พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  2. tawatd

    tawatd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    506
    ค่าพลัง:
    +2,020
    ขอบคุณท่านเลขาชมรมรักษ์พระวังหน้ามากครับ ที่ได้มอบพระวังหน้าและอื่นๆอีกหลายรายการ รวมทั้งองค์มัจจุราชเจ้า และกรุณาบอกคาถาบูชาให้ด้วย ตั้งใจว่าจะนำองค์มัจจุราชเจ้าไปบูชาที่บ้านพักที่จังหวัดน่านครับ
     
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วันนี้นำคอมไปติด turbo มาล่ะ RAM ใส่ได้เพียง 1GB. เพิ่ม hard disk เข้าไปอีก 250 GB. เปลี่ยน power supply ตัวใหม่เข้าไป คราวนี้ ติดจรวดเลยครับ...555555555 เด็กข้างๆเรียนชั้นป.4 จะเอา RAM 2 GB. หุ..หุ..เอาไว้เล่นเกม...เป็นไปได้
     
  4. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    5555เหมือนผมแหละครับ ถอยiphone มาเพราะหงุดหงิดมาร์ แต่เจ้าโดกลับขอดูหลินปิงกับ นารุโต๊ะ หุ หุ
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อีกประการหนึ่ง

    พวกเสี้ยน หรือ พวกบัวใต้น้ำ อีก 1,000,000,000,000,000,000,000 ชาติ ก็ไม่มีวันได้

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อย่าลืมทำตามที่ผมแจ้งไว้ใน Email ด้วยนะครับ

    ส่วนเบี้ยแก้ ให้เลี่ยม(แล้วเจาะรูที่พลาสติก) แล้วพกติดตัวไว้ตลอดนะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  7. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    Wow Wow Wow!!! hu hu
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เช้านี้จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๑ โถใหญ่ถวายพระอาจารย์สมใจ ศิษย์หลวงปู่สรวง วัดถ้ำขวัญเมือง โดยผ่านลูกศิษย์ของท่านที่จะเดินทางไปปฏิบัติธรรมที่วัดในช่วงเข้าพรรษาในวันจันทร์นี้

    <TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#f0f0f0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD width=6>[​IMG]</TD><TD width=1 bgColor=#999999>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=7 colSpan=2 rowSpan=2>[​IMG]</TD><TD height=6>[​IMG]</TD><TD width=7 colSpan=2 rowSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#999999>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>
    [​IMG]
    พระอาจารย์สมใจ ธมฺมสโร
    ......................................................................................


    วัดถ้ำขวัญเมือง
    เลขที่ 130/2 หมู่ 4 ต.นาโพธิ์
    อ.สวี จ.ชุมพร 86130
    โทรศัพท์ 077-532-078
    โทรสาร 077-532-112


    พระครูสุธรรมวีราจารย์ (สมใจ ธมฺมสโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    พระครูภาวนาภิรมย์ (หลวงพ่อสรวง ปริสุทฺโธ) อดีตเจ้าอาวาส


    การอบรมกรรมฐาน

    วัดถ้ำขวัญเมือง สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดชุมพรแห่งที่ 1 เป็นวัดปฏิบัติกรรมฐานตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 โดยมี พระครูภาวนาภิรมย์ (หลวงพ่อสรวง ปริสุทฺโธ) ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ทองเชื้อ ฐิตสิริ (ศิษย์ของหลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู) ใช้การบริกรรมภาวนา กรรมฐาน 5 เป็นหลัก เป็นผู้บุกเบิกและเป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน จนปัจจุบันนี้มี พระครูสุธรรมวีราจารย ์(พระอาจารย์สมใจ ธมฺมสโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ซึ่งท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อสรวง ปริสุทฺโธ ได้ดำเนินการสืบทอดตามเจตนารมณ์ของหลวงพ่อสรวง ปริสุทฺโธ สอนสืบต่อมา

    วัดถ้ำขวัญเมือง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ 1 โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้รับรอง และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้มอบประกาศให้ ณ วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ทางวัดได้จัดอบรมการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติแก่ข้าราชการ, นักเรียน, นักศึกษาในจังหวัดชุมพร และยังได้เปิดอบรมกรรมฐานแก่ผู้ที่สนใจทั่วไป

    [​IMG]
    หลวงพ่อสรวง ปริสุทฺโธ
    ......................................................................................


    ประวัติวัดถ้ำขวัญเมือง

    วัดถ้ำขวัญเมือง เป็นวัดสังกัดคณะธรรมยุต ภาค 16 ตามทะเบียนเลขที่ 1,173 ประวัติเดิมขึ้นทะเบียนเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2449 โดยมีกำนันขุนพรหมแก้ว ทองคำ และผู้ใหญ่สอน จันทร์แก้ว เป็นผู้ถวายที่ดิน พระธรรมรามคณี สุปรีชาสังฆปาโมกข์ (หนู อชิโต) วัดโตนด เจ้าคณะจังหวัดหลังสวน (ธรรมยุต) เป็นผู้รับมอบจำนวน 20 ไร่ และไปสอบถามโยมลุงพรหม (ซึ่งปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้วเมื่ออายุ 97 ปี) ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายยา อยู่ที่ตลาดสวี ต.นาโพธิ์ อ.สวี จ.ชุมพร

    พอได้เค้าว่าเมื่อประมาณ พ.ศ.2443 นั้นมีเจ้าอาวาส (ผู้ดูแล) 1 องค์ชื่อ พ่อหลวงพันธ์ พุ่มคง เป็นเจ้าอาวาสอยู่ แต่ไม่ทราบว่าเป็นเจ้าอาวาสอยู่กี่ปี ก็มีพ่อหลวงแดง ฉายา ชิตมาโร เป็นเจ้าอาวาส 4-5 ปี ต่อจากพ่อหลวงแดงมีพระมาจากไหนไม่ทราบมาอยู่ วัดถ้ำนี้มีชื่อมาตั้งแต่เดิม “วัดถ้ำขวัญเมือง” ไม่ได้ตั้งชื่อตามตระกูลของตระกูลขวัญเมือง ที่มีอยู่ใกล้ๆ วัด ตระกูลนี้คงตั้งขึ้นภายหลังโดยเอาชื่อวัดมาตั้งเป็นชื่อสกุล

