สมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐตธนวัฒฆ์, 10 ธันวาคม 2006.

  1. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    <O:p</O:p

    ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม (พลับ) กรุงเทพฯ<O:p</O:p

    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง<O:p</O:p






    คำนำ<O:p</O:p
    พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งปฐมสังคายนา และนับถือแพร่หลายในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของเก่า ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ของเก่าดั่งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฏิบัติธรรมของเก่ามิให้ เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป <O:p</O:p
    สมดังปณิธาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฏิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔
    <O:p</O:p
    พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุค ผ่านสมัยเรื่อยมา จนถึงยุคศรีทวารวดี
    <O:p</O:p
    ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ธันวาคม 2006
  2. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ

    <O:p</O:p
    ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน<O:p</O:p
    มัชฌิมา แบบลำดับ<O:p</O:p
    ตอนสมถะภาวนา
    <O:p</O:p
    ๑.ห้องพระปีติห้า<O:p</O:p
    ๒.ห้องพระยุคลหก<O:p</O:p
    ๓.ห้องพระสุขสมาธิ
    <O:p</O:p
    พระกรรมฐาน สามห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่อง ของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือรูปเทียมของปฐมฌาน
    <O:p</O:p
    รูปกรรมฐาน<O:p</O:p
    ๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
    ๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน<O:p</O:p
    ๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ<O:p</O:p
    ๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ<O:p</O:p
    ๘.ห้องปัญจมฌาน
    <O:p</O:p
    ห้องพระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน กายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน <O:p</O:p
    พระโยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกายคตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระกาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ
    <O:p</O:p
    อรูปกรรมฐาน<O:p</O:p
    ๙.ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน<O:p</O:p
    ๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร<O:p</O:p
    ๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา<O:p</O:p
    ๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน<O:p</O:p
    ๑๓.ห้อง อรูปฌาน
    <O:p</O:p
    ตั้งแต่ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม จิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้น พระวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา (จบสมถะ)
    <O:p</O:p
    วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ<O:p</O:p


    ๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌานเป็นบาทฐาน<O:p</O:p
    ๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓<O:p</O:p
    ๓.พระอนุวิปัสสนา๓<O:p</O:p
    ๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ<O:p</O:p
    ๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓<O:p</O:p
    ๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐<O:p</O:p
    ๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา<O:p</O:p
    ๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ<O:p</O:p
    ๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน<O:p</O:p

    จบ-สมถ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ธันวาคม 2006
  3. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    เครื่องสักการพระรัตนตรัย <O:p</O:p
    เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน<O:p</O:p
    เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้<O:p</O:p
    บททำวัตรพระ

    <O:p</O:p

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส <O:p</O:p
    (ให้ว่า ๓ หน)<O:p</O:p

    พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ<O:p</O:p

    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ<O:p</O:p
    เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,<O:p</O:p

    ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,<O:p</O:p
    พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,<O:p</O:p
    พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ<O:p</O:p
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,<O:p</O:p
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ<O:p</O:p
    อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุ วรุตฺตมํ,<O:p</O:p
    พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    <O:p</O:p

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)<O:p</O:p

    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
    <O:p</O:p

    (กราบ)<O:p</O:p

    ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ<O:p</O:p

    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติฯ<O:p</O:p
    เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,<O:p</O:p
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ<O:p</O:p
    ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,<O:p</O:p
    สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ<O:p</O:p
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,<O:p</O:p
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ<O:p</O:p
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,<O:p</O:p
    ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ

    <O:p</O:p

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)<O:p</O:p

    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ<O:p</O:p

    (กราบ)<O:p</O:p

    สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ<O:p</O:p

    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ <O:p</O:p
    เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา<O:p</O:p
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ<O:p</O:p
    สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา<O:p</O:p
    เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ<O:p</O:p
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ<O:p</O:p
    เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ<O:p</O:p
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,<O:p</O:p
    สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ<O:p</O:p

    (หมอบกราบแล้วว่า)<O:p</O:p

    ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลังไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ<O:p</O:p

    (กราบ)<O:p</O:p


    อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน<O:p</O:p

    บททำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 ธันวาคม 2006
  4. ManBehindWat

    ManBehindWat สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณที่นำมาลงนะครับ กำลังหาการฝึกสมาธิในแนวนี้อยู่ ขอบคุณมากครับ
     
  5. Tewadhol

    Tewadhol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +694
    ใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ลองไปหาหนังสือรายเดือนชื่อ
    "อุณมิลิต" อ่านครับ ถ้าจะฝึกไปที่วัดดีกว่าครับ
    เพราะแนวทางนี้ต้องมีครูอาจารย์คอยควบคุมดูแล
     
  6. มพดา

    มพดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +547
    ท่านผู้ใดต้องการฝึก แนะนำให้ไปขึ้นกรรมฐานกับ พระเดชพระคุณพระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร ได้ที่วัดราชสิทธาราม (พลับ) ได้ทุกวันพฤหัสบดีตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป โทร. 08-9316-2552

    ท่านจะสอนให้เรียนรู้การปฏิบัติเป็นขั้นๆไปตั้งแต่การตั้งสมาธิ การาดำรงสมาธิ การเข้าออกวสี ให้เป็นวสี จนถึงฌานต่างๆ และการเจริญวิปัสสนาที่ถูกต้องแบบแผนตามสมัยพุทธกาล
     
  7. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    คำปริยายขึ้นธรรม<O:p</O:p
    ใช้เทศสอนเมื่อขึ้นพระกรรมฐาน เพื่อปูพื้นฐาน และ ทำความเข้าใจ<O:p</O:p
    ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน<O:p</O:p
    วัดราชสิทธาราม (พลับ)<O:p</O:p
    สืบทอดมาจาก วัดป่าแก้ว ยุคอยุธยา<O:p</O:p
    (พ.ศ. ๒๓๒๖)<O:p</O:p
    (ถอดจากอักขระขอมเป็นอักษรไทยจากคัมภีร์ใบลาน)<O:p</O:p
    --------------------------------<O:p</O:p
    นะโม ๓ จบ ฯ<O:p</O:p

