เพื่อการกุศล วัตถุมงคลสายพญานาค ปรอทสายวิชาเก่า เครื่องรางหายาก น.สุดท้าย

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย ตันติปาละ, 9 พฤศจิกายน 2010.

  1. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ต้องอดทน ไม่มีอะไรที่เราระงับไม่ได้ อยู่ที่ว่าเราจะพยายามทำหรือไม่ และมันจะไม่ดิ่งลงแน่นอน ถ้าคุณอดทน และเชื่อมั่นในตัวเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2011
  2. ุเพตารี

    ุเพตารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,048
    ค่าพลัง:
    +800
    ผมระงับความอยากซื้อของจารย์ตันไม่ได้ครับเจ้าป้า เห็นอะไรก็อยากได้ไปหมด 5555:cool:
     
  3. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ถึง.... กรูก้อจน
    55555อยากเรื่องนี้ไม่ยาก สั่งโลด เฮียตันแกบอกแล้วว่าให้เครดิต1ปี อย่าว่าแต่ลุงเรย5555 เจ้าป้าก็จะระงับไม่ด้ายเหมือนกัน
    จาก..... จนจิงกรู
     
  4. ุเพตารี

    ุเพตารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,048
    ค่าพลัง:
    +800
    จนที่ไหนอะป้า แค่มีน้อย อิอิ:cool:
     
  5. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    เออ..ก็มีน้อยอ่ะ มันแปลว่าจนเฟ้ย

    ปล. อุเบกขา อุเบกขา ขันติ ขันติ ท่องไว้ ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเรา อิ อิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2011
  6. ุเพตารี

    ุเพตารี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,048
    ค่าพลัง:
    +800
    แหม positive thinking หน่อยดิ
     
  7. kan112011

    kan112011 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2011
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +31
    คุณตัน แก้วมณีโชติ สีน้ำเงินใหญ่ มีอีกไหม
     
  8. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    อ๋อ ด้ายยยยย โพสสิถีบ ติ๊งกลิ้ง 55555 คิดงี้แล้วกานนนน

    ถึง ตรู จะ จน ตรู ก็ สก กา ปรก ด้วย......โอมะ
     
  9. sunisa@22

    sunisa@22 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +84
    มณีนาคา สัณฐานอื่น คุณตันจะลงภาพวันไหนอ่ะค่ะ
     
  10. Ton_PB

    Ton_PB เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    4,463
    ค่าพลัง:
    +2,005
    อันนี้โดนใจครับคุณลม แต่ระงับผมอยู่ตอนนี้คือทรัพย์นั่นหนอ
     
  11. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    เข้ามาแจมหน่อยค่ะ
    </B>การปฏิบัติทางจิตหรือทางศานาพุทธนั้น เริ่มต้นจากความศรัทธาเป็นตัวตั้งก่อนค่ะคุณ sangboon....เพราะฉนั้นเราจะไม่ทราบเลยว่าปฏิบัติไปทำไม ปฏิบัติไปเพื่ออะไร....ถึงเคยบอกว่าคนเราไม่เห็นทุกข์ก็จะไม่เห็นธรรม ไม่พบเจอความทุกข์ก็จะไม่แสวงหาธรรมะ...

    </B>
    จริงๆแล้วการเริ่มต้นปฏิบัติสำหรับคนที่ไม่มีความทุกข์ก็มี แต่เกิดจากความสงสัยว่าจริงหรือ ปฏิบัติแล้วได้จริงหรือ...ก็นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะเข้าไปศึกษาศาสนาพุทธแบบเต็มตัว...

    </B>
    แต่การที่จะได้มรรคผลนิพพานนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเราไม่รู้ที่มาที่ไป...ว่าในอดีตชาตินั้นเราเคยได้สะสมความดี หรือสะสมบารมีไว้มากเพียงใด จะมีกรรมมาตัดรอนหรือไม่ บางคนทำไมปฏิบัติไปได้เร็ว บางคนปฏิบัติแล้วก็ยังย่ำอยู่กับที่ ไปไม่ถึงไหน....คือไม่พบแสงสว่างแห่งปัญญาเสียที....

    </B>
    มาพูดถึงเรื่องการแยกกายกับจิตนั้น การอ่านอย่างเดียวไม่สามารถที่จะทำให้เข้าถึงสภาวธรรมนั้นได้ ถึงแม้กระทั่งนั่งสมาธิหลับตาเฉยๆก็ยังไม่ทราบว่าตอนไหนกายและจิตมันถึงแยกจากกัน....ก็คงต้องลองลงปฏิบัติจริงๆ...อย่างเช่นที่มีคนเคยเล่าไว้เรื่องคนที่บอกว่าปฏิบัติแล้วรู้ว่าฉันเข้าใจหลุดพ้นจากสังขารแล้ว...ลองลงไปลอกคลองน้ำเน่า ของสกปรกดูสักวัน...ดูสิว่าจะปลงปล่อยได้แค่ไหน....

    </B>
    ถ้าจะพูดให้เต็มๆก็คือทางลัดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแยกกายแยกจิตนั้นมีเพียงสายเดียวก็คือ การพิจารณาขันธ์ ๕ นั่นเอง...แต่การนั่งนึกเฉยๆก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร ก็ต้องลงมือกระทำด้วยค่ะ..ตัวอย่างพระสายวิปัสสนาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านนั่งสมาธิให้ปลงอสุภกรรมฐานเป็นหลัก....พระป่าสายท่านจะธุดงค์วัตรแบบฉายเดี่ยวในป่ากันเลย บรรลุธรรมเร็วมาก...ไม่เหมือนสมัยนี้เวลาปฏิบัติธรรมมักจับกลุ่มรวมกันเป็นหมู่ๆจะหาความวิเวกและสันโดษจากกายและจิตได้อย่างไร....

    </B>
    แสงสว่างแห่งธรรมนั้นมักจะปรากฏในมุมที่สงัดเสมอ...จิตจะหยั่งรู้ได้ชัดแจ้ง...แต่การปฏิบัติทางกายนั้นอาจจมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่จริตของคน เพื่อน้อมนำไปสู่การปฏิบัติทางจิต....เพราะกายและจิตนั้นมักจะอยู่คู่กันถึงจะเกิดสติปัญญา.....

