พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์<O</O ๘. โกสัมพิยสูตร ทรงโปรดภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ว่าด้วยสาราณิยธรรม ๖ <O</O [๕๔๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม๖ ประการนี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน ๖ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. <O</O ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน<O></O> ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกันทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. <O</O ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีลาภเกิดขึ้นโดยธรรม ได้มาโดยธรรม ที่สุดเป็นลาภสักว่าอาหารที่เนื่องในบาตร ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้เพื่อตน บริโภคเป็นสาธารณะกับเพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีล ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกันเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. <O</O ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีศีลไม่ขาด ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันท่านผู้รู้สรรเสริญ อันตัณหาทิธรรมไม่ครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันในศีลเช่นนั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. <O</O ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันไกลจากข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม อันนำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเช่นนั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันเพื่อความไม่วิวาทกันเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. <O</O ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกันเพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม นำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖ ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันไว้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนยอดเป็นที่สูงสุดเป็นที่ยึดคุมของเรือนยอด ฉันใด ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม นำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน.<O</O <O เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๙๙๙๒ - ๑๐๑๓๓. หน้าที่ ๔๑๑ - ๔๑๖. ด้วยผลานิสงส์การอ่านพระไตรปิฏก ที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้อันดีแล้วด้วยจิตบริสุทธิ์ ขอการปฏิบัติบุญกิริยานี้บูชาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมคุณพระสงฆ์ บูชาคุณมารดาบิดา คุณครูบาอาจารย์ และคุณพระกรรมฐานเจ้า ขออานิสงฆ์มหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต ขอให้ข้าพเจ้าและทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณ ได้รับรสพระธรรมแล้ว มีจิตผ่องใส เป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ สูตะ จาคะ ปัญญามีความเพียร ขันติ เป็นผู้กำเนิดแห่งไตรเหตุ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ) ได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุด และห่างไกลพ้นเขตมารทั้งหลายโดยพลันและตลอดกาลเทอญ [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1228109/[/MUSIC]
สารานิยธรรม ๖ อย่าง คือ ธรรม ๖ อย่างนี้ ทำผู้ประพฤติให้เป็นที่รัก ที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงเป็นที่อันหนึ่งอันเดียวกัน สาราณิยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นที่ตั้ง แห่งความระลึกถึงกัน คือผู้ประพฤติธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นเหตุ ให้ระลึกถึงความดี ที่ทำต่อกัน เป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่น และสมานสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะไว้ได้ มีดังนี้ ๑.การเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา คือ การช่วยขวนขวายทำกิจธุระของกันและกัน ด้วยกาย ไม่ว่าจะเป็นกิจธุระอะไรก็ตามก็เต็มใจช่วยทำกิจธุระจนสำเร็จไม่นิ่งดูดาย เพราะถือว่าไม่ใช่หน้าที่ เรื่องอะไรทำให้เหนื่อยแรงลำบากมากกาย ๒.การเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา คือ การแนะนำสั่งสอนบอกกันในทางที่ถูกต้องเมื่อทำตามแล้วเกิดความดีงามไม่มีผล ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนภายหลัง ๓.การเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา คือ การ ตั้งจิตเป็นเมตตาปรารถนาแต่ความไม่มีเวรภัยต่อกัน มุ่งหวังแต่ความสุขความเจริญและประโยชน์ต่อกันและกัน ๔.การแบ่งปันลาภที่หามาได้ไม่ได้หวงไว้บริโภคเพียงผู้เดียว คือ การแบ่งปันสิ่งของที่ตนหาได้มาโดยชอบธรรม ให้แก่ผู้อื่นตามสมควรแก่ของที่ได้มา เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อผู้มีลาภน้อยไม่หวงไว้บริโภคแต่เพียงผู้เดียว ๕.การรักษาศีลให้บริสุทธิ์เสมอกันกับผู้อื่น คือ การประพฤติกาย วาจา ให้เรียบร้อยไม่มีโทษ ปฏิบัติตนตามพระวินัยบัญญัติรักษาศีลตามสภาวะของตนไม่ให้ขาดหรือด่างพร้อย เสมอกันกับผู้อื่น ๖. การมีความเห็นร่วมกันกับผู้อื่น คือ การมีความเห็นพ้องต้องกันตามพระธรรมวินัยเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคีกลม เกลียวกันในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องไม่มีความเห็นผิดแผกไปจากผู้อื่น จนเป็นเหตุแห่งความแตกร้าวบาดหมางยอมรับมติของคนส่วนมาก. ที่มาข้อมูล : Real Estate Books For Developer's
โมทนาในบุญกุศล ธรรมะ ธัมมัสสะวะ นะกาโล ธัมมะทานัง สัพพทานัง ชิเนติ การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งมวล ๑ ใน มงคล ๓๘ ประการ