ปรารถนาพุทธภูมิถือเป็นภวตัณหาหรือไม่ครับ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย gotak, 23 พฤศจิกายน 2010.

  1. gotak

    gotak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +176
    มิได้ลบหลู่ท่านใดนะครับ สงสัยจริงๆว่า ปรารถนาพุทธภูมิจัดเป็นกิเลสภวตัณหาหรือไม่ครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าที่ให้ความกระจ่างครับ
     
  2. bestsu

    bestsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +617
    ไม่มีเหล่าตัณหาก็ไม่มีการเกิด ก็มาเป็นอะไรไม่ได้ซักอย่าง
    ดังนั้นต้องมีเหล่าตัณหาจึงมีการเกิด สิ่งที่ปรารถนาจึงสมบูรณ์
     
  3. theexcaribur

    theexcaribur เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +3,907
    สามารถแบ่งประเภทของตัณหาตามลักษณะบุญหรือบาป ได้ 2 แบบ คือ

    1.ตัณหาฝ่ายกุศล เช่น อยากทำบุญ อยากสร้างวัดโตๆ เห็นคนอื่นสร้าง
    พระองค์ใหญ่ๆ ใจก็ปรุงแต่งว่าอยากจะสร้างองค์ใหญ่ๆ เหมือนกัน อย่าง
    นี้ เรียกว่า ตัณหา หรือ ความทะยานอยากฝ่ายกุศล มีผลส่งไปถึงสวรรค์
    พรหม

    2.ตัณหาฝ่ายอกุศล เช่น สมมติว่าตัวของเราเองมีภรรยาและมีลูกแล้ว แต่
    ไปเห็นสาวๆ สวยๆ ซึ่งเราก็ชอบเขา และเขาก็ชอบเรา จึงเริ่มทำผิดศีล
    ข้อที่ 3 เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า ความทะยานอยากฝ่ายอกุศล มีผลส่ง
    ให้สัตว์นั้นๆ ต้องไปเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มีผี เปรต อสุรกาย สัมภเวสี
    สัตว์เดรัจฉาน หากรอดมาเกิดเป็นคน ก็จะพบเจอกับกฏแห่งกรรมต่อไป

    พระท่านจึงสอนให้เราเกาะฝ่ายกุศลไว้ก่อน เมื่อเกาะจนกำลังใจดีแล้ว จึง
    รู้ว่า มีสิ่งที่สูงขึ้นไปอีก คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งกุศลและอกุศล ทำบุญ
    ก็ไม่ติด และเว้นบาปได้ กำลังใจแบบนี้จึงจะได้ไปพระนิพพาน

    กลับมาที่คำถามข้างต้น การปรารถนาพุทธภูมิ ก็จัดเป็นกิเลสเหมือนกัน แต่
    เป็นความทะยานอยากฝ่ายกุศลที่ยิ่งใหญ่ ปรารถนาจะช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ให้พ้นทุกข์ ก็อาศัยความทะยานอยากนี้ จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดสั่งสมบารมี
    หรือกำลังใจ จนเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ รอคิวตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ถึงอย่าง
    น้อย 4 อสงไขย แสนมหากัป ขึ้นไป อย่างนี้แล
     
  4. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ยังไม่เห็นฝั่งเลย แต่จะทิ้งเรือแล้ว แล้วจะไปถึงฝั่งได้อย่างไร


    เหมือนกับ การที่จะไปให้ถึงพระนิพพาน ไม่ว่าจะปรารถนาอะไรก็ตาม

    ถ้ายังไม่เห็นฝั่ง ว่าอยู่ตรงไหนไปทางไหน เราจะเกาะก้อนหินเพื่อหาทาง

    หรือจะเกาะเรือ ขอนไม้ เพื่อหาทาง
     
  5. ตุ๊โต้ง

    ตุ๊โต้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +223
    คิดอย่างนี้น่าจะถามด้วยนะครับว่าอยากเข้าถึงนิพพานเป็นภวตัณหาไหมทำนองด้วยกันล่ะ
    แต่สำหรับผมถ้าเราจะไปนิพพานคนเดียวก็ได้ แต่ยังอยากช่วยให้ผู้อื่นไปนิพพานกันได้มากขึ้นอยู่ เวลาจะไปให้ถึงนิพพานจริงๆท่านให้ใช้ทางเอกครับ เพราะเราจะไปได้ก็ด้วยกำลังใจของตนเองสำคัญมากๆครับเรื่องทางเอกเนี่ย...:z12
     
