มาดูสมเด็จกัน

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย wasabi san, 25 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291


    [​IMG][​IMG]
    ลักษณะพิมพ์เหมือนพระจำลองพิมพ์มากเลยครับ....

    พิจารณาความเก่าแล้วยังไม่ผ่านนะครับ....องค์นี้มีรอยแตกหักมาก่อน....
    ลองดูสีเนื้อตามรอยแตกดูสิครับคุณกวาวชไม....

    ถ้ารอยแตกขาวจั๋ว น่าเจี้ย ก็แสดงว่าเป็นพระใหม่ครับ....
     
  2. T_

    T_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +318
    ขอบพระคุณท่านพี่ XLM มากๆครับที่จัดให้.. อีกประมาณ 3-4 วันจะสรงน้ำท่านและเสร็จเมื่อไหร่..ผลจะเป็นอย่างไร..จะรีบรายงานตัวทันทีครับ
    ปล.(ขอนิดนึง...นึกสนุกๆขึ้นมา) อย่าโกรธนะครับ..นามแฝงของท่านพี่ XLMEN กำลังบอกอะไรรึป่าวครับหมายถึง พี่ตัวใหญ่ไซด์ XL (ไม่ผอม) ตามนั้น รึป่าวครับ..(ม่ายมีอะไรหรอกครับ)...พอดีนั่งว่างๆ..มันก็ปุดขึ้นมาเอง...ครึ.ครึ
     
  3. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291

    ความสงสัยมักจะนำไปสู่ปัญญาเสมอครับ.....ถูกต้องแล้วคร๊าบบบคุณลูกเจี้ยบบบ....คริคริ

    ตอนนี้ผมกำลังกลุ้มใจว่าจะลดพุงยังงัยดี.....สงสัยเย็นนี้ต้องไม่กินข้าว...
    กินแต่กับอย่างเดียวแล้วมังครับ 555+

    เอ.....หรือจะเปลี่ยนเป็นเลิกไม่กินข้าวไม่กินกับ....
    กินทุเรียนเลยดี....ผมกินแบบนี้น่าจะผอมไหมครับคุณลูกเจี้ยบบบ....อิอิ คริคริ
     
  4. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    ขอแนะนำว่าเล่นตามมาตรฐานสากลดีกว่าครับ....การเล่นพระเก่าพวกพระดินนั้นถ้าพิมพ์ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานก็ขอให้เนื้อเหมือนพระที่วงการเขาถือเป็นมาตรฐานจะปลอดภัยกว่าครับ....

    ผมเห็นคุณอังคารดูท่าจะชอบพระซุ้มกอ....
    ลองศึกษาดูจากบทความด้านล่างดูละกันครับ....
    v
    v
    ประวัติความเป็นมาของพระซุ้มกอ

    พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่
    ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ อุปเท่ห์การอาราธนาพระรวมถึงพุทธานุภาพอย่างมหัศจรรย์ ของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย
    นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆตามกรุต่างๆ
    หลักฐานชิ้นสำคัญอันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ในราวปี พ.ศ.1279
    จากหลักฐานการศึกษาเทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่เชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย
    ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอจนถึงปัจจุบัน จึงมีประมาณ 700-800 ปี

    การแบ่งส่วนศึกษาพระซุ้มกอ เเบ่งเป็น
    การศึกษาจากลักษณะทางกายภาพอันประกอบด้วย

    <TABLE style="WIDTH: 429px; HEIGHT: 206px" border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=429 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>การศึกษาจากลักษณะทางกายภาพอันประกอบด้วย
    1.1 พระซุ้มกอเป็นพระเนื้อดินผสมว่าน และเกสรดอกไม้108
    1.2 พระซุ้มกอเป็นพระเนื้อดินดิบองค์พระได้รับความร้อนไม่สูงนัก เนื้อจึงไม่เเกร่ง แช่นํ้านานๆจะละลายได้
    1.3 พุทธศิลป์แบบสุโขทัยผสมผสานกับศิลปะลังกา
    1.4 มวลสารพระจะปรากฏคราบรารัก</TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ

    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก​
    </TD><TD>
    พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก​
    </TD><TD>
    พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง​
    </TD><TD>
    พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พุทธศิลป์ของพระซุ้มกอ

