รวมภาพวัตถุมงคลหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก ที่สร้างในวาระต่าง ๆ กัน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย magictao, 14 เมษายน 2010.

  1. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497
    กระแสเนื้อของโลหะมงคล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_8161.JPG
      IMG_8161.JPG
      ขนาดไฟล์:
      128.3 KB
      เปิดดู:
      98
    • IMG_8163.JPG
      IMG_8163.JPG
      ขนาดไฟล์:
      120.3 KB
      เปิดดู:
      80
    • IMG_8165.JPG
      IMG_8165.JPG
      ขนาดไฟล์:
      120.8 KB
      เปิดดู:
      81
    • IMG_8166.JPG
      IMG_8166.JPG
      ขนาดไฟล์:
      101.3 KB
      เปิดดู:
      81
    • IMG_8167.JPG
      IMG_8167.JPG
      ขนาดไฟล์:
      106.7 KB
      เปิดดู:
      92
  2. sikawatpawivek

    sikawatpawivek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +211
    เทวดาก็มารับน้ำมนต์ด้วยนะนี่
     
  3. sikawatpawivek

    sikawatpawivek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +211
    เหรียญหลวงปู่รุ่นทำบุญอายุครบ 80 ปี พุทธาภิเษก เสาร์ห้า
    ใครอยากได้ บริจาคสร้างอาคารรังสีรักษาหลวงปู่บุญเพ็ง 2,000.- บาท แล้วจะส่ง ปณ. ไปให้ค่ะ จำกัดเพียง 10 องค์ ค่ะ
    ส่งหลักฐานการโอนเข้าบัญชี "กองทุนก่อสร้างอาคารรังสีรักษา หลวงปู่บุญเพ็ง ฯ " ไทยพาณิชย์ 511-4-027944 พร้อมชื่อ - ที่อยู่ ไปยังกล่องข้อความค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2010
  4. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497
    สีผึ้งจันทร์เพ็ญ

    ท่านที่ไปที่งานเททองพระปราบโจรคงได้รับแจกจากหลวงปู่ ขอเรียนแจ้งให้ทราบว่าขณะนี้มีผู้นำไปทดลองยิงแล้ว 3 นัด

    ด้วยพระบารมีของหลวงปู่ของพวกเราลองปืนไม่ถูกตลับสีผึ้งทั้ง 2 นัด นัดที่ 3 จ่อยิงตรง ๆ ระยะเผาขน โดนตลับเต็ม ๆๆ แต่สีผึ้งคงสภาพเดิมทุกประการ

    รุ่นนี้สร้างเพียง 113 ตลับ เท่านั้น ตอนนี้กำลังรอรูปตลับสีผึ้งอยู่แล้วจะอัพโหลดให้ชม แล้วจะอัพราคาสีผึ้งชุดนี้ดีไหม

    ปล.ท่านที่ได้ไว้ใช้แทนพระเครื่องได้ มีทั้งเมตตามหานิยม ป้องกันอันตรายก็ได้
     
  5. AmuletaCafe'

    AmuletaCafe' สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +21
    พี่ magictao พอจะเล่า เรื่องมวลสารในสีผึ้งให้ฟังได้รึเปล่าครับ
    สำหรับรูป ขออวดนิดนึง อิอิ
    -พระกริ่งกัปปโกมหาลาโภ
    -ชานหมากของหลวงปู่
    -ตะกรุด และแผ่นจาร จากพี่ magictao (อันนี้ขอบคุณมาก ๆ ครับ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_2153.jpg
      IMG_2153.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.6 KB
      เปิดดู:
      113
  6. AmuletaCafe'

    AmuletaCafe' สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +21
    ผมเคยไปกราบหลวงปู่ แล้วเรียนท่านว่าช่วงนี้ ดวงตก ท่านก็ว่า " เอา ๆ เหรียญนี้ กับลูกแก้วไป " และแล้วเหรียญนี้ก็ไม่ธรรมดาจริง ๆ ด้วย
    กราบหลวงปู่ครับ
     
  7. AmuletaCafe'

    AmuletaCafe' สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +21
    พระกริ่งกัปปโกมหาลาโภ เอาไปเข้ากรอบแล้วคร๊าบบบบ
    กระแสเนื้ออกทอง มีพรายเงินคลุม สวยมั๊ก ๆ ๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_2155.jpg
      IMG_2155.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.6 KB
      เปิดดู:
      383
    • IMG_2161.jpg
      IMG_2161.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.4 KB
      เปิดดู:
      106
    • IMG_2159.jpg
      IMG_2159.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.4 KB
      เปิดดู:
      91
  8. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497

    ผงพระพุทธคุณทั้ง 5 ประการ แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือการอธิษฐานจิตปลุกเสกลงไปนั้นแหละครับ
     
  9. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497
    ท่านเสกให้ตลอดคืนวันเสาร์5ปี 2550
    เป็นรุ่นที่ท่านออกปากให้ทำเองท่านบอกว่าไปทำรูปเราให้หลังค้อม ๆ เหมือนหลวงพ่อทวด ต่อไปเราก็หลวงพ่อทวดองค์หนึ่ง
     
  10. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497

    งามมัก ๆๆ ครับ อนุโมทนาสาธุครับ

    อีก 2 องค์นี่พระอะไรครับมองไม่ถนัด
     
  11. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497
    ข่าวด่วนหลวงปู่อาพาธครับ

    ท่านมีอาการปอดอักเสบครับ หมอได้เก็บเสมหะท่านไปตรวจอีก 3 วันคงทราบผล ท่านไม่ยอมจำวัดที่โรงพยาบาล คณะศิษย์อ้อนวอนท่านก็ไม่ยอม

    ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัยและบารมีธรรมแห่งองค์หลวงปู่ขอให้ท่านหายอาพาธโดยเร็วพลันเทอญ

    แต่เหนือสิ่งอื่นใดเชื่อว่าอำนาจธรรมที่อยู่ในจิตของท่าน จะเป็นผู้พยาบาลธาตุขันธ์ของท่านเองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2010
  12. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497
    เรียนลูกศิษย์หลวงปู่ทุกท่านครับ

    ทราบว่ามีลูกศิษย์หลวงปู่จำนวนมากที่เข้ามาอ่านกระทู้ แต่ไม่แสดงตัว แสดงตัวกันเถอะครับ ถือวะว่าเป็นการเชิดชูบารมีธรรมขององค์หลวงปู่ อีกทั้งการสมัครสมาชิกในเวปก็ง่ายแสนง่ายขอบคุณครับ
     
  13. ดอกแก้ว

    ดอกแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,345
    ค่าพลัง:
    +7,482
    บุญใดที่ลูกได้กระทำมาดีแล้วตั้งแต่อดีตชาติถึงปัจจุบันชาติ ขอให้องค์หลวงปู่หายอาพาธโดยเร็วพลันด้วยเทอญ สาธุ ...
     