  6. gotak

    gotak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +176
    :) คือที่ถามเพราะความสงสัยครับ ทราบดีครับ ว่าตัณหาเป็นตัวนำให้เกิดหนึ่งครับ ซึ่งผมพอเข้าใจเรื่อง ปฏิจสมุปบาทดีครับ การจะมี ภพ ชาติ ชรา มรณะนั้นขึ้นกับอะไร เผอิญผมเคยได้ยินเรื่องนึงมาว่า พระโพธิสัตว์ เหลือกิเลสข้อเดียวคือความสงสารในสัตว์ ทีนี้ผมเริ่มสงสัยว่า อันที่จริง ปรารถนาพุทธภูมิต้องศึกษาและปฏิบัติในธรรมให้ได้ทุกข้อ ละเอียด มิใช่หรือครับ ทีนี้ผมมีข้่อสงสัยในเรื่องนี้ครับ เลยต้องถามท่านที่เป็นผู้รู้ ไม่ใช่แค่ไขข้อสงสัยของกระผมเองเท่านั้นครับ เพื่อสาวกซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีในอนาคตครับ ผมก็อยากทราบรายละเอียดไว้ให้หมดจรดครับ ยังไงก็ขออนุโมทนาทุกท่านที่ปรารถนาดีนะครับ
     
  7. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,306
    การปราถนาพุทธถูมิ เรามองว่าเป็นความเสียสละอย่างใหญ่หลวง การมองเห็นทุกข์ผู้อื่นเสมอเหมือนทุกข์ของตัวเอง เป็นเรื่องยากที่จะมาจำกัดความในเรื่องความอยาก เพราะจิตของผู้ที่ปราถนาพุทธภูมินั้นเป็นเรื่องที่ตัวเองยอมที่จะสละทุกอย่างของตัวเอง หรือชีวิตของตัวเอง ความเมตตาละเอียด ลึกซึ้งมาก ประมาณไม่ได้
    ยกตัวอย่างน่ะ ถ้าตัวเองสละชีวิตเพื่อแลกชีวิตของท่านอื่น ก็ทำได้ โดยไม่คิดที่จะถ่วงถามข้อแลกเปลี่ยน จะสละทรัพย์ที่ตนมีได้โดยไม่คิดถึงผลที่จะได้ จะยอมเวียนว่ายตายเกิดเพื่อทุกภพภูมิ เพื่อขนสัตว์โลกให้พ้นทุกข์
    จึงไม่จัดเป็นภวตัณหา จะใช้กับผู้ที่เป็นพุทธภูมิโดยแท้ไม่ได้
    เพราะฉนั้น จึงไม่สามารถจำกัดความได้ค่ะ
     
  8. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ลองอ่านดูครับ http://buddhayan.com/board.php?subject_id=611&ss=3
    “โพธิสัตว์ทั้งหลายไม่ว่าบารมีน้อยหรือบารมีอันใหญ่ควรพิจารณาจิตให้บริสุทธิ์ สะอาด สว่างแจ่มชัดด้วยปัญญา จะไม่ยึดติดกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมมารมณ์ใด ๆ โพธิสัตว์ควรจะพัฒนาจิตให้สว่างแจ่มแจ้งเหนือสภาวะทั้งปวง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2010
  9. gotak

    gotak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +176
    ซาบซึ้งในหลักธรรมมากครับ เป็นประโยชน์อย่างสูงเลยครับ คุณbluebaby2 ยอดเยี่ยมมากๆครับ สาธุๆ
     
  10. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    เป็น....ท่าน theexcaribur กล่าวไว้สมบูรณ์ดีแล้ว
     
  11. JIT_ISSARA

    JIT_ISSARA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +1,163
    ไม่จัดเป็นตัณหา หรือ ความอยากครับ เพราะท่านใช้ เมตตา กรุณาเป็นตัวนำในการปราถนา มิได้ใช่กิเลส ท่านมีความเห็นว่าทุกสรรพสิ่งล้วนเสมือนเหมือนกัน เนื้อเดิมแท้ทุกดวงจิตประภัสสรอยู่ในตนเองแล้ว แค่เพียงกิเลส 84000 ชนิดจรเข้ามาบดบัง ท่านเห็นสภาวะ ท่านไม่ยึดติดสภาวะ แม้กิเลส หรือ ธรรททั้งหลายทั้งปวง ท่านไม่ยึดมั่นถือมั่น แค่เพียงใช้เป็นเครื่องมือในการยังประโยชน์ให้เกิดขึ้น
    เปรียบเสมือน บิดา มารดาที่อาทรต่อบุตร ปราถนาดีด้วยความรักให้บุตรของตนมีความสุข จึงเฝ้าเพียรสังสอนบุตร ตั้งแต่ยังเด็ก จนกระทั่งจนเองละจากโลกนี้ไป บิดา มารดานั้น มิได้ปราถนาอะไรจากการที่ตนเองเป็นบิดามารดา ให้ทุกอย่างด้วยความรักที่ไม่มีเงื่อนไข
     