    </B>
    จึงขอแนะนำคุณsangboonว่า...ว่างๆถ้าหาที่ปลงอสุภกรรมฐานไม่ได้จริงๆ...ขอแนะนำที่มูลนิธิโรคเอดส์ของหลวงพ่ออลงกต...เข้าไปคลุกคลีกับคนไข้โรคเอดส์สักเดือนนึง...ไปช่วยเหลือคนที่ป่วยเป็นเอดส์และถูกทอดทิ้งให้อยู่แบบอนาถา ไปช่วยอาบน้ำ ทำแผลที่ร่างกายของคนเป็นเป็นแผลเน่าและเป็นหนองทั้งตัว...ก็คือร่างกายสูญสลายก่อนที่จะตายจริง ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับกรรมหรือการกระทำทางเพศ....คุณลองไปอยู่สักเดือนคุณจะปลงอสุภกรรมฐานได้อย่างแน่นอนค่ะ...รับรองเลยค่ะ...แต่ขอให้ไปด้วยใจศรัทธา เมตตาสงสารเพื่อนมนุษย์ที่ถูกทอดทิ้งด้วยกัน...ไปช่วยเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากความสังเวช....ไปช่วยให้เขาบรรเทาจากความเหม็นเน่าจากอาการโรคเอดส์ระยะสุดท้ายก่อนสิ้นลมหายใจ...และจะให้ดีก็คือเมื่อเขาสิ้นลมหายใจหามกันไปเข้าเตาเผาศพจนเหลือแต่กองกระดูกกองหนึ่ง....เมื่อนั้นคุณจะเห็นธรรมะที่แท้จริง...กายและจิตคุณจะแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด...ดีกว่ามานั่งอ่านประสบการณ์ของคนที่สามารถแยกกายแยกจิต...สู้เราปฏิบัติของจริงๆไม่ได้ ก็คือทำเอง เห็นเอง รู้เองค่ะ...



     
  12. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    การยกจิตขึ้นเหนือสังขาร

    ที่เรามาพูดเรื่องธรรมะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ของแต่ละท่านคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ...บางครั้งอาจมีกระทบกระเทือนบ้างก็ถือว่าเป็นการพัฒนาจิตของเราไปด้วยในตัว....การเอาธรรมะของครูบาอาจารย์มาโพสต์เท่ากับว่าเราก็ได้อ่านเองทบทวนความรู้ไปในตัวด้วยเช่นกันค่ะ....

    </B>วันนี้เรามาจะมาพูดถึงเรื่องประสบการณ์ของการปฏิบัติทางจิตแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดีกว่าค่ะ...จะผิดหรือถูกสามารถวิเคราะห์วิจารณ์ได้ไม่จำกัด....เพราะเรายังไม่ได้เป็นผู้บรรลุธรรมเบื้องสูงขององค์สัมมามสัมพุทธเจ้า...แต่เราๆท่านๆก็มารถกอดคอกันเดินไปในสายธารแห่งธรรมไปพร้อมๆกัน....

    </B>มีครั้งหนึ่งประมาณปี 2527 ช่วงนั้นคุณแม่ดิฉันปลงผมออกบวชชีและได้ปฏิบัติธรรมที่สำนักวัดป่าแห่งหนึ่งแถวๆอ.ทองผาภูมิ...ถนนราดยางยังไม่มี ถ้าใครจะไปสังขละบุรีต้องใช้รถจี๊บแลนด์โรเวอร์เท่านั้น...ถนนนั้นปกคลุมด้วยฝุ่นขนาดว่าเหยียบลงไปเท้าเราจมฝุ่นไปครึ่งแข้ง....วันหนึ่งกรมทางหลวงมาตัดทางทำถนนราดยางและโรยด้วยกรวดเล็กๆยังไม่ได้บด....พระป่าสายวิปัสนาก็ได้เชิญชวนให้เดินจงกลม...แต่ไม่ได้เดินแบบที่วัดในเมืองเขาเดินกันคือยกขาข้างหนึ่งใจก็ก็บอกว่ายกหนอ...แล้วก็ย่างหนอ...แล้วก็เหยียบหนอ...วนเวียนกันไปให้สติจับอยู่กับการยก ย่าง เหยียบ...

    </B>พระป่าสายปฏิบัติพาพวกเรารวมถึงดิฉันด้วยไปเดินจงกลมบนถนนราดยางโรยกรวดและยังไม่ได้บด ความคมของหินเล็กๆมีครบบริบูรณ์...ข้อสำคัญคือเดินจงกลมโดยไม่ใส่รองเท้าค่ะ....เป็นระยะทาง 4 กม...

    </B>เราครั้งแรกก็ไม่ได้คิดอะไรก็เดินไปๆบนถนนได้สัก 100 เมตร เมื่อนั้นจะรู้ถึงความเจ็บปวดที่เท้าเราเหยียบไปบนเกร็ดหินเล็กๆที่มีความคม..ข้อสำคัญคือบาดเข้าไปในเนื้อได้เลือดกันเลย เพราะระหว่างที่เดินมืดสนิท ไม่มีแม้กระทั่งไฟฉาย...แถมถนนนั้นนอกจากความคมของหินแล้วยังไม่มีความเรียบ....เดินได้แค่ 100 เมตรก็จะรู้เลยว่าเลือดเราไหลออกจากเท้าแล้ว เจ็บปวดมาก ยิ่งเดินไปก็ยิ่งเจ็บปวดและทรมานมาก.... พอเดินไปได้ 200 เมตร น้ำตาซึมเลยไม่ว่าจะตะแคงเท้าไปด้านไหนก็จะโดนหินบาดทุกอณูของฝ่าเท้า...ก็ต้องหยุดเดิน แม้กระทั่งยืนเฉยๆความเจ็บปวดก็มิได้ทุเลาลงเลย....ดิฉันเลยนั่งลงกับพื้นเพราะเดินไม่ไหวเจ็บเท้ามาก...

    </B>ระหว่างที่ดิฉันหยุดเดินก็มีแม่ชีอายุมากราว 70 กว่าท่านหนึ่งเดินเข้ามาถามว่าเป็นอย่างไรบ้างลูกเจ็บเท้ามากไหม...เราก็บอกว่าเจ็บมากเลยค่ะคุณแม่ คุณแม่เดินอย่างไรถึงไม่เจ็บเท้าเลย....คุณยายที่เป็นแม่ชีก็บอกปริศนาธรรมดิฉันข้อหนึ่ง...ง่ายมากๆเลยค่ะ...ท่านบอกกับดิฉันว่า...</B>แม่ชีเดินบนถนนกรวดแบบลูกก็เจ็บเท้าแบบลูกนั่นแหล่ะ เพียงแต่ว่าแม่ชีไม่ทุกข์ใจก็เลยเดินได้...ลองเดินใหม่ดูสิแล้วเราก็สังเกตว่าความเจ็บปวดทรมานมันเป็นอย่างไร...

    </B>คราวนี้เราเห็นคุณยายท่านชราภาพเดินผ่านเราไปไม่ทุกข์ไม่ร้อน...ทำให้เรารู้สึกอยากลองใหม่ว่าเดินอย่างไรถึงไม่ทุกข์เวทนาอย่างแม่ชีผู้ชราองค์นั้น...คราวนี้สติเริ่มมาระหว่างเดินคือรสชาดของความเจ็บปวดทรมานก็ยังอยู่เหมือนเดิม จิตเราก็จับอยู่ตรงนั้น หลังจากนั้นเราก็ค่อยๆถอนจิตออกมาจากเท้า..ยกขึ้นมาได้เองตามธรรมชาติ...ตอนนั้นเรารู้ได้เองว่า </B>เจ็บเท้าก็ยังเจ็บอยู่...เพียงแต่ว่าทุกข์กายแต่ไม่ทุกข์ใจแล้ว....</B>หลังจากนั้นดิฉันก็เดินจงกลมต่อไปได้ทั้งที่ยังเจ็บเท้า เนื่องจากเรายกจิตอยู่เหนือสังขารแล้วนั่นเอง....ก็เดินได้ระยะทาง 4 กม...ขืนไม่เดินต่อก็อยู่ในป่านั่นแหล่ะ คนอื่นเขาเดินกลับวัดกันหมดแล้ว ฟ้าก็รุ่งสางพอดี

    </B>ก็เป็นประสบการณ์ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง เพราะหลังจากนั้นเท้าก็ยังระบมเป็นแผลอยู่หลายวัน สมัยก่อนก็มีทิงค์เจอร์ไอโอดีนราดแผล...บอกตรงๆค่ะว่าแสบสุดยอด...หลังจากนั้นเป็นต้นมาเรื่องการเดินบนกรวดที่ยังไม่ได้บดก็เลยเป็นต้นแบบของการนั่งสมาธิแล้วเป็นเหน็บ...ก็คือขณะที่นั่งสมธิแล้วเป็นเหน็บแต่ไม่จำเป็นต้องขยับตัวเลย เพียงแค่ยกจิตขึ้นเหนือสังขารความรู้สึกทรมานจากการเป็นเหน็บก็หมดไปเองโดยธรรมชาติเช่นกัน....ต่อมาก็พัฒนาจิตต่อไปได้อีกคือนั่งแล้วยุงกัด สมัยก่อนตบยุงตลอด..แม่ก็บ่นว่าจะนั่งสมาธิหรือจะทำบาปกันแน่...พอหลังจากฝึกเดินบนกรวดนั้นแล้วถึงยุงจะกัดเราก็ปล่อยไป คือรู้สึกเจ็บ รู้สึกคันเราก็มีสติจับอยู่ตรงนั้นแล้วยกจิตขึ้นเหนือสังขาร...ความเจ็บความคันก็ยังคงอยู่มิได้หายไป...แต่ไม่ได้ทุกข์ใจเหมือนก่อน...รวมถึงอากาศร้อนเหงื่อไหลไคลย้อย...จิตก็รู้ตัวว่าร้อนก็ทนได้ไม่ทรมาน...เมื่ออากาศหนาวก็ไม่ได้ทุกข์ร้อนที่จะต้องแสวงหาผ้าห่มมาคลุมกาย..เราก็พิจารณาว่ารสชาดของความหนาวเย็นเป็นเช่นไร...

    </B>
    และจะสนุกมากเมื่อไปฝึกนั่งสมาธิในป่าใหญ่ทุ่งนเรศวรเมื่อปี 2527 อย่าว่าแต่จะหาผ้าห่มเล้ย...แค่น้ำดื่มก็หายากเย็นเต็มที...น้ำท่าไม่ต้องพูดถึงไม่เคยอาบ ฟันไม่ได้แปรงหลายวัน...กินนอนอยู่ในป่านั่นแหล่ะ..ยิ่งหน้าหนาวสมัยก่อน ทรมานแสนสาหัส..ประมาณ 6-7 องศา เต็มไปด้วยหมอกหนา ไม่มีผ้าห่มเพราะโยนทิ้งระหว่างทางเดินไปหมดแล้ว ตอนนั้นมันหนักแล้วแถมร้อนมาก ไม่คิดว่ากลางคืนจะหนาวเย็นขนาดนี้...สังขารเราสู้ไม่ค่อยไหวเพราะไม่ชิน..พระท่านก็มีเมตตาหาฟืนมาจุดไฟให้เราอังลดความหนาวเหน็บและทรมาน...

    </B>ไปนอนในป่าแค่ 7 วันไม่ได้อาบน้ำ ไม่ได้แปรงฟัน...ชุดที่ใส่ก็ 7 วันไม่ได้เปลี่ยน...คุณๆเอ๋ย ลองนึกสภาพตัวเองแล้วกันว่ามันน่าสังเวชเพียงใด เหม็นขี้ฟันตัวเอง...เหม็นทั้งตัว...ก็เออเนาะ ตัวเราธรรมชาติมันเน่าเหม็นเช่นนี้เอง ....ครั้งแรกเลยที่เห็นสัจธรรมของชีวิต ไม่ได้ปรุงแต่งหรือสมมติ หรือจินตนาการใดๆ....มันมาปรากฏเองตรงหน้า...เมื่อมาถึงวัดเอากระจกมาส่องดูหน้าตัวเอง...อืม...มอมแมมไปหมดลิงยังหน้าสวยกว่าเราเลย ...

    </B>การปฏิบัติธรรมของจริงมันสนุกตรงนี้เอง...ไม่แปลกใจเลยเหล่าภิกษุผู้ทรงศิลที่ปลีกวิเวกอยู่ในป่าอย่างหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ...ท่านถือผ้าเพียง 3 ผืน...เพราะว่าท่านไม่รู้ว่าจะถือผ้าเยอะไปทำไม..เพราะมันหนัก แถมไม่มีน้ำอาบอีก...
     
  13. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    ภควัตคีตา

    เคยอ่านธรรมบทหนึ่งของภควัตคีตากล่าวเอาไว้ว่า...

    </B>
    " การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้น มีสองภาคก็คือภาคของความเป็นมนุษย์และภาคของจิตวิญญาณ ..เพียงแต่เราจะรักษาสมดุลย์ของการดำรงชีวิตแบบมนุษย์ที่ประกอบด้วยจิตวิญญาณที่เป็นวิมุตตนั้นได้อย่างไร...."

    </B>
    เอาเรื่องจริงมาเล่าดีกว่า...มีน้องที่ทำงานอยู่คนนึงทำงานเป็นข้าราชการระดับซี 7 มีหน้ามีตาในสังคม...วันหนึ่งได้ไปบวชชีพราหมณ์ที่สำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งแล้วเกิดอารมณ์ศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง....นับวันก็ยิ่งมองเห็นทุกข์คน ของตัวเองและของผู้อื่นแล้วเกิดอาการปลงปล่อย...สิ่งที่เปลี่ยนไปจากที่เคยเป็นก็คือ...เธออ่านหนังสือธรรมะอย่างมากและไม่เคยเป็นมาก่อน...จนกระทั่งถึงธรรมบทหนึ่งก็คือให้ละวางจากกิเลสที่ยั่วยวน แม้แต่สิ่งของที่ห่อหุ้มก็คือเปลือก ไม่สามารถยึดมั่นถือมั่นได้....

    </B>
    สิ่งที่ปรากฏก็คือเวลาเธอขึ้นประชุมวิชาการในวันหนึ่ง...เธอได้นุ่งขาวห่มขาว แถมเสื้อผ้านั้นยับยู่ยี่...สะพายย่ามใบนึง...ใส่รองเท้าแตะแบบหูหนีบ...แล้วเดินเข้าห้องประชุม....ทุกคนหันมามองเธอด้วยความประหลาดใจ...และบางคนก็บอกว่าเธอเพี้ยน...บางคนก็บอกว่าเธอไม่รู้จักกาละเทศะ...บางคนก็บอกเธอว่าหลุดโลกไปแล้ว....

