บวร ทำ"วัด"ให้เป็นที่พึ่งพิงจากภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 13 พฤษภาคม 2010.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ต่อไปโครงการ บ ว ร จะมีผู้ให้ความร่วมมือ ร่วมใจกันมากขึ้นครับ

    จนเป็นที่พึ่งพิงของผู้คนจำนวนมากยามเกิดภัยพิบัติ

    ขณะนี้มีผู้ตอบรับที่จะร่วมลงมือและขยายผลให้กว้างไปอีก

    ต้องขอขอบคุณคุณเมืองที่นำภาพมาถ่ายทอดให้เห็นกันว่า สถานที่ ที่ทุกตารางนิ้ว มีพืชอาหารกินได้ หยิบจับอะไรก็กินได้หมดนั้น

    มีแหล่งอาหารสำรองหรือ Foodbank เพียงพอต่อชุมชนนั้นและเจือจาน ยามเกิดภัยพิบัติ


    และผมได้นำฟักทองที่นำมาฝาก ให้ที่บ้าน ผัดฟักทองกับไข่ ใส่บาตรเป็นบุญ เหลือ ขอแบ่งทานเป็นน้ำใจกันครับ
     
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    [​IMG]
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="80%"><tbody><tr> <td align="center" width="20%"> </td> <td align="center" width="80%"> [​IMG] </td> </tr> <tr> <td align="left" width="20%"> </td> <td align="left"> ปราชญ์ชาวบ้าน ปี 2551
    ศูนย์ศรียวง
    </td> </tr> <tr> <td align="left" width="20%"> </td> <td align="left" width="80%"> </td> </tr> <tr> <td align="left" width="20%"> </td> <td align="left" width="80%"> <table class="7pts" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="3" width="500"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]

    </td></tr> <tr> <td>ข้อมูลทั่วไปของปราชญ์ชาวบ้าน
    ชื่อ-สกุล นายยวง เขียวนิล
    ที่อยู่ 91/1 หมู่ 5 ต. ราษฎร์นิยม อ. ไทรน้อย จ. นนทบุรี 11150
    โทรศัพท์ 0-2977-6943 , 08-1929-9159
    วัน/เดือน/ปีเกิด 8 มกราคม 2495</td></tr> <tr> <td>ความชำนาญพิเศษ/จุดเด่นของศูนย์
    การทำไร่นาสวนผสม การปรับปรุงบำรุงดิน การใช้เครื่องมือกล ( นำวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์) การพึ่งตนเอง สิ่งแวดล้อม ( ระบบนิเวศน์) และ การปลูกไม้ผลให้เหมาะสมกับดิน</td></tr> <tr> <td>ประสบการณ์
    นายยวง เขียวนิล อดีตรับราชการในตำแหน่งนายช่าง 4 กองขุดคลองระบายน้ำ สำนัก รักษาความสะอาด ที่กรุงเทพฯ ในปี 2526 ได้ลาออกจากราชการมาเป็นเจ้าของกิจการ ธุรกิจมุ้งลวด เหล็กดัด กระจก โครงหลังคาโรงงาน ต่อมาในปี 2531 เริ่มผันตัวเองมาทำการเกษตรทั่วไปหลังจาก เกิดวิกฤตน้ำท่วม ในปี 2538 จึงหันมาทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่จนถึงปัจจุบัน โดยทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม และทำกิจกรรมเพื่อชุมชนโดยการเป็นครูพิเศษด้าน เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นวิทยากรอบรมด้านการเกษตร และสังคม</td></tr> <tr> <td>รางวัลเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับ
    - ปี 2549 รางวัลเศรษฐกิจพอเพียง จากสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุร
    ี - ปี 2542 รางวัลผู้นำอาชีพก้าวหน้า “ รางวัลสิงห์ทอง” กระทรวงมหาดไทย
    - ปี 2542 รางวัลหมอดินดีเด่นจาก กรมพัฒนาที่ดิน
    - ปี 2541 โล่รางวัลงานพัฒนาชุมชนดีเด่น จากกรมการพัฒนาชุมชน
    - ปี 2540 รางวัลเกษตรกรดีเด่นระดับภาค( ภาคกลาง) สาขาไร่นาสวนผสม จากกรมส่งเสริมการเกษตร </td></tr> <tr> <td>ข้อมูลทั่วไปของศูนย์เรียนรู้
    ที่ตั้ง 91/1 หมู่ 5 ต. ราษฎร์นิยม อ. ไทรน้อย จ. นนทบุรี 11150 </td></tr> <tr> <td> ประวัติการก่อตั้งและความเป็นมาของศูนย์ฯ
    ศูนย์ เรียนรู้ก่อตั้งขึ้นจากประสบการณ์ของ นายยวง เขียวนิล ที่ทำการเกษตรมาตลอด 18 ปี และระยะเวลาที่ทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 13 ปี จึงก่อตั้งศูนย์ขึ้น ในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ในพื้นที่ทั้งหมด 42 ไร่ 1 งาน ที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ทำนา 18 ไร่ , ทำสวนผลไม้ 20 ไร่, ประมง 4 ไร่ 1 งาน และปศุสัตว์ เพื่อเป็นสถานที่อบรมและศึกษา ดูงานให้แก่หน่วยงาน / องค์กร หรือเกษตรกร โดยมีแนวคิดที่ว่า เริ่มต้นหาทางช่วยตนเองก่อน โดยเริ่มทำแบบไม่ใช้เงินกู้ ใช้ทุนของตนเอง เมื่อมีเหลือใช้จะออม หมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้นำอื่น ๆ และค้นคว้าหาสิ่งที่ได้รับมา และการพิสูจน์ข้อเท็จจริง โดยหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
    </td></tr> <tr> <td>หลักสูตรที่จัดฝึกอบรม
    การ ปรับปรุงบำรุงดิน การใช้เครื่องมือกล ( นำวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์) การพึ่งตนเอง สิ่งแวดล้อม ( ระบบนิเวศน์) และการปลูกไม้ผลให้เหมาะสมกับดิน </td></tr> <tr> <td>ความพร้อมของศูนย์ฯ
    มีสถานที่ฝึกอบรม และที่พักอาศัย พร้อมสื่อการเรียนการสอนพอสมควร</td></tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    [​IMG]


    ไม่ไกลจากกรุงเทพมากครับ น่าสนใจไปสำหรับท่านที่จะดูงานเศรษฐกิจพอเพียง
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table>
     
  3. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ระหว่างวันที่ 3-10 ธันวาคม 2553 นี้
    มีการจัดงานเกษตรแฟร์ ณ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน ครับ
    จึงมาบอกกล่าวให้ทุกท่านทราบกันครับ

    [​IMG]

    เริ่มกันที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชเขตร้อนได้จัดแสดงพันธุ์พืชผักต่างๆมากมาย​

    [​IMG]

    บรรยากาศภายในเมื่อเดินเข้าชม
    [​IMG]
    [​IMG]
    พบกับอุทยาเเมลงศึกษา ข้อมูลความรู้มากมาย
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG].​
    [​IMG]
    สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน​

    ต่อหน้า 2


    [​IMG]
    ฝ่ายปฏิบัิติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
    [​IMG]
    ชมสมุนไพรต่างๆ และความรู้ให้ศึกษามากมาย​
    [​IMG]
    [​IMG]
    ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก​
    [​IMG]
    พืชไร่นา่ และเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร จัดแสดงการทำการเกษตรแบบยั่งยืน​
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]



    เผื่อใครมีเวลาว่างจะได้ไปเที่ยวชมสิ่งของต่างๆภายในงานกันครับ
    มีทั้งเต็นต์ที่ให้ความบันเทิง และเต็นต์ขายของ ที่อาจจะถูกใจท่านๆ
    หรืออาจจะมีบางสิ่งที่ทำให้ประทับใจ
    จึงขอฝากไว้ในที่นี้ด้วยนะครับ

    ยังไงก็แวะไปเที่ยวชมกันได้นะครับ
     
  4. city

    city เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +627

    กราบโมทนาบุญด้วยครับ
     
  5. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    มีการพัฒนาพันธุ์ข้าว กินเป็น ยา ช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน จากการที่มีค่า จิไอต่ำ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง


    หากส่งเสริมให้ปลูกนอกจากจะมีมูลค่าสูงแล้วยังช่วยให้ผู้บริโภคมีสุขภาพดีขึ้นด้วย

    เป็นข้อมูลที่น่าสนใจครับ

    --------------------------------------------------------

    พบข้าว2พันธุ์ใหม่สู้มะเร็ง-เบาหวาน


    24 มิถุนายน 2553 - 00:00


    นักวิจัยข้าวเผยพัฒนาข้าวไทยพันธุ์ใหม่ "ไรซ์เบอรี่" มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งและ
    ความดันโลหิต ส่วนรำข้าวนำมาพัฒนาเป็น "ยาลูกกลอน" ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน พร้อมจดสิทธิบัตรแล้ว ส่วนข้าวพันธุ์ "สิน
    เหล็ก" มีธาตุเหล็กสูง น้ำตาลต่ำ เหมาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง "นวัตกรรมผลงาน
    วิจัย วช.สร้างมูลค่าเพิ่มข้าวไทยสู่อาหารเพื่อสุขภาพ" โดย ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
    (วช.) กล่าวว่า วช.ได้สนับสนุนทุนการวิจัยเพื่อส่งเสริมและผลักดันการอนุรักษ์และปรับปรุงพัฒนาพันธุ์ข้าวไทย ให้คงคุณค่า
    และคุณประโยชน์ต่อวงการวิจัยและประเทศชาติ ทั้งการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าว การวิจัยด้าน
    เศรษฐศาสตร์ รวมทั้งการวิจัยด้านโภชนศาสตร์ของข้าวเพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย
    ตัวอย่างงานวิจัยข้าวไทยพันธุ์ใหม่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงคือ ข้าวกล้องพันธุ์ไรซ์เบอรี่ และข้าวหอมพันธุ์สินเหล็ก
    รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้พัฒนาปรับปรุงข้าวพันธุ์ใหม่ จากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวว่า ข้าวกล้องพันธุ์ไรซ์เบอรี่เป็นข้าวสีม่วงดำ รสชาติหอมหวานนุ่มนวล มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
    โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระมีปริมาณสูง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และลด
    คอเลสเตอรอลในเลือด อีกทั้งยังได้คิดค้นวิธีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยใช้ส่วนรำข้าวมาปั้น
    เป็นยาลูกกลอน ซึ่งขณะนี้ได้จดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    "ข้าวกล้องพันธุ์ไรซ์เบอรี่เริ่มทดลองปลูกมานานแล้ว แต่ยังไม่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรมากนัก เพราะเหมาะสำหรับ
    ปลูกข้าวนาปีหรือปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ทำให้พื้นที่การเพาะปลูกยังไม่ขยายตัว สาเหตุจากวัฒนธรรมการปลูกข้าวของ
    ชาวนายังมุ่งเน้นปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูง ต้องการปริมาณข้าวเยอะๆ เท่านั้น แต่ยังไม่ตระหนักถึงสายพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและ
    ดีต่อผู้บริโภค ดังนั้น จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคอีสานได้ทดลองปลูก เช่น ยโสธร อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ เป็นต้น
    ส่วนภาคกลางและภาคเหนือไม่นิยมปลูก" รศ.ดร.อภิชาติกล่าว
    ผู้เชี่ยวชาญข้าวไทยระบุว่า สำหรับข้าวพันธุ์สินเหล็กเป็นข้าวหอมคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ แต่มีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่า มัก
    เรียกกันว่าข้าวต้านเบาหวาน มีจุดเด่นทางคุณค่าทางโภชนการคือ ธาตุเหล็กสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ข้าวมี
    ลักษณะเหนียวนุ่ม ไม่แฉะ รสชาติอร่อย สำหรับข้าวกล้องพันธุ์ไรซ์เบอรี่กับข้าวพันธุ์สินเหล็กได้พัฒนามาควบคู่กัน และผ่าน
    การทดสอบคุณค่าทางโภชนาการทางวิทยาศาสตร์แล้ว ผู้รับประทานสามารถนำข้าวทั้งสองชนิดนี้มาหุงผสมกันได้.
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    การเพิ่มมูลค่าอีกอย่าง ที่ได้แนวคิดจากแมสเสจฟอร์มเดอะวอเตอร์

    ----------------------------------------------------


    ใช้เพลงโมสาร์ตกล่อมกล้วย

    [​IMG]

    บริษัท จัดจำหน่ายผลไม้ในญี่ปุ่น ปิ๊งไอเดีย ทำให้กล้วยสุกหวานฉ่ำชื่นใจมากขึ้น โดยบรรเลงเพลงคลาสสิกของคีตกวีเอก "โมสาร์ต" ให้กล้วยฟังขณะบ่ม!?

    ตาม ข่าว นสพ.เจแปน ไทม์ บริษัทผลไม้ โตโยกะ ชูโอะ เซก้า ลงทุนติดตั้งเครื่องเสียงและลำโพงคุณภาพชั้นยอดไว้ภายในห้องบ่มกล้วยหอม ซึ่งสั่งนำเข้าผลดิบแก่จัดจากฟิลิปปินส์ และใช้เวลาบ่มราวหนึ่งสัปดาห์ จึงสุกนำออกวางตลาดได้

    ช่วงเวลาบ่มดังกล่าวเขาเปิดเพลงผลงานโม-สาร์ต คีตกวีเอกของโลกให้กล้วยฟัง บทเพลงที่กล้วยโปรดปราน ถ้าได้ฟังแล้วกล้วยจะหวานหอมอร่อยลูกค้าชื่นชอบสุดๆ คือเพลงคลาสสิกชุด "String Quartet 17" และ "Piano Concerto 5 in D major"

    รายงานข่าว แจ้งด้วยว่า ความจริงกล้วยเป็นหนึ่งในอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายชนิดในแดนอาทิตย์ อุทัย ที่ชอบฟังเพลงคลาสสิกระหว่างขบวนการผลิต โภชนาการอื่นๆที่นิยมบรรเลงเพลงคลาสสิกให้พวกมันฟัง อาทิ ซีอิ๊วปรุงรส, เส้นบะหมี่โซบะ, มิโสะ หรือแม้กระทั่งสาเกเมรัยดัง

    เพียงแต่อาจชอบ เพลงต่างกัน บางชนิดอาจชอบเพลงแจ๊ส, โม-สาร์ต, แบช, บีโธเฟน บริษัทโอฮาระ ชูโซะ ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ วิจัยมานานสองทศวรรษ แล้ว.

    ข้อมูลจาก คุณดอย ดอกฝิ่น ไทยรัฐออนไลน์
     
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ได้มีโอกาสดูโฆษณาของธกส ธนาคารเพื่อการเกษตร ในชุดบายศรีสู่ขวัญข้าว

    ซึ่งงดงามมากๆ ตอนนี้โครงการในพระราชดำริและหลายหน่วยงานก็เร่งฟื้นฟูอนุรักษ์ ประเพณีนี้เอาไว้

    ซึ่งไม่น่าแปลกใจหากข้าวในนาที่บายศรี และชาวนา รักแผ่นดิน จิตใจเป็นบุญ

    ข้าวจะอร่อย อุดมออกรวงงามกว่า ข้าวที่ ปราศจากจิตใจที่ละเอียดอ่อนแบบนี้

    ยิ่งทำเต็มรูปแบบกว่านี้ เช่นข้าวคุณธรรม ชาวนาถือศีลห้า มีจิตเมตตา มีสมาธิภาวนา แบ่งข้าวเข้าโรงทานวัดเอาเป็นข้าวบุญ อธิษฐานน้ำมนต์รดนาข้าว

    ผืนแผ่นดินไทยเป็นผืน แผ่นดินธรรมแผ่นดินทองเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์แน่นอน
     
  8. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    ผมจำชื่อไม่ได้ โดยอ่านมาจากบทคัดย่อของแม่ชีทศพร มีชาวสวนคนหนึ่งระหว่างทำสวนพรวนดินรดน้ำต้นไม้ผล เขาสวดอิติปิโส ตลอด ปรากฏว่า สวนผลไม้เขา ออกดอกผลงอกงามดีมาก มีผลดก
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775


    [FONT=&quot]แผ่นดินที่ทรงครอง..........แผ่นดินทองแผ่นดินธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot]คราวเข็ญเข้าครอบงำ........ทรงดับเข็ญทุกคราวครัน[/FONT]
    [FONT=&quot]เหน็ดเหนื่อยนั้นหนักนัก.....ทรงงานหนักอเนกอนันต์[/FONT]
    [FONT=&quot]วันพักเพียงสักวัน.............ก็แสนน้อยดูนานเกิน[/FONT]
    [FONT=&quot]วังทิพย์คือท้องทุ่ง............ม่านงานรุ้งคือเขาเขิน[/FONT]
    [FONT=&quot]ร้อนหนาวในราวเนิน.........มาโลมไล้ต่างรสสุคนธ์[/FONT]
    [FONT=&quot]ย่างพระบาทที่ยาตรา.........ยาวรอบหล้าฟ้าสากล[/FONT]
    [FONT=&quot]พระเสโทที่ถั่งท้น.............ถ้าไหลรวมคงท่วมไทย[/FONT]
     