  12. พระยาเดโชชัยมือศึก

    พระยาเดโชชัยมือศึก สินธพอมรินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2005
    โพสต์:
    2,742
    ค่าพลัง:
    +12,024
    ถ้าทบทวนดีๆ ตอนนี้ทำไมเรายังถึงไม่ลาพุทธภูมิ ส่วนหนึ่งก็เพราะ เราสงสารดวงจิตที่ต้องมาประมาทในชีวิต ขณะที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ หลายคนยังเที่ยวเสาะหาของกินอยู่เลย แต่เราพอได้รับเวทนาจากการมีสังขาร เราก็รู้สึกว่า อยากจะบอกพวกที่ยังมีร่างกายสมบูรณ์ว่ามัวแต่ไปหาของกินอยู่ ไม่รู้จักเร่งหาบุญกุศล
     
  13. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    ขอโอกาสแสดงความคิดอันน้อยนิดหน่อยนะครับ
    ผมคิดว่าเป็นครับ ตราบใดที่ยังเปนปุถุชน ผู้มีกิเลส ก็ยังคง มีตัณหา
    เมื่อไม่มีตัณหา สิ่งที่ประสงค์ไว้ จะไม่ได้ เป็นไปด้วยตัณหา แต่ ด้วย มหากริยาจิต
    จิตเมื่อมีเชื้อ ไม่ ว่าเริ่มจาก เมตตา หรือความหวังดี ยังไง ถ้า มันยังมีเจืออยุ่ มันก้เเยกกันยากหรอกครับ บางทีมันก้ พลิกไปเปนอย่างอื่นได้ ง่ายๆ
    เหมือนน้ำที่มีโคลนปนแม้จะแกว่งสารส้ม ตั้งทิ้งไว้ นานๆๆ มันใสขึ้น มันก้เป็นน้ำโคลนใช่ไหม หาได้ บริสุทธิเหมือนน้ำกลั่นไม่

    มันขึ้นกับว่าเราจะใช้ประโยชน์จากตัณหานั้นๆ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าท่านคงเคยได้ ยิน คำที่ว่า อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา
    อนุโมทนาครับ
     
  14. พระอาจารย์ณัฐนนท์ สิรินันโท

    พระอาจารย์ณัฐนนท์ สิรินันโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +1,323
    สาธุ ๆ ๆ...ดีมากๆ..ครับ ที่มีคำถามมาให้เราท่านทั้งหลายได้มาช้วยแสดงความรู้เพื่อเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังที่มีความสงสัยหรือไม่แน่ใจใน..การปรารถนาในพุทธภูมว่าเป็นภวตัณหาหรือไม่.......

    ตอบว่าไม่เป็นภวตัณหาครับ..เพราะภวตัณหา แปล่ว่า ยึดติดในภพที่ถือกำเนิดแล้ว ในภพนั้นๆๆ

    ส่วนพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่มีความยึดติดในภพใหนๆ เลย เพราะในสถานที่ใด..ที่มีการสร้างบุญบำเพญบารมีเพื่อการสงเคราะห์โลก ในสถานที่นั้นๆ ย่อมเป็นที่ๆ ท่านพึ่งปรารถนาที่จะไป ไม่ได้จำเพราะว่าจะเป็นที่ใหน..จึงไม่จัดว่าเป็น ภวตัณหา

    แต่เป็นพรหมวิหารธรรมของเหล่าพระโพธิสัตว์ที่มีอยู่ในจิตวิญญาณอันหาประมาณมิได้ที่..ที่ขวนขวายสร้างสมอบรมบำเพ็ญบารมีเพื่อโปรดสัตว์โลกทั้งหลายให้พ้นจากความทุกข์..โดยส่วนเดียวมิได้มีเจตนาจิตที่จะคิดทำเพื่อตัวเอง..
    เจตนาเช่นนี้จึงเป็นไปเพื่อผู้อื่นโดยส่านเดียว จึงชื่อว่าพระโพธิสัตว์ คือ มีจิตสุงกว่าสัตว์ทั้งหลาย

    ถ้ามีจิตเสมอด้วยสัตว์ทั้งหลาย ก็คงไม่ได้นามว่าพระโพธิสัตว์

    ฉะนั้นความปรารถนาในพุทธภูมิ จึงไม่จัดว่าเป็นภวตัณหา......

