สวดมนต์ออกเสียงกับไม่ออกเสียงต่างกันไหม อย่างไร

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย PrinceCharming, 7 ธันวาคม 2010.

  1. PrinceCharming

    PrinceCharming เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +773
    อยากทราบว่าสวดมนต์ไม่ออกเสียงนี่จะได้อานิสงส์น้อยกว่าสวดแบบออกเสียงไหมครับ

    แล้วถ้าสวดแบบไม่ออกเสียงจะได้บุญรึเปล่าครับ

    ขอบคุณครับ ^____________________^
     
  2. udomdan

    udomdan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +40
    อานุภาพพระพุทธมนต์
    คราวหนึ่งท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พักอยู่บนดอยปะหร่อง ได้มีเทพพวกหนึ่งจากเขาจิตรกฎ มาเรียนถามท่านว่า “ เสียง สาธุ สาธุ อะไร สะเทือนสะท้านทุกวัน พวกเทพทั้งหลายได้ฟังแล้วมีความสุขไปตามๆกัน ” ท่านจึงนำมาพิจารณาก็ระลึกได้ว่า ตอนเช้าหลังจากที่ชาวเขาตักบาตรท่านแล้ว ท่านก็ให้พรพวกเขาและสอนให้เขากล่าวคำว่า “ สาธุ ” พอรับทราบแล้ว พวกเทพก็ว่าเขาก็พากันสาธุการด้วย
    ท่านพระอาจารย์มั่น จึงพิจารณาต่อว่า
    การสาธยายพระพุทธมนต์ ใครสวดก็ตาม เพียงแต่ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล
    พูดออกเสียงพอฟังได้มีอานุภาพแผ่ไปได้ถึงแสนจักรวาล
    สวดเต็มเสียงสุดกู่มีอานุภาพแผ่ไปได้เป็นอนันตจักรวาล แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหานรกอเวจี ยังได้รับความสุขเมื่อแว่วเสียงพระพุทธมนต์
     
  3. jantra2008

    jantra2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +185
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ สงสัยอยู่เหมือนกันค่ะ
     
  4. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    การสวดมนต์เราใช้ปากท่อง(กาย) หรือใช้จิตสวดครับ.....

    สวดคนเดียว ท่องให้มันดังลั่นบ้านดีไหม ????? หรือ ท่องในใจ อันไหนดีกว่า ????? พิจารณา

    เมื่อ สรุปได้แล้ว ก็สวดไปตามที่ชอบ แต่ถ้าจะสวดด้วยจิต ผมมีคำแนะนำครับ ดังนี้.-
    สวดมนต์ด้วยจิต ก็สวดในใจ ด้วยการนึกและไม่ต้องขยับปาก กำหนดวางจิต ตั้งใจ ลงตรงหน้า สวดด้วยการนึกในใจไปเรื่อย .......เท่านี้แหละ.
     
  5. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    ถ้าสวดออกเสียงด้วย
    ได้ประกอบกุศลทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
    และคนที่ได้ฟังเสียงสวดมนต์ก็จะได้กุศลอีกทอดผลจากการสาธยายมนต์นั้น
     
  6. chattrg

    chattrg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    4,337
    ค่าพลัง:
    +13,239
    _อนุโมทนา ครับ
    แต่
    หลายอาจารย์ บอก
    สวดมีเสียงดีกว่า ครับ
     
  7. ลมรำเพย

    ลมรำเพย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +503

    จากคำถาม มีคำว่า ได้อานิสงส์ กับ ได้บุญ

    อานิสงส์ น่า จะหมายถึง ผล หรือ อานุภาพ ของ มนต์ ที่สวด

    สวดมนต์ออกเสียงมีความรุนแรง มีความเข้มข้น ของพลัง ของบารมี มากกว่าไม่ออกเสียง


    1.เทียบการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า

    เริ่มต้น ด้วยการตั้งความปรารถนา อยู่ในใจ เป็นเวลา 7 อสงไขย

    เมื่อบารมีมากขึ้น จีง ออกปากกล่าววาจา ต่อหน้าพระพักตร์ พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย

    ได้รับพุทธพยากรณ์ (ประกาศจากพระพุทธเจ้า) อีก 4 อสงไขย


    2.เมื่อคราวพระพุทธเจ้าประชวร

    โปรดให้พระจุนทเถระสวดโพชฌงคสูตรถวาย ท่านก็หายประชวร



    3.จากกรณียเมตตสูตร

    -----------.....ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ได้เรียนพระพุทธมนต์ จนขึ้นใจแล้ว จึงพากันเดินทางกลับไปยังป่าชัฏดังเดิม

    ครั้นถึงชายป่าชัฏ ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปก็สาธยายพระพุทธมนต์ บทเมตตาสูตร จนเดินถึงที่พัก


    พวก รุกขเทวดาทั้งหลาย เมื่อได้สดับเสียงเจริญ เมตตาสูตร จากปากพระภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ก็มีจิตเมตตา รักใคร่

    พากันมาต้อนรับปฏิสันถาร รับบาตรจีวร ปัดกวาด หาน้ำใช้ น้ำฉัน แล้วคอยรับใช้

    อภิบาลรักษาอยู่ตามแนวป่า มิให้มนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์ร้ายใด ๆ มารบกวน ทำร้ายพระเป็นเจ้าของตน....------------

    ------------


    ส่วนเรื่อง บุญ ได้ มาก หรือ น้อย นั้น

    สวดมนต์เป็นบุญในข้อ ทานมัย ภาวนามัย

    ทานมัย ถ้าตั้งใจออกเสียง สวดให้คนอื่นได้ยิน ก็ เป็น ธรรมทาน ให้ธรรมะเป็นทาน อันนี้ ออกเสียงได้บุญในเรื่องนี้

    (หมายถึงบทสวดที่เกี่ยวกับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นะครับ)


    ภาวนามัย บุญที่เกิดจากการภาวนา

    แบ่ง เป็น สอง คือ

    1.จิตสงบ จากการสวด ด้วยการ ตั้งใจสวด ระลึก ถึงพระพุทธ พระธรรม

    พระสงฆ์ หรือ เพ่งไปที่คำสวด บทสวด


    2.จิต รู้แจ้ง ตามความเป็นจริงของสังขาร ด้วยการ พิจารณาไปตามบทสวด

    เช่น รูปัง อนิจจัง รูปไม่เที่ยง เป็นต้น


    อันนี้ก็แล้วแต่ละบุคคล ชอบแบบไหน บางคนชอบเสียง บางคนชอบในใจ และ จะทำได้ขนาดไหน
     

แชร์หน้านี้

Loading...