  14. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497
    "ความไม่สงบอยู่ตรงไหน ความสงบมันก็อยู่ตรงนั้น นั่นแหละ ทำเอา"

    หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก พ.ศ. 2541
     
  15. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497
    <CENTER><TABLE width=980 border=0><TBODY><TR><TD width=192>[​IMG]</TD><TD></TD><TD>
    พุทธาภิเษกตนเอง


    พระธรรมเทศนาโดย


    พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อบุญเพ็ง กัปปโก)


    วัดป่าวิเวกธรรม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น


    เทศนา ณ วัดอโศการาม จังหวัด สมุทรปราการ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    <CENTER><TABLE width=980 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE border=0><TBODY><TR><TD width=730>
    พุทธาภิเษกตนเอง
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    </TD><TD width=250>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริงติ อิมัสสะ ธัมมะปะริยายัสสะ อัตโถ สาธายัสมันเตหิ สักกัจจัง ธัมโม โสตัพโพติ

    อันดับต่อไปนี้ จงพากันตั้งใจสดับตรับฟังพระสัทธัมเทศนา อันเป็นศาสนธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้า พอเป็นเครื่องเตือนสติปัญญาของพุทธบริษัททั้งหลายที่ได้มาฟังธรรมพร้อมไปด้วยการบำเพ็ญภาวนา การฟังจำเป็นที่ เราจะต้องมีความตั้งใจ ก่อนที่เราจะฟังธรรมที่ประกอบไปด้วยความตั้งใจ เราก็ต้องอาศัยศรัทธา ศรัทธาเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเราในการที่จะทำสิ่งที่จะเป็นบุญเป็นกุศล แม้กระทั่งที่เรามานั่งภาวนาปฏิบัติธรรมพร้อมด้วยการฟังธรรม ก็จำเป็นจะต้องอาศัยศรัทธาความเชื่อ เราจะต้องเชื่อมั่นในตัวเอง ว่าการปฏิบัติจะต้องเป็นผลสำหรับผู้ปฏิบัติ เชื่อว่าเราจะต้องได้รับผลจากการกระทำของเรา ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ได้ตรัสไว้ดีแล้ว นอกจากศรัทธาเราจะต้องมีขันติ คือความอดและความทน เรื่องความอดทนก็เป็นปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติ ถ้าขาดความอดทน การปฏิบัติหรือว่าการงานนั้นก็คงหาความสำเร็จได้ไม่ เมื่อธรรมทั้งหลายนั้นพร้อมแล้วกับเรา และเราพร้อมด้วยธรรมดังกล่าวนี้แล้ว จากนั้นเราจะสรรหาสิ่งที่เป็นสาระประโยชน์ในตัวเอง คือ การปฏิบัติธรรม หมายถึง การสรรหาธรรมอันเป็นสมบัติที่มีอยู่กับตัวของเรา
    การสรรหาธรรมก็จะต้องใช้วิจารณญาณ ได้แก่ ปัญญาของเราให้รอบคอบ เมื่อเราตั้งวิจารณญาณให้รอบคอบดีแล้ว ต่อจากนั้นเราก็จะกำหนดตามอาการของจิต คือการปฏิบัตินั้นเราก็มิได้ มุ่งประสงค์อะไรนอกจากจิตของเราเท่านั้น เพราะการทำความดี ทุกอย่าง ก็เพื่อจะหาความดีให้จิต เพื่อจะทำจิตของเราให้ดี เมื่อเราประสงค์ที่จะให้จิตของเราดี เราจะต้องรักษาจิตของเราให้ดี การรักษาจิตนี้แหละเป็นปัจจัยสำคัญของการปฏบัติธรรม เราจะต้องสำรวมจิต การสำรวมจิตก็คือการรักษาจิต
    จิตนั้นอยู่ที่ไหน เราเห็นแล้วหรือไม่ จิตนั้นก็ไม่ได้อยู่ที่ไกล ทุกคนจะต้องมีจิต จิตก็คือใจ ใจก็คือจิต เราเอาแบบง่าย ๆ นี้เสียก่อน เดี๋ยวจะสงสัย จิตก็คือใจ ใจก็คือจิต ซึ่งก็พร้อมที่จะอยู่กับเรา เราก็ต้องรักษาจิต หรือสำรวมจิต
    ที่นี้จะรักษาอย่างไร การรักษาจิตนั้นก็คือการภาวนา การภาวนานั้นเป็นอย่างไร ก็เหมือนอย่างเราท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้ คือ นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้ายมือเบื้องขวาทับมือเบื้องซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก แล้วก็บริกรรมพุทโธ บริกรรมพุทโธในจิต เพื่อให้จิตของเราอยู่กับ พระพุทธเจ้า เพราะพระองค์เป็นนาถะ คือเป็นที่พึ่ง เราก็ควรที่จะเสกสรรจิตของเราให้อยู่กับพระพุทธเจ้า เสกสรรจิตของเรานั้นให้เป็นพุทธะ ให้เป็นพุทโธ เราจะไม่เสกสรรอะไรอย่างอื่น เราจะกำหนดจิตของเราและเสกคาถาในจิตของเรา คือ พุทโธเท่านั้น เราจะไม่นำเรื่องอะไร ต่าง ๆ เข้ามาคิด และเราจะไม่สนกับเรื่องอะไรนอกจากพุทโธ เราจะดึงพุทโธนั้นเข้าหาจิต และดึงจิตของเราเข้าหาพุทโธ เพราะว่าพุทโธนั้นได้แก่ คุณของพระพุทธเจ้า คุณของ พระพุทธเจ้านั้นอยู่ที่ไหน คุณของพระพุทธเจ้าก็อยู่ที่ใจเรา พระพุทธเจ้าท่านคอยเราอยู่เสมอ คอยเราอยู่ที่หัวใจเรา แต่พวกเรานั้นโดยมากมักจะไม่เข้าไปหาท่าน ยังคิดว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ประเทศอินเดีย หรือว่าพระพุทธเจ้านั้นอยู่ที่ปรินิพพาน แต่แท้จริงพุทธะคือผู้รู้องค์นี้ที่อยู่กับเรา พุทธะองค์นี้ที่คอยเราอยู่ แต่เรานั้นไม่ค่อยเสกสรรจิตของตัวเองให้เป็นพุทธะขึ้นมา เราไม่ได้เข้าไปหาท่าน มีแต่ออกไปหาข้างนอก คิดว่าท่านอยู่ในถ้ำ คิดว่าท่านอยู่ในป่าดงพงลึก แต่แท้จริงนั้นพุทธะคือพระพุทธเจ้าองค์นี้ประจำกับพวกเราทุกท่าน แต่เราก็ไม่ได้เข้าไปหา มีแต่หาออกไปข้างนอก แทนที่เราจะมาเสกสรรจิตของเรานี้ให้เป็นพุทธะ คือพุทโธขึ้นมาเราก็ไม่ได้นึก ไม่ได้คิดกัน
    การเสกสรรจิตของตัวเองให้เป็นพุทธะนั้นเป็นของประเสริฐยิ่งนัก แม้แต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ก็ทรงสรรเสริฐ สาวกผู้ใดที่เสกสรรพุทธะให้มีในจิตของตัวเองแล้ว พระองค์ก็ทรงยกย่องว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้ประเสริฐ
