::: วรวุฒิคุณอนุสรณ์ ประวัติและวัตถุมงคลหลวงปู่ครูบาอิน อินโท ครูบาฟ้าหลั่ง :::

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย wannabexcite, 19 มกราคม 2009.

  1. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804
    สวัสดีครับ คุณสกายลาย
    ต้องขออภัยที่ตอบล่าช้า ผมอยากทำข้อมูลให้เคลียร์ๆ จึงใช้เวลามากหน่อยครับ

    ว่ากันด้วยเรื่อง "เสื้อยันต์" หลวงปู่ครูบาอิน
    เมื่อหลายเดือนก่อน ผมได้โพส กระทู้แนะนำเสื้อยันต์ของหลวงปู่ไว้ตามนี้ครับ

    --------------


    เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคมที่ผ่านมา ผมเข้าไปที่วัดใหม่หนองหอย...
    หลังจากถ่ายรูปอาคารพิพิธภัณฑ์แล้ว ก็ได้มานั่งคุยกับพระอาจารย์อินทรครับ
    พอดีมีเพื่อนๆ ฝากบูชาวัตถุมงคลของทางวัดหลายรายการ ผมเลยได้คุยไปด้วย
    พระอาจารย์เดินไปหยิบวัตถุมงคลมาให้จัดด้วย...
    และตอนนั้นเองพระอาจารย์ได้เอาวัตถุมงคล “แตกกรุ” มาให้ผมดู
    ก่อนที่จะเข้าใจผิด ขออนุญาตเรียนให้ทราบก่อนครับว่า คำว่า “กรุ” ของผมนี้
    ไม่ได้หมายถึงกรุงที่ฝังไว้แบบนั้นครับ แต่เป็นกรุที่เกิดจากการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี

    ท่านที่ติดตามกระทู้นี้มาก่อน คงจะทราบดีว่า
    หลวงปู่ครูบาอิน ท่านมีญาติ (มีศักดิ์เป็นหลาน) ของท่านอยู่คนหนึ่ง
    ชื่อว่า พ่อหนานจันทร์ ไจยสิทธิ์
    โดยที่พ่อหนานจันทร์จะเป็นผู้ที่คอยลงตะกรุด เขียนยันต์ต่างๆ ถวายครูบาอิน
    ให้ท่านปลุกเสก ก่อนจะนำออกแจกจ่าย หรือให้บูชา
    พ่อหนานจันทร์ ถือได้ว่าเป็นลูกศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาจากหลวงปู่มากที่สุด
    ท่านทำหน้าที่เขียนยันต์ ลงตะกรุดให้หลวงปู่ตราบจนถึงแก่กรรมไปเมื่อหลายปีก่อน
    ก่อนที่หลวงปู่ท่านจะละสังขารเสียอีกครับ

    ในยุคนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ลงตะกรุดจะมีอยู่ สองสามท่าน
    คือพ่อหนานจันทร์ พระอาจารย์ไพบูลย์ (ท่านพิณ) พระอุปัฏฐากหลวงปู่
    พระอาจารย์พรชัย (พระครูป๋า) เจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย และพระอาจารย์อินทร
    หลักๆ ก็จะมีสามท่านนี้ครับ
    ส่วนวัตถุมงคล “เฉพาะกิจ” อื่นๆ ที่จัดสร้างกันเองในหมู่ลูกศิษย์
    ก็อาจจะมีบรรดาพระเณรที่หลวงปู่เคยสอนให้เป็นผู้ลงอักขระ
    ส่วนใหญ่ทำน้อย แค่สองสามชิ้น แบ่งกันเฉพาะลูกศิษย์เท่านั้นครับ

    พ่อหนานจันทร์ น่าจะเป็นผู้ที่ทำวัตถุมงคลถวายหลวงปู่มากที่สุด
    อย่างเช่นผ้ายันทร์จั๊กกิ้มล้อมโลก (ยันต์จิ้งจก) พ่อหนานจันทร์ก็เป็นผู้ลงอักขระ
    ตั้งแต่ยุคต้นๆ มาจนถึงรุ่นสุดท้ายเมื่อปี ๒๕๔๕ ตอนฉลองอายุ ๑๐๐ ปีหลวงปู่
    เมื่อลงอักขระ และจัดพิมพ์เป็นผ้ายันต์ให้หลวงปู่ปลุกเสกแล้ว
    หลวงปู่มักจะมอบให้พ่อหนานจันทร์จำนวนหนึ่งเสมอ
    เพราะเมื่อตอนที่พ่อหนานจันทร์ยังมีชีวิตอยู่
    ก็มักจะมีผู้คนแวะเวียนไปขอให้พ่อหนานจันทร์ “ทำของ” ให้บ่อยๆ
    ของในที่นี้ หมายถึงวิชาที่ไม่เหมาะกับพระสงฆ์ เป็นผู้ทำ
    หลวงปู่ก็จะแนะนำให้ไปขอความช่วยเหลือจากพ่อหนานจันทร์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดทุ่งปุย
    บางครั้งพ่อหนานจันทร์ ก็เอาผ้ายันต์ ตะกรุด เหล่านี้ แจกให้ผู้มาขอความช่วยเหลือไปบ้าง
    แบ่งให้บูชาทำบุญไปบ้าง

    จนกระทั่งพ่อหนานจันทร์ถึงแก่กรรมไป แม่อุ๊ยดีภรรยาของพ่อหนานจันทร์
    ก็เก็บรักษาวัตถุมงคลที่เหลืออยู่ไว้เป็นอย่างดี
    พอทราบว่าพระอาจารย์อินทร ท่านกำลังสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ครูบาอิน
    แม่อุ๊ยดี (พร้อมทั้งลูกหลานของพ่อหนานจันทร์) ก็นำเอาผ้ายันต์เหล่านี้มาถวายให้
    เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ครูบาอินได้บูชา สมทบทุนสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์

    เล่ามาถึงตรงนี้ เพื่อนๆ พี่คงๆ อยากทราบแล้วใช่ไหมครับ ว่าวัตถุมงคลที่ว่านั้น มีอะไรบ้าง
    เริ่มกันที่ “เสื้อยันต์” รุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงปู่ครูบาอินครับ