    อุกาสะ วนฺทิตวา สิระสา พุทธํ ธัมมํ สํฆญฺ จะ อุตตฺมํ เทยยะ ภาสายะ ปวกฺขามิ กมฺมฏฺฐานํ ทุวิธกํ, อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา เมว อภิวาทเรน ข้าฯ จะขอไหว้นบคำรพด้วยคารวะในกาลบัดนี้ พุทธํ สพฺพญฺญูพุทธํ ยังพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า พระองค์ผู้ตรัสรู้เญยธรรมทั้งมวล และพระสัพพัญญูเจ้านั้นโสต อุตตมํ อันอุดม อนุตตรํ อันหาบุคคลเทพดาทั้งหลาย อันจะยิ่งบ่มิได้ และข้าฯก็จะไหว้พระสัพพัญญูพระพุทธเจ้าองค์นั้นโสต สิรสา ด้วยหัวแห่งข้าฯในกาลบัดนี้ จ ปน เกวลเมว พุทธํ อภิวนฺทิยะ ใช่ว่าข้าฯจะไหว้พระพุทธเจ้าเท่านั้นแล จะแล้วสิ่งเดียว อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา อภิวาทเรนะ ข้าก็ไหว้นบคำรพด้วยคารวะ เป็นอันดีแลยิ่งนัก ธมฺมํ นวโลกุตตฺรธมฺมํ ทสวิธงฺปริยัติยา สห ยังนวโลกุตตระธัมเจ้า ๙ ประการ เป็นสิบกับทั้งพระไตรปิฏกเจ้าทั้งสาม อันเกิดแต่อกพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า และ พระธัมมเจ้านั้นโสต สวากขาตํ แลพระพุทธเจ้าหากเสด็จเทศนาอันไพเราะ เพราะแลดียิ่งนัก แล ข้าฯ ก็ไหว้พระธัมเจ้านั้นโสต สิรสา ด้วยหัว เม แห่งข้าฯในกาลบัดนี้แล จ ปน เกวลเมวะ พุทธํ ธมฺมํ อภิวนฺทิย ใช่ว่าข้าฯจะไหว้พระพุทธเจ้าแล พระธัมมเจ้าเท่านั้นแล จะแล้วยิ่งสิ่งเดียว อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา อภิวาทเรน วนฺทิตวา ข้าฯก็ไหว้นบคำรพด้วยคารวะ สงฺฆญฺ จ ในกาลบัดนี้ สงฺฆงฺ อฏฺฐํ อริยปุคคฺลานํ สุมูหํ ยังชุมพระอริยเจ้าทั้งหลาย ๘ จำพวกฝูงนั้นเถิด อุตตมัง อันอุดม อันเผาเสียซึ่งมืดมนอนธการ อันกล่าวคือ อวิชา ตัณหา เสียแล้ว และบุคคลทั้งหลาย ๘ จำพวกฝูงนั้นโสต สิรสา ด้วยหัว เม แห่งข้า ในกาลบัดนี้แล ตทนฺตรํ ถัดนั้นไป ข้าฯกระทำประนมอันอ่อนน้อม นมัสการแก่เจ้ากูแก้วทั้งสามประการนี้แล้ว อหํ อันว่าข้า วกฺขามิ ปริเยสามิ ข้าจะเรียนเอาซึ่งพระกรรมฐานเจ้านั้นโสต ทุวิธกํ สมถวิปสฺสนาสํขาตํ ทุวิธกํ อันมีสองประการอันกล่าวคือ พระสมถกรรมฐาน และพระวิปัสสนากรรมฐาน และพระกรรมฐานเจ้านั้นโสต พุทธํ ปจฺเจกสมฺพุทธํ ยังเป็นของแห่งพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า แลพระกรรมฐานเจ้านั้นโสต จตุตฺถอริยสมฺพุทธํ ยังเป็นของอันพึงพอใจแห่งพระอริยสาวกเจ้าทั้ง ๔ พระพุทธเจ้าได้เสด็จเทศนาประกาศไว้ว่า ภาวนาทิโว ภาวนารตฺโต พระท่านว่าไว้ให้ภาวนาทั้งกลางวัน และ กลางคืน และเป็นคำไทยเพื่อที่จะให้เข้าใจง่ายดาย กุลบุตรทั้งหลายผู้จะเจริญภาวนา สมถกรรมฐาน และ พระวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อจะหักเสียซึ่งขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้เสียแล้ว จะเอาขึ้นสู่พระนิพพาน ตามบุราณขีณาสพเจ้า ทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้นแล<O:p</O:p
    อุกาสะ ข้าฯ แต่กูแก้วทั้งมวล อันมีองค์พระสัพพัญญูเจ้านั้นเป็นโตแก่ตูข้าฯ ทั้งหลายอันมีมาก็ดี อันมีบาปอกุศลก็ดี อันมีกุศลเจตนาก็ดี ฉะนั้น อันพร้อมพรั่งกันภายใน แลมีขันธ์ทั้งห้าอีกทั้งปฏิบัติภายนอก ตูข้าฯทั้งหลายมีข้าวตอกดอกไม้ แลธูปเทียน ตูข้าฯทั้งหลายได้เฝ้าเณยธัมแล นำสู่สาธรที่นี้แล้ว ตูข้าฯ ทั้งหลาย จะเอามาตบแต่งไว้ในใจ จะทำให้เป็นสองโกฏฐาส อันปฐมโกฏฐาสหัวทีนั้น ตูข้าทั้งหลายขอบูชาสมาเถิง (ถึง) สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิริยะคุณ และคุณเจ้ากูแก้วทั้งมวลอันหาที่สุดมิได้ ตูข้าทั้งหลายจะขอบูชาและขอสมา อย่าให้เสีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2006
  8. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    ข้าฯจะขอภาวนาอานาปานสติธรรมเจ้า เพื่อขอเอายัง อุคฺคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด ฯ
    <O:p</O:p
    อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมพุทธเจ้า ข้าฯจะขอเอา อุคฺคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที<O:p</O:p
    อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงมาบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนา แดนใดแลข้ายังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิตเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอกฯลฯ เท่าดังนั้นก็ดี อันว่าชีวิตนี้ข้ายังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียรเพื่อขอเอายังอุคคหนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ได้ละร้อยที ได้ละพันที แล้วข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอานาปานสติเจ้า ขอฯจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิดฯ นิพพานปัจจะโย โหนตุ ฯ ข้าฯจะขอภาวนากายคตาสติเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯลฯ<O:p</O:p
    อุกาสะ ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที แล้วค่อยภาวนาไปว่า เกสา เกสา ได้ละร้อยที ได้ละพันที<O:p</O:p
    อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้ายังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้ายังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯ นี้แน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า เกสา เกสา เกสา ได้ละร้อยที ได้ละพันที ข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจะโย โหนตุฯ<O:p</O:p
    อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที
    <O:p</O:p
    อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ ในอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้จงได้ ในขณะที่ข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า ปฐวี ปฐวี ปฐวี ได้ละร้อยที ได้ละพันที ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจะโย โหนตุ ฯ<O:p</O:p
    อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้อง อุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้า ฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที แลข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง สันหลังข้าฯปอก ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธมาตกะอสุภะเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี และข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า อุทธุมาตกัง อุทธุมาตกัง อุทธุมาตกัง ได้ละร้อยที ได้ละพันที ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิด นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ<O:p</O:p
    อุกาสะ ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิในห้องอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนาจงมาบังเกิดแก่ข้า ด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที
    <O:p</O:p
    อุกาสะในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอายังปฐมฌานในห้องอุทธุมาตกะกรรมฐานเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในปฐมฌานในห้องอุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาปฐมฌานอันประกอบด้วยองค์ห้าประการคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา และขอเอาทุติยฌานอันประกอบด้วยองค์สี่ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา และข้าจะขอเอายังตติยฌานอันประกอบด้วยองค์สาม คือ ปีติ สุข เอกัคคตาอุเบกขา บัดนี้พระอาจารย์เจ้าทั้งหลายยังว่าหยาบนัก เป็นโลกียธรรม รู้ฉิบ รู้หาย รู้เกิด รู้ตาย บัดนี้ข้าฯจะหน่ายเสีย ข้าฯจะขอภาวนาเอาจตุตถฌาน อันประกอบด้วยองค์สองคือ สุข เอกัคตา อุเบกขา อันแขวนสุขุมาลชาติเจ้านี้จงได้ ข้าฯจะขอเข้าอยู่นานประมาณหมากเคี่ยวคำหนึ่งจืด ข้าฯจึงจะออกจากฌาน ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิด แลข้าฯจะขอเอาปัญจมฌานอันประกอบด้วยองค์สอง คือ อุเบกขา เอกัคคตา อันแขวนสุขุมาลชาติเจ้านี้จงได้ ข้าฯจะขออยู่นานหมากคำเดียวหนึ่งจืด ข้าฯจะออกขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ<O:p</O:p
    อุกาสะ ข้าฯจะขอภาวนาเอายังอนุสสติกรรมฐานเจ้านี้จงได้ เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ<O:p</O:p
    อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ จงมาเกิดแก่ข้าฯ ด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควาฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที ในที่นี้เล่าข้าฯ จะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาบังเกิดปรากฏอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้า แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าจะค่อยกระทำเพียรขอเอายังอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ ข้าจะค่อยภาวนาไปว่า ธัมโม ธัมโม ธัมโม ได้ละร้อยที ได้ละพันทีขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ<O:p</O:p
    ข้าฯจะขอภาวนาพรหมวิหารเจ้า สี่ประการ มีเมตตาพรหมวิหารเจ้าเป็นต้น กรุณาเจ้าท่อนสอง มุทิตาเจ้าท่อนสาม อุเบกขาเจ้าท่อนสี่ ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิธรรมเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด<O:p</O:p
    อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอเชิญปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที<O:p</O:p
    อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาในห้องเมตตาพรหมวิหาร ด้วยคำข้าฯว่า<O:p</O:p
    อหํ สุขิโต โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ถึงความสุข<O:p</O:p
    อหํ อเวโร โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีเวร<O:p</O:p
    อหํ อพฺยาปชฺโฌ โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน<O:p</O:p
    อหํ อนีโฆ โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความคับแค้น<O:p</O:p
    สุขี อัตฺตานํ ปริหรามิ ขอเราเป็นผู้มีความสุขรักษาตน<O:p</O:p
    อตฺต สุขฺขี ขอตัวเราจงมีความสุข<O:p</O:p
    สุขี ขอเราจงเป็นผู้มีสุข<O:p</O:p
    ข้าฯจะขอเอายังบุญกุศล คืออันให้ข้ามีสุข ตามสัตว์ทั้งหลายทั้งมวล ตราบเท่าถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล อกนิฏฐพรหมโพ้น มาเพิ่ม มาแถม ผล ยังกุศลผลบุญแห่งข้าฯ คือให้ข้าฯมีสุขนี้กับหมู่สัตว์ทั้งหลาย ทั้งถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล และอกนิฏฐพรหมโพ้นทุกตัวทุกตนเถิดฯ ข้าฯจะได้มีกุศลผลบุญ มีความสุขในมนุสโลก ในเทวโลก ในนิพพานเจ้า แลมีด้วยประการฉันใด ข้าฯก็ย่อมจักให้สัตว์ทั้งหลายทั้งมวลมีกุศลผลบุญ มีความสุขในมนุสโลก ในเทวโลก ในนิพพานที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ๗ บทนี้ แลข้าขอแผ่เมตตาให้ตั้งแรกแต่สัตว์อันมีในตัวแห่งข้าฯนี้ เป็นต้นว่า หนอนก็ดี ขอให้มีความสุข กับหมู่สัพพสัตว์ทั้งหลายทั้งมวลตราบเท่าถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล และอกนิฏฐพรหมโพ้น ทุกตัวทุกตนเถิดฯ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2006
  9. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุปจารสมาธิ แล อัปปนาสมาธิ ในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ใน อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เมตตาพรหมวิหารเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน สันหลังข้าฯปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า อะหัง สุขิโต โหมิ เป็นต้น ได้ละร้อยที ได้ละพันที และข้าฯจะทอดสติไว้ในหทัยวัตถุ และข้าจะค่อยบริกรรมเอายังธัมมานุธัมมปฏิบัติ อันเกิดในขณะทั้งห้าแห่งข้าฯ อันว่าอุปจารสมาธิเจ้า อัปปนาสมาธิเจ้าในห้องเมตตาเจ้านี้หนา บัดนี้ข้าฯจะขอภาวนาขอเอายังธรรมานุธรรมปฏิบัติอันแขวนสุขุมาลเจ้านี้จงได้ ขอเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯนิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ ข้าฯจะภาวนาอรูปฌานสมาบัติเจ้าสี่ประการ คือ อากาสานัญจายตนเป็นต้น วิญญาณัญจายตนท่อนสอง อากิญจัญญายตนท่อนสาม เนวสัญญานาสัญญายตนท่อนสี่ ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิจงมาเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ในห้องอากาสานัญจายตน ปฐมอรูปฌานสมาบัติ จงมาบังเกิดในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้า<o:p></o:p>
    ฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า<o:p></o:p>
    อากาโสอนนฺโต ได้ละร้อยที ได้ละพันที<o:p></o:p>
    วิญญาณํ อนนฺตํ ได้ละร้อยที ได้ละพันที<o:p></o:p>
    นิตฺถิ กิญจิ ได้ละร้อยที ได้ละพันที<o:p></o:p>
    เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ได้ละร้อยที ได้ละพันที<o:p></o:p>
    และข้าฯจะขอเอายังธัมมานุธัมมะปฏิบัติในขณะทั้งห้า คือ อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี อธิฏฐานวสี วุฏฐานวสี และ ปัจจเวกขณวสี และข้าฯจะค่อยพิจารณาเอายังพระลักษณะรสปทัฏฐาน อันว่าอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้หนา จงมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ<o:p></o:p>
    ข้าฯจะขอภาวนาวิปัสสนาปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระปรมัตธรรมนิพพานเจ้านี้จงได้ฯลฯ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ<o:p></o:p>
    อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าฯจะขอเอาพระสติปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าอันชื่อว่า สัมมสนญาณ อุทยพฺพยญาณ ภงฺคญาณ ภยตูปฏฺฐานญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกามยตาญาณ ปฏิสงฺขาญาณ สงฺขารุเบกขาญาณ อนุโลมญาณ จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที<o:p></o:p>
    ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเพื่อจะขอเอายัง ข้าฯจะขอเอายังพระสติปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณ ฯลฯ จงมาบังเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า<o:p></o:p>
    นามรูปํ อนิจจํ ขยตฺเถน<o:p></o:p>
    นามรูปํ ทุกขํ ภยตฺเถน<o:p></o:p>
    นามรูปํ อนตฺตา อสารกตฺเถน<o:p></o:p>
    นามรูปํ อนิจฺจํ นิจจํ วต นิพพานํ<o:p></o:p>
    นามรูปํ ทุกขํ สุข วต นิพพานํ<o:p></o:p>
    นามรูปํ อนตฺตา สารํ วต นิพพานํ<o:p></o:p>
    นามรูปํ อันว่ารูปนามแห่งข้าฯนี้หนาเป็น อนิจจํ บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าไปตกนรกไหม้อยู่ ก็บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าฯไปเป็นเปรตวิสัย ก็บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าฯไปเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่ ก็บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นอสุรกาย ก็บ่มิเที่ยงสักอัน นามรูปัง อันว่านามรูปแห่งข้าฯ นี้หนา เป็น อนิจจํ บ่มิเที่ยง ขะยัตเถนะ เหตุว่า รู้ฉิบ รู้หาย รู้ประลัย นิจจัง วต นิพพานนํ เท่าแต่นิพพานเจ้าเที่ยงเถิง(ถึง)เดียวดาย นามรูปํ ทุกขํ นามรูปํ อันว่านามรูปแห่งข้าฯ นี้หนา ลางคาบไปตกนรกก็ทุกข์หนัก ลางคาบไปเกิดเป็นเปรตวิสัยก็ทุกข์หนัก ลางคาบไปเกิดเป็นเปรตก็ทุกข์หนัก ลางคาบไปเกิดเป็นอสุรกายก็ทุกข์หนัก นามรูปังอันว่านามรูปแห่งข้าฯนี้หนา ทุกขังก็เป็นทุกข์หนัก ภยตฺเถน เหตุว่ามีภัยพึงกลัวมากนัก สุขํ วต นิพพานํ เหตุเท่าแต่นิพพานเจ้า หากเป็นสุขสิ่งเดียวดาย นามรูปังอนัตตา อันว่านามรูปแห่งข้าฯนี้หนา เป็นอนัตตาในตนแห่งข้าฯ ลางคาบเมื่อข้าฯไปตกนรกไหม้อยู่ ก็ใช่ตัวตนแห่งข้า ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นเปรตวิสัย ก็ใช้ตัวตนแห่งข้าฯ ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ใช่ตัวตนแห่งข้า ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นอสุรกาย ก็ใช้ตัวตนแห่งข้าฯ นามรูปํ อันว่านามรูปแห่งข้าฯนี้หนา อนตฺตา ใช่ตนแห่งข้า ฯอสารกตฺเถน เหตุว่าหาแก่นสารมิได้ สารํ วต นิพพานํ เท่าแต่นิพพานเจ้า หากเป็นแก่นสารสิ่งเดียวดาย<o:p></o:p>
    อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณเจ้านี้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนา แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในสติปริยญาณพระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ข้าฯจะค่อยกระทำเพียรขอเอายังสติปริยญาณพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณ ฯลฯ ด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า นามรูปํ อนจฺจํ ขยตฺเถน เป็นต้น ได้ละร้อยที ได้ละพันที แม้นว่าข้าฯจะได้นิพพานในอาตมาภาพชาตินี้ ขอเอาสติปริยญาณปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณฯลฯ จงมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิดฯ นิพพานปัจจโยโหนตุฯ<o:p></o:p>
    อักขรปทํ พยญฺชนํ<o:p></o:p>
    เอกเม กตฺวา พุทธรูปํ สมงฺ สิยา ตสฺมาหิ ปณฺฑิโต โปโส รกฺขนฺโต<o:p></o:p>
    ปฏฺกตฺตยํ ธาเรตุ ภวิสติ เม พุทฺธกมฺมฏฺฐานวณฺณนา นิฏฐิตา<o:p></o:p>
    พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ<o:p></o:p>
    ขอให้ข้าได้นิพพานในอนาคตกาล เทอญ<o:p></o:p>
    ------------------------<o:p></o:p>
    อธิบายคัมภีร์เทศขึ้นลำดับธรรม<o:p></o:p>
    คัมภีร์เทศขึ้นลำดับธรรมนี้มีมาแต่โบราณกาลครั้งกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนนั้น ใช้สำหรับเทศขึ้นพระกรรมฐาน ได้ตกทอดมาถึงกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้รับสืบทอดมาจาก ท่านอาจารย์ วัดเกาะหงส์ ในกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ ๒๓๑๐ และพระองค์ท่านได้นำพระคัมภีร์มาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อหาสาระในพระคัมภีร์ มิได้มีการเปลี่ยนแปลงคงคำเดิม สำนวนเดิม รูปแบบเดิม มาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย อักขระที่จารึกในพระคัมภีร์ จารึกด้วยอักษรขอมไทย ปัจจุบันได้ถอดออกมาเป็นอักขระไทย และใช้เทศขึ้นลำดับธรรมสืบทอดมาจนทุกวันนี้ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านจะเทศขึ้นลำดับธรรมก่อนจึงบอกพระกรรมฐานให้ สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน<o:p></o:p>
    คำกล่าวขอขมาโทษ<o:p></o:p>
    อุกาสะ วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพงฺ อปราธํ ขมถ เม ภนฺ เต มยากตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ สามินา กตํ ปุญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ <o:p></o:p>
    (กราบ)<o:p></o:p>
    ข้าขอกราบไหว้ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าฯ บุญที่ข้าฯทำแล้ว ขอท่านพึงอนุโมทนาเถิด บุญที่ท่านทำ ท่านก็พึงให้แก่ข้าฯด้วยฯ (กราบ)<o:p></o:p>
    สพฺพงฺ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ทวารตฺตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ขมามิ ภนฺเต (กราบ)<o:p></o:p>
    ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงให้แก่ข้าฯด้วยเถิด ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงที่ข้าฯทำด้วยทวาร(กาย วาจา ใจ) ทั้งสามแก่ข้าฯด้วยเถิด ข้าฯก็อดโทษให้แก่ท่านด้วย (กราบ)<o:p></o:p>
    ก่อนที่จะนั่งภาวนาพระกรรมฐานนั้น จะเกิดผลสำเร็จได้ ต้องมีการขอขมาโทษก่อน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขมานะกิจ คือการนำดอกไม้ธูปเทียนแพ ไปตั้งจิตอธิษฐาน ขอขมาโทษต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ท่านทั้งหลายอาจเคยล่วงเกินต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็น อดีต ปัจจุบัน เป็นเหตุให้มีโทษติดตัว การเจริญกุศลธรรมอาจไม่เกิดขึ้นได้ หรือ เจริญขึ้นได้ และ อาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน จึงต้องมีการ ขอขมาโทษก่อน เพื่อไม่ให้ เป็นเวร เป็นกรรม ปิดกั้น กุศลธรรม ที่กำลังบำเพ็ญอยู่ และเป็น ปฏิปทาห่างจากกรรมเวร<o:p></o:p>
     
