พระพุทธเจ้าเป็นคนใน "ตระกูลไท"

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 24 กุมภาพันธ์ 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. siwvanat2012

    siwvanat2012 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +1
    เรื่องแบบนี้ไม่ควรเขียนมาโดยไม่มีหลักฐานที่แท้จริงนะครับ

    ควรหาข้อมูลที่ถูกต้องมาให้คนอ่านอย่างถูกต้องนะครับ เป็นบทความที่คนบางคนสันนิษฐานขึ้นมาเท่านั้นแหละครับ ควรใช้วิจารณญาณในการอ่านบทความนี้ด้วยนะครับ
    หากผมเขียนตอบกระทู้นี้ที่ทำให้คนที่อ่านที่มีความคิดขัดแย้งกับผม ผมขอโทษด้วยนะครับ ผมไม่ได้มีเจตนาที่ดูถูกความคิดของคนอื่นนะครับ

    Siwvanat_2012@hotmail.co.th
    กมฺมุนา วตฺตตีโลโก....สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
     
  2. Violent Daughter

    Violent Daughter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +305
    มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
     
  3. prakobna

    prakobna Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +59
    ก็ต้องลองสืบค้นหาบ้านเมืองที่เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะดูว่าชาวเมืองนั้นมีลักษณะผิวพรรณเป็นเช่นใด ประเทศอินเดียก่อนนี้ใหญ่โตกว่านี้มากนัก ย่อมมีชนเผ่าต่างๆมากมาย และอีกอย่างหนึ่งลองสืบค้นจากบ้านเมืองของชนเผ่าแถวนั้น ที่นับถือพุทธศาสนาติดต่อมาจากสมัยพุทธกาลว่าเขามีจินตนาการเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอย่างไร หรือจากภาพเขียน ภาพแกะสลัก พระพุทธรูปที่ยังมีอยู่เป็นต้น
     
  4. naiman3000

    naiman3000 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2008
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +106
    คงไม่ใช่แน่ เฟื่อนช่อะไรคิด
     
  5. สีหจักร

    สีหจักร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +6

    [FONT=Tahoma,]"เหน่อสุพรรณ" สำเนียงหลวง ยุคอยุธยา

    คอลัมน์ สยามประเทศไทย

    โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ


    [/FONT][FONT=Tahoma,]มิวเซียมท้องถิ่นที่จัดแสดงชั่วคราวอยู่หน้า วิหารหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี มีข้อความที่ผมเขียนสรุปเรื่อง "เหน่อ" ว่าเป็นสำเนียงหลวง ยุคกรุงศรีอยุธยา แล้วมีคำอธิบายสั้นๆ กะทัดรัดว่า

    ยุคกรุงศรีอยุธยา ประชากรทั้งชนชั้นสูงและชนชั้นสามัญในตระกูลไทยลาว ต่างมีภาษาพูดในชีวิตประจำวันด้วย "สำเนียงหลวง" ที่ปัจจุบันคนทั่วไปเรียก "เหน่อ" แบบสุพรรณบุรี

    สำเนียง "เหน่อ" แบบกรุงศรีอยุธยา ยังเหลือเค้าในเจรจาโขนจนทุกวันนี้

    แต่ในสูจิบัตรแจกเล่มเล็กๆ มีอธิบายเพิ่มเติมถึงภาษาพูดของคนยุคกรุงศรีอยุธยา จะคัดมาให้อ่านดังนี้

    ภาษาพูดแบ่งเป็น 2 ระดับ คือภาษาชาวบ้านกับภาษาราชสำนัก

    ภาษา ชาวบ้าน เป็นภาษาของไพร่ที่ใช้สื่อสารกันเองที่พูดภาษาเดียวกัน เป็นภาษาที่เรียกกันว่า มีคำต่างชาติน้อยหรืออาจไม่มีเลย จะมีก็แค่คำมอญ คำเขมรที่ใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งยังไม่มากนัก เช่น จมูก กะปิ ฯลฯ คำส่วนมากน่าจะใกล้กับ "ลาว" (ในปัจจุบัน) <table align="right" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"><tbody><tr bgcolor="#400040"><td>[​IMG]
    คน กับเม้าท์ ซีดีเพลงชุดล่าสุด ของ แอ๊ด คาราบาว ว่าด้วย 2475 back for the future, go to democracy มี "ภาษาพูด" ของแอ๊ดบรรยายเพลงด้วยสำเนียงที่มีกลิ่นอาย "เหน่อ" สุพรรณ ใครอยากฟัง "สำเนียงหลวง" ยุคกรุงศรีอยุธยาว่าลีลาอย่างไร ให้เปิดซีดีแผ่นนี้ แล้วจินตนาการจากเสียง "เหน่อ" น้อยๆ ของแอ๊ด ก็จะได้ใกล้เคียงยุคอยุธยา</td></tr></tbody></table>