  10. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วันนี้ได้พูดคุยกราบเรียนกับหลายท่าน ซึ่งมีพระสงฆ์สองท่านซึ่งท่านเมตตาสนับสนุนโครงการ บ ว ร ให้ทำอย่างเร่งด่วนที่สุดครับ

    รวมทั้งเมตตาให้ข้อแนะนำและให้กำลังใจในการทำงานด้วย

    ต้องขอกราบขอบคุณท่านด้วยครับ
     
  11. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    แลเห็นความตั้งใจจริงอย่างเข้มแข็ง ของคุณคณานันท์แล้ว

    ขออนุญาตแนะนำภาคีผู้คิดดี ทำดี ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

    ท่านนี้เป็นศิษย์อาจารย์ยักษ์ แห่ง มาบเอื้อง มีเครือข่ายพระสงฆ์ ร่วมด้วยฆราวาสพอสมควร

    และท่านนี้ ยังมีแนวคิดเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ

    ชื่อของท่านคือคุณอภิศา ปัจจุบันทำหน้าที่อยู่ในมูลนิธิวิถีสุข

    apisa_mhm@hotmail.com

    เครือข่ายท่านหนึ่ง ของคุณอภิศาคือ คุณลุงชวน ชูจันทร์

    ชวน ชูจันทร์ “หนีไปให้พ้น หรือทำอะไรสักอย่าง”


    [​IMG]




    เรื่อง เสมอชน ธนพัธ
    ภาพ ศศิวิมล ปัญจมาพิรมย์


    ยังจำครั้งสุดท้ายที่เราสูดอากาศในกรุงเทพอย่างโล่งปอดได้หรือไม่
    บางคนอาจนึกไม่ออกเลย เพราะตื่นเช้าขึ้นมาก็ต้องกระเสือกกระสนฝ่าการจราจรติดขัดไปทำงาน

    และใช้เวลาตลอดทั้งวันอุดอู้อยู่ในอาคาร ก่อนจะกลับออกมาเผชิญกับภาวะคับคั่งด้วยรถ ผู้คน และมลพิษเหมือนเช่นเมื่อเช้า

    แต่บางคนอาจพอนึกออกบ้าง เพราะเคยใช้เวลาช่วงวันหยุดทอดหุ่ยในสวนสาธารณะ ทว่าหลายแห่งก็หนาแน่นด้วยผู้คนราวกับมาแย่งอากาศดีๆ กันหายใจ
    ขณะที่ก็มีคนอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่กับอากาศค่อนข้างบริสุทธิ์ท่ามกลางเรือกสวนแปลงเกษตร

    หากแต่ก็เป็นเพียงคนชายขอบของเมือง ที่นับวันถูกรุกคืบจากการพัฒนา การขยายถนน การก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร-คอนโดมิเนียม

    การขาดแคลนพื้นที่สีเขียวถือเป็นปัญหาสำคัญในสังคมเมือง อย่างกรุงเทพฯ จึงเป็นเรื่องดีที่เมื่อปีที่แล้วทางกรุงเทพมหานครประกาศแผนที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวจำนวน 5,000 ไร่ ภายใน 4 ปี (ปี 2552 – 2555)

    แต่ในอีกด้านหนึ่งเรือกสวนแปลงเกษตร ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวโดยธรรมชาติ ก็กำลังถูกแปรสภาพไปอย่างรวดเร็วจากการเติบโตของเมือง หรือบ้างก็ประสบปัญหาน้ำเสียและค่อยๆ ถูกขับเบียดออกไปในที่สุด

    ชวน ชูจันทร์ ชาวสวนตลิ่งชัน ผู้ซึ่งยืนหยัดทัดทานกระแสการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาพื้นที่เกษตรย่านชานเมืองให้เป็นมรดกสำหรับลูกหลาน กล่าวว่า “ที่ตรงนี้มีแดด มีดิน มีลม มีน้ำ ปีหนึ่งฝนตกห้าถึงหกเดือน แล้วอะไรจะเหมาะมากกว่าการปลูกพืชล่ะ”


    [​IMG]


    ชวนถือกำเนิดและเติบโตท่ามกลางบรรยากาศบ้านสวน หลังจากจบการศึกษา เคยทำงานกับบริษัทเอกชน เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. และยังเคยสอบได้เป็นนายอำเภอ

    แต่สุดท้ายเขาเลือกที่จะเป็นชาวสวน และทำกิจกรรมรณรงค์เพื่อให้ชุมชนเห็นความสำคัญของพันธุ์พืชท้องถิ่น และการรักษาพื้นที่เกษตรเอาไว้ โดยปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง และทำ “สวนเจียมตน” ของตนเป็นต้นแบบ

    ด้วยการปลูกพืชผสมผสานหลากหลายชนิด ไม่ใช้สารเคมีเกษตร อีกทั้งเป็นผู้ริเริ่ม “ตลาดน้ำคลองลัดมะยม” มีการชักชวนคนชุมชนนำสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรในครัวเรือนมาขาย

    โดยไม่เพียงแต่เป็นช่องทางสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน แต่หวังใจลึกๆ ว่าจะปลุกสำนึกให้ทั้งคนในและคนนอกพื้นที่เห็นถึงคุณค่าของวิถีเกษตรริมคลองย่านชานเมือง

    โลกสีเขียว: พื้นที่เกษตรในเมืองมีความสำคัญอย่างไร ไม่มีสวน ไม่มีแปลงผัก ก็ซื้อกินเอาไม่ได้เหรอ

    ชวน:
    ต้องบอกก่อนว่าลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเหมาะสมจะทำเกษตร ต่างจากพวกซาอุฯ ที่เขามีแต่ทะเลทราย ไม่มีพื้นที่เกษตร ขณะที่เราเป็นประเทศที่มีพื้นที่เกษตรกรรมที่ดีที่สุดไม่แพ้ใคร ตึกรามบ้านช่องอยู่กับธรรมชาติ อยู่กับระบบนิเวศ ส่วนเรื่องที่พอเป็นเมืองแล้วขาดอะไรก็ค่อยไปซื้อเอา

    เรื่องนี้เราต้องทำความเข้าใจอยู่สองสามข้อว่าระบบเกษตรมันไม่ใช่ง่ายอย่างนั้น ไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างนั้น คือก่อนที่คุณจะสร้างเมือง ก่อนที่จะเอาอิฐหินปูนทรายเข้ามา

    คุณต้องเข้าใจระบบนิเวศ ระบบภูมิศาสตร์ ภูมิประวัติศาสตร์พอสมควรว่าก่อนจะเป็นดิน ก่อนจะเป็นน้ำ ก่อนจะเป็นพืชพรรณธัญญาหารให้พวกเรากินไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นิดๆ หน่อยๆ มันไม่ใช่เกิดตรงไหนก็ได้ ไม่ใช่ย้ายไปตรงไหนก็ได้

    พอสวนนนทบุรีหมด ถามว่าจะปลูกทุเรียนตรงไหนได้ดีเท่าเมืองนนท์ แม้ว่าทุเรียนจะปลูกตรงไหนก็ได้ ไม่กินก็ไม่ตาย แต่เราก็เอาสิ่งนี้ไปทิ้งหมดเลย เอาอิฐหินปูนทรายเข้ามา

    ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่บนภูเขา มันยังไม่เป็นดิน ดินเป็นสิ่งที่มนุษย์อยากได้ที่สุดบนผิวโลก เพราะดินผลิตอาหารให้เรา อิฐหินปูนทรายมันยังไม่แปรสภาพ ต้องรอไม่รู้กี่ล้านปีถึงจะกลายเป็นดิน ไม่ใช่ว่าคุณบอกว่าจะพัฒนาประเทศตรงไหนก็คือเอาเงินให้ ให้หมู่บ้านนี้ย้ายออกไปเดี๋ยวสร้างให้ใหม่

    ใครไม่ไปก็หาว่าดื้อ เป็นพวกต่อต้าน ทำร้ายกัน มันไม่เหมือนย้ายห้องแถว เพราะนี่คือไปย้ายคนที่เขามีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ถ้าเราทำลายโดยไม่คิดเราจะกลับมาเสียดายทีหลัง

    โลกสีเขียว: จากประสบการณ์ พอจะประเมินได้ไหมว่า กรุงเทพเหลือพื้นที่ที่เป็นเกษตรกรรมอยู่เยอะไหม

    ชวน:
    เหลืออยู่น้อย สักประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ชานเมือง เช่น หนองจอก มีนบุรี ตลิ่งชัน ภาษีเจริญ บางขุนเทียน ทวีวัฒนา ก็จะอยู่รอบๆ

    โลกสีเขียว: อย่างแถวนี้ (ย่านตลิ่งชัน) จุดเด่นทางภูมิศาสตร์คืออะไร

    ชวน:
    ตรงนี้คือจังหวัดธนบุรีเก่า เป็นไร่เป็นนา เป็นที่ดินดอนปากแม่น้ำ มีน้ำจืดน้ำกร่อยนิดๆ เหมาะกับการปลูกพืชที่ชอบน้ำจืด ที่ตรงนี้มีแดด มีดิน มีลม มีน้ำ ปีหนึ่งฝนตกห้าถึงหกเดือน

    คุณว่าอะไรจะเหมาะมากกว่าการปลูกพืช สิ่งแวดล้อมอย่างนี้ไม่ได้เหมาะกับการทำโรงงานอุตสาหกรรมหรือทำบ้านจัดสรร บ้านจัดสรรคุณไม่ต้องการอะไร แค่มีน้ำ มีไฟ

    แต่ลักษณะของแถวนี้มีคลองแบบใยแมงมุม มีคลอง มีน้ำ สามารถชักน้ำออกน้ำเข้าได้ดีมาก แต่ตอนนี้ก็เหมือนหลายๆ ที่ที่พยายามเข้ามาโดยรัฐบ้าง เอกชนคืบเข้ามาบ้าง

    [​IMG]


    โลกสีเขียว: ปัญหาที่กำลังรุกคืบเข้ามาคืออะไร

    ชวน:
    ที่ตรงนี้ก็เหมือนหลายๆ แห่ง มีการถูกรุกเข้ามาโดยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ โดยแนวคิดในการทำถนนหนทาง การสร้างบ้าน เราเหมือนถูกกล่อมว่าอันนี้คือความเจริญ ตอนนี้ทั่วประเทศไม่มีที่ไหนที่จะไม่ทำถนน

    พอมีถนน คนก็เข้ามาอยู่กันมากขึ้น น้ำก็เริ่มเน่า แน่นอนน้ำเสียต้องมาจากชุมชนทั้งนั้น คือบ้านจัดสรรเขาแค่มาอยู่ เขาไม่ได้มากลมกลืนกับท้องถิ่น เขาไม่ได้มาปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมชุมชน

    ที่เขาทำกันเหมือนเอากล่องมาตั้ง ทำกำแพง ทำประตูของเขา เขาก็เปิดแอร์ ไม่มายุ่งอะไรกับใคร บ่อบำบัดก็ไม่มี เขาเลี่ยง ออกกฎหมายควบคุมก็เท่านั้น แบบกฎหมายบอกว่าถ้าสร้างมากกว่า 10 หลัง ต้องทำบ่อบำบัด

    เขาก็ทำทีละ 8 หลัง ทำแบบนี้ 20 ครั้ง รวมๆ กันจะได้กี่หลัง แปลงใครแปลงมันอยู่แล้ว เขาก็เอาโฉนดมารวมๆ กันว่าขอสร้างบ้าน 8 หลัง พอของเก่ากำลังสร้างอยู่ก็ไปยื่นขอให้อีก 8 หลัง

    เจ้าหน้าที่ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ หลับตาว่ามันไม่เกี่ยวกัน อนุมัติแบบนี้ 10 ครั้งก็ 80 หลังคาเรือนแล้ว ก็มีถังดำๆ ฝังอยู่ข้างหน้าใบหนึ่งที่เขาเรียกว่าถังแซทหรือถังส้วม

    คือถ้าไม่มีถังนี่เขาจะยุ่ง ถ้าไม่มีตัวนี้ปล่อยลงคลองไม่กี่ทีส้วมก็ตันเพราะดินแถวนี้มันเหนียว น้ำจะเสมอหน้าดินแล้ว น้ำจะไปไหนก็ไหลลงคลองเลย

    โลกสีเขียว: สถานการณ์ปัญหาตอนนี้รุนแรงขนาดไหน

    ชวน:
    ที่จริงก็เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขแล้ว เพราะถ้าปล่อยไว้ ไม่ทำ ก็จะแย่ยิ่งกว่านี้ ก็จะเป็นเหมือนในกรุงเทพฯ คลองตรงนี้ก็จะเหมือนคลองหลอด คลองมหานาค พื้นที่ก็จะมีแต่ปูนหมด

    ที่จริงในเมืองก็เกิดปัญหาสุขภาพอนามัย เกิดปัญหา เชื้อโรคต่างๆ คืออย่าลืมว่า ระบบนิเวศต้องเป็นการอยู่ร่วมกัน น้ำเป็นตัวกรอง ตัวทำลายพิษให้มนุษย์ เพื่อให้อยู่ดีมีสุข

    โลกสีเขียว: เคยได้ยินว่าคุณลุงปลูกพืชแบบไม่ใช้สารเคมีเกษตร แต่พอเอาผลผลิตไปตรวจ ปรากฏว่าเจอสารเคมีเกษตรปนเปื้อน

    ชวน:
    คือมันอยู่ใกล้แหล่งที่ใช้สารเคมี แล้วยามันก็ปลิวมาหรือตามน้ำมา หรืออย่างพวกบ้านจัดสรรที่เขาฉีดปลวก มันก็มาที่เราได้ แล้วคนพวกนี้เขาไม่ได้คิดจะอยู่ร่วมกับระบบนิเวศ อยากให้มากำจัดเยอะๆ สมมติจ่ายไปสองพันให้มาฉีด อยู่ได้ยี่สิบปีเลยยิ่งดี

    โลกสีเขียว: ถ้าเช่นนั้นเรามีการปรับตัวอย่างไรเพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน

    ชวน: เราพยายามคุยกันให้เกิดความเข้าใจ เพราะเป็นวิธีที่สันติ อยากให้คนเข้าใจเหมือนเรา สร้างคนสร้างความคิดให้เขาเข้าใจตรงนี้ ทำไมเราต้องเอาเด็กมาเก็บขยะ มาพายเรือ มานั่งแช่น้ำ ก็เพื่อให้เขารู้และอยากรักษามัน

    ไม่เช่นนั้นเขาจะดูแลมันได้ยังไง นี่เป็นวิธีที่ทำให้เขาเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ตรงนี้เหลืออยู่ได้ ไม่ใช้เอาขยะใส่ถุงดำแล้วโยนคลองตูม ถามว่าในสมองเขามีอะไร...ไม่มีอะไรเลย

    คุณจะหวังพึ่งอะไรได้กับคนที่มีลักษณะแบบนี้ เขาอาจจะมีอาชีพอะไรนั้นก็คนละเรื่องกัน เขาเป็นวิศวกร เป็นช่างที่เก่ง นั่นคือวิชาที่เขาหากิน เอาไปซื้อข้าวสาร แต่การกระทำมันเป็นอีกเรื่องหนึ่งในการดูแลสังคม

    โลกสีเขียว: ทำไมถึงตั้งชื่อสวนของตัวเองว่าสวนเจียมตน

    ชวน:
    ก็เคยมีคนถามผมเหมือนกันว่าชื่อนี้มันหมายความว่ายังไง ผมก็ว่าชื่อนี้มันเตือนตัวเองดีว่าเราต้องรู้จักพอเพียง ให้พอ รู้จักคิด ไม่ใฝ่ต่ำ รู้สึกว่าได้แง่คิด มันไม่เหมือนสัตว์เพราะพฤติกรรมมันก็อยู่อย่างนั้น

    ไม่ดีขึ้นหรือไม่เลวลง แบบเสือมันกินสัตว์ก็กินแบบนั้น หมามันจะกัดกันยังไงก็กัดแบบนั้น ไม่ได้เลวกว่านั้นเท่าไหร่หรือไม่ดีกว่านั้นเท่าไหร่ แต่แบบคนเราถ้าไม่ฝึกอะไรเลย มันแย่ลง

    ต้องเตือนตัวเอง ฝึกความอดทน ฝึกความขยัน ฝึกความสะอาด พูดไปก็เหมือนเพ้อเจ้อ แต่ความงาม ความดี มันมีอยู่จริง หากถามว่าแค่อยู่ไป หากินไป แค่นี้พอแล้ว

    ก็อยู่ได้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ชีวิตมนุษย์ต้องการแค่นั้นหรือเปล่า สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์ยังไงก็ต้องดับไปสักวันอยู่แล้ว เหมือนผมสักวันก็คงไม่ได้มาอยู่ตรงนี้ ฉะนั้นสิ่งที่เราน่าจะแสวงหา คือความดี ความงามในการใช้ชีวิต

    โลกสีเขียว: แล้วตลาดน้ำคลองลัดมะยมมีที่มาที่ไปอย่างไร

    ชวน:
    มันเริ่มขึ้นเมื่อปี 2547 ก็เกิดจากความคิดผมตอนแรกเลย ถามว่าทำไมคิดอย่างนี้ เพราะว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แล้วผมก็เป็นคนที่คิดอย่างนี้แหละ