  10. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    พระพุทธเจ้า ตรัส การศึกษาตามลำดับ<O:p</O:p

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรง เปรียบเหมือนมหาสมุทรย่อมลาด ลุ่มลึก ไปตามลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉะนั้นฯ <O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษา ไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรง
    <O:p</O:p
    ลำดับการตั้งสมาธิจิตในห้องพระพุทธคุณ<O:p</O:p

    เมื่อเธอพิจารณาพุทธานุสสติ ภาวนาว่า พุทโธ แลพิจารณาเห็นซึ่งนิวรณธรรม ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ จิตย่อมระงับ เธอมีกายสงบ จิตระงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขแล้ว จิตย่อมตั้งมั่น เป็นอุปจารสมาธิ<O:p</O:p
    การปฏิบัติพระกรรมฐานเบื้องต้น สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางสมาธิมาก่อน ท่านให้ศึกษาในห้องพระพุทธคุณ ซึ่งแยกเป็นลำดับคือ พระปีติห้า พระยุคลหก พระสุขสมาธิทั้งสองประการ เรียกว่า พระพุทธานุสสติ เพื่อต้องการทำจิตให้หมดจด ด้วยอำนาจแห่ง พุทธานุสสติ เป็นขั้นเป็นตอนไป จนถึงสุขสมาธิ เรียกว่ากายสุข จิตสุข เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธรรมกาย เป็นอุปจารฌาน คือเป็นรูปเทียมของปฐมฌาน เป็นทางแห่ง จิตวิสุทธิขั้นหนึ่ง ในเบื้องต้น ของวิปัสสนาธุระ เริ่มหมดจดจากนิวรณธรรม อันมีกามฉันทะ เป็นต้น<O:p</O:p

    คำอาราธนาพระกรรมฐาน<O:p</O:p
    (อธิษฐานสมาธินิมิต)<O:p</O:p
    ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน<O:p</O:p

    ข้าฯขอภาวนาพระพุทธคุณเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ (พระรัศมี) พระขุททกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมาตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ<O:p</O:p
    อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ (พระรัศมี) พระขุททกาปีติธรรมเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ<O:p</O:p
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชชาจะระณะสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวะมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ<O:p</O:p

    สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ<O:p</O:p
    อรหํ อรหํ อรหํ<O:p</O:p
    (องค์ภาวนา พุทโธ)<O:p</O:p
    อธิบายคำอาราธนาสมาธินิมิต<O:p</O:p

