อยากทราบว่าในตัวคนมีเทพฯ คุ้มครองมีลักษณะแบบไหน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย nanthiya1, 11 สิงหาคม 2010.

  1. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    เทวตานุสติ คือการพิจรณา ว่าทําอย่างไรหนอ ถึงจะได้ไปเกิดเป็นเทวดา
    เทวดาองค์นี้ มีลักษณะอย่างนี้ ด้วยผลบุญใดหนอ
    เทวดาองค์นี้เครื่องประดับสวยงาม มีรัสมีส่องสว่างไกลขนาดนี้ เป็นผลจากบุญอะไรหนอ
    เทวดาองค์นี้มีวิมานใหญ่โต มีบริวารมากมาย เกิดจากบุญใดหนอ
    นั่งคิดเล่นๆแบบนี้ เป็นเทวตานุสติ เป็นกรรมฐาน 40 อย่างหนึ่ง ต่อยอดสู่วิปัสนากรรมฐานได้ ยิ่งถ้าคิดแล้วปฏิบัติตามนี่อานิสงค์ ยิ่งมาก ได้ทั้ง มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ


    ถ้าเทวดาองค์นี้มีฤทธิ์มากน่านับถือ น่าบูชา น่ากราบไว้ แบบนี้เค้าเรียกเทวนิยม ไม่มีผลกับอนาคตในวัฏฏะสงสาร ยิ่งคิดยิ่งไม่ทํางานการ ละการปฏิบัติ ไหว้ขอพรอย่างเดียว
    ยากจน อบาย ไม่ได้ไปนิพพาน
    อย่าว่าแต่คุณตุ๋ยเลยครับ ผมก็ขําตัวเองนะ
    จากนิทานก็มาธรรมะกันจนได้ กลมกลืนจริงๆเลย เนอะ
     
  2. jangira

    jangira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +784
    ก็ไอ้เพราะความสงสัยไปสงสัยมาเลยมาเจอะ กับอารมณ์ที่ แปลกช่วงต้นปีที่ไปคุยกับเทวดาในสมาธิ มันจะหลับก็ไม่ใช่จะตื่นก็ไม่ เชิงอารมณ์อย่างไรอธิบายไม่ถูกเลย เวลาไปคุยกับท่าน ภาพท่านไม่เห็น ท่านก็จะบอกให้ตุ๋ยทำสมาธิทำจิตนิ่งๆ เอาสติและความรู้สึกไว้กับตัว ตุ๋ยก็ทำตามท่านว่า พอทำๆ ไปแต่จิตมันชอบไปเที่ยวในความรู้สึก ตุ๋ยว่าตุ๋ยนั่งคุยอยู่กับเทวดาพอทำสมาธิจิตกับไปคุยกับแม่ที่เมื่องไทยโน้นมันไวมากเลย ไปคุยเรื่องบวชชีพราฌ พอสักพักท่านเทวดาเรียกตุ๋ย เธอยังอยู่กับเราหรือเปล่าเนี่ย ตุ๋ยได้ยินท่านเรียก ก็ตอบรับว่ายังอยู่ ท่านก็จะถามไปเที่ยวไหนมา ตุ๋ยบอกว่าไปคุยกับแม่ที่เมื่องไทยมา ท่านก็ว่าโอโฮ เธอนั่งคุยอยู่กับเราพอเราให้เธอเข้าสมาธิ เธอหนีไปเที่ยวถึงเมืองไทยได้ เธอนี่สุดยอดจริงๆ ถ้าเธอทำสมาธิเก่งๆ คงจะเที่ยวน่าดู ตุ๋ยเลยถามว่าท่านรู้ได้อย่างไรว่าตุ๋ยไปคุยกับแม่ที่เมื่องไทย ท่านบอกทำไมเราจะไม่รู้ก็ดูที่ดวงจิตเธอ รัศมีสว่างแวบๆ อยู่อย่างนั้นเราว่าเธอกำลังเกิดปิติแน่เลยเราก็เลยต้องเรียกกลับ เวลาตุ๋ยไปคุยอยู่กับท่าน ท่านให้ทำสมาธิ ท่านก็ต้องคอยตามดูดวงจิตของตุ๋ยด้วย ตุ๋ยถึงว่ามันเป็นอารมณ์ที่แปลกมากๆ เลยคะ
     
  3. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    คุณตุ๋ยขา ของที่ศิลามณีส่งไปมันตีกลับมาละ ยังไงส่งที่อยู่ และ เบอร์บ้านมาให้ทางเมลย์นะคะ เดี๋ยวส่งไปใหม่คะ
     
  4. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    คิกๆๆ ศิลามณี ละนับถือคุณตุ๋ยจริงๆคะ ทั้งคุยเก่งละเที่ยวเก่งด้วย. ..คุณตุ๋ยฝึกเก่งเลยนะ ไปเที่ยวไหนมา จะได้เอามาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