    เมื่อทราบว่า การปฏิบัติศาสนธรรม คือ การเสกสรรจิตของตัวเองเท่านั้น จำเป็นหรือเราจะส่งจิตหนีจากตัวเอง จำเป็นหรือเราจะส่งจิตของเราออกไปข้างนอก สมควรอย่างยิ่งที่จะเสกสรรจิตของเราให้อยู่กับที่ คือให้อยู่กับตัวเอง อย่าให้มันไป จะไปที่ไหนก็ตาม เราจะต้องรักษาคือ สกัดเอาไว้ด้วยสติ สติอยู่ที่ไหน สติก็อยู่ที่ใจนั้นแหละคล้าย ๆ กับว่าเอาตัวเองรักษาตัวเอง ก็ใจนั้นมีสติ ก็เอาสติที่มีอยู่กับตัวเองรักษาตัวเอง แล้วก็เสกพุทโธลงไป เสกให้มากเท่าที่จะมากได้ ถ้าใครอยากเจอของดีอันที่มีในตัวเอง ไม่จำเป็น กับเรื่องอื่นคือเราเสกพุทโธให้มาก เรียกว่า พุทธาภิเษกตัวเอง เสกตัวเองให้เป็นพุทธะ
    การพุทธาภิเษกวัตถุนั้น เราก็ยังพุทธาภิเษกให้ดีขึ้นได้ เราจัดพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทอง หรือปั้นด้วยปูนเป็นรูปของพระพุทธเจ้า เราจัดพิธีขึ้นแล้วก็สวดพุทธาภิเษกกัน แล้วก็ นั่งปรกกัน พระพุทธรูปที่หล่อไปด้วยทองและปั้นไปด้วยปูนนั้น หรือแกะสลักด้วยไม้นั้น เราก็ยังถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ถือว่าเป็นวัตถุที่ควรสักการะ เราก็ยังสักการะกราบไหว้ท่านอยู่ แล้วก็ยังถือว่าเป็นของดีและเป็นของประเสริฐได้ การพุทธาภิเษกตัวเองก็ไม่ได้ทำอะไรให้มาก ไม่มีพิธีรีตองอะไรให้มาก เพียงแต่นั่งหลับตา และกำหนดจิตของตัวเองเสกพุทโธ คือ บริกรรมพุทโธเท่านั้น การพุทธาภิเษกตัวเองนี้เป็นการเสกสรรอันประเสริฐ เป็นการที่เสกสรรยังความดีให้บังเกิดขึ้นกับตัวเอง จึงจัดว่าเป็นพุทธาภิเษกชั้นยอด
    ดังนั้น พวกเราทั้งหลายทุกท่านควรพุทธาภิเษกตัวเอง พุทธาภิเษกตัวเองก็คือ นั่งหลับตา และเสกพุทโธไป ทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งยืน ทั้งเดิน ทั้งนอน ทั้งนั่ง คือ ยืนเราก็เสกได้ นั่งเราก็เสกได้ นอนเราก็เสกได้ เดินเราก็เสกได้ เมื่อเราพุทธาภิเษกตัวเองแล้วผลของการพุทธาภิเษกตัวเองคืออะไร ความศักดิ์สิทธิ์ของการที่เราพุทธาภิเษกตัวเองนั้น ที่เราจะได้รับคือ ความสงบ เป็นเบื้องต้น เมื่อมีความสงบเราก็มีความสุข มีความสบายในจิต จิตเรามีความสงบสุขสบายเป็นพื้นฐาน มีสมาธิเป็นที่ตั้ง นี้เแหละผลของการพุทธาภิเษกตัวเอง เมื่อจิตของเรามีความสงบสุขสบายและตั้งมั่นเป็นสมาธิ ก็แสดงว่าเราตกเข้าไปในรัศมีของพระพุทธเจ้าแล้ว ระยะนี้การพุทธาภิเษกตัวเองของเรานั้นกำลังจะแสดงผลปรากฏ แก่เรา เราจะรู้คุณค่าของการพุทธาภิเษกในตัวเอง เราจะเห็นความดีในตัวเองที่เกิดขึ้น ผลอันที่เราจะต้องพึงได้ ได้แก่ ความสุข ปีติ และความอิ่มใจ เมื่อเราได้รับผลคือ ความสุขปีติ และความเอิบอิ่มใน ตัวเองแล้ว ศรัทธาคือ ความเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะมากขึ้น เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ เราจะเห็นคุณค่าธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในเมื่อเราได้ตกเข้าสู่กระแสธรรมของพระพุทธเจ้า ได้แก่ ความสงบ
    รัศมีของพระพุทธเจ้าก็ดี กระแสธรรมของพระพุทธเจ้าก็ดี ถือว่าเป็นอันเดียวกัน เมื่อลงไปรวมกันที่จิตแล้วก็แยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่าแยกพูด เหมือนคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีมาก ถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ แต่เมื่อมารวมกันแล้วก็รวมไปที่จิตใจของเราเท่านั้น เมื่อจิตของเรามีความสุขสบายและตั้งมั่นด้วยความสงบสุข เรียกว่า สมาธิ เรียกว่าเราเข้าสู่กระแสธรรม หรืออยู่ในรัศมีของพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจที่เราได้พุทธาภิเษกตัวเอง หรือว่าเสกสรรตัวเองให้ได้เป็นพุทธะ คุณของพระพุทธเจ้านั้นก็จะปรากฏในจิต คุณของพระธรรมนั้นก็จะปรากฏในจิต คุณพระ- อริยสงฆ์นั้นก็จะปรากฏในจิต เรียกว่า รวมเข้าในมโนธาตุคือ ใจของเราแห่งเดียว เพราะฉะนั้นการที่นักปราชญ์บัณฑิตสอนให้เราเจริญภาวนานั้น ก็เพื่อว่าจะให้ใจของเรานั้นเข้าไปสู่จุดของกระแสธรรม จุดของรัศมีแห่งพระพุทธเจ้าอันที่มีแล้วในหัวใจ ถ้าใจของเราทุกคนมีความสงบตั้งมั่นคุณสมบัติของธรรมนั้นก็มีกันทุกหัวใจ แต่ข้อสำคัญคือใจเราที่ยังไม่สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิที่ทำให้เรายังไม่เห็นอะไรในตัวเอง ยังไม่เห็นพระพุทธเจ้า คือ พุทโธอยู่ในตัวเอง ต่อเมื่อเราทำใจของเราให้สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว เราจะอ๋อ ! ! คุณของพระพุทธเจ้าอยู่ตรงนี้ พระธรรมเจ้าก็อยู่ตรงนี้ พระอริยสงฆ์ก็อยู่ตรงนี้ เราจะอ๋อเลย เราจะไม่ได้ไปหาที่อื่นไกล