    เมื่อจะนั่งเข้าที่ภาวนานั้น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดไว้ว่า ต้องอธิษฐานสมาธินิมิต หรือ อาราธนาสมาธินิมิต เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป กุศลธรรมในที่นี้หมายถึง สมาธิจิตที่ตั้งมั่น เป็น สัมมาสมาธิ อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการ เตรียมจิต ก่อนที่จะภาวนาสมาธิ ดังปรากฏใน พระสุตตนฺตปิฏก องฺคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปาปณิกสูตรที่ ๑ ว่า<O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าที่ประกอบด้วยองค์สามประการ ไม่ควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้หรือ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีเพิ่มขึ้น องค์สามประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้เวลาเช้าไม่จัดการงานโดยเอื้อเฟื้อ เวลาเที่ยงไม่จัดการงานโดยเอื้อเฟื้อ เวลาเย็นไม่จัดการงานโดยเอื้อเฟื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลายพ่อค้าที่ประกอบด้วยองค์สามประการดังนี้แล ไม่ควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้นฉันใด<O:p</O:p
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์สามประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ไม่ควรที่จะบรรลุกุศลธรรม (สัมมาสมาธิ) ที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือ ทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น ธรรมสามประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้<O:p</O:p
    เวลาเช้าไม่อธิษฐานสมาธินิมิต โดยเคารพ เวลาเที่ยงไม่อธิษฐานสมาธินิมิต โดยเคารพ เวลาเย็นไม่อธิษฐานสมาธินิมิต โดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมสามประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรบรรลุกุศลธรรม ที่ยังไม่บรรลุ หรือ เพื่อกุศลธรรมที่บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น <O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์สามประการนี้แล สมควรได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้ว ให้ทวีมากขึ้น องค์สามประการเป็นไฉน<O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้เวลาเช้า จัดการงานโดยเอื้อเฟื้อ เวลาเที่ยง จัดการงานโดยเอื้อเฟื้อ เวลาเย็น จัดการงานโดยเอื้อเฟื้อ<O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลายพ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์สามประการนี้แล สมควรได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ฉันใด<O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรมสามประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมควรจะได้บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือ ทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น <O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เวลาเช้าอธิษฐาน สมาธินิมิต โดยเคารพ เวลาเที่ยงอธิษฐาน สมาธินิมิต โดยเคารพ เวลาเย็นอธิษฐาน สมาธินิมิต โดยเคารพ<O:p</O:p
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรมสามประการนี้แล สมควรจะได้บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือ ทำกุศลธรรมที่บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น <O:p</O:p
    การอธิษฐานสมาธินิมิต ทำให้สมถะสมบูรณ์ เพราะความสมบูรณ์แห่งสมถะ เหล่านั้น จึงบรรลุฌาน <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2006
  11. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    วิธีนั่งเข้าที่ภาวนา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    นั่งคู้บัลลังก์ เท้าขวาทับ เท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้ายตั้งกายตรง บริกรรม พุทโธ กำหนดจิตดังนี้<o:p></o:p>
    ๑.สมาธินิมิต คือเครื่องหมายสำหรับตั้งสมาธิ ให้ตั้งที่ใต้นาภี คือ สะดือ สองนิ้วมือ เป็นที่ชุมนุมธาตุ และ สัมปยุตธาตุ บริกรรมในที่นี้จะเกิดกำลังมาก อันห้องพระพุทธคุณ อยู่ใต้นาภี สองนิ้วมือ<o:p></o:p>
    ๒. ปัคคาหะนิมิต คือการยกจิตไปอยู่ที่สมาธินิมิต คือที่ใต้นาภี สองนิ้วมือ จิต ได้แก่ การนึก การคิด การรับรู้อารมณ์ หรือ สติ<o:p></o:p>
    ๓. อุเบกขานิมิต คือ การวางเฉยในอารมณ์ จิตไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ ที่เป็น อดีต ที่เป็นอนาคต ให้มีจิตอยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน จิตที่แล่นไปใน อดีต อนาคต เป็นจิตที่ฟุ้งซ่าน<o:p></o:p>
    การกำหนด สมาธินิมิต (นาภี) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน <o:p></o:p>
    การกำหนดปัคคาหะนิมิต (ยกจิต) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน<o:p></o:p>
    การกำหนด อุเบกขานิมิต (วางเฉย) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตไม่ตั้งมั่น<o:p></o:p>
    ต้องกำหนดนิมิต สามประการ คือ สมาธินิมิต ปัคคาหะนิมิต อุเบกขานิมิต ไปพร้อมกันตลอดกาล ตามกาล จึงทำให้จิตอ่อนควรแก่การงาน จิตที่อ่อนควร แก่การงาน คือ จิต ที่ปราศจากนิวรณธรรม คือ กามฉันท์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พยายาท ได้แก่การปองร้าย ถีนะมิทธะ ความง่วงหาวนอน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ วิจิกิจฉา ความสงสัย<o:p></o:p>
    การกำหนด สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต มาใน พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต สมุคคสูตร ว่า<o:p></o:p>
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุประกอบสมาธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหะนิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่องและ ไม่เสียหาย จิตย่อมตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นอาสวะ และ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยธรรมอันยิ่งใดๆเธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุเป็นอยู่ มีอยู่<o:p></o:p>
    ก่อนนั่งสมาธิภาวนาพึงสำเหนียกในใจก่อนว่า<o:p></o:p>
    จิตของเราจักเป็นจิตหยุด ตั้งมั่นอยู่ภายใน ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องไม่ยึดจิตของเรา ตั้งอยู่<o:p></o:p>
    เป็นการอธิษฐานจิต ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อมิให้จิตซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ เป็นการวางอารมณ์ ของจิตให้แน่วแน่ มีสติรู้ทัน ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล เช่น นิวรณธรรมเป็นต้น ไม่ให้มารบกวนจิต ยึดจิตติดอยู่ ทำให้จิตไม่บรรลุสมาธิได้ง่าย <o:p></o:p>
    หลังเลิกนั่งภาวนา<o:p></o:p>
    เมื่อเจริญภาวนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าพึ่งลุกออกจากอาสนะ ให้แผ่เมตตา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่สัพพะสัตว์ก่อน จึงลุกออกจากที่ เมื่อนั่งแล้วรู้เห็นอะไร ห้ามไปคุยกันเอง ให้ไปแจ้งบอกกล่าว กับพระอาจารย์กรรมฐาน<o:p></o:p>
    วิธีแจ้งพระกรรมฐาน<o:p></o:p>
    (รูปกรรมฐาน สอบนิมิต อรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์)<o:p></o:p>
    เมื่อจะไป แจ้งพระกรรมฐาน หรือไปสอบอารมณ์นั้น พระภิกษุให้ห่มผ้าเรียบร้อย ไปพร้อมดอกไม้ธูปเทียน กราบพระพุทธรูปก่อนแล้ว จึงกราบพระอาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐาน ถวายดอกไม้ให้พระอาจารย์ด้วย แล้วจึง แจ้งอารมณ์พระกรรมฐาน กับพระอาจารย์<o:p></o:p>
    ลำดับแห่ง การเจริญสมาธิ<o:p></o:p>
    ๑. ปริกัมมนิมิต เมื่อพระโยคาวจรแรกเรียน กำหนดภาวนา พุทโธ ในห้องพระปีติห้าประการ อันมีในห้องพระพุทธคุณ อารมณ์นั้นชื่อว่า ปริกัมมนิมิต ภาวนานั้นชื่อว่า ปริกัมมภาวนา<o:p></o:p>
    ๒. อุคคหนิมิต พระโยคาวจรเห็นนิมิตด้วยจักษุ อันถือเอาด้วยดี ด้วยจิต และนิมิตนั้นมาสู่ที่แจ้งแห่ง มโนทวาร อารมณ์นั้นชื่อว่า อุคคหนิมิต <o:p></o:p>
    ๓. ปฏิภาคนิมิต ภาวนานิมิตนั้นตั้งมั่น เป็นอันดี เมื่อภิกษุมาพากเพียรเจริญนิมิตนั้น ปรากฏ วิเศษ ประหลาด ด้วยสีสัณฐานรุ่งเรือง สุกใส ออกไปกว่าเก่าได้ ๑๐ เท่า ๑๐๐ เท่า อันเกิดแต่ภาวนา อารมณ์นั้นชื่อว่า ปฏิภาคนิมิต<o:p></o:p>
    ๔. อุปจารภาวนา อันกล่าวคือกามาพจรจิต อันใกล้จะละเสียซึ่งอันตราย จำเดิมแต่ได้ปฎิภาคนิมิตนั้น ก็สำเร็จแต่นั้น ปฎิภาคนิมิตนั้น แห่งพระโยคาพจร อันส้องเสพเป็นอันดีด้วย อุปจารสมาธินั้น ก็ถึงซึ่งรูปาวจรปฐมฌานแล<o:p></o:p>
    ปรากฏการณ์เมื่อจิตเป็นสมาธิสงบดีแล้ว<o:p></o:p>
    เมื่อพระโยคาวจรเจ้า มีจิตสงบเป็นสมาธิ เพ่งต่ออารมณ์ดีแล้ว จะมี โอภาส เกิดขึ้น สว่างรุ่งเรืองยิ่งนัก แสงสว่างนี้ย่อมส่องสว่างให้เห็นเป็นสิ่งของต่างๆ ที่ปรากฎขึ้นในใจ หรือปรากฎในมโนทวาร คล้ายคนนอนหลับฝัน เห็นอะไรต่างๆ<o:p></o:p>
    แต่การเห็นในทางสมาธิ พิเศษกว่าการเห็นในความฝัน เพราะผู้เห็นผ่านการกลั่นกรองของสติ มาก่อน ผู้เห็นจึงมีสติ มิได้นอนหลับอยู่ ในชั้นแรกที่เห็น แสงสว่างมักจะหายไปโดยเร็ว เพราะผู้เห็นเกิด ความสะดุ้ง และความสงสัย สนเท่ห์มากขึ้น จิตก็คลาดเคลื่อนจากสมาธิ เมื่อสำรวมจิต เป็นสมาธิได้อีก ก็คงได้พบแสงสว่างอีก แสงสว่างนี้ยอมส่องให้เห็นภาพต่างๆ เหมือนอย่างเห็นภาพภายนอกใน เวลากลางวัน เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ก็ยังมืดอยู่ ไม่สามารถมองเห็นภาพอะไรต่างๆได้ เปรียบเหมือนจิตยังไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่มีกำลัง เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ก็สามารถมองเห็นภาพอะไรได้ เปรียบเหมือนจิต ที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีกำลังเกิดแสงสว่าง สามารถเห็นภาพอะไรๆได้<o:p></o:p>
    การที่ได้พบ ได้เห็นแสงสว่างในเวลาที่ทำสมาธิ หลับตากำหนดจิตอยู่นั้น เรียกว่า โอภาสนิมิต การได้เห็นรูปนิมิตที่เกิดขึ้น เล็กน้อยนี้เรียกว่า อุคคหนิมิต ถ้าผู้เห็นนิมิต สามารถนึกให้รูปนิมิตเหล่านั้น กลายเป็นรูปขนาดใหญ่ ประกอบด้วยความผ่องใสกว่าหลายเท่า เรียกว่าปฎิภาคนิมิต เห็นรูปต่างๆไม่มีประมาณเรียกว่า มหรคตจิต เป็นข้างฝ่ายอรูปฌาน เห็นแสงสว่าง อย่างเดียวไม่มีรูปนิมิต เป็นบาทฐานแห่งอรูปฌาน รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ สองอย่างนี้รวมเรียกว่า สมาบัติแปด<o:p></o:p>
    เหตุที่พระโยคาวจรเจ้า ผู้พากเพียรไม่สามารถทำจิตตั้งมั่น ให้เป็นสมาธิได้เพราะ อุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองในสมาธิ ๑๑ ประการ ดังมีเรื่องราวปรากฎใน พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสกสูตรดังนี้ <o:p></o:p>
     