     
  5. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    คำว่า " เจริญในธรรม " นี่จะอธิบายยังไง ให้ผู้อื่นที่เขายังไม่เข้าใจ ... เข้าใจความหมายแบบไม่งง ไม่สับสนยังไงดี....ละคะ ... ถ้า ศิลามณี จะบอกเขาว่า การเจริญในธรรม ...ธรรมะ คือ ธรรมชาติ การเจริญในธรรม คือ การดำรงชีพอย่างไรในโลกใบนี้ ให้มีความปกติสุขโดยที่ไม่ก่อเวร และ สร้างกรรมชั่ว กับตนเอง และ ผู้อื่น.. อืมรณ์.....หยั่งงี้พอจะใช่ได้..และ เข้าใจไหมคะ

    ..เพื่อนๆท่านใดที่สามารถ อธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ กรุณาแนะหน่อยได้ไหมคะ
     
  6. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    นิทานนะครับ อ่านเป็นเทวตานุสติ อย่าอ่านเป็นเทวนิยม

    เล่าโดยตาอิน ถามโดยตาจันทร์ ผมผ่านมาเลยแอบฟังมาเล่าให้ฟัง
    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
    โดยปกติปุถุชน มนุษย์นั้น หลังจากละสังขารไปแล้ว จะมีคติทางเทวโลก เพียง สวรรค์ภูมิ 1 จาตุมมหาราช (ที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้ง 4)
    จาตุ หมายถึง สี่ มหา+ราช หมายถึงปกครองอย่างยิ่ง
    พวกเรานะครับ ถ้าศิลครบ บุญมี จะไปสวรรค์ชั้นนี้กัน
    ท้าวมหาราชทั้ง 4 ที่ถูกคัดเลือกจะต้องเป็นวรรณะกษัตริย์ เป็นพุทธมามกะ เท่านั้นไม่ใช่วิถีสามัญชน

    สวรรค์ชั้นที่ 2 ดาวดึง (เทวสภา พระอินทร์)
    สวรรค์ชั้นนี้มีภพภูมิที่สูงกว่าข้างต้น แต่ยังเป็นที่อยู่ของ สามัญชนที่ ศีลบริบูรณ์กําลังบุญสั่งสมมีมากกว่ากว่าในชั้นแรก และถึงพร้อมไตรสรณะคมณ์ เทวดาชั้นนี้ส่วนมากจะเป็นสามัญชนระดับ โสดาบัน ถึงพร้อมด้วยไตรสรณ์
    พระอินทร์ จะถูกลิขิตจากวรรณะกษัตริย์ และเป็นพุทธมามกะ มีวิถีดวงตาเห็นธรรม ไม่ใช่วิถีสามัญชน

    สวรรค์ชั้นที่ 3 ยามา (พระสยามเทวาธิราช)
    สวรรค์ชั้นภูมินี้ เป็นที่อยู่ วรรณะกษัตริย์ และเชื้อพระบรมวงศานุวงศ์ นับไล่ไม่เกินรุ่นหลาน กษัตริย์ และไม่เกินรุ่นปู่กษัตริย์ 7 ชั้น คือ ปู่กษัตริย์ พ่อกษัตริย์ ภรรยาหรือสามีกษัตริย์ ลูกกษัตริย์ หลานกษัตริย์
    พระสยามเทวาธิราช จะมาจากพระมหากษัตริย์ที่ทํานุบํารุงพระศาสนา และทรงอํานาจยิ่ง

    สวรรค์ชั้นที่ 4 ดุสิต (พระศรีอาริยะเมตไตย)
    สวรรค์ชั้นภูมินี้ จะมีเพียง หน่อเนื้อพุทธางกูรเท่านั้น เช่น พุทธบิดา พุทธมารดา และพระโพธิสัตย์เจ้า
    ท้าวสันดุสิต จะมาจาก พระโพธิสัตย์ที่บารมีเต็มครบ 30 และจะเป็นพระพุทธเจ้า องค์ต่อไปในอนาคต

    สวรรค์ชั้นที่ 5 นิมมานรดี
    สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่อยู่ของ พระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ แต่ไม่ได้สําเร็จ มรรคผล และไม่ได้สําเร็จสมาบัติ และถึงแม้จะถึงสมาบัติแต่ขณะมรณะภาพ ไม่สามารถดํารงสมาบัติไว้ในเวลาได้

    สวรรค์ชั้นที่ 6 ปรนิมิตวัตสวัสดี
    เทวภูมิชั้นที่สูงสุด เป็นที่อยู่ของ พระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ไม่ได้สําเร็จสมาบัติ และถึงแม้จะถึงสมาบัติแต่ขณะมรณะภาพ ไม่สามารถดํารงสมาบัติไว้ในเวลาได้ แต่สําเร็จคุณธรรมโลกุตร มี โสดาบัน และ สกิทาคามี เป็นต้น

    เทวภูมิเป็นเพียงจุดพักเท่านั้น ความเป็นอยู่จะอยู่ได้ด้วยกําลังบุญ อายุยืนแต่มีอายุขัย เมื่อหมดอายุขัย ก็ต้อง จุติ(เคลื่อน)บนโลกมนุษย์ ความเป็นเทวดาจะเสื่อมลงด้วยอาการ
    1.สิ้นอายุขัย แบบนี้เรียก กฏธรรมชาติ
    2.สิ้นบุญ แบบนี้เรียก กฏของกรรม
    3.อวตาร ข้ามส่วนนี้ไปนะครับ
    อาการก่อนจุติของเทวดา คือตะมีรัสมี อ่อนลง

    เทวดาพวกนี้จะกินของเก่าเท่านั้น คือเสวยผลความดีที่ทํามาแต่กาลก่อน และเทวดาจะไม่สามารถจุติได้ในภพที่สูงกว่าภพเดิมที่เป็น และแทบจะทั้งหมดจะถือจุติบนโลกมนูษย์ ในฐานะมนุษย์

    สาเหตุที่เทวดาไม่สามารถดัรงตนได้เป็นนิรันดร์ ก้เพราะแรงบุญไม่สามารถเติมบุญเดิมได้เป็นเหมือนนําที่พล่อง การให้ทานของเทวดา ก็อานิสงค์น้อยแม้จะเคยได้ยินมาบ้างเรื่องเทวดาใส่บาตร แต่จะเป็นทานที่ให้กับอริยะบุคคลก็ตาม
    ก็เพราะว่า ทานของเทวดา สําเร็จได้ด้วยการเสกสรรบริกรรมในขณะที่มนุษย์จะต้องจัดหา จัดซื้อ จัดทํา เป็นต้น

    เหตุที่เทวดาไม่สามารถจุติไปภพภูมิที่สูงกว่า เพราะ กําลังบุญที่เสวยอยู่เป็นบุญระดับสูงแล้ว การจะยกภูมิตนให้สูงขึ้นต้องใช้ การยกระดับจิต เรียกว่ากรรมฐาน
    เทวดา ขาดธาตุจําเป็นทั้ง 4 คือ ดิน นํา ลม ไฟ ในการกําหนดกรรมฐาน
    และร่างกาย ไม่ได้ดํารงครบถ้วน เพียงพอที่จะทําให้เกิด เวทนา ที่จะทําให้เกิดวิปัสนา พิจรณาตามได้ทัน เพราะไม่ได้รับความทุกข์กับร่างกาย และเห็น สภาวะความไม่เที่ยงของร่างกายได้ยาก

    พรหมโลก มี 20 ชั้นแบ่งเป็น รูปพรหม 16 และอรูปพรหม 4
    ในรูปพรหม 16 แบ่งเป็นโลกียพรหม 11 และ สุทธาวาสพรหม 5
    โลกียพรหม
    แบ่งเป็น ผู้สําเร็จสมาบัติปฐมฌาน 3 ชั้น สมาบัติ หมายถึง รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4
    แบ่งเป็น ผู้สําเร็จสมาบัติทุติยฌาน 3 ชั้น
    แบ่งเป็น ผู้สําเร็จสมาบัติตติยฌาน 3 ชั้น
    แบ่งเป็น ผู้สําเร็จสมาบัติจตุถฌาน 2 ชั้น
    พรหมโลก ในระดับ 9 ชั้นแรกสามารถถูกทําลายลงได้ด้วย ลาภะ โทสะ โมหะ และ อยู่ในระนาบเดียวกัน

    พรหมโลก 11 ข้างต้น เสวยกําลังสมาบัติ มีเสื่อมลงได้ เช่นเดียวกับเทวดา และเหตุผลเช่นเดียวกับเทวดา

    สุทธาวาสพรหม สุทธิ หมายถึงบริสุทธิ์ + อาวาส หมายถึงที่อยู่
    สุทธาวาส เป็นที่อยู่ของ พระอนาคามี(อนา อนะ หมายถึง ไม่ + คาม หมายถึง ที่อยู่ ความหมายผู้ไม่ครองเรือน หรืออาจจะหมายถึง ผู้ไม่อาวรณ์ในร่างกายก็ได้ ร่างกาย ก็ หมายถึงเรือนอยู่ได้) เท่านั้น และจะสามารถพิจรณาเข้าถึงนิพพานได้เมื่อกําลังปัญญาเต็มได้ในชั้นนี้

    อรูปพรหม
    ว่ากันว่าเป็นนิพพานพรหม เป็นปรมัตมัน (ปรมัต หมายถึง บรม ใหญ่ ยิ่ง+ อาตมัน เป็นเอง เกิดเอง ไม่ใช่พุทธ)ใกล้เคียงสภาวะนิพพานของพุทธศาสนา พ้นกฏแห่งกรรม และพ้นกฏธรรมชาติ

    ตอบให้จากนิทานนะครับ
    เทวดาอยู่ด้วยกําลังบุญ
    ไปไหนก็เรื่องของเขาละครับ สําคัญที่ว่าคุณละว่าจะไปไหน

    อันนี้แถมให้ เรียกว่าคาถา หิริโอตัปปะ เทวดาชอบนัก ว่ากันว่าต่ออายุเทวดาได้
    หิริโอตัปปะสัมปันนา สุกกะธัมมะสะมาหิตา
    สันโต สัปปุริสา โลเก เทวะธัมมาติ วุจจะเร
    สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติปาทา อะวัญจะนา
    มาตาปิตา จะนิกขันตา ชาตะ เวทะ ปะฏิกกะมะสุโขสุโข พุทธานัง อุปปาโท สุขา สัทธัมมะ เทสะนา
    สุขา สังฆัสสะ สามัคคี สามัคคานัง ตะโป สุโข
    ขัตติโย เสฏโฐ ชะเนตัสะมิง เย โคตะปะติฌายิโน
    วิชชาจะระณะสัมปันโน โส เสฏโฐ เทวะมะนุสเส
    ทิวา ตะปะติ อาทิจโจ รัตติมาภาติ จันทิมา
    สันนัทโท ขัตติโย ตะปะติ ฌายี ตะปะติพราหมะโณ
    อะถะ สัพพะมะโหรัตตัง พุทโธ ตะปะติ เตชะสาฯ

    อะโรคะยา ปะระมาลาภา สันตุฏฐีปะระมังธะนัง
    วิสสาสาปะระมาญาตี นิพพานัง ปะระมัง สุขังฯ
     
  7. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    แก้ไข้คติเดิมนะครับ พร้อมแหล่งข้อมูล
    เนื่องจากเมื่อคืนผมได้โพสเรื่องเทวดารักษาบ้านเมืองของไทยในคติเดิม
    และเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ผมได้โพสกระทู้ เรื่อง ก.ศ.ร.กุหลาบ

    ซึ่งคุณ กิเลน ประลองเชิง ไทยรัฐ ได้รวบรวมและสรุปเนื้อหาให้ เพียงข้ามวันทั้ง 2 เรื่อง ในคอลั่มเดียวกันเชาวันนี้ ขอบพระคุณครับ
    ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม ชักธงรบ
    ราชพงศาวดารและคําให้การขุนหลวงหาวัดประดู่ เรียกว่า พระซื่อเมือง ไม่ใช่เสื้อเมือง
    พระซื่อเมือง พระ เสื้อเมือง คือพระพุทธจักร ที่มีชื่อว่าพระไตรปิฎก พระด้วยพระพุทธศาสนา คือ คําสอนของพระพุทธเจ้า

    พระทรงเมือง คือพระราชอาณาจักร คือความปกครองเขตแดนที่มีชื่อว่า พระราชกําหนดบทพระอัยการ บางทีก็เรียกว่าราชสาสน์ ตกลงเป็นคําไทยๆแปลว่ากฎหมายนั่นแหละ

    พระหลักเมือง คือ เสวกามามาตย์ราชบริพาร สําหรับพิพากษาตราสินอรรถคดีของทวยราษฎร แลพวกที่คนแก่เรียนเรียกว่าเสนาบดี มุขมนตรี คนหนุ่มเรียกว่า รัฐบาล หรือรัฐมนตรี แลองคมนตรี

    พระกาลเมือง คือ จัตุรงคเสนามาตย์ ตรงกับที่เข้าใจกันว่า ช้าง ม้า เกวียน ระแทะ และพลราย


    สิ่งทั้งสี่สรุปรวมว่าจัตุเทวาภิบาล ถือว่าเป็นกําลังวังชาของบ้านเมือง คล้ายกับจัตุภูติ หรือผีสี่ตนที่อยู่ในกายมนุษย์ตามคัมภีร์ของพราหมณ์ฮินดูโบราณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2010
  8. jangira

    jangira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +784
    ของไม่ถึงหรือคะ คุณ ศิลามณี เอางี้ อย่าเพิ่งส่งตอนนี้รอให้ตุ๋ยกลับเมืองไทยก่อน เพราะที่บ้านจะไม่ค่อนมีใครอยู่ มีแม่อยู่แต่แกก็แก่แล้วส่วนน้องชายก็ออกไปทำงานแต่เช้ากว่าจะกลับก็ สองทุ่มโน้นเรื่องเบอร์โทรที่บ้าน ตุ๋ยโทรไปก็ไม่ค่อยมีคนมารับ แต่ไม่เป็นไรเดี๋ยวตุ๋ยจะให้ที่อยู่ใหม่พร้อมเบอร์โทรที่บ้าน เอาใว้ให้ตุ๋ยกลับเมืองไทยก่อนแล้วกันตุ๋ยใกล้กลับเมืองไทยแล้วถ้า คุณ จะส่งก็ส่งประมาท สักวันที่
    1 พ ย เพราะเวลานั้นตุ๋ยอยู่เมืองไทยคะ แล้วตุ๋ยจะโทรไปหาและบอกว่าได้รับหรือเปล่า เอาตามนี้นะคะ
     
  9. jangira

    jangira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +784
    ที่ตุ๋ยคุณเก่งก็เพราะมันมีเหตุคะ ที่คุยๆมาเนี่ยประสพมาด้วยตัวเองทั้งนั้น ประสพการณ์ ทางสมาธิเสียส่วนใหญ่ ตุ๋ยเชื่อว่าจะต้องมีคนเจอประสพการณ์แบบตุ๋ยแต่เขาอาจไม่อยากมาเล่าให้ฟังเท่านั้นเอง และมันก็มีเรื่องเยอะ อ่านๆ กันไป คิดว่าเป็นนิทาน อย่างคุณ อาภากร ว่าก็แล้วกัน

    และนี่ก็จะเอามาเล่าให้ฟังอีกกับไอ้ อารมณ์แปลกๆ ที่พูดไปแล้วตามข้างบน อีกช่วงที่ไปคุยกับเทวดาได้ท่านจะ ชวนไปคุยกับท่านแทบทุกวัน คือทุกเช้ามืดนั้นเอง มีเช้ามืดวันหนึ่งไปคุยกับท่านมันจะมีภาพท่านมาคุยด้วย คือเห็นท่านคือเรากำหนดจิตดูท่านถ้าจิตเราสะอาดและนิ่ง ภาพที่เรากำหนดดูท่านจะชัดมาก แต่บางครั้งคุยไปๆ ภาพท่านก็หาย พอภาพท่านหาย ตุ๋ยก็จะถามท่านว่าภาพท่านหายไปไหน ท่านก็จะตอบมาว่า กำหนดจิตนิ่งๆ เอาสติและความรู้สึกไว้ที่เราพอตุ๋ยทำตามท่านภาพท่านก็จะกลับมา พอคุยไปได้สักพักก็หายไปอีกมันเป็นอยู่อย่างนี้ ถ้าภาพท่านหายการพูดคุยก็เหมือนท่านอยู่ไกลมาก มันเป็นอารมณ์ที่แปลก

    มีครั้งหนึ่งไปคุยกับท่าน คุยไปๆ ภาพท่านหาย ท่านก็บอกให้ทำสมาธิเอาสติและความรู้สึกไว้กับท่าน และท่านให้กำหนดจิตนิ่งๆ ตุ๋ยก็ทำตามท่านว่า พอกำหนดจิต นิ่งมันไปอีกแล้วคุณ ศิลามณี มันไปเที่ยว ตุ๋ยไม่ได้ตั้งใจจะไปมันไปของมันเอง แวบเดี๋ยวเองไวมาก ตุ๋ยไปยืนคุยอยู่กับอาที่ตายไปแล้วเกื่อบ 5 ปีพอเห็นอาตุ๋ยรีบอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้ทันที่ มันเป็นไปโดยอัตโนมัติ เห็นอานั่งไหว้ตุ๋ย เสื้อผ้าไม่มีใส่นุ้งผ้าขาวม้าผืนเดียว น่าสงสารมากพออาอนุโมทนาบุญกับตุ๋ย ตุ๋ยเห็นมีแสงวาบๆ เข้าไปในตัวอาแลว้ตุ๋ยก็ถามอาว่า อาจะฝากอะไรถึงอาผู้หญิงบาง อาก็พูดว่า บอกอาผู้หญิงด้วยไม่ต้องห่วงอา ดูแลและเลี้ยงลูกให้ดีเถอะ พอตุ๋ยจะพูดต่อ เทวดาก็เรียกตุ๋ยกลับอีกแล้ว ท่านเรียกว่าทำอะไรนะไปอุทิศส่วนกุศลให้ใครอยู่ พอท่านเรียกตุ๋ยก็เลยต้องกลับแล้วไปคุยกับท่าน อาของตุ๋ยเอง ท่านเลยพูดว่าเขากำลังลำบากนะ ตุ๋ยก็แปลใจจึงย้อนถามว่า ทำไม่ลำบากละ พวกลูกๆก็ทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้นี่ เขาตกนรกอยู่เขายังไม่ได้รับนะ ตุ๋ยเลยถามต่อทำไมเป็นแบบนั้นละ ท่านเลยพูดว่า ช่วงที่เขาจะตายจิตของเขาเศร้าหมองเขาก็เลยต้องไปที่ไม่ดี สำหรับอาคนนี้ตุ๋ยไม่ได้สนิดเท่าไร และไม่เคยเจอะเจอมาต้องนานแล้ว เขาเป็นอำมพาด คือเดินไม่ได้ นอนอยู่บนเตียงมา เกื่อบ 10 ปี มันก็แปลกดี ไม่รู้ไปหาอาได้อย่างไร แสดงว่าท่านคงคิดถึงตุ๋ย อยากให้ตุ๋ยช่วยระมัง อันนี้คิดเอง และเรื่องที่เล่าเมื่อข้างต้น ที่ไปคุยกับแม่ ตุ๋ยโทรไปถามแม่ แม่บอกช่วงนั่นแม่ก็กำลังนึกถึงตุ๋ยอยู่พอดี แม่คิดว่าเสียด้ายที่ตุ๋ยไม่อยู่ ถ้าตุ๋ยอยู่คงจะได้ไปบวชกันแน่ๆ เลยตอนนั้นวัดธรรมกายจัดบวชอุบาสิกาแก้วหน่อ ออ่นหนึ่งแสน คงเป็นเพราะ แบบนี้ระมังจิตตุ๋ยถึงไปหาแม่ ก็เล่าให้เพื่อนๆ ฟังมันเป็น อารมณ์ แปลกมากๆ แต่มาระยะหลังๆ นี้ตุ๋ยไม่ค่อยไปคุยกับเทวดแล้วแหละคะ คือว่าสงสารท่านไปคุยกับท่านที่ไร พอท่านให้ตุ๋ยทำสมาธิ จิตตุ๋ยชอบหนีเที่ยวทุกที แล้วท่านก็จะค่อยเรียกกลับ สงสารท่านก็เลย ไม่ไปหาท่าน ถ้าตุ๋ยไปบ่อยๆ ก็คงจะรู้อะไรดีๆ มากกว่านี้ระมังคะ อ่านแล้วคิดว่าเป็นนิทานก็แล้วกันนะคะ
     