    แต่ ภาษาพูดย่อมมีหลายสำเนียง ขึ้นอยู่กับกลุ่มชนหรือชาติภาษานั้นๆ มีตัวอย่างอยู่ในบันทึกจีนของหม่าฮวนยุคต้นอยุธยาบอกว่า "ภาษาของประเทศนี้อยู่ข้างคล้ายคลึงกับภาษาถิ่นบ้านนอกที่พูดจากันใน กวางตุ้ง" ที่พาดพิงถึงกวางตุ้งก็เพราะกลุ่มชนแถบกวางตุ้งกับกวางสีทางตอนใต้ของจีน ส่วนมากพูดตระกูลภาษาไทย คนเหล่านี้เคลื่อนย้ายมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในอยุธยาและแถบชายทะเล เพราะมาทางทะเลพูดสำเนียงอย่าง "ลาว" กับ "ปักษ์ใต้"

    สำเนียงพูดของ คนส่วนใหญ่ในยุคอยุธยาน่าจะมีหางเสียงลากยาวกว่าปัจจุบัน และควรจะเป็นสำเนียงอย่างที่ทุกวันนี้เรียกว่ "เหน่อ" อย่างสำเนียงสุพรรณบุรี-เพชรบุรี มีหลักฐานอยู่ในบทละครนอกสมัยอยุธยาที่เขียนลงในสมุดข่อย ลงวรรณยุกต์แตกต่างจากปัจจุบันหลายคำ ถ้าออกเสียงอย่างที่ลงวรรณยุกต์ไว้จะใกล้เคียงกับสำเนียง "เหน่อ"

    หลัก ฐานอีกอย่างหนึ่งคือ ลีลาเจรจาโขน เพราะโขนเป็นการละเล่นศักดิ์สิทธิ์ มีการเปลี่ยนแปลงน้อย เพราะต้องรักษา "ขนบ" ของโขนยุคอยุธยาอย่างแข็งแรง รวมทั้งเจรจาโขนก็ต้องรักษาลีลาสำเนียงดั้งเดิมไว้จนถึงทุกวันนี้

    ถ้า เทียบกับลีลาเจรจาโขนกับสำเนียง "เหน่อ" แล้ว จะได้ยินเป็นสำเนียงเดียวกันไม่ผิดเพี้ยน หากลองให้ชาวบ้านนอกเมืองสุพรรณบุรีปัจจุบันลองเปล่งสำเนียงปกติในชีวิต ประจำวัน แต่ว่าตามบทเจรจาโขน ก็จะฟังเป็นสำเนียงที่คนเจรจาโขนปฏิบัติอยู่นั่นเอง

    ด้วยเหตุนี้ จึงน่าเชื่อว่าราษฎรส่วนใหญ่ของกรุงศรีอยุธยาพูดจากันด้วยสำเนียงอย่างหนึ่งที่ปัจจุบันเรียกว่า "เหน่อ"

    ภาษา ราชสำนัก เป็นภาษาชั้นสูงหรือภาษาราชการ พูดกันอยู่ในวงแคบๆ เฉพาะราชสำนักกับพวก "ผู้ดี" ที่รับราชการเท่านั้น มีคำต่างชาติเข้ามาผสมมาก โดยเฉพาะคำเขมร เช่น เสด็จ เสวย บรรทม ดำเนิน พระบาท ฯลฯ และมีภาษาบาลีกับสันสฤตด้วย ภาษาอย่างนี้เองที่กลายเป็น "ราชาศัพท์" ในสมัยปัจจุบัน

    แม้จะมีภาษาชั้นสูงจากต่างชาติปนอยู่มาก แต่สำเนียงก็เป็นพวก "เหน่อ" อยู่ดี เพราะนั่นเป็นพื้นฐานดั้งเดิมมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ อาจเรียกว่าเป็น "สำเนียงหลวง" ก็ได้ เพราะใช้ในชีวิตประจำวันของราชสำนัก สำเนียงอย่างนี้เองเอาไปใช้เมื่อเจรจาโขน พวกชนชั้นสูงที่ดูโขนจะได้ฟังรู้เรื่อง
    [/FONT]

    [FONT=Tahoma,]หน้า 21 From: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=345100
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2011
  6. สีหจักร

    สีหจักร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +6
    “เหน่อ” หมายถึง เสียงพูดเพี้ยนจากสำเนียงที่ถือเป็นมาตรฐาน

    คมชัดลึก : วัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี จัดประกวดสุนทรพจน์ทางวัฒนธรรมด้วยสำเนียง “เหน่อ” สุพรรณบุรี เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความหลากหลายทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของ สุพรรณบุรี (คม ชัด ลึก ฉบับวันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554, หน้า 8)




    ทุกวันนี้สำเนียงมาตรฐานหรือสำเนียงหลวง คือสำเนียงบางกอกที่ใช้ในกรุงเทพฯ แล้วส่งแบบแผนทั่วประเทศไทย สำเนียงที่ต่างจากสำเนียงบางกอกต้องถือเป็น “เหน่อ” เช่น สำเนียงสุพรรณ ฯลฯ

    แต่ย้อนหลังกลับไปยุคