏรจนาเพื่อเป็นทิฎฐานุคติแก่ศิษย์วัดทั้งหลาย ทั้งปัจจุบันและอนาคต<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
     
  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    อนุสรณ์คุณพระทิพย์ปริญญา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี<o:p></o:p>
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร<o:p></o:p>
    เมษายน พ.ศ. ๑๕๒๐<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในสมัยเมื่อ ๓๐ กว่าปีล่วงมาแล้ว คุณพระทิพย์ปริญญา ได้ไปมาหาสู่หลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี) อยู่เป็นประจำและเป็นเวลานาน<o:p></o:p>
    เหตุที่ได้ไปมาหาสู่นั้น ก็ด้วยต้องการแสวงหาธรรมะ ธรรมะฝ่ายปริยัติ คุณพระไม่ต้องไปแสวงหา เพราะตัวเองเป็นเปรียญ ๖ ประโยค และสำเร็จวิชากฎหมายอีกด้วย ที่ต้องการแสวงหาก็คือธรรมะฝ่ายปฏิบัติ จนในวันหนึ่งได้ไปพบหลวงพ่อที่วัดปากน้ำ ได้สนทนาปราศรัยได้ไต่สวนซักถาม ได้เหตุได้ผล จากวันนั้นก็ได้ไปฟังพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อเสมอ ในที่สุดได้ออกปากลั่นวาจาต่อหน้าหลวงพ่อว่า “ของจริงกระผมพบแล้ว แต่ตัวกระผมจะจริงหรือไม่จริงเท่านั้นเอง”<o:p></o:p>
    ของจริงนั้นคุณพระหมายถึง ธรรมะฝ่ายปฏิบัติซึ่งคุณพระได้ปฏิบัติตามจนตลอดชีวิต<o:p></o:p>
    การที่คุณพระได้ไปฟังพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ นับว่าได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่วัดปากน้ำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนับว่าได้สร้างอนุสาวรีย์สำหรับตัวเองไว้ที่วัดปากน้ำอีกด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านแสดงพระธรรมเทศนาโดยปฏิภาณโวหาร ไม่มีการจดบันทึก และไม่มีการบันทึกเทปเหมือนในสมัยนี้ แสดงแล้วก็แล้วกันไป ใครจำได้ก็จำไว้ เมื่อคุณพระไปฟังแล้ว พยายามจดบันทึกไว้เป็นพระธรรมเทศนาหลายกัณฑ์ ให้หลวงพ่อช่วยตรวจแก้ จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มออกเผยแพร่เป็นหลักฐาน ยังมีปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ จับนับได้ว่า คุณพระทิพย์ปริญญา ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่วัดปากน้ำและรักษาธรรมะปฏิบัติที่หลวงพ่อแสดงแล้วมิให้สูญหาย รวมทั้งเป็นอนุสรณ์ของตัวเองอีกด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โย ธมฺมจารี กาเยน วาจาย อุท เจตสา<o:p></o:p>
    อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้ใดประพฤติธรรมะด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ บัณฑิต ทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ทีเดียว ถึงผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้วย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์<o:p></o:p>
    คุณพระทิพย์ปริญญา เป็นผู้ตกอยู่ในคติอันนี้ จึงได้รับการเคารพยกย่องนับถือของประชาชนคนทั้งหลาย เมื่อล่วงลับดับขันธ์ไปแล้วก็ย่อมจะได้รับการต้อนรับชื่นชมยินดีปรีดาของเหล่าทวยเทพในสรวงสวรรค์เป็นแน่ ขออนุโมทนาและขอให้เจริญด้วยทิพย์สมบัติใน สัมปรายภพ โดยสมควรแก่คติวิสัยนั้น จงทุกประการ<o:p></o:p>
     
  5. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    อนุสรณ์คุณพระทิพย์ปริญญา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    โดย กิตติวุฑโฒ ภิกขุ<o:p></o:p>
    จิตตภาวันวิทยาลัย บางละมุง ชลบุรี<o:p></o:p>
    พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๐<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธองค์ทรงยกย่องพุทธบริษัทที่เป็นอุบาสกเป็นเอตทัคคะในทางธรรมกถึกหลายท่านด้วยกัน อุบาสกที่ได้รับการยกย่องทุกท่าน เป็นผู้แตกฉานในหลักพระพุทธศาสนา ทั้งในส่วนปริยัติและปฏิบัติ ในด้านพระปริยัติคือแตกฉานในพระไตรปิฎกและสามารถอธิบายขยายความในธรรมได้อย่างกว้างขวางถูกต้องตรงตามสภาวธรรม สามารถอธิบายหลักธรรมที่ลึกซึ้ง ให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ ผู้ที่สามารถเช่นนั้น จะต้องเป็นผู้แตกฉานในพระอภิธรรมปิฎก พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า ผู้ที่เป็นพระธรรมกถึกที่เก่งนั้น จะต้องมีความรู้แตกฉานในพระอภิธรรม<o:p></o:p>
    พระทิพย์ปริญญา เป็นอุบาสกที่มีความสำคัญในพระพุทธศาสนาท่านหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันในวงการพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่เป็นนักศึกษาธรรมตั้งแต่นักธรรมตรี โท เอก และนักศึกษาพระอภิธรรมสำหรับผู้ที่เคยเรียนนักธรรม จะต้องเรียนจุลอภิธรรม เรียบเรียงโดยพระทิพย์ปริญญา ตำราเล่มนี้ ผู้ศึกษานักธรรมมักจะบ่นกันว่ายากมาก เพราะเป็นธรรมชั้นสูง ลึกซึ้งมาก ต้องใช้ปัญญาในการศึกษานานพอสมควร จึงจะเกิดความเข้าใจ และทราบว่า ที่ทางคณะสงฆ์นำเอาจุลอภิธรรมมาเป็นหลักสูตรให้ผู้ศึกษาธรรม ได้ศึกษานั้น ก็ด้วยความเพียรพยายามของพระทิพย์ปริญญา ที่มีกุศลเจตนา ต้องการให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้หลักธรรมชั้นสูงขึ้นไปจะได้เป็นพระธรรมกถึกที่ดีสามารถสั่งสอนสาธุชนได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาดจากสภาวธรรมหลายครั้งที่พระทิพย์ปริญญามาปรารภถึงการแสดงพระธรรมเทศนาของพระธรรมกถึกที่อธิบายหลักธรรม ในพระธรรมเทศนาทางสถานีวิทยุ เช่น อธิบายเรื่องตัณหาสามประการคือ กามตัณหา วิภวตัณหา แต่อธิบายไม่กระจ่างชัด หรืออธิบายผิดไปจากหลักพระไตรปิฎกอรรถกถา ฎีกา ซึ่งพระทิพย์ถือมาก ยิ่งเป็นธรรมขั้นโลกุตตร เช่น นิพพานด้วยแล้ว พระทิพย์ปริญญาจะไม่ยอมเป็นอันขาด จะต้องไปพบพระผู้แสดงธรรมทันที แล้วอธิบายยกหลักฐานที่มาให้พระผู้แสดงธรรมองค์นั้นได้เข้าใจอย่างถูกต้อง จนเป็นที่ขยาดของพระธรรมกถึกหลายรูปทีเดียว พระภิกษุไม่ว่าพระผู้น้อยหรือพระผู้ใหญ่ ที่ไม่มีความรู้ในพระอภิธรรมจึงกลัวพระทิพย์ปริญญา ที่กลัวนั้นมิใช่ว่าพระทิพย์ปริญญาเป็นคนดุหรือเที่ยวไปรุกรานพระ แต่กลัวพระทิพย์จะถามปัญหาธรรม แล้วตอบไม่ได้นั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้ว พระทิพย์ปริญญาเป็นผู้เคารพในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง เคารพในพระปัญญาญาณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ พยายามป้องกันมิให้สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น จะอธิบายธรรมข้อใดก็ตามจะต้องยกหลักฐานจากพระไตรปิฎกอรรถกถา ฎีกามาประกอบ จนมีพระเถรบางรูปไม่พอใจ จนถึงขั้นกล่าวปฏิเสธว่าอภิธรรมไม่ใช่พุทธพจน์และคัดค้านในการยึดหลักเหล่านี้ว่า พระทิพย์ปริญญายึดตำราซึ่งผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้แก่ชาวกาลามชน และยกกาลามสูตรมาหักล้าง แต่พระทิพย์ปริญญาก็แก้ตกยกเหตุผลมาอธิบายให้เข้าใจในหลักธรรมจากกาลามสูตร และอธิบายว่าพระไตรปิฎกไม่ใช่ตำราดังที่บางท่านเข้าใจ แต่เป็นเสมือนภาชนะที่รองรับเอาคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ตลอดพระชนมายุเป็นเวลา ๔๕ ปี พระไตรปิฎกจึงไม่ใช่ตำรา<o:p></o:p>
    ฉะนั้น การอธิบายธรรมข้อใด เรื่องใดก็ตาม จะใช้ความเห็นความเข้าใจของตนเองไปอธิบายนั้น ย่อมผิดพลาดเสมอ จำต้องอาศัยหลักฐานที่เรียกว่า “อาคตสถาน” นั่นเอง พระทิพย์ปริญญา เป็นบุคคลตัวอย่างที่พุทธศาสนิกชนทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ที่เป็นปราชญ์ทางพระศาสนาควรถือเอาเป็นแบบอย่าง พระทิพย์ปริญญาพูดอยู่เสมอว่าเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า ที่ตรัสรู้ธรรมเอง ต้องอาศัยพระปัญญาญาณของพระพุทธองค์ จึงไม่ควรอวดรู้ไปกว่าพระพุทธเจ้า หรือตั้งตนเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง ในสมัยที่พระทิพย์ปริญญายังแข็งแรง จะต้องเที่ยวไปตามสำนักต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อสนทนาธรรมกับพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกา บางสำนักก็เชิญไปแสดงธรรมปาฐกถา พระทิพย์ปริญญาไม่เป็นผู้ตระหนี่ในความรู้ ในธรรมผู้ที่มีจิตเป็นกุศลเผยแพร่ธรรมอยู่เสมอ จึงเป็นที่น่าเสียดายที่พระศาสนาสูญเสียกำลังอันสำคัญไปท่านหนึ่ง สำนักเรียนธรรม สำนักปฏิบัติธรรม ก็ต้องเงียบเหงาไป เพราะขาดผู้ที่คอยสร้างบรรยากาศแห่งความบันเทิงในธรรม และคอยกระตุ้นนักศึกษาให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษา ค้นคว้าหาความเข้าใจมาแลกเปลี่ยนกันในสมัยที่ข้าพเจ้าไปปฏิบัติธรรมที่บางละมุง ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ได้สร้างจิตตภาวันวิทยาลัย ต้องอาศัยบ้านพักตากอากาศของคุณหญิงเชิญพิศลยบุตร เป็นที่อาศัยปฏิบัติธรรม คุณพระทิพย์ปริญญาจะต้องตามไปนอนค้างด้วยเพื่อสนทนาธรรมกัน และมักจะดึกเสมอ เพราะได้รู้จักตั้งแต่ครั้งหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งข้าพเจ้าได้อุปสมบทที่นั่น พระทิพย์ปริญญาจะไปเยี่ยมหลวงพ่อเสมอ ในสมัยนั้นหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านสอนกรรมฐานที่เรียกว่า “ธรรมกาย” ได้มีพระเถระหลายรูปวิจารณ์ว่าหลงพ่อสอนผิดจากหลักคำสอนของพระพุทธองค์ พระทิพย์ปริญญาได้คัดค้านพระเถระเหล่านั้น และออกแก้แทน หลวงพ่อด้วยเหตุผลจนเสียงวิจารณ์หายไป นับว่าได้ช่วยเหลือหลวงพ่อมาก โดยย่ำยีพวกปรัมปวาทให้พ่ายแพ้ไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  6. cheterk

    cheterk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    512
    ค่าพลัง:
    +1,568
    สาธุ ครับ

    พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์
    http://www.geocities.com/pranipan/

    VDO ของสัตว์ต่างๆ ที่จะต้องถูกนำมาเป็นอาหารให้เราได้กิน เรื่องจริงที่หลายคนไม่เคยเห็น ว่าน่าสงสารแค่ไหน
    อานิสงส์ ๑๐ ประการ ของการไม่กินเนื้อสัตว์ ( อันนี้ผมผิมตามหน้าปก CD นะครับ )
    1. เป็นที่รักของบรรดาเทพพรม ตลอด จนมนุษและสัตว์ทั้งหลาย
    2. จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิดขึ้น
    3. สามารถตัดขาดความอาฆาต ดับอารมณ์ เหี้ยมโหดเคียดแค้นในใจลงได้
    4. ปราสจากโรคภัยร้ายแรงมาเบียดเบียนร่างกาย
    5. มีอายุมั่นขวัญยืน
    6. ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากวัชรเทพทั้งแปด
    7. ยามหลับนิมิครเห็นแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นศิริมงคล
    8. ย่อมระงับการจองเวร สลายความอาฆาตแค้นซึ้งกันและกัน
    9. สามารถดำรงอยู่ในกระแสแห่งนิพาน ไม่พลัดหลงตกลงสู่อบายภูมิ
    10. ทันทีที่ละสังขารจากโลกนี้ จิตญาณจะมุ่งสู่คติภพ

    เปิด
    http://thaihotbiz.com/dmc/ก่อนที่จะมาเป็นอาหารให้เราได้กิน2.wmv

    Save
    http://thaihotbiz.com/dmc/ก่อนที่จะมาเป็นอาหารให้เราได้กิน2.zip

    อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
    อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
    อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุสุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้าขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
    อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุสุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวงขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
    อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุสัพเพ เปตา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวงขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
    อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุสัพเพเวรี
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
    อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตาโหนตุ สัพเพ สัตตา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

    ดาวธรรม ถ่ายทอดสด รายการธรรมะ 24 ชม. ทั่วโลก
    และเสนอ Case Stady กฏแห่งกรรม

    http://www.dmc.tv/multimedia.php?mediaURL=http://203.146.251.191/vcont100k_2
     
  7. champkris

    champkris เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +126
    เง้อ เล่นเว็บนี้ตั้งนาน อ่านไปอ่านมา นี่ทวดผมนี่ เพราะลูกพระทิพย์ปริญญาชื่อ ศิริ ซึ่งเป็นชื่อ ปู่ผม นามสกุล กลัมพะสุต ใช่เลย สาธุๆ อยากไปวัดปากนำ้มากเลยครับ ไม่รู้จะมีประวัติท่านอยู่ไหมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...