  10. jangira

    jangira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +784
    คุณ อาภากร คะ แล้วเทวดาประจำตัวเราเนียเขาแฝง อยู่กับเรา เวลาทำบุญ อุทิศให้ท่าน ท่านจะมีบุญเพิ่ม หรือเปล่าคะ ทุกครั้งที่ตุ๋ยทำบุญและให้ทานไม่ว่าคนและสัตว์ ตุ๋ยจะอุทิศ ให้ท่านเป็นประจำ โดยเจาะจงนึกถึงพระนามของท่านคะ
     
  11. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    ครูบาอาจารย์ ท่านเคยว่าไว้.... จิตเรานี่ไวมาก ...ราวกับงูแลบลิ้น..
     
  12. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    บุญสําเร็จแก่ผู้ให้ 1 ทาง คือตัวเราเอง
    บุญสําเร็จแก่ผู้รับ 1 ทาง คือ พระสงฆ์
    บุญสําเร็จแก่ เคลือญาติ 7 ชั้น

    ชั้นที่ 1 ตัวเราและคู่ครอง
    สายบน
    ชั้นที่ 2 พ่อ แม่
    ชั้นที่ 3 ปู ย่า ตา ยาย
    ชั้นที่ 4 ทวด
    สายล่าง
    ชั้นที่ 2 ลูก
    ชั้นที่ 3 หลาน
    ชั้นที่ 4 เหลน

    7 ชั้นนี้แม้ไม่ออกนามก็ถึงแน่นอน เว้นเสียแต่ว่าถ้าอยู่ในวิสัยที่สามารถรับได้
    แต่กรณีที่ผู้รับอยู่ในวิสัยไม่สามารถรับได้ เช่น เปตรภูมิ สัตวฺเดรฉาน น่าจะต้องให้เจาะจง ไมแน่ใจในส่วนนี้มากนัก

    เทวดารักษาสังขารของจริงๆ ท่านะรับอานิสงค์ของการปฏิบัติ องค์ฌาน คือองค์ท่านจะมาพร้อมกับสมาธิ ไม่ต้องถึงระดับฌาน อาจจะมาในรูปแบบสมถะ คือการเหยียบใจ และอาจจะมาในรูปของวิปัสนาญาณ ท่านจะได้จากส่วนนี้ตรงๆ เพราะปฏิบัติพร้อมกันทั้งคู่ เพียงระลึกถึงก็ ถึงท่านแล้วอานิสงค์ตัวนี้
    ในส่วนการแผ่อุทิศส่วนกุศล ควรจะเอ่ยนาม หรือเอ่ยรวมว่าอุทิศเทวดารักษาสังขารด้วย เพราะเมื่อออกจากกรรมฐานมา บาป บุญของเรากับท่านแยกส่วนกัน เราฆ่าคน ท่านไม่เกี่ยว จึงให้คําตอบว่าควรจะ อุทิศเอ่ยนาม และเมื่อท่านได้รับแล้วบารมีท่านก็จะมากขึ้น เมื่อบารมีท่านมากขึ้น เราก็จะได้รับผลทางอ้อมนะครับ
     
