##พระกริ่งปวเรศเจ้าสัว จ่อซัว 座山.......พระกริ่งที่เป็นตำนานไปแล้ว##หมดเเล้ว

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย jummaiford, 5 พฤศจิกายน 2010.

  1. sudpob

    sudpob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +257
    ผมเห็นด้วยครับถ้าจะรวมเล่ม
     
  2. ฌาน999

    ฌาน999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +222
    คุณหมอครับ กริ่งเจ้าสัว นี้... ตอนนี้ต้องทำบุญอย่างไรครับ อ่านผ่าน ๆ ตอนแรกว่าต้องมีเงินพดด้วงด้วย ประมาณนั้น..:cool:

    ไปเจอมาละครับ...ขอบคุณครับ
    ข้อกำหนด
    1.เป็นผู้มีจิตศรัทธาเเละประสงค์อยากจะนำพระไปห้อยห้ามไปเก็บ
    2.ผู้ประสงค์จะต้องนำเงินพดด้วยสมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินธิ์มาด้วย1 เม็ดเเละต้องของเเท้
    3.นำปัจจัยมาให้ครบจำนวนก่อนหล่อพระวันที่5ธันวาคม
    มีให้ทำบุญ108องค์ ผู้ทำบุญ30000บาทมอบพระให้เป็นที่ระลึก
    1องค์ คนเเสดงความจำนงพร้อมโอนเงินก่อนวันหล่อ
    5ธันวาคมเท่านั้นเงินทุกบาทไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆเเม้เพียงบาท
    เดียวถวายสร้างเมรุให้วัดเชิงท่า ลพบุรี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มกราคม 2011
  3. open_your_eye

    open_your_eye เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2010
    โพสต์:
    912
    ค่าพลัง:
    +2,084
    เห็นด้วยครับอยากให้พี่หมอทำรวมเล่มเกี่ยวกับพระกริ่งและวัตถุมงคลรุ่นต่างๆๆที่จัดสร้าง
     
  4. sudpob

    sudpob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +257
    คุณหมอครับ พระกริ่งจ่อซัว เนื้อผสมพดด้วง กับ เนื้อผสมเหรียญรัชกาลฯ จะรุ้ได้อย่างไร

    ว่าเป็นเนื้อไหน หรือมีโค๊ด ที่แตกต่างกัน
     
  5. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    เรื่องพดด้วง นี้ปกติผมเองได้ออกเงินพดด้วงไปก่อนสุดท้ายผมเองต้องถวายเข้ากองกลางหมดพูดง่ายๆออกให้ฟรีนั่นเอง
     
  6. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ลักษณะเนื้อก็เเตกต่างกันเเล้วครับดูออกง่ายมากๆ
     
  7. akitasung

    akitasung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2011
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +14
    อยากได้พระกริ่งรุ่นนี้ แต่ท่าทางจะไม่มีบุญครับ
     
  8. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932

    ของที่ผมสร้างมีหลายอย่างบางครั้งก็เเจกฟรีก็มีหลายเเบบเเจกตามวาระต่างๆส่วนพระที่ให้ทำบุญมีทุนการสร้างที่สูงจริงๆลำพังเเค่มวลสารหากนับรวมจริงๆถ้าไปจัดซื้อหามาเเล้วละก็ใช้เงินหลายเเสนบาทเเล้วยังไม่นับค่าหล่อเเต่ละองค์ค่าพิธีเเต่ละครั้งใช้เงินเป็นเเสนๆของฟรีจริงๆไม่มีในโลก มีเเต่ค่าใช้จ่ายทั้งนั้นทุกอย่างเลย นี่คือความเป็นจริง เเล้วเราทำพระจำนวนน้อย ถึงน้อยมากเพื่อเน้นคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ เราทำของเราจริงๆไม่ได้ทำเพื่อหลอกขายพระใคร ไม่ได้ทำเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เราทำเพื่อนำเงินไปทำบุญจริงๆ หลายครั้งมีคนบ่นว่าพระเเพงจัง ต้องบอกได้เลยว่า โคตรเเพง ถามหน่อยว่าลำพังเรี่ยไรบริจาคเปล่าๆไม่มีพระของขวัญ กว่าจะสร้างเมรุเสร็จใช้เวลากี่ปี ผมอยากกราบเรียนตรงๆว่าอยากให้เมรุเสร็จเเละสำเร็จไวๆเพื่อสาธารณะประโยชน์ดังนั้นจึงต้องมีพระของขวัญออกมาหลายชุด บอกตามตรงว่าเกรงใจ คนเช่าพระเเละทำบุญเเต่ต้องบอกอีกอย่างว่า อย่าทำบุญเพราะเกรงใจผมหรือเพราะอย่างอื่น อยากให้มองว่างานบุญที่ทำ ทำเพื่อใคร เพื่อสาธารณประโยชน์อันเป็นประโยชน์ต่อคนหมู่มาก อยากให้มองตรงจุดนี้จริงๆ
     
  9. akitasung

    akitasung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2011
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +14
    อยากทราบรายละเอียด การร่วมทำบุญครับ ถ้า ยังมีเปิดให้จองครับผม(ไม่รู้ว่าช้าไปมั๊ย)
     
  10. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    พระที่ผมสร้างทุกรุ่นไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ขายตามหน้าหนังสือพระใดๆ มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเวปบอร์ดพระเครื่องหลายเวปเท่านั้นจริงๆเเละปริมาณการสร้างพระเเต่ละครั้งอยู่เพียงหลักร้อยเสียส่วนใหญ่นานๆครั้งจะสร้างถึงหลักพัน เมื่อเทียบปริมาณเเล้วพระที่สร้างจะกระจายตัวในวงเเคบๆผู้ที่รักเเละชอบเรื่องมวลสารเป็นหลักเพราะผมเองไม่เน้นความสวยงาม เน้นความเข้มขลังความเป็นของโบราณเป็นหลัก ดังนั้น ผู้ที่ชอบความสวยงามจึงหมดสิทธิ์
     
  11. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ติดต่อสอบถามได้ที่0819299151
    เงินทำบุญทุกบาท จะถวายสร้างเมรุ วัดเชิงท่า ลพบุรี

    ทำบุญพระกริ่งเจ้าสัวองค์ละ30000บาท จารึกชื่อบริวเณ เมรุที่จะจัดสร้างด้วย

    สรุปรายการพระทั้งหมดชุดรุ่นเจ้าสัวที่ให้ทำบุญ

    1พระกริ่งจ่อสัวหรือเจ้าสัว เนื้อยอดพระเกศผสม
    พดด้วงอยุธยา จำนวนการสร้าง30องค์
    ฐานทองคำเเท้ๆ ทำบุญ30000บาท หมดเเล้ว
    2พระกริ่งจ่อสัวหรือเจ้าสัว เนื้อยอดพระเกศผสม เหรียญรัชกาลที่ห้าหลังตราเเผ่นดิน จำนวนการสร้าง78องค์ ฐานทองคำเเท้ๆ ทำบุญ30000บาท