    สมัยก่อนโบราณนั้นก็ใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยของพระเณร เพราะที่วัดนี้มีถ้ำอยู่มาก ตอนหน้าด้านทิศตะวันออก มีถ้ำใหญ่อยู่ 1 ถ้ำและในถ้ำนี้ก็มีพระประธาน ที่สร้างขึ้นด้วยปูนทรายปรากฏอยู่นาน พระประธานนี้มีอยู่แล้วพร้อมกับพระทรงเครื่อง ที่งดงามมากสูง 1.66 เมตร 1 องค์ ปางห้ามสมุทรเนื้อโลหะล้วน และอีกองค์หนึ่งย่อมลงมา เป็นพระไม้ ปางประทับยืน และอีกองค์หนึ่งเป็นโลหะเช่นเดียวกัน แต่เล็กกว่าตามลำดับ สูงประมาณ 1.15 เมตร เป็นเนื้อโลหะทองเหลือง ปางห้ามญาติ

    การปรากฏชัดของการเป็นวัดแน่นอนก็มาปรากฏขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2449 กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) มีหนังสือมาถึงวัดยืนยันว่า วัดถ้ำขวัญเมืองนี้ ทางกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ.2449 ถ้านับถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นเวลา 76 ปี (เมื่อปี พ.ศ.2526)

    [​IMG]

    ความสำคัญของวัดถ้ำขวัญเมือง

    - สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ 1
    - วัดพัฒนาตัวอย่าง ปี 2535
    - วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ปี 2536
    - อุทยานการศึกษา ปี 2538

    วัดตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 ก.ม. หรือห่างจากตัวจังหวัดตามทางหลวง หมายเลข 41 ประมาณ 48 ก.ม. ประมาณหลักกม. ที่ 37 แยกขวาไปตามถนนราดยางอีก 500 เมตร บริเวณวัดร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ จุดที่น่าสนใจคือ เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สูง 19 เมตร ซึ่งสร้างอยู่บนยอดเขาหินปูนขนาดเล็ก บริเวณโดยรอบฐานเจดีย์เป็นลานกว้าง สามารถใช้เป็นจุดชมวิวได้

    ทั้งนี้ วัดถ้ำขวัญเมือง เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์วัดถ้ำขวัญเมือง
    wattham.com
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันนี้ ผมได้ไปงานบุญของทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ ซึ่งผมและผบทบ.ผมได้ร่วมทำบุญ อีกทั้งยังได้นำขนมเปี๊ยร้านดังของบางคล้า ร้านตั้งเซ่งจั๊ว ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์ด้วยครับ

    อีกทั้งยังมีคณะพี่ชนิดา และ คุณNattachai ไปร่วมงานบุญนี้ด้วย

    มาโมทนาบุญร่วมกันครับ


    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ (พระอาจารย์หลวงปู่รอด วัดนายโรง)


    หลวงปู่แขก (มรณภาพประมาณปี พ.ศ. 2466 อายุประมาณ 80 ปีขึ้นไป) เป็นอดีตเจ้าอาวาส
    รุ่นที่ ๒ ต่อจากสมภารพราหมณ์ (หรือพรหม) วัดบางบำหรุ กรุงเทพมหานคร วัดบางบำหรุเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่
    ตำบลบางบำหรุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ด้านฝั่งธนบุรี (อยู่หลังเซ็นทรัลปิ่นเกล้า) วัดนี้มีมาตั้งแต่
    สมัยอยุธยาตอนปลายเคยมีการขุดพบพระเครื่องจากเจดีย์ใกล้วิหารเก่าเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาศิลปะ
    สมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น บริเวณวัดอยู่ต่อกับวัดสุวรรณคีรี (วัดขี้เหล็ก) และใกล้วัดนายโรง
    หลวงปู่แขก นั้นเป็นพระเกจิยุคเก่าที่แก่กล้าในพระเวทย์ วิทยาคม และโด่งดังมากในแถบ
    ย่านบางบำหรุและท่านเป็นพระอาจารย์ของสมภารฉาย (เจ้าอาวาสลำดับต่อจากหลวงปู่แขกและสมภารฉายเป็น
    พระอาจารย์ของหลวงพ่อรัตน์ สุมโน) หลวงปู่แขกเป็นพระร่วมสมัยเดียวกับพระปลัดทองซึ่งพระอาจารย์ของ
    หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว แต่เนื่องจากประวัติของหลวงปู่แขก นั้นมีการจดบันทึกไว้น้อยมากประกอบกับ
    ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้ไม่มากและไม่ได้แพร่หลายไปยังพื้นที่ต่างๆ ประวัติของท่านจึงถูกลืมเลือนไปตามยุคสมัย
    ที่ผ่านไปทำให้ปัจจุบันมีผู้ทราบประวัติและรู้จักท่านน้อย

    จากคำบอกเล่าของพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) อดีตเจ้าอาวาส วัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว)
    เขตบางกอกน้อย ซึ่งเล่าไว้เมื่อปี พ.ศ. 2517 ขณะท่านอายุ 97 ปี พรรษา 71 ว่า หลวงปู่รอด วัดนายโรง
    (ปรมาจารย์ทางเบี้ยแก้อันโด่งดัง) ได้เล่าให้ท่านฟังว่า หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ เป็นพระที่มาจากนครชัยศรี
    จังหวัดนครปฐม และหลวงปู่รอดได้ศึกษาวิชาเบี้ยแก้จากหลวงปู่แขก ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบำหรุ
    ขณะที่หลวงปู่แขกมาอยู่ที่วัดบางบำหรุนั้น ท่านเป็นพระมาแล้วโดยได้ธุดงค์มาจากนครชัยศรี พื้นเพหลวงปู่แขก
    เป็นชาวอยุธยาเป็นสหายกับพระปลัดปาน วัดตุ๊กตา (พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว)
    และพระปลัดทอง วัดกลางบางแก้ว (วัดคงคาราม) จังหวัดนครปฐม (พระกรรมวาจาจารย์และพระอาจารย์
    ซึ่งสอนวิชาการต่างๆ และวิชาอาคมให้หลวงปู่บุญ) ส่วนหลวงปู่แขกจะมาธุดงค์มาจากวัดตุ๊กตา หรือ
    วัดกลางบางแก้วนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด พระปลัดปาน พระปลัดทองและหลวงปู่แขกนั้นเป็นสหายกันหรืออาจเป็น
    ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน

    ดังนั้น วิชาเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และหลวงปู่รอด วัดนายโรงนั้นน่าจะมา
    จากแหล่งเดียวกัน คือวิชาเบี้ยแก้สายสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว ซึ่งสืบทอดพุทธาคมจากสำนักวัดประดู่ในทรงธรรม ครั้งยุคกรุงศรีอยุธยา

     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เบี้ยแก้ เครื่องราง ของกันคุณไสยมีไว้ปลอดภัยสบาย