  12. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสกสูตร<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เรื่องโอภาสนิมิต อุคคหนิมิต ปฎิภาคนิมิต ไม่เกิดไม่เจริญไม่ตั้งมั่น เพราะอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองในสมาธิ ๑๑ ประการ <o:p></o:p>
    ความว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงให้พระอนุรุทธฟังว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงกระทำทุกกรกิริยา บำเพ็ญเพียรเพื่อถึงความตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ ด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงได้ โอภาส แล้ว โอภาสนั้นก็กลับมืดเหมือนก่อน แต่อาศัยที่เพราะพระองค์ทรงพิจารณาเห็นเหตุ จึงได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง<o:p></o:p>
    เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงหลับพระเนตร เจริญสมาธิ ณ โพธิพฤกษบัลลังก์ ก็ได้แสงสว่างมองเห็นสรรพรูปต่างๆ พระองค์จึงทรงสงสัยว่า นี่สิ่งใดหนอ นี่สิ่งใดหนอ โอภาสนิมิตนั้นก็ดับศูนย์ไป แล้วก็กลับมาสว่างขึ้นอีก เป็นดังนี้เนื่องๆ ภายหลังจากพระองค์จับได้ว่า เพราะความลังเลสงสัยคือ วิจิกิจฉา ที่คิดว่า นี่สิ่งใดหนอ นี่สิ่งใดหนอ เมื่อคิดดังนั้นจิตของพระองค์ ก็เคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างจึงดับ<o:p></o:p>
    คราวนี้พระองค์จึงทรงวางจิตเป็น อมนสิการ คือจิตไม่นึก ไม่กำหนดว่านั้นอะไร จิตก็เลื่อนลอย ไม่มีที่เกาะ ที่ยึด แสงสว่าง ก็ดับอีก<o:p></o:p>
    ต่อไปพระองค์ก็ควบคุมสติเพ่งเล็งดู รูปที่พอพระหฤทัย อันเป็นอารมณ์แห่งกรรมฐาน เมื่อรูปที่พอพระหฤทัยดับไปหมด เหลือแต่รูปที่ไม่พอพระหฤทัย ไม่เป็นอารมณ์แห่งพระกรรมฐาน จิตของพระองค์ก็ไม่กระทำนมสิการ ไม่อยากเพ่งเล็งนิมิตต่อไป ก็เกิด ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็จับเหตุได้ว่าเพราะละเลยความกำหนดนิมิต จิตจึงง่วงเหงาหาวนอน เป็นเหตุให้แสงสว่างดับ<o:p></o:p>
    เมื่อพระองค์ทรงทราบเหตุดังนี้แล้ว พระองค์จึงตั้งไว้ซึ่งวิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง กำหนดเพ่งดูรูปตามลำดับไป ก็ได้เห็นรูปที่น่าเกลียด น่ากลัว ก็เกิด ฉมฺภิตตฺต ความไหวจิต ไหวกาย เกิดขึ้น แสงสว่างจึงดับ รูปจึงดับ<o:p></o:p>
    ต่อไปพระองค์ก็ไม่กำหนดดูรูปที่น่าเกลียดน่ากลัว เลือกดูแต่รูปที่ชอบอารมณ์ ภายหลังรูปที่ชอบอารมณ์เกิดขึ้นมากมาย จิตของพระองค์ก็กำเริบ กำหนดจิตทั่วไปในรูป ทุกรูปในนิมิต ทุกนิมิต จนเหลือความสามารถของจิต จิตก็ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็พิจารณาจับเหตุได้ว่า อุพฺพิลวิตก คือกิริยาที่จิตกำเริบกระทำความเพียรมักใหญ่ รวบรัดเพ่งเล็งดูรูปมากๆ แต่คราวเดียวกัน จิตก็คลาดจากสมาธิ โอภาสนิมิต อุคคหนิมิต ก็ดับ<o:p></o:p>
    ต่อมาพระองค์ทรงกำหนดเพ่งเล็งดูรูปนิมิต โดยกำหนดแต่ช้าๆไม่รวบรัด จิตหย่อนคลายความเพียรลง จิตก็บังเกิด ทุฎฐุลล คร้านกาย มีอาการให้เกิดกระวนกระวายขึ้น แสงสว่างจึงดับไป<o:p></o:p>
    เมื่อพระองค์จับเหตุได้แล้ว จึงกำหนดเหตุด้วย อจฺจารทฺธวิริยะ กำหนดความเพียรขึ้น ให้เคร่งครัดแรงกล้า เป็นเหตุให้แสงสว่างดับ จึงกำหนดลดความเพียรลงให้น้อย เรียกว่า อติลีนวิริยะ คือกระทำความเพียรอ่อนเกินไป แสงสว่างจึงดับ<o:p></o:p>
    ต่อมาพระองค์จึงกำหนด กระทำความเพียรแต่พอปานกลาง สถานกลาง ในความเพียรพอให้แสงสว่างทรงอยู่ได้ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมความเพียรกล้าจึงให้โทษด้วย มีอุปมาว่าเหมือนคนที่จับนกกระจอก ต้องการจับนกได้ทั้งเป็น แต่จับบีบโดยเต็มแรง นกกระจอกก็ตาย ถ้าจับนกหลวมๆไม่ดี นกกระจอกก็จะหนีไป ต้องจับนกแต่พออยู่พอประมาณนกกระจอกก็ไม่ตาย จึงจะได้ประโยชน์ คือจิตเป็นสมาธิ<o:p></o:p>
    การจับบีบนกโดยแรง เปรียบเหมือนมีความเพียรกล้า จับนกหลวมๆเปรียบเหมือนมีความเพียรน้อย จับนกแต่พออยู่ พอประมาณ เปรียบเหมือน มีความเพียรสถานกลาง<o:p></o:p>
    เมื่อทรงทำความเพียรสถานกลางได้แล้ว จึงเห็นรูปเทวดา ที่งดงาม แลเห็นทิพย์สมบัติใน เทวะโลก จิตก็อยากเป็นอยากได้ ในทิพย์สมบัตินั้น แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็ทราบว่าการกำหนดดูรูปปราณีต เช่นเทวดานั้นเป็นเหตุให้ เกิด อภิชปฺปา ตัณหาเกิด แสงสว่างจึงดับ <o:p></o:p>
    ต่อมาพระองค์จึงพิจารณาดูรูปที่ปราณีต และรูปที่หยาบพร้อมกัน จิตก็แยกเป็นสองฝัก สองฝ่าย สัญญาต่างกัน ก็เกิดขึ้นมีขึ้น เรียกว่า นานตฺตสญฺญา จิตก็เคลื่อนจากสมาธิ รูป และแสงสว่างจึงหายไป<o:p></o:p>
    คราวนี้พระองค์จึงเพ่งพิจารณารูปมนุษย์ฝ่ายเดียว เมื่อเพ่งหนักรูปมนุษย์นานเข้า รูปมนุษย์งดงาม น่าพึงพอใจก็เกิด จึงเกิดความกำหนัดยินดี แสงสว่างจึงดับ พระองค์จึงทรงพิจารณาทราบว่า อตินิชฌายิตตฺต การเพ่งหนักที่รูปมนุษย์ อันปราณีต เป็นเหตุให้ แสงสว่างดับ<o:p></o:p>
    พระองค์ทรงกำหนดอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ๑๑ ประการได้แล้ว จึงป้องกันไม่ให้เข้ามาครอบงำในพระหฤทัยของพระองค์ได้ ต่อมาแสงสว่างของพระองค์ก็พ้นประมาณ หาเครื่องกำบังมิได้ พระองค์จึงบรรลุฌาน ๔ วิชชา ๓ สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<o:p></o:p>
    อุปกิเลส ๑๑ ประการ<o:p></o:p>
    เครื่องเศร้าหมองในการเจริญสมาธิ<o:p></o:p>
    .วิจิกิจฉา ความสงสัยในโอภาสนิมิต จิตคลาดเคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างจึงดับ<o:p></o:p>
    .อมนสิการ จิตไม่กำหนดนึก ว่านั้นอะไร นี่อะไร ทำให้จิตเลื่อนลอย จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างก็ดับ<o:p></o:p>
    . ถีนมิทธะ จิตละเลยการกำหนดรูปนิมิต จิตจึงง่วงเหง่าหาวนอน จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ รูปจึงดับ แสงสว่างจึงดับ<o:p></o:p>
    .ฉมฺภิตตฺต ความไหวจิต ไหวกาย เพราะจิตเห็นรูปน่ากลัว จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่าง รูปนิมิตจึงดับ<o:p></o:p>
    .อุพพิลวิตก ความที่จิต รวบรัด เพ่งเล็งดูรูปนิมิตมากมาย จิตกำเริบฟุ้งซ่าน จิตจึงเคลื่อนจาสมาธิรูปนิมิต และแสงสว่างจึงดับไป<o:p></o:p>
    .ทุฎฐุลล ความกำหนดจิตดูรูปนิมิตมาก แต่กำหนดดูแต่ช้าๆ จิตคลายความเพียรลง เกิดความกระวนกระวาย จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ รูปนิมิต โอภาสนิมิตจึงดับ<o:p></o:p>
    .อจฺจารทฺธวิริย กำหนดความเพียรมากเกินไป จิตจึงคลาดเคลื่อนจากสมาธิ รูป แสงสว่างจึงดับไป<o:p></o:p>
    . อติลีนวิริย กำหนดความเพียรน้อยเกินไป อ่อนเกินไป จิตเคลื่อนจากสมาธิ รูป แสงสว่างจึงดับ<o:p></o:p>
    .อภิชปฺปา การกำหนดดูรูปปราณีต ตัณหาเกิด จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ รูป และแสงสว่างจึงดับไป<o:p></o:p>
    ๑๐.นานตฺตสญฺญา การกำหนดดูรูปหยาบ รูปปราณีตพร้อมกัน จิตแยกเป็นสองฝ่าย จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิรูปนิมิต และโอภาสนิมิตหายไป<o:p></o:p>
    ๑๑. อตินิชฌายิตตฺต การเพ่งเล่งรูปมนุษย์ อันปราณีต เกิดความยินดี จิตเคลื่อนจากสมาธิ รูป แสงสว่างจึงดับ<o:p></o:p>
     