    [​IMG]


    [​IMG]


    หมายเหตุสองรายการข้างต้นเป็นพระที่ตอกโค๊ตเเละหมายเลขเรียงกันครบ108องค์
    3หลวงพ่อทวดเตารีด 32 องค์ ทำบุญ10000บาท


    4เหรียญหล่อหลวงพ่อทวด19 เหรียญ<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --> ทำบุญ10000บาท

    ถ้าต้องการบูชาวัตถุมงคล
    กรุณาโอนเข้าบัญชี ทันตแพทย์หญิง นัทธมน วัฒนอรุณวงศ์

    บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขาย่อยเซ็นทรัลรามอินทรา.
    ชื่อบัญชี นัทธมน วัฒนอรุณวงศ์
    เลขที่บัญชี 292-211102-8<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มกราคม 2011
  12. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ย้ำตอนนี้พระกริ่งเจ้าสัวยังมีให้ทำบุญอยู่ๆรีบๆกันหน่อยนะครับก่อนจะสายเกินไป อีกหน่อยจะหายากมากเเละพลิกเเผ่นดินหากันเเน่นอน
     
  13. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ถ้าอยากรู้ข้อมูลเชิงลึกถามผมโดยตรงได้เลยหรือโทรมาคุยเเลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องพระกันได้ครับ0819596937
     
  14. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    เหตุใดพระกริ่งที่สร้างเพียงสองปี มีคนเช่าหาเป็นเเสน
    เหตุใดพระกริ่งยุคใหม่เพิ่งสร้างเเท้ๆทำไมประสบการณ์คนจึงมากมายเเละประจักษ์ชัด
    เหตุใดพระกริ่งรุ่นเเรกของคนวังหน้าตัดรุ้งขาด
    เหตุใดพระกริ่งรุ่นเเรกจึงมีประสบการณ์มากมาย:cool::cool::cool::cool:
     
  15. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    ได้รู้จักกับคนวังหน้าปีเศษ ๆ แต่เป็นปีเศษ ๆ ที่มีคุณภาพแห่งงานบุญ
    ได้แก่ การสร้างพิพิธภัณฑ์วัดเชิงท่า การสร้างฐานหลวงพ่อทวดวัดแค
    การสร้างเจดีย์วัดหนองโพ การสร้างพระประธานประจำโบสถ์แบบศรีวิชัย
    วัดธาตุน้อย การสร้างหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ชุ่มวัดพลับ และล่าสุดการสร้าง
    เมรุไร้ควันวัดเชิงท่า

    นอกจากได้บุญที่เป็น วิหารทาน มหาสังฆทานแล้ว ยังได้บุญ
    แห่งการพบกัลยาณมิตรและเนื้อนาบุญที่มิอาจประมาณค่าได้
    อาทิ หลวงปู่หวานวัดสะบ้าย้อย หลวงตาม้าวัดถ้ำเมืองนะ
    พระอาจารย์วีระวัดพลับ หลวงปู่ทองอินทร์วัดกลางคลองสี่
    หลวงปู่คำบุวัดกุดชมภู ครูบาจันทร์แก้ววัดศรีสว่าง
    หลวงปู่สังข์วัดป่าอาจารย์ตื้อ พระอาจารย์เปลี่ยนวัดอรัญญวิเวก
    หลวงปู่ทองสุขวัดกิ่งแก้ว หลวงปู่โชติวัดภูเขาแก้ว
    พระอาจารย์ศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

    ยิ่งกว่านั้นยังได้ระลึกและนอบน้อมถึงพระรัตนตรัย และครูบาอาจารย์
    ผู้มีบารมีมากแต่ได้ล่วงลับไปแล้ว ได้แก่ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
    สมเด็จพระพนรันต์วัดป่าแก้วทุกพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน)
    สมเด็จพระพุฒาจารย์โต หลวงปู่ชุ่มวัดพลับผู้เป็นอาจารย์กรรมฐาน
    ของพระบารมีสูงจำนวนมาก หลวงปู่ยิ้มวัดหนองบัวผู้เป็น
    ต้นตำรับน้ำเต้ากันไฟวัดพลับ หลวงพ่อรุ่งวัดเชิงท่า หลวงพ่อสาย
    วัดพยัคฆาราม สมเด็จพระสังฆราชแพ พระศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์)
    หลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ
    หลวงปู่ทิมวัดละหารไร่ และที่ขาดไม่ได้หลวงปู่ถมวัดเชิงท่า
    ผู้เป็นพระอาจารย์ที่นับถือยิ่งของคนวังหน้า

    บุญที่เกี่ยวเนื่องกับคนวังหน้า ไม่เพียงทำให้ได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ
    และอัฐิธาตุของพระสุปฏิปัณโณ ยังทำให้ได้ระลึกถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
    ที่สำคัญในเมืองไทยทั้งที่เป็นที่รู้จักและไม่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ วังหน้า
    หลวงพ่อวัดหน้าพระเมรุ เจ้าพ่อพระกาฬ หลักเมืองนครศรีธรรมราช
    หลักเมืองไชยบุรี วัดดีหลวง วัดแคราชนุวาส รอยพระบาทเขาเทวดา
    พระธาตุพนม เป็นต้น

    และที่สำคัญ ได้เห็นความจริงใจของคนไทยกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง
    ที่ห่วงใยพี่น้องสามจังหวัดภาคใต้ด้วยการทำจริงแทนวาจา

    อะหัง วันทามิ ทูระโต
    อะหัง วันทามิ ธาตุโย
    อะหัง วันทามิ สัพพะโส

    ขออนุโมทนาในทุก ๆ บุญของคนวังหน้า
    และเป็นกำลังใจให้ด้วยยานีนี้ครับ

    ๐ ใบไม้ที่บางเบา...........ในยามเช้าที่หนาวเย็น
    น้ำค้างที่แลเห็น..............ค้างหญ้าคางามน่าชม
    ๐ มวลเก็จมณีน้อย.........ระเรียงร้อยบนแพรพรม
    มุกดาเม็ดกลมกลม...........อมก่องฟ้าอยู่ภายใน
    ๐ ตะวันพลันเยื้องย่าง......เผาน้ำค้างอันสวยใส
    พรมเพชรสลายไป...........เหลือภาพไว้ในความฝัน
    ๐ น้ำค้างแห่งวังหน้า.......มิค้างหญ้ายามกลางวัน
    แต่ค้างกลางใจฉัน...........ให้ตั้งมั่นหมั่นสร้างบุญ