    </B>
    มีอะไรอยู่ในใจเธอหรือ...เธอกำลังทำอะไรอยู่...เธอกำลังคิดอะไรอยู่...เธอเพี้ยนอย่างที่คนอื่นเข้าใจหรือไม่...

    </B>
    ตรงนี้ต้องระวังนิดนึง เพราะดิฉันได้ยกคำสอนของภควัตคีตาขึ้นเกริ่นนำก่อน....ก็คือ </B>มนุษย์นั้นเกิดมามีชีวิตแบบสองภาคก็คือภาคของความเป็นมนุษย์และภาคแห่งจิตวิญญาณ....</B>แต่เราจะยักย้าย่ายเทอารมณ์ในร่างกายรวมถึงจิตใจและการปฏิบัติที่ออกสู่สาธารณชนให้พอเหมาะพอควรได้อย่างไร...ตรงนี้ต้องระวังนิดนึงค่ะ...เพราะมูลบทและมูลเหตุทั้งหลายที่หลายท่านค้นพบนั้นคือ </B>ปัจจัตตัง </B>ก็คือพบเอง เห็นเอง รู้เอง...คนอื่นเขาไม่ได้เข้าไปนั่งรู้ในจิตใจของคุณ

    </B>
    แต่การที่เราพบเอง เห็นเองแล้วรู้เอง ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่เห็นหรือสัมผัสเรานั้นจะต้องเชื่อหรือมีความเห็นคล้อยตามเราเสมอ....หรือแม้เพียงแต่ความคิดและความเข้าใจที่ทุกคนพยายามสอนและบอก...และก็บอกอีกว่าสิ่งที่เราสอนและบอกนั้นคือทางที่ถูกต้องแล้ว...แท้ที่จริงก็อย่างที่คนเคยออกมาบอกก็คือ</B>เข้าใจแต่ไม่เข้าถึง....</B>แต่จริงๆควรจะเป็นว่า </B>เข้าใจแต่เข้าไม่ถึง....</B>หรือเข้าไม่ถึงแก่นพุทธศาตร์นั่นเองค่ะ...เพราะเท่าที่อ่านมาหลาย คห..ยังมีเปลือกหุ้มหลายชั้นแบบหนาแน่นมาก...และมันยากหนักหนาในการที่จะทุบเปลือกที่ห่อหุ้มที่ละชั้น ให้เหลือแต่ความเข้าใจในพุทธะ ที่ไม่ได้ยากเย็นเข็ญใจอะไร....เพราะจริงๆพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ท่านสอนนั้นก็มิได้ซับซ้อนแต่ประการใด....มิฉนั้นท่านจะสอนได้แต่ปัญญาชนเท่านั้น ส่วนคนตัดฟืนคงต้องต่อบันไดปีนขึ้นไปฟังพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ซึ่งใช้ศัพท์สูงหรือภาษาที่สูงเกินกว่าสามัญชนคนธรรมดาจะเข้าใจได้....

    </B>
    อีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นแม่บทในการปฏิบัติธรรมที่นิยมมากที่สุดในยุคนี้ก็คือ </B>การละวาง...</B> ขอบอกเลยค่ะ พูดง่ายแต่ทำได้ยาก...และมีหลายสำนักอีกเช่นกันใช้อุบายในการสละสิ่งที่รกรุงรังในชีวิตออกเสียให้หมดโดยการบริจาคทาน...เพื่อชีวิตลดการผูกยึดจากความโลภ โกรธ หลง....แต่บางสำนักดันให้ของแถมมาก็คือ เพื่อเป็นผู้ให้หรือบริจาคทานแล้วท่านจะได้...แต่ได้อะไรก็ไม่รู้...ซึ่งเป็นมิจฉาทิษฐิ...และปัญญาธรรมที่หลายคนในสังคมยังไม่ค่อยเข้าใจ หรือเข้าใจยาก...หรือพูดง่ายๆก็คือ ไม่เข้าใจนั่นเอง...</B>การสละเพื่อให้ได้มา...

    </B>
    วันนี้มาเปิดประเด็นไม่ได้กระทบสีข้างใครนะคะ...แต่อาจมีแรงกระเพื่อมนิดหน่อย...เพราะสังขารธรรมมิได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่มันไหลเวียนรักษาสมดุลย์ของธรรมชาติไว้ตลอดเวลา เพียงแต่เราเป็นมนุษย์นั้นจะทำตัวอย่างไรในสองสถานะนั้น...</B>ก็คือการดำรงอยู่ของภาคความเป็นมนุษย์และจิตวิญญาณที่ควรจะไปด้วยกันได้ดี...</B>ไม่ใช่ใช้ชีวิตแบบสุดโต่ง ไปด้านใดด้านหนึ่งจนชีวิตบิดเบี้ยวไป รวมถึงพาเอาครอบครัวและคนรอบข้างพาลปวดหัวเอาเสียด้วย....และข้อสำคัญก็คือยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่ตัวเองคิดนั้น ถูกต้องเสมอ.....

    </B>
    สรุปก็คือที่คุณคิดนั้นไม่ผิดหรอกค่ะ...แต่คนอื่นอ่านแล้วไม่รู้เรื่องต่างหาก....เหมือนคนที่ฟังเพลงลูกทุ่งอยู่เป็นนิจ...วันหนึ่งคุณเอาดนตรีโอเปร่ามาบรรเลง...แล้วบอกว่าฟังดูสิ เพราะมากเลย ฟังแล้วจินตนาการเห็นต้นไม้ สายธาร สายลม แสงแดด...ส่วนคนฟังก็ไม่ขัดหรอกเพราะรู้ว่าขัดไม่ได้...ก็ได้แต่อือๆออๆไปตามเรื่อง...เขาถามว่าฟังแล้วจินตนาการเห็นไหม...นิสัยคนไทยก็ไม่ชอบขัดอยู่แล้ว เขาบอกว่าเห็น ก็คงตอบว่าเห็น ถึงแม้จะไม่เห็นอะไรก็ตาม...ก็คือเป็นลักษณะของสังคมที่ compromise หรือประนีประนอม หรือไม่หักหน้ากัน...เพราะฉนั้นก็ลำบากละทีนี้ เพราะดันมีคนเห็นด้วยซะอีก...มันเลยยิ่งถลำลึกเข้าไปอีก...ก็เหมือนกับน้องที่ทำงานนุ่งขาวห่มขาวยับยู่ยี่ เข้าห้องประชุมที่สำคัญ มีบุคคลสำคัญมาร่วมมากมาย....แต่อันตรายที่สุดก็คือเขาเข้าใจผิดไปว่าทุกคนต้องมองเห็นว่าเขานั้นเป็นคนดี สามารถสละกิเลสได้ ไม่อินังขังขอบ...และแม้กระทั่งตัวเขาเองก็เป็นตัวแทนหรือสัญญลักษณ์แห่งความดีที่ควรปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง...