    โลกสีเขียว: ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้นคืออะไร

    ชวน:
    สิ่งแวดล้อมเสียลง ชุมชนหายไป น้ำเน่าก็เข้ามา บ้านจัดสรรก็เข้ามา ก็มีอยู่สองวิธี คือหนีไปให้พ้น หรือทำอะไรสักอย่าง ทำในสิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้น แล้วลงมือทำ หาวิธีทำ โดยที่ให้ประหยัดที่สุด โดยที่ไม่ได้ไปเอาใครมาร่วมมือกับเราหรอก

    เริ่มต้นด้วยตัวเองทั้งหมด ทำเอง แสดงเอง ลงทุนเอง ก็ดึงชาวบ้านมา เป็นวงศาคณาญาติก่อน เพื่อให้มันเกิด ต้องการฟื้นชุมชน ต้องการให้มีพื้นที่ขายของ ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยหลักๆ ก็จะมีสามอย่าง ก็ทำมาจนถึงปัจจุบัน

    ถามว่าสำเร็จไหม ถ้าเทียบกับไม่ล้มเหลว ก็ถือว่าสำเร็จแล้ว ไม่ต้องยกเลิกไปก็สำเร็จแล้ว มันมีแค่สองทาง คือไปได้ หรือว่าเลิก ถ้าไม่คิดอะไร ก็ไปได้มาห้าหกปีแล้ว ก็ถือว่าสำเร็จ

    ถึงจะเลิกมะรืนนี้ ก็ถือว่าสำเร็จแล้ว ก็ให้คนได้เห็นแล้วว่าทำได้ ที่ว่าคลองต้องเน่า ไม่จริงหรอก ที่ว่าพื้นที่เกษตรต้องหาย ก็ไม่จริงหรอก ถ้าเรารวมกันได้ในระดับหนึ่ง มีความเข้าใจในระดับหนึ่ง


    โลกสีเขียว: หมายความว่าตลาดน้ำเป็นเครื่องมือหนึ่งในการรักษาพื้นที่เกษตรกรรมเอาไว้

    ชวน:
    ใช่ครับ เราต้องการให้คนเห็นคุณค่าของระบบนิเวศ ...ถึงบอกว่าต่อไปคนจะแสวงหาการอยู่กับธรรมชาติ วัฒนธรรม เพราะว่าอะไร อย่างผมเป็นคนสองยุค เห็นทั้งยุคใหม่ยุคเก่า

    แต่คนที่อายุน้อยกว่าสามสิบปีจะไม่เข้าใจคนยุคเก่าเลยนะ ไม่เห็นต้นไม้ ไม่เคยเอาเท้าแช่น้ำ ไม่เคยกำดิน ไม่เคยเดินป่า ไม่เคยหาปลา ไม่เคยพายเรือ แต่ก่อนบ้านนอกเข้าเมืองสมัยก่อนใครได้ไปเห็นแสงสีกรุงเทพฯ นี่เป็นคนเจริญ ทันสมัยนะ

    รุ่นผมมันอยู่กับควาย กับข้าว กับดิน กับน้ำ เราไม่ค่อยให้ทางเลือกกับคนของเรา ทำไมชนบทมันขายได้ เพราะคนในเมืองคิดว่าเป็นเรื่องแปลก ส่วนชาวบ้านที่นี่เมื่อปลูกผักทำสวน ก็เอาของมาขายได้ ช่วยให้เขามีช่องทางและยังอยากรักษาพื้นที่เกษตรไว้


    [​IMG]


    โลกสีเขียว: แสดงว่าสินค้าที่ขายส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากสวน

    ชวน:
    จากสวน พวกขนมนมเนยที่ทำเอง คือมันอาจจะไม่มากเหมือนอย่างบางจังหวัด เพราะว่ากรุงเทพก็มีสวนอยู่แค่นี้ คนที่ทำอะไรเป็นก็เหลืออยู่แค่นี้ หมายความว่าถ้าผมถามแม่ว่าทำขนมหน่อยสิ แม่ก็จะบอกว่าจะเอาอะไร มีตั้งสิบกว่าอย่าง

    แต่ทีนี้บอกว่า คุณทำขนมมาขายสิ ปรากฏว่าทำไม่เป็นสักอย่าง ก็ซื้อมากินตลอดชีวิตนี่ เอาเงินแค่ยี่สิบบาทวิ่งไปซื้อมา นี่คือจุดที่แม่ค้าทำอะไรไม่ค่อยได้ ทั้งที่เขาก็ไม่ค่อยมีอะไรทำ ถ้าระบบการเรียนรู้ของเรา...

    การเรียนรู้ของคนเรารู้จากอะไรบ้าง รู้จากครอบครัว รู้จากสังคม สังคมนี่รวมถึงห้องเรียนด้วย ถ้าสิ่งเหล่านี้คุณไม่ได้ คุณจะเรียนรู้ได้อย่างไร จากโรงเรียน จากสังคม จากสื่อ จากครอบครัว สมัยก่อน ก่อนที่ผมจะเข้าโรงเรียน ผมทำอะไรได้เป็นร้อยเป็นพันอย่าง

    ไม่ใช่ให้แม่คดข้าวให้กิน ผมมีกำลังปั๊บ ผมก็ไถนาเป็นแล้ว เกี่ยวข้าวได้แล้ว หาบฟืน จุดไฟ หุงข้าว ทำขนม แกง หาปลา ทำเครื่องมือดักปลา แล้วถึงเข้าโรงเรียน เรียนเพื่ออ่านออกเขียนได้

    แต่เด็กปัจจุบันทำอะไรไม่เป็นเลย ไปเรียนเพื่อออกมาทำมาหากิน แต่โรงเรียนไม่ได้สอนเรื่องทำมาหากิน เขาสอนหนังสือ ทักษะการใช้ชีวิตก็น้อยลง เหมือนพูดในแง่ร้าย แต่มันก็ร้ายจริงๆ

    โลกสีเขียว: อย่างผมก็ทำอะไรไม่ค่อยเป็น

    ชวน:
    แต่ก็ไม่ใช่ความผิดของเรา ระบบสังคมมันเปลี่ยน เพียงแต่ให้เราได้รู้ตัว ผมบังเอิญไปอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้น ก็เลยได้ทักษะมา เพราะลูกผมก็ไม่เหมือนผมหรอก แต่ถ้าเรารู้ตัว ก็จะเข้าใจปัญหาได้มากขึ้น เห็นความเชื่อมโยงของมัน

    โลกสีเขียว: ขอย้อนกลับไปคุยเรื่องตลาดน้ำ อยากทราบว่ามีการขยายการมีส่วนร่วมกับชาวบ้านอย่างไร

    ชวน:
    ตอนเริ่มต้นทำตลาด เราก็ไม่ได้ไปชวนใครมาก ชวนแค่ญาติพี่น้อง อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ว่าการกระทำใดๆ เราเริ่มต้นเล็กๆ หนึ่งเล็กๆ เราทำได้ ถ้าล้มแล้วพลาด ก็ไม่เจ็บตัวมาก แล้วค่อยๆ เติบโตขึ้น

    เมื่อใดไม่ได้ดั่งใจ ก็ทำไปเรื่อยๆ แล้วมันก็จะมีทางออก ปัญหาทำให้เราก้าวหน้า ถ้าเราคิดจะทำใหญ่ ต้องมีการบริหารจัดการอย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะติดปัญหาเยอะ แต่ถ้าคิดว่าถึงเวลามีแม่ค้ามาสักสี่ห้าเจ้า มีการซื้อขายสักร้อยกว่าบาท ก็โอเคแล้ว

    โลกสีเขียว: แล้วทุกวันนี้ล่ะ มีแม่ค้าประมาณเท่าไหร่

    ชวน:
    ตอนนี้ก็มีแม่ค้าเกือบร้อยคน เสาร์อาทิตย์ก็มารวมตัวกันอยู่ที่นี่ มีคนมาซื้อประมาณพันถึงสองพันคน

    โลกสีเขียว: ส่วนใหญ่เป็นชาวสวนเหรอ

    ชวน:
    เป็นชาวสวนบ้าง ไม่ใช่บ้าง แต่พอถึงเวลาก็มาทำมาหากินเป็นอาชีพเสริม

    โลกสีเขียว: ถ้าเช่นนั้นมีการดึงการมีส่วนร่วมจากชาวบ้านอย่างไรตั้งมากมาย

    ชวน:
    ผมว่าเขาเห็นศักยภาพของเรา เห็นความอดทน เราต้องทำให้เขาดู สังคมไทยเป็นสังคมที่เราต้องทำให้เขาเห็น อาจเป็นว่าเพราะผมเป็นคนที่นี่ ชาวบ้านเห็นพฤติกรรมมาตลอดเวลา

    ว่าผมเป็นคนยังไง เรียนหนังสือหนังหายังไง ทำงานเป็นยังไง ความด่างพร้อยมีอะไรแค่ไหน มีความน่าไว้วางใจแค่ไหน สมัยก่อนเขาเลือกกำนันผู้ใหญ่บ้านโดยที่ไม่มีอะไรไปแทรก เขาก็คิดแบบนี้ จึงอยู่กันได้

    คือตัวเองก็ถูกควบคุมโดยสังคมเช่นกัน จุดหนึ่งเราก็จะถูกคนอื่นมองอยู่ ในขณะเดียวกันเราก็ไปควบคุมสังคมด้วย โดยทางอ้อม ถ้าผมไม่มีตำหนิอะไรที่ใครจะมาว่าผมได้

    ผมไม่ได้พูดเพื่อผม ผมไม่ได้ทำเพื่อผม ต่างคนก็จะต่างคุมกัน ถ้าผมจะรักษาฐานะนี้ไว้ได้ ผมก็ต้องควบคุมตัวเอง เหมือนวัดคุมบ้าน บ้านคุมวัด สมัยก่อนเป็นแบบนี้

    [​IMG]



    โลกสีเขียว: แล้วมีการมองไปถึงการร่วมกับชุมชนอื่นๆ เพื่อทำกิจกรรมไหม

    ชวน:
    มีครับ สมมติว่าบ้านใกล้ตลาดของเราเขาเข้าใจเรื่องขยะแล้ว ไม่ทิ้งลงคลอง แต่ถ้าหยุดแค่นี้ มันก็ยังแคบไป แรงบีบจะรุกมาให้เราเมื่อไหร่ไม่รู้ แต่ถ้าเราขยายวงไปเรื่อยๆ แนวทางเราก็จะกว้างขึ้น เหมือนกับอบรมคนสิบคน กับร้อยคน ก็น่าจะมีผลต่างกันในแง่ของการแพร่หลาย

    นี่ก็เหมือนกัน อย่างเครือข่ายตลาดน้ำ แล่นเรือไปเรื่อยๆ สามสี่กิโลเมตร บ้านนี้เป็นเครือข่ายของเรา เครือข่ายของเราหมายความว่ายังไง ต้องช่วยดูแลธรรมชาตินะ เราจะพาคนมาเที่ยว มาดู มาชมที่คุณ แล้วคุณจะทำยังไง คุณจะทำลายมันเหรอ

    เป้าหมายต่อไปของเราคือ คลองสองสามคลองที่อยู่ถัดไปจากนี้ ก็ไม่ยาวเท่าไหร่ มีบ้านอยู่เยอะสองฝั่งคลอง เราจะไปเก็บขยะให้หมด คนเรามีแล้ว ถ้าเรามีเรือสักลำหนึ่ง เราก็จะไป ทุกอาทิตย์ไปเก็บ ไปเก็บ ให้เขาเห็นว่าต้องรักษาคลองแล้วนะ แล้วเราก็แจกเอกสาร

    หลังจากนั้นก็ส่งต่อให้เขา ว่าคุณต้องทำแล้วนะ ช่วงเราเก็บเขาอาจยังไม่ทำ แต่ต่อไปเขาก็ต้องดูแลกันเอง แล้วเราทำหน้าที่พานักท่องเที่ยวมาชม แล้วเขาก็จะมีรายได้ เอาของมาขาย ก็จะเข้าระบบ ตอนนี้ขาดเรืออยู่ เรือยังไม่มี ตอนนี้ขอเขาไปอยู่ ยังไม่มี

    โลกสีเขียว: ขอไปที่ไหน และมีโอกาสจะได้ไหม

    ชวน:
    ขอไปทางหน่วยงานเอกชนก็มี ทาง กทม. ก็มี แต่ดูแล้วระเบียบต่างๆ มากมาย ก็คงจะยาก

    โลกสีเขียว: แสดงว่าการเก็บขยะที่ผ่านมาเป็นไปอย่างทุลักทุเล

    ชวน:
    เราใช้เรือของเราเองบ้าง ถ้าบรรทุกคนไม่มาก ใช้เรือของทางเขตบ้าง กทม. บ้าง แต่เขาก็ไม่ค่อยสะดวก เพราะมีงานเยอะ จริงๆ ควรให้ชุมชนทำ ต้องให้ชุมชนทำ ข้าราชการทำไม่สำเร็จหรอก จะเอาอะไรบอกมาเลย ทางเขตจัดการให้

    คุณจะเอาเครื่องมืออะไร บอกมา คุณจะทำอย่างนี้เหรอ แล้วเขตจะมาช่วยอะไร บอกมา การดูแลพื้นที่ในชุมชนต้องให้ชุมชนเขาดู ผมไม่มีทางไปทำให้เขาตลอดปีตลอดชาติหรอก เราต้องแสดงให้เขาเห็นว่า เขาต้องทำ

    ให้เขาเกิดความรู้สึกว่า เขาอยู่ริมคลองเขายังไม่ทำ แล้วผมอยู่ไกลกว่าเขาตั้งกี่สิบกิโล ผมยังมาทำให้ แต่คุณอยู่ตรงนี้ทุกวัน ขี้เยี่ยวตรงนี้ทุกวัน คุณจะไม่ทำอะไรเหรอ หากผมทำแล้วดี คุณจะไม่ทำต่อเหรอ


    [​IMG]

    โลกสีเขียว: เป้าหมายของคลองที่จะสานการทำงานต่อนั้น คือที่ไหน

    ชวน:
    มีคลองบางระมาด กับคลองบ้านไทร และบางพรหม บางน้อย สี่คลอง ซึ่งเป็นคลองที่อยู่ติดกับคลองลัดมะยม ส่วนตัวผมคิดว่าคลองจะสวยถ้าทุกคนดูแล น้ำไม่ใช่มีไว้เพื่อไม่ใช้ แต่ใช้ยังไงให้เหมาะที่จะใช้ไปเรื่อยๆ สมัยก่อนเราใช้น้ำจืดจากคลองจากฝน สองอย่าง

    ไม่มีน้ำอื่นที่จะใช้ น้ำฝนไว้ดื่ม น้ำคลองเอาไว้ซักผ้า อาบน้ำ น้ำประปามาทีหลัง พอมีน้ำประปามาปั๊บ ความรู้เรื่องน้ำคุณไม่มีเลย พอน้ำประปามาปั๊บ น้ำอื่นก็ไม่จำเป็น ทั้งที่น้ำประปาก็มาจากคลองนั่นแหละ สูบไปตกตะกอน ไปเติมคลอรีน

    ถ้าไม่มีน้ำคลอง คุณจะเอาน้ำประปามาจากไหน จริงๆ เราควรรักษาคลองเพื่อใช้น้ำคลองเป็นหลัก เอาน้ำประปาแค่ขัดตราทัพ ใช้ในเรื่องที่จำเป็น เพราะกว่าจะเป็นน้ำประปาคุณเสียพลังงานไปเท่าไหร่ ใช้ทรัพยากรไปเท่าไหร่

    ต้องขนส่งกว่าจะถึงบ้านคุณ แต่เราคิดว่าน้ำประปามาก็สบายแล้ว เปิดก๊อกปุ๊บ น้ำประปาก็ไหล สบายแล้ว มีเงินจ่าย มันก็ไหล


    [​IMG]


    โลกสีเขียว: คิดว่ารัฐควรมีแนวทางอย่างไรในการรักษาพื้นที่เกษตรในเมืองเอาไว้

    ชวน:
    รัฐต้องแบ่งโซนให้ดี ฟันธงได้ไหมว่าอีกห้าสิบปีข้างหน้า พื้นที่ตรงนี้จะยังคงเป็นพื้นที่สีเขียว ขณะเดียวกันรัฐต้องไม่มองว่าพื้นที่สีเขียวเป็นเฉพาะสวนสาธารณะ ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่สีเขียวแบบทำขึ้นมา ตกแต่งขึ้นมา เพราะต้องลงทุนสูงมาก

    และคนที่ได้ใช้ประโยชน์ส่วนมากก็เป็นคนที่อยู่กลางเมืองเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าการมีสวนลุมแล้วผมจะไปใช้ คนที่อื่นไม่ได้ใช้ เหมือนลงทุนร้อยล้านแต่คนใช้มีอยู่แค่นั้น แถมการทำสวนสาธารณะสักแห่งหนึ่งก็ลงทุนสูง และต้องตั้งงบประมาณดูแลมันเรื่อยๆ

    เมื่อเทียบกับที่ว่าเราสนับสนุนเอกชน ใครสร้างหรือรักษาพื้นที่สีเขียวเอาไว้ ก็เข้าไปสนับสนุน คือคุณเก็บภาษีผมไปแล้วคิดว่าคนนี้เป็นคนดูแล คุณก็เอาไปให้เขาเลย รัฐต้องแบ่งให้เขาไปเลยเพราะเหมือนเขาดูแลแทนผมเหมือนกัน ต้องช่วยกันถึงจะอยู่ได้และเดินไปได้ เงารัฐบาลก็ตามไปด้วย




    [​IMG]


    ชวน ชูจันทร์ “หนีไปให้พ้น หรือทำอะไรสักอย่าง” | มูลนิธิโลกสีเขียว
     
  12. อบ.