    มายศ
    ๑๔ ม.ค. ๕๔
     
  16. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    อนุโมท่นาบุญเช่นกันนะครับ งานบุญเเต่ละงานสำเร็จด้วยพี่น้องทุกๆคนที่ร่วมด้วยช่วยกัน นึกถึงงานบุญย้อนหลังทีไรอิ่มใจทุกที
     
  17. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    วันนี้ไปหาสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ สมเด็จเเห่งสายกรรมฐาน(เกสาธาตุหลวงปู่สมเด็จเเปรเป็นพระธาตุ) เสกเดี่ยว พระกริ่งเจ้าสัว เเละไปหาอาจารย์ชินพร สุขสถิตย์รับมอบผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เพื่อบรรจุพระกริ่งเจ้าสัวรุ่นนี้ติดตามชมภาพนะครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  18. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ๙๐ ปีแห่งความจงรักภักดีต่อพระธรรมวินัย
    [​IMG]
    เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรมหาเถระ ป.ธ.๙) คณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร มีอายุครบ ๙๐ ปี ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
    แลนับเป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย เนื่องเพราะเป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ดำรงพระองค์อยู่ในทศพิธราชธรรม พระองค์ผู้ทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา
    เจ้าประคุณ สมเด็จฯ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับแต่มีการสถาปนาราชทินนามนี้ และเป็นราชทินนามเดียวที่สถาปนาเฉพาะพระเถระฝ่ายธรรมยุต ซึ่งต่างจากราชทินนามอื่น ที่ใช้สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะทั้งสองฝ่ายสลับกัน
    [​IMG]
    เจ้าประคุณ สมเด็จฯ เป็นพระธรรมยุติกนิกาย ที่มีวัตรปฎิบัติเรียบง่าย งดงามน่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกรรมฐาน หรือที่เรียกกันว่าฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ครั้งหนึ่งท่านเคยเดินธุดงค์รอนแรมไปบนเส้นทางเดียวกับพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เน้นการปฏิบัติภาวนา แต่กลับถือการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การศึกษาพระปริยัติธรรมหรือที่เรียกว่าฝ่ายคันถธุระ ศึกษาพระปริยัติธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค และน้อมนำหลักธรรมความรู้มาปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ นำความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม
    ขณะเดียวกันตลอดเส้นทาง ๙๐ ปี ของเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ก็มิได้ร้างลาการปฏิบัติวิปัสสนาซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งวิถีชีวิตในเพศบรรพชิต ที่มีพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐานสั่งสอนให้นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยเน้นที่การฝึกจิตสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาในลักษณะของภาวนามยปัญญา เพื่อให้เข้าถึงหลักธรรมของศาสนา ปัญญาที่เกิดการปฏิบัติภาวนาคือแพรวิเศษที่พาข้ามทะเลสังสารวัฏ ที่ถือเป็นแนวทางหลักของพระภิกษุธรรมยุติกนิกายฝ่ายกองทัพธรรมสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่ได้ถือเป็นหัวใจที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
    [​IMG]
    ความเป็น คันถธุระและวิปัสสนาธุระ เจ้าประคุณ สมเด็จฯ สามารถผสมผสาน ถือปฏิบัติได้อย่างลงตัวเหมาะสม จนมีการเรียกขานในกลุ่มชนที่ศรัทธาว่า ท่านเป็น กรรมฐานกลางกรุง
    แม้แต่กุฎีที่พำนักของท่านในปัจจุบันก็สะท้อนความเป็นกรรมฐาน เพราะเคยเป็นที่พำนักของพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล หรือ พระรัตนากรวิสุทธิ์ เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดสุรินทร์ ลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีกรูปหนึ่ง ปัจจุบันหน้ากุฎีก็ยังติดป้ายด้านหน้าไว้ว่า กุฎีหลวงปู่ดูลย์ อตุโล รวมทั้งพ่อแม่ครูบาอาจารย์กรรมฐานอื่นอีกหลายรูป
    เจ้าประคุณ สมเด็จฯ ยังได้ชื่อว่าเป็นพระมหาเถระที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากปฏิปทา จริยาวัตรของท่านกอปรด้วยเมตตาธรรมอันล้ำเลิศงดงาม จัดเป็นปาริสุทธิคุณและเป็นเนื้อนาบุญของพวกเราชาวพุทธทั้งมวล ท่านมีวัตรปฏิบัติอยู่ในศีลที่สมบูรณ์ ทั้งยังมีฐานะหนักแน่นเปรียบเสมือนป่าใหญ่ที่เป็นที่พึ่งพิงของเหล่าต้นไม้เล็กนานาชนิด ทั้งยืนต้นและล้มลุก รวมทั้งเป็นร่มเงา มีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้างให้คนเดินทางได้อาศัยร่มเงาพัก นกกาอาศัยเกาะกิ่ง
    มิพักต้องกล่าวถึงจริยวัตร คือ ความประพฤติที่เรียบร้อย งดงาม เต็มพร้อมด้วยสิกขา วินัย กฎระเบียบ การปฎิบัติของท่านก็เรียบง่ายถูกต้องทั้งในทางสมาคมสาธารณะและในที่รโหฐาน จะเป็นชุมชนใหญ่เล็กท่านทำตนเป็นกลางเสมอเหมือน
    ส่วนปฏิปทา คือ ทางดำเนินสายกลางพอเหมาะพองาม ไม่ชอบระคนด้วยกลุ่มชนมาก ชอบหลีกเร้นอยู่ในที่สงบ ชอบชีวิตธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร
    เจ้าประคุณ สมเด็จฯ ยังมีเมตตาธรรมเป็นล้ำเลิศ มีสมาธิดี เปี่ยมด้วยเมตตา ถ้าได้สนทนาธรรมกับท่านสิ่งที่เป็นคำสอนอันสำคัญสำหรับชาวเราทั่วไปก็คือ ท่านจะสอนให้หัดแผ่เมตตา ส่งความปรารถนาดีแก่คน สัตว์ ศัตรูหมู่มารสรุปได้ว่า ท่านสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยศีล จริยาวัตร ปฏิปทา คุณธรรม อันยอดเยี่ยม
    ที่สำคัญในปีที่ ๙๐ ของเจ้าประคุณ สมเด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พิธีเจริญพระพุทธมนต์และทรงสดับพระธรรมเทศนา เนื่องในโอกาสวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (เป็นการส่วนพระองค์) ณ พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครวันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ถือเป็นมงคลอย่างยิ่ง
    [​IMG]
    ๙๐ ปีของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถือเป็น ๙๐ ปี บนเส้นทางธรรมโดยแท้ และเป็น ๙๐ ปีแห่งความจงรักภักดีต่อพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ ทั้งเป็นต้นแบบให้กับพระภิกษุรุ่นหลัง ได้ก้าวตามรอยธรรมที่ท่านได้ถากถางเอาไว้
     