    พอรู้ว่าท่านทั้งสามนี้ท่านตั้งถิ่นฐานอยู่กับใจของเราแล้ว เมื่อรู้ว่าท่านทั้งสามอยู่กับเราแล้ว เราจะไม่ไปหาที่อื่น และจะไม่ส่งจิตของเราไปที่อื่น เราจะหาที่จิตของเรา จะรักษาจิตของเราให้อยู่กับท่านด้วยการที่เราเสกสรรจิตของเราให้เป็นพุทโธ นี้เรียกว่าการรักษา เมื่อเราได้พุทโธแล้วก็เป็นของที่มีคุณค่ามาก ไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบได้ เราจะเห็นความดีในจิตของเรา เมื่อเราเห็นว่าความดีทั้งหลายมีอยู่ที่จิตของเรา ต่อนั้นไปเราก็จะได้ตั้งใจหาเฉพาะเจาะจงลงตรงที่ใจของเราที่มันรู้อยู่ในขณะนี้ เจาะโดยวิธีไหน ก็เจาะโดยวิธีที่เราจะต้องบริกรรมพุทโธหรือว่าพุทธาภิเษกตนเอง เราอย่าเอาอย่างอื่นมาแทรก แม้แต่ความคิดต่าง ๆ ที่จะคิดขึ้นมาเราก็ระงับไว้ก่อน ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ก็อย่าไปคำนึง ทั้งที่ส่วนดีและทั้งที่ไม่ดี เราก็อย่าเพิ่งนำเอามา คือ เราตัดกระแสจิตของตัวเองด้วยปัญญาในขณะนั้น และเราก็ขยับพุทโธเข้าไป เอา พุทโธนั้นให้ยั้งตัวให้ได้ เสกพุทโธในจิตของเรานั้นให้ได้ เราอย่าไปเอาเรื่องอื่น ถ้าจิตของเรามีความสงบแล้ว เราจะมานั่งภาวนา เท่าไรเราก็นั่งได้ คือว่านั่งสบาย ตัวเบาและใจเบา นั่งแล้วก็ไม่มีความเดือดร้อน นั่งแล้วก็ไม่มีความอึดอัด นั่งแล้วก็ไม่รำคาญ นั่งแล้วก็ไม่เจ็บโน้นปวดนี้ ในเมื่อจิตมีความสงบแล้ว มันไม่มีการ ที่ทำให้เราอึดอัด เรียกว่า เรานั่งได้สบาย เรามาทุกวันเราก็นั่งได้ ทุกวัน
    ยิ่งนั่งเราก็ยิ่งสบาย ยิ่งนั่งเราก็ยิ่งมีความสุข ยิ่งนั่งเราก็ยิ่งมีความรู้และปัญญาเกิดขึ้นในตัวเอง เรียกว่า ปัญญาเกิดขึ้น โดยอัตโนมัติในความสงบนั้นมันรู้ของมันเอง มันเห็นของมันเอง นิมิตหรือมโนภาพ มันเกิดขึ้นแล้วมันก็หายไป มันเกิดขึ้นอีกแล้วมันก็หายไป หากเห็นก็เป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องเป็นนิมิตเครื่องหมายมาให้เราเห็น จะเป็นห้วยหนองคลองบึง ป่าไม้ ภูเขา อาคารบ้านเรือน วัดวาอารามก็แล้วแต่ ตลอดถึงสัตว์ บุคคล ที่จะเป็นนิมิตมาให้เราเห็น เราก็เป็นแต่เพียงรับรู้ รู้ว่านี้เป็นแต่เพียงนิมิตเครื่องหมาย เราก็ไม่ได้เอานิมิตนั้นออกมาได้ ก็ได้แต่เพียงว่าเราเห็น แล้วสิ่งเหล่านั้นก็หายไป หมดไป แต่สำหรับใจที่มีความสงบอยู่นั้น มันก็เห็นด้วยความสุข เห็นด้วยความสบาย ไม่ใช่ว่าเห็นแล้วจะเป็นทุกข์ หรือว่าเห็นด้วยความเป็นทุกข์ใจ หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ มันมีความสุขในตัวเอง มันก็เห็นด้วยความสุข สิ่งเหล่านั้นมันผ่านมาแล้วก็ลบไป อย่างอื่นก็เข้ามาแทน บางทีก็หายไปเลย จิตนั้นก็มีความสงบอยู่ หรือไม่ก็สว่างอยู่ เป็นแสงสลัว ๆ และนวลขาวไปหมดอย่างนี้ก็มี มันเป็นเรื่องของความสงบที่เกิดขึ้นในตัวเอง คือเป็นเรื่องของจิต แต่เราก็ไม่ได้มีความกลัวอะไร เราก็ไม่ได้มีวิตกกังวลอะไร โทษอะไรก็ไม่มี แล้วมันก็หายของมันไป นี้เรียกว่านิมิต
    ที่เราเห็นนิมิตก็ไม่ใช่อย่างลืมตาดูเหมือนของภายนอก ให้มีความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิให้มีความสว่างในตัวเองเสียก่อนจึงจะเห็น ความสุขก็มีในตัวเอง เพราะจิตมีความสงบ ไม่มีโทษอะไร ยิ่งเราทำไปยิ่งมีความสงบเท่าไร จิตนั้นก็ยิ่งมีผลลัพธ์ดีขึ้นมาก เท่านั้น แต่ก็ต้องให้มีความสงบติดต่อกันไปเรื่อย ๆ อย่างวันนี้นั่งให้มีความสงบ วันพรุ่งนี้มานั่งก็สงบต่อไปอีก มะรืนก็สงบต่อไปอีก ถ้าลักษณะนี้จิตของเราก็จะมีความละเอียดไปด้วยความสงบนั้น แต่ก็ไม่ได้อยู่คงที่ วันนี้ดีเท่านี้ ถ้าสงบอีกก็ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าลักษณะนี้จิตของเราก็จะมีความละเอียดไปด้วยความสงบนั้น แต่ก็ไม่ได้อยู่คงที่ วันนี้ดีเท่านี้ ถ้าสงบอีกก็ดียิ่งขึ้นไปอีก เรียกว่าดีขึ้นโดยลำดับๆ
    ในขณะที่จิตของเรามีความสงบ เราจะได้เห็นด้วยตนเองและได้รู้ด้วยตนเอง นี่เรียกว่า นิมิต ซึ่งเกิดขึ้นในจิต จิตของเราก็ได้ประสบกับของที่เราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น เราไม่คิดว่าจะมีมา แต่มันก็มีมาได้ เพราะอะไร ก็เพราะจิตของเรานั้นมีพุทธะ คือจิตได้ตั้งมั่นอยู่ในความเป็นพุทโธ เมื่อจิตของเรามีพุทโธอยู่แล้ว เราเชื่อได้ว่าพระพุทธเจ้านั้นเป็นสรณะและที่พึ่งของเรา เมื่อเราเชื่อในพระพุทธเจ้าแล้ว อะไรหรือจะมาทำลายเราได้ จิตเราก็ไม่กลัว ต่อเมื่อจิตของเราเป็นพุทธะแล้ว จะไปหวั่นไหวอะไร ก็เราพึ่งพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้ามีแล้วในจิตของเรา เราจะกลัวอะไร ก็เราเป็นศิษย์ของตถาคต พระตถาคตก็ย่อมรักษาเรา เราก็เป็นลูกของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ต้องรักษาเรา สิ่งใดในโลกที่จะทำลายพระพุทธเจ้าได้ มันไม่มี เมื่อเราได้เข้าถึงท่านแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะมาทำลายเราได้ เราก็ไม่กลัว เมื่อจิตไม่กลัวนั้นแหละเราจะเดินจิตได้สะดวก คือ ไม่สงสัย และมั่นใจว่าไม่มีอะไรที่จะมาทำให้เราเสียหายได้
    นั่นและถ้าเรายิ่งทำก็ยิ่งดี เมื่อเราทำดียิ่งขึ้นจิตก็ยิ่งดีขึ้น เรียกว่าเราตกเข้าไปสู่กระแสธรรม เมื่อเราตกเข้าไปสู่กระแสธรรม ธรรมก็จะต้องบังเกิดขึ้นกับจิตเรา เมื่อจิตของเราบังเกิดขึ้นซึ่งธรรม ความเป็นศีลเป็นธรรมในจิตของเราก็พร้อม ศีลธรรมพร้อมในจิตของเรา เมื่อจิตของเราเป็นธรรม ธัมโม หะเว รักขติ ธัมมะจาริง ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม ธัมโม สุจิณโณ สุขมา วะหาติ ธรรมที่ปฏิบัติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ พระธรรมรักษาก็เพราะการปฏิบัติดี เมื่อปฏิบัติธรรมดีแล้วก็ย่อมจะนำมาซึ่งความสุข