  13. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    พระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิffice<O:p</O:p

    พระโยคาวจร ผู้มีศรัทธาในการปฏิบัติพระกรรมฐาน เมื่อแรกเรียนจิตยังไม่ตั้งมั่น และ เพื่อจะให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย เป็นการประมวลจิตลงในพระกรรมฐาน แรกเรียนใหม่ๆให้เรียนเอายัง พระกรรมฐานที่มีอานุภาพเล็กน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย มีอารมณ์แคบสั้น เรียกว่า สมาธิที่เป็น ปริตตปริตตารมณ์ ได้แก่อารมณ์ นุสสติ เช่น พุทธานุสสติกรรมฐานเป็นต้น พุทธานุสสติกรรมฐานถือว่าเป็นหัวใจของพระกรรมฐาน เป็นราก เป็นเง่า เป็นเค้า เป็นมูล ของพระกรรมฐาน เป็นพระกรรมฐานที่เปิดประตูไปสู่ พระกรรมฐานอื่นๆได้ง่าย มีคำกล่าวใน สุภูติเถรปาทานว่า<O:p</O:p
    ท่านจงเจริญ พุทธานุสสติ อันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย เมื่อเจริญพุทธานุสสตินี้แล้ว จะยังใจให้เต็มได้ อารมณ์ของ พุทธานุสสติ ประกอบด้วย พระปีติ ๕ ประการ พระยุคลธรรม ๖ ประการ พระสุขสมาธิ ๒ ประการ แต่ละองค์มี อารมณ์ที่ต่างกันปีติธรรม ๕ แต่ละองค์ก็มีอารมณ์ที่ต่างกัน พระยุคลธรรม ๖ ประการ แต่ละองค์ก็มีอารมณ์ที่ต่างกัน พระสุขสมาธิ แต่ละองค์ก็มีอารมณ์ที่ต่างกัน<O:p</O:p
    ปีตินี้ เป็นราก เป็นเค้า เป็นมูล เป็นบาทฐานของสมาธิ เบื้องสูงต่อไป <O:p</O:p

    อารมณ์ของพระปีติธรรม ๕ ประการ<O:p</O:p

    .พระขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย สมาธิเล็กน้อย ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๑<O:p</O:p
    .พระขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ สมาธิชั่วขณะ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๒<O:p</O:p
    .พระโอกกนฺติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ สมาธิเป็นพักๆ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๓<O:p</O:p
    .พระอุพฺเพงคาปีติ ปีติโลดโผน สมาธิเต็มที่ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๔<O:p</O:p
    .ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน สมาธิแผ่ซ่าน ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๕<O:p</O:p

    ลำดับขั้นตอนการนั่งภาวนา พระปีติ ๕<O:p</O:p

    . นั่งเอายังพระลักษณะ พระขุททกาปีติ พระขณิกาปีติ พระโอกกนฺติกาปีติ พระอุพฺเพงคาปีติ พระผรณาปีติ เพื่อทำให้จิตเป็นสมาธิ เป็นขั้นตอน<O:p</O:p
    . นั่งเอายังพระรัศมี พระขุททกาปีติ พระขณิกาปีติ พระโอกกันติกาปีติ พระอุพเพงคาปีติ พระผรณาปีติ เพื่อแก้ จิตอุปทาน จิตหลอก จิตหลอน<O:p</O:p
    .นั่งเอายังพระลักษณะ และพระรัศมี เป็นอนุโลม เป็นปฏิโลม เป็นอนุโลมคือ พระขุททกาปีติ พระขณิกาปีิ พระโอกกันติกาปีติ พระอุพเพงคาปีติ พระผรณาปีติ เป็นปฎิโลมโลมะคือ พระผรณาปีติ พระอุพเพงคาปีติ พระโอกกันติกาปีติ พระขณิกาปีติ พระขุททกาปีติ (ฝึกจิตแยกนิมิตจริง และนิมิตเทียม)<O:p</O:p
    ๔.เข้าสับปีติห้าเป็นอนุโลม เข้าสับปีติห้าเป็นปฏิโลม<O:p</O:p
    รวมตั้งที่นาภี รวมตั้งที่นาภี<O:p</O:p
    .พระขุททกาปีติ (ดิน) ๑.พระผรณาปีติ (อากาศ)<O:p</O:p
    ๒.พระโอกกนฺติกาปีติ (น้ำ) ๒.พระโอกกนฺติกาปีติ (น้ำ)<O:p</O:p
    ๓.พระขณิกาปีติ (ไฟ) ๓.พระอุพเพงคาปีติ (ลม)<O:p></O:p>
    ๔.พระอุพฺเพงคาปีติ (ลม) ๔.พระขณิกาปีติ (ไฟ)<O:p></O:p>
    ๕.พระโอกกนฺติกาปีติ (น้ำ) ๕.พระโอกกนฺติกาปีติ (น้ำ) <O:p></O:p>
    ๖.พระผรณาปีติ (อากาศ) ๖.พระขุททกาปีติ (ดิน)<O:p></O:p>

    เพื่อฝึกจิตให้จิตแคล่วคล่อง<O:p</O:p

    ๕.เข้าคืบพระปีติห้าเป็นอนุโลม เข้าคืบพระปีติห้าเป็นปฏิโลม<O:p</O:p
    รวมตั้งที่นาภี รวมตั้งที่นาภี<O:p</O:p
    .พระขุททกาปีติ (ดิน) ๑.พระอุพเพงคาปีติ (ลม)<O:p</O:p
    ๒.พระโอกกนฺติกา (น้ำ) ๒.พระขณิกาปีติ (ไฟ)<O:p</O:p
    ๓.พระผรณาปีติ (อากาศ) ๓.พระผรณาปีติ (อากาศ)<O:p</O:p
    ๔.พระขณิกาปีติ (ไฟ) ๔.พระโอกกนฺติกาปีติ (น้ำ)<O:p</O:p
    ๕.พระอุพฺเพงคาปีติ (ลม) ๕.พระขุททกาปีติ (ดิน) <O:p</O:p

    เพื่อฝึกจิตให้แคล่วคล่อง<O:p</O:p

    ๖.เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นอนุโลม เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นปฏิโลม<O:p</O:p
    .พระขุทฺทกาปีติ (ดิน) ๑.พระผรณาปีติ (อากาศ)<O:p</O:p
    ๒.พระขณิกาปีติ (ไฟ) ๒.พระอุพฺเพงคาปีติ (ลม)<O:p</O:p
    ๓.พระโอกกนฺติกาปีติ (น้ำ) ๓.พระโอกกนฺติกาปีติ (น้ำ)<O:p</O:p
    ๔.พระอุพฺเพงคาปีติ (ลม) ๔.พระขณิกาปีติ (ไฟ)<O:p</O:p
    ๕.พระผรณาปีติ (อากาศ) ๕.พระขุททกาปีติ (ดิน)<O:p</O:p
    การเข้าสับ เข้าคืบ เข้าวัด ออกวัด พระปีติห้า เป็นอนุโลมปฏิโลม ทำให้จิตชำนาญ แคล่วคล่อง เป็นวสีในเบื้องต้น<O:p</O:p

    พระปิติเจ้าทั้ง ๕ จัดเป็นธาตุ<O:p</O:p

    . พระขุททกา ธาตุดิน ปฐวีธาตุ ๒๑<O:p</O:p
    ๒. พระขณิกาปิติ ธาตุไฟ เตโชธาตุ ๖<O:p</O:p
    ๓. พระโอกกนฺติกาปิติ ธาตุน้ำ อาโปธาตุ ๑๒<O:p</O:p
    ๔. พระอุพฺเพงคาปิติ ธาตุลม วาโยธาตุ ๗<O:p</O:p
    ๕. พระผรณาปิติ อากาศธาตุ อากาศธาตุ ๑๐ <O:p</O:p
    รวมเป็นธาตุพระพุทธเจ้า ๕๖<O:p</O:p
    พระขุทฺทกาปิติ ปฐวีธาตุ ดิน ๒๑ คือ ๑. เกสา ๒. โลมา ๓. นขา ๔. ทนฺตา ๕. ตโจ ๖. มงฺสํ ๗. นหารู ๘. อฏฺฐิ ๙. อฏฺฐิมิญฺชํ ๑๐. วกฺกํ ๑๑. หทยํ ๑๒. ยกนํ ๑๓. กิโลมกํ ๑๔. ปิหกํ ๑๕. ปปฺผาสํ ๑๖. อนฺตํ ๑๗. อนฺตคุณํ ๑๘. อุทริยํ ๑๙. กรีสํ ๒๐. มตฺถเก ๒๑. มตฺถลุงคํ<O:p</O:p
    พระขณิกาปิติ เตโชธาตุ ๖ คือ ๑. จกฺขุวตฺถุ ๒. โสตวตฺถุ ๓. ฆานวตฺถุ ๔. ชิวหาวตฺถุ ๕. กายวตฺถุ ๖. หทัยวตฺถุ<O:p</O:p
    พระโอกกันติกาปิติ อาโปธาตุ ๑๒ คือ ๑. ปิตตํ ๒. เสมหํ ๓.ปุพโพ ๔.โลหิตํ ๕. เสโท ๖. เมโท ๗. อสฺสุ ๘. วสา ๙. เขโฬ ๑๐. สิงฆานิกา ๑๑. ลสิกา ๑๒. มุตตํ<O:p></O:p>
    พระอุพฺเพงคาปิติ วาโยธาตุ ๗ คือ ๑. จกฺขุรมฺมะณงฺวา ๒. โสตารมฺมะณงฺวา ๓. ฆานารมฺมณงฺวา ๔. ชิวหารมฺมณงฺวา ๕. กายารมฺมณงฺวา ๖. จิตตารมฺมณงฺวา ๗. มโนรมฺมณงฺวา<O:p</O:p
    พระผรณาปิติธรรมเจ้า อากาสธาตุ ๑๐ คือ ๑. ช่องตาซ้าย ๒. ช่องตาขวา ๓. ช่องจมูกซ้าย ๔. ช่องจมูกขวา ๕. ช่องหูซ้าย ๖. ช่องหูขวา ๗. ช่องทวารหนัก ๘. ช่องทวารเบา ๙. วจีทวาร ได้แก่ช่องปาก ๑๐. มโนทวารได้แก่ช่องหทัย รวมอากาศเป็น ๑๐<O:p</O:p
    ให้พระโยคาวจรเจ้ารู้คุณพระบรมศาสดาเจ้า ๕๖ และคุณพระลักษณะปีติทั้ง ๕ รวมเป็น ๕๖ เท่ากัน ให้รู้โดยสันทัดเถิด แสดงพระลักษณะปีติเจ้าต่าง ๆ ทั้ง ๕ ปีติ โดยสังเขปเท่านี้แล<O:p</O:p
    เป็นคุณพระพุทธเจ้า ๕๖ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน เป็น ๒๘ เอาอากาศ ๑๐ บวก เป็น ๓๘ เป็นคุณพระธรรมเจ้า<O:p</O:p
    แล้วตั้งคุณพระพุทธเจ้า ๕๖ ลงแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ออกได้ ๑๔ เป็นคุณพระสงฆ์ เข้ากันเป็น คุณพระพุทธเจ้า ๕๖ คุณพระธรรมเจ้า ๓๘ คุณพระสงฆ์ ๑๔ รวมเป็นพระคุณ ๑๐๘ <O:p</O:p