    </B>
    หลายท่านที่เข้ามาอ่านลองตรองดู ดิฉันมาเพียงแค่แชร์ความคิดเห็น อาจจะเป็นการคิดผิด มองผิดหรือเข้าใจผิดก็เป็นได้...แต่เอามาเล่าให้ฟังเพราะตอนนี้คนแบบนี้มีเยอะค่ะ...แล้วสังคมส่วนใหญ่มักจะกล่าวกลุ่มนี้เป็น</B>คนหลงโลก

    </B>
     
  14. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    วิถีพุทธ

    การปฏิบัตินั้นแต่ละท่านจะรู้ได้เฉพาะตัวเป็นปัจจัตตัง....แนวปฏิบัติวิถีพุทธมีหลายแนวทางขึ้นอยู่กับจริตของตน...โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติสมาธินั้นเป็น 1 ในมรรคที่มีองค์ 8.....การที่จิตจะหลุดพ้นได้มิใช่ปฏิบัติเพียงมรรคเพียงข้อเดียว...ที่เหลืออีก 7 ข้อ โยนทิ้งหมด..แล้วก็มาพูดถึงมรรคผลนิพพานแล้วดูเหมือนว่าจะไม่ครบองค์ของธรรมบท....

    </B>
    พระธรรมวิน้ยสอนให้คนรู้จักคิดและวิจารณญาณเอาเองว่าสิ่งใดจริงหรือเท็จ สิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่น สิ่งใดควรปล่อยวาง...เฉกเช่นจิตของคนที่ซุกซนแกว่งไกวไปตามกระแสของโลกธรรม 8....

    </B>
    คนเราที่มีปฏิปทาเข้าศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพียงแค่คิดก็ถือว่าเป็นปัญญาที่เลิศแล้วค่ะ...คงไม่จำเป็นต้องมาวัดความรู้หรือมาวัดพลังภายในกันในกระทู้ว่าใครรู้จริง หรือใครรู้แจ้งกว่ากัน....

    </B>
    เพียงแค่คิดให้เป็น เข้าใจให้ถูกต้องเมื่อนั้นแนวทางในการปฏิบัติย่อมเปิดเองว่าเราเหมาะกับวิธีไหนซึ่งมีหลากหลายวิธีที่จะทำให้ตนเองหลุดพ้น....

    </B>
    เพราะพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์นั้นบอกแนวทางไว้ให้ตนเองหลุดพ้นมิใช่บอกให้ผู้อื่นหลุดพ้น....

    </B>
    ยังมีอีกหลายกระทู้ในเวบพลังจิตที่นำเอาปฏิปทาคำสั่งสอนของพุทธาจารย์หลายองค์มาเผยแพร่อย่างเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อชา สุภัทโธ...และมีอีกหลายท่านที่นำเอาความรู้มาแปะให้อ่าน...อย่างนี้จะมีประโยชน์มากกว่าค่ะ เพราะเป็นการปฏิบัติจริงและมีแนวคำสอนที่หลากหลาย ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่ยุ่งยาก ไม่มีข้อสงสัยที่จะนำมาถกเถียงกัน....

    </B>
    ส่วนของดิฉันก็จะเป็นแนวปฏิบัติของท่านอาจารย์พุทธทาสเป็นหลัก อาจารย์ติช นัท ฮันท์ รวมถึงหลายๆท่านอาจารย์ก็จะมีวิธีคิดและวิธีปฏิบัติแตกต่างกันไป...ส่วนไหนที่เป็นบทธรรมของพระคุณเจ้าที่เราสามารถนำมาปฏิบัติได้และเหมาะกับตัวเราก็นับเป็นกุศลเราก็น้อมนำมาปฏิบัติตามที่ท่านสั่งสอน....ของอย่างนี้ใครทำใครได้ค่ะ...ไม่ขาดทุน ดีกว่ามานั่งวัดกำลังภายในกัน....
    </B>
    ทำไมคนที่รู้แจ้งเห็นจริงเขาจึงหุบปาก...ไม่มีอาการอยากโอ้อวดว่าตัวเองสำเร็จชันไหนชั้นไหนแล้ว....เพราะของอย่างนี้ได้แค่เฉพาะตนค่ะ....

    </B>
    ส่วนที่บอกว่าถ้าหุบปากแล้วจะรู้ได้อย่างไร ก็มีพระหลายท่านที่มาสอนให้พวกเรามีความรู้อย่างที่หลายๆท่านก็อปฯมาให้อ่านแหล่ะค่ะ....อ่านให้เยอะๆหน่อยค่ะ ยิ่งอ่านหลายๆอาจารย์ก็จะได้งอกเงยเพิ่มพูนความรู้ให้มีภูมิรู้หรือองค์ความรู้สูงขึ้นไปอีกค่ะ...ได้ประโยชน์มากกว่าที่มาโพสต์บอกว่าฉันนั่งสมาธิแล้วเจออะไร รู้สึกอย่างไร เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกันเพราะได้เฉพาะตนเท่านั้นค่ะ...อย่างที่พระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า...



    </B>
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

    </B>
    ปัจจัตตัง แปลง่ายๆว่า เป็นสิ่งที่รู้เฉพาะตน คือรู้คนเดียว บอกคนอื่นไม่ได้ หรือบอกได้ไม่ถูก คือไม่รู้จะบอกยังไง ธรรมส่วนใหญ่ เป็นของรู้ได้ด้วยจิต รู้แล้วบอกไม่ถูก เพราะไม่เคยมีบัญญัติศัพท์ไว้ หรือมีบัญญัติไว้ ก็ไม่รู้ว่าที่รู้ในจิตกับคำศัพท์นั้นมันตรงกันไหม เพราะไม่มีเครื่องมือที่จะเอามาเปรียบเทียบ

    </B>


     
  15. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    สติปัฏฐาน 4

    </B>
    1 การเฝ้าตามดูกาย


    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่อย่างไร


    </B>
    1.1 สติในการหายใจ; อานาปานปัพพะ หมวดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก


    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปอยู่ป่าก็ดี ไปอยู่โคนไม้ก็ดี ไปอยู่ในอาคารว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า


    (2) ภิกษุนั้น มีสติอยู่แลหายใจเข้า มีสติอยู่แลหายใจออก; เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น; ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจออก; ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจออก


    (3) เปรียบเหมือนช่างกลึง หรือลูกมือช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักยาว หรือเมื่อชักเชือกสั้นก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเช่นกันแล เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือว่าเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจออก ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจออก


    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (6) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (7) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.2 ท่าต่าง ๆ ของร่างกาย; อิริยาบถปัพพะ หมวดอิริยาบถ


    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (2) ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเดินอยู่ เมื่อยืนอยู่ก็รู้ชัดว่าเรายืนอยู่ หรือนั่งอยู่ก็รู้ชัดว่าเรานั่งอยู่ หรือนอนอยู่ก็รู้ชัดว่าเรานอนอยู่ ก็หรือว่ากายของภิกษุนั้นปรากฏอยู่โดยอาการใด ๆ ก็รู้ชัดในอาการนั้น ๆ