    มันอยู่ตรงนี้ไม่ใช่ว่าอยู่ที่อื่นไกล อย่าไปบรรยายอะไรให้มันมาก มันจะลำบาก การปฏิบัติของเราก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรกันแน่ และจะทำกันตรงไหนแน่ ก็เลยไม่รู้จักจุดหมายปลายทาง และจุดดีจุดเด่นไม่รู้ว่าจะปฏิบัติกันอย่างไร ได้ผลยังไงก็เลยไม่รู้เรื่อง พระธรรมที่จะต้องรักษาจะรักษาอย่างไรก็เลยไม่รู้ และการปฏิบัติธรรมดีแล้วย่อมนำมาซึ่งความสุขก็เลยไม่รู้เรื่องอีก เพราะเรานั้นไม่ได้มุ่งถึงจิตเราเองนั้นเป็นเป้าหมาย และไม่เอาจิตของตัวเองนั้นเป็นที่ตั้งแห่งธรรมทั้งหลาย เราคิดว่าธรรมนั้นอยู่ข้างนอก และไม่เอาตัวของตัวเองเป็นธรรม ไม่เอาตัวของตัวเองเป็นตัวศีลตัวธรรม เป็นก้อนศีลก้อนธรรม ก้อนสวรรค์นิพพาน เราอย่าไปคิดว่าตำรานั้นเป็นสวรรค์ ตำรานั้นเป็นเมืองนิพพาน ไม่ใช่อย่างนั้น ตำรานั้นเป็นผู้ที่ชี้แนะให้เราไปสวรรค์ ตำรานั้นเป็นผู้ชี้แนะให้เราไปนิพพาน ตำรานั้นชี้แนะให้เราไปที่ไหน ให้ไปตรงไหน ตำรานั้นก็ชี้แนะเข้ามาหาเราว่าสวรรค์นั้นก็อยู่ตรงนี้ นิพพานนั้นก็อยู่ตรงนี้ ท่านไม่ได้ชี้ไปที่อื่น
    คำสอนของพระพุทธเจ้าแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น ท่านชี้เข้ามาหาเราหมด ศีล ๕ นั้นเราจะเอาตำราเป็นศีล หรือเอาตัวเราเป็นศีล ศีล ๘ เราจะเอาตำราเป็นศีล หรือเอาตัวเราเป็นศีล ศีล ๑๐ ก็เช่นเดียวกัน ศีล ๒๒๗ ก็เช่นเดียวกัน เราจะเอาตำรานั้นหรือเป็นศีล หรือเอาตัวเราเป็นศีล เอาตำราเป็นศีล ตำราก็ไม่ได้รักษาศีล เมื่อตำราไม่ได้รักษาศีล แล้วใครเป็นผู้รักษาศีล ก็ตัวเรานั้นแหละเป็นผู้รักษาศีล เมื่อตัวเราเป็นผู้รักษาศีล ทีนี้อะไรเป็นศีล ก็ตัวเราทั้งหมดนั้นแหละเป็นตัวศีลและเป็นตัวธรรม จึงจัดได้ว่าเป็นก้อนศีลก้อนธรรมในตัวเราทั้งหมดนี้ ก็พวกเรานี้แหละเป็นผู้รักษาศีล ๕ ก็พวกเรานี้แหละเป็นผู้รักษาศีล ๘ ก็พวกเรานี้แหละเป็นผู้รักษาศีล ๑๐ ก็พวกเรานี้แหละเป็นผู้รักษาศีล ๒๒๗ ไม่ใช่ตำรารักษาศีล ตำรานั้นชี้บอกมาว่าศีลนั้นอยู่กับตัวของเธอ ศีลนั้นก็อยู่กับตัวของท่าน ตำราบอกมา ที่นี้เราเมื่อรับตำราว่าอย่างนั้น เราก็เลยมารักษาตัวศีล มารักษาตัวธรรม กายของเราก็ไม่ได้ฆ่าสัตว์ กายของเราก็ไม่ได้ลักทรัพย์ กายของเราก็ไม่ได้ประพฤติผิด วาจาเราก็ไม่ได้ไปโกหกพกลม ตัวเราก็ไม่ได้ดื่มสุราเมรัย นี่มันรักษาตัวเองหรือรักษาศีล ถ้าพูดกันอย่างตรง ๆ แล้วคือรักษาตัวเอง ก็พูดอย่างตรง ๆ ตัวเองก็คือตัวศีล ทีนี้เราจะไปที่ไหน บุญ บาป ตัวบุญ ตัวบาป เราจะเอาตำรานั้นหรือเป็นตัวบุญ เราจะเอาตำรานั้นหรือเป็นตัวบาป ตำราไม่ใช่บาป ตำราไม่ใช่บุญ ตำรานั้นก็ชี้มาหาเรา ถ้าเราล่วงเกินศีล จะเป็นศีลอะไรก็ตาม เมื่อเราทำผิดศีล เราไม่รักษาตัวของเรา ในตำราก็บอกว่าตัวผู้นั้นก็เป็นบาปเกิดจากตัวผู้นั้นไม่รักษาตัวเอง ก็ตัวเองนั้นเป็นตัวบาป ตัวบุญก็ตัวเองนั้นรักษาตัวเองไม่ไปฆ่าสัตว์ ไม่ไปลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิด ไม่มุสาวาท ไม่ด่าไม่ว่า และไม่ดื่มสุราเมรัย มันก็เป็นบุญ แล้วตัวบุญอยู่ที่ไหน ตัวบาปอยู่ที่ไหน สรุปแล้วก็คือว่าตัวของเรานั้นเป็นตัวบาปและตัวบุญ เป็นได้ทั้งบาปและเป็นได้ทั้งบุญ แล้วเราจะไปหาตัวบาปที่ไหน ไปหาตัวบุญที่ไหน
    แม้กระทั่งถึงว่าเป็นผี ผีอยู่ที่ไหน ผีก็คือตัวเรา ถ้าอยู่มีเนื้อมีหนังเขาก็ถือว่าเป็นคน แต่พอตายเท่านั้นแหละนอนเอกเขนก เขาเอาใส่หีบใส่โลงแล้วก็ยกเข้าไปสู่กองไฟเขาก็เผา ส่วนร่างกายเขาก็เผา ส่วนวิญญาณที่ออกไปนั้นถ้าออกไปเสวยบาปที่ไม่รักษาศีล ไปเป็นเปรตก็ดี ไปเป็นอสูรกายก็ดี ไปเป็นสัตว์นรกก็ดี นี่เขาเรียกว่าผี แล้วใครเป็นผี ก็ตัวเรานี้แหละเป็นผี พูดกันอย่างตรง ๆ ผีก็คือตัวเรา ผีก็ไปจากมนุษย์ ทีนี้ถ้าทำดีก็ไปเป็นเทวดา ไปสวรรค์ ไปอยู่ชั้นจาตุมมหาราชิกา ไปดาวดึงส์ ไปยามา ไปดุสิตา ไปนิมมานรดี ไปปรนิมมิตวสวดี ก็ใครไป ก็วิญญาณอันนี้ไปสู่สุคติ เรียกว่าตัวบุญ ตัวบุญก็คือใคร ก็คือเรา เมื่อทำดีแล้วก็ย่อมไปสู่สุคติ เมื่อทำชั่วแล้วก็ย่อมไปสู่อบาย ทีนี้เป็นใคร ก็เป็นตัวเรามิใช่หรือ เป็นตัวมนุษย์มิใช่หรือ เราก็เป็นมนุษย์ เราก็เป็นคน ขณะนี้เรายังมีชีวิตอยู่ เรียกว่าเรายังเป็นคนอยู่ จะไปเป็นผีก็ยังหาใช่ไม่ จะไปเป็นเทวดาก็ยังหาใช่ไม่ แต่ก็จะต้องไปแน่ ๆ ไม่เป็นอย่างหนึ่งก็ต้องเป็นอย่างหนึ่ง นี่ก็แสดงว่าตัวเราเป็นตัวบาป เป็นตัวบุญนั้นแหละ ตัวบุญอยู่ที่ไหนตัวบาปอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่ตัวเรา
    ทีนี้ตัวมรรคตัวผลก็คือตัวเรา เมื่อทำใจของเราให้มีความสงบเป็นสมาธิอันกล้าแล้ว จิตมันชำระตัวเองออกจากกิเลสได้แล้ว มันก็เข้าสู่องค์มรรคองค์ผล ก็จิตตัวเดียวนี้แหละ ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าถึงจะมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ตาม ต่อเมื่อเรามาทำใจของเราเป็นหนึ่งได้แล้ว เป็นสมาธิได้แล้ว ธรรมก็จะมารวมอยู่ที่จุดเดียว คือใจของพวกท่านทั้งหลายนี้ จะเป็นใครก็ตาม จะเป็นบรรพชิตหรือพระสงฆ์องคเจ้าก็ตาม จะเป็นขาวเป็นชีก็ตาม ก็มีสิทธิที่จะต้องเป็นได้ ก็เพราะมีใจอันเดียวกัน ผิดแต่เพศ ผิดแต่ร่าง เพศหนึ่งเป็นเพศชาย เพศหนึ่งเป็นเพศหญิง แต่สำหรับใจนั้นอย่างเดียวกัน คือสภาพที่รู้อันเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงมีสิทธิไปสวรรค์ได้ มีสิทธิไปสู่พรหมโลกได้ มีสิทธิที่จะต้องทำตนให้ถึงซึ่งพระนิพพานได้ มีสิทธิเสรีเสมอกัน และก็มีสิทธิไปสู่อบายภูมิได้ คือว่าไปตกนรกได้ ไปเป็นเปรตได้ ไปเป็นอสุรกายได้ ไปเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ มันก็ไปได้อย่างเดียวกันเมื่อมันออกจากร่างของมนุษย์นี้แล้วมันจะไปตามหน้าที่หรือตามคติกรรมของเขาซึ่งเขาได้ทำไว้แล้ว คือมันส่งผลไปเอง โดยไม่มีใครชี้บอกเขา เขาไปเอง นี้แหละตัวบุญตัวบาปก็อยู่กับเรา ตัวมรรคตัวผลก็อยู่กับเรา ตัวศีลตัวธรรมก็ตัวเรา ก้อนศีลก้อนธรรมก็คือเรา