    อารมณ์ของพระยุคลธรรม ๖ ประการ<O:p</O:p

    .พระกายปสฺสทฺธิ จิตปสฺสทฺธิ กายสงบ จิตสงบ อุปจารสมาธิ สมาธิสงบ ขั้นที่ ๑<O:p</O:p
    .พระกายลหุตา จิตลหุตา กายเบา จิตเบา อุปจารสมาธิ สมาธิเบา ขั้นที่ ๒<O:p</O:p
    .พระกายมุทุตา จิตมุทุตา กายอ่อน จิตอ่อน อุปจารสมาธิ สมาธิอ่อน ขั้นที่ ๓<O:p</O:p
    .พระกายกมฺมญฺญตา จิตกมฺมญฺญตา กายควรแก่การงาน จิตควรแก่การงาน <O:p</O:p
    อุปจารสมาธิ สมาธิควรแก่การงาน ขั้นที่ ๔<O:p</O:p
    .พระกายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา กายแคล่วคล่อง จิตแคล่วคล่อง <O:p</O:p
    อุปจารสมาธิ สมาธิแคล่วคล่อง ขั้นที่ ๕<O:p</O:p
    .พระกายุชุคฺคตา จิตตุชุคฺคตา กายตรง จิตตรง อุปจารสมาธิ สมาธิตรง ขั้นที่ ๖<O:p</O:p

    ขั้นตอนการนั่งพระยุคลธรรม ๖<O:p</O:p

    ขั้นตอนที่ ๑-๒-๓ เหมือนพระปีติ ๕<O:p</O:p
    ขั้นตอนที่๔ <O:p</O:p
    เข้าสับพระยุคลหกเป็นอนุโลม เข้าสับพระยุคลหกเป็นปฏิโลม<O:p</O:p
    รวมลงที่นาภี รวมลงที่นาภี<O:p</O:p
    ๑.พระกายปสฺสทฺธิ-จิตปสฺสทฺธิ (ดิน) ๑.พระกายชุคฺคตา-จิตชุคฺคตา (ดิน)<O:p</O:p
    ๒.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๒.พระกายกมฺมญฺญตา-จิตกมฺมญฺญตา (ลม)<O:p</O:p
    .พระกายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๓.พระกายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา<O:p</O:p
    (อากาศ)<O:p</O:p
    ๔.พระกายกมฺมญฺญตา-จิตกมฺมญฺญตา (ลม) ๔.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) <O:p</O:p
    ๕.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๕.พระกายกมฺมญฺญตาจิตกมฺมญฺญตา (ลม)<O:p</O:p
    .พระกายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๖.พระกายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)<O:p</O:p
    ๗.พระกายกมฺมญฺญตา-จิตกมฺมญฺญตา (ลม) ๗.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) <O:p</O:p
    ๘.พระกายชุคฺคตา-จิตชุคฺคตา (ดิน) ๘.พระกายปสฺสทฺธิ-จิตปสฺสทฺธิ (ดิน)<O:p></O:p>
    ขั้นตอนที่ ๕<O:p</O:p
    เข้าคืบยุคลหกเป็นอนุโลม เข้าคืบยุคลหกเป็นปฏิโลม<O:p</O:p
    รวมลงที่นาภี รวมลงที่นาภี<O:p</O:p
    ๑.พระกายปสฺสทฺธิ-จิตปสฺสทฺธิ (ดิน) ๑.พระกายชุคฺคตา-จิตชุคฺคตา (ดิน)<O:p</O:p
    ๒.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๒.พระกายกมฺมญฺญตา-จิตกมฺมญฺญตา (ลม)<O:p</O:p
    ๓.พระกายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๓.พระกายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) <O:p</O:p
    ๔.พระกายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๔.พระกายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา <O:p</O:p
    (อากาศ)<O:p</O:p
    ๕.พระกายกมฺมญฺญตา-จิตกมฺมญฺญตา (ลม) ๕.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)<O:p</O:p
    ๖.พระกายชุคฺคตา-จิตชุคฺคตา (ดิน) ๖.พระกายปสฺสทฺธิ-จิตปสฺสทฺธิ (ดิน) <O:p</O:p
    ขั้นตอนที่ ๖<O:p</O:p
    เข้าวัดออกวัดสกดยุคลหก เข้าวัดออกวัดสะกดยุคลหก<O:p</O:p
    เป็นอนุโลม เป็นปฏิโลม<O:p</O:p
    .พระกายปสฺสทฺธิ-จิตปสฺสทฺธิ (ดิน) ๑.พระกายชุคฺคตา-จิตชุคฺคตา (ดิน) <O:p</O:p
    ๒.พระกายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๒.พระกายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ)<O:p</O:p
    ๓.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๓.พระกายกมฺมญฺญตา-จิตกมฺมญฺญตา (ลม)<O:p</O:p
    ๔.พระกายกมฺมญฺญตา-จิตกมฺมญฺญตา (ลม) ๔.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) <O:p</O:p
    ๕.พระกายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๕.พระกายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)<O:p</O:p
    ๖.พระกายชุคคฺตา-จิตชุคฺคตา (ดิน) ๖.กายปสฺสทฺธิ-จิตปสฺสทฺธิ (ดิน)<O:p</O:p