    เสื้อยันต์หลวงปู่ ฝีมือการวาดภาพและลงอักขระ แน่นอนว่าคงไม่พ้นพ่อหนานจันทร์
    สร้างขึ้นเมื่อครั้งหลวงปู่มีอายุครบ ๑๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๔๕
    อันที่จริงสร้างก่อนหน้านั้น หลายเดือน (ปลายปี ๒๕๔๔) หลวงปู่เมตตาอธิษฐานจิตเดี่ยวหลายครั้ง
    ก่อนนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ในวาระมงคลสืบชะตาหลวง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๕
    พร้อมๆ กับผ้ายันต์กุณพระเจ้า และผ้ายันต์จั๊กกิ้มล้อมโลก
    หลังเสร็จพิธีจึงได้นำออกแจกจ่าย ให้ผู้มาร่วมงานบูชากันไป
    ส่วนที่เหลือก็ออกให้บูชาเรื่อยมา และมาหมดเอาตอนงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ
    จำได้ว่าตอนนั้นทางวัดทุ่งปุยออกให้บูชาผืนละ ๕๐๙.- บาท
    ลูกศิษย์ลูกหาที่มาร่วมงานกันคับคั่ง แย่งกันบูชาไปจนหมดตั้งแต่งานวันแรกๆ
    วันสุดท้ายของงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ วัตถุมงคลแทบหมดตู้
    และก็เพราะเงินบูชาวัตถุมงคลส่วนนี้ด้วย ที่สามารถนำมาซื้อที่ดินติดวัด
    ที่ใช้สร้างกุฏิให้หลวงปู่ ซึ่งตอนสร้างเจ้าของที่ได้อนุโมทนาออกปากว่าจะขายให้ถูกๆ
    ให้สร้างกุฏิไปก่อนเลย ทางวัดมีเงินเมื่อไหร่ค่อยเอามาให้...
    แล้วก็เป็นเงินบูชาวัตถุมงคลนี้ สมทบกับเงินที่มีผู้ร่วมทำบุญบริจาค
    สามารถซื้อที่ดินให้เป็นที่ธรณีสงฆ์ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์


    ย้อนกลับมาที่เสื้อยันต์...
    หลังจากที่มีลูกศิษย์ลูกหาบูชาไปจนหมดตั้งแต่เมื่อครั้งงานพิธีพระรายทานเพลิงฯ
    พระอาจารย์ก็นึกว่าหมดไปแล้ว จนกระทั่งเมื่อไม่เดือนก่อนนี้ ท่านได้คุยกับแม่อุ๊ยดี
    จึงได้ทราบว่ามีเสื้อยันต์นี้เก็บรักษาไว้ที่บ้าน จึงได้นำมาร่วมทำบุญสร้างพิพิธภัณฑ์ต่อไป
    และถึงแม้ว่าจะเคยตั้งราคาบูชาไว้ที่ห้าร้อยกว่าบาท พระอาจารย์เห็นว่าราคาสูง
    จึงตั้งราคาเสียใหม่ ให้บูชาตัวละ ๓๙๙.- บาท เท่านั้น
    เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่สนใจวัตถุมงคลประเภทเครื่องรางของหลวงปู่
    อย่าช้านะครับ เพราะเสื้อยันต์มีจำนวนไม่มาก... นี่คือที่เหลือตกค้างมาเท่านั้น

    <IMG onclick="if(this.width>screen.width-461) window.open('http://i617.photobucket.com/albums/tt256/wannabexcite/-1_resize-17.jpg');" border=0 src="http://i617.photobucket.com/albums/tt256/wannabexcite/-1_resize-17.jpg">

    <IMG onclick="if(this.width>screen.width-461) window.open('http://i617.photobucket.com/albums/tt256/wannabexcite/-2_resize-18.jpg');" border=0 src="http://i617.photobucket.com/albums/tt256/wannabexcite/-2_resize-18.jpg">
    ท่านที่สนใจบูชา ติดต่อพระอาจารย์อินทร ที่วัดใหม่หนองหอยเลยครับ

    ธีระยุทธ


    ==============================

    ในวันนี้ ผมเกรงว่า ข้อความที่โพสไว้นี้ อาจจะไม่ถูกต้อง 100%
    โดยเฉพาะตรงข้อความสีน้ำเงินข้างต้น... เหตุผลก็ตามเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2010
  2. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804
    เวลาผ่านไปหลังจากนั้น 3-4 เดือน ผมไปเดินดูแผงพระ (ตามปกติ)
    โดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนชอบผ้ายันต์ เก่าๆ ชอบดูศิลปะ และอักขระโบราณ
    ผมก็ไปเจอ "เสื้อยันต์ อาจารย์เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ วัดป่าสัก อ.สันป่าตอง"
    สภาพผ้ายันต์ "ผืนนั้น" คงจะผ่านการใช้งานมาแล้วไม่น้อย
    เนื้อผ้าอ่อนนิ่ม สีซีดไม่แดงสดใส... ก็จับมาพลิกๆ ดู...
    เป็นอักขระล้านนา ไม่ได้ระบุชื่อผู้สร้าง แต่เอ๊ะ... ลายอักขระคุ้นตาเหลือเกิน...
    แต่เนื่องด้วยไม่มีเสื้อยันต์ผืนอื่น มาเปรียบเทียบ จึงได้แต่เก็บความสงสัยไว้

    จนกระทั่งวันหนึ่ง ประมาณสักเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา
    ผมได้เจอ กระทู้ในเวปไซต์พระล้านนา
    ซึ่งเป็นกระทู้ให้บูชา "เสื้อยันต์ อาจารย์เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ"
    จากรูปจะเห็นว่า เป็นเสื้อยันต์ที่สภาพสมบูรณ์ สวย อักขระคมชัด
    ผมจึงได้ติดต่อพี่คนนั้น ซึ่งทราบจากที่อยู่ว่าอยูุ่สันป่าตองเหมือนกัน
    เพื่อจะได้นำเอาเสื้อยันต์ หลวงปู่ครูบาอินของผม ไปเปรียบเทียบเสื้อยันต์อาจารย์เณรที่พี่เขา
    ปรากฎว่า อักขระเลขยันต์ ไม่เพียงแค่เหมือนกัน... แต่มั่นใจได้เลยว่า
    "น่าจะเป็นบล็อคพิมพ์เดียวกัน"...

    [​IMG]

    [​IMG]

    (หมายเหตุ: รูปจากร้านพระช้างเผือก ขออนุญาติใช้ภาพชุดนี้แทนเพราะมีความคมชัดกว่า)


    เอาละสิ...
    ผ้ายันต์ที่อายุการสร้าง น่าจะต่างกันไม่ต่ำกว่า 30 ปี "เหมือนกัน" ได้อย่างไร???