    อบ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +1,538
    อนุโมทนาโครงการดีๆ ของพี่เล็ก และทีมงานทุกๆ คนค่ะ

    เคยได้ยินเรื่องภัยพิบัติครั้งแรก น่าจะซัก ๓ ปีมาแล้ว จากพระองค์หนึ่ง ซึ่งท่านตายแล้วฟื้น และได้นำเรื่องนี้ ซึ่งเป็นข่าว"ฝาก" มาจาก "ข้างล่าง"

    และท่านและสหธรรมมิกได้ "เตรียม" วัด โดยมีการปลูกพืชอาหาร และสมุนไพร จำนวนมาก

    ท่านอยู่ที่เพชรบูรณ์ค่ะ หากสนใจ ก็สามารถพาไปกราบท่านได้ค่ะ



    กำลังคิดกลางอากาศว่า หากขายอสังหาริมทรัพย์ได้สักแห่ง จักไปซื้อที่นาสักผืนที่อุบลฯ (เนื่องจากมีแพลนจะย้ายไปอยู่อุบลฯ) ประมาณ ๑๐ - ๒๐ ไร่ ตามกำลัง และจะปลูกพืชตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพียงแต่ว่า จะไม่มีการเลี้ยงสัตว์และปลา เพื่อฆ่าเป็นอาหาร แต่ก็ยังคิดไม่ออกว่าควรจะอย่างไร แต่ก็ยังมิใช่เวลาคิด เพราะยังเป็นโครงการในอากาศอยู่ค่ะ


    หากมีโอกาส ก็จะร่วมสนับสนุนโครงการด้วยค่ะ

    อนุโมทนาบุญกับทุกกุศลกิจกุศลกรรมของทุกคนทุกประการ

    บุญรักษาค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2010
  13. GUYTHUM

    GUYTHUM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +1,088
    ผมชอบอย่างเดียว ยอดอ่อนมันต่อเผือกผัดน้ำมันหอย:cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    กราบขอบพระคุณ คุณสิกขิมด้วยครับ มีโอกาสได้ไปทานอาหารที่สวนเจียมตนบ่อยๆ ภรรยาคุณลุงท่านเปิดร้านอาหารภาคเหนือที่ ตลาดคลองลัดมะยมครับ
    ได้ไปเที่ยวดูสวนท่านเป็นระยะ

    ครั้งหน้าจะขออนุญาตท่านประชาสัมพันธ์ เรื่องศูนย์การเรียนรู้ในกรุงเทพ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มาศึกษากันครับ

    หากเราทุกๆคนช่วยกันขับเคลื่อน เรื่อง บ ว ร และ เร่งสร้างความพอเพียง สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้เร็วได้ กว้างขยายครอบคลุมได้ทั่วไทย ทั่วโลกได้ก็จะช่วยคนได้มากครับ

    เมื่อ "พอเพียง"

    ก็จะ (มี) "เพียงพอ" สำหรับทุกชีวิต

    เมื่อไม่ "พอเพียง"

    มีเท่าไรก็ไม่รู้จัก "พอ" จัก อิ่ม

    เมื่อ "พอ" แล้ว มีเมตตา

    ย่อมรู้จัก "การให้ การแบ่งปัน"

    เมื่อนั้น

    ยามลำบาก อาจไม่อิ่ม แต่ไม่มีใครอด
     
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    โมทนาบุญด้วยครับ

    ลองมาช่วยกัน ปรึกษากันได้ครับ

    ลองร่างผังรูปที่ดิน มาช่วยกันดู

    -วางผังรูปที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์ ดูสภาพความสูงของที่ จุดที่ต่ำที่สุดในที่ ขุดบ่อน้ำ เอาดินก้นบ่อมาถมที่จุดที่ปลูกบ้าน

    ดูที่ทางลมและแดดให้สัมพันธ์เกื้อหนุมกัน

    ปลูกพืช โดยวางตำแหน่งให้การรดน้ำเบาแรงเราที่สุด
    -การขุดบ่อ ทำขั้นบรรไดไหล่ขอบสระเพื่อ ลดการทะลายของดิน
    ดูสภาพดินว่าอุ้มน้ำหรือเป็นดินทราย
    หากเป็นดินทราย เราใช้พลาสติกปูก้นสระ หรือใช้ปุ๋ยยูเรียโรยเพื่อสร้างสาหร่ายซีลพื้นสระเพื่อให้เก้บน้ำได้

    ปลูกหญ้าแฝกหอมรอบสระ เพื่อการยึดเกาะดิน ปลุกกล้วยเพื่อรักษาความชุ่มชื้นรอบสระ ปลูกต้นไม้สูงด้านตะวันตกเพื่อบังแดด ลดการระเหยของน้ำในสระ

    ในสระปลูกพืชกินได้ เช่นผักบุ้ง ผักกระเฉด ในบางส่วน
    ใช้จุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำ ใช้โบกาฉิวางก้นบ่อเพื่อทำให้น้ำใสและเป็นปุ๋ยน้ำโดยอัตโนมัติเวลา รดน้ำต้นไม้อื่นในเขตที่ดิน

    ปลูกไม้กินได้ ปลูกไม้ใช้งาน ปลูกไม้สมุนไพร ปลูกพืชที่เราชอบกิน ปลูกไม้ที่เราใช้บ่อย

    ใช้ปุ๋ยชีวภาพที่เราทำเองไม่ต้องซื้อ เอาฟางห่มดินใต้ต้นไม้แล้วใช้น้ำชีวภาพรดให้ ดินรักษาความชุ่มชื้น ฟางหมักกลายเป็นปุ๋ยต่อไป สร้างแมลงและไส้เดือนที่ช่วยพรวนดิน เราเบาแรงในการดูแลให้ปุ๋ยต้นไม้ต่อไป

    ทำโรงเรือนเพาะเห็ด ซึ่งต้องไปหาความรู้เพิ่ม หากทำดีๆเป็นอาชีพเลี้ยงตัว เลี้ยงที่ดินได้

    เลี้ยงไก่ไข่ เป็ดไข่ เราใช้ขี้ไก่ผสมเป็นปุ๋ยต่อไป

    -บ้านใช้ต้นไม้บังแดดให้ร่มเงา กำบังลมและบังคับแนวลม โดยมีระยะห่าง และดูระบบรากไม้ที่ลงลึก กับ แผ่ออก เพื่อให้ระบบรากไม้มาสาน ดินให้แน่น ชะลอการทะลายของดิน ชะลอแรงน้ำ

    หลังบ้านใกล็ครัวมีน้ำใช้น้ำทิ้งผ่าน นำมาปลูกรดแปลงผัก พืชสวนครัว

    -รั้วที่ดิน ปลูกต้นไม้ยืนต้นโตเร็วมูลค่าสูง เพื่อเป็นเงินบำนาญต้นไม้ 10-15 ปีทะยอยตัดขาย เป็นเงินบำนาญ ทองหลาง ตะกูยักษ์ ยางนา

    ระหว่างต้นแซมด้วย ต้นไ้ม้เด็ดใบกินได้ พวกชะอม กระถิน ผักหวาน

    -หน้าบ้าน มีน้ำใจวางโถดินน้ำดื่ม แบ่งปันให้ทุกคนด้วยเมตตา

    -ผักพืชพันธุ์ มีออก ดอก ออกผล เราแบ่งทำบุญก่อน เเบ่งเข้าโรงทานวัดก่อน แบ่งเข้าธนาคารข้าวธนาคารอาหารชุมชนก่อน
    ให้พระภูมิเจ้าที่ รุกขเทวดาท่านได้พลอยได้อานิสงค์ผลบุญไปด้วย

    -พันธุ์ไม้ กิ่งตอนเรามี เราแบ่งปันกัน แลกกัน ให้กันกับ บ้านอื่น เป็นธนาคารพันธุ์พืชชุมชน

    -พอวางระบบเสร็จเบาตัว เบาแรง เราเริ่มสังเกตุ เริ่มใช้ปัญญา พัฒนาต่อยอดเป็นสวนเกษตร ปราณีตต่อไป ปลูกพืช7 ชั้น

    หัวใต้ดิน เรี่ยดิน คลุมดิน ล้มลุก ยืนต้นเตี้ย ยืนต้นสูง พืชผิวน้ำ

    เรียกว่าใช้ทุกส่วนของที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    ไม้เด็ดใบ สร้างรายได้รายวัน
    เห็ด ผัก สร้างรายได้รายรอบ รายอาทิตย์
    ไม้ผล สร้างรายได้รายฤดูกาล
    ไม้ตัดใช้งานพวก ไผ่ สร้างรายได้หัตถกรรม
    ไม้ยืนต้นสูงขายเนื้อไม้ สร้างรายได้ในอนาคตเป็นเงินบำนาญ

    ประกันสุขภาพ โดยการออกกำลังกาย ในการทำสวน ดื่มน้ำสะอาด อากาศดีปราศจากเคมี กินอาหารสด RawFood ที่ปลูกเองเต็มไปด้วยพลังชีวิต

    รดน้ำต้นไม้เราแผ่เมตตาวางจิตเหมือนเรากรวดน้ำ เป็นผลึกเพชรไปยังต้นไม้แหล่งน้ำ ผืนดินให้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยความเมตตา

    ใช้ชีวิตดำเนินชีวิตพร้อมการปฏิบัติธรรม ทำจิตให้เบิกบานผ่องใส มั่นคงในพระรัตนไตร มีเมตตาการให้การแบ่งปันต่อทุกสรรพชีวิต

    ชีวิตที่งดงาม ชีวิตที่สงบพอเพียงปราศจากการเบียดเบียนกัน
     
  16. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    *
    [​IMG]

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา </O:p>
    *
    [​IMG]
     
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    พระสังคม ธนปัญโญ นำแนวพระราชดำริช่วยชาวบ้าน
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody> <tr> <td> พระสังคม ธนปัญโญ นำแนวพระราชดำริช่วยชาวบ้าน

    </td> <td valign="top" width="155">
    </td></tr></tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody> <tr> <td>
    </td> <td>
    </td></tr></tbody></table>
    เมื่อครั้งเดินทางไปร่วมโครงการฟื้นฟูทะเลไทยจากภูผาสู่มหานทีด้วยพลังเบญจภาคีที่ จ.ชุมพร
    มีโอกาสได้สนทนากับพระนักส่งเสริมและพัฒนาชุมชน รูปหนึ่งคือ พระสังคม ธนปัญโญ ในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ซึ่งท่านกล่าวว่าที่วัดพระธาตุ*ยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ อันเป็นวัดที่ท่านจำพรรษานั้น มีศูนย์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริด้วย โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้อำนวยการศูนย์ และมีท่านในฐานะรองเจ้าอาวาสเป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ช่วยกันขับเคลื่อนศูนย์มาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน
    ศึกษาแนวพระราชดำริ
    พระอาจารย์สังคม ภูมิหลังเคยเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์ เป็นนักจัดรายการวิทยุทั้งในและต่างประเทศ มีประสบการณ์เรียนและทำงานในต่างประเทศ 10 ปี และก่อนอุปสมบทได้เป็นหนึ่งในช่างภาพเฉพาะกิจของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการรัฐเทกซัส
    พอบวชแล้วได้เน้นงานอบรมธรรมะแก่ เยาวชน แต่พระอาจารย์สังคมว่า ทำไปช่วงหนึ่งก็เห็นว่ายังไม่ครอบคลุมถึงครอบครัวและชุมชน จึงได้คิดหาวิธีใหม่ๆ จนได้มาศึกษาแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ตรัสว่า บ้าน วัด โรงเรียนต้องเกื้อหนุนส่งเสริมกันและกัน กอปรกับได้อ่านคติพจน์ของหลวงปู่จันทร์ กุสโล อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร และเป็นผู้อุปถัมภ์วัดพระบรมธาตุ*ยผาส้ม ที่ว่าเศรษฐกิจจิตใจแก้ไขพร้อมกัน ทำให้เกิดประกายความคิดที่จะสอนชาวบ้าน โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ มาเป็นแนวทาง
    “ตั้งแต่นั้นอาตมาได้เริ่มเก็บข้อมูลของชาวบ้านและชุมชนจนรู้ว่าชาวบ้านส่วน ใหญ่เป็น ทุกข์ เพราะมีหนี้สินติดตัวจึงได้ไปติดต่อกับเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง กระทั่งมีโครงการต่างๆ ได้พยายามติดต่อเข้ามาช่วยชาวบ้าน เช่น โครงการมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ โครงการไบโอดีเซล โครงการชีววิถีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ โครงการสร้างฝายแฝกตามโครงการพระราชดำริ เป็นต้น ทำให้ชาวบ้านเริ่มมีความหวังในชีวิต”
    ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
    พระนักพัฒนาชุมชนเมื่อได้มองเห็นปัญหา ต่างๆ ของชาวบ้านด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาตามหลักอริยสัจสี่แล้ว จึงร่วมกับเจ้าอาวาสวัดพระธาตุ*ยผาส้มเริ่มการแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้าน และชุมชน โดยการน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาทำที่วัดโดยมี 4 แผนหลักใหญ่ๆ
    1.โครงการอนุรักษ์น้ำ รักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำ สร้างฝาย (Check Dam) และปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง โดยใช้ธนาคารต้นไม้เป็นตัวนำร่องปลูกต้นไม้ในใจคน
    พระอาจารย์ กล่าวว่า ทรัพยากรธรรมชาติมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา และภาคเหนือเป็นแหล่งรวมทรัพยากรธรรมชาติของไทย ซึ่งหากมีการตัดไม้ทำลายป่าเผาป่าจะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และเจ้าพระยา ดังนั้นจึงต้องปลูกป่าทำแนวทางกั้นไฟป่า
    “อาตมาได้พยายามชักนำหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยทำงานร่วมกันกับชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงปัญหาและเกิด ความรู้ส ึกอยากปกป้องรักษาป่าเองไม่ใช่เพราะการบังคับ และได้นำโครงการธนาคารต้นไม้ (Tree Bank) เข้ามาดำเนินการเป็นสาขาแรกในภาคเหนือ จัดทำสมุดบัญชีและปลูกป่าต้นน้ำ เริ่มโครงการปลูกป่าสร้างฝายถวายในหลวงอย่างต่อเนื่อง ร่วมโครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมีของกองทัพบก จั*บรมเวทีปลูกต้นไม้ในใจคน เปิดสาขาภาคเหนือกว่า 20 สาขา เชิญชวนปลูกต้นไม้มากกว่าแสนต้น และสร้างฝายถวายในหลวงกว่า 2,500 ฝาย จัดทำโครงการเขตป่าอนุรักษ์พิเศษกว่า 1 หมื่นไร่ ให้รอดจากไฟป่าจนทางวัดได้รับรางวัลการป้องกันรักษาไฟป่าและหมอกควันติดต่อ กัน 2 ปีซ้อน ปัจจุบันเป็นที่น่าดีใจที่ชุมชนมีป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด”
    2.การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย สุขภาพดีขึ้น
    สาเหตุอันหนึ่งที่ชาวบ้านเป็นหนี้ก็ คือการไปกู้เงินซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ทำให้เป็นหนี้ กล่าวคือเมื่อผลผลิตไม่ได้ตามเป้าก็ทำให้ต้องเป็นหนี้ พระอาจารย์จึงปรึกษากับผู้รู้และเชิญหน่วยงานที่ทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ สารชีวภาพต่างๆ มาให้ชาวบ้านทดลองทำ พยายามช่วยให้ชาวบ้านทำน้ำยาล้างจาน สบู่ แชมพู ทำปุ๋ยใช้เอง ส่วนอาหาร เสื้อผ้า ที่พัก ยารักษาโรค ก็ใช้หลักการของในหลวงคือให้ชาวบ้านช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด
    “พร้อมได้จัดหาทุนช่วยเหลือจากมูลนิธิ ต่างๆ มาสร้างศูนย์การเรียนรู้การพึ่งตนเองจากฐานงานต่างๆ อย่างได้ผล ช่วยจัดการบริหารแหล่งน้ำด้วยการสร้างฝายทั้งชั่วคราวและแบบถาวรเพื่อให้ ชุมชนมีน้ำใ ช้ในหน้าแล้งอย่างเพียงพอ จนชาวบ้านพึ่งตนเองได้ในระดับที่น่าพอใจ ไม่ต้องซื้อน้ำยาซักผ้า สบู่ ปุ๋ย ยา สารเคมี ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้มาก ทั้งยังเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นกอบเป็นกำ เช่น ทำน้ำยาอเนกประสงค์ส่งขายให้กับหน่วยราชการต่างๆ ได้อีกทางหนึ่งด้วย”
    3.การส่งเสริมพลังงานทดแทน
    การส่งเสริมพลังงานทดแทนพระอาจารย์ได้ ติดต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เพื่อนำวัดเข้าสู่โครงการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งร่วมกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาเรื่องพลังงานลมแต่ยังอยู่ในช่วงทดลอง แต่ในขณะเดียวกันได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูก*กทานตะวันเพื่อใช้เมล็ดผลิตเป็น เชื้อเพล ิงใช้ในรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันปรากฏว่าชุมชนมั่นใจและเกิดความเชื่อมั่นว่าน้ำมันจากเมล็ด ทานตะวันสามา รถใช้กับรถยนต์ได้จริง 100% ทำให้มีการเร่งปลูกทานตะวันหลังการเก็บเกี่ยวข้าวพืชหลักของตน
    4.การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ด้วยโฮ มสกูล (Home School) เพื่อเป็นโรงเรียนแบบใหม่สำหรับเด็กในชุมชนที่กำลังเติบโตขึ้นในโลกอันทัน สมัยนี้
    การศึกษารูปแบบใหม่นี้ พระอาจารย์ กล่าวว่า อาจเป็นคำตอบสำหรับแนวการศึกษาภาคชนบทอย่างแท้จริงในอนาคต เพราะปัจจุบันคนหนุ่มสาวพากันออกจากหมู่บ้านเข้าไปทำงานในเมืองหรือเข้าไป เรียนในเมื องกันหมด ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำคือพยายามดึงเด็กรุ่นใหม่ให้อยู่ในหมู่บ้านให้มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันเด็กต้องได้รับการศึกษาไปพร้อมกันด้วยแต่ต้องเป็นการศึกษา ที่สามารถ ตอบสนองวิถีชีวิตของชุมชนด้วย
    “การศึกษาในปัจจุบันตอบสนองนโยบายชาติ แต่ไม่ตอบสนองความต้องการของครอบครัว ความตั้งใจของอาตมาคือต้องการให้รู้เท่าทันคน สามารถทำงานไปด้วยแต่ก็ได้รับความรู้จากการทำงานด้วย การทำเช่นนี้ถึงจะช่วยพ่อแม่ปลดหนี้สินได้ แต่ถ้าให้พ่อแม่กู้หนี้ยืมสินไปส่งลูกเรียน ลูกจบออกมาก็ต้องทำงานใช้หนี้ ต้องทิ้งบ้านออกไปทำงานในเมือง พ่อแม่ถูกทอดทิ้ง ไร่นาไม่มีคนทำ ปัญหาสังคมก็ตามมา”
    พระอาจารย์อธิบายให้ฟังเกี่ยวกับหลัก สูตรโฮมสกูลของวัดพระธาตุ*ยผาส้มว่า เน้นไปที่ความสอดคล้องกับทิศทางพัฒนาชุมชนชนบทที่พยายามปลดแอกจากหนี้สินที่ พอกพูน ซึ่งแนวทางที่นำมาใช้กับชุมชนคือแนวทางพระราชดำริ “บวร” หรือบ้าน วัด โรงเรียนสัมพันธ์กัน โดยอาศัยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนชุมชนพร้อมกันใน 4 ด้าน คือ ทุนของสังคมเกษตร การพึ่งพาตนเอง พลังงานทดแทน และการศึกษา ซึ่งหลักสูตรและการปฏิบัติงานของเด็ก Home School จะสอดคล้องกับแนวทางเหล่านี้
    “ปัจจุบันในโฮมสกูลแห่งนี้มีนักเรียน มัธยมต้น 5 คน มัธยมปลาย 3 คน มีกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบพี่สอนน้องและเรียนไปด้วยกัน โดยแบ่งการเรียนรู้เป็น 3 ช่วงใหญ่ คือเปิดทางฝัน ซึ่งจะนำเด็กๆ ไปดูงานที่ต่างๆ เพื่อค้นหาตัวเอง ช่วงที่ 2 เป็นการก่อร่างสร้างฐาน คือ การนำความสนใจจากความรู้ต่างๆ มาหลอมรวมกับจินตนาการสู่การปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง และช่วงสุดท้ายคือ เชื่อมโยงสู่การเรียนรู้เข้ากับสิ่งรอบตัว ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้”
    สำหรับมาตรฐานทางความรู้นั้นนักเรียนของโฮมสกูลคนหนึ่งบอกว่าจะต้องไปสอบวัด ระดับควา มรู้ที่เขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่เป็นระยะๆ ในตารางเรียนรอบสัปดาห์จะมี 2 วันเรียนวิชาสามัญเหมือนนักเรียนในหลักสูตรปกติ ส่วนอีก 2 วันเรียนเกษตรกับเข้าฐานปฏิบัติงานและจะต้องมีวันหนึ่งเรียนธรรมะกับพระ อาจารย์ที่วั ด
    พระอาจารย์สังคม กล่าวว่า จากการพัฒนาวัดด้านถาวรวัตถุมาสู่การพัฒนาจิตใจ และพัฒนาวิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราช ดำริฯ จากคติธรรมของหลวงปู่จันทร์ กุสโล มาเป็นการบูรณาการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งทั้ง 4 ด้านอย่างครบวงจรดังกล่าว จนทำให้ชุมชนในละแวกหมู่บ้านอมลองและใกล้เคียงมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ ชุมชนมีความหวังว่าจะหมดหนี้หมดสินในวันข้างหน้าอันใกล้
    “อาตมารู้สึกมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือชาวบ้านด้วยความเต็มใจ” พระสังคม กล่าว
     