    พระซุ้มกอมีอายุการสร้างประมาณ 700 ปี พุทธศิลป์แบบสุโขทัยผสมผสานศิลปะลังกา
    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระพุทธรูปศิลปะลังกา​
    </TD><TD>
    พระซุ้มกอ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200 align=center><TBODY><TR><TD>
    การศึกษาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนก​
    </TD><TD>
    จุดสังเกตพิมพ์ทรงองค์พระซุ้มกอ​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>1.องค์พระปางนั่งสมาธิมีเส้นรัศมีรอบพระเศียร
    2.ลายกนกรอบองค์พระและขอบ
    3.ฐานบัวเล็บช้าง</TD><TD>พุทธลักษณะส่วนพระเศียร จะมีพระพักตร์ใหญ่อูมชัดเจน มีพระกรรณรูปวงเดือนทั้งสองข้างเส้นรัศมีรอบพระเศียร โค้งรับกับพระเศียรที่มีมุ่นเมาลี ทำให้เส้นรัศมีมีปลายยอดแหลม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200><TBODY><TR><TD>
    ข้อควรสังเกต​
    </TD><TD>
    ข้อควรสังเกต​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>ปลายเส้นรัศมีที่อยู่เหนือพระอังสาด้านขวาขององค์พระจะขาดไม่ติดองค์พระ ส่วนด้านซ้ายจะติดองค์พระ</TD><TD>ปลายเส้นรัศมีด้านซ้ายขององค์พระจะชิดกับพระอังสาซ้ายขององค์พระมากกว่าด้านขวา</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200><TBODY><TR><TD>
    ภาพเปรียบเทียบปลายเส้นรัศมี ข้างขวา-ข้างซ้าย​
    </TD><TD>
    ลักษณะพระศอ-พระอุระ​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD> </TD><TD>พระอุระของพระซุ้มกอจะมีลักษณะล่ำหนา มีเส้นคอ หรือกำไลคอ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200><TBODY><TR><TD>
    จุดสังเกตบริเวณลำพระองค์​
    </TD><TD>
    จุดสังเกตพระกร-ซอกลำพระองค์​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD> โดยปกติพระที่สร้างในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ บริเวณช่วงพระอุทร จะมีกล้ามปรากฏ หรือที่เรียกว่า เล่นลูกท้อง แต่พระซุ้มกอจะไม่ปรากฏลูกท้อง และด้านข้างลำพระองค์ทั้งซ้ายขวาจะปรากฏรอยครูดของแม่พิมพ์ทั้งสองข้างอันเป็นตำหนิมาจากแม่พิมพ์
    </TD><TD> พระกรของพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนก จะมีลักษณะเรียวเล็ก ไม่มีท้องพระกร (ท้องแขน-กล้ามแขน) ซอกลำพระองค์จะลึกแบบก้นหอย พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางซ้อนกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200><TBODY><TR><TD>
    พระเพลา​
    </TD><TD>
    จุดสังเกตฐานบัวเล็บช้าง​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD> ลักษณะพระเพลาพระซุ้มกอ จะกว้างขัดสมาธิราบ จุดสังเกตที่สำคัญคือ พระเพลาด้านขวาขององค์พระจะแบนราบและอยู่ชิดเข้าไปถึงขอบพระ ส่วนพระเพลาข้างซ้ายขององค์พระจะนูนสูงกว่า และไม่ชิดขอบพระ
    ที่ข้อพระบาท จะพบกำไลข้อเท้าชัดเจนทั้งสองข้าง
    </TD><TD>พระซุ้มกอเป็นพระปางสมาธิ ประทับนั่งบนบัวเล็บช้างห้ากลีบ ซึ่งมีข้อสังเกตที่ชัดเจนว่า กลีบบัวกลีบกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าทุกกลีบ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200><TBODY><TR><TD>
    เส้นขอบลายกนก​
    </TD><TD>
    ปลายเส้นขอบ-ลายกนก​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD> พระซุ้มกอเป็นพระที่มีเส้นขอบรอบองค์พระ ซึ่งมีความหนาบางไม่เท่ากัน กล่าวคือด้านขวาขององค์พระเส้นขอบจะหนา และงองุ้มเข้าหาองค์พระมากกว่าด้านซ้ายมือขององค์พระอย่างชัดเจน
    </TD><TD> เส้นขอบของพระซุ้มกอจะอยู่โดยรอบองค์พระ หากแต่มีความหนาบางไม่เท่ากัน ในบางส่วนจะมีองค์ประกอบอื่นทับซ้อน ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณด้านพระชานุขวา(เข่าขวา) ขององค์พระจะยาวล้ำซุ้มเกือบชนขอบนอก จนทำให้เส้นขอบขาดหายไปตรงช่วงเหนือพระชานุขวา (ข่าขวา)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=200><TBODY><TR><TD>
    ด้านหลังองค์พระ​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>ด้านหลังของพระซุ้มกอ มีลักษณะแบนราบ แบบหลังกระดาน หรือ หลังกาบหมาก</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    ข้อมูลเกี่ยวกับพระกรุวัดพระแก้ว