    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.3 สติพร้อมด้วยความรู้ชัด; สัมปชัญญะปัพพะ หมวดสัมปชัญญะ


    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (2) ภิกษุเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะ ในการก้าวไปและถอยกลับ กระทำสัมปชัญญะในการแลดูไปข้างหน้าและเหลียวดูในทิศอื่น ๆ กระทำสัมปชัญญะในการคู้เข้าและในการเหยียดออก ในการทรงผ่าสังฆาฏิ บาตรและจีวร กระทำสัมปชัญญะในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม กระทำสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ กระทำสัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด นิ่ง


    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่ากายมีอยู่ ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.4 การพิจารณาความเป็นปฏิกูลของร่างกาย; ปฏิกูลปัพพะ หมวดสิ่งปฏิกูล


    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (2) ภิกษุพิจารณาดูกายนี้แหละ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร


    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนถุงมีปาก 2 ข้าง บรรจุเต็มด้วยธัญชาติต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดี แก้ถุงนั้นแล้วออกตรวจดู พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้เมล็ดงา นี้ข้าวสาร แม้เฉันใด


    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเช่นกันแล พิจารณาดูกายนี้แหละ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร


    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (6) หรือเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (7) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (8) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.5 การพิจารณาโดยความเป็นธาตุ; ธาตุปัพพะ หมวดธาตุ


    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (2) ภิกษุพิจารณาดูกายนี้แหละตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ปรากฏอยู่โดยเป็นธาตุว่า ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่


    (3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าวัว หรือลูกมือของคนฆ่าวัวผู้ชำนาญ ครั้นฆ่าแม่วัวแล้ว นั่งชำแหละเนื้อออกเป็นชิ้น ๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่ 4 แพร่ง แม้ฉันใด


    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเช่นกันแล พิจารณาดูกายนี้แหละ ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ปรากฏอยู่โดยเป็นธาตุว่า ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่


    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (6) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (7) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.6 การพิจารณาป่าช้าทั้งเก้า; นวสีวถิกาปัพพะ หมวดป่าช้าทั้งเก้า


    1.6.1 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นศพที่ตายแล้ว 1 วันบ้าง ตายแล้ว 2 วันบ้าง ตายแล้ว 3 วันบ้าง เป็นศพขึ้นอืด ศพเขียวน่าเกลียด ศพมีน้ำเหลืองเฟะ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.6.2 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นศพที่นกกาทั้งหลายจิกกินบ้าง นกแร้งทั้งหลายจิกกินบ้าง นกเหยี่ยวทั้งหลายจิกกินบ้าง สุนัขทั้งหลายกัดกินบ้าง สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายกัดกินบ้าง สัตว์มีชีวิตทั้งหลายกัดกินบ้าง แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้น เป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.6.3 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่เป็นโครงกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.6.4 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อแต่มีเลือดเปื้อนเปรอะ มีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แลก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.6.5 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แลก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.6.6 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย ไม่มีเอ็นรัดรึงแล้ว กระจัดกระจายอยู่ตามทิศใหญ่ทิศน้อย กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางหนึ่ง กระดูกข้อต่อสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กระดูกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.6.7 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย สีขาวเหมือนสีสังข์ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.6.8 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย กองอยู่ด้วยกันเกินกว่าปีมาแล้ว แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


    </B>
    1.6.9 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย ผุเปื่อยป่นเป็นผงแล้ว แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง


    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้


     
  16. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    2 การเฝ้าตามดูเวทนา

    </B>
    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยเวทนาเป็นสุข ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นสุข เมื่อเสวยเวทนาเป็นทุกข์ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นทุกข์ เมื่อเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุข ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุข

    (3) เมื่อเสวยเวทนาเป็นสุขมีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นสุขมีอามิส หรือเมื่อเสวยเวทนาเป็นสุขไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นสุขไม่มีอามิส เมื่อเสวยเวทนาเป็นทุกข์มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นทุกข์มีอามิส หรือเมื่อเสวยเวทนาเป็นทุกข์ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นทุกข์ไม่มีอามิส หรือเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขมีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขมีอามิส หรือเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มีอามิส

    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (5) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในเวทนาทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในเวทนาทั้งหลายอยู่บ้าง

    (6) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า เวทนาทั้งหลายมีอยู่อย่างนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (7) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ด้วยประการดังกล่าวนี้แล

     
  17. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    3 การเฝ้าตามดูจิต

    </B>
    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูจิตในจิตทั้งหลายอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ขัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นสอุตตระ จิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นอนุตตตระ จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ขัดว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูจิตในจิตภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูจิตในจิตภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (4) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในจิตอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในจิตอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในจิตอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า จิตมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูจิตในจิตอยู่ด้วยประการดังกล่าวนี้

     
  18. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    4 การเฝ้าตามดูธรรม


    </B>
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมอยู่อย่างไร


    </B>
    4.1 นิวรณ์ห้า; นิวรณ์ปัพพะ หมวดนิวรณ์


    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ห้าอยู่


    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ห้าอยู่อย่างไร


    </B>
    4.1.1 กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ


    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะ ณ ภายในมีอยู่ หรือ เมื่อกามฉันทะ ณ ภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะ ณ ภายในไม่มี


    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และกามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย


    </B>
    4.1.2 พยาบาท ความคิดร้าย


    (1) เมื่อพยาบาท ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า พยาบาท ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่อพยาบาท ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า พยาบาท ณ ภายในไม่มี


    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของพยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดด้วยเหตุนั้นด้วย และพยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย


    </B>
    4.1.3 ถีนมิทธะ ความท้อแท้และความง่วงเหงาเซื่อมซึม


    (1) เมื่อถีนมิทธะ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าถีนมิทธะ ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่อถีนมิทธะ ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า ถีนมิทธะ ณ ภายในไม่มี


    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และถีนมิทธะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย


    </B>
    4.1.4 อุทธัจจะ และกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน และความหงุดหงิดรำคาญใจ


    (1) เมื่ออุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าอุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่ออุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในไม่มี


    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของอุทธัจจะและกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละอุทธัจจะและกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และอุทธัจจะและกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย


    </B>
    4.1.5 วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย


    (1) เมื่อวิจิกิจฉา ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉา ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่อวิจิกิจฉา ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉา ณ ภายในไม่มี


    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และวิจิกิจฉาที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย


    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (4) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง


    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ห้าอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล


    </B>
    4.2 อุปาทานขันธ์ห้า; ขันธปัพพะ หมวดขันธ์


    (1) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ห้าอยู่


    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ห้าอยู่อย่างไร


    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดังนี้


    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง


    (6) อนึ่ง ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง


    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออุปาทานขันธ์ห้าอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล


    </B>
    4.3 อายตนะภายในหกและอายตนะภายนอกหก; อายตนะปัพพะ หมวดอายตนะ


    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละหกอยู่


    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละหก อยู่อย่างไร


    </B>
    2.4.3.1 ตากับรูป


    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตาด้วย รู้ชัดรูปทั้งหลายด้วย และรู้ชัดสังโยชน์ที่อาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นเกิดขึ้น


    (2) อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย


    </B>
    4.3.2 หูกับเสียง


    4.3.3 จมูกกับกลิ่น


    4.3.4 ลิ้นกับรส


    4.3.5 กายกับสิ่งสัมผัส


    </B>
    4.3.6 ใจกับธรรมารมณ์


    </B>
    (1) ภิกษุย่อมรู้ชัดหู รู้ชัดเสียง...รู้ชัดจมูก รู้ชัดกลิ่น...รู้ชัดลิ้น รู้ชัดรส...ย่อมรู้ชัดกาย รู้ชัดสิ่งสัมผัสกาย...ภิกษุย่อมรู้ชัดใจ รู้ชัดธรรมารมณ์ และรู้ชัดสังโยชน์ที่อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง 2 นั้นเกิดขึ้น


    (2) อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย


    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง


    (4) อนึ่ง เฝ้าตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง


    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละหกอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล


    </B>
    4.4 องค์ประกอบ 7 แห่งการตรัสรู้; โพชฌงค์ปัพพะ หมวดโพชฌงค์


    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์ 7 อยู่


    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์ 7 อยู่อย่างไร


    </B>
    4.4.1 สติสัมโพชฌงค์; องค์แห่งการตรัสรู้คือ สติ


    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ หรือ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่


    (2) อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย


    </B>
    4.4.2 ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์


    4.4.3 วิริยสัมโพชฌงค์


    4.4.4 ปิติสัมโพชฌงค์


    4.4.5 ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์


    4.4.6 สมาธิสัมโพชฌงค์


    </B>
    4.4.7 อุเบกขาสัมโพชฌงค์


    (1) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...


    (2) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...


    (3) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...


    (4) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...


    (5) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...


    (6) อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่


    (7) อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย


    (8) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้


    (9) เฝ้าตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง


    (10) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย


    (11) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายคือ โพชฌงค์ 7 อยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล



    .........................................................

    </B>
    ถ้าท่านใดได้ปฏิบัติโดยการนั่งสมาธิเป็นปฏิบัติบูชา แล้วใช้มหาสติปัฏฐาน 4 ของพระพุทธเจ้าแล้วยกสมาธิขึ้นสู่สมถภาวนาและวิปัสนาภาวนาโดยการใช้ปัญญาใคร่ครวญเกี่ยวกับมหาสติปัฏฐาน 4 ของพระพุทธองค์ได้ครบถ้วน มิได้ข้ามวรรคตอนหรือลำดับของขั้นการวิธีวิปัสนาโดยการน้อมนำ ระลึกถึงมหาสติปัฏฐาน 4 ได้ครบถ้วนมิขาดตกบกพร่อง...ดิฉันก็ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ...

    </B>
    เพราะถึงกาลครั้งนั้นจวบจนปัจจุบันได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ซึ่งน้อยคนนักที่จะผ่านด่านมหาสติปัฏฐาน 4 ไปได้โดยง่าย...โดยเฉพาะด่านสัมโพชฌงค์และด่านอุเบกขา....ในไม่ช้าท่านก็จะบรรลุโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และขึ้นสู่อรหัตผลโดยไม่ยากเย็นนัก...




     
  19. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    วิปัสสนากรรมฐาน

    </B>
    วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้ปัญญาพิจารณาเป็นหลัก

    วิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    </B>
    วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับ สมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก ในคัมภีรทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่ว ๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่ สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่าเป็นภาวนามยปัญญาได้อีกด้วย เพราะในฏีกาหลายที่ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุข้อ 10.

    </B>
    รายละเอียดวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ดังบรรยายไว้โดยละเอียดในมหาสติปัฏฐานสูตร ในพระไตรปิฎก

    </B>
    ระหว่างปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ 5 อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดวิปัสสนูปกิเลส (คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา 10 อย่าง) ชวนผู้ปฏิบัติให้เข้าใจผิด คิดว่าตนได้มรรคผลแล้ว คลาดออกนอกวิปัสสนาวิถีได้

    </B>
    อารมณ์ของวิปัสสนา

    </B>
    ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าและพระอรรถกถาจารย์ได้วางไว้ เราสามารถทราบอารมณ์ของวิปัสสนาได้ด้วยการไล่ตามวิถีจิตไปตามกฏเกณฑ์และตามหลักฐาน ซึ่งจะพบว่ามีทั้งปรมัตถ์และบัญญัตติเป็นอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อคิดถึงวิปัสสนาภูมิ เช่น ธรรมะ 201 เป็นต้นตอนที่ทำวิปัสสนาอยู่ ก็มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์, แต่เมื่อนึกถึงพระพุทธพจน์ เช่น ชื่อของธรรมะ 201 หรือ อาการของขันธ์เช่น ไตรลักษณ์ หรือ อิริยาบถต่างๆ เป็นต้น เป็นเครื่องกำหนด วิปัสสนาก็จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์.

    วิปัสสนาภูมิ ตามที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคนั้น ได้แก่ ธรรมมะ 201 เป็นต้น เช่น

    </B>
    ขันธ์ 5
    อายตนะ 12
    ธาตุ 18
    อินทรีย์ 22
    อริยสัจ 4
    ปฏิจจสมุปบาท 12

    วิปัสสนาภูมิที่ยกมานี้ ท่านเอามาจากพระไตรปิก เช่นจาก สติปัฏฐานสูตร (ม.มู.) สังยุตตนิกาย (สุตฺต.สํ.) วิภังคปกรณ์ (อภิ.วิ.) เป็นต้น. ที่ทราบได้ว่า วิสุทธิมรรคยกมาพอเป็นตัวอย่าง เพราะท้ายของวิปัสสนาภูมิทั้ง 6 นี้ มี "อาทิ"ศัพท์ (แปลว่า เป็นต้น) อยู่ด้วย. ฉนั้น ในปรมัตถมัญชุสา วิสุทธิมรรคมหาฏีกา จึงอธิบายอาทิศัพท์ ว่า หมายถึงอาหาร 4 เป็นต้นด้วย และกล่าวต่อไปอีกว่า ให้ท่านผู้อ่านเทียบเคียงธรรมะหมวดอื่นๆ ตามนัยนี้ได้อีก.

    </B>
    ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฏีกานั้น จะไม่มีการจำกัดให้วิปัสสนามีแต่ปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เพราะในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาก็มีทั้งจุดที่ท่านแสดงให้วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์และเป็นบัญญัติก็มี ส่วนมติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น" เป็นมติของอาจารย์ชาวพม่ารุ่นหลังซึ่งเชิญเข้ามาในสมัยของพระอาจารย์ อาจ อาสภมหาเถระ มีอาจารย์เตชิน และอาจารย์สัทธัมมโชติกะ เป็นต้น. ในฝ่ายไทยเมื่อตรวจสอบตามสายวัดป่า ก็พบว่า ไม่มีข้อบัญญัติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น"มาแต่เดิม.