  19. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=750 align=center border=0><TBODY><TR><TD>สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]
    เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔
    พระอุดมญาณโมลี (มานิต ถาวโร ป.ธ.๙) รองสมเด็จพระราชาคณะ
    ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต พุทธพจนมธุรธรรมวาที ตรีปิฎกปริยัติโกศล
    วิมลศีลาจารวัตร พุทธบริษัทปสาทกร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
    สมเด็จพระราชาคณ

    ชาติกาลและชาติภูมิ

    เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถาวรเถระ (นามเดิม "กงมา" ท่านเจ้าคุณพระอุปัชฌาย์ พระมหารัชชมังคลาจารย์ นิทฺเทสกเถระ อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงษ์ รูปที่่ ๙ เปลี่ยนให้เป็น "มานิต" เมื่อครั้งอุปสมบท) เกิด ณ วันที่ ๒๙ เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๐ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๑๒๗๙ (ร.ศ. ๑๓๖) ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ในปัจจุบันนี้ ตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ)

    ชาติภูมิและวงศาคณาญาติฝ่ายโยมบิดาเป็นชาวไร่ชาวนา บ้านเหล่าขวาว ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ)
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG] ป้ายทางเข้าบ้านเหล่าขวาว อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ
    </TD><TD width="50%">[​IMG]
    บ้านหลังเก่า สถานที่เกิดของเจ้าประคุณ สมเด็จฯ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ปู่ชื่ออ้วน ย่าไม่มีใครจำชื่อได้ มีบุตรธิดา ๖ คน คือ​

    ๑. แม่นวนี ๒. พ่อส่วนี ๓. แม่เสนี ๔. พ่อมอี ๕. พ่อสีี ๖. พ่อช่วย
    ชาติภูมิและวงศาคณาญาติฝ่ายโยมมารดา เป็นชาวไร่ชาวนา บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้น อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ) ตาชื่อเฟือน ยายชื่อสีทา มีบุตรธิดา ๑๑ คน คือ

    ๑. แม่ปัด ๒. แม่กา ๓. แม่อำคา ๔. แม่ตาดำ ๕. แม่แวง ๖. พ่อแข็ง
    ๗. พ่อแงง ๘. แม่แดง ๙. แม่แตง ๑๐. แม่ติง ๑๑. พ่อยอน


    โยมบิดาชื่อ ช่วย โยมมารดาชื่อ กา สกุล ก่อบุญ เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวนพี่น้อง ๑๑ คน คือ
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="52%">๑. บุตรชายชื่อบุญหนา ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก</TD><TD width="48%">๒. นายหมาน ถึงแก่กรรม</TD></TR><TR><TD>๓. นางอ่อนสา ถึงแก่กรรม</TD><TD>๔. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)</TD></TR><TR><TD>๕. นางสุตา ถึงแก่กรรม</TD><TD>๖. นายเสาร์ ถึงแก่กรรม</TD></TR><TR><TD>๗. หญิงไม่ทราบชื่อ ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก</TD><TD>๘. กำนันเหลา ถึงแก่กรรม</TD></TR><TR><TD>๙. นางเภา ภารมาตย์ ถึงแก่กรรม</TD><TD>๑๐. นายเนาว์ ถึงแก่กรรม</TD></TR><TR><TD>๑๑. นางลุน ธีระมาตร</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>พ.ศ. ๒๔๗๐ อายุ ๑๐ ปี เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลประจำตำบลหนองแก้ว ซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลาวัดบ้านโคกเลาะ
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    วัดโคกเลาะ โรงเรียนประชาบาลประจำตำบลในอดีต
    </TD><TD width="50%">[​IMG]
    โรงเรียนบ้านโคกเลาะในปัจจุบัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ ๑ ปลายปีจวนจะสอบไล่ประจำปี แต่มีเหตุจำต้องหยุดการเรียน คือ ถูกครูใหญ่ลงโทษโดยไม่ยุติธรรม ถูกตีจนมือแตก ด้วยความผิดเพียงไม่ไปพบหลังจากให้นักเรียนไปตามตัว ที่ไม่ไปหาหรือไปพบครูใหญ่ไม่ได้นั้น เหตุเพราะ เวลานั้นพักเที่ยง ครูประจำชั้นซึ่งเป็นครูน้อยได้ใช้ให้ไปหายางมะตูม เพื่อมาติดหนังสือที่ขาด เมื่อทำธุระให้ครูน้อยเสร็จแล้ว ก็กลับไปโรงเรียนซึ่งเป็นเวลาเข้าเรียนพอดี จึงไม่สามารถไปพบครูใหญ่ตาม​

    คำสั่งที่ให้ไปพบได้เป็นเหตุให้ครูใหญ่ ไม่พอใจ จึงได้เรียกไปตีต่อหน้านักเรียนทั้งโรงเรียน ตีจนมือแตกกำไม่เข้า

    ด้วยความน้อยใจจึงตัดสินใจหนีโรงเรียน ตั้งใจว่าจะเดินทางไปผจญภัยตามยถากรรมทางภาคกลาง แต่ยังไม่ทันได้ไปในขณะนั้น เพราะขาดผู้นำทาง และเพื่อนร่วมเดินทาง
    การบรรพชา
    พ.ศ. ๒๔๗๒ บิดามารดาและญาติพี่น้องนำตัวไปบวชเป็นสามเณรมหานิกาย ที่ วัดบ้านบ่อชะเนง ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านนั้นพร้อมกับเพื่อนรุ่นพี่ชื่อชัย มีเจ้าอาวาสวัดนั้นชื่อ "ญาคูโม้" เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยที่ไม่ได้เตรียมตัว ทุกอย่างต้องบอกให้ว่าตามทั้งนั้น
    [​IMG][​IMG]
    วัดบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
    ขณะที่บวชเป็นสามเณรอยู่วัดนั้นเป็นเวลา ๑ ปี เรียนหนังสือธรรมบ้าง ต่อสวดมนต์เวลาค่ำบ้าง นอกจากนั้น ก็รดน้ำต้นหมาก ต้นมะพร้าว เป็นต้น ไม่เห็นทางที่จะก้าวหน้า แม้ในปีนั้นจะมีการเปิดสอนนักธรรมตรีที่วัดนั้น และที่บ้านใกล้เคียงก็มีสำนักเรียนมูลกัจจายน์ แต่ก็ยังไม่ศรัทธา ไม่มีอุตสาหะ หลังจากออกพรรษาแล้ว ออกเดินธุดงค์ติดตามพระธุดงค์กรรมฐานสายพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปยังอำเภอบางอำเภอในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
    [​IMG][​IMG]
    วัดบ้านเก่าบ่อ บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
    ในอดีต ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้มีครูบาอาจารย์มาพักจำพรรษาสั่งสอนญาติโยมหลายรูป
    เช่น พระอาจารย์่เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาขโม พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นต้น
    พ.ศ. ๒๔๗๓ เดินธุดงค์กรรมฐานพร้อมกับคณะโดยผ่านจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม ไปยังจังหวัดขอนแก่น จำพรรษาที่วัดป่าช้าเหล่างา ปัจจุบันนี้เรียกว่าวัดป่าวิเวกธรรม ตำบลพระลับ อำเภอเมือง ญัตติเป็นสามเณรธรรมยุตที่นี่ โดยมีอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระอุปัชฌาย์แทนพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ และเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต) ออกพรรษาแล้วเดินธุดงค์กรรมฐาน ไปยังจังหวัดชัยภูมิ กับอาจารย์กรรมฐานผู้เป็นหัวหน้าคณะชื่อท่านอุ่นเนื้อ
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    วัดป่าวิเวกธรรม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (ป่า้ช้าเหล่างา)

