พระคาถาโมรปริตร ที่หลวงปู่มั่น หลวงพ่อฤาษีท่านก็ใช้

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 11 มีนาคม 2007.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    ในบรรดาพระป่าสาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ภูริทตฺโต) ส่วนมากให้ความสำคัญในการบริกรรมพระคาถาบทหนึ่ง คือ พระคาถาโมรปริตรหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระคาถาพญายูงทอง" สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของคาถานี้นั้น สมาชิกหลายท่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วคาถา "นะโมวิมมุตตานัง นะโมวิมุตติยา" เป็นคาถาที่ปรากฏในตำนานโมรปริตร (อุเทตะยัญจักขุมา) ซึ่งเป็นนิทานชาดก โดยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น "พญานกยูงทอง"

    โดยคาถานี้เป็นคาถาที่ปรากฏอยู่บนหลังเหรียญเกือบทุก รุ่นของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร โดยหัวใจของคาถาบทนี้คือ"นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา" อันมีความหมายว่า "ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแต่ผู้วิมุตแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแต่วิมุตตฺธรรม"

    นอกจากจะพบคาถานี้บนหลังเหรียญแทบทุกรุ่นของท่านพระอ าจารย์ฝั้นแล้ว ยังพบคาถาบทนี้ในตะกรุดอีกด้วย ทั้งนี้ได้มีเหล่าบรรดาลูกศิษย์จำนวนมากไปหาอาจารย์ฝ ั้น ให้ทำตะกรุดให้ โดยจัดหาแผ่นโละทองเหลือง-ทองแดง-ตะกั่วไปพร้อม ท่านก็มีเมตตาจารให้ทุกคน โดยท่านจะจารพระคาถาเป็นภาษาขอม ลาว อ่านว่า นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา โดยส่วนใหญ่บางครั้งอาจมีหัวใจคาถาอื่นเพิ่มเติมบ้าง เช่น นะโมพุทธายะ และ นะมะพะทะ ผนวกเข้าไว้ก็ได้ ตะกรุดของพระอาจารย์ฝั้นบางคนก็เอาไปปิดเสาเรือน บางคนก็พกพาไว้ติดตัว โดยมีความเชื่อว่า สามารถกันไฟ กันฟ้าผ่า รวมทั้งแคล้วคลาด

    นอกจากนี้แล้วยังพบว่า หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ยังใช้คาถาบทนี้ด้วย ดังปรากฏในหนังสือสวดมนต์ของวัด
    ทั้งนี้สันนิษฐานว่าคงสืบเนื่องมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

    สำหรับบทสวดของคาถาบทนี้จะแบ่งเป็นบทสวดตอนเช้า กับ บทสวดตอนเย็น ดังนี้

    อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง เยพราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยิติ </span>

    พระคาถาทั้ง ๒ บทนี้ มีความเชื่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า หากใครสวดทุกเช้าและค่ำ จะแคล้วคลาดปลอดภัยอันตรายทั้งปวง



    ความเป็นมาของพระคาถาโมรปริตร

    สมัยที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง ก่อนออกไปหากินในตอนเช้า จะต้องสวดโมรปริตรเสียก่อนและพอกลับมาในตอนเย็น ก็จะต้องสวดโมรปริตรอีกครั้งหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งโมรปริตรนั้นจึงทำให้นกยูงทองแคล้วคลาด จากภยันตรายทั้งปวง

    ท่านกล่าวกันว่า ครั้งหนึ่งพระเจ้าพรหมทัต สั่งให้จับนกยูงทองมาถวายเพราะพระอัครมเหสีใคร่จะทอด พระเนตร พวกนายพรานถึงแม้ว่าจะวางกับดักเพื่อจะจับนกยูงทองอย ่างไรก็ตามแต่ก็หาสำเร็จไม่ บางครั้งพอนกยูงทองเข้ามาใกล้เครื่องดักเหล่านั้น ก็มีอันทำให้เครื่องดักเหล่านั้นล้มระเนระนาดลงไปเอง ดูเป็นที่น่าอัศจรรย์ ทั้งนี้ก็เป็ฯด้วยอานุภาพแห่งโมรปริตรที่นกยูงทองได้ สวดทุกเช้าค่ำนั่นเอง

    กล่าวฝ่ายพระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัต เมื่อไม่ได้ทอดพระเนตรนกยูงทองตามประสงค์ก็เสด็จทิวง คต ทำให้พระเจ้าพรหมทัตรู้สึกขัดเคืองพระราชหฤทัยเป็นที ่ยิ่ง ด้วยทรงเห็นว่านกยูงทองเป็นต้นเหตุทำให้มเหสีของพระอ งค์ต้องมาถึงแก่ความตาย จึงหาอุบายที่จะฆ่านกยูงทองเสีย โดยได้แกล้งจารึกลงไปในแผ่นทองว่า

    "ถ้าผู้ใดได้กินเนื้อของนกยูงทอง ผู้นั้นจะไม่รู้จักแก่ ไม่รู้จักเจ็บ ไม่รู้จักตายเลย"

    เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว กษัตริย์องค์ต่อๆมาเมื่อพบคำจารึกนั้น ต่างก็ให้พวกนายพรานไปพยายามจับนกยูงทองตัวนั้นมาให้ ได้ แต่กาลล่วงเลยมาถึง 7 ช่วงกษัตริย์ก็ยังจับนกยูงทองนั้นไม่ได้ ทั้งนี้ก็เป็ฯด้วยอานุภาพของโมรปริตรคอยคุ้มครองป้อง กันภัยให้กับนกยูงทองตัวนั้นอยู่ จวบจนกระทั่งมาถึงกษัตริย์องค์ที่ 7 จึงได้มีนายพรานคนหนึ่ง ได้นำนางนกยูงไปล่อให้นกยูงทองนั้นลงมาที่เชิงเขา นกยูงทองพอได้ยินเสียงนางนกยูงร้องก็หลงใหลไปด้วยอำน าจแห่งกิเลส จึงลืมระลึกถึงมนตร์โมรปริตรดังที่ได้เคยปฏิบัติมา ผลปรากฏว่านกยูงทองเกิดไปติดบ่วงที่นายพรานดักไว้และ ถูกจับไปถวายพระราชาในที่สุด

    เมื่ออยู่ต่อหน้าพระราชา นกยูงได้ทูลถามถึงสาเหตุที่ทรงให้ดักจับ พระราชาก็ตรัสเล่าตามที่ปรากฏในคำจารึกนั้น นกยูงทองจึงทูลว่า "ทำไมพระองค์จึงทรงเชื่ออย่างนั้น ถ้าเนื้อของข้าพเจ้าวิเศษถึงกับทำให้คนกินไม่แก่ ไม่ตายจริงแล้ว ตัวข้าพเจ้าเองก็คงไม่ตายน่ะซิ แต่นี่ข้าพเจ้าเองยังต้องตาย ไฉนผู้กินเนื้อของข้าพเจ้าจะไม่ตายเล่า" หลังจากนกยูงทองได้เตือนสติพระราชาแล้ว ก็ได้แสดงให้เห็ฯอานิสงค์ของการไม่เบียดเบียนสัตว์ จนพระราชาเกิดความเลื่อมใส รับสั่งให้ปล่อยนกยูงทองไป และทรงออกหมายประกาศมิให้ผู้ใดทำร้ายสัตว์ในพระราชอา ณาเขตของพระองค์อีกต่อไป

    เราจะเห็นได้ว่า ถึงแม้นกยูงทองจะถูกจับได้เพราะลิมสาธยายมนตร์แต่อาศ ัยที่ได้เคยสาธยายมนตร์โมรปริตรมานาน จึงได้บันดาลให้ถูกปล่อยตัวในที่สุด ดังนั้นจึงเชื่อกันว่ามนตร์บทนี้มีผลทำให้ผู้สวดเกิด การแคล้วคลาดจากสรรพภัยภิบัติทั้งมวล จึงมีผู้นิยมสวดกันจนกระทั่งปัจจุบัน
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,331
  3. sukittaya

    sukittaya Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +44
    โมรปริตร

    อนุโมทนาบุญกับเจ้าของกระทู้คะ กำลังอยากได้บทสวดนี้ ^^

    แต่มีข้อสงสัยนิดหนึ่งคะ จากที่ฟังพระเทศน์ท่านจะเทศน์ 4 บทต่อกัน ซึ่งเห็นส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนั้น แล้วเราจะสวดแยกหรือทั้งสี่บทในคราวเดียวกัน

    จากกการอ่านประวัติความเป็นมา ก็น่าจะสวดเป็นบทเช้า และบทเย็น

    อีกข้อ(สงสัย) คือในบทที่ 2 ส่วนใหญ่เขา มักจะเขียนว่า
    "นะมัตถุ พุทธานัง มะมัตถุ โพธิยา" แบบนี้ถูกหรือเปล่าคะ

    หรือ
    "นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา"

    ขอความรู้จากผู้รู้ด้วยคะ
     
  4. ลมรำเพย

    ลมรำเพย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +503
    ท่อนนี้ ถูก ครับ "นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา"

    นะมัตถุ = นะโม + อัตถุ

    นะโม ความนอบน้อม

    อัตถุ จงมี

    พุทธานัง แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    โพธิยา แด่ความตรัสรู้ (พระโพธิญาณ)

    วิมุตตานัง แด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย

    วิมุตติยา แด่ความหลุดพ้น

    สวดบทเช้า การแคล้วคลาดจากสรรพภัยภิบัติทั้งมวล
    ตั้งแต่ อาทิตย์ ขึ้น จนถึง อาทิตย์ ตกดิน

    สวดบทเ็ย็น การแคล้วคลาดจากสรรพภัยภิบัติทั้งมวล
    ตั้งแต่ อาทิตย์ ตกดิน จนถึง อาทิตย์ ขึ้น


    ตามที่ท่าน wellrider นำมาลง เป็น บทสวดตอนเย็น บทเดียว

    ขอลง บทสวดทั้งสอง ดังนี้

    สวดตอนเช้า

    อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ

    สวดตอนเย็น

    อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ




    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...