    เมื่อเรารู้ว่าก้อนศีลก้อนธรรมก็คือตัวเรา ตัวมรรคตัวผลก็คือตัวเรา ทีนี้เราจะไปหาที่ไหน จะไปหาศีลที่ไหน จะไปหาธรรมที่ไหน จะไปหามรรคที่ไหน จะไปหาผลที่ไหน จะไปหาสวรรค์ที่ไหน จะไปหานิพพานที่ไหน ถ้าเราไม่พุทธาภิเษกหาตัวเองแล้วเราจะไปหาที่ไหน มันจำเป็นอยู่แล้วที่จะต้องพุทธาภิเษกตัวเองนี้ให้เป็นศีลเป็นธรรมขึ้นมา เมื่อเราเป็นศีลเป็นธรรมขึ้นมาแล้ว ศีลธรรมนั้นแหละที่จะนำให้เราเป็นพุทธะ เราเสกตัวเองนี้ให้เป็นศีลเป็นธรรมขึ้นมา จิตของเรานั้นก็เป็นพุทธะ ก็คือเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนอย่างองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่เบื้องต้นพระองค์ก็พร้อมไปด้วยกายกับจิต พระองค์ก็ยังไม่ได้ขนานนามพระองค์ว่าเป็นพุทธะ หรือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อเมื่อพระองค์มาพุทธาภิเษกตนเองให้ได้บรรลุยังจิตของพระองค์ให้ประกอบไปด้วยคุณธรรม มีมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ พระองค์จึงได้ประกาศว่าพระองค์นั้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ คือเป็นผู้ที่ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง นี้แหละจึงได้เรียกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเรียกว่าพระพุทธเจ้า ก็หมายถึงว่าพระองค์ได้บรรลุธรรม มีธรรมในมโนธาตุหรือในฤทัยใจของพระองค์ ใจของพระองค์เต็มไปด้วยคุณธรรมทั้งหมด เต็มไปด้วยศีลธรรมทั้งหมด ถ้าไม่มีศีลไม่มีธรรมจะเรียกว่าพระพุทธเจ้าได้อย่างไร คนขี้เหล้าเมายาจะไปเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร คนมีกิเลสตัณหามานะทิฐิจะไปเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร เป็นไม่ได้ จะต้องประกอบไปด้วยความเป็นศีลเป็นธรรมใจจิตทั้งหมด นั้นจึงได้ยกว่าเป็นพระพุทธเจ้า
    ดังนั้นเมื่อเรามาเสกสรรจิตของเรานี้ให้เป็นพุทธะ เสกจิตของเราให้เต็มไปด้วยคุณธรรมได้แก่ความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตนั้นได้รู้แจ้งแสงสว่างในตัวเองสามารถที่จะมองเห็นโทษของกิเลส สามารถที่จะมองเห็นโทษของการละเมิดศีล จิตนั้นก็จะต้องอยู่ในคุณสมบัติในทางสุจริตเพราะได้เห็นโทษตัวเองในทางจิตแล้ว จิตนั้นก็จะมุ่งเข้าไปสู่ความสุจริตอันประกอบไปด้วยความสงบ ความสงบนั้นเป็นสาเหตุที่จะทำให้จิตของเรานั้นมีความสุจริต เมื่อจิตของเรามีความสุจริตเห็นโทษในการที่ล่วงละเมิดข้อศีลต่าง ๆ จิตนั้นก็จะได้ระมัดระวังรักษาตนเองและอยู่ด้วยความเป็นศีลธรรม เมื่อจิตอยู่ด้วยความเป็นศีลธรรม จิตก็เริ่มมีพุทธะ จิตก็เริ่มเป็นพุทธะย่อมมีความฉลาดในตัวเอง ก็ความฉลาดที่มีในตัวเองนั้นแหละจะสังหารความชั่ว เรียกว่าความชั่วอะไรต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น จะผลักดันให้กายของเราไปทำ จะผลักดันให้ปากของเราพูด จะผลักดันให้จิตของเราคิดไปในทางชั่ว ปัญญาคือความฉลาดด้วยความเป็นพุทธะนั้นกำจัดเสียแล้ว ก็เลยไม่ได้ไปทำตาม ไม่ได้ไปพูดตาม และก็ไม่ได้ไปคิดตาม แสดงว่าเป็นผู้สุจริตหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ เมื่อมีความบริสุทธิ์ก็แสดงว่าเป็นพุทธะ นั้นแหละความเป็นพุทธะ ก็คือว่าเป็นผู้มีศีลมีธรรม ถ้าไม่มีศีลธรรมในจิต เราจะเป็นพุทธะได้อย่างไร เราจะเป็นพุทโธได้อย่างไร
    เพราะฉะนั้นการภาวนาพุทโธจึงมีความหมาย ไม่ใช่หมายว่าเราว่าพุทโธแล้วจะดีเลย ไม่ใช่ เราอย่ามาคิดเอาง่าย ๆ แค่นี้ ให้มองเข้าไปในส่วนลึกของความเป็นพุทโธนั้น ใจของเราเข้าไปหยั่งถึงซึ่งจุดอันสำคัญ จุดเด่นของพุทธะก็คือความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ เป็นเครื่องที่จะผูกมัดจิตไม่ให้ดิ้น เป็นเครื่องที่จะยังจิตของเรานั้นให้มีความมั่นคงไม่หวั่นไหวหรือสั่นสะเทือนกับอะไร เมื่อจิตมีความตั้งมั่นไม่หวั่นไหวหรือสั่นสะเทือนกับอะไรแล้ว ก็คือเราผูกมัดได้ดีแล้ว มันก็สนุกสิ สนุกชำระล้างตัวเอง สนุกในการขัดเกลาตนเอง ตรงไหนที่มีจุดดำ ตรงไหนที่มีจุดมัวหมอง ตรงไหนที่มีจุดร้าย ตรงไหนที่มีจุดไม่ดี ตรงนี้เราจะขัดเกลาเราได้ เราจะชำระตัวได้ ที่ชำระได้ก็เพราะอะไร ก็เพราะว่ามีความมั่น คือจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิมีความมั่นคง
    เมื่อจิตไม่ได้ดิ้นก็มีสิทธิที่จะขัดเกลาได้ เดี๋ยวนี้จะไปขัดเกลาอะไรได้ พอจะว่าพุทโธคำสองคำเท่านั้นมันกระโดดผาง มันรอบโลกจักรวาลแล้ว ทีนี้เราจะไปชำระอะไรได้ นี้แหละที่เราขาดสมาธิ จึงเอาอะไรไม่ได้ ทำกันไปเถิด ก็ได้บุญก็ไม่ได้ตำหนิติโทษอะไร มันก็ได้อยู่หรอกได้บุญ แต่ว่าส่วนลึกก็อยากให้รู้บ้าง เพราะรามีสิทธิที่จะต้องรู้ได้ พอจะรู้ได้ก็อยากจะให้รู้ ไม่อยากกีดกัน พอผลักหลังให้เดินไปได้ก็ให้เดินไปเลย ไม่มีการกีดกันส่วนที่เราทำกันนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะไร้ผล มันก็ได้บุญ แต่จะน้อยหรือมากอันนี้ก็ไม่มีเครื่องวัดคือเราวัดผลไม่ได้ ก็เป็นเรื่องของตัวเอง ถ้าเรามีความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิในจิตแล้ว เป็นจิตวิเวกแล้ว ท่านทั้งหลายก็คงจะไม่มีความสงสัยในเรื่องบุญเรื่องบาป ความดีและร้ายในจิต ท่านทั้งหลายจะเห็นด้วยตัวเอง จะรู้ได้ด้วยตัวเอง และจะไม่พูดกันยาก ต่างก็พาเห็นด้วยตัวเอง บาปเป็นอย่างนั้น โทษเป็นอย่างนั้น คุณเป็นอย่างนั้น ก็คงจะไม่พูดกันยาก ถ้าได้เห็นในตัวเอง ที่ยังไม่สามารถเห็นในตัวเองก็เพราะจิตของเรานั้นยังขาดความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ก็ขาดอยู่เท่านี้