  18. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    กรณีศึกษา การจัดการอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

    ศูนย์ การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม นี้ตั้งอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 089-926-3877 และ 089-952-6266 โดยผู้รับผิดชอบโครงการ คือ พระสรยุทธ ชยปญฺโญ รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม[1] และพระสังคม ธนปญฺโญ[2]
    ศูนย์ การเรียนรู้แห่งนี้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ นำหลักพระพุทธศาสนา และเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้เป็นรูปธรรม โดยการทดลองใช้จริง เช่น การอนุรักษ์ดินและน้ำ การผลิตสารอินทรีย์ชีวภาพ ทดแทนการใช้สารเคมี การปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์ การบริหารจัดการขยะ เป็นต้น[3]
    ศึกษาแนวพระราชดำริ
    พอ บวชแล้วได้เน้นงานอบรมธรรมะแก่เยาวชน แต่พระอาจารย์สังคมว่า ทำไปช่วงหนึ่งก็เห็นว่ายังไม่ครอบคลุมถึงครอบครัวและชุมชน จึงได้คิดหาวิธีใหม่ๆ จนได้มาศึกษาแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ตรัสว่า บ้าน วัด โรงเรียนต้องเกื้อหนุนส่งเสริมกันและกัน กอปรกับได้อ่านคติพจน์ของหลวงปู่จันทร์ กุสโล อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร และเป็นผู้อุปถัมภ์วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ที่ว่าเศรษฐกิจจิตใจแก้ไขพร้อมกัน ทำให้เกิดประกายความคิดที่จะสอนชาวบ้าน โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ มาเป็นแนวทาง
    “ตั้งแต่ นั้นอาตมาได้เริ่มเก็บข้อมูลของชาวบ้านและชุมชนจนรู้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เป็น ทุกข์ เพราะมีหนี้สินติดตัวจึงได้ไปติดต่อกับเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง กระทั่งมีโครงการต่างๆ ได้พยายามติดต่อเข้ามาช่วยชาวบ้าน เช่น โครงการมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ โครงการไบโอดีเซล โครงการชีววิถีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ โครงการสร้างฝายแฝกตามโครงการพระราชดำริ เป็นต้น ทำให้ชาวบ้านเริ่มมีความหวังในชีวิต”
    ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
    พระ นักพัฒนาชุมชนเมื่อได้มองเห็นปัญหาต่างๆ ของชาวบ้านด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาตามหลักอริยสัจสี่แล้ว จึงร่วมกับเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยผาส้มเริ่มการแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้าน และชุมชน โดยการน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาทำที่วัดโดยมี 4 แผนหลักใหญ่ๆ
    1.โครงการอนุรักษ์น้ำ รักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำ สร้างฝาย (Check Dam) และปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง โดยใช้ธนาคารต้นไม้เป็นตัวนำร่องปลูกต้นไม้ในใจคน
    พระ อาจารย์ กล่าวว่า ทรัพยากรธรรมชาติมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา และภาคเหนือเป็นแหล่งรวมทรัพยากรธรรมชาติของไทย ซึ่งหากมีการตัดไม้ทำลายป่าเผาป่าจะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และเจ้าพระยา ดังนั้นจึงต้องปลูกป่าทำแนวทางกั้นไฟป่า
    “อาตมา ได้พยายามชักนำหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยทำงานร่วมกันกับชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงปัญหาและเกิด ความรู้สึกอยากปกป้องรักษาป่าเองไม่ใช่เพราะการบังคับ และได้นำโครงการธนาคารต้นไม้ (Tree Bank) เข้ามา ดำเนินการเป็นสาขาแรกในภาคเหนือ จัดทำสมุดบัญชีและปลูกป่าต้นน้ำ เริ่มโครงการปลูกป่าสร้างฝายถวายในหลวงอย่างต่อเนื่อง ร่วมโครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมีของกองทัพบก จัดอบรมเวทีปลูกต้นไม้ในใจคน เปิดสาขาภาคเหนือกว่า 20 สาขา เชิญชวนปลูกต้นไม้มากกว่าแสนต้น และสร้างฝายถวายในหลวงกว่า 2,500 ฝาย จัดทำโครงการเขตป่าอนุรักษ์พิเศษกว่า 1 หมื่นไร่ ให้รอดจากไฟป่าจนทางวัดได้รับรางวัลการป้องกันรักษาไฟป่าและหมอกควันติดต่อกัน 2 ปีซ้อน ปัจจุบันเป็นที่น่าดีใจที่ชุมชนมีป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด”
    2.การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย สุขภาพดีขึ้น
    สาเหตุ อันหนึ่งที่ชาวบ้านเป็นหนี้ก็คือการไปกู้เงินซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ทำให้เป็น หนี้ กล่าวคือเมื่อผลผลิตไม่ได้ตามเป้าก็ทำให้ต้องเป็นหนี้ พระอาจารย์จึงปรึกษากับผู้รู้และเชิญหน่วยงานที่ทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ สารชีวภาพต่างๆ มาให้ชาวบ้านทดลองทำ พยายามช่วยให้ชาวบ้านทำน้ำยาล้างจาน สบู่ แชมพู ทำปุ๋ยใช้เอง ส่วนอาหาร เสื้อผ้า ที่พัก ยารักษาโรค ก็ใช้หลักการของในหลวงคือให้ชาวบ้านช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด
    “พร้อม ได้จัดหาทุนช่วยเหลือจากมูลนิธิต่างๆ มาสร้างศูนย์การเรียนรู้การพึ่งตนเองจากฐานงานต่างๆ อย่างได้ผล ช่วยจัดการบริหารแหล่งน้ำด้วยการสร้างฝายทั้งชั่วคราวและแบบถาวรเพื่อให้ ชุมชนมีน้ำใช้ในหน้าแล้งอย่างเพียงพอ จนชาวบ้านพึ่งตนเองได้ในระดับที่น่าพอใจ ไม่ต้องซื้อน้ำยาซักผ้า สบู่ ปุ๋ย ยา สารเคมี ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้มาก ทั้งยังเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นกอบเป็นกำ เช่น ทำน้ำยาอเนกประสงค์ส่งขายให้กับหน่วยราชการต่างๆ ได้อีกทางหนึ่งด้วย”
    3.การส่งเสริมพลังงานทดแทน
    การส่งเสริมพลังงานทดแทนพระอาจารย์ได้ติดต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เพื่อนำวัดเข้าสู่โครงการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งร่วมกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาเรื่องพลังงานลมแต่ยังอยู่ในช่วงทดลอง แต่ในขณะเดียวกันได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกดอกทานตะวันเพื่อใช้เมล็ดผลิต เป็นเชื้อเพลิงใช้ในรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันปรากฏว่าชุมชนมั่นใจและเกิดความเชื่อมั่นว่าน้ำมันจากเมล็ด ทานตะวันสามารถใช้กับรถยนต์ได้จริง 100% ทำให้มีการเร่งปลูกทานตะวันหลังการเก็บเกี่ยวข้าวพืชหลักของตน
    4.การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ด้วยโฮมสกูล (Home School) เพื่อเป็นโรงเรียนแบบใหม่สำหรับเด็กในชุมชนที่กำลังเติบโตขึ้นในโลกอันทันสมัยนี้
    การ ศึกษารูปแบบใหม่นี้ พระอาจารย์ กล่าวว่า อาจเป็นคำตอบสำหรับแนวการศึกษาภาคชนบทอย่างแท้จริงในอนาคต เพราะปัจจุบันคนหนุ่มสาวพากันออกจากหมู่บ้านเข้าไปทำงานในเมืองหรือเข้าไป เรียนในเมืองกันหมด ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำคือพยายามดึงเด็กรุ่นใหม่ให้อยู่ในหมู่บ้านให้มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันเด็กต้องได้รับการศึกษาไปพร้อมกันด้วยแต่ต้องเป็นการศึกษา ที่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตของชุมชนด้วย
    “การ ศึกษาในปัจจุบันตอบสนองนโยบายชาติ แต่ไม่ตอบสนองความต้องการของครอบครัว ความตั้งใจของอาตมาคือต้องการให้รู้เท่าทันคน สามารถทำงานไปด้วยแต่ก็ได้รับความรู้จากการทำงานด้วย การทำเช่นนี้ถึงจะช่วยพ่อแม่ปลดหนี้สินได้ แต่ถ้าให้พ่อแม่กู้หนี้ยืมสินไปส่งลูกเรียน ลูกจบออกมาก็ต้องทำงานใช้หนี้ ต้องทิ้งบ้านออกไปทำงานในเมือง พ่อแม่ถูกทอดทิ้ง ไร่นาไม่มีคนทำ ปัญหาสังคมก็ตามมา”
    พระ อาจารย์อธิบายให้ฟังเกี่ยวกับหลักสูตรโฮมสกูลของวัดพระธาตุดอยผาส้มว่า เน้นไปที่ความสอดคล้องกับทิศทางพัฒนาชุมชนชนบทที่พยายามปลดแอกจากหนี้สินที่ พอกพูน ซึ่งแนวทางที่นำมาใช้กับชุมชนคือแนวทางพระราชดำริ “บวร” หรือบ้าน วัด โรงเรียนสัมพันธ์กัน โดยอาศัยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนชุมชนพร้อมกันใน 4 ด้าน คือ ทุนของสังคมเกษตร การพึ่งพาตนเอง พลังงานทดแทน และการศึกษา ซึ่งหลักสูตรและการปฏิบัติงานของเด็ก Home School จะสอดคล้องกับแนวทางเหล่านี้
    “ปัจจุบันในโฮมสกูลแห่งนี้มีนักเรียนมัธยมต้น 5 คน มัธยมปลาย 3 คน มีกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบพี่สอนน้องและเรียนไปด้วยกัน โดยแบ่งการเรียนรู้เป็น 3 ช่วงใหญ่ คือเปิดทางฝัน ซึ่งจะนำเด็กๆ ไปดูงานที่ต่างๆ เพื่อค้นหาตัวเอง ช่วงที่ 2 เป็น การก่อร่างสร้างฐาน คือ การนำความสนใจจากความรู้ต่างๆ มาหลอมรวมกับจินตนาการสู่การปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง และช่วงสุดท้ายคือ เชื่อมโยงสู่การเรียนรู้เข้ากับสิ่งรอบตัว ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้”
    สำหรับ มาตรฐานทางความรู้นั้นนักเรียนของโฮมสกูลคนหนึ่งบอกว่าจะต้องไปสอบวัดระดับ ความรู้ที่เขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่เป็นระยะๆ ในตารางเรียนรอบสัปดาห์จะมี 2 วันเรียนวิชาสามัญเหมือนนักเรียนในหลักสูตรปกติ ส่วนอีก 2 วันเรียนเกษตรกับเข้าฐานปฏิบัติงานและจะต้องมีวันหนึ่งเรียนธรรมะกับพระอาจารย์ที่วัด
    พระ อาจารย์สังคม กล่าวว่า จากการพัฒนาวัดด้านถาวรวัตถุมาสู่การพัฒนาจิตใจ และพัฒนาวิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราช ดำริฯ จากคติธรรมของหลวงปู่จันทร์ กุสโล มาเป็นการบูรณาการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งทั้ง 4 ด้าน อย่างครบวงจรดังกล่าว จนทำให้ชุมชนในละแวกหมู่บ้านอมลองและใกล้เคียงมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ ชุมชนมีความหวังว่าจะหมดหนี้หมดสินในวันข้างหน้าอันใกล้
    “อาตมารู้สึกมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือชาวบ้านด้วยความเต็มใจ” พระสังคม กล่าว[4]
    วัดพระธาตุดอยผาส้มให้ผลประโยชน์ต่อชุมชนอย่างเด่นชัด ทำให้การนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงสู่ปฏิบัติการของงาน CSR (Cooperate Sustainable Responsibility) ของวัดที่สามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวและเป็นความหวังของชาวพุทธตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถึงจะต่างกาละเทสะ (Space and Time) ก็ยังเกิดโรงเรียนวัด โดยใช้คำใหม่ในบริบทเก่า ว่า โฮมสกูล (Home School) และจัดได้ว่าเป็นโครงการนำร่อง (Pilot Project) ของสถานที่ ที่เป็นสาธารณสถาน สู่สาธารณประโยชน์ (Public 2 Public)