    </TD><TD width="50%">[​IMG]
    วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>พ.ศ. ๒๔๗๔ จำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาเป็นปีที่เริ่มสร้างวัดนั้น ซึ่งหลวงชาญนิคม ผู้ถวายที่ดินให้สร้างวัด ได้นิมนต์ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จากจังหวัดขอนแก่นมาเป็นเจ้าอาวาส และอบรมสั่งสอนประชาชนชาวนครราชสีมาที่นี่ ท่านจึงนิมนต์พระกรรมฐานที่เป็นศิษยานุศิษย์ ให้มาจำพรรษารวมกันที่วัดนั้น จึงติดตามอาจารย์อุ่นเนื้อ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นด้วย​
    พ.ศ. ๒๔๗๕ ออกพรรษาแล้วเดินทางกลับไปเยี่ยมญาติโยม ที่บ้านบ่อชะเนง จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) จากนั้นตั้งใจจะออกธุดงค์กรรมฐาน ติดตามอาจารย์และเพื่อนสามเณรที่แยกย้ายกันไปหลังจากจำพรรษาที่วัดป่าสาลวันแล้ว พอดีได้ทราบข่าวว่าเพื่อนสามเณร ๒ รูป ที่เข้าป่าออกกรรมฐานล่วงหน้าไปก่อนมรณภาพเพราะไข้ป่า จึงเกิดความคิดว่าเรายังเด็กเกินไปที่จะเข้าป่า ในวัยนี้ควรจะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จึงตัดสินใจเดินทางไปยังจังหวัดนครพนม เพื่อแสวงหาสถานที่ศึกษา เล่าเรียนพระปริยัติธรรม ได้อยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญิกาวาส (วัดโพนแก้ว) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เริ่มเรียนปริยัติธรรมที่วัดอรัญญิกาวาสเป็นเวลา ๔ ปี
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตฺตโก
    อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

    </TD><TD width="50%">[​IMG]
    ท่านเจ้าคุณ พระมหารัชชมังคลาจารย์
    อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>พ.ศ. ๒๔๗๙ ท่านอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้พบกับ ท่านเจ้าคุณ พระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ขณะท่านเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่จังหวัดระยอง ท่านอาจารย์เกิ่ง ได้กล่าวฝากสามเณรกับท่านเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ท่านก็เมตตารับ
    [​IMG]
    หนังสือฝากตัวที่ หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตฺตโก ฝากเจ้าประคุณ สมเด็จฯ กับท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์
    เมื่อฝากเรียบร้อยแล้ว ท่านอาจารย์เกิ่ง ส่งข่าวไปบอกว่าได้ฝากให้อยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ให้เดินทางลงมาได้ โดยกำชับให้ พระช่วยอธิบาย เส้นทางการเดินทางและซักซ้อมจนเข้าใจดี จึงพร้อมกับเพื่อนชื่อ สามเณรทองทิพย์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นไพบูลย์ ภายหลังได้กลับไปอยู่สกลนคร สุดท้ายได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่ พระเทพสุเมธี เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโพนเมือง อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) มรณภาพแล้ว) ออกเดินทางจากนครพนม ไปพักที่สกลนคร และเดินทางไปขึ้นรถไฟที่อุดรธานี

    ในสมัยนั้นรถไฟไม่ได้แล่นรวดเดียวถึงกรุงเทพฯ ต้องแวะพักที่ขอนแก่น และนครราชสีมา เมื่อลงรถไฟที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ก็เข้าไปถามตำรวจว่าวัดสัมพันธวงศ์ไปทางไหน เมื่อทราบแล้วก็เดินเท้ามาและแวะถามมาเรื่อย ๆ จนถึงกำแพงวัดก็จวนพลบค่ำ เมื่อเข้ามาในวัดทราบว่าท่านเจ้าอาวาสไปประชุม วันนั้นกว่าท่านจะกลับประมาณสี่ทุ่ม พระจึงจัดให้พักที่กุฎีสนธิ์ประสาท
    [​IMG]
    ท่านเจ้าคุณ พระเทพปัญญามุนี (เฉย ยโส)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
    เช้าวันรุ่งขึ้นหลังฉันเช้าแล้วได้ไปกราบท่านเจ้าอาวาส เขียนใบรับรอง ท่านก็เมตตาให้ไปอยู่ที่กุฎีนิตยเกษม โดยอยู่ในความกำกับดูแลของท่านเจ้าคุณ พระเนกขัมมมุนี (เฉย ยโส) (ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพปัญญามุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์) จากนั้นก็อยู่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์ตามที่ได้ตั้งใจไว้
    การอุปสมบท
    พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุ ๒๐ ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี ท่านเจ้าคุณ พระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูสุวรรณรังษี (สุวรรณ ชุตินฺธโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปลัด (เส็ง ทินฺนวโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระเนกขัมมมุนี) ที่พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ์ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>[​IMG]
    ท่านเจ้าคุณ พระมหารัชชมังคลาจารย์ (นิทฺเทสโก) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระรัชชมงคลมุนี
    อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ พระอุปัชฌายะ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2></TD></TR><TR><TD width="50%">
    [​IMG]

    พระครูสุวรรณรังษี (สุวรรณ ชุตินฺธโร)
    อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ พระกรรมวาจาจารย์​

    </TD><TD width="50%">[​IMG]
    พระครูปลัดเส็ง ทินฺนวโร ต่อมาดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเนกขัมมุนี
    อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ พระอนุสาวนาจารย์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>การศึกษานักธรรมและบาลี
    พ.ศ. ๒๔๗๖ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
    พ.ศ. ๒๔๗๘ สอบได้นักธรรมชั้นโท
    พ.ศ. ๒๔๘๐ สอบได้ประโยค ป.ธ.๓
    พ.ศ. ๒๔๘๑ สอบได้ประโยค ป.ธ.๔ และนักธรรมชั้นเอก
    พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบได้ประโยค ป.ธ.๕
    พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบได้ประโยค ป.ธ.๖
    พ.ศ. ๒๔๘๘ สอบได้ประโยค ป.ธ.๗
    พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบได้ประโยค ป.ธ.๘
    พ.ศ. ๒๔๙๙ สอบได้ประโยค ป.ธ.๙
    หน้าที่ภายในวัด

    พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นครูผู้ช่วยสอนบาลีไวยากรณ์
    พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์
    พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นครูสอนธรรมบทชั้นต้น
    พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นครูสอนธรรมบทชั้น ป.ธ.๓
    พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นครูสอน ป.ธ.๔ และเป็นครูสอน ป.ธ.๕-๖ ในปีต่อ ๆ มา
    จนเป็นครูใหญ่ประจำสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์ เป็นผู้อำนวยการศึกษา
    เป็นกรรมการสงฆ์ เป็นเลขานุการวัด และเลขานุการกรรมการจัดผลประโยชน์วัด
    พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับตราตั้งเป็นครูสอนปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์
    พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นรองเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์
    พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (๓ กันยายน ๒๕๑๔)
    พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นพระอุปัชฌายะวิสามัญ
    หน้าที่เกี่ยวกับการคณะและการพระศาสนา
    พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นเลขานุการเจ้าคณะธรรมยุต จังหวัดธนบุรี-นนทบุรี-ปทุมธานี
    พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง
    พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
    พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระวินัยธรจังหวัด
    พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นผู้ช่วยหัวหน้าพระธรรมธรคณะธรรมยุต
    พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นรองเจ้าคณะภาค ๘ - ๑๐ (ธรรมยุต)
    พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๐ - ๑๑ (ธรรมยุต)
    พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาค ๙ - ๑๐ - ๑๑ (ธรรมยุต)
    เป็นเจ้าคณะภาค ๑๑ (ธรรมยุต) (๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๙)
    สมณศักดิ์ที่ได้รับ
    ๕ ธันวาคม ๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอริยเมธี
    ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชกวี
    ๕ ธันวาคม ๒๕๑๔ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพปัญญามุนี
    ๕ ธันวาคม ๒๕๑๙ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมบัณฑิต
    ๕ ธันวาคม ๒๕๓๒ ได้รับการสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่
    "พระอุดมญาณโมลี สีลาจารวราภรณ์ สาทรหิตานุหิตวิมล โสภณธรรโมวาทานุสาสนี
    ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
    ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่

    "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต
    พุทธพจนมธุรธรรมวาที ตรีปิฎกปริยัติโกศล
    วิมลศีลาจารวัตร พุทธบริษัทปสาทกร
    ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระราชาคณะ"
    กิจกรรมพิเศษ
    ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นครูสอนปริยัติธรรม ที่วัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี ๑ ปี ปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ ๒ กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก ต้องหลบภัยไปพักอยู่ที่วัดดอนโคสิตาราม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และช่วยสอนปริยัติธรรมที่วัดนั้นเป็นเวลา ๑ ปี เมื่อสงครามโลกสงบลง ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นครูสอนปริยัติธรรมที่วัดอาวุธวิกสิตาราม (บางพลัด) ธนบุรี ๒ ปี
    ไปบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานแบบยุบหนอพองหนอและเรียนพระอภิธรรมกับพระอาจารย์พม่า ชื่อภัททันตะ อูวิลาสะ ที่วัดปรก ถนนตก ๒ ครั้ง ๆ ละ ๑ เดือน
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    วัดสัตตนารถปริวัตร อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

    </TD><TD width="50%">[​IMG]
    วัดดอนโคสิตาราม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

    </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]

    วัดปรก ถนนตก เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
    </TD><TD>[​IMG]
    วัดอาวุธวิกสิตาราม บางพลัด กรุงเทพมหานคร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>เป็นนักศึกษาสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยมหาวิทยาลัยพุทธศาสนารุ่นแรก เรียนอยู่ ๓ ปี​
    เป็นกรรมการนำข้อสอบธรรม และบาลีไปเปิดสอบต่างจังหวัดแทนแม่กองธรรมสนามหลวง และแม่กองบาลีสนามหลวง
    พ.ศ. ๒๕๑๕ ไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบล ที่ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๑๘ ไปนมัสการปูชนียวัตถุ และปูชนียสถานมีพระทันตธาตุเป็นต้น ที่ประเทศศรีลังกา
    พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และเป็นมาจนถึงปัจจุบัน
    พ.ศ. ๒๕๓๓ เดินทางไปตรวจการคณะสงฆ์ เยี่ยมวัดไทย และประชาชน
    ชาวไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา
    พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นกรรมการตรวจชำระพิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎก ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ
    พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรง เจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ
    พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทพระภิกษุ จำนวน ๗๐ รูป
    เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ
    พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๕
    พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นประธานดำเนินการสร้าง พระพุทธสันติสุขไพศาล อุดมมงคลจักวาฬประสิทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๕.๖ เมตร สูง ๑๐.๔๐ เมตร ประดิษฐาน ณ วัดบ้านเก่าบ่อ
    อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ จนแล้วเสร็จ จัดให้มีพิธีสมโภช เมื่อวันที่
    ๒๘-๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๙ ในการนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานพระบรมสารีริกธาตุ
    ไปบรรจุในองค์พระ
    พ.ศ. ๒๕๔๒ จัดโครงการ และเป็นพระอุปัชฌาย์บรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณร
    จำนวน ๔๑ รูป เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาส
    ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ณ วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
    พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นประธานเจ้าคณะภาค ๘-๙-๑๐-๑๑ (ธรรมยุต)เป็นประธานจัดประชุม พระสังฆาธิการ และตรวจธรรม สนามหลวงชั้นตรี ภาค ๘-๙-๑๐-๑๑ (ธรรมยุต)
    ซึ่งในแต่ละปีมีพระสังฆาธิการเข้าร่วม ประชุมประมาณ ๑,๕๐๐ รูป
    พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นประธานดำเนินการสร้างถาวรเจติยมหาวิหาร ที่วัดบ้านเก่าบ่อ
    อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ จนแล้วเสร็จ และจัดให้มีพิธีสมโภชและ
    บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ยอดองค์เจดีย ์เมื่อวันที่ ๒๘-๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๖
    พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา พุทธศาสตร์
    จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

    พ.ศ. ๒๕๔๙ จัดโครงการ และเป็นพระอุปัชฌาย์บรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณร
    จำนวน ๖๐ รูป เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาส
    ทรงครองสิิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>[​IMG]
    เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ถาวรเถระ) ถ่ายร่วมกับพระนวกภิกษุ ๖๐ รูป
    ในวันอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัคิครบ ๖๐ ปี