    ก็ถ้าจะเป็นสมาธิเราก็กลัว ถ้าจะสงบเราก็กลัว ถ้าเราจะไปเห็นอะไรก็กลัว ตกลงก็เลยได้แค่คิด อย่างนี้ไม่ใช่มานั่งภาวนาเพื่อหาความสงบ มันมานั่งภาวนาหาความคิด คิดไปหาคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ มันมาคิด ไม่ใช่ว่าจะมาหาความสงบ ถ้าเรามาเพื่อความสงบแล้ว เราก็มุ่งหาความสงบ ถ้าจะสงบจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ฟังเสียงใครหรอก เสียงอึกทึกคึกโครมมันก็ไม่ได้สนหรอก จิตนี้ถ้ามันจะลงเสียอย่างมันไม่ได้สนอะไร มันไม่ได้คิดอะไร มันตูม……ลงเหมือนกับเราโยนของลงจากที่สูงลงมาที่ต่ำ มันวูบลงไปเลยและก็ดิ่งของมันไปเลย แต่โดยมากคนมักจะกลัวตรงนี้ ตรงที่มันวูบลงไป มันตื่นเสียก่อน มันตกใจก็เลยถอนมา พอถอนมาทีหลังมันก็เลยเข้ายาก เพราะอะไรก็เพราะว่ากลัว นี้แหละระวังให้ดี จิตพอจะสงบอย่าไปถอนนะ ถ้าถอนออกมาทีหลังเข้ายากแท้ ๆ นะ สงบยากแท้ ๆ เพราะว่าเคยกลัวมาแล้ว พอจะเข้าไปมันก็เลยว่าจะเป็นอย่างนั้นอีก มันเลยไม่ยอมลง ถ้าเราตัดสินใจว่าตาย เอาตายคำเดียวเป็นก็เป็น ตายก็ตายเท่านั้น อันนี้ดิ่งลงถึงจุด พอถึงจุดของมัน มันก็หยุดเอง
    พอมันหยุดแล้วทีนี้มันจะทำงานของมันเอง เรามีหน้าที่รักษาเท่านั้น มันจะทำงานของมันเอง มันจะรู้ของมันเอง ทีนี้อะไรจะเกิดอะไรจะดับ อะไรจะดี อะไรจะร้าย มันจะต้องเป็นของมันเองในนั้น เรามีหน้าที่จะต้องรักษาจิต และรับรู้เท่านั้น อย่าหวั่นไหวและสั่นสะเทือนอะไรทั้งสิ้น ถือว่าตายในความสงบนั้นแหละ ตายในสมาธิ เรียกว่าตายในพระพุทธ ตายในพระธรรม ตายในพระสงฆ์ เรายอม เมื่อเรายอมอย่างนั้นแล้ว เรียกว่าจิตเราลงได้เต็มที่ แต่เราตัดสินว่าตายเพื่อให้ใจของเรานั้นกล้า ไม่ใช่ว่าจะตายเหมือนเรา ตัดสิน เราตัดสินว่าตายเพื่อให้ใจของเรานั้นกล้า กล้าในพระพุทธ กล้าในพระธรรม กล้าในพระสงฆ์ เหล่าพวกภูตผี เจ้าพ่อเจ้าแม่เจ้าอะไรก็ตามใหญ่ ๆ โต ๆ อะไรก็ตาม เมื่อจิตของเรามีความสงบลงไปแล้วอย่างนั้นก็อาจจะเห็น มันจะโผล่มาแลบลิ้นปลิ้นตา แสดงลวดลายอะไรก็ช่างมัน ถือว่าเราอยู่กับพระพุทธเจ้าแล้ว อยากกินกินได้กินไปเลย ยกให้มันกินไปเลยไม่ต้องให้คนอื่นเขามาลำบาก ถ้าเราตัดสินอย่างนี้แล้ว พวกนั้นเขาทำอะไรไม่ได้ มีอย่างเดียวเขาจะอนุโมทนา เขาถือว่าเราจริง จริงในพระพุทธ จริงในพระธรรม จริงในพระสงฆ์ เขาถือว่าเราเชื่อในพระพุทธเจ้าจริง ถ้าเรากลัวเข้าเท่านั้นเขาถือว่าเราไม่จริง เขาก็มีแต่หลอกเรา
    การภาวนาเรื่องของจิตไม่ใช่ย่อย ๆ นะ แต่ก็ให้เป็นมาเสียก่อนจึงจะรู้ และเราจึงจะเข้าใจ ไม่ใช่ว่าจะเป็นและไปได้ง่าย ๆ เหมือนอย่างพระเทศน์ ขอให้เป็นมาเถอะเรื่องของจิตนี่ เราจึงจะได้แก้ไขปัญหาตัวเองอะไรหลายอย่าง ประสบการณ์ในเรื่องนิมิตก็ดี ในเรื่องความสว่างความสบายหรือความสุข มันสารพัดเรื่องที่แสดงขึ้น แต่ก็เป็นความดี ถ้าจะไปหลงก็หลงในความดี หลงก็หลงในทางภายใน มันมีสารพัดเรื่องนะเรื่องจิต กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด คิดดูสิ อันนี้ตัวใหญ่ ๆ แล้วที่ตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ย่อย ๆ อีกเท่าไรที่จะมาแสดงให้เห็นในจิต เราภาวนาเดี๋ยวนี้เราหาอะไร เราหากิเลสนะ ที่เห็นก็เห็นกิเลส แต่ว่าเป็นธรรม ธรรมก็คือกิเลส กิเลสก็คือตัวเรา ธรรมก็คือตัวเรา ตัวเราก็คือตัวธรรม ตัวธรรมก็คือกิเลส กิเลสก็คือตัวธรรม หาเอา ใครมีปัญญาก็หาเอา ใครไม่มีปัญญาก็แล้วแต่ใคร ช่วยกันไม่ได้หรอก ไม่มีใครช่วยใครได้ อันนี้ต้องช่วยตัวเอง แต่ก็บอกให้ได้ แต่จะให้ไปช่วย ช่วยไม่ได้ แต่บอกให้ฟัง บอกให้เข้าใจเท่านั้น เพื่อจะได้เกิดความกระจ่างในตัวเอง แล้วเราจะมีการปฏิบัติธรรม ก็จะไม่สงสัยและจะเดินได้สะดวก แล้วจะได้ไปด้วยความสะดวกสบายในการปฏิบัติธรรม ถ้าสงสัยจิตจะไม่ไป มันงุ่มง่าม จะไปก็สงสัย จะอยู่ก็จะไป มันเป็นปัญหาในจิต ถ้าไม่รู้ไม่ตัดสินใจ และไม่ได้ยินได้ฟังมาก่อนมันไปยากนะ ไปแล้วก็ไม่รู้เรื่องอีกแหละ เกิดความสงสัยแล้วก็จะเกิดความวิตกกังวลขึ้นมาอาจจะเสียสติได้ในขณะนั้น
    แต่ว่าถ้าจิตของเรามั่นแล้วไม่ต้องกลัว ยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลักแล้วไม่ต้องกลัว มันจะเป็นอะไรก็ให้มันเป็น มันจะเป็นบ้าก็ให้มันเป็น แต่ข้อสำคัญขอให้รักษาใจเท่านั้น รักษาใจให้มั่นในพระพุทธ รักษาใจให้มั่นในพระธรรม รักษาใจให้มั่นในพระสงฆ์ เป็นหนึ่งเท่านั้น อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน นี้ เรียกว่า เข้าถึงพระไตรสรคมณ์ เราจะพึ่งตัวเองได้ ขอให้พวกเรานักปฏิบัติทั้งหลาย จะปฏิบัติมากปฏิบัติน้อยก็ตาม ขอให้รู้ไว้เถิดแม้แต่เราจะไปสู่ฆราวาสก็ตาม ให้รู้จักแก้ปัญหาตัวเอง เพื่อจะได้เข้าใจเอาไว้เพื่อเป็นเครื่องประดับชีวิต และจะได้แก้ปัญหาเพื่อความเป็นอยู่แห่งชีวิตของตัวเอง จะได้มีความสุขสบายตามสมควรแก่ฐานะ
    ดังนั้นที่แสดงมาก็เป็นเวลาพอสมควร ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายนำเอาไปเป็นข้อคิดและพิจารณา จึงขอยุติการแสดงพระธรรมเทศนาเอาไว้แต่เพียงเท่านี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2010
  16. AmuletaCafe'