    รายละเอียด: เบี้ยแก้ เป็นเครื่องราง...อย่างหนึ่งของไทยที่คุ้นหูในสมัยก่อน แต่สมัยนี้ ไม่ค่อยมีคนรู้จักกันแล้ว เกจิอาจารย์ท่านสร้างจากการบรรจุปรอท ที่ปลุกเสกแล้ว เข้าไว้ในตัวเบี้ยจั่น แล้วหาวิธีอุดไว้ไม่ให้ ปรอทหนีออกมาข้างนอก

    เวลาเขย่าจะได้ยินเสียงปรอทกระฉอกไปมาเสียงดังขลุกๆ ชัดบ้างไม่ชัดบ้าง เสียงหนักเบาขึ้นอยู่กับปริมาณมากน้อยของปรอทที่บรรจุ

    เสียงขลุกๆของปรอท ยังขึ้นอยู่กับฤดูกาล ถ้าเบี้ยแก้ตัวที่บรรจุปรอทมาก เขย่าในฤดูร้อน มักไม่ได้ยินเสียง แต่ถ้าเขย่าในฤดูหนาว เสียงจะดังฟังชัดเจน

    เบี้ยแก้บางตัว มีเสียงขลุกไพเราะ ขลุกหลายจังหวะ มีเสียงหนักเบาสลับกันไป เหมือนนักร้องมีลูกคอหลายชั้น หรือนกเขาเสียงคู่ เสียงเอกที่มีลูกเล่นหลายชั้น

    เบี้ยแก้ที่ขึ้นชื่อ มีหลายสำนัก หนังสือเปิดตำนานเครื่องรางของขลังเมืองสยาม คุณ สมชาย โตมั่น มีรายละเอียดว่า แต่ละสำนัก มีวิธีบรรจุปรอทและวิธีอุดต่างกัน

    เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี เมื่อท่านบรรจุปรอทลงในเบี้ยจั่นแล้ว ก็เอาชันโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้ว อุดยาบริเวณปากร่องใต้ท้องเบี้ย แล้วจึงหุ้มด้วยผ้าแดงลงอักขระเลขยันต์

    จากนั้นก็เอาด้ายถักหุ้ม ใช้ลวดทองแดงขดเป็นห่วงไว้คล้องคอหรือร้อยเชือกคาดเอว

    เบี้ยแก้สำนักที่ขึ้นชื่อไม่แพ้หลวงปู่บุญ คือเบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง อ.ตลิ่งชัน กทม. วิธีหุ้มเบี้ยด้านดอก อาจดูคล้ายกัน แต่ ด้านในแตกต่างกัน ของหลวงปู่รอดใช้แร่ตะกั่วหุ้ม แล้วลงอักขระลงบนพื้นตะกั่วรอบตัวเบี้ย

    คุณไชยรัตน์ โมไนยพงศ์ เป็นผู้หนึ่งที่สนใจศึกษาเบี้ยแก้ รวบรวมไว้ในหนังสือเครื่องรางของขลัง เท่าที่คุณไชยรัตน์สังเกต ยันต์ที่ลงมีทั้งยันต์ที่เป็นคาถาและยันต์ตาราง ยันต์ตารางมีทั้งสี่ช่องและเก้าช่อง

    เบี้ยแก้ตัวหนึ่ง คุณไชยรัตน์มั่นใจว่า เป็นของหลวงปู่บุญ เชือกที่ถักหุ้มผุกร่อนชำรุด จนหมดสภาพ เมื่อเปิดออกจึงเห็นยันต์ที่กำกับใต้ท้อง เป็นยันต์พุทธซ้อน และยันต์ท้อรันโต

    ยันต์ท้อรันโต ดีทางคงกระพัน ยันต์พุทธซ้อน ดีทุกด้าน หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ หลวงพ่อศุข วัดมะขามเฒ่า ใช้เป็นยันต์ครู

    นอกจาก 2 สำนักนี้แล้ว ยังมี เบี้ยแก้วัดคฤหบดี วัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามท่าเทเวศร์ คุณสมชาย โตมั่น ยังตามสืบสาวไม่ได้ชัดเจนว่าหลวงพ่อชื่อใดสร้าง

    แต่นัยว่า ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่รอด วัดนายโรง ตัวเบี้ยเล็กกว่า และเบากว่า 2 วัดรุ่นอาจารย์ เส้นด้ายที่ถักหุ้มตัวเบี้ย หยาบกว่า มีทั้งลงรัก ปิดทอง และลงยางมะพลับ

    ลักษณะการหุ้มตัวเบี้ย เป็น 2 แบบ แบบแรกถักหุ้มทั้งตัวเบี้ย แบบที่ 2 ถักเหลือเนื้อเป็นวงกลมไว้หลังเบี้ย

    เสียงขลุกของปรอท มีจังหวะและน้ำหนักต่างจากสำนักวัดกลางฯและวัดนายโรง

    วิชาทำเบี้ยแก้ไม่แพร่หลายนัก นอกจาก 3 สำนักนี้แล้ว ยังมีเบี้ยแก้อีก 3 สำนักที่อ่างทอง แต่เพราะเบี้ยแก้มีจำนวนน้อย ประวัติการสร้างจึงไม่ค่อยชัดเจน

    เบี้ยแก้วัดนางใส อยู่หลังตลาด อำเภอวิเศษชัยชาญ ประวัติเท่าที่พอสืบสาวได้ หลวงพ่อผู้สร้าง มรณภาพไปนานแล้ว เป็นพระอุปัชฌาย์หลวงพ่อโปร่ง เจ้าอาวาสวัดท่าช้าง ปัจจุบัน

    เบี้ยแก้วัดนางใสไม่ได้ถักด้ายหุ้ม อุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วก็ให้หุ้มเลี่ยมด้วยเงิน ทอง หรือนาก เหลือเนื้อเบี้ยเป็นวงกลมไว้ด้านหลัง

    เบี้ยแก้วัดโพธิ์ปล้ำ ต.ท่าช้าง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง หลวงพ่อผู้สร้างเป็นอาจารย์ หลวงพ่อโปร่งเช่นเดียวกัน

    เบี้ยแก้วัดท่าช้าง...ต.สี่ร้อย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง หลวงพ่อโปร่ง ปัญญาธโร เจ้าอาวาสปัจจุบันสร้างไว้ ลักษณะเบี้ยแก้เหมือนของ 2 อาจารย์ผู้ประสาทวิชาให้

    มีคนโบราณเขียนถึงสรรพคุณของเบี้ยแก้ไว้ว่า...

    เบี้ยแก้ตัวนี้สำคัญนัก พ่อค้าแม่ขายจักหมั่นไหว้บูชา จะไต่เต้าเจ้าสัวแสนทะนาน ลาภเต็มห้อง ทองเต็มไห ขุนนางใดมีไว้ในตัว ดีนักแล จะให้คุณเป็นถึงท้าวเจ้าพระยา พานทอง........