    ขอโทษที่หายไปพักเล็กๆ งานช่วงนี้มีเรื่องให้คิดมาก หากบางช่วงหายไปก็อาจจะติดงาน หรือไม่ก็ต้องเดินทางนะครับ

    มีเพื่อนโทรมาถามเรื่องพระกรุวัดพระแก้ว เลยเอามาฝากเพื่อนๆ ให้อ่านกันนะครับ

    ส่วนพระที่คุณอังคารถามมาก็สามารถอ่านรายละเอียดได้เช่นกัน

    พระสมเด็จวัดพระแก้ว
    2009-11-20 01:58:30

    พระสมเด็จวัดพระแก้ว
    โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
    ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้ว
    พระสมเด็จวัดพระแก้ว บรรจุกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่เรียกกันทั่วไปว่า “พระสมเด็จกรมท่าและพระสมเด็จวังหน้า”
    พระสมเด็จกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ผู้สร้างคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) (กรมท่าในรัชกาลที่ ๔) เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี (กรมท่าในรัชกาลที่ ๕) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้าในรัชกาลที่ ๕) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พระอุตรเถระ (หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร) หลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทราราม หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นหลายรูป
    ในทางศิลป์ถือได้ว่าเป็นสุดยอดในทางฝีมือการช่างอันวิจิตร (ประณีตศิลป์) เป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่า เป็นมงคลวัตถุ เป็นพุทธปฏิมา (องค์แทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ให้มนุษย์ระลึกถึงและกระทำแต่ความดี และที่สำคัญเป็นที่รวมแห่งสุดยอดของพระสูตรคาถา ผู้ที่ครอบครองพระสมเด็จชุดนี้จะปราศจากอันตรายทั้งปวง แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นเมตตามหานิยมเป็นที่รักและนับถือแก่บุคคลโดยทั่วไป รักษาโรคภัยไข้เจ็บไม่เข้ามากล้ำกราย อาวุธเขี้ยวงาไม่สามารถทำอันตรายได้ ค้าขายประกอบธุรกิจดีมีกำไร และทรงคุณความดีอันประเสริฐอีกนานัปการ แก่ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่น และกระทำแต่ความดี

    พระสมเด็จกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) นั้นตามประวัติการสืบค้นนั้นแบ่งการสร้างออกเป็น ๓ ช่วง

    ๑. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าคุณกรมท่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ สร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่า) แม่พิมพ์แกะโดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และใช้ผงวิเศษของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในคราวนั้นได้มอบให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และประชาชนโดยทั่วไป ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการบรรจุกรุที่ใด สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พุทธาภิเษก พระเทพโลกอุดรเป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษกโดยอทิสสมานกาย (อทิสสมานกาย คือกายที่มองไม่เห็นถ้าไม่แสดงอภินิหาร) ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)

    ๒. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๒ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่าและพระสมเด็จวังหน้า) ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังและแกะขึ้นใหม่บางส่วนให้เหมือนกับพิมพ์นิยมของวัดระฆัง และใช้ผงวิเศษของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เพื่อเป็นสิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ในคราวนั้นได้ถวายแด่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุในสุวรรณเจดีย์ เจดีย์ย่อไม้สิบสอง ฐานชุกชีหลังครุฑวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษก คณะสงฆ์ประกอบด้วยหลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)

    ๓. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่า และพระสมเด็จวังหน้า) ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังและแกะขึ้นใหม่หลายสิบพิมพ์ ใช้ผงวิเศษของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีที่เก็บรักษาไว้รวมทั้งการย่อยสลายพระสมเด็จที่หักชำรุดจำนวนหนึ่ง และจากผงวิเศษของพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น สร้างพระสมเด็จเพื่อเป็นมหามงคลการฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในคราวนั้นได้ถวายแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทุกลำดับชั้นและประชาชนโดยทั่วไปเป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุใต้หลังคาพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นประธานสงฆ์ คณะสงฆ์ประกอบด้วยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัต เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา) วัดพระเชตุพน พระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน ๑๐๘ รูป ทำพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