    หัวข้อที่ 1 แนวทางการพัฒนาชุมชนได้ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการที่ยั่งยืนอย่างไร
    พระ อาจารย์อธิบายให้ฟังเกี่ยวกับหลักสูตรโฮมสกูลของวัดพระธาตุดอยผาส้มว่า เน้นไปที่ความสอดคล้องกับทิศทางพัฒนาชุมชนชนบทที่พยายามปลดแอกจากหนี้สินที่ พอกพูน ซึ่งแนวทางที่นำมาใช้กับชุมชนคือแนวทางพระราชดำริ “บวร” หรือบ้าน วัด โรงเรียนสัมพันธ์กัน โดยอาศัยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนชุมชนพร้อมกันใน 4 ด้าน คือ ทุนของสังคมเกษตร การพึ่งพาตนเอง พลังงานทดแทน และการศึกษา ซึ่งหลักสูตรและการปฏิบัติงานของเด็ก Home School จะสอดคล้องกับแนวทางเหล่านี้
    [​IMG]


    กรณีศึกษา การจัดการอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่[5]

    แนวทางพระราชดำริ “บวร” [6]
    ก่อให้เกิดกระบวนการประชาสังคม “บวร” คือการนำเอารูปแบบและแนวคิด การพัฒนา แบบ “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน) กล่าวคือ เป็นแนวคิดที่มุ่งพยายามที่จะนำเอา องค์กร และ/หรือ สถาบันหลักในชุมชนท้องถิ่นมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา อันได้แก่ การนำเอาสถาบันที่สำคัญในชุมชน 3 สถาบันได้แก่ สถาบันการปกครอง (บ = บ้าน) สถาบันศาสนา (ว = วัด) และ สถาบันการศึกษา (ร = โรงเรียน) ผนึกกำลังจัดตั้งเป็นองค์กรที่เรียกว่า “มนตรี บวร” เพื่อนำมารองรับและดำเนินการต่างๆ ตามนโยบายของทางราชการ (สุริยน จันทรนกูร,2537) ฉะนั้น คำว่า “บวร” จึงเป็นคำย่อ โดยการนำเอาพยัญชนะต้นของคำว่า บ้าน วัด โรงเรียน มา บัญญัติเป็นคำใหม่ คือ ซึ่งมีองค์ประกอบของ “บวร” (ธนพรรณ ธานี,2545,น.6) ดังต่อไปนี้
    สถาบันการปกครอง (บ้าน) ซึ่งประกอบไปด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อบต. สาธารณสุขตำบล เกษตรตำบล เป็นต้น รวมทั้งระบบกลไกในการบริหารที่มาจากรัฐ ในรูปอื่นๆ ด้วย
    สถาบันศาสนา (วัด) ประกอบด้วยเจ้าอาวาส พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และ กลุ่ม หรือ ชมรมทางศาสนา ซึ่งในความหมายในเชิงกว้าง อาจจะหมายรวมถึง องค์กรหรือ หรือ สถาบันทางศาสนาต่างๆ ในชุมชนนั้นๆ ด้วย
    สถาบันการศึกษา (โรงเรียน) ประกอบ ด้วย ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ คณะครู นักวิชาการ และบุคคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และองค์กรทางการศึกษาอื่นๆ ด้วย
    ดังนั้น ประชาสังคมแบบ “บวร” จึงหมายถึง การนำเอา สถาบันหลักในชุมชนมาเป็นกลไกในการพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ติดสินใจ แก้ปัญหาตนเอง และ ชุมชน กำหนดแผนแม่บทชุมชนด้วยการร่วมกันคิด สร้าง และ บริหารจัดการชุมชนของคนในท้องถิ่นที่ร่วมกันเป็นเจ้าของ

    [​IMG]



    กรอบแนวคิดโฮมสกูล(Home School) ของวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่[7]


    แนวทางการจัดการที่ยั่งยืน
    พระ นักพัฒนาชุมชนเมื่อได้มองเห็นปัญหาต่างๆ ของชาวบ้านด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาตามหลักอริยสัจสี่แล้ว จึงร่วมกับเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยผาส้มเริ่มการแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้าน และชุมชน โดยการน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาทำที่วัดโดยมี 4 แผนหลักใหญ่ๆ
    [​IMG]


    ต้นแบบบูรณาการกับแนวทางการจัดการที่ยั่งยืนวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่[8]

    แนวทางที่ ๑ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าต้นน้ำ
    โครงการอนุรักษ์น้ำ รักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำ สร้างฝาย (Check Dam) และปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง โดยใช้ธนาคารต้นไม้ (Tree Bank) เป็นตัวนำร่องปลูกต้นไม้ในใจคน
    1. การปลูกต้นไม้เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำ
    2. ป้องกันไฟป่าการบุกรุกทำลายป่าไม้
    3. การสร้างฝายเพื่อการรักษาแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อการเพาะปลูก
    4. การสร้างธนาคารต้นไม้พัฒนาการเกษตรให้ถูกทาง

    แนวทางที่ ๒ ปัจจัยสี่และการกสิกรรม
    การ ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย สุขภาพดีขึ้นทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ สารชีวภาพต่างๆ มาให้ชาวบ้านทดลองทำ พยายามช่วยให้ชาวบ้านทำน้ำยาล้างจาน สบู่ แชมพู ทำปุ๋ยใช้เอง ส่วนอาหาร เสื้อผ้า ที่พัก ยารักษาโรค ก็ใช้หลักการของในหลวงคือให้ชาวบ้านช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด
    1. การทำเกษตรแบบผสมผสานปลูกไม้ 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกไม้กิน ไม้ใช้สอย ไม้เศรษฐกิจ ประโยชน์เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ
    2. การฟื้นคืนชีวิตให้กับดินโดยการใส่สารชีวภาพและปลูกหญ้าแฝกคลุมดิน การยกเลิกการใช้สารเคมี

    แนวทางที่ ๓ การอนุรักษ์พลังงานและการผลิตพลังงานทดแทน
    การส่งเสริมพลังงานทดแทนพระอาจารย์ได้ติดต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เพื่อนำวัดเข้าสู่โครงการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งร่วมกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาเรื่องพลังงานลมแต่ยังอยู่ในช่วงทดลอง แต่ในขณะเดียวกันได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกดอกทานตะวันเพื่อใช้เมล็ดผลิต เป็นเชื้อเพลิงใช้ในรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันปรากฏว่าชุมชนมั่นใจและเกิดความเชื่อมั่นว่าน้ำมันจากเมล็ด ทานตะวันสามารถใช้กับรถยนต์ได้จริง 100% ทำให้มีการเร่งปลูกทานตะวันหลังการเก็บเกี่ยวข้าวพืชหลักของตน
    1. การปลูกทานตะวันเพื่อผ่าเม็ดมาผลิตไบโอดีเซล กากทำให้แห้งขายเอาไปทำปุ๋ย
    2. การนำพลังงานธรรมชาติมาใช้ประโชยน์ พลังงานลม น้ำต่างระดับ
    3. การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างคุ้มค่า

    แนวทางที่ ๔ การศึกษาที่พอเพียง
    การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ด้วยโฮมสกูล (Home School) เพื่อเป็นโรงเรียนแบบใหม่สำหรับเด็กในชุมชนที่กำลังเติบโตขึ้นในโลกอันทันสมัยนี้
    1. การจัดการศึกษาแบบโฮมสคูล มีโครงการต่างๆให้เลือกเรียนรู้ เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ที่จะพัฒนาการเกษตรของพ่อแม่ให้ถูกทาง
    2. นำวิชาความรู้มาพัฒนาท้องถิ่น
    3. ไม่เน้นลูกจ้างเน้นหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อมิให้ตัดสินใจผิดพลาดเหมือนที่พ่อแม่ได้ทำมาก่อน

    วิเคราะห์แนวทางการจัดการดังกล่าวมีผลดีต่อชุมชนหรือไม่ อย่างไร
    แนวทางการดำเนินการดังกล่าวจะต้องสอดประสานกันเป็นแบบ”พลังเบญจภาคี”[9] คือการประสานระหว่าง ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสัมพันธ์และสื่อสาร



    [​IMG]

    "พลังเบญจภาคี”​

    วิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานดังกล่าว มีผลต่อชุมชน
    1. การดำเนินชีวิตในรูปแบบของเศรษฐกิจพอเพียง
    2. การหาเลี้ยงชีพแบบบูรณาการ
    3. การประสานสังคมชุมชนแบบรวมกลุ่มในระบบ บ-ว-ร
    4. ทำการเกษตรในรูปแบบของธรรมเกษตร
    5. ให้การศึกษาเสริมสร้างความรู้ใหม่ผสานเทคโนโลยี
    6. รักษาระบบนิเวศน์ของธรรมชาติแหล่งต้นน้ำ(รักษ์ป่า)[10]
    7. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของคนรุ่นใหม่

    ผลที่เกิดกับชุมชน
    1. ความสามัคคีของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น
    2. ปลูกฝังความรักความเข้าใจในการรักษาป่าต้นน้ำ
    3. ใช้ทรัพยากรแบบรู้จักคุณค่าและมีการทดแทน
    4. สร้างกรอบของภูมิคุ้มกันให้ชุมชนที่จะหวงแหนแผ่นดินเกิด
    5. สร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ที่พร้อมจะบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่
    6. เข้าใจวิถีทางของความเปลี่ยนแปลงโลกสมัยใหม่และสามารถวิเคราะห์แยกแยะในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชุมชน
    7. เพิ่มแนวคิดในการทรัพยากรแบบมัลติฟังชั่น(Multi-function)
    8. เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่นำมาใช้กับชุมชนและดำเนินการเชิงพาณิชย์กับชุมชนอื่นๆ
    9. ช่วยภาวะโลกร้อนที่ขาดความสมดุลย์ทางธรรมชาติ
    10. เกิดศิลปสถาปัตยกรรมชุมชนใหม่
    11. รูปแบบการเรียนการสอนของชุมชนสามารถเข้าถึงและเผยแพร่ได้อย่างชัดเจน
    12. ลูกหลานรุ่นใหม่มีความมั่นคงมั่งคั่งและเชื่อมั่นในวิถีชีวิตชุมชนที่สามารถทัดเทียมกับสังคมเมือง
    13. เพิ่มคุณค่าของชุมชนชนบทที่ยั่งยืนและสามารถเดินเคียงข้างของสังคมเมืองได้
    14. เป็นต้นแบบของการพัฒนาชุมชนอื่นๆ
    15. จากสังคมเกษตรผสมผสานสู่การเป็นสังคมบริการ
    16. จากตลาดชุมชนสู่ตลาดเมืองและสู่ตลาดที่ไร้พรมแดน



    [​IMG]

    ประโยชน์ที่ตกกับชุมชนหลังการแก้ปัญหา[11]

    วิธี การแก้ไขของกรณีของพระสรยุทธฯให้วิธีการลดค่าใช้จ่ายเป็นตัวหลัก ในการผลิตทางการเกษตรโดยใช้สารชีวภาพ เลิกใช้สารเคมี การใช้พลังงานน้ำ ใช้พลังงานทดแทนจากเม็ดทานตะวัน การลดค่าใช้จ่ายอีกประการหนึ่ง คือ การงดการส่งลูกหลานไปเรียนในเมืองโดยจัดทำโครงการโฮมสคูลในท้องถิ่น ให้มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากิน
    การ เพิ่มรายได้ ใช้แนวคิดที่ว่า ทำอย่างไรให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก เช่น การปรับปรุงคุณภาพดิน การทำให้ดินมีความชุ่มชื้นสร้างฝายกั้นน้ำ สร้างป่าอุดม และเป็นแนวกันไฟ
    เกี่ยว กับหลักสูตรโฮมสกูลของวัดพระธาตุดอยผาส้มว่า เน้นไปที่ความสอดคล้องกับทิศทางพัฒนาชุมชนชนบทที่พยายามปลดแอกจากหนี้สินที่ พอกพูน ซึ่งแนวทางที่นำมาใช้กับชุมชนคือแนวทางพระราชดำริ “บวร” หรือบ้าน วัด โรงเรียนสัมพันธ์กัน โดยอาศัยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนชุมชนพร้อมกันใน 4 ด้าน คือ ทุนของสังคมเกษตร การพึ่งพาตนเอง พลังงานทดแทน และการศึกษา ซึ่งหลักสูตรและการปฏิบัติงานของเด็ก Home School จะสอดคล้องกับแนวทางเหล่านี้
    แบ่งการเรียนรู้เป็น 3 ช่วงใหญ่ คือเปิดทางฝัน ซึ่งจะนำเด็กๆ ไปดูงานที่ต่างๆ เพื่อค้นหาตัวเอง ช่วงที่ 2 เป็น การก่อร่างสร้างฐาน คือ การนำความสนใจจากความรู้ต่างๆ มาหลอมรวมกับจินตนาการสู่การปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง และช่วงสุดท้ายคือ เชื่อมโยงสู่การเรียนรู้เข้ากับสิ่งรอบตัว ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้”
    สำหรับ มาตรฐานทางความรู้นั้นนักเรียนของโฮมสกูลคนหนึ่งบอกว่าจะต้องไปสอบวัดระดับ ความรู้ที่เขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่เป็นระยะๆ ในตารางเรียนรอบสัปดาห์จะมี 2 วันเรียนวิชาสามัญเหมือนนักเรียนในหลักสูตรปกติ ส่วนอีก 2 วันเรียนเกษตรกับเข้าฐานปฏิบัติงานและจะต้องมีวันหนึ่งเรียนธรรมะกับพระอาจารย์ที่วัด
    การ จัดการของโครงการผาส้ม ใช้วิธีการการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการลดปัญหาความขัดแย้ง การไม่เห็นด้วย รณรงค์ให้ประชาชนเข้ามาร่วมกันทำงานได้ทดลองทำของจริง ทำให้ความหวงแหน ความรักในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้มีความยั่งยืนต่อไป


    หัว ข้อ 2 สามารถนำแนวทางการจัดการที่ยั่งยืนมาวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาด ด้านการดำเนินการ ด้านการบริหารคน(ชุมชน)และการบริหารด้านการเงินอย่างยั่งยืนกับชุมชนนี้ได้ หรืออย่างไร
    2.1 กลยุทธ์ทางการตลาด เมื่อวิเคราะห์ตามหลักการตลาด เข้าลักษณะ 4 P (Product Price Place Promotion)


    [​IMG]

    กลยุทธ์ทางการตลาด 4 P (Product Price Place Promotion)​


    Product ผลิตผลที่เกิดขึ้นมามีทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ตามหลักการของ มนตรี แห่ง บ-ร-ว การ ศึกษาที่มอบให้ชุมชน สร้างองค์ความรู้ ให้กับบุคลากรในชุมชน ที่ไม่ต้องทิ้งถิ่นที่อยู่ ถือเป็นการผลิตที่ใช้ได้ตรงกับตลาดอาชีพเพราะเป็นเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบ ธรรมเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรจึงเน้นจุดขายตามปรัชญาธรรมเกษตร ฝึก ปฏิบัติจากการเกษตรที่เกื้อกูลธรรมชาติและสิ่งที่ดีงามเพื่อพัฒนาตนโดยวิธี การเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีจิตใจที่ดีงาม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีจิตใจสาธารณะ และมีจิตสาธารณะ จากการเกษตรที่เกื้อกูลธรรมชาติ[12] ผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดจึงถือได้ว่าเป็นกรีนโปรดัก (Green Product) ที่ตลาดต้องการ ผลิตภัณฑ์บอกถึงอรรถประโยชน์ที่มีคุณค่าไม่ว่าจะเป็นอุปโภค และบริโภค เช่น Biodiesel จากน้ำกล้วยและเมล็ดทานตะวัน จุลินทรีย์จากหน่อกล้วย Biogas จากมูลแพะ ผลิตผลที่ออกสู่ตลาดได้ทั้งผลผลิตจากต้นกำเนิด (Origin) และ การผ่านกระบวนการผลิตที่แตกต่าง ตัวอย่างที่ผลจากการเลี้ยงแกะ ณ ปัจจุบันสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถได้ส่งเสิมการทอผ้าฝ้าย ผสมกับขนแกะ[13] นอกจากชุมชนจะขายผลผลิตแล้วยังขายภูมิปัญญา (Technique Knowhow) เข้า หลักการที่ว่า สินค้าที่มีความแตกต่างโดยการสร้างความแตกต่างนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าสามารถสัมผัสได้จริงว่าต่างกันและ ลูกค้าตระหนักและชอบในแนวทางนี้
    Price เรื่องการจัดการด้านราคาต้นทุนการ ดำเนินการจะเป็นราคาที่สมเหตุสมผล เพราะหลักของการปลูก ตามแนวพระราชดำริคือปลูกไม้ 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง ทุกอย่างสามารถใช้ได้ในวงจรของการผลิต ทำปุ๋ย มีการใช้พืชคลุมดิน ไม่มีการไถพรวนลดการทำลายดิน กระบวนการได้มาซึ่งผลิตผลจึงต้นทุนต่ำ การกำหนดราคาจึงเหมาะกับชุมชนชนบทโดยเฉพาะภาคเหนือที่รายได้ต่ำดังนั้นจึงสอดคล้องกับการตลาด
    กำหนดราคาตามลูกค้า คือการกำหนดราคาตามที่เราคิดว่า ลูกค้าจะเต็มใจจ่าย ซึ่งอาจจะได้มาจากการทำสำรวจ หรือแบบสอบถาม
    กำหนด ราคาตามตลาด คือการกำหนดราคาตามคู่แข่งในตลาด ซึ่งอาจจะต่ำมากจนเราจะมีกำไรน้อยดังนั้นหาก จะกำหนดราคาตามตลาด เราอาจจะต้องมานั่งคิดคำนวณย้อนกลับว่า ต้นทุนสินค้าควร เป็นเท่าไรเพื่อจะได้กำไร ตามที่ตั้งเป้า แล้วมาหาทางลดต้นทุนลง
    กำหนด ราคาตามต้นทุน+กำไร วิธีนี้เป็นการคำนวณว่าต้นทุนของเราอยู่ที่เท่าใด แล้วบวกค่าขนส่ง ค่าแรงของเรา บวกกำไร จึงได้มาซึ่งราคา แต่หากราคาที่ได้มาสูงมาก เราอาจจำเป็นต้องมีการทำประชาสัมพันธ์ หรือปรับภาพลักษณ์ ให้เข้ากับราคานั้น[14]