    รูปต่อไปนี้เป็นรูปเสื้อยันต์อาจารย์เณรวิเศษณ์ ผมเจอในเวป พร้อมใบฝอยการใช้...

    [​IMG]

    [​IMG]


    เพื่อนๆ ว่าเหมือนไหมครับ...?????
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2010
  3. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804
    ผมย้อนกลับมาที่บ้าน หยิบเอาผ้ายันต์อื่นๆ ของหลวงปู่มาดู ก็พบข้อสังเกตุ 2 ประการ

    ประการแรก... ผ้ายันต์หลายๆ แบบ ที่พ่อหนานจันทร์ เขียนถวายครูบาอิน
    มักจะมีคำว่า "สงวนลิขสิทธิ์" ติดอยู่ด้วยเสมอ... แต่เสื้อยันต์รุ่นนี้ "ไม่มี"

    [​IMG]

    ข้อสังเกตุที่ 2... ซึ่งสำคัญมาก... ลายมือบนเสื้อยันต์ กับลายมือของพ่อหนานจันทร์ "ไม่เหมือนกัน"
    ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เสื้อยันต์ของครูบาอินรุ่นนี้ "พ่อหนานจันทร์ไม่ได้เป็นคนเขียนอักขระ"

    ดูรูปเปรียบเทียบ ลายมือครับ...

    [​IMG]


    แล้วคิดว่าเป็นลายมือของอาจารย์เณรวิเศษณ์ หรือไม่?
    ผมก็ลองหาดูในเวปไซต์พระเครื่องต่างๆ ก็ไปเจอเอารูปนี้ครับ...

    [​IMG]
     
  4. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804
    ดังนั้น... หากเชื่อว่าผ้ายันต์ "เขียนมือ" ผืนนี้ เป็น "ลายมือ" ของอาจารย์เณรวิเศษณ์
    ไหนลองเอามาเทียบกันให้เห็นๆ ไปเลย


    [​IMG]

    อักขระตัวแรกที่น่าจะมีปัญหา... คือตัว "ยะ" ที่ผมวงกลมไว้ ทั้งเสื้อยันตืและผ้ายันต์
    ตัวยะในผ้ายันต์ จะมีลักษณะเหมือนตัว "พ" ที่เส้นตรงกลางตัวอักษรลากยาวขึ้นไป
    ในขณะที่ในเสื้อยันต์ ตัว พ แทบจะไม่มีเส้นตรงกลาง...


    มาดูตัวต่อไป...


    [​IMG]


    มาดูตัวต่อไป...
    ตัว "มะ" (วงกลมไว้) ที่มีลักษณะเหมือน "บ" มีขีดตรงกลาง
    ขีดตรงกลางนี้ ในทางคำเมืองเรียกว่า หางมะ
    ลักษณะของหางมะในผ้ายันต์ จะสะบัดเป็นเส้นเฉียงลงมาทางด้านล่างขวา
    ในขณะที่หางมะในเสื้อยันต์ เหมือนจะเป็นสระอุโค้งๆ ชี้ลงมาตรงๆ


    อีกสักตัวครับ ตัว "เอ"
    หน้าตาต่างกันอย่างห็นได้ชัด...

    [​IMG]

    ผมไม่รู้ว่าทุกท่านคิดยังไง... สำหรับผม จะให้ยอมรับว่า เสื้อยันต์ และผ้ายันต์นี้ ลายมือเดียวกัน
    ผมก็ยังยอมรับได้ไม่สนิทใจนัก...


    และในขณะเดียวกัน... ก็เป็นไปได้ว่า ผ้ายันต์นี้ อาจจะไม่ได้เขียนโดยอาจารย์เณร
    ด้วยความเคารพ ท่านเจ้าของผ้ายันต์... ผมเพียงแต่คิดถึงคำอธิบายที่อาจจะเป็นไปได้เท่านั้น


    แต่ก็เอาละ... ลองสันนิษฐานก่อนว่า เสื้อยันต์นี้เป็นลายมือของอาจารย์เณรวิเศษณ์จริงๆ
    เราก็ยังมีคำถามเดิมรออยู่.... ถามว่า?


    "เสื้อยันต์อาจารย์เณรวิเศษณ์ สิงห์คำ วัดป่าสัก เหมือนกะของครูบาอินได้อย่างไร???"


     
  5. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804
    ข้อสันนิษฐานที่ 1... คือแถวๆ สันป่าตอง ดอยหล่อ จะมีพี่ท่านหนึ่ง แกรับทำผ้ายันต์ถวายวัด
    โดยที่แกจะมีบล็อคผ้ายันต์อยู่แล้ว เปลี่ยนแต่เพียงชื่อ หรือไม่ก็เปลี่ยนรูปภาพ
    แต่เรือนยันต์ทั้งหมด เป็น "บล็อคมาตราฐาน" เดียวกัน...
    เป็นไปได้ไหมว่า... จะด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เสื้อยันต์ ของทั้งสองวัดเหมือนกัน
    เพราะเป็นบล็อคเดียวกัน ต่างกันตรงที่ตราปั๊ม... ของวัดป่าสักจะปั๊มตราวัดไว้ที่ไหล่ของเสื้อยันต์


    แต่มาคิดอีกที.... เวลาการสร้างต่้างกันตั้ง 30 ปี แม่พิมพ์บล็อคไม่น่าจะทนทานได้ขนาดนั้น
    พูดถึงเรื่องนี้ แล้วอยากให้ท่านลองสังเกตุตราปั๊มครับ... เพราะว่า...


    [​IMG]

    "ตราปั๊มเสื้อ" กับ "ตราปั๊มใบฝอย" เป็นคนละตราปั๊มกัน
    ปกติแล้วเราจะเห็นตราปั๊มแบบที่ปั๊มใบฝอย... หลังรูปบ้าง ผ้ายันต์จีวรบ้าง
    ล้วนใช้ตราปั๊มนี้... แล้วเหตุใด งานนี้ ถึงต้องใช้ทั้งสองตราปั๊ม
    เป็นข้อสงสัยต่อไป...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2010
  6. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804
    ข้อสันนิษฐานที่ 2... เสื้อยันต์นี้สร้างขึ้นครั้งเดียว ส่วนใหญ่ทางวัดป่าสักก็จำหน่ายจ่ายแจกไป (ปั๊มตราวัด??)
    แล้วจะด้วยวิธีการหรือเหตุผลใดก็ตาม... พ่อหนานได้รับแบ่งมาส่วนหนึ่ง (หลายร้อยผืนเลย)
    หลังจากนั้น ร่วม 30 ปี พ่อหนานก็นำเอาเสื้อยันต์นี้มาให้หลวงปู่ครูบาอินปลุกเสก
    แล้วออกเป็นเสื้อยันต์ในนามของครูบาอิน... เป็นไปได้ไหมครับ