    ภวตัณหา คือ กิเลสที่มีความยึดติดในภพ ( กิเลส แปล่ ว่าเครื่องเศร้าหมองของจิต )

    แต่เหล่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลายหาความเศร้าหมองแห่งจิตในการปรารถนาเพือที่จะโปรดสัตว์มิได้มีเลย...การปรารถนาของพระโพะสัตว์จึงชื่อว่า ฉันทะวิมุต คือ ความพอใจในการสร้างบารมีเพื่อ ที่จะช่วยสัตว์โลกให้ได้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เป็นเมตาบารมี ในพรหมวิหาร ๔ เจริญ พร ฯ
     
  15. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,276
    ค่าพลัง:
    +4,339
    สาธุครับ

    -มหาโมทนากับกุศลจิตทุกๆท่าน ขอให้สำเร็จตามที่ปรารถนาครับ

    สาธุ

     
  16. vichian

    vichian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    8,164
    ค่าพลัง:
    +41,920
    แจ๋วจริงๆ ให้คะแนนเต็มสิบครับ
     
  17. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    ตราบใดที่ยังมีความอยาก อยากนิพพาน อยากโน่น อยากนี่ คำว่านิพพานจักไม่บังเกิด หากจิตสลัดทิ้งซึ่งความอยากทั้งปวงแล้ว ทางสู่ประตูนิพานก็เปิดแล้ว แตมันก็ยากที่จะถึงจุดนั้น ต้องหมั่นฝึกฝน ชนะตัวอยากให้ได้
     
  18. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    น่าจะเป็นปณิธานความตั้งใจอันยิ่งใหญ่มากกว่านะ คนทำการใหญ่ไม่สนใจเรื่องเล็กน้อยหรอกนะ สาธุ สาธุ สาธุ จะเรือพายหรือเรือสำเภา ก็ช่วยเหลือคนได้เหมือนกันแต่จำนวนมันต่างกันนิดหน่อยเท่านั้นเอง
     
  19. pranatnon

    pranatnon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2010
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +743
    *****************************
    จะเรือพายหรือเรือสำเภา ก็ช่วยเหลือคนได้เหมือนกันแต่จำนวนมันต่างกันนิดหน่อยเท่านั้นเอง[/QUOTE]

    สาธุโมทนา ๆ เช่นนั้นเอง ๆ

    http://palungjit.org/posts/4153449
     
  20. pranatnon

    pranatnon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2010
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +743
    *****************************

    " ตราบใดที่ยังมีความอยาก อยากนิพพาน อยากโน่น อยากนี่ คำว่านิพพานจักไม่บังเกิด "


    " สาธุอนุโมทนา..."


    จริงอยูที่ว่าถ้ายังอยากอยู่ก็ไม่อาจที่จะได้มรรคผลอะไรเลย

    แต่คำว่าอยาก หรือ คำว่านิพพาน นั้น เป็นสมมติบัญญติ ที่ใช้เรียก ใช้

    พูดเพื่อที่จะได้เกิดความเข้าใจในความหมายที่กล่าวถึงเพียงเท่านั้นมิ

    ได้หมายร่วมถึง ความอยากที่เป็นเหตุให้จิตใจ เศร้าหมองหามิได้

    เพราะอยากในแบบโลก ๆ คือ อยากได้แบบไม่สร้างเหตุที่เป็นกุศล ที่

    ควร แต่เป็นความอยากที่เกิดจากตัณหา

    ( ความทะยานอยากที่เป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมอง เป็น กิเลส)


    แต่อยากที่จะไปนิพพานนั้นจัดว่าเป็น อยาก ฝ่ายที่เป็นกุศล

    ( เรียกว่าฉันทะวิมุต ความพอใจในความที่จะหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เป็นอกุศล )

    เป็นเหตุยังจิตนั้นให้เพิกบาน มีความเอิบอิ่ม ชุ่มเย็น ชุ่มชื้น จิตใจ


    เหมือนคนที่เดินทางมาเป็นเวลานานๆ ปรารถนาที่จะได้น้ำมาบำบัด

    เวทนา คือ ความกระหาย ให้ ดับไป ( ความอยาก ) แล้วหวังอยู่ว่า

    ข้างหน้านี้มีทางที่ไปได้อยู่ เราอาจ ที่จะได้น้ำในทางข้างหน้านั้นเป็น

    แน่ เมื้อทำในใจเช่นนั้นแล้วจึงออกเดินไปตามทางนั้น

    ( ความปรารถนา , ความหวัง .ความอยาก )

    จะเรียกว่าเป็นความอยากก็ถูก


    แต่ถูกแบบโลกิยะ ( อยากที่เป็นให้ติดอยู่ในโลก ) ไม่ถูกแบบโลกุตตร( อยากที่เป็นเหตุให้พ้นจากโลก )

    อยากหมดกิเลส , อยากพ้นทุกข์ , อยากนิพพาน แล้วทำจิตให้เคลื้อ

    นออกจากการยึดติดในภพ.ในชาติ .ในสงสาร " ไม่มีความปรารถนา

    ในความเกิดอีกต่อไป "ชื่อว่า ฉันทะวิมุติจ๊ะ"...สาธุเจริญพรฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...