    Place คือ วิธีการนำสินค้าไปสู่มือของลูกค้า หากเป็นสินค้าที่จะขายไปหลายๆแห่ง วิธีการขายหรือการกระจายสินค้าจะมีความ สำคัญมาก หลักของการเลือกวิธีกระจายสินค้านั้นไม่ใช่ขายให้มาก สถานที่ดีสุดจะดีเสมอ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า สินค้าของท่านคือ อะไร และกลุ่มเป้าหมายท่านคือใคร เช่นของใช้ในระดับบน ควรจะจำกัดการขายไม่ให้มีมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เสียภาพ ลักษณ์ได้สิ่งที่เราควรจะคำนึงอีกอย่างของวิธีการกระจายสินค้าคือต้นทุนการ กระจายสินค้า ชุมชนจึงจัดให้มีระบบสหกรณ์ เช่นสหกรณ์น้ำมันไบโอดีเซล จัดสถานีบริการน้ำมันชุมชน จัดตั้งศูนย์เพาะชำกล้าไม้ ธนาคารต้นไม้ สามารถทำการกระจายสินค้าได้ดี
    Promotion คือ การทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อบอกลูกค้าถึงลักษณะสินค้าของเรา เช่นโฆษณาในสื่อต่างๆ หรือการทำกิจกรรม ที่ทำให้คนมาซื้อสินค้าของเรา ชุมชนนี้มีการ ทำกิจกรรมมากมายและต่อเนื่องมีแผนงานเช่น กิจกรรมการปลูกต้นไม้ในใจคน กิจกรรมกสิกรรมธรรมชาติ กิจกรรมผลิตใบโอดีเซล เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และได้ใช้หลักการโฆษณาประชาสัมพันธ์

    2.2 กลยุทธ์ด้านการดำเนินงาน
    ในการสร้างกลยุทธ์ด้านการดำเนินการโดยอาศัยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนชุมชนพร้อมกันใน 4 ด้าน คือ ทุนของสังคมเกษตร การพึ่งพาตนเอง พลังงานทดแทน และการศึกษา
    โดย การรณรงค์ ในหลักการของ บ-ว-ร ใช้วัดเป็นศูนย์กลางในการสร้างองค์ความรู้กระจายหลักการ โดนใช้กองทัพธรรม สร้างศิษย์ที่มีหลักการของธรรมชาติ หลักของธรรมะ มีพระผู้สั่งสอนที่มาจากทางโลก แล้วเป็นสมณเพศ มีองค์ความรู้มีหลักการ เข้าใจในหลักการ ที่เหมาะสมกับสังคมชนบทไทยตามแนวพระราชดำริ สามารถถ่ายทอดลงสู่ปฏิบัติ (Implement) เข้า ใจสัจจธรรมในการย้ายถิ่นฐาน เข้าใจในระบบเศรษฐกิจชนบททางเหนือ ที่ยากไร้ การเมืองทุนนิยม โลกที่เป็นโลกาภิวัฒน์ ยากที่สังคมชนบทจะตามทัน ชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน การที่ยังชีพอยู่ได้ต้องเดินสายกลาง ร่วมแรงร่วมใจ เป็นผู้ที่รู้ปัญหา สามารถแก้ไขปัญหาได้ถูกจุดตรงจุดเกิดความภูมิใจรักถิ่นเกิด ความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐเป็นสำรองสังคม ผลที่ตามมาของการสร้างกลยุทธ์องค์ความรู้ด้านการศึกษาทำให้ชุมชนเกิด

    การ ให้ลูกเป็นตัวเชื่อม เด็กจะสามารถเรียนรู้รับรู้และทำความเข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่และถ่ายทอด สู่ผู้ใหญ่ที่เป็นบิดามารญาติพี่น้อง การมีกรอบทางสังคม วัฒนธรรมประเพณี เมื่อสามารถนำลูกเข้ามาอบรม ให้สามารถกลับไปทดลองทำที่บ้านได้ เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมส่วนรวมสร้างประโยชน์กับครอบครัวของ
    2.3 ด้านการบริหารคน (ชุมชน) มีวัดเป็นศูนย์กลาง มีการเรียนธรรม ใช้หลักการของหลักการบริหารแนวพุทธ[15] พุทธ ศาสนามีทั้งเรื่องจิตใจ การอยู่ร่วมกับคนอื่น ในการบริหาร ถ้าเน้นที่ตัวเองอย่างเดียวก็ไม่ไปถึงคนอื่น ถ้าเน้นที่คนอื่นโดยไม่มองตัวเองก็เกิดปัญหาเพราะฉะนั้นถ้าจะโยงหลักขงจื๊อ ที่ได้วางระบบจริยธรรมของสังคมในเรื่องหน้าที่ที่ทุกคนควรมีต่อกัน เช่น หน้าที่ของพ่อที่ต้องมีต่อลูก หน้าที่ของลูกที่ต้องมีต่อพ่อ ในพระพุทธศาสนาก็มี เรื่องทิศ 6คือความสัมพันธ์ในสังคมหลัก อริยสัจสี่ เป็นหลักสำคัญมาก เพราะเป็นหลักที่วิเคราะห์ถึงเหตุและผลของการเกิดสิ่งต่างๆ และ วิธีที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อให้บรรลุถึงผลที่ต้องการทั้งในระดับโลกียะ จนถึงขึ้นโลกุตตระ เรียกว่าธรรมทุกอย่างจะต้องลงรอยกันได้กับหลักของอริยะสัจสี่ทั้งนั้น ซึ่งเป็นการปฏิวัติความคิดที่ว่าสิ่งต่าง ๆเป็นเรื่องของเทพเจ้าดลบันดาลให้เป็นไป กลับมาเป็นการที่ให้กำลังใจแก่คนว่าเราสามารถสร้างผลสำเร็จได้ด้วยหนึ่งสมอง สองมือของเราเอง เพียงแต่เราต้องสร้างเหตุปัจจัย และปฏิบัติให้ถูกต้องเท่านั้นถ้าจะแบ่งหลักอริยะสัจสี่ ก็จะแบ่งได้เป็นสองคู่คือ 1.ด้านที่เป็นทุกข์ และสาเหตุของการเกิดทุกข์ 2.ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ซึ่งประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งหลักอริยะสัจนี้ก็ตรงกันกับแนวทางของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ที่เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะต้องมีเหตุมีผลเป็นส่วนประกอบ จึงทนต่อการพิสูจน์ ไม่ว่าในยุคสมัยไหน ก็สามารถใช้เป็นหลักในการตรวจสอบได้ตลอดเวลา การให้คนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิด เรียนรู้ พูดคุย ลงมือทำ ค้นหาปัญหาอุปสรรคของท้องถิ่นให้พบ คิดหาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา
    2.4 กลยุทธ์การบริหารด้านการเงิน
    ปัญหาทางการเงินของชุมชนเกษตร เกษตรกร ไม่ได้เรียนหลักการทางด้านเศรษฐศาสตร์ ขาดการวางแผนการใช้เงิน การคำนวณวันเวลาการปลูก ระบบทุนนิยมเข้าถึงเกิดการใช้จ่ายเกินตัว ดังนันจึงต้องมีการให้ความรู้ทางด้านการทำบัญชี คือ การจดบันทึกรายรับรายจ่าย ให้มีการจดบันทึกต้นทุนค่าใช้จ่ายทุกรายการที่ได้จ่ายเงินออกไปและการสรุป ยอดรวมเมื่อมีรายรับเข้ามา จะได้ทราบกำไรขาดทุนในแต่ละงวดแต่ละครั้งของการทำงาน ตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก การใช้หลักการทางด้าน บัญชีเมื่อผู้ประกอบการของชุมชนเห็นตัวเลขจะต้องมีการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย รายการใดบ้าง ในกรณีที่ต้องการให้กิจการไม่ขาดทุนหรือการสร้างกำไรเพิ่มมากขึ้นอย่างสม เหตุสมผล
    และเพื่อให้การอดออมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องจัดให้มีสถาบันการเงินของชุมชนเองในรูปแบบ “สหกรณ์การเกษตร” ที่ให้บริการสนับสนุนและความช่วยเหลือทางด้านปัจจัยการผลิตและด้านการเงิน เช่น วัตถุดิบ เมล็ดพันธุ์ พันธุ์สัตว์ เครื่องมือเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องจักรที่มีราคาสูง ควรจะเป็นการลงทุนซื้อไว้ใช้ร่วมกัน โดยสหกรณ์เป็นเจ้าของ จากผลพวงของการดำเนินการสหกรณ์ จะมีการแบ่งผลกำไร มีเงินปันผล เงินกู้ในคราวจำเป็น ทุนการศึกษา เป็นต้น เหล่านี้ช่วยแก้ปัญหาความเป็นอยู่ได้อย่างเด่นชัด

    ข้อ3 ถ้าจะนำแนวคิดนี้ไปขยายผลกับชุมชนอื่น สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร ระบุปัญหาอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิด
    3.1 สามารถนำแนวคิดนี้ไปขยายผลกับชุมชนอื่น สามารถทำได้โดยปัจจุบันมีหน่วยงานรองรับมากมายเช่น ชุมชนพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ธนาคารต้นไม้ และการทำ CSR (Cooperate Sustainable Responsibility) ของสถานประกอบการต่าง ๆ ที่ปัจจุบันมีสถานประกอบการที่ทำงานเกี่ยวกับสังคม ในประเทศไทย[16] และมีการจัดตั้งเป็นบริษัททำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)[17]
    3.2 ทำได้โดยการให้ความรู้เชิงประจักษ์ ในการนำเสนอแบบกิจกรรมที่เห็นเด่นชัด
    แสดงให้เห็นประโยชน์ของโครงการ ที่ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาดำเนินการ ตามแนวทางที่ได้กระทำ
    1. แผนงานการดำเนินการ ที่แสดงให้เห็นการพัฒนาชุมชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
    2. เสนอกิจกรรม ให้มาสัมผัสของจริง เพื่อให้เห็นการทำงานและความสำเร็จของโครงการ เช่น การปลูกต้นไม้ กสิกรรมธรรมชาติ การผลิตไบโอดีเชล เป็นต้น
    3. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ความสำเร็จของโครงการดอยผาส้ม ทำ ให้คนรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับดอยผาส้ม การออกข่าว การออกงานการแสดงงานวิชาการ งานนิทรรศการ การแถลงข่าว การออกรายการวิทยุ-โทรทัศน์

    ๓.๓ ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
    1. การร่วมมือของชุมชน
    2. การเอาประโยชน์ส่วนตน
    3. ความต้องการมีอำนาจของการปกครอง
    4. ความโลภที่ต้องการเป็นทุนนิยม
    5. ค่านิยมของความทันสมัย
    6. การขาดผู้นำ ที่มีภาวะผู้นำ


    <HR align=left SIZE=1 width="33%">[1]พระอาจารย์สรยุทธ ชยปญฺโญ มัธยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนและมัธยมปลายที่โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ดโดยใช้เวลาเพียงปี เดียว

    [2] พระอาจารย์สังคม ภูมิหลังเคยเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์ เป็นนักจัดรายการวิทยุทั้งในและต่างประเทศ มีประสบการณ์เรียนและทำงานในต่างประเทศ 10 ปี และก่อนอุปสมบทได้เป็นหนึ่งในช่างภาพเฉพาะกิจของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการรัฐเทกซัส

    [3]ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง.http://www.volunteerspirit.org/node/1093


    [4]วรธาร ทัดแก้ว.หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ 4 สิงหาคม 2552.

    [5]ศ.ดร.อัจฉรา จันทรฉาย.2552.เอกสารประกอบการสอน SR.กรณีศึกษา การจัดการอย่างยังยืนและเศรษฐกิจพอเพียง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

    [6]พระมหาสุเทพ สุวณฺโน.2552.ประชาสังคม “บวร” เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน.มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย.



    [7] พระสังคม ธนปัญโญ นำแนวพระราชดำริช่วยชาวบ้านวรธาร ทัดแก้ว. หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ 4 สิงหาคม 2552.

    [8]ศ.ดร.อัจฉรา จันทรฉาย.2552.เอกสารประกอบการสอน SR.กรณีศึกษา การจัดการอย่างยังยืนและเศรษฐกิจพอเพียง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

    [9]เครือ ข่ายจากภูผาสู่มหานที.โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงระดับพื้นที่ลุ่ม น้ำ.เอกสารเผยแพร่ โครงการพระราชดำริหนองใหญ่ เกาะหมายเลข 9

    [10]
     
  19. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    พระสงฆ์กับเศรษฐกิจพอเพียง

    พระสุวรรณ์ คเวสโก (นายเสรี รอดรัตน์) ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเศรษฐกิจพอเพียง วัดป่ายาง หมู่ 4 ต.ท่างิ้ว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

    ประวัติส่วนตัว

    ชื่อ พระสุวรรณ์ คเวสโก (นายเสรี รอดรัตน์)
    อายุ 59 ปี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนบวชมีครอบครัว มีลูก 1 คน
    ที่อยู่ วัดป่ายาง หมู่ 4 ต.ท่างิ้ว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
    ศูนย์ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเศรษฐกิจพอเพียง เครือข่าย มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

    วัดป่ายาง แห่งบ้านป่ายาง ต.ท่างิ้ว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช มีพระสุวรรณ์ คเวสโก “ พระนักพัฒนาอีกรูปหนึ่งของสังคมไทย ” เป็นเจ้าอาวาส กำลังแสดงบทบาทของวัดกับชุมชนเคยมีมาในอดีตให้ฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง ท่านกำลัง “ ฟื้นวัดฟื้นชุมชน ” โดยให้วัดเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาชุมชนป่ายางครั้งใหม่ วัดป่ายาง มีบทบาทสำคัญในการฟื้นจิตใจชาวป่ายาง นำคนเข้าสู่วิถีธรรม ฟื้นระบบการออมระดับครอบครัว พัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน ฟื้นระบบการเกษตรของชาวป่ายาง ให้เข้าวิถีของการพึ่งพาตนเองอย่างสอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน และขยายสู่ชุมชนอื่นอย่างเป็นการถาวร

    ก่อนปี พ.ศ. 2537 “ เสรี รอดรัตน์ ” เป็นอดีตผู้ปฏิบัติงานของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เข้ามาแฝงตัวอยู่ในบ้านป่ายาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 โดยมีทีมงาน 5-6 คน เคลื่อนไหวในพื้นที่บ้านป่ายาง และชุมชนใกล้เคียง

    ปี พ.ศ. 2527 สภาพการเมืองภายในพรรคฯ และสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมาก “ เสรี รอดรัตน์ ” ออกจากพรรคฯ และย้ายถิ่นฐานออกจากบ้านป่ายางไปประกอบอาชีพทำมาค้าขายส่วนตัว จากการยึดอาชีพพ่อค้าได้พบเพื่อนฝูงมากมาย พบเห็นความยากจน ทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน จึงคิดหาหนทางแก้ปัญหาสังคมมาตลอด จะหันไปพึ่งระบบพรรคการเมืองก็ผ่านความผิดหวังมาแล้ว เพื่อนหลายคนแนะนำให้ไปวัดสวนโมกข์เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหา ระยะหนึ่งมาซื้อมะพร้าวที่วัดป่ายาง

    ท่านเคล้าสมภารวัดป่ายางให้ยืมหนังสือ “ คู่มือมนุษย์ ” ของท่านพุทธทาสไปศึกษา ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ “ เสรี รอดรัตน์ ” ช่วงปลายปี พ.ศ. 2534 ย้ายมาอยู่บ้านป่ายางยึดอาชีพทำสวนมะนาว และร่วมกิจกรรมงานส่วนรวมศึกษาปฏิบัติธรรม