    ผมได้สอบถามไปยังครอบครัวพ่อหนานจันทร์ (เพราะพ่อหนานจันทร์ถึงแก่กรรมไปแล้ว)
    แม่อุ๊ยดี ภรรยาพ่อหนานก็ยืนยันกับผม กับพระอาจารย์อินทรว่า
    ครอบครัวสของท่าน ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับทางบ้านป่าสัก หรืออาจารย์เณรวิเศษณ์เลย
    และการที่จะได้รับแบ่งมาหลายร้อยผืนนั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เลย
    แต่ไม่ว่าจะ

    อีกอย่าง เสื้อยันต์ของครูบาอินที่ออกให้บูชา (ซึ่งถ้าเราสันนิษฐานว่า สร้างเมื่อปี 2520)
    ก็จะเจอคำถามอีกว่า "พ่อหนานเก็บเสื้อยันต์อายุร่วม 30 ปีไว้ทำไม โดยไม่เอาออกมาให้บูชาเลย
    แล้วเก็บยังไง ดึงได้สภาพสวยสมบูรณ์ทุกผืน...???...

    เอาละ ถ้าสมมุติต่อว่า เก็บได้ดีจริง... สีไม่มีซีด ไม่มีตก ขอบผ้าไม่ซีดจาง
    แล้วอย่างนี้ทำไมไม่รอบปั๊มตราวัด...???
    หรือว่าต้องการแยก... แยกอะไร?
    แยกว่าปั๊มเสกแล้ว ไม่ปั๊มคืออีกล็อตหนึ่ง ไม่ได้เสก
    อย่างนั้นหรือเปล่า...???

    หรือว่า เสื้อยันตืแบบไม่ได้ปั๊มยันต์เป็นการพิมพ์เพิ่ม พิมพ์เสริม
    แล้วพ่อหนานจันทร์ไปได้มาได้อย่างไร???
    รู้สึกว่าคำถามเยอะเหลือเกิน แต่ไม่มีใครสามารถตอบได้
    เพราะเจ้าตัว คือพ่อหนานจันทร์ ไม่อยู่ตอบเราแล้ว

    ในทางตรงกันข้าม ผมอาจจะมีข้อสันนิษฐานว่า???....
    ก่อนจะพูดต่อ... ขอออกตัวก่อนว่านี่แค่คิดเล่นๆ ครับ
    ใครที่ครอบครองผ้ายันต์อาจารย์เณรวิเศษณ์
    แบบที่เหมือนกับครูบาอิน และมีตราปั๊มวัดป่าสัก
    ไม่ต้องโกรธผม หรือตำหนิผมนะครับ...
    ย้ำ คิดเล่นๆ ร่วมแจมแสดงความเห็นกันได้ครับ แต่ห้ามด่า...

    เป็นไปได้ไหมครับว่า มีคนเอาเสื้อยันต์ที่บูชาไปจากวัดทุ่งปุย ตั้งแต่เมื่อปี 2545 ไปปั๊มตราวัดป่าสัก
    แล้วเล่นเป็นของอาจารย์เณรวิเศษณ์ เพราะน่าจะราคาดีกว่า เพราะปีสร้างลึกไปอีกอย่างน้อยก็ 25 ปี
    เสื้อยันต์ที่เราเห็นๆ ในตลาดตอนนี้ก็มีไม่มาก... พอจะนับได้...
    และนี่ก็จะอธิบายว่าทำไม ตราปั๊มเสื้อยันต์ กับตราปั๊มใบฝอยถึงใช้ตราปั๊มคนละตัว
    และก็อาจจะอธิบายได้ว่า เสื้อยันต์อายุร่วม 30 ปี สภาพสมบูรณ์เหมือนใหม่ได้อย่างไร

    ผมออกตัวไปแล้วนะครับ ว่าคิดเล่นๆ อย่าโวยผมนะ

    และถ้าเป็นจริงอย่างที่ผมคิดเล่นๆ แล้วเสื้อยันต์อาจารย์เณร แท้ๆ หน้าตาเป็นอย่างไร เคยเห็นไหม
    ผมลองสอบถามพี่ "แพะ สันป่าตอง" ซึ่งเปิดแผงขายพระข้างไปรษณีย์สันป่าตองมาเป็นสิบๆ ปี
    ตอบผมมาว่า "ไม่เคยเห็น" ผมยังไม่ได้ถามพี่เอก ไม้มงคล และพี่เชน เชียงใหม่
    ที่ได้ชื่อว่าเป็นเซียนเครื่องรางสายเหนือ... เลยยังไม่มีคำตอบ
    หากพี่ๆ ได้บังเอิญอ่านเจอกระทู้นี้ ช่วยตอบผมหน่อยครับ

    มาถึงตรงนี้ ก็ขอสรุปเลยนะครับว่า
    1. เสื้อยันต์ ของอาจารย์เณรวิเศษณ์ วัดป่าสัก กับเสื้อยันต์ของครูบาอิน "เหมือนกัน"
    ไม่ใช่คล้ายนะครับ เหมือนเลย... ต่างกันตรงที่ของวัดป่าสักมีตราปั๊ม แต่ของครูบาอินไม่มี

    2. เสื้อยันต์ของอาจารย์เณรวิเศษณ์ สร้างปี 2520 (ตามใบฝอย) ของครูบาอินเสกปี 2545
    โดยผู้นำมาเสกคือพ่อหนานจันทร์ ผู้ที่เขียนผ้ายันต์ให้หลวงปู่เป็นประจำ
    แต่ สำหรับเสื้อยันต์ ไม่ใช่ลายมีพือหนานจันทร์แน่นอน แสดงวส่าพ่อหนานจันทรืไม่ได้เป็นคนสร้าง

    3.พ่อหนานจันทร์ไปได้เสื้อยันต์นี้มาได้ยังไงไม่รู้... หลวงปู่ครูบาอินเสกเท่านั้น
    แล้วส่วนหนึ่งนำออกให้บูชา ตั้งแต่ปี 2545 เรื่อยมาจนหมดจากวัด
    ตอนงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ครูบาอิน
    ส่วนหนึ่งพ่อหนานจันทร์เก็บรักษาไว้