  13. jangira

    jangira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +784

    ใช่คะ คุณ ศิลามณี จิตนี่ไวจริงๆ เผอไม่ได้ ไปทุกที แต่ท่านก็ดีคอยเตือนตุ๋ย อยู่เสมอระหว่างไปคุยกับท่าน บางครั้งจะมีภาพ ซ้อนขึ้นมา ท่านก็จะพูดเลย มันเป็นนิวรณ์ นะเธออย่าเอาจิตไปเกาะ นี่เป็นเพียงประสพการณ์ที่ไปคุย กับท่านเมื่อต้นปี พักหลังๆ ก็ห่างๆ ไม่ได้ไปคุยกับท่าน แต่ความรู้สึกท่านก็อยู่ดูแลตุ๋ยตลอด เพราะตุ๋ยสัมผัสได้เอาไว้ถ้าตุ๋ย เริ่มจับอารมณ์ได้ใหม่ ถ้าไปคุยกับท่านและได้ไปเห็นอะไรแปลกๆ จะเอามาเล่าให้คุณศิลามณีและเพื่อนๆ ฟัง เรื่องอารมณ์นี่มันจับอยากจริงๆ เลยคะ
     
  14. jangira

    jangira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +784
    ขอบคุณ คุณอาภากร มากคะ เข้าใจแล้วคะ และคาถาดีๆ เดี๋ยวตุ๋ยขอจด นะคะจะได้เอาใว้ไปท่อง ไห้เทวดาที่ดูแลตุ๋ยฟังด้วย เวลาสวดมนต์นั่งสมาธิ ท่านจะอยู่ข้างๆ ทำไปพร้อมกับตุ๋ยด้วยคะ อันนี้ตุ๋ยสัมผัสได้คะ
     
  15. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    สวรรค์ชั้น 2 ที่เรียกว่าดาวดึงส์ มีอีกชื่อว่าตาวติงสา แปลว่า ที่แห่งเทพผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 33 แล้วทำไมกล่าวถึงแต่พระอินทร์องค์เดียวละครับ หรือว่าเรียกเหมารวมกันหมด วอนท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ
     
  16. jangira

    jangira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +784
    สวัสดีคะ คุณพยัคฆ์นิล ยินดีที่ได้รู้จักคะ เรื่องที่กล่าวถึงพระอินทร์องค์เดียว คงเป็นเพราะพระอินทร์ ใหญ่กว่าเพื่อนๆ อีก 33 นั้นละมังอันนี้ตุ๋ยก็ไม่รู้ เดาเอา คะ เดี๋ยวให้เพื่อนคนอื่นที่รู้ มาเล่าให้ฟังอีกทีนะคะ

    อันนี้ยกให้ คุณอาภากร คะ ช่วยหน่อยนะคะ
     
  17. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    เจริญในธรรมตามที่คัดมาให้อ่านครับ
    ขอทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
    สัปปุริสธรรม

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodytext --><TABLE style="BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center; BORDER-LEFT: #060 1px solid; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; FLOAT: right; BORDER-TOP: #060 1px solid; BORDER-RIGHT: #060 1px solid" id=WSerie_Buddhism class=toccolours cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    พุทธศาสนา

    [​IMG] สถานีย่อย
    <HR>[​IMG]
    ประวัติพุทธศาสนา
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>จุดมุ่งหมาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>นิพพาน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ไตรรัตน์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>หลักธรรมที่น่าสนใจ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>สังคมพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>การจาริกแสวงบุญ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
    หมวดหมู่พุทธศาสนา</TD></TR></TBODY></TABLE>สัปปุริสธรรม หรือ สัปปุริสธรรม 7 หมายถึง ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี ธรรมของผู้ดี สัปปุริสธรรม มีบรรยายไว้หลายลักษณะ เช่น
    <TABLE id=toc class=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>[แก้] สัปปุริสธรรม 7

    สัปปุริสธรรม 7 ประกอบด้วย
    • ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ
    • อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล
    • อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน
    • มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ
    • กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล
    • ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท
    • ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล
    สัปปุริสธรรม 7 นี้ มีบรรยายอยู่ในสังคีติสูตรในพระไตรปิฎก สังคีติสูตรนี้เป็นพระสูตรที่รวบรวมธรรมะมากมาย เป็นการบรรยายแจกธรรมเป็นหมวดๆ โดยพระสารีบุตร อาจนับได้ว่า สังคีติสูตรเป็นต้นแบบของการสังคายนาพุทธศาสนาในยุคแรกๆ
    ภิกษุผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 ข้อนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสังฆคุณเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือ เป็นผู้ควรรับของที่เขานำมาถวาย
    นอกจากนี้ ยังมีธรรมะอีกหมวดหนึ่งซึ่งคล้ายกัน คือได้มีการบรรยายถึง พระเจ้าจักรพรรดิว่าทรงประกอบด้วยองค์ 5 ประการ ย่อมทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรม จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใดๆ จะต้านทานมิได้ และแม้พระพุทธเจ้าก็ทรงประกอบด้วยธรรม 5 ประการเหล่านี้ ย่อมทรงยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรม ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะคัดค้านไม่ได้ ธรรม 5 ประการนี้ได้แก่
    • ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ
    • อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล
    • มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ
    • กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล
    • ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท
    [แก้] ธัมมัญญู รู้จักเหตุ

    ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักธรรม รู้หลัก หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่า หลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ๆ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ๆ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้นๆ เป็นต้น
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD>
    ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะอัพภูตธรรม เวทัลละ...