    การสร้างพระสมเด็จที่บรรจุกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่จัดเป็นพิธีหลวงเริ่มในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) พระสมเด็จที่สร้างมีทั้งทัน และไม่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ แต่ถึงแม้ท่านมิได้พุทธาภิเษกแต่ก็ได้มอบมวลสารไว้ให้หลายส่วน เป็นมวลสารแห่งสุดยอดพระสูตรคาถามีพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างเป็นเลิศอเนกอนันต์) ส่วนพิธีพุทธาภิเษกในแต่ละครั้งก็จัดเป็นพิธีหลวงถูกต้องตามหลักพิธีการมีพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบชื่อดังหลายรูปในยุคนั้นมาร่วมพิธีนั่งปรกด้วย (ในเรื่องของพิธีหลวง หรือพิธีธรรมดาสามัญนั้นความสำคัญขึ้นอยู่กับพระภิกษุที่เข้าร่วมพุทธาภิเษกเป็นสำคัญ และจะขอกล่าวให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมว่าการพุทธาภิเษกพระพุทธรูป หรือพระเครื่องซึ่งเป็นวัตถุมงคลนั้น มงคลที่ถูกบรรจุในวัตถุมงคลเรียกว่า “อิทธิคุณ” อิทธิคุณ คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ พุทธคุณ คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า แต่ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมเรียกว่า “พุทธคุณ” ซึ่งก็น่าจะมีส่วนถูกต้องเพราะการเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระคาถาใดๆจะต้องเริ่มจากบทสวดในการคำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ) ส่วนในเรื่องของแบบพิมพ์มีมากมายหลายพิมพ์ทั้งเป็นพิมพ์ดั้งเดิมหรือพิมพ์นิยมของพระสมเด็จวัดระฆัง และที่แกะแบบพิมพ์ขึ้นมาใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่ และฝีมือช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีความวิจิตรบรรจง มีความลงตัวทั้งรูปแบบและรูปทรงสวยงามเป็นอย่างยิ่ง โดยแกะจากไม้มะเกลือ หินลับมีด หินอ่อน ปูน และโลหะ (สันนิษฐานว่ามีมากกว่าหนึ่งร้อยพิมพ์) ส่วนมวลสารก็คัดสรรจากหลายประเทศ เช่น จีน พม่า และประเทศในแถบยุโรป ถือเป็นสุดยอดแห่งมวลสาร ในด้านการย่อยสลายมวลสารต่างๆนั้นค่อนข้างที่จะมีความทันสมัยมากกว่ายุคแรกๆ ที่แต่เดิมจากการใส่ครกตำมาใช้เป็นเครื่องบด จึงได้มวลสารที่มีความละเอียดสม่ำเสมอ และได้จำนวนมากขึ้น ส่วนจำนวนการสร้างที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงอันเนื่องด้วยไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน คงเป็นการสันนิษฐานด้วยหลักเหตุผลมากกว่าซึ่งประมาณว่าจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เป็นประถม (เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ อันเป็นที่ยึดถือแห่งจำนวนการสร้างพระของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และเป็นที่นิยมเลื่อมใสศรัทธราแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน)
    พุทธศิลป์ของพระสมเด็จวัดพระแก้ว คือศิลปะโบราณในแต่ละยุคที่ช่างสิบหมู่ (ช่างแกะพิมพ์) นำมาเป็นต้นแบบในการแกะพิมพ์
    ๑. สมัยเชียงแสน
    ๒. สมัยสุโขทัย
    ๓. สมัยอู่ทอง
    ๔. อยุธยา
    ๕. รัตนโกสินทร์ตอนต้น
    พุทธศิลป์ที่เป็นความหมายในองค์พระสมเด็จวัดพระแก้ว
    ๑. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หมายถึงแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจจ์
    ๒. วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หมายถึงอวิชาที่คลุมพิภพ
    ๓. รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง หมายถึงพระรัตนตรัย
    ๔. รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึงพระพุทธเจ้าปางตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์
    ๕. ฐานสามชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก
    ๖. ฐานเจ็ดชั้น หมายถึงอปนิหานิยมธรรม
    ๗. ฐานเก้าชั้น หมายถึงมรรคแปด นิพพานหนึ่ง

    อานุภาพแห่งอภิญญา ๖ แห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
    ๑. อิทธิวิธี คือวิชาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้
    ๒. ทิพโสต คือวิชาหูทิพย์
    ๓. เจโตปริยญาณ วิชารู้จิตใจผู้อื่น
    ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ วิชาระลึกชาติได้
    ๕. ทิพจักษุ วิชาตาทิพย์
    ๖. อาสวักขยญาณ วิชาการทำอาสวะให้สิ้น

    พระสูตรคาถาที่ลงในมวลสาร (ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี)
    ๑. มูลกัจจายน์ พระสูตรคาถาใหญ่ก่อนที่จะเจริญพระสูตรคาถาอื่น
    ๒. มหาราช ผงมหาราชมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม
    ๓. ตรีนิสิงเห ผงตรีนิสิงเห เชื่อว่ามีอานุภาพทั้งทางอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม ตลอดจนถอนคุณไสยสิ่งอวมงคลทั้งมวล
    ๔. อิทธะเจ ผงอิทธะเจมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมโดยเฉพาะแก่สตรีเพศ
    ๕. ปถมัง ผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้
    ๖. พุทธคุณ ผงพุทธคุณเป็นพระคาถาย่อยในพระคาถาปถมัง ผงพุทธคุณ ป้องกันได้สารพัดทั่วทุกทิศ คุ้มกันได้สิ้น ศึกสงครามก็จะได้ชัยชนะ ค้าขายดีมีกำไร มีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นผ้าประเจียดป้องกันศาสตราอาวุธก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่บุคคลโดยทั่วไป

    มวลสารต่างๆที่เป็นส่วนผสมหลักของพระสมเด็จวัดพระแก้ว
    ๑. ปูนที่เกิดจากการย่อยสลายหินด้วยวิธีการบดจากเขาในเมืองอันฮุย มณฑล
    เสฉวน ประเทศจีน (ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชามเบญจรงค์ของไทย)
    ๒. หินอ่อน (จากศิลาจารึกพระคาถาพญาธรรมิกราชอยู่ในสระน้ำวัดระฆังโฆสิตาราม วัดอินทรวิหาร และวัดหงส์รัตนาราม)
    ๓. ดินหลักเมือง
    ๔. รัตนชาติ (แร่สีต่างๆที่นำมาใช้ทำเครื่องประดับ นำมาย่อยละเอียด พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ ขาว)
    ๕. แร่เหล็กไหล (ขี้เหล็กไหลหรือผงเหล็กไหล)
    ๖. ผงทองนพคุณ (ผงทองเนื้อหก หรือทองดอกบวบที่นิยมทำทองรูปพรรณในสมัยก่อน
    เป็นผงทองจากการตะไบทองที่ทำทองรูปพรรณ)
    ๗. ผงแก้วทรายสีต่างๆบดละเอียด
    ๘. ข้าวสุก
    ๙. ผงใบลานเผา
    ๑๐. กล้วยน้ำไทย
    ๑๑. ยางมะตูม
    ๑๑. น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
    ๑๒. น้ำมันทัง
    ๑๓. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด

    สีมงคลที่ใช้ในองค์พระสมเด็จวัดพระแก้ว
    รักชาด (รักสีแดง เกิดจากน้ำยางรักกับชาดจอแสนำมาเคี่ยวรวมกัน)
    รักสมุก (รักสีดำ เกิดจากน้ำยางรักกับใบตองเผาไฟบดละเอียดนำมาเคี่ยวรวมกัน)
    รักน้ำเงินจากพม่า (เกิดจากน้ำยางรักกับครามนำมาเคี่ยวรวมกัน)
    สีประจำวัน (สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง)
    สีสิริมงคลฉัพพรรณรังสี คือแสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลางพระสรีระกายของ พระพุทธเจ้าเป็นรัศมี ๖ ประการ คือ
    ๑. นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
    ๒. ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง
    ๓. โลหิตตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
    ๕. มัญเชฏฐะ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
    ๖. ปภัสสระ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก
    สีที่ประกอบเป็นเครื่องห้าสีโดยเพิ่มสีดำเข้ามา (สีเญจรงค์) จีนเรียก อู๋ใช้ ได้แก่ ขาว เหลือง ดำ เขียว แดง ซึ่งแทนความหมายของธาตุทั้งห้า คือ ทอง ดิน น้ำ ลม และไฟ

    หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดพระแก้ว
    ๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
    ๒. มวลสาร
    ๓. รัก ชาด ทอง
    ๔. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
    ๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
    ๖. ฌานสมาบัตร