    4. เสื้อยันต์ที่ออกให้บูชาที่วัดใหม่หนองหอย ได้มาจาก "บ้าน" พ่อหนานจันทร์ ที่แม่อุ๊ยดีเก็บรักษาไว้
    ซึ่งเมื่อเทียบดูแล้ว คือชุดเดียวกันกับที่ออกให้บูชาที่วัดทุ่งปุย เมื่อครั้งหลวงปู่ยังอยู่

    5. เสื้อยันต์อาจารย์เณรวิเศษณ์ เล่นหากันหลายพัน
    เสื้อยันต์ครูบาอิน ให้บูชาที่วัดใหม่หนองหอย 499.- บาท ราคาต่างกันหลายเท่า

    ผมรู้แค่นี้ครับ... ต้องขออภัยคุณสกายลาย ที่ถามมา
    แต่ผมไม่รู้จะตอบยังไงจริงๆ ครับ

    แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หรือมีที่มาที่ไปยังไง
    เสื้อยันต์ที่ออกที่ให้บูชาที่วัดใหม่หนองหอย เป็นเสื้อยันต์ที่หลวงปู่ครูบาอินได้อธิษฐานจิตปลุกเสกแล้ว
    ผมเชื่อในพุทธคุณ เชื่อในพลังจิตของหลวงปู่ครูบาอิน ที่สามารถประสาทให้เสื้อยันต์นี้มีความขลังได้
    หากสนใจร่วมบุญก็ติดต่อบูชาที่วัดใหม่หนองหอยได้เลยครับ
    ได้ร่วมบุญสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ด้วยครับ

    ธีระยุทธ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2010
  7. สกายลาย

    สกายลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +83
    ขอบคุณพี่wannabexciteมากคับที่ได้ให้ข้อมูลที่ทำให้หลายๆท่านได้รับรู้ประวัติ ผมพึ่งบูชาจากวัดรับจากมือพระอาจารย์ อินธร มาและเปิดดูตามwebเห็นเหมือนของอ.เณร เลยอยากทราบประวัติครับ
     
  8. สกายลาย

    สกายลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +83
    แล้วประวัติพระผงเกษาของหลวงปู่รุ่นแรก ที่พระ เณร ทำกันที่วัดแล้วให้หลวงปู่เสกนี้ประวัติเปนไงมั้งคับ พอดีผมสนใจรุ่นนี้ เพราะเห็นว่าเจตนาการสร้างดี แต่ปัจจุบันหายากมากครับ
     
  9. หนานผาบ1

    หนานผาบ1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +40
    เสื้อยันต์นี้ ไม่ได้มี แค่ สองที่ นะครับที่เหมือนกัน แถววัดในเชียงใหม่ ก็มีกัน เยอะ เเยะ บล็อคน่าจะมาจากโรงงาน เดียวกัน เพราะผมเคยเห็นโรงงานแห่งหนึ่ง ในเชียงใหม่ ท่านจะเอาบล็อคอะไร มีให้หมด ครับ
    ส่วนของอาจารย์เณร นั้น น่าจะมีคนหัวใส อัพ ราคา หน่อย เหมือนของครูบาวัง อะไร ก็ของครูบาวังหมด อันที่จริง ท่านก็ไม่ได้สร้างด้วย
     
  10. หนานผาบ1

    หนานผาบ1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +40
    ผ้ายันต์ม้าเสพนางนั้น น่าจะไม่ถึงยุค นะครับ ความคิดเห็นส่วนตัวผม

    แต่ที่แน่ๆ อาจารย์เณร ท่านได้ออกแบบ ยันต์หลังเหรียญพระเจ้าสักคงตัน ของวัด นวรัฐ หรือทุ่งเสี้ยว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1dsc01837.jpg
      1dsc01837.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145.3 KB
      เปิดดู:
      140
  11. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804
    สวัสดีครับคุณสกายลาย...

    คำถามเรื่องพระผงเกศารุ่นแรกนี้ตอบง่ายหน่อยครับ เพราะมีข้อมูลอยู่แล้ว
    ขอยกมาเลยนะครับ

    <IMG onclick="if(this.width>screen.width-461) window.open('http://www.krubain.com/forum/attachment/Mon_0912/8_2_69ca372a4951327.jpg');" border=0 src="http://www.krubain.com/forum/attachment/Mon_0912/8_2_69ca372a4951327.jpg">


    พระผงเกศารุ่นแรก
    หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท ปี ๒๕๓๓


    พระผงเกศาของหลวงปู่ ผู้สร้างคือคณะศิษย์และพระเณรในวัด ที่จดจำได้ก็มี พระไพบูลย์ อินทปัญโญ (พระอาจารย์พิณ) ผู้ที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องวัตถุมงคลต่างๆ ของทางวัด พระอธิการปรีชา เปสโล ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นสามเณร ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดฟ้าหลั่ง พระอาจารย์วุฒิ อนาลโย ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดศิลามงคล (วัดครูบาบุญมี) เข้าไปทางเดียวกับวัดใหม่หนองหอย และยังมีพระอาวุโสอีกรูปหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้ลาสิกขาบทไปแล้ว ชื่อพระเรือง หรือพ่อหนานเรืองในปัจจุบัน รวมทั้งพระเณรรูปอื่นๆ ที่อยู่ในวัดฟ้าหลั่งตอนสมัยนั้น

    กล่าวถึงพ่อหนานเรือง ในขณะนั้นหากไม่รวมหลวงปู่ครูบาอินแล้ว ถือว่าพระเรืองเป็นผู้ที่มีอาวุโสสูงสุด ในบรรดาพระเณรวัดฟ้าหลั่ง คณะญาติโยมหมายจะฝากฝังให้สืบทอดวัดฟ้าหลั่งต่อจากหลวงปู่ครูบาอิน แต่บุญกรรมเป็นเรื่องที่ยากจะหยั่งรู้ได้ ต่อมาในภายหลังพระเรืองได้ลาสิกขาบท และได้ย้ายไปอยู่บ้านแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนตราบจนถึงปัจจุบัน

    หลวงปู่เป็นพระที่ชอบแจกวัตถุมงคล ท่านแจกครั้งหนึ่งก็หลายองค์ ใครมาหามากราบมักจะได้ของดีกลับไปเสมอ วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมาถ้าทางพระเณรหรือกรรมการวัดไม่แบ่งไว้ให้เช่าบูชา หลวงปู่ท่านก็จะแจกหมด พระผงเกศารุ่นแรกนี้ก็เช่นกัน บางส่วนก็แจก บางส่วนก็ให้เช่าบูชา