    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER><SMALL>ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23</SMALL></CENTER>[แก้] อัตถัญญู รู้จักอรรถ

    อัตถัญญุตา ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ เป็นผู้รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD>
    ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ...

    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER><SMALL>ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23</SMALL></CENTER>[แก้] อัตตัญญู รู้จักตน

    อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตนคือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD>
    ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ...

    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER><SMALL>ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23</SMALL></CENTER>[แก้] มัตตัญญู รู้จักประมาณ

    มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณ ในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD>
    ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร...

    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER><SMALL>ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23</SMALL></CENTER>[แก้] กาลัญญู รู้จักกาล

    กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาลคือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD>
    ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น...

    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER><SMALL>ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23</SMALL></CENTER>[แก้] ปริสัญญู รู้จักบริษัท

    ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD>
    ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหาอย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้...

    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER><SMALL>ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23</SMALL></CENTER>[แก้] ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือกคบคน

    ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD>
    ก็ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างไร

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ คือ บุคคล ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งต้องการเห็นพระอริยะ
    พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ
    บุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะพึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

    บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งต้องการจะฟังสัทธรรม
    พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม
    บุคคลที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

    บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม
    พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม
    บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

    บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้
    พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้
    บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

    บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
    พวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้
    บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

    บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่
    บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้นๆ

    บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
    พวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
    บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER><SMALL>ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23</SMALL></CENTER>[แก้] ผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 และ สัปปุริสธรรม 8

    ในเสขปฏิปทาสูตรซึ่งบรรยายโดยพระอานนท์ ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ไว้ 7 ประการคือ
    1. เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม.
    2. เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก.
    3. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก.
    4. เป็นพหูสูต ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมทั้งหลายเห็นปานนั้น อันท่านได้สดับมามาก ทรงจำไว้ได้ สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยความเห็น.
    5. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.
    6. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ตามระลึกได้ แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคำที่พูดไว้แล้วนาน.
    7. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
    คุณสมบัติของผู้ที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 ประการ นี้ เรียกว่า สัทธัมมสมันนาคโต บางทีก็เรียก สัปปุริสธรรม 7 และในจูฬปุณณมสูตร ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสบรรยาย ความแตกต่างระหว่าง สัตบุรุษและอสัตบุรุษ ทรงแสดงถึง สักษณะของผู้ประกอบด้วย ธรรมของสัตบุรุษ 8 ประการ (ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม เรียกธรรมของสัตบุรุษ 8 ประการ นี้ว่า สัปปุริสธรรม 8) ได้แก่
    1. เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ คือ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา (คือ สัทธัมมสมันนาคโต ดังกล่าวไปแล้ว นั่นเอง)
    2. เป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ คือ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมากมีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย
    3. เป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ คือ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
    4. เป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ คือ ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
    5. เป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ คือ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
    6. เป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ คือ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
    7. เป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ คือ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีอยู่โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่
    8. ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ คือ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน
    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้] ดูเพิ่ม

    [แก้] อ้างอิง

    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 224/1000000Post-expand include size: 24061/2048000 bytesTemplate argument size: 16308/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:154177-0!1!0!!th!4 and timestamp 20101008013711 -->ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1".
    <!-- /bodytext --><!-- catlinks -->หมวดหมู่: อภิธานศัพท์พุทธศาสนา | พุทธศาสนา | ธรรมหมวด ๗
     
  18. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    ขอบคุณคะ คุณอัคนีวาต ที่กรุณานำมาให้อ่าน(rose)
     
  19. jangira

    jangira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +784
    จ๊ะ เอ๋คุณ ศิลามณี วันนี้ เข้ากะทู้ ช้า วันอาทิตย์ งานเยอะ วันนี้จะคุยเรื่องอะไรกันดีนะ คุณ ศิลามณี และ เพื่อนๆ คุยเรื่องสวรรค์ ชั้นดาวดึงห์ ดีไหมอ้างอิงมาจากหนังสือนะ จะกอ๊ป ปี้มาให้อ่านก็กอ๊ปปี้ไม่เป็นเดี๋ยวขอคิด ดูก่อนว่าจะหาทางอย่างไร คุณ ศิลามณี และ เพื่อนๆ อยากอ่านไหม ถ้าอยากอ่านก็จะ ค่อยๆ เล่าให้ฟังคะ
     
  20. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    ไม่เอาละถ้าคุณตุ๋ยต้องไปก๊อปปี้มา เสียเวลานั่งพิมพ์ เอาเรื่องที่คุณตุ๋ยไปเที่ยวดีกว่า... สนุกดีคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...