มีท่านใดอธิบายได้บ้างครับ 'นิพพาน' กับ 'พระนิพพาน'

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ustharos, 13 กรกฎาคม 2010.

  1. ustharos

    ustharos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +70
    เคยอ่าน เคยได้ยิน คำว่า " นิพพาน" กับ "พระนิพพาน"
    แตกต่าง หรือ เหมือนกันยังไง ???

    วานท่านผู้รู้อธิบายครับ
     
  2. หลานศิษย์

    หลานศิษย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2008
    โพสต์:
    191
    ค่าพลัง:
    +560
    เหมือนกันโดยความหมาย
    เหมือนคำว่า สงฆ์ และ พระสงฆ์
     
  3. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านอธิบายไว้ว่า

    นิพพาน คือ อายตะนะ อันหนึ่ง ซึ่งดึงดูดพระนิพพาน นัยว่าเป็นสถานที่ก็ได้
    เหมือนอายตะนะ หู ดึงดูดเสียง ตาดึงดูดรูป เป็นต้น
    พระนิพพาน คือ ผู้ที่เข้าสู่อายะตนะนิพพาน
     
  4. ธรรมทัช

    ธรรมทัช Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +71
    ลอกมาให้ศึกษากันครับ ตรองดูดีๆ ผมว่าท่านที่มีนิสัยแห่งนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิเคราะห์วิจัย มักจะชอบบทความหรือหนังสือตำราของหลวงป๋าท่าน เพราะสืบค้นมาทัง3นัยเช่นเดียวกันคือ 1.อ้างอิงจากพระไตรปิฎก ไม่ออกนอกตะกร้า 2.ตำรา+ผล จากพระอรรถกถาจารย์หรือพระบูรพาจารย์ 3.ผลจากการปฏิบัติ ​




    พระภาวนาวิสุทธิคุณ ปฐมเจ้าอาวาส
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ​

    [​IMG]


    พระนิพพานใน ความหมายอันเป็นที่เข้าใจธรรมดาทั่วไป ในหมู่พุทธศาสนิกชน ผู้สนใจการศึกษาปฏิบัติธรรมว่า หมายถึงการดับกิเลสเหตุแห่งทุกข์ กองทุกข์ กองทุกข์ก็ดับ พระนิพพานเป็นโลกุตตรธรรม เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ไม่ว่ามนุษย์หรืออมนุษย์ จึงต่างปรารถนา นิพพานทั้งสิ้น แต่จะรู้จักนิพพานเพียงใดนั้น มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะว่าสัตว์โลกใดๆ ก็ตาม ย่อมไม่ปรารถนาทุกข์ ย่อมปรารถนา แต่สุขอันถาวรด้วยกันทั้งสิ้น แต่สภาวะที่ตนปรารถนาอันยั่งยืนนั้น ใครจะรู้จักดีแค่ไหนอย่างไรนั้น มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ในความหมาย​


    โดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วได้นำออกเผยแผ่ แต่ความเข้าใจในพระนิพพาน ก็อาจ จะเป็นที่เข้าใจแตกต่างกันไปบ้าง จะเรียกว่าผิดหรือเรียกว่าว่าถูกไม่ได้ เพราะว่าผู้ที่กำลังคิดว่า อะไรจะผิดอะไรจะถูก คือผู้ที่ยังไม่ได้พระนิพพาน อย่างแท้จริง ถ้าได้แล้วไม่ต้องคิด จะรู้ได้เลยว่า อะไรผิดอะไรถูก อาตมาก็ตกอยู่ที่นั่งนั่นเช่นกัน แต่ด้วยคำแนะนำสั่งสอนของ ครูอาจารย์ด้วย การศึกษา ในหลักปริยัติ ประกอบด้วยประสบการณ์ จากธรรมปฏิบัติ ซึ่งอาตมภาพได้รับมาแต่เพียงเล็กน้อย แต่อาศัยประสบการณ์จากหลายๆ ท่าน มารวมกันเข้าแล้ว จึงนำมาสู่ท่านทั้งหลาย


    โดยจะแยกแสดงถึงความหมายของพระนิพพาน โดย 3 นัย ซึ่งบางท่านอาจไม่เคยได้ยิน เพราะเคยได้ยินแต่นัยเดียว คือสภาวะของ พระนิพพาน แต่อาตมาจะนำมากล่าวทั้งสภาวะนิพพาน 1 ผู้ทรงสภาวะนิพพาน 1 และอายตนะนิพพาน ซึ่งเป็นที่สถิตของพระนิพพานอีก 1 แปลว่าจะพูดกัน 3 นัย ซึ่งไม่มีความแตกต่างใดๆ รวมแล้วก็เป็นสภาวะของนิพพานทั้งหมด แต่แจกแจงให้เห็น ที่เป็นสภาวะล้วนๆ กับผู้ทรงสภาวะ และที่สถิตอยู่ของผู้ทรงสภาวะนั้น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีอยู่ในพระไตรปิฎก

