ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ปฏิสัมภิทามรรค

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 14 พฤศจิกายน 2010.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓


    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค<O:p</O:p


    <O:p</O:p

    <O:p
    [๒๑๗] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณอย่างไร ฯ คำว่า ด้วยพละ ๒ ความว่า พละ ๒ คือสมถพละ ๑ วิปัสสนาพละ ๑ ฯ<O:p</O:p
    <O:p
    [๒๑๘] สมถพละเป็นไฉน ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละแต่ละอย่างๆ ฯ<O:p</O:p
    <O:p
    [๒๑๙] คำว่า สมถพลํ ความว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ<O:p</O:p
    ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ ด้วยปฐมฌานไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะปีติ ด้วยตติยฌานไม่หวั่นไหวเพราะสุขและทุกข์ ด้วยจตุตถฌาน ไม่หวั่นไหว เพราะรูปสัญญาปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวไม่กวัดแกว่งไม่คลอนแคลน เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะและเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าสมถพละ ฯ<O:p</O:p
    <O:p
    [๒๒๐] วิปัสสนาพละเป็นไฉน อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ฯลฯ ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ การพิจารณาเห็น<O:p</O:pความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละแต่ละอย่างๆ ฯ<O:p</O:p
    <O:p
    [๒๒๑] คำว่า วิปสฺสนาพลํ ความว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ<O:p</O:p
    ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะอัตตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความกำหนัด ด้วยวิราคานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เพราะอวิชชา เพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชา และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าวิปัสสนาพละ ฯ<O:p</O:p
    <O:p

    [๒๒๒] คำว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ ความว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ เป็นไฉน วิตกวิจารเป็นวจีสังขารของท่านผู้เข้าทุติยฌานระงับไป ลมอัสสาสปัสสาสะเป็นกายสังขารของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ระงับไป สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ระงับไป ด้วยการระงับสังขาร๓ เหล่านี้ ฯ<O:p</O:p
    <O:p
    [๒๒๓] คำว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ ความว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ เป็นไฉน อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยาแต่ละอย่าง ๆ ด้วยญาณจริยา ๑๖ นี้ ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    [๒๒๔] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ ความว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นไฉน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นสมาธิจริยาแต่ละอย่างๆ วิตกวิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้เนว<O:p</O:p
    สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ด้วยสมาธิจริยา ๙ นี้ ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    [๒๒๕] คำว่า วสี ความว่า วสี ๕ ประการ คือ อาวัชชนาวสี ๑ สมาปัชชนาวสี ๑ อธิษฐานวสี ๑ วุฏฐานวสี ๑ ปัจจเวกขณวสี ๑ ฯ
    <O:p</O:p
    สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสีสมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานได้ ณ สถานที่ และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสมาปัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลอธิษฐานปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิษฐาน เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอธิษฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลออกปฐมฌานได้ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการออก เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปัจจเวกขณวสี สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึงเพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิษฐาน ออกพิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนาไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปัจจเวกขณวสี วสี ๕ประการนี้ ฯ<O:p</O:p
    <O:p
    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัดเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ ฯ<O:p</O:p
    <O:p

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๔๓๑ - ๒๕๐๒. หน้าที่ ๙๙ - ๑๐๒<O:p</O:p



    [​IMG]


    ด้วยผลานิสงส์การอ่านพระไตรปิฏก
    ที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้อันดีแล้วด้วยจิตบริสุทธิ์

    ขอการปฏิบัติบุญกิริยานี้บูชาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมคุณพระสงฆ์
    บูชาคุณมารดาบิดา คุณครูบาอาจารย์ และคุณพระกรรมฐานเจ้า

    ขออานิสงฆ์มหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต
    ขอให้ข้าพเจ้าและทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณ ได้รับรสพระธรรมแล้ว มีจิตผ่องใส
    เป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ สูตะ จาคะ
    ปัญญามีความเพียร ขันติ
    เป็นผู้กำเนิดแห่งไตรเหตุ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ)
    ได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุด
    และห่างไกลพ้นเขตมารทั้งหลายโดยพลันและตลอดกาลเทอญ

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1228134/[/MUSIC]


    อนุโมทนาภาพประกอบ ดอกบัว ผลงานคุณ pixitien
    http://www.oknation.net/blog/pixitien
    <!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2010
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ
    ในบุญกุศลของท่านทั้งหลายที่ได้ร่วมกันเผยแพร่ธรรมะ
    และสร้างบุญสร้างกุศลทุกอย่างด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง

    สุดยอดของปัญญา คือ พระไตรลักษณ์

    โดยการพิจารณา รูป-นาม,เกิด-ดับๆๆๆๆ
    เป็น พระไตรลักษณ์ เกิดสลด สังเวช เบื่อหน่าย มีจิตเป็นกลางปล่อย
    ปละ ละวาง รูป-นาม ขันธุ์ 5 ของเราได้
    มีจิตมุ่งเข้าหา "พระนิพพาน" ซึ่งเป็นสภาวะธรรม รู้เห็นได้ด้วยจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 18.2.jpg
      18.2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.1 KB
      เปิดดู:
      163
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2010
  3. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    อนุโมทนาด้วยค่ะ...น้องวี ยังแก้ไขเรื่องโปรแกรมอัดไม่ได้.กำลังแก้ไขอยู่
     
  4. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
    [​IMG]
     
  5. ผักขม

    ผักขม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +235
    [​IMG]
    อนุโมทนาค่ะสาธุ​
     
  6. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    ขอบคุณน้องบุญญสิกขาสำหรับธรรมทานที่ให้ ขออนุโมทนาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...