    AmuletaCafe' สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +21
    อีกสององค์ เป็นพระปิดตาเนื้อชานหมาก รุ่นแรกหลวงปู่อ่อนสา สุกาโร
    กับ สมเด็จสิริมหากาฬ อาจารย์นก วัดเขาบังเหย
     
  17. AmuletaCafe'

    AmuletaCafe' สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +21
    กราบอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ขอให้หลวงปู่หายอาพาทไว ๆ ด้วยครับ สาธุ ๆ ๆ ๆ
     
  18. sikawatpawivek

    sikawatpawivek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +211
    อจ.เต๋าช่วยพิมพ์ตัวขนาดกลางด้วย ตัวใหญ่เกินไปก็อ่านยากค่ะ
     
  19. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497
    แก้ไขให้เป็นตัวขนาดกลางแล้วครับผม
     
  20. magictao

    magictao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +3,497
    ครั้งหนึ่งมีศิษย์ผู้หนึ่งซึ่งภาวนากับหลวงปู่แล้วได้รับความสงบในระยะแรก ๆ ได้กราบเรียนถามท่านด้วยสงสัยว่าจิตของตนเองสงบลงไปยังไงตอนไหนไม่เห็นรู้เรื่องด้วยกลัวว่าจะเป็นการขาดสติ ท่านเอามือตบเข่าอย่างพอใจ พลางกล่าวว่าสงบครั้งแรกมันยังไม่รู้หรอกมันต้องครั้ง 2 ครั้ง 3 แล้วองค์ท่านก็ทำกริยาเอาลูกหมากที่เป็นลูกกลม ๆ โยมีมือด้านล่างรองรับไว้ แล้วโยนลูกหมากจากด้านบนลงสู่เบื้องล่างที่มือท่านรองไว้ พลางกล่าวว่านี่ ๆ จิตมันสงบตรงนี้ แล้วก็อมยิ้ม
     

แชร์หน้านี้

Loading...