    Knowledge Base

    เดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 “ เสรี รอดรัตน์ ” ตัดสินใจบวช โดยในช่วงพรรษาแรกศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าช้านานถึง 7 เดือน โดยมีคติที่ว่า “ งานก่อสร้างไม่ใช่ทางของเรา งานที่เราต้องการ คือ การพัฒนาคน ” ประจวบเหมาะในช่วงนั้น (พ.ศ. 2538-2540 ) กระแสการพัฒนาชุมชนเรื่อง “ องค์กรการเงิน

    ชุมชน ” มาแรงในภาคใต้ซึ่งสอดคล้องกับกระแสความต้องการของชาวบ้านพอดีท่านสุวรรณ์ จึงตัดสินใจครั้งสำคัญครั้งหนึ่งนำ “ วัด ” ไปสู่บทบาทใหม่ซึ่งเรียกว่าเป็นขบวนการ “ ฟื้นชุมชน ” ด้วยการออกอุบายว่าเราต้องการเอาเงินเป็นเครื่องมือเอาธรรมะเข้าไปให้โดยไม่ จำเป็นต้องบอกให้รู้ตัว จึงทดสอบ โดยขอเงินชาวบ้านคนละ 100 บาท โดยไม่ต้องถามว่าจะเอาไปทำอะไร ถือว่าพระขอก็แล้วกัน ตั้งเป้าไว้ 3 , 000 บาท แต่เก็บได้เกินเป้าหมาย 8 , 000 บาท นำมาจัดตั้งกองทุนชื่อว่า “ กลุ่มเมตตาธรรม ”

    ปี พ.ศ. 2541 เดินทางไปร่วมสัมมนาพระนักพัฒนาจากทั่วประเทศที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดตราดและมีโอกาสพบกับ “ พระสุบิน ปณีโต ” พระนักพัฒนาผู้ก่อตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ โดยนำหลักพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับองค์กรการเงินชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาได้แปร “ กลุ่มเมตตาธรรม ” มาเป็น “ กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต ” เงินกองทุนที่เก็บมาแล้วครอบครัวละ 100 บาท จำนวน 8 , 000 บาท ก็ปรับเข้าเป็น “ กองทุนสวัสดิการ ” องค์ประกอบสำคัญของกลุ่มสัจจะฯ

    คัดมาจาก/ดูข้อมูลเพิ่มเติม
    http://www.oae.go.th/zone/zone8/roae8/index.php?option=com_content&task=view&id=33&Itemid=9
    พระอาจารย์สุบิน ปณีโต


    ๑๗ ปี แห่งการก่อตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์แบบชีวิตพอเพียง

    เป็นเวลากว่า ๑๗ ปี ที่พระอาจารย์สุบิน ปณีโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.ตราด ผู้ก่อตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ จนวันนี้มีกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ในจังหวัดตราดแล้ว ประมาณ ๑๖๕ กลุ่ม มีสมาชิกทั้งจังหวัดตราดอยู่ กว่า ๕๐,๐๐๐ คน โดยคาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนจนถึงสิ้นปี ๒๕๕๐ ประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท ขณะเดียวกันท่านยังให้คำปรึกษา แนะนำกับชาวบ้านจากจังหวัดต่างๆที่สนใจเรื่องการตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ โดยวัตถุประสงค์หลักของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ คือการใช้ธรรมะนำเงิน เพื่อให้เงินเป็นทางผ่านที่จะก่อให้เกิดการประสานกลุ่มคนรวมกัน เพื่อสร้างท้องถิ่นที่เข้มแข็งและยั่งยืน และพระอาจารย์สุบินได้ให้สัมภาษณ์เอาไว้อย่างน่าใจดังนี้ ....

    -จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์มาจากอะไรครับ?

    เกิดจากชุมชนที่มีฐานรากที่ค่อนข้างลำบาก คนที่มีการศึกษาก็ไม่ค่อยจะกลับบ้านเกิด ทำให้ฐานรากมีแต่คนแก่ คนที่เกเร คนที่ไม่มีโอกาสได้ศึกษา แล้วก็ทิ้งให้อยู่ในชุมชนจนกลายเป็นภาระ ทำให้ชุมชนพัฒนาได้ยาก เพราะทุน ความรู้ก็ไม่ค่อยมี แล้ววิธีการจัดการบริหารก็ไม่ค่อยเป็น ชุมชนรวมตัวกันไม่ติด คนชุมชนนั้นก็ต้องไปหาแหล่งทุนจากนายทุนต่างๆ ดอกเบี้ยก็แพง บางก็ถูกยึดที่ที่ทำมาหากิน หรือบางคนก็ถูกยึดบ้าน จนกลายเป็นคนเร่รอน ไม่มีที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง บางคนไปสร้างตัวในสลัมก็เกิดปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อสังคมพึ่งพากันไม่ได้ก็กลายเป็นคนตัวใครตัวมัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่อาตมาให้พวกเขาได้รวมตัวกันให้เกิดเป็นเงินทุน แล้วจึงเกิดเป็นกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์

    จริงๆมันเหมือนหนอไม้อ่อนที่จะต้องอาศัยเวลา แต่สิ่งที่ให้พวกเขาทำกันนี้ก็เป็นการใช้เงินทุนของพวกเขาเอง จากคนละ ๑๐ บาท หรือร้อยบาท ตรงนี้ก็เป็นการให้พวกเขาประหยัดอดออม เพื่อพวกเขารู้จักการออมแล้วจะต้องสอนให้เขาหัดบริหารการหยิบยืม จากความเดือดร้อนมากหรือเดือดร้อนน้อยจะได้จุนเจือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มันก็เป็นหนทางให้คนเหล่านี้เกิดความคุ้นเคย เกิดความเป็นพี่เป็นน้อง และให้รู้สึกความเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้น ฉะนั้น ความรักความสามัคคีในชุมชนก็จะเกิดตามมา ถ้าเราให้เขาต่างคนต่างอยู่ ชุมชนเองก็จะเกิดปัญหา เกิดความแตกแยก เหมือนกับการเลือกตั้งทุกครั้งก็จะเกิดความขัดแย้งกันตลอด เพราะชีวิตของพวกเขาไม่มีกิจกรรมอะไรที่จะทำรวมกัน แล้วกิจกรรมที่ทำแล้วไม่ยั่งยืนพวกเขาก็อยู่ไม่ได้ อาตมาจึงหากิจกรรมให้พวกเขาทำกันแบบยั่งยืน

    -แสดงว่านี่เป็นเหตุผลหลักที่จัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ขึ้นใช่ไหมครับ?

    ใช่แล้ว เพราะถ้าไม่ได้ทำแบบนี้คนแก่ก็จะขาดการเหลียวแล ถูกทิ้งให้อยู่กันตามลำพัง หลักประกันในชีวิตก็ไม่มี หรือบางคราวลูกหลานก็เอาลูกๆ มาให้คนแก่เลี้ยง ในที่สุดอาตมาจึงเอาเงินมาเป็นเครื่องมือ มาเป็นกองทุนให้กับคนแก่ได้มีไว้ใช้รักษาตัวเองในยามป่วย ยามพิการ และยามตาย เป็นเงินที่พวกเขาสามารถอดออมไว้ได้บ้าง มันก็จะไม่เป็นภาระให้กับภาครัฐมากนัก ไม่เช่นนั้นพวกเขาก็มีชีวิตอยู่กันไปวันๆหนึ่ง ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย

    - แล้วกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์แตกต่างจากกองทุนหมู่บ้านฯ ยังไงครับ?

    จริงๆ กองทุนหมู่บ้านจะให้เงินชาวบ้านมาแบบไม่มีเงื่อนไข แต่ชุมชนเหมือนเราให้มีดให้พร้าแต่ไม่ได้ให้ปัญญาไป ก็เลยไม่รู้จะเองไปทำอะไร ในที่สุดพวกเขาก็เอาเงินไปเข้าโครงการฟุ้งเฟ้อ ตรงนั้นมันก็เลยขาดการชี้นำ เรียกว่าขาดคนพากระทำในทางที่มั่นคงของชีวิต การที่ได้เงินจากกองทุนไปแล้วก็ทำให้พวกเขาได้ใช้จ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น อย่ามองว่ากองทุนนี้ไม่ดี แต่อาตมาอยากให้ลองนึกภาพดูว่า ให้ของดีๆ ส่วนคนใช้มันไม่ดี ทำยังไงของมันก็ดีไม่ได้ เพราะว่าเขาไม่มีปัญญาที่จะให้ดีได้ แบบนี้เราให้ของก็ต้องให้วิธีใช้ด้วย แต่ที่ผ่านมาให้ของไป แต่ไม่ได้บอกวิธีใช้ คิดดูเราเองเอาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ก็ยังงงอยู่เหมือนกัน พอใช้ไม่ถูกแล้วที่สุดของมันก็เสียได้เหมือนกัน กองทุนฯให้ทุนแต่ไม่ได้ให้ปัญญา ปัญหาจึงตามคือภาระหนี้สิน ดังนั้น การตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ขึ้นมาเพื่อเป็นกองทุนที่เข้าไปสนับสนุนให้ครอบ ครัวอบอุ่นให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นให้สังคมรักใคร่สามัคคีเอื้ออาทรต่อกันมาก ขึ้น และก็เป็นแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ การศึกษา

    -กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์มาถึงวันนี้เข้มแข็งแค่ไหนแล้วครับ?

    ก็เห็นได้ง่ายๆ วันนี้ชาวบ้านที่เกิดมีปัญหาเกิดการยึดที่ยึดทางกัน กองทุนกลุ่มสัจจะนี้ก็สามารถไปช่วยถ่ายทอนออกมาได้ และก็มีสวัสดิการให้ในยามป่วยยามแก่ยามพิการ เป็นการช่วยจัดสรรช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ ตรงนี้มันเหมือนกับต้นไม้ที่ใช้ดอกใช้ใบใช้ลูกเป็นปุ๋ยของตัวมันเอง ตอนนี้ชุมชนเองก็ต้องทำกำไรมาเลี้ยวตัวเองให้ได้ด้วยการจัดการมันก็ต้องนึกถึงธรรมชาติ ให้จัดการเป็นธรรมชาติ ไม่เหมือนตอนนี้ใบดอกลูกร่วงหล่นลงมาก็ถูกสาดไปที่อื่นหมด เพราะจัดการเองไม่เป็น ในที่สุดเขาก็เหลือแต่หน้าดิน ฝนตกลงมาก็ไหลไปเกี่ยวรากลอยๆ ในที่สุดก็ต้องล้ม นี่ก็คือความเป็นจริงของสังคม ตรงนี้จึงต้องอาศัยคนพาชี้นำหรือทำให้ดู ตามกำลังที่จะทำได้


    คัดมาจาก/ดูข้อมมูลเพิ่มเติมที่

     
  20. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"><tbody><tr><td align="center" valign="top" height="25">เศรษฐกิจพอเพียง</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="30"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr> <td valign="top"> “เศรษฐกิจ พอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต แก่พสกนิกรชาวไทย มาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั่งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและ เมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20">
    </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20">สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="30">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20">
    </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="25">ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="30"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr> <td valign="top"> เศรษฐกิจ พอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล กระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ของรัฐ นักทฤษฏีและ นักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="middle" height="30">แนวคิดและขอบเขต การดำเนินงานขับเคลื่อน</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="30">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="middle" height="30"> </td> </tr> <tr> <td align="center" valign="middle" height="30">--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ
    เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="middle" height="30"> </td> </tr> <tr> <td class="style23" align="left" valign="top"> </td> </tr> <tr> <td class="style23" align="left" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right" valign="top" width="12%"> </td> <td align="right" valign="top" width="38%">เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือน ตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข้ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป

    (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา เดือนสิงหาคม 2542)


    ขอให้ทุกคน มีความปรารถนา ที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธานในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2517 </td> <td align="center" width="50%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20"> </td> </tr> <tr> <td class="style23" align="left" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right" valign="top" width="58%">[​IMG]</td> <td align="center" width="5%"> </td> <td align="left" width="37%">สหกรณ์ แปลว่า การทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันนี้ลึกซื้งมาก เพราะว่าต้องร่วมมือกันในทุกด้าน ทั้งในด้านงานที่ทำด้วยร่างกาย ทั้งในด้านงานการที่ทำด้วยสมอง และงานการที่ทำด้วยใจ ทุกอย่างนี้ขาดไม่ได้ต้องพร้อม

    (พระราชดำรัสพระราชทานแก่ผู้นำสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคมและสหกรณ์ประมงทั่วประเทศ ณ. ศาลาดุสิดาลัย 11 พฤษภาคม 2526 </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20"> </td> </tr> <tr> <td class="style23" align="left" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right" valign="top" width="58%">[​IMG]</td> <td align="center" width="5%"> </td> <td align="left" width="37%">คนเราถ้าพอในในความต้องการ ก็มี ความโลภ น้อย เมื่อมี ความโลภ น้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541) </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20"> </td> </tr> <tr> <td class="style23" align="left" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right" valign="middle" width="39%">คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ ๆ เหมือนการสร้างเขื่อนป่าสัก ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจ สมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542) </td> <td align="center" width="3%"> </td> <td align="left" width="58%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20"> </td> </tr> <tr> <td class="style23" align="left" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right" valign="middle" width="7%"> </td> <td align="right" valign="middle" width="46%">วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและของประชาชนโดยทั่วไป มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอดเนื่องมาจากความวิปริตผันแปร ขอวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่น ๆ ของโลก ยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง ประคับประคองตัวเรามากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่ โดยประหยัด เพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม 2521)
    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542)


    สมัยก่อนนี้ พอมีพอกิน สมัยนี้ชักจะไม่ พอมีพอกิน จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีความพอเพียงได้ ให้ พอเพียง นี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่า พอ

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541)


    </td> <td align="center" valign="top" width="6%"> </td> <td align="left" valign="top" width="41%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20"> </td> </tr> <tr> <td class="style23" align="left" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right" valign="top" width="58%">[​IMG]</td> <td align="center" width="5%"> </td> <td align="left" width="37%">คุณธรรมข้อหนึ่งที่ยังมีอยู่อย่างบริบูรณ์ในจิตใจ ของคนไทยก็คือ การให้ การให้นี้ไม่ว่าจะให้สิ่งใดแก่ผู้ใด โดยสถานใดก็ตาม เป็นสิ่งที่ถึงประสงค์อย่างยิ่ง เพราะเป็นเครื่องประสานไมตรี อย่างสำคัญ ระหว่างบุคคลกับบุคคล และทำให้สังคมมีความ มั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยสามัคดีธรรม

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ : 31 ธันวาคม 2545) </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20"> </td> </tr> <tr> <td class="style23" align="left" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right" valign="top" width="58%">[​IMG]</td> <td align="center" width="5%"> </td> <td align="left" width="37%">สังคมใดก็ตาม ถ้ามีความ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล กัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่

    (พระราชดำรัสพระราชทานเพื่ออัญเชิญ ลงพิมพ์ในนิตยสาร ที่ระลึกครบ 36 ปี ของสโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพ ในพระบรมราชูปถัมภ์ : 31 มีนาคม 2538)


    ข้าพเจ้าจึงปรารถนาอย่างยิ่ง ที่จะเห็นชาวไทย มีความสุขถ้วนหน้ากัน ด้วย การให้ คือ ให้ความรัก ความเมตตากัน ให้น้ำใจไมตรีกัน ให้อภัย ไม่ถือโทษ โกรธเคืองกัน ให้การสงเคราะห์ อนุเคราะห์กัน โดยมุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน ด้วยความบริสุทธิ์ และจริงใจ

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ : 31 ธันวาคม 2545) </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20"> </td> </tr> <tr> <td class="style23" align="left" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right" valign="top" width="42%">[​IMG]</td> <td align="center" width="5%"> </td> <td align="left" width="43%">ถ้าเรามา ใช้ของไทย ซื้อของไทย เที่ยวเมืองไทย กินข้าวไทย อันนี้จะได้ประโยชน์ แต่ว่าก็ยังไม่แก้ปัญหา ปัญหาก็มีอยู่ว่า ผู้ที่ทำกลองนี้เข้ามีบริษัทที่นำเข้าสินค้าที่เขาขาย เขาบอกว่าแย่ เขานำสินค้าเข้ามาขายในราคาเดิม เพราะมีการตกลงราคาขายอยู่แล้ว เมื่อของเข้ามาก็จะต้องเสียเงินแพง เขาบอกว่าขาดทุน แต่เขาก็มีความคิดอยู่ เขาสามารถที่จะผลิตกลองนี้ และส่งนอก ส่งไปที่อเมริกาส่วนหนึ่ง การสั่งของจากต่างประเทศ ก็มีความจำเป็นบ้าง ในบางกรณี แต่ว่าสามารถที่จะส่งออกนอก ซึ่งผลิตผลที่ทำในเมื่องไทยก็จะดีกว่า

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชมนพรรษา : 4 ธันวาคม 2540)


    ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดี พอสมควร ขอย้ำ พอสมควร พออยู่พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล

    (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : 23 ธันวาคม 2542) </td> <td align="left" width="10%"> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="20"> </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...