    สร้างทั้งหมด ๓ แบบด้วยกันคือ

    แบบแรก: เป็นพระผงเกศาเนื้อผงพุทธคุณ (ผงธูป) และผงเถ้าจากการเผาดอกไม้ที่ญาติโยมนำมาบูชาพระ แล้วตักเอาแต่ผงเถ้า ผสมดินจอมปลวกด้านหลังวัด น้ำมันละหุ่ง ผงว่าน และเกศาของหลวงปู่ ใช้เวลารวบรวมมวลสารกว่า ๓ ปี เพราะดอกไม้ต้องนำมาตากแห้งแล้วเผา เก็บผงเถ้าครั้งหนึ่งก็ได้ไม่มาก ว่านยาต่างๆ ก็ต้องโขลกต้องตำกันเองภายในวัด หลังจากนั้นก็นำมากดพิมพ์ได้ประมาณหมื่นกว่าองค์ ขนาดองค์พระกว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร สูงประมาณ ๓ เซนติเมตร... เนื่องจากพระผงเกศาเนื้อผงพุทธคุณนี้ เป็นการผสมผง และกดพิมพ์กันเองภายในวัด เนื้อพระและสีขององค์พระจึงมีความหลากหลายไปตามส่วนผสม บางองค์สีจะเข้มกว่า บางองค์มีส่วนผสมสีดำๆ ปนอยู่ประปราย แต่กระนั้นเนื้อผงพุทธคุณและเนื้อผงไม้งิ้วดำ (ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป) ก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะเนื้อไม้งิ้วดำจะมีเกศามากกว่า และองค์พระเป็นสีดำเข้ม (แม้เมื่อเวลาผ่านไป จะเกิดคราบสีขาวๆ ผุดขึ้นมาบนองค์พระ แต่สีขององค์พระก็ดำเข้มกว่าเนื้อผงพุทธคุณอย่างเห็นได้ชัด)

    แบบที่สอง: เป็นพระผงเกศาไม้งิ้วดำ ใช้แม่พิมพ์เดียวกับแบบแรก พระวุฒิเป็นต้นคิดที่จะสร้างเป็นเนื้อพิเศษไม้งิ้วดำ โดยใช้ไม้งิ้วดำซึ่งมีลูกศิษย์หลวงปู่นำมาถวายจากอ.แม่สะเรียง เมื่อหั่นเป็นท่อนๆ แล้วโขลกกันเอง ใช้เวลาโขลกนานมากเนื่องจากไม้งิ้วดำเป็นไม้ที่แข็ง พระเณรสู้แรงโขลกไม่ไหว ทำให้ได้มวลสารไม่มาก จากนั้นนำมาผสมเกศา (ผสมมากกว่าพระเนื้อผงธรรมดา เพราะผู้ทำตั้งใจจะเก็บไว้ใช้กันเอง) ดินจอมปลวก และน้ำมันละหุ่ง และผงเถ้าดอกไม้เล็กน้อย กดพิมพ์ได้แค่ห้าสิบกว่าองค์ และมีแตกหักไม่สมบูรณ์บ้าง

    แบบที่สาม: เป็นพิมพ์พระรอด ขนาดพระรอดพิมพ์เล็ก เนื้อพญางิ้วดำเหมือนกับพระผงเกศาแบบที่สอง ในส่วนของพิมพ์พระรอดนี้ พระเรืองเป็นผู้เตรียมมวลสารและกดพิมพ์เอง จุดสังเกตุคือ ด้านหลังจะมีรอยปั๊ม เป็นตัว "อะ" ล้านนา เป็นสัญลักษณ์สำคัญ ท่านชาเล่าว่าหลังจากกดพิมพ์เสร็จ นำเอามาตาก พอดีเกิดลมแรงจึงพัดเอาพระรอดตกกระจายบริเวณด้านข้างพระวิหาร ปัจจุบันเป็นด้านหลังกุฏิหลวงปู่หลังใหม่ มีพระรอดที่เหลือในสภาพสมบูรณ์ประมาณ ๔๐ กว่าองค์เท่านั้น ขนาดสูงประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร

    พระผงเกศารุ่นแรกของหลวงปู่ครูบาอิน จัดสร้างขึ้นพร้อมกับรูปหล่อบูชา (ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว) รุ่นแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้จากการให้เช่าบูชาวัตถุมงคล มาก่อตั้ง “กองทุนบุญนิธิพระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท)” ณ วัดฟ้าหลั่ง เพื่อนำดอกผลมาใช้จ่ายในกิจการของวัดต่อไป

    หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท ได้อนุญาติให้จัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๓ และได้เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว หลังจากนั้นจึงนำออกมาแจกจ่าย โดยแบบแรกเนื้อผงเถ้าดอกไม้บูชาพระ ส่วนหนึ่งหลวงปู่ก็แจกให้กับผู้ที่มากราบนมัสการหลวงปู่ในช่วงนั้น อีกส่วนหนึ่งก็ให้เช่าบูชา (ราคาในตอนนั้นองค์ละ ๓๙.-) ส่วนเนื้อพิเศษไม้งิ้วดำทั้งสองพิมพ์ แจกกันในหมู่ลูกศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้น

     
  12. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804
    ผมเห็นด้วยกับพี่หนานผาบครับ...

    "อะไรก็ครูบาวัง" ชอบจังประโยคนี้
    เคยมีเจ้าของแผงพระท่านหนึ่ง เขียนลงเวปเลยนะครับ
    เรื่องผ้ายันต์ม้าเสพนาง ว่า "เขาเองก็ไม่รู้หรอกว่าเป็นของครูบาอาจารย์ใด"
    แต่ถ้าจะให้ตี ก็ขอตีเป็นของครูบาวัง...
    เพราะอะไร... เพราะตีเป็นของครูบาอาจารย์อื่นแล้ว "ไม่ได้ราคา"
    เอากันอย่างนี้...

    พี่หนานผาบคิดอย่างไรกับ "ตราปั๊ม" ...ไม่รู้ว่าคิดเหมือนผมหรือเปล่า... แฮะๆๆ

    ผมเคยเรียนปรึกษากับพระอาจารย์อินทรว่า
    เราน่าจะปั๊มตราวัดใหม่หนองหอยลงบนเสื้อยันต์ครูบาอิน
    จะได้แน่ใจชัดๆ ไปเลยว่า เป็นของครูบาอินเสก แน่นอน
    จะได้ปิดช่องทาง เผื่อว่า... เผื่อเฉยๆ นะ...
    ว่ามีคนจิตใจไม่บริสุทธิ์ เอาไปปั๊มตราวััดอื่นเพื่อ "อัพราคา"
    ก็จะทำไม่ได้...