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2></TD></TR><TR><TD width="50%">
    [​IMG]

    เป็นพระอุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบทเฉลิมพระเีกียรติ
    วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙

    </TD><TD width="50%">[​IMG]
    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา พุทธศาสตร์


    </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>ตำแหน่งปัจจุบัน
    - เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
    - ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ (ธรรมยุต)
    - กรรมการมหาเถรสมาคม
    - คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ฯลฯ
    - กรรมการเถรสมาคมธรรมยุต
    - กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
    - ประธานคณะกรรมการศึกษาสงเคราะห์
    - ประธานคณะกรรมการพิจารณาตั้งชื่อวัด
    - กรรมการอำนวยการจัดงานปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ณ พุทธมณฑล
    - ประธานกรรมการ ฝ่ายสงฆ์ มูลนิธิสุจิณโณอนุสรณ์
    - ประธานกรรมการ ฝ่ายสงฆ์ มูลนิธิหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    - เป็นประธานที่ปรึกษา ฝ่ายสงฆ์ มูลนิธิโรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
    - เป็นประธานที่ปรึกษาคณะสงฆ์ธรรมยุตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    - ที่ปรึกษาคณะกรรมการความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา
    - ที่ปรึกษาคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา
    </TD></TR><TR><TD><TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%"></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  20. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ลูกชายชาวนาแห่งบ้านบ่อชะเนง
    [​IMG]
    ย้อนกลับไปเมื่อ ๙๐ ปีก่อน ลูกชายชาวนาแห่งตระกูล "ก่อบุญ" ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ มีชื่อว่า กงมา
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="51%">
    [​IMG]
    บริเวณบ้านเก่ากรุง หมู่บ้านเิดิมที่เกิดโรคติดต่อต้องย้ายหมู่บ้าน
    </TD><TD width="49%">
    [​IMG]
    ปัจจุบันมีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาบริเวณวัดร้างบ้านเก่ากรุง
    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    วัดบ้านเก่ากรุง บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านในยุคต่อมา แต่ก็ได้ย้ายอีก
    </TD><TD>
    [​IMG]
    วัดบ้านบ่อชะเนง ที่ตั้งบ้าน "บ้านบ่อชะเนง" ในปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE> ตระกูล "ก่อบุญ" นั้น ถือว่าเป็นตระกูลใหญ่ของอำเภออำนาจเจริญในเวลานั้น เพราะในละแวกใกล้เคียงกับบ้านบ่อชะเนง มีอีกหลายหมู่บ้าน อาทิ บ้านเหล่าขวาว ซึ่งเป็นบ้านของโยมบิดาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ บ้านโคกเลาะ บ้านโพนแพง บ้านเก่าบ่อ บ้านเก่ากรุง ล้วนแต่เป็นกลุ่มเครือญาติที่สืบเชื้อสายจากตระกูลก่อบุญทั้งสิ้น แม้จะไม่ใช่นามสกุลเดียวกันก็ตาม
    [​IMG]
    คุณยายกา ก่อบุญ โยมมารดาของท่านเจ้าประุคณ สมเด็จฯ
    ซึ่งท่านได้ให้ช่างวาดไว้เมื่อมาอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์แล้ว
    ตระกูลก่อบุญ มีอาชีพทำนา เดิมอาศัยอยู่ที่บ้านเก่ากรุง ก่อนจะย้ายมาบ้านเก่าบ่อ แต่เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสมกับการทำนา คือ ไม่อยู่ติดกับแม่น้ำ ประกอบกับเกิดโรคระบาด คือ อหิวาตกโรคมีผู้คนล้มตายจำนวนมาก จึงขยับมาปักหลักที่บ้านบ่อชะเนง ที่มีสภาพพื้นที่อุดมสมบูรณ์ในที่สุด ปัจจุบันบ้านบ่อชะเนงมีอายุมากว่า ๑๐๐ ปี และที่บ้านบ่อชะเนงนี่เอง ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ "เด็กชายกงมา ก่อบุญ"
    [​IMG]
    คุณยายลุน ขีระมาตร อายุ ๗๗ ปี น้องสาวของเจ้าประคุณ สมเด็จฯ
    คุณยายลุน ขีระมาตร อายุ ๗๗ ปี น้องสาวของเจ้าประคุณ สมเด็จฯ และเป็นลูกคนสุดท้องของนายช่วย และนางกา ก่อบุญ เล่าย้อนรำลึกถึงพี่ชายให้ฟังว่า