    คุณสมชาย โตมั่น บรรยายทิ้งท้ายไว้ว่า

    เบี้ยแก้เป็นอิทธิวัตถุชั้นหนึ่ง เตือนใจให้สะดุ้งกลัวภัยที่มองไม่เห็น หากบุคคลใด

    มีไว้เป็นสมบัติ นำติดตัวโดยคาดไว้กับเอวหรือโดยประการอื่น ย่อมปกป้องภยันตรายได้ทั้งปวง

    เป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มหาอุดคงกระพันทุกประการ คุ้มกันเสนียดจัญไร คุณไสย ยาสั่งและการกระทำย่ำยี ทั้งหลายทั้งปวงได้ชะงัด...นักแล.





    อีกข้อมูลหนึ่งที่ให้มาศึกษากันของสายหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว
    เบี้ยแก้คืออะไร

    เบี้ยแก้ คือ เครื่องรางชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอุปเท่ห์การใช้มากมายหลายอย่าง ทั้งกันและแก้สิ่งชั่วร้ายเสนียด
    จัญไร คุณไสย คุณคน คุณผี บาเบื่อ ยาเมา ทั้งหลาย คณาจารย์ยุคเก่าที่สร้างเครื่องรางประเภทเบี้ยแก้
    เอาไว้มีด้วยกันหลายรูป แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เห็นจะมีอยู่เพียง ๒ รูปคือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    และหลวงปู่รอด วัดนายโรง นอกนั้นก็มีชื่อเสียงอยู่เฉพาะพื้นที่ เช่น หลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ จ.อ่างทอง ,
    หลวงพ่อม่วง, หลวงพ่อทัต, หลวงพ่อพลอย วัดคฤหบดี บางยี่ขัน, หลวงพ่อแขก วัดบางบำหรุ, หลวงพ่อคำ
    วัดโพธิ์ปล้ำ, หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน จ.อ่างทอง และมีอาจารย์อื่นอีกที่สร้างได้แต่ไม่แพร่หลาย

    วิธีการสร้างเบี้ยแก้

    เมื่อหาตัวเบี้ยมาได้แล้ว (เบี้ยพวกนี้ไม่ค่อยพบในบ้านเรา สมัยก่อนต้องหาซื้อตามร้านเครื่องยาจีน
    เข้าใจว่าเบี้ยที่นำมาใช้นี้จะถูกนำเข้ามาพร้อมกับสินค้าจากประเทศจีนในอดีต.....ผู้เขียน) คณาจารย์
    ผู้สร้างก็บรรจุปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้าไปในตัวเบี้ย แล้วหาวิธีอุดมิให้ปรอทไหลออกมาได้ (ปรอทที่ใช้
    นี้เป็นปรอท หรือปรอทดินโบราณมีวิธีการจับปรอทโดยนำไข่เน่าไปทิ้งไว้ในน้ำครำไม่ช้าปรอทจะกิน
    ไข่เน่าจนเต็ม)

    ปรอทมีคุณสมบัติเป็นของเหลวลื่นไหลการจะนำปรอทมาบรรจุเบี้ยแก้ คณาจารย์ผู้สร้างจำต้องมีพระเวท
    เข้มขลัง เพราะต้องใช้พระเวทฆ่าปรอทหรือบังคับให้ปรอทรวมตัวกันอยู่ในเบี้ยบางราย ถึงกับบริกรรมพระเวท
    เรียกปรอทเข้าในตัวเบี้ยได้เอง การปิดปากเบี้ยเพื่อกันไม่ให้ปรอทไหลออกมาได้นั้นนิยมเอาชันโรงใต้ดิน
    ที่ปลุกเสกแล้วมาอุดใต้ท้องเบี้ยให้สนิทเรียบร้อย แล้วจึงหุ้มด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผ้าแดง แผ่นตะกั่ว
    แผ่นทองแดง วัสดุที่ใช้หุ้มหรือปิดนี้ก็ต้องลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกกำกับด้วย เช่นเบี้ยแก้หลวงปู่บุญ
    วัดกลางบางแก้วจะมีลวดทองแดงขดเป็นห่วง ๓ ห่วง เพื่อให้ใช้เชือกคล้องคาดเอว

    เบี้ยแก้ที่ผ่านการบรรจุปรอทจนกระทั่งถักหุ้มเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ถือว่าเสร็จสิ้นขึ้นตอนกรรมวิธี
    เพราะคณาจารย์เจ้าผู้สร้างท่านต้องปลุกเสกกำกับอีกจนมั่นใจว่าใช้ได้จริงๆ แล้วเล่ากันว่า คณาจารย์บางรูป
    สามารถปลุกเสกเบี้ยแก้ จนกระทั่งตัวเบี้ยคลานได้ เรื่องนี้ไม่ใช่ผู้เขียนเขียนขึ้นมาเอง หากแต่ได้รับการบอก
    เล่าจากหลวงพ่อพระครูรัตนโสภณ เจ้าอาวาสวัดบางบำหรุ ซึ่งท่านกรุณาเล่าว่า สมภารฉายอาจารย์ของท่าน
    และเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบำหรุก่อนท่านเคยสร้างเบี้ยแก้เอาไว้ และสามารถปลุกเสกเบี้ยแก้จนตัวเบี้ย
    คลานได้เหมือนหอย เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้ ก็จะเข้าประเด็นที่ ขึ้นต้นเอาไว้ว่า

    หลวงปู่บุญท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาเบี้ยแก้มาจากท่านใด

    ตามทัศนะของผู้เขียน ไม่เห็นด้วยกับข้อมูลที่บอกว่าหลวงปู่บุญ ท่านเรียนเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก
    ซึ่งบางท่านบอกว่าเป็นชีปะขาวบางท่านบอกว่าเป็นสมภารวัดบางบำหรุ และยังระบุต่อไปอีกว่า หลวงปู่แขก
    ที่กล่าวถึงนี้เป็นอาจารย์ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง

    ตามข้อมูลที่ผู้เขียนสืบค้นได้นั้น หลวงปู่รอดวัดนายโรง ท่านมีชีวิตอยู่ก่อนหน้าหลวงปู่แขกนานนัก
    และหลวงปู่แขกที่ว่านี้ ก็มิได้เป็นชีปะขาว หากแต่เป็นสมภารวัดบางบำหรุต่อจากสมภารพรหมเจ้าอาวาส
    วัดบางบำหรุรูปแรก เท่าที่มีประวัติคือ สมภารพรหมครองวัดบางบำหรุอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๖๑
    ถัดมาก็เป็นสมภารแขกซึ่งบอกไว้แต่เพียงว่าตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๖๑ ถัดจากสมภารแขกก็เป็นสมภารฉาย
    ครองวัดอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๐ หากจะคำนวณอายุดู หลวงปู่แขกไม่น่าจะมีอายุแก่กว่าหลวงปู่บุญ
    อย่างมากก็คงจะรุ่นราวคราวเดียวกัน หรืออาจจะอ่อนกว่าเสียด้วยซ้ำเพราะหลวงพ่อรัตน์เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า
    "เมื่อท่านยังเป็นเด็กวัดอยู่นั้น สมภารแขกมี ชื่อเสียงโด่งดังมาก อายุขณะนั้นประมาณ ๗๐-๘๐ ปี หากนับ
    ถึงปัจจุบันก็คงจะรุ่นๆ เดียวกับหลวงปู่บุญ จึงเป็นไปไม่ได้ที่สมภารแขกจะเป็นอาจารย์ของหลวงปู่รอด
    และหลวงปู่บุญ แต่อาจเป็นไปได้ว่า หลวงปู่รอดที่เป็นอาจารย์ถ่ายทอดวิชาเบี้ยแก้ให้กับหลวงปู่บุญ
    และหลวงปู่แขก เพราะหลวงปู่รอดนั้นท่านมีอายุนั้นในรุ่นหลังของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไม่มากนัก
    (คงมีอายุห่างจากสมเด็จฯ ประมาณ ๓๐ ปี-ผู้เขียน)

    ตามหลังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรซึ่งกรมาการศาสนาเป็นผู้จัดพิมพ์นั้น ระบุว่าหลวงปู่รอดเป็น
    สมภารรูปแรกของวัดนายโรง เพราะฉะนั้นในกระบวนเบี้ยแก้ทั้งหมดเท่าที่พบเห็นกันอยู่ต้องถือว่า เบี้ยแก้
    ของหลวงปู่รอดวัดนายโรงเก่าแก่ที่สุด ส่วนสาเหตุที่น่าเชื่อว่าหลวงปู่แขกกับหลวงปู่บุญ มีความสัมพันธ์
    กันก็เพราะว่า พื้นเพเดิมของหลวงปู่แขกนั้น ท่านเป็นชาวนครชัยศรีเช่นเดียวกับหลวงปู่บุญจึงน่าจะเป็น
    ไปได้ว่า หลวงปู่บุญท่านอาจจะไปมาหาสู่กับหลวงปู่แขก และได้มาทราบกิติศัพท์และเกียรติคุณของ
    หลวงปู่รอด วัดนายโรง เมื่อคราวมาเยี่ยมหลวงปู่แขกที่วัดบางบำหรุ จึงได้ขอเรียนวิชาทำเบี้ยแก้กับ
    หลวงปู่รอด

    อนึ่งหลวงพ่อรัตน์วัดบางบำหรุเล่าว่า สมภารพรหม เจ้าอาวาสวัดบางบำหรุก่อนหลวงปู่แขกก็อยู่ใน
    ฐานะศิษย์ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง เอาละครับผู้เขียนขอเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเบี้ยแก้
    ของหลวงปู่บุญไว้เพียงเท่านี้ ผิดถูกเท็จจริงประการใดขอให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านผู้รู้ทั้งหลายด้วย

    อิทธิคุณและพิธีกรรมการใช้เบี้ยแก้

    ข้ออธิบายต่อไปนี้ คัดลอกจากต้นฉบับเดิมของวัดกลางบางแก้ว เพื่อให้ท่านที่มีเบี้ยแก้ได้ทราบถึง
    อิทธิคุณและการใช้อย่างถูกต้อง อันจะบังเกิดผลดีแก่ผู้ใช้

    - ป้องกันอัตวิบากกรรม แก้ภาพหลอน จิตรหลอน ภาพอุปทาน แก้อำนาจภูผีปีศาจ อาถรรพณ์เวททำให้
    มัวเมาขลาดกลัว ขนพองสยองเกล้า ลมเพลมพัด คุณไสย คุณผี คุณคนทั้งปวงอุบาทวเหตุ อุบาทวภัย
    ทั้งปวง มัวเมายาพิษ ยาสั่งทั้งหลาย ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข่ผีป่า ผีโป่ง ผีปอบ ต้องกระทำจากภูตผี ผีพราย
    ผีตายโหง กองกอยวิกลจริต จิตวิกลวิกาล วิญญาณ อุปาทานวิกลเหมือนผีเข้าเจ้าสิงสู่ปราศจากสิ้นแล

    - ให้อธิษฐานเอาน้ำมนต์ เอาดอกพุทธรักษาดอกไม้ ดอกเข็มแดงหลากสี ตั้งขันธูปเทียน ขันห้า
    ข้าวตอก ดอกไม้แก้บาทวพิษ บาทยัก อัมพาต บาดแผล ฝีมะเร็ง ฝีคุณ หัวพิษ หัวกาฬ ทรางชัก
    รางขนพอง สันนิบาตลูกหมา ลูกนก หลังแอ่น คางแข็ง บ้าหมู ภายนอกภายใน อาบกินด้วย ตั้งจิตหน่วงลง
    ในคุณพระศรีรัตนตรัยใช้ได้แล

    - เมื่อเข้าศึกสงครามให้เอาไว้ด้านหน้าสารพัดศัตรู บีทาย่ำรุกไล่ให้เอาไว้ด้านหลัง หาเจ้าฟ้ามหากษัตริย์
    เจ้าขุนมูลนาย ให้เอาไว้ด้านข้างขวา เมื่อหาหญิง หานางพญาไว้ข้างซ้าย สารพัดศาสตรามิต้องข้างกายเลย
    ดุจฝนเสนห่า ข้าวปลาอาหารเป็นพิษ คางแข็ง เคี้ยวไม่กลืนเลยแล

    - ปลิงก็ดี ทากร้ายก็ดี มีในป่ามืด ในน้ำห้วยหนอง คลองบึง มันไม่เก่าะกินเลือดทั้งวัวทั้งควาย ช้างม้า
    ก็ดีแล แก้งูพิษ เขี้ยวขนอน แมวเซา เห่าแก้วก็ดีมิต้องกายมาขบกัดเลย

    �����������ͧ(LAMULET)

     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โจรใจบาปบุกยกเค้าพระวัดบางบำหรุ
    โดย มติชน<SCRIPT language=JavaScript src="/global_js/global_function.js"></SCRIPT> <!--START-->วัน จันทร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 09:19 น.


    เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่ามีแก๊งคนร้ายบุกเข้าไปลักผ้าไตรจีวรและถังสังฆทานภายในกุฏิพระวัดบางบำหรุ ถนนจรัญสนิทวงศ์ (ซอย 45) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. จึงรุดตรวจสอบ พบพระชัยชาญ ปิยะธัมโม อายุ 52 ปี พระลูกวัดดังกล่าว ซึ่งเป็นผู้เสียหายเล่าว่า เวลา 05.00 น. ตนเดินทางออกจากวัดไปบิณฑบาตตามปกติ เมื่อกลับถึงวัดเวลา 07.30 น. เห็นประตูเหล็กหน้าห้องเก็บของซึ่งอยู่บริเวณชั้นล่างกุฏิถูกเปิดอ้าออกจึงตรวจสอบพบถังสังฆทานที่ญาติโยมนำมาถวายให้หายไป 5 ชุด และชุดผ้าไตรจีวรใหม่เอี่ยม 30 ชุด ได้ถูกคนร้ายลักไปด้วย ซึ่งผ้าไตรเหล่านี้ญาติโยมช่วยนำมาถวาย เพื่อนำไปมอบให้พระที่กำลังจะบวชใหม่ 80 รูป ณ วัดท่าพระเจริญพรต บ้านมะเกลือ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เนื่องในโอกาสที่พระครูนิวาส ธรรมสุนทร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระอุปัชฌาย์ของตนกำลังจะมีอายุครบ 72 ปี ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้
    อาตมาเข้าอุปสมบทที่ จ.นครสวรรค์ และเดินทางมาอาศัยอยู่ที่วัดบางบำหรุแห่งนี้เป็นเวลานานกว่า 22 ปีแล้ว ส่วนเรื่องที่เกิดครั้งนี้คงไม่เข้าแจ้งความ เพราะของที่หายไปก็เป็นของที่ญาติโยมเป็นผู้นำมาถวาย พระชัยชาญกล่าว

     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วัดบางบำหรุ กรุงเทพฯ


    วันที่ 09 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6981 ข่าวสดรายวัน

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    "วัดบางบําหรุ" ตั้งอยู่เลขที่ 41 จรัญสนิทวงค์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

    วัดแห่งนี้ เดิมเป็นศาลเจ้าแม่ทับทิม ต้นสมัยกรุงธนบุรี ต่อมาได้สร้างเป็นวัด ชื่อ "วัดสวยหรู" ไม่ปรากฏว่าสร้างอุโบสถ์ และผูกพัทรสีมาเมื่อใด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดบางตําหรุ แล้วเปลี่ยนมาเป็นวัดบางบําหรุ ในปัจจุบัน

    วัดบางบำหรุ แม้จะเป็นวัดเล็กๆ ที่อยู่ในย่านชุมชนไม่ใหญ่โต แต่มีชื่อเสียงโด่งดัง ด้วยเคยมี "หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังด้านเครื่องรางเบี้ยแก้ ที่เป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    สำหรับการเดินทางมาที่วัดสามารถเดินทางด้วยรถยนต์ ซอยบรมราชชนนี 5 ตรงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงซอย 45 แล้วเลี้ยวขวา ตรงไปเรื่อยๆ จะถึงวัดบางบำหรุ หรือเข้าตรงซอยบรมราชชนนี 15 ข้างศาลพระศิวะ หรือภัตตาคาร ป.กุ้งเผา จะผ่านหมู่บ้านพันธ์ศักดิ์ เลี้ยวซ้ายตรงมาเรื่อย ๆ จนเห็นแนวกำแพงวัดบางบำหรุ

    ทั้งนี้ บริเวณโดยรอบวัดบางบำหรุ เป็นชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ แม้จะไม่ใช่ชุมชนใหญ่ แต่มีบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือน บรรยากาศจึงมีความคึกคักจอแจไปบ้าง

    สำหรับความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่ภายในวัด มีไม่ค่อยเห็นมากนัก ด้วยพื้นที่วัดมีค่อนข้างจำกัด และศาลาบางส่วนมีการซ่อมแซมต่อเติม ทำให้ฝุ่นผงละอองเลอะตามพื้นวัด

    บริเวณพุทธาวาส และตามกุฏิพระภิกษุสงฆ์ มีความสะอาดสะอ้านร่มรื่น เยื้องมาด้านหน้าติดกับถนน มีการดูแลปัดกวาดเป็นอย่างดี แต่ลานจอดรถด้านหน้าศาลาใหญ่ปากทางเข้าวัด มีสภาพไม่สะอาด จากเศษขยะและคราบต่างๆ เต็มบริเวณ

    ส่วนด้านหลังมีประตูเล็กออกไปข้างนอกได้ แม้เศษขยะจะมีไม่มากเป็นกองพะเนิน แต่มีกองมูลสุนัขปรากฏเป็นหย่อมๆ เชื่อว่าใครที่ผ่านไปแถบนั้น หากต้องประสบพบเห็นเข้า คงจะไม่ดีเท่าไรนัก

    จึงขอให้ทางวัดบางบำหรุช่วยจัดการทำความสะอาดด้วย
    คอลัมน์ : ผู้ตรวจการวัด


    ที่มาจากหนังสือพิมพ์ : [​IMG] (ข่าวสด)
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรียน ท่านสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า , ท่านสมาชิกคณะพระวังหน้า และ ท่านสมาชิกกองทุนหาพระถวายวัด ทุกๆท่าน

    หากท่านมีเบี้ยแก้ ของวังหน้า ซึ่งองค์ผู้อธิษฐานจิตก็คือ ...... และ ...... (หากต้องการทราบ โทร.สอบถามผม) ขอให้ท่านได้เลี่ยมและพกติดตัวไว้ตลอดด้วยนะครับ

    เบี้ยแก้ของวังหน้า ไม่เหมือนเบี้ยแก้ของสำนักอื่นๆ เนื่องจากมีความพิเศษมากกว่าของที่อื่นๆ ต้องบอกว่า เป็นเบี้ยแก้ที่สุดยอดของเบี้ยแก้ในโลกนี้ครับ

    ไม่ใช่ว่า เบี้ยแก้ของที่อื่นไม่ดี แต่เบี้ยแก้ของวังหน้าดีที่สุดครับ

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948


    หลวงปู่ท่านเคยบอก.....ว่า ................................ (บอกอย่างไร โทร.สอบถามเช่นกัน อิอิ

    .