    ๑. ทรงพิมพ์มีทั้งที่เป็นพิมพ์นิยม (พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหม) วัดไชโยวรวิหาร พิมพ์นางพญา พิมพ์ผงสุพรรณ พิมพ์ซุ้มกอ) และทรงพิมพ์อื่นๆ พิมพ์รูปเหมือนต่างๆ ล้วนมีความหมายสื่อให้ทราบถึงพุทธศิลป์ ความดี ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ศาสนา และความศักดิ์สิทธิ์ พิมพ์คมชัดสมส่วน สวยงาม (ส่วนใหญ่เป็นพิมพ์แบบถอดยกสองชิ้นประกบกัน)
    ๒. เนื้อขององค์พระทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ละเอียด แห้งแต่หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ไม่ละลายในน้ำ และน้ำส้มสายชู วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม รวมถึงสีที่เป็นมงคลต่างๆ และที่เรียกกันว่าสีเบญจสิริ
    ๓. การพิจารณา รัก ชาด ผิวด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระจะมีทั้งลงชาดรักและไม่ลงชาดรัก การลงชาดรักสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ หรือรักสีน้ำเงินจากประเทศพม่า ชาดรักพบว่ามีความเก่ามากให้สังเกตว่าสีของรักเหมือนสีของตากุ้ง น้ำเงินจางๆแต่คล้ำ ส่วนใหญ่จะร่อนและลอกออกไป การลอกจะเป็นหย่อมๆไม่ทั่วทั้งองค์พระ มากบ้างน้อยบ้างตามกาลเวลา และมีลักษณะเป็นไปโดยธรรมชาติ
    ๔. การพิจารณา “สีสิริมงคล” ที่นำมาผสมลงในเนื้อพระเป็นสีต่างๆ อันประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง และพระเบญจสิริ อันประกอบด้วย สีขาว เหลือง ดำ เขียว แดง และใสดังแก้วผลึก สีแต่ละสีจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวเอง กล่าวคือมันเป็นเงางาม สีสดใส ไม่ละลายน้ำ น้ำมัน ทนต่อสภาวะธรรมชาติได้ดี ไม่หลุดลอกไม่ติดมือ และที่สำคัญสีต่างๆจะไม่สามารถนำมาผสมกันให้เป็นสีใหม่ได้ดังเช่นแม่สี (ให้พิจารณาจากพระสมเด็จเบญจสิริในองค์พระจะประกอบไปด้วยสีห้าสีเป็นอย่างน้อยและแต่ละสีถึงแม้จะปะปนกันแต่จะไม่ผสมกรมกลืนกัน มีลักษณะของการเรียงตัวตามธรรมชาติอย่างเป็นเอกเทศ)
    ๕. การแตกลายงาขององค์พระจะมีสองประเภท คือ หนึ่งแตกลายงาแบบหยาบ (แบบสังคโลก เหมือนชามสังคโลก) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก
    ๖. ผงทองนพคุณ จะโรยไว้ทั้งด้านหน้า หลัง ไม่บ่งบอกถึงรูปแบบอาจมีมากบ้างน้อยบ้าง สันนิษฐานว่าเป็นไปโดยอัธยาศัยของผู้กดพิมพ์ และพบได้ในทุกพิมพ์
    ๗. ผงแร่รัตนชาติ (รัตนชาติ คือแร่ที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ) พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ และขาว ลักษณะจะเป็นมันวาวแลดูแกร่ง เก่า สัญฐานจะกลมหรือเหลี่ยม ให้สังเกตจะมนไม่มีคม ถูกนำมาย่อยเป็นเม็ดเล็กๆ ขนาดโดยประมาณ .๕ – ๓ มิลลิเมตร เป็นลักษณะของการผสมลงในเนื้อมวลสาร ถ้าหักองค์พระดูจะเห็นผงแร่รัตนชาติผสมอยู่เนื้อใน
    ๘. ด้านหลังขององค์พระมีทั้งเรียบ และไม่เรียบ พิจารณาให้ดีจะพบ เกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ และรอยหนอนด้น เปรียบประดุจดั่งธรรมชาติปั้นแต่ง
    ๙. ลัญจกรและสัญลักษณ์ เช่น พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น
    ๑๐. พิมพ์พระประธานมีลักษณะถูกต้องตามศิลปะโบราณ กล่าวคือ มีพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัด พิมพ์ที่พบที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับพิมพ์พระประธานได้แก่ พิมพ์ทรงเกศบัวตูม ส่วนพระพิมพ์อื่นๆ เช่น พิมพ์ประธาน (พิมพ์ใหญ่) พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงปรกโพ พิมพ์ทรงเกศบัวตูม พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงฐานคู่ พิมพ์ทรงสังฆาฏิ พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร (พระเจ้าไกเซอร์) พิมพ์ทรงฐานเส้นด้าย จะมีพุทธลักษณะ ขนาดเท่ากัน และใกล้เคียงกันกับพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรหม และวัดไชโย (พระพิมพ์นิยมในปัจจุบัน)
    ๑๑. การตัดขอบองค์พระ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยพบว่ามีการตัดขอบข้าง พบเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ลักษณะขอบด้านข้างจะเรียบ สวยงามตามแบบพิมพ์ (พิมพ์ต้นแบบเป็นลักษณะถอดยกเป็นบล็อกสองชิ้นประกบเข้าหากันเป็นส่วนใหญ่)
    ๑๒. คราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)
    ๑๓. พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ที่เรียกกันว่า “พระสมเด็จเจ้ากรมท่า” พ.ศ.๒๔๐๘ วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม และเข้มคล้ายกับเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จบางขุนพรหมแต่จะมีความละเอียดกว่า
    ๑๔. พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ที่เรียกกันว่า “พระสมเด็จกรมท่าและวังหน้า” พ.ศ. ๒๔๑๑ และ พ.ศ.๒๔๒๕ วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม รวมถึงสีที่เป็นสิริมงคลต่างๆ และที่เรียกกันว่าสีเบญจสิริ ดังที่กล่าวมาแล้ว
    ๑๕. ให้จดจำเอาไว้ว่าพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และสมเด็จวังหน้า จะไม่มีการฝังพลอยหลากหลายสี หรือการฝังมุกแกะลายแบบเครื่องโต๊ะรับรองของจีน ให้พิจารณาไว้ว่าไม่ใช่ของแท้ (การฝังพลอยหลากหลายสี หรือการฝังมุกแกะลายแบบเครื่องโต๊ะรับรองของจีน อาจมีการทำในยุคหลังๆ แต่ยังไม่เคยพบเห็นของจริงเพียงแต่พูดตามๆกันมาเท่านั้น)
    ๑๖. ให้จดจำเอาไว้ว่าพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และสมเด็จวังหน้า ส่วนที่มีตราแผ่นดิน มีอักขระเลขยันต์ มีก้างปลา มีคำจารึก เช่น คำว่าสมเด็จโตถวายพระจอมเกล้า รศ.๒๔๑๑ ให้พิจารณาไว้ว่าไม่ใช่ของแท้
    ๑๗. หลักสำคัญประการสุดท้าย พระสมเด็จกรุวัดพระแก้วทั้งสองกรุ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อและวรรณะสีใดก็ตาม จะมีมวลสารที่เห็นภายนอก อาทิ ผงแร่รัตนชาติ ผงทองนพคุณ ผงหินอ่อน ผงแร่เหล็กไหล อยู่รวมกันภายในองค์เดียว หรือมีเฉพาะชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่เป็นหลักเกณฑ์ที่แน่นอนขอให้พิจารณาความเป็นพระแท้จากมวลสารต่างๆเป็นสำคัญ โดยพยายามศึกษาค้นคว้าจากหลักทางวิชาการทั้งทางวิทยาศาสตร์และพระภิกษุผู้ที่ทรงฌานสมาบัตรได้ ที่สำคัญที่สุดต้องหาพระแท้มาศึกษาเป็นแบบอย่างจนเกิดประสบการณ์และความชำนาญ
    ข้อเขียนนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์อันชอบธรรมตามกฎหมายของอาจารย์ไพรพนา ศรีเสน อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ เพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่ต้องขออนุญาต