    </B>
    การเรียนวิปัสสนากรรมฐาน

    </B>
    การเรียนวิปัสสนากรรมฐานนั้น </B>ต้องเรียนศีลและสมาธิจนปฏิบัติได้มาก่อน หรืออาจเรียนไปพร้อมกันก็ได้ </B>ซึ่งอาจจัดช่วงของการเรียนตามมหาสติปัฏฐานสูตรอรรถกถาได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ คือ

    </B>
    ช่วงปริยัตติ

    อุคคหะ คือ การท่อง เพื่อทำให้จำวิปัสสนาภูมิ อันได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อาหาร เป็นต้นได้ โดยเลือกท่องเฉพาะส่วนที่สนใจก่อนก็ได้และต้องจำให้คล่องปากขึ้นใจพอที่จะคิดได้เองโดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.

    ปริปุจฉา คือ การหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ได้รายละเอียดของวิปัสสนาภูมินั้น ๆ เพิ่ม ซึ่งอาจจะสงสัย หรือ ติดขัดอยู่ โดยอาจจะเปิดหนังสือค้น หรือไปสอบถามจากอาจารย์ผู้เชียวชาญชำนาญในสาขานั้น ๆ ก็ได้.

    สวนะ คือ การฟัง หรือ อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก เพื่อทำความเข้าใจหลักธรรมะโดยรวม ให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน.

    ธารณะ คือ การจำธรรมะ ตามที่ได้อุคคหะ ปริปุจฉา สวนะมาได้ เพื่อจะนำไปพิจารณาในช่วงปฏิบัติต่อไป.

    </B>
    ช่วงปฏิบัติ

    สังวระ คือ การปฏิบัติศีล.

    สมาปัตติ คือ การปฏิบัติสมาธิให้ได้ อุปจาระหรืออัปปนา.

    สัมมสนะ คือ การปฏิบัติวิปัสสนา คือ พิจารณาปัจจัตตลักษณะและสามัญ
    ลักษณะด้วยการคิดหน่วงเอาธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นมาแยกแยะหาความสัมพันธ์กันด้วยปัจจัตลักษณะ และเพ่งไตรลักษณ์ ในธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นอีก ด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัมมนิชฌานักขันติญาณ. ในที่นี้ เฉพาะสัมมสนะนี้เท่านั้นที่เป็นช่วงปฏิบัติวิปัสสนา.
    </B>

    สถานที่สำหรับเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามมหาสติปัฏฐานสูตรบรรยายไว้สามแห่ง คือ ป่า โคนต้นไม้ ที่ว่างเปล่า (สุญญาคาร เรือนว่าง) แต่พึงทราบว่า ตามกัมมัฏฐานคหณนิทเทส ในวิสุทธิมรรคนั้น เนื่อจากท่านกล่าวอุปสรรคของวิปัสสนาให้มีแค่อย่างเดียว คือ การฝึกทำฤทธิ์เดชมีการเหาะเหิรเดินอากาศเป็นต้น (ถ้าแค่ฌานนั้นไม่นับเพราะง่ายกว่าฤทธิ์มาก) ฉะนั้น วิปัสสนาจึงปฏิบัติได้ทุกที่ แต่ที่ๆเหมาะสมที่สุด และควรจะหาให้ได้ ก็คือ ป่า โคนไม้ เรือนว่าง ห่างไกลคน โล่ง ๆ นั่นเอง เพราะจะทำให้ศีลและสมาธิดีกว่ามากมายยิ่งนัก ปัญญาก็จะกล้าขึ้นได้ไวไปด้วยเช่นกัน.

    </B>
    ประโยชน์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

    สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีประโยชน์มาก คือ

    ๑. ทำคนให้ฉลาด เพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดี ละเอียดรอบคอบขึ้นมาก.

    ๒. ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม

    ๓. ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกัน กรุณาเอ็นดูสงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี

    ๔. ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกัน เว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน

    ๕. ทำคนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักปกครองตัวเอง

    ๖. ทำคนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่มานะถือตัว ไม่เย่อหยิ่งจองหอง

    ๗. ทำคนให้หันหน้าเข้าหากัน เพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง

    ๘. ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา

    ๙. ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุว่า การปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้ คือ
    </B>

    ๑. เพื่อละนิวรณ์ 5

    ๒. เพื่อละกามคุณ 5

    ๓. เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด

    ๔. เพื่อละอุปาทานขันธ์ 5

    ๕. เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท

    ๖. เพื่อละคติ 4 คือ นรกภูมิ เปตติวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ และดิรัจฉานภูมิ เมื่อได้ญาณ 16 ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติ(พระโสดาบันเกิดไม่เกิน7ชาติเป็นอย่างมาก)ส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่ 1 ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ4ได้อีกในชาติต่อๆไป ดังนั้น สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ละ อบายภูมิ 4 ได้โดยเด็ดขาด

    ๗. เพื่อละความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม

    ๘. เพื่อละสังโยชน์เบื้องบน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

    ๙. เพื่อละตะปูตรึงใจ 5 คือ สงสัยในพระพุทธ สงสัยในพระธรรม สงสัยในพระสงฆ์ สงสัยในสิกขา ความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์

    ๑๐. เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ 5 คือ ไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกาม ในรูป ความสุขในการกิน การนอน การรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย

    ๑๑. เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ (ทุกข์ทั้งหลาย) ดับทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน

    </B>
    อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามี สกทาคามี โสดาบัน อย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญ ก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ

    ชื่อว่า ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา
    ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า
    ชื่อว่า เป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอ ความไม่ประมาทนั้นคือ อยู่ไม่ปราศจากสตินั่นเอง
    ชื่อว่า ได้เป็นผู้ทรงธรรม
    ชื่อว่า ได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง
    ชื่อว่า ได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง
    ชื่อว่า ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง คือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติ คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ ภังคญาณ เป็นต้นไป จนถึง มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ


     
  20. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,863
    อริยสัจ ๔


    </B>
    อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

    </B>
    1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

    </B>
    2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

    </B>
    3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง

    </B>
    4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง

    </B>
    มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

    </B>
    อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

    </B>
    กิจในอริยสัจ 4

    กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่

    </B>
    ๑. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา

    </B>
    ๒. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ

    </B>
    ๓. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย

    </B>
    ๔. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
    กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่า </B>
    กิจญาณ

    </B>
    กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

    </B>
    สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า

    ๑. นี่คือทุกข์

    ๒. นี่คือเหตุแห่งทุกข์

    ๓. นี่คือความดับทุกข์

    ๔. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์

    </B>
    กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า

    ๑. ทุกข์ควรรู้

    ๒. เหตุแห่งทุกข์ควรละ

    ๓. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง

    ๔. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น

    ๕. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว

    ๖. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว

    ๗. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว

    ๘. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว

     

แชร์หน้านี้

Loading...