    แต่ท่านก็ติงมาว่า... แล้วเสื้อยันต์ของครูบาอินที่มีผู้บูชาไปก่อนหน้านี้แล้วล่ะ
    คนที่บูชาไปเขาจะคิดยังไง วันนี้อาจจะรู้ ถ้าเปลี่ยนมือจะรู้ได้ยังไง
    เรื่องก็ค้างอยู่แค่นี้ครับ...

    อาจารย์เณรวิเศษณ์ยุคนั้นท่านดังจริงๆ
    ผมเกิดไม่ทันหรอกครับ แต่คุณตาผมท่านเล่าว่า คนแน่นวัดเลย
    แล้วยิ่งมีเหตุการณ์ที่ท่านเอามือซาวเหรียญวัดดับภัย
    ในกระทะหุงน้ำมันงา ยิ่งดังไปกันใหญ่...
    เหรียญพระเจ้าสักคงตัน น่าจะมีในงานประกวดได้แ้ล้ว
    พ.ศ.ก็ลึก... ประสบการณ์ก็แยะ... แต่คงยังขาดคนผลักดัน
    ฝากไปถึงงานจอบแรกด้วยนะครับ

    ธีระยุทธ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2010
  13. siwarit

    siwarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,159
    ค่าพลัง:
    +6,173
    ขอบคุณครับคุณธีระยุทธที่เอาเรื่องดี ๆ มาเล่าให้ฟังครับ ขอบคุณคุณสกายลายเหมือนกันครับที่ทำให้เกิดการชำระประวัติศาสตร์ โดยเจ้ากรมฯ และมิตรสหายครับ

    ผมว่าคนที่ได้ไปจากวัดใหม่หนองหอยคงต้องบอกกันเองหากมีการเปลี่ยนมือครับ แต่สำหรับผม คงเก็บไว้ไม่หลุดมือครับ :)
     
  14. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804

    สวัสดีครับคุณศิวฤทธิ์

    ของผมก็คงจะเก็บยาว ไม่เปลี่ยนมือเหมือนกันครับ...
    ถ้าเปลี่ยนมือก็คงจะเป็นญาติๆ พี่น้องกันเอง บอกกันได้

    แต่ผมว่าจะเอาของผมไปปั๊มตราวัดครับ ขอปั๊มเป็นกรณีพิเศษ
    จะได้ไม่เหมือนใคร... แฮะๆ

    วัตถุมงคลของหลวงปู่มีเยอะครับ
    บางรุ่นผมก็ไม่เคยเหนมาก่อนเลย...
    พอเจอ ก็ต้องสอบประวัติ สอบถามกันวุ่นไปหมด
    ทำให้บางทีตอบล่าช้า... หรือไม่บางทีก็อาจจะมีการ "เข้าใจผิด"
    ก็ต้องขออภัยล่วงหน้า หากมีเหตุการณ์นั้น "ผมไม่ได้มีเจตนา"
    ผมเล่าไปตามที่ผมพอจะรู้นะครับ

    แล้วหากมีความจำเป็น... มีข้อมูลใหม่เกิดขึ้นมา
    ก็ "ชำระประวัติศาสตร์" กันใหม่...
    สนุกดีออกครับ... พี่รู้สอง น้องรู้สี่ เอามารวมๆ กัน
    ขยายองค์ความรู้ของเราไปเรื่อยๆ ไม่มีวันจบครับ

    ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

    ธีระยุทธ


     
  15. Changpuak

    Changpuak สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +8
    ได้อ่าน...การวิเคราะห์อย่างมีหลักและเหตุผล ของคุณธีระยุทธ อดใจไม่ได้ที่จะต้องชื่นชม ในความรู้ความสามารถ และ ความพยายาม ที่แสวงหา ความรู้ ข้อมูล ข้อเท็จจริง ในรายละเอียดของ วัตถุมงคล หลวงปู่ครูบาอิน นับว่าเป็นประโยชน์ อย่างมาก สำหรับนักอนุรักษ์ และนักสะสมมือใหม่

    อดใจไม่ได้ แอบปลื่มนิดๆ ที่ มีรูปเสื้อยันต์ จากร้านค้าเรามาปรากฏอยู่ที่นี้ด้วยอ่านไปอ่านมาก็นึกสงสัย ขึ้นมาว่าแล้วสรุปเสื้อยันต์ที่เรามีนั้น มันเป็นยังไงกันแน่ และเป็นของใครกันแน่ เกิดเครื่องหมาย ? เข้ามาในหัวสมอง ก็คงแอบติดตามข้อมูลจากนักแสวงหา กันต่อไป ก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณ ธีระยุทธ สู้ต่อไปๆ

    ท้ายนี้ก็อยากจะฝาก ข้อคิดเล็กน้อย เท่าที่อ่านข้อมูลของคุณธีระยุทธ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ลายมือในอักขระ ของเสื้อยันต์ ไม่ตรงกับลายมือของพ่อหนานจันทร์ ทางครูบาอิน และก็ไม่ตรงกับลายมือของ พระอาจารย์เณร วิเศษสิงห์คำเป็นไปได้ไหม ที่จะมีลูกศิษย์ ที่นับถือ พระอาจารย์ทั้งสอง จัดทำมาจำนวนหนึ่ง แล้วนำมาถวายเพื่อให้ทางวัดจำหน่ายบูชา ความเก่าใหม่ ก็อาจจะเป็นไปได้ที่เสื้อยันต์อาจจะไม่ถึงยุคของอาจารย์เณรจริงด้วยความใหม่ แต่ใบฝอยที่เห็นนั้นเก่ามาก อาจจะเป็น ใบฝอยหรือเสื้อยันต์คนละ ชุดกัน ตราปั้มของ ใบฝอย กับ เสื้อยันต์อาจารย์เณร จึงไม่ตรงกัน เสื้อยันต์อาจจะเป็น ชุดใหม่ที่ศิษย์นำมาถวายให้กับวัด และทางวัดอาจจะ นำตราปั้ม มาปั้มเพื่อเป็นเอกลักษณ์ก็เป็นได้
    อีกนิดนึง หากจะบอกว่า นำมาปั้มเพื่ออัพราคาเป็นอาจารย์เณร ด้วยความดังหรือความนิยม ในความคิดของผม ครูบาอิน ก็ไม่ได้ด้อยน้อยไปกว่า อาจารย์เณร เลยแต่อย่างใด...