    อ้างอิง
    ๑ ประวัติเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) จากวิกิพีเดียรสารานุกรมเสรี
    ๒. ประวัติเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
    ๓. ประวัติพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
    ๔. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์)
    ๕. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
    ๖. จากบทความเรื่อง ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จจากไป โดยนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
    ๗. สี่สมเด็จ โดยนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ พิมพ์ที่ แอลซีเพรสส์ ๒๕๒๗
    ๘. ประวัติวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
    ๙. ประวัติความเป็นมาของวังหน้าและวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)จากพระราชนิพนธ์เรื่อง "ตำนานวังหน้า" ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    ๑๐. ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    ๑๑. การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๖
    ๑๒. ฉัพพรรณรังสี จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
    ๑๓. ประวัติช่างสิบหมู่ จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
    ๑๔. พระราชลัญจกร จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
    ๑๕. พระคัมภีร์และพระสูตรคาถา จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
    ๑๖. จากหนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต เขียนและจัดพิมพ์โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน พิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ๑ มีนาคม ๒๕๒๗
    ๑๗. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง นายธงชัย พลอยช่าง (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ช่างปั้นพระปฏิมากร บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
    ๑๘. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง พระภิกษุวงษ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย)
    วัดดงมูลเหล็ก กรุงเทพฯ (อายุ ๘๕ ปี ๕๐ พรรษา)
    การศึกษาค้นคว้า
    - จากการศึกษาค้นคว้า การวัดอายุวัตถุโบราณตามหลักวิทยาศาสตร์ การตรวจด้วยวิธีทรงฌานสมาบัตร ศึกษาพิมพ์ทรง มวลสาร อย่างละเอียดจากองค์พระสมเด็จกรุวัดพระแก้วที่ครอบครอง


    ป้าย : พระสมเด็จวัดพระแก้ว
    Dictionary : พระสมเด็จวัดพระแก้ว

    สิ่งสำคัญของบทความนี้ คือการศึกษาพระสมเด็จที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยอ่านมา ต้องขอกราบขอบพระคุณ ท่าน
    อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน ที่กรุณาให้ความรู้ความเข้าใจ แก่ผู้ที่ยังต้องการศึกษาพระสมเด็จในรุ่นต่อๆไป