    ”สมเด็จฯ กับฉันอายุห่างกัน ๑๓ ปี ไม่ค่อยได้เล่นด้วยกัน ตามประสาพี่น้อง เพราะห่างกันมาก แต่เท่าที่จำได้สมเด็จฯ ชอบเที่ยวไปทุกที่ที่อยากจะไป เป็นคนชอบอิสระ ดื้อ แต่เป็นคนที่เรียนหนังสือเก่ง ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดโคกเลาะ ห่างจากบ้านไปประมาณ ๒ กิโลเมตร แล้วก็ไม่ได้เรียน เพราะไม่พอใจครูใหญ่ ที่ไม่ให้ความยุติธรรม”
    เหตุการณ์ที่ว่าเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ เวลานั้น เด็กชายกงมา อายุ ๑๐ ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลประจำตำบลหนองแก้ว ซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลาวัดบ้านโคกเลาะ เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ ๑ ปลายปีจวนจะสอบไล่ประจำปี แต่มีเหตุจำต้องหยุดการเรียน คือ ถูกครูใหญ่ลงโทษโดยไม่ยุติธรรม ถูกตีจนมือแตก ด้วยความผิดเพียงไม่ไปพบหลังจากให้นักเรียนไปตามตัว ที่ไม่ไปหา หรือไปพบครูใหญ่ไม่ได้นั้น เวลานั้นพักเที่ยง ครูประจำชั้นซึ่งเป็นครูน้อยได้ใช้ให้ไปหายางมะตูม เพื่อมาติดหนังสือที่ขาด เมื่อทำธุระให้ครูน้อยเสร็จแล้ว ก็กลับไปโรงเรียนซึ่งเป็นเวลาเข้าเรียนพอดี จึงไม่สามารถไปพบครูใหญ่ตามคำสั่งที่ให้ไปพบได้เป็นเหตุให้ครูใหญ่ไม่พอใจ จึงได้เรียกไปตีต่อหน้านักเรียนทั้งโรงเรียน ตีจนมือแตกกำไม่เข้า
    ด้วยความน้อยใจจึงตัดสินใจหนีโรงเรียน ตั้งใจว่าจะเดินทางไปผจญภัยตามยถากรรมทางภาคกลาง แต่ยังไม่ทันได้ไปในขณะนั้น เพราะขาดผู้นำทาง และเพื่อนร่วมเดินทาง
    ต่อมา พ.ศ.๒๔๗๒ บิดาและมารดาตลอดจนญาติพี่น้อง นำตัวเด็กชายกงมา ไปบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ่อชะเนง ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน
    คณยายลุน เล่าอีกว่า หลังจากนั้นก็ไม่ค่อยได้เจอกับพี่ชาย มาเจอกันอีกทีก็ต่างฝ่ายต่างเติบโต คุณย่าลุน แต่งงานมีครอบครัว และมีลูกชายลูกสาว รวม ๖ คน ขณะที่สามเณรกงมา ก็เติบโตบนเส้นทางธรรมะกระทั่งเป็น "สมเด็จพระมหาวีรวงศ์"
    “ตอนที่ท่านบวชแล้วไปอยู่วัดที่กรุงเทพฯ ท่านยังฝากเงินมาให้ทุกปี ไม่ลืมพี่ลืมน้อง วันทำบุญพ่อกับแม่ ท่านก็มาไม่เคยขาด นอกจากนั้นยังมาช่วยสร้างวัดบ่อชะเนง วัดสันติสุข (เก่าบ่อ) วันเกิดท่านยายเคยไปทุกปี แต่ระยะหลังไม่ค่อยแข็งแรง เลยไม่ได้ไป”
    [​IMG]
    คุณยายลุน และ คุณยายจำปี ขณะนั่งเล่าประวัติ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
    ขณะที่คุณยายจำปี ทานะกาศ อายุ ๘๐ ปีเศษ ซึ่งเป็นญาติของเจ้าประคุณฯ สมเด็จฯ เล่าว่า จำสมเด็จฯ ได้ เพราะในสมัยเด็กทันเห็นสมเด็จฯ ไปเรียนหนังสือและเล่นน้ำด้วยกันบ่อยตามประสาเด็กชนบทที่เที่ยวเล่นด้วยกัน กระทั่งสมเด็จฯ บวช จึงไม่ได้เจอกัน ได้แต่ส่งของไปถวาย
    “เวลาวันเกิดสมเด็จฯ ยายก็จะทำหมอน ฝากคนแถวบ้านไปถวายท่าน”
    คุณยายจำปี ยังฝากอวยพรวันเกิดอายุครบ ๙๐ ปี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ด้วยว่า “ขอให้ท่านอยู่ดีมีแรง เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลาน ผองภัยอย่าได้มี อย่ามีภยันตราย ลูกหลานจะได้พึ่งพาอาศัย”
    อีกปากคำหนึ่ง ที่เล่าย้อนรำลึกวัยเด็กของเด็กชายกงมา ในวันวาน อย่างน่าสนใจ คือ นายทองใบ พลบุบผา อายุ ๘๕ ปีเศษ อดีตผู้ใหญ่บ้านบ่อชะเนง ที่เล่าว่า สมเด็จฯ เป็นรุ่นพี่ แต่ทันเห็นหน้าเห็นหลังกัน เพราะห่างกันไม่มาก แต่ช่วงชีวิตวัยเด็กของสมเด็จฯ นั้น ว่าไปแล้วสั้นมาก คือ อายุ ๑๒ ปีท่านก็บวชเป็นสามเณรแล้ว เพราะเวลานั้นมีพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนา มาตั้งสำนักอบรมที่วัดเก่าบ่อ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านบ่อชะเนง สมเด็จฯ ก็ไปอยู่ที่นั่น
    “สมเด็จฯ บวชอายุประมาณ ๑๒ ปี หลังจากตัดสินใจไม่เรียนหนังสือ ก็ไปบวชเณรแล้วก็ไปคลุกคลีรับใช้พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ญาคูเสาร์ ญาคูมั่น (ญาคู หมายถึง พระภิกษุที่ทำหน้าที่สอนธรรมะ) พระอุปัชฌาย์ของสมเด็จฯ ก็ชื่อญาคูโม้ สามเณรรุ่นเดียวกับสมเด็จฯ ที่ได้ไปรับใช้ใกล้ชิด คือ พระธรรมฐิติญาณ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนาราม จังหวัดอุบลราชธานี และอดีตเจ้าคณะภาค ๑๐ (ธ) ที่มรณภาพไปแล้ว หลังจากนั้นสมเด็จฯ ก็ติดตามพระกรรมฐานออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ มาทราบอีกครั้งก็หลังจากที่ท่านไปอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์แล้ว”
    “หลังจากไปอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ สมเด็จฯ กลับมาที่บ้านบ่อชะเนง ๑ ครั้งช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีการเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน แต่ปรากฏว่าพ่อของสมเด็จฯ ดุว่าไปศึกษาเล่าเรียนดีอยู่แล้วมาเล่นอยู่ทำไม สมเด็จฯ ก็เลยกลับกรุงเทพฯ ไม่มาอีกเป็นเวลานาน ทราบแต่ข่าวคราว และรู้ว่าเรียนเก่งจนได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค”
    อดีตผู้ใหญ่บ้านบ่อชะเนง ยังเล่าเกร็ดที่พอสะท้อนให้เห็นถึงอุปนิสัยของสมเด็จฯ ได้ว่า ครั้งหนึ่ง กำนันเหลา ก่อบุญ ซึ่งเป็นน้องชายของสมเด็จฯ อาศัยอยู่ที่อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เคยเดินทางไปหาสมเด็จฯ ที่วัดสัมพันธวงศ์ เพื่อขอเงิน แต่สมเด็จฯ บอกว่า ไม่มีเงิน เพราะมาบวชเพื่อเรียนหนังสือ ไม่ได้มาหาเงิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจังในเส้นทางธรรมของสมเด็จฯ
    “ถ้าถามว่าบุคลิกของสมเด็จฯ เป็นอย่างไร ท่านก็เป็นคนดุ เลือดร้อน แต่ในใจเต็มไปด้วยความปรารถนาดี คนจากบ้านบ่อชะเนงและละแวกใกล้เคียงไปหาไปอาศัยกินข้าวก้นบาตร แล้วไม่ทำงาน ท่านก็ไล่ให้ไปทำงาน ไม่ให้อยู่วัดเฉยๆ แต่อัธยาศัยใจคอท่านดีมากต่อที่บ้านเกิดเมืองนอน ต่อญาติโยม เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง สมองดี ในสมัยนั้นหาพระที่เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยคยากมากในจังหวัดอุบลราชธานี ไม่มีเลย ที่สำคัญท่านเป็นพระธรรมยุตด้วย พราะส่วนใหญ่พระธรรมยุต จะเน้นไปในทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน”
    นี่คือจุดเริ่มต้นเส้นทางของลูกชายชาวนาที่ชื่อกงมา ก่อบุญ ที่ยังมีอนาคตอีกยาวไกล
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%"> </TD><TD width="50%"> </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...