    ปล.ขอเป็นกำลังใจ ให้คุณธีระยุทธ พบข้อเท็จจริง และไขปริศนาเสื้อยันต์แดง โดยเร็ว....ด้วยจิตคารวะ

    แม็ก ช้างเผือก
    พระช้างเผือก
     
  16. แมวขาว

    แมวขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +241
    ขอเอาไปปั๊มด้วยคนครับ.....เห็นด้วยจริงๆเสื้อยันต์แดงไม่มีตราระบุที่มาควรจะระบุให้ชัดเจน..จะได้รู้กันไปเลยสำหรับผู้ทีนำไปใช้แล้วเกิดประสบการณ์.....จะได้นำมาเล่าสู่กันด้วยถึง พุทธาคมของหลวงปู่ครูบาเจ้าอินอินโท
     
  17. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804
    สวัสดีครับ...

    ต้อขอขอบพระคุณ และขอ "แสดงความนับถือ" ใน "น้ำใจ" และความ "ใจกว้าง"
    ของคุณแม็ก "พระช้างเผือก" ด้วยความเคารพยิ่งครับ

    การแสดงความคิดเห็นของผมข้างต้น
    ผมกลัวจริงๆ ว่าจะทำให้ใครไม่พอใจ จนต้องออกตัวไว้ก่อน

    แต่ก็อย่างที่ยกประเด็นข้อสังเกตุ และข้อสงสัยขึ้นมาครับ
    การได้รับรู้ข้อเท็จจริง ย่อมจะเป็นประโยชน์แก่วงการโดยรวมแน่นอน

    สำหรับข้อสังเกตุของคุรแม็กที่ว่าใบฝอย เก่าจริง อันนี้ผมเห็นด้วยครับ
    ผมเคยเอาใบฝอยเสื้อยันต์ มาเทียบกับใบฝอยวัวธนู พบว่า...
    ลักษณะตัวหนังสือเหมือนกันเลย... ดังนั้น ผมค่อนข้างจะมั่นใจว่า
    ใบฝอยเก่าจริง แน่นอน...
    แต่ก็ต้องแบ่งใจไว้สักเล็กน้อย เพราะในยุคนั้น
    ตัวอักษรเรียงพิมพ์ของโรงพิมพ์ไหนๆ ก็แทบจะเหมือนกันไปเสียหมด

    และสิ่งที่ติดมากัีบใบฝอย คือตราปั๊ม... ซึ่งก็ "แตกต่าง" กับตราปั๊มเสื้อยันต์แน่นอน

    วันไหนว่างๆ ผมจะไปวัดป่าสัก ไปขอดูตราปั๊ม...
    หรือพี่ๆ น้องๆ ท่านใดมีซองกฐินของวัดป่าสัก "ปีนี้" ลองโพสแบ่งกันชมนะครับ

    ส่วนประเด็นที่ว่า... เสื้อยันต์ไม่ถึงยุค ก็มีความเป็นไปได้สูงครับ
    แต่ถ้าใบฝอยเก่า แต่เสื้อยันต์ใหม่ นั่นก็หมายความว่าต้องมี "เสื้อยันต์เก่า" จริงๆ
    อยู่ในมือของผู้สะสมข้างนอกนั้น....
    ซึ่งสักวันหนึ่ง เราต้องได้เห็นแน่นอน... ผมเชื่อเช่นนั้น

    ในส่วนของการ "ไขปริศนา" (ชอบจัง คำนี้... แฮะๆๆ) ก็คงต้องศึกษากันต่อไปครับ

    ขอขอบพระคุณคุณแม็กอีกครั้ง ที่ร่วมแสดงความเห็นครับ

    ธีระยุทธ

     
  18. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,804

    ป่ะๆๆๆ ว่างๆ ไปกันครับ....

    เสาร์นี้ กฐินวัดหมูเปิ้งนะครับ
    องค์กฐิน ตั้งที่บ้าน ดร.นครินทร์ ไปๆ มาๆ ก็คนกันเอง
    ไปกินข้าวบ้าน อ้ายอ็อฟ (ดร.นครินทร์) บ่อยๆ
    ไม่ยักกะรู้ว่าบ้านคุณพ่อคุณแม่อยู่เยื้องๆ วัดหมูเปิ้งนี่เอง
    ถ้าสนใจร่วมแจม ก็โทรมานะครับ

    จะไปทวงล็อกเกตที่ท่านบีด้วย ไม่รู้แจกไปหมดรึยัง

    อ้ายไก่
     
  19. หนานผาบ1

    หนานผาบ1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +40
    ตราปั๊ม เหรอ ครับ ในส่วนที่เขาเอาปั๊ม เป็นวัด สันป่าสัก นั้น คนจะทำนั้นไม่ยาก นะครับ

    เรา สั่งทำเอง ได้เลย ครับ จะเอาแบบไหน ประมาณ 300 ขั้นต่ำ เอง ที่จริง เขาน่าจะเอาฝอย ที่มีตราปั๊ม ติดด้วย เอาให้ร้านเลย ว่า จะเอาอย่างนี้ เขาทำได้แป็ป เดียวเอง ทีนี้ เราก็จะมาวิเคราะห์ลำบากแล้ว ยังดี เขาไม่ได้มองในส่วนนี้

    พศ 20 นั้น ผมมองว่า จะสร้างยันต์ แต่ละผืนนั้น คนในสมัยนั้น เขาจะนิยม เขียนมือ เองเลยนะครับ จะได้อัดได้เต็ม ๆๆ จึงไม่พบได้บ่อย ไง เพราะคนทำต้อง ใจ๋เปียน และทำไม่เยอะด้วย สร้างให้เฉพาะลูกศิษย์ลูกหา ที่ต้องการจริงๆ เท่านั้น
    ความนิยม แผ่นยันต์สกรีน นั้น นิยมมา น่าจะไม่ถึงสิบปี นะ เพราะช่วงหลังๆมาต้องการในปริมาณที่มาก อาจจะเว้นไว้ตัวหนึ่ง ให้ผู้เป็นอาจารย์ลงปิด อีกทีหนึ่ง
    แต่ที่เห็นในปัจจุบันส่วนมาก จะสกรีนเสร็จเลย เสกอย่างเดียว

    ไปแล้วครับ สวัสดีครับบบบบบบ
     
  20. หนานผาบ1

    หนานผาบ1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +40
    ผมสอบถาม หน่อยนะครับ

    ที่วัดฟ้าหลั่ง ยังพอมี หลวงพ่อฟ้าหลั่ง ให้บูชา อยู่ไหมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...