    อนุโมทนา




    ข้อมูลจาก :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2010
  6. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    <fieldset class="fieldset"><legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG]
    </fieldset>
    ผมว่าพิมพ์ของพระยังไม่ถูกต้องครับ ส่วนมวลสารผมว่าถ้าแท้จะเป็นยุคหลัง อาจเป็นพระเกจิท่านใดสร้างไว้ก้เป็นได้
     
  7. จารุ

    จารุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    23,747
    ค่าพลัง:
    +236,438
    ขอรบกวนท่านพี่ทั้งสองท่านด้วยครับ องค์นี้ดีไหมครับ 555+
    ถ้าไม่ตอบจะยึดเนื้อกรรมการที่พี่วาซาบิ จองไว้ 2 องค์ครับ อิอิ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. จารุ

    จารุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    23,747
    ค่าพลัง:
    +236,438
    มาแซวเฉย ๆ ครับ อย่าเครียด ฮ่า ๆ ๆ:cool:
     
  9. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    [​IMG] [​IMG]

    เท่าที่ทราบมา พระที่มีกำไลข้อพระกร กำไลพระบาท หรือพิมพ์อลังการมักจะเป็นพระที่กษัตริย์สร้าง แต่ผู้สะสมมักจะมองข้าม เพราะเซียนไม่นิยม ส่วนข้อมูลนั้นคงต้องสืบค้นอีกที

    อนุโมทนากับคุณทรงกลด
    ที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นตามที่เขียนมา ถือเป็นความรู้ดีครับ
     
  10. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915

    เนื้อทองคำนี้สวยถูกใจกรรมการมาก..........ก เห็นแล้วอยากได้จังครับคุณจารุ ถ้ามีสวยแบบนี้ ขอเนื้อกรรมการแบบไม่ปัดผิวเลยนะครับ เน้นเบอร์ 35, 55 จะเป็นพระคุณอย่างสุดสุด(ยอด)เลย
    (kiss)(kiss)(kiss) 5555555555+++
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2010
  11. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    [​IMG] [​IMG]

    องค์นี้แท้ครับ ผมดูจากตำหนิพิมพ์ และเนื้อพระของท่าน รับรองไม่พลาด
     
  12. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915

    คุณพ่อเลี้ยงครับ คุณเริ่มไม่ธรรมดาเข้าทุกวันแล้วนะครับ โพสต์ทีไร โดนใจเจ้าของกระทู้ทุกที 555:cool:
     
  13. pra.sert.pig

    pra.sert.pig เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +174
    ขอบคุณครับ

    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลที่ให้มา วันหน้าจะรบกวนอีก ขอบคุณล่วงหน้าคร๊าบผม จำกันได้บ่
     
  14. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    หากผมนำพระไปอาบคาร์บอน 14 มา ผมมีคำถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไร?ครับ

    เรื่องการอาบคาร์บอนในวงการของนักสะสมของเก่า กลายเป็นปัญหาที่นักโบราณคดี และนักสะสมของเก่า ในโลกใบนี้เคยเจอมาแล้วนะครับ ในกรณีที่บางประเทศอ้างว่าได้จัดส่งวัตถุโบราณคืนประเทศต้นกำเนิด แท้ที่จริงสิ่งที่ส่งไปอาจเป็นของปลอมก็เป็นได้ เนื่องจากวิทยาศาสตร์ได้ก้าวหน้า จนล้ำ้กาลเวลาไปเสียแล้วครับ
     
  15. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    คุณKOM ลองอ่านบาทความพระสมเด็จวังหน้าดูนะครับ องค์นี้เข้าตาครับ
     
  16. pra.sert.pig

    pra.sert.pig เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +174
    ขอโทษทีครับ ที่มาไม่บอกกล่าว ขอเป็นแฟนคลับ กระทู้นี้ด้วยคน นะครับ
    คุณ วาซาบิ ซัง แฮ่ะๆๆ
     
  17. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    <fieldset class="fieldset"><legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG]
    </fieldset>

    ดูยากมาก เนื่องจากภาพที่ส่งมาขาดรายละเอียดครับ
     
  18. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915

    เกาะบุญคุณxlmen ไปอีกคน

    อนุโมทนา
     
  19. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915

    ช่วงนี้ความแหลมคมเริ่มลดลง เพราะต้องอาศัยแว่นตาเข้าช่วย ไม่งั้ยก็มีสิทธิ์เสียท่าได้เช่นกัน
     
  20. pra.sert.pig

    pra.sert.pig เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +174
    ใครมีรูปของพระสมเด็จวังหน้า บ้าง ขอบคุณครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...