    สภาวะนิพพาน จะแบ่งประเด็นที่พูดเป็น 4 ประเด็นสำคัญ ตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ และเชื่อถือได้ โดยเฉพาะพระไตรปิฎก และผู้อธิบาย พระไตรปิฎก ดังเช่น พระพุทธโฆษาจารย์ ที่เราถือว่าเป็นพระอรหันต์ นั่นคือพระอรรถกถาจารย์

    สภาวะนิพพานในประเด็นที่ 1 เป็นสภาวะที่ว่าคือ ไม่มีหรือพ้นไปแล้ว หรือปราศจากแล้วจากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นเหตุ แห่งทุกข์ทั้งหลายนี้ ตรงกับคำว่า "สุญฺญํ" หลายท่านอาจเคยได้ยินว่า "สุญฺญตา" บ้าง หรือ "นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ" บ้าง มีเอกสารที่แสดงไว้อย่างชัดเจน อยู่ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต มหาวรวรรค เวรัญชสูตร ว่าด้วยพระพุทธองค์แก้ข้อสงสัยของเวรัญชพราหมณ์ ข้อที่ 101 และในอรรถกถาธรรมบทก็ได้อธิบายไว้ว่า

    "สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ" ดังนี้ เพราะว่าบทเหล่านั้น แม้ทั้ง 3 ก็เป็นชื่อแห่งพระนิพพานนั่นแหละ จริงอยู่ พระนิพพานเป็นธรรมชาติชื่อว่าว่าง เพราะไม่มีราคะ โทสะ โมหะ และพ้นแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระนิพพานนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สุญญตวิโมกข์ จากบาลีพุทธภาษิต และอรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้คำว่า นิพพานว่างอย่างยิ่ง นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ มีอยู่ในคัมภีร์มหายาน แต่ในคัมภีร์ เถรวาท จะพูดเกี่ยวกับ สุญญตวิโมกข์ แต่มีความหมายโดยนัยเดียวกันคือว่าง ว่างอย่างยิ่งบ้าง "ว่าง" นั้นว่างจากกิเลส มี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ว่างจาก อัตตานุทิฏฐิ หรืออัตตาวาทุปาทาน คือความหลงผิดไปยึดมั่นถือมั่นในสังขาร มีขันธ์ 5 เป็นต้น ว่าเป็นอัตตา กล่าวโดยรวบยอดคือ ว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ไม่ใช่ว่างหมายถึง "ไม่มี" เอกสารหลักฐานนั้น แสดงว่าว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน

    สภาวนิพพานในประเด็นที่ 2 จึงหมายถึง นิพพานนั้น มีแต่สภาวะของนิพพาน ไม่ใช่สภาวะของขันธ์ 5 ซึ่งเป็นสังขารธรรม เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น แล้ว นิพพานก็ย่อมมีอยู่ และเมื่อมีอยู่พระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ว่า นิพพานเป็นธรรมสาระ คือ เป็นแก่นเป็นสาร และมีสภาพเที่ยง เป็นสภาวะที่เที่ยง แท้ เพราะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแปรผันไป ตามเหตุตามปัจจัย เป็นสภาวะประเสริฐสุด คือไม่ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์

    สภาวะนิพพานในประเด็นที่ 3 คือ ตาที่เป็นธรรมชาติ คงที่ อาตมาจะลองถามพระมหาสุเนตร ท่านเป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค ใคร่จะเรียน ถามท่านว่า เมื่อพระนิพพานเป็นสภาพว่างจากกิเลส เป็นธรรมสาระ เป็นสภาพเที่ยง เป็นอนัตตาได้ไหม? คือมิใช่สภาพที่เป็นตัวตนได้ไหม

    พระมหาสุเนตร สุนีโต ตอบว่า ไม่ได้ (คือไม่เป็นอนัตตา) จะรวมพระนิพพานเป็น สัพเพธัมมา อนัตตา เหมือนธรรมอย่างอื่นๆ ได้อย่างไร

    สภาวะนิพพานในประเด็นที่ 4 คือ เมื่อนิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ ก็กลับเป็นธรรมชาติที่เป็นบรมสุข นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ

    ขอจงมีปัญญา ได้ดวงตาเห็นธรรม ทุกท่าน...

    หรือลองหาอ่านดูได้ครับ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม : สำนักปฏิบัติธรรมและโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ประจำจังหว<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...