    พระยุคลธรรมทั้ง ๖ ประการ จัดเป็นธาตุ<O:p></O:p>

    . พระกายปสฺสทฺธิ จิตตปสฺสทฺธิ กายระงับ จิตระงับ ปฐวีธาตุดิน ๒๑<O:p></O:p>
    . พระกายลหุตา จิตตลหุตา กายเบา จิตเบา เตโชธาตุ ๔<O:p></O:p>
    . พระกายมุทุตา จิตตมุทุตา กายอ่อน จิตอ่อน อาโปธาตุ ๑๒<O:p></O:p>
    . พระกายกมฺมญฺญตา จิตตกมฺมญฺญตา กายควรแก่กรรม จิตควรแก่กรรม วาโยธาตุ ๖<O:p></O:p>
    . พระกายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตากายคล่องแคล่ว จิตคล่องแคล่ว อากาสธาตุ ๑๐<O:p></O:p>
    . พระกายุชุคฺคตา จิตตุชุคฺคตา กายตรง จิตตรง ปฐวีธาตุ ๒๑<O:p></O:p>
    . พระกายปสฺสทฺธิ จิตตปสฺสทฺธิ กายระงับ จิตระงับ ปฐวีธาตุ ๒๑<O:p></O:p>
    . เกสา ๒. โลมา ๓. นขา ๔. ทนฺตา ๕. ตโจ ๖. มงฺสงฺ ๗. นหารู ๘. อฏฺฐิ ๙. อฏฺฐิมิญฺชํ ๑๐. วกฺกงฺ ๑๑. หทยํ ๑๒. ยกนํ ๑๓. กิโลมกํ ๑๔. ปิหกํ ๑๕. ปปฺผาสํ ๑๖. อนฺตํ ๑๗. อนฺตคุณํ ๑๘. อุทริยํ ๑๙. กรีสํ ๒๐. มตฺถเก ๒๑. มตฺถลุงคํ<O:p></O:p>
    . พระกายลหุตา จิตตลหุตา กายเบา จิตเบา เตโชธาตุ๔<O:p></O:p>
    .สนฺตปฺปคฺคี นั้น ได้แก่ ไฟธาตุอันเป็นพนักงานให้อบอุ่นกายแก่สัตว์ทั้งหลาย จึงอุ่นอยู่มิได้เย็น<O:p></O:p>
    .ปริทัยหคฺคี นั้น ได้แก่ ไฟธาตุอันเป็นพนักงานให้กายร้อน ระส่ำ ระสาย กระวน กระวาย<O:p></O:p>
    มีประการต่าง ๆ<O:p></O:p>
    .ชิรนคฺคี นั้น ได้แก่ ไฟธาตุเผากายให้คร่ำค่าแก่ชราลงทุก ๆ วัน<O:p></O:p>
    .ปริณามคฺคี นั้น ได้แก่ ไฟธาตุ อันเป็นพนักงานเผาอาหารให้ย่อยยับ<O:p></O:p>
    . พระกายมุทุตา จิตตมุทุตา กายอ่อน จิตอ่อน อาโปธาตุ ๑๒<O:p></O:p>
    . ปิตฺตํ ๒. เสมฺหํ ๓. ปุพฺโพ ๔. โลหิตํ ๕. เสโท ๖. เมโท ๗. อสฺสุ ๘. วสา <O:p></O:p>
    . เขโฬ ๑๐. สิงฺฆานิกา ๑๑. ลสิกา ๑๒. มุตตํ<O:p></O:p>
    . พระกายกมิมญฺญตา จิตตกมิมญฺญตา กายควรแก่กรรม จิตควรแก่กรรม วาโยธาตุ ๖<O:p</O:p
    .อุธงฺคมาวาตา นั้น ได้แก่ ลมอันพัดแต่พื้นเท้าจนตลอดถึงเบื้องบน<O:p></O:p>
    .อโธคมาวาตา นั้น ได้แก่ ลมอันพัดแต่เบื้องบนจนที่สุดเบื้องต่ำ<O:p></O:p>
    .กุจฉิสฺยาวาตา นั้น ได้แก่ ลมที่พัดอยู่ในท้อง<O:p></O:p>
    .โกฏฐาสยาวตา นั้น ได้แก่ ลมที่พัดอยู่ในลำไส้<O:p></O:p>
    .องฺคมงฺคานุสาริโนวาตา นั้น ได้แก่ ลมอันพัดซ่านทั่วสรรพางค์กาย<O:p></O:p>
    .อสฺสาสะปสฺสาสะวาตา นั้น ได้แก่ ลมหายใจเข้า-ออก<O:p></O:p>
    . พระกายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายคล่องแคล่ว จิตคล่องแคล่ว อากาสธาตุ ๑๐<O:p></O:p>
    . ช่องตาซ้าย ๒. ช่องตาขวา ๓. ช่องจมูกซ้าย ๔. ช่องจมูกขวา ๕. ช่องหูซ้าย <O:p></O:p>
    . ช่องหูขวา ๗. ช่องทวารหนัก ๘. ช่องทวารเบา ๙. วจีทวาร ได้แก่ช่องปาก <O:p></O:p>
    ๑๐. มโนทวาร ได้แก่ช่องหทัย รวมอากาศเป็น ๑๐<O:p></O:p>
    . พระกายุชุคฺคตา จิตุชุคฺคตา กายตรง จิตตรง ปฐวีธาตุ ๒๑<O:p></O:p>
    . เกสา ๒. โลมา ๓. นขา ๔. ทนฺตา ๕. ตโจ ๖. มงฺสํ ๗. นหารู ๘. อฏฺฐิ ๙. อฏฺฐิมิญฺชํ ๑๐. วกฺกงฺ ๑๑. หทยํ ๑๒. ยกนํ ๑๓. กิโลมกํ ๑๔. ปิหกํ ๑๕. ปปฺผาสํ ๑๖. อนฺตํ ๑๗. อนฺตคุนํ ๑๘. อุทริยํ ๑๙. กรีสํ ๒๐. มตฺถเก ๒๑. มตฺถลุงคํ<O:p></O:p>
    ธาตุดิน ไฟ น้ำ ลม ในยุคลธรรม ๖ เป็นธาตุกาย และธาตุจิต<O:p></O:p>
    พระสุขสมาธิ ๒ ประการ<O:p></O:p>
    .พระกายสุข จิตสุข กายเป็นสุข (สบาย) จิตเป็นสุข (สบาย) อุปจารสมาธิขั้นประณีต เป็นอุปจารฌาน หรือรูปเทียม ของปฐมฌาน<O:p></O:p>
    .พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ อุปจารสมาธิเต็มขั้น เป็น อุปจารฌาน เต็มขั้น<O:p></O:p>

    ขั้นตอนการนั่งสุขสมาธิ<O:p></O:p>

    ขั้นตอนที่ ๑-๒-๓ เหมือนพระยุคลหก<O:p></O:p>
    ขั้นตอนที่ ๔<O:p></O:p>
    เข้าวัดออกวัด เข้าสะกดพระสุขพระพุทธา เข้าวัดออกวัดเข้าสะกดพระสุขพระพุทธา<O:p></O:p>
    เป็นอนุโลม เป็นปฏิโลม<O:p></O:p>
    .พระกายสุข-จิตสุข ๑.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ<O:p></O:p>
    .พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ ๒.พระกายสุขจิตสุข <O:p></O:p>

    พระสุข พระพุทธา จัดเป็นธาตุ<O:p></O:p>

    .พระกายสุข จิตสุข <O:p></O:p>
    กายสุข จิตสุข เป็นปฐวีธาตุ ธาตุดิน อันสัมปยุตด้วยธาตุ น้ำ ลม ไฟ ปฐวีธาตุในห้องกายสุข จิตสุขนี้ มี ๓ ธาตุอาศัยอยู่ คือ น้ำ ไฟ ลม และมีอากาศธาตุ รองรับ ดิน น้ำ ลม ไฟ ถ้าอากาศธาตุดับ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ดับ ชีวิตก็ดับ ด้วยแล<O:p></O:p>
    .อุปจารพระพุทธานุสสติ เป็นจิตธาตุ หรือ มโนธาตุ วิญญาณธาตุ เป็นจิตอุปจารฌาน<O:p></O:p>
    เมื่อปีติ ดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว ย่อมได้ความสงบแห่งจิต คือ ปัสสัทธิ เมื่อปัสสัทธิดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว ย่อมได้ ความสุข คือสุขสมาธิ สุขดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว จิตย่อมตั้งมั่น เป็นอุปจารสมาธิ และเป็นบาทฐานของอัปปนาสมาธิ ด้วยการเปลี่ยนกรรมฐานเป็นอนาปานสติ<O:p></O:p>
    อันห้องพระพุทธานุสสติ ขั้นแรกให้อาราธนาองค์พระกรรมฐาน เอายัง พระลักษณะ(รูปบัญญัติ)ของ พระปีติ ๕ แต่ละองค์ พระยุคลธรรม ๖ แต่ละองค์ พระสุขสมาธิ ๒ แต่ละองค์ เมื่อครบพระลักษณะกรรมฐาน แล้วให้นั่งทวนอีกเที่ยวหนึ่ง เอายังพระรัศมี (รูปปรมัต) องค์พระปีติ ๕ แต่ละองค์ องค์พระยุคล ๖ แต่ละองค์ องค์พระสุขสมาธิ ๒ แต่ละองค์<O:p></O:p>
    พระลักษณะ หรือ รูปนั้น เป็น รูปบัญญัติ อาจ แปรปรวน ไม่แน่นอน นิมิตที่เกิดขึ้นอาจเป็นนิมิตลวง นิมิตหลอน นิมิตหลอก หรือนิมิตอันเกิดจากอุปาทานได้ <O:p></O:p>
    ฉะนั้นพระอาจารย์เจ้า แต่ปางก่อน ท่านให้อาราธนานั่งเอายัง พระรัศมี ดวงธรรม หรือ สี อันเป็นรูปารมณ์ เป็น รูปปรมัตถะ คือ รูปจริงแท้แน่นอน ไม่แปรผัน การนั่งเอายังพระรัศมีองค์พระ เพื่อปรับจิต กันนิมิตหลอก นิมิตลวง กันนิมิตอุปาทาน ทำให้จิตมีอุปาทานในนิมิตน้อยลง เพราะพระพุทธานุสสติกรรมฐานนี้มีแต่ อุคคหะนิมิตประการเดียว หามีปฏิภาคนิมิตไม่, อุคคหะนิมิตนี้ ย่อมเกิดในมโนทวาร ฉะนั้นนิมิตอาจเป็นนิมิตที่นึกขึ้นเอง คิดขึ้นเองก็ได้<O:p></O:p>

    ลักษณะอาการ ของปีติ ยุคล สุข<O:p></O:p>

    .พระขุททกาปีติ เกิดขุนลุก หนังศรีษะ พองสยองเกล้า<O:p></O:p>
    .ขะณิกาปีติ เกิดในจักขุทวาร เป็นประกายเหมือนตีเหล็กไฟ เหมือนสายฟ้าแลบ<O:p></O:p>
    .พระโอกกันติกาปีติ เกิดดังขี่เรือต้องระลอกคลื่น เกิดลมพัดไปทั่วกายก็มี<O:p></O:p>
    .พระอุพเพงคาปีติ เกิดให้กายเบา ให้กายลอยขึ้น หกคะเมน<O:p></O:p>
    .พระผรณาปีติ เกิดให้กายประดุจอาบน้ำ เย็นซาบซ่านทั่วสกลกาย<O:p></O:p>
    .พระกายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ เกิดกายใจสงบระงับ ไม่กระวนกระวายฟุ้งซ่าน<O:p></O:p>
    .พระกายลหุตา จิตลหุตา ความเบากาย เบาใจไม่ง่วงเหงาหาวนอน<O:p></O:p>
    .พระกายมุทุตา จิตมุทุตา ความอ่อนไม่กระด้างของกาย และ จิต เริ่มข่มนิวรณธรรมได้บ้าง<O:p></O:p>
    .พระกายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายจิตควรแก่การงาน ไม่มีกามฉันท์ วิจิกิจฉา<O:p></O:p>
    ๑๐.พระกายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา ความแคล่วคล่องแห่งกาย และ จิต ไม่เฉื่อยชา<O:p></O:p>
    ๑๑.พระกายุชุคคตา จิตตุชุคคตา ความเป็นสภาพตรงกาย และ จิต<O:p></O:p>
    ๑๒.พระกายสุข จิตสุข ความสบายกาย ความสบายใจนำพาให้เกิดความตั้งมั่นของจิต คือสมาธิ<O:p></O:p>
    ๑๓.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ จิตตั้งมั่นเป็นอุปจารพุทธานุสสติ สามารถข่มนิวรณธรรม<O:p></O:p>
    เป็น กามาวจรจิต เป็นอุปจารฌาน <O:p></O:p>
    มีศีล เกิดปราโมทย์ๆ เกิดปีติ ๕ ประการๆ เกิดยุคลธรรม ๖ ประการๆ เกิดสุขสมาธิ ๒ ประการๆ ย่อมทำให้สัมมาสมาธิสมบูรณ์ ที่สมบูรณ์ เพราะเกิด เป็นขั้น เป็นตอนเป็นลำดับ ปีติ เป็นราก เป็นเง่า เป็นเค้า เป็นมูล ของสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2006
  14. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    ผู้ที่สนใจในแนวทางการปฏิบัติควรไปขึ้นกรรมฐานที่วัดราชสิทธาราม คณะ ๕ พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร

    สอบถามรายละเอียดได้ที่ 08-9316-2552, 08-6980-4431
     

แชร์หน้านี้

Loading...