    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อย่างที่ผมบอกไว้

    หากเราไม่มีฌาณ หรือ ไม่มีญาณ เราต้องใช้วิธีของผม เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราเองสามารถกระทำได้

    อย่างวันนี้ ผมกลับบ้าน มากรวดน้ำ ผมรับรู้ได้ถึงหลายๆสิ่งหลายๆอย่าง

    ผมเชื่อว่า สิ่งที่ทำ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และ ผมได้รับการแนะนำจากพี่ใหญ่มาแล้วในเรื่องนี้ครับ



    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>นิทานสอนใจ : ยิ่งให้เร็ว นั่นแหละจะยิ่งช้า</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>25 กรกฎาคม 2553 10:28 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=240 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=240>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"ยิ่งให้เร็ว นั่นแหละจะยิ่งช้า" นิทานเรื่องนี้จะมีประโยชน์มากสำหรับครูบาอาจารย์ สำหรับเรื่องนี้ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้เรียกตัวเองว่าครูก็ตาม ก็ควรจะสนใจฟังในฐานะที่ว่าจะเป็นปัจจัย เกื้อกูลแก่ความเข้าใจธรรม และปฏิบัติธรรม เรื่องเล่านี้มีอยู่ว่ามีชายคนหนึ่ง เขาอยากเป็นนักฟันดาบที่เก่งกาจ เขาไปหาอาจารย์สอนฟันดาบเพื่อให้ช่วยสอนเขาให้เป็นนักฟันดาบ

    เขาถามอาจารย์ว่า "จะใช้เวลานานสักกี่ปี" อาจารย์ตอบว่า "ประมาณ 7 ปี" เขาสักจะรวนเร เพราะว่า 7 ปีนี้มันเป็นเวลาที่นานเกินไป ฉะนั้นเขาจึงขอร้องใหม่ว่า เขาจะพยายามให้สุดฝีมือ สุดความสามารถในการฝึกฝน ทั้งกำลังกายและกำลังใจทั้งหมด ถ้าเป็นเช่นนี้จะใช้เวลาสักกี่ปี อาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้นจะต้องใช้เวลาสัก 14 ปี" (แทนที่จะเป็น 7 ปี ก็ดันกลายมาเป็น 14 ปี)

    ชายหนุ่มคนนั้นก็อวดครวนขึ้นมาว่า บิดาของเขาแก่มากแล้ว อาจจจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานนัก เขาจะพยายามอย่างยิ่ง ให้บิดาของเขาได้ทันเห็นฝีมือฟันดาบของเขาก่อนตาย เขาจะแสดงฝีมือฟันดาบของเขาให้บิดาของเขาชม ให้เป็นที่ชื่นใจแก่บิดาเขาจะพยายามอย่างยิ่งที่จะแสดงความสามารถ ให้ได้ทันตอบแทนพระคุณของบิดา จะต้องใช้เวลาสักเท่าไร ขอให้อาจารย์คิดดูให้ดีๆ อีกครั้ง

    ท่านอาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้นต้อง 21 ปี" นี่มันเป็นอย่างไรขอให้คิดดู ว่าแทนที่จะลดลงมา มันกลายเป็นเพิ่มขึ้นเป็น 21 ปี ชายหนุ่มคนนั้นจะเล่นงานอาจารย์อย่างไรก็ไม่ได้ เพราะว่าเขาเป็นอาจารย์จะทำอย่างอื่นก็ไม่ถูกไม่ควร นึกไม่ออกว่าต้องทำอย่างไรดี เพราะว่าไม่ใครที่จะสอนฟันดาบได้ดีกว่านี้ ซึ่งเป็นอาจารย์ระดับประเทศเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเขาจึงอดทนอยู่กับอาจารย์คนนี้ โดยที่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี

    หลายวันต่อมา อาจารย์ก็สั่งให้ชายคนนี้ไปทำงานในครัว ให้ตักน้ำ ผ่าฟืน และงานทุกอย่างที่อยู่ในครัว แทนการสอนให้จับดาบ ฟันดาบ

    เมื่อเวลาผ่านมานานพอสมควร วันหนึ่งอาจารย์ผลุนผลันเข้าไปในครัว ด้วยดาบทั้งสองมือ ฟันชายหนุ่มคนนั้นทั้งๆ ที่เขาไม่รู้ตัว เกิดเหตุการณ์อลหม่านขึ้นครั้งใหญ่ เขาจึงต่อสู้ตามเรื่องตามราวของเขา ตามที่กำลังของเขาจะสู้ได้ โดยที่เขาใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ๆ ตัวที่พอจะหาได้และจับได้ทันมาใช้แทนดาบ ไม่นานนักการต่อสู้ก็ยุติลง อาจารย์ก็เดินจากไป

    หลายวันต่อมาเขาก็ถูกอาจารย์ทดสอบด้วยวิธีนี้อีก โดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัว จนกระทั่งอาจารย์บอกว่ากลับบ้านได้ นั่นหมายความว่าเขา เรียนฟันดาบจบหลักสูตรแล้ว และปรากฏว่า ต่อมาชายหนุ่มคนนี้ก็กลายเป็นนักฟันดาบที่โด่งดังมีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่น

    นิทานเรื่องนี้ก็จบลง ท่านลองคิดดูว่า นิทานเรื่องนี้สอนว่าอย่างไร? ตอบสั้นๆ ที่สุดก็คือ การทำอะไรด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นว่าตัวตนของตัวเองนั้นใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดผลที่ดีได้ คือถ้าชายหนุ่มคนนี้ยังคิดว่ากูจะดี กูจะเด่นละก็ มีตัวกูเข้ามาฝึก เป็นตัวกูที่ใหญ่เอาการอยู่เหมือนกัน ที่นี้ยิ่งจะทำให้ดีที่สุด ก็จะทำให้ดีที่สุดและให้เร็วที่สุดอย่างนี้ด้วยแล้ว ไอ้ตัวกูมันยิ่งขยายออกไปอีก ถ้ายิ่งจะทันให้บิดาได้เห็น บิดาก็แก่มากแล้ว ตัวกูมันยิ่งพองมากออกไปอีก มันยิ่งเร่งร้อนออกไปอีก อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้จิตไม่มีสมาธิ จิตเต็มอัดไปด้วยตัวกูที่กลัดกลุ้มไปด้วยตัวกูของกู ไม่เป็นจิตที่ว่างเปล่า ไม่มีสติปัญญาที่อยู่ในจิต และไม่สามารถมีสมรรถภาพเดิมๆ แท้จริงของจิตออกมาได้ เพราะมันกลัดกลุ้มอยู่ด้วยอุปาทาน ว่าด้วยตัวกูของกู หรือเป็นความเห็นแก่ตัวนี่เองมันเลยไม่เฉียบแหลม ไม่ว่องไว ไม่ active ฉะนั้นถ้าขืนทำไปอย่างนั้นจริงๆ แล้วจะต้องใช้เวลา 7 ปี หรือว่า 14 ปี หรือไม่ก็ 21 ปีจริงๆ


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ขณะที่เขาอยู่ในครัวนั้น เขาไม่มีความรู้สึกว่าตัวกู ของกู กูจะต้องฝึกฟันดาบในเก่งให้ได้ในเวลา 7 ปี หรือให้บิดาทันได้เห็นถึงความสามารถของลูกชายให้ได้ ความรู้สึกแบบนี้มันเลยไม่มีในตอนนั้น ซึ่งทำให้จิตเขาว่างเปล่า ถึงแม้ว่าอาจารย์จะผลุนผลันเข้าไปในลักษณะอย่างไร ปฎิภาณของจิตว่าง หรือจิตที่แท้จริงนี้ ก็มีมากพอที่จะต่อสู้ออกไปอย่างถูกต้องได้ มันเป็นการเรียกร้องขึ้นมา หรือปลุกขึ้นมาจากการหลับตามวิธีของอาจารย์ที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ให้กลายมาเป็นจิตที่เบิกบานเต็มที่ ซึ่งสามารถเอาไปใช้ได้เลย เขาจึงเป็นผู้ที่สำเร็จหลักสูตรโดยวิธีอันประหลาดนั้น ภายในเวลาอันสั้น ไม่ต้องใช้เวลานานถึง 7 ปีอย่างนี้เป็นต้น

    เกี่ยวกับข้อนี้ อยากจะให้ท่านครูบาอาจารย์สนใจที่จะนึกดูว่าความรู้สึกที่เป็นตัวตน หรือเป็นของตนนั้น อยู่ที่ตรงไหน? เหมือนอย่างที่ว่า เราจะยิงปืนหรือยิงธนู หรือว่าขว้างแม่นในการกีฬาขว้างแม่น ถ้าจิตของผู้ขว้างมีความรู้สึกเป็นตัวกูของกู เป็นชื่อเสียงของกู ชื่อเสียงของโรงเรียนกู หรือของมหาวิทยาลัยของกูมันรัวอยู่ในใจแล้วจะไม่มีวันที่จะขว้างแม่นหรือขว้างถูกได้เลย เพราะว่ามันสั่นระรัวอยู่ด้วยตัวกูหรือของกูนี้

    ทั้งนั้น ที่ถูกที่ควรต้องมีความตั้งใจ ที่จะทำเพื่อเกียรติยศ ชื่อเสียงของโรงเรียนหรืออะไรก็ตาม แล้วจะต้องลืมให้หมด ลืมแม้แต่ตัวกู โรงเรียนกู มหาวิทยาลัยกู ให้เหลือแต่สติปัญญาและสติสัมปชัญญะที่ขว้างด้วยอำนาจของสมาธิเท่านั้น คือพูดตรงๆ ว่า ขณะนั้นมีแต่จิตที่มีสมาธิกับสติปัญญาเท่านั้น ตัวกู ของกูไม่มีเลย มันจึงเป็นจิตแท้ เป็นจิตตามสภาพของจิต มือไม้ไม่สั่น ใจไม่สั่น ประสาทไม่สั่น อะไรๆ ก็ไม่สั่น ปกติเป็น active ถึงที่สุดแล้วเขาจะขว้างแม่น เหมือนดั่งปาฏิหาริย์

    หรือว่าในการจัดดอกไม้ในแจกัน คนจัดจะต้องทำจิตให้ว่างจากความเห็นแก่ตัวกู หรือชื่อเสียงของกู ตลอดจนถึงโรงเรียนของกู หมู่คณะของกูเสียก่อนแล้วเสียบดอกไม้ด้วยจิตที่ว่างเปล่าและบริสุทธิ์ นั่นแหละคือสติปัญญาล้วนๆ ไม่มีตัวกู ไม่มีของกูเจือปนอยู่ ก็จะได้แจกันที่สวยที่สุดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน นี่เขาถือว่าเป็นหลักของนิกายเซ็น

    ฉะนั้นขอให้สนใจในการที่จะทำอะไรหรือมีชีวิตอยู่ด้วยความไม่มีตัวกู ของกู มันยิ่งจำเป็นมากสำหรับครูบาอาจารย์ ที่จะสอนเด็กให้ทำงานฝีมือดีด้วยจิตใจที่ปกติ ไม่สั่นในระบบประสาท ไม่สั่นในระบบความนึกคิด หรือว่าเมื่อเด็กๆ จะสอบไล่ เมื่อเขารู้สึกตัวอยู่แล้วว่า จะต้องสอบได้แล้วจะไปมัวห่วงกลัวจะสอบตก จะเสียชื่อ จะเสียเวลา ถ้าสอบไม่ได้จะไปกระโดดน้ำตาย เป็นต้น จะไปนึกทำไมว่านั่นเป็นเรื่องตัวกู ของกู เด็กคนนั้นจะต้องลืมสิ่งเหล่านั้นให้หมด แต่ถ้าเป็นการลืมแม้กระทั่งตัวเอง กับคำว่า "ลืมตัวเอง"คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีนัก

    เด็กๆ ในขณะที่สอบไล่นั้นจะต้องลืมหมดแม้กระทั่งตัวเอง เหลืออยู่ในใจแต่ว่า โจทย์ปัญหาว่าอย่างไร มีใจความว่าอย่างไร แล้วคำตอบควรจะเป็นอย่างไร ถ้าจิตใจว่างจากตัวกู ว่างจากของกูแล้ว วิชาความรู้ต่างๆ ที่เคยสะสมมาตั้งแต่แรกเรียนนั้น จะกลับมาหาเราเอง ให้พวกเขาได้พบกับคำตอบอย่างถูกต้อง แต่ถ้าเขากลัดกลุ้มอยู่ด้วยตัวกูของกูแล้ว แม้เขาจะเรียนมามากอย่างไร มันก็จะไม่กลับมาหา มันมีอาการเหมือนกับการลืมหรือนึกไม่ออกนั่นแหละ แล้วมันจะระส่ำระส่ายรวนเรไปหมด ทำให้ไม่สามารถตอบคำถามได้

    ถ้าเด็กๆ สอบไล่ด้วยจิตที่ว่างเปล่า ผลการสอบออกมาจะได้ยิ่งกว่าการเป็นที่หนึ่งเสียอีก ฉะนั้นเขาจึงมีการสอนในเรื่องที่อย่าทำอะไรด้วยจิตที่สั่นระรัวด้วยตัวกู ของกู เพราะว่าการทำอย่างนั้น ยิ่งจะทำให้เร็วมันก็จะยิ่งช้าที่สุด ตามชื่อของนิทานเรื่องนี้ที่ว่า "ยิ่งให้เร็ว นั่นแหละจะยิ่งช้า" หรือไม่มันจะยิ่งทำไม่ได้เลย

    *** ทางทีมงาน Life and Family ขอขอบคุณ นิทานเรื่องสั้น: นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย...ท่านพุทธทาสภิกขุแห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช 2505 จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ ธรรมสภา

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    Life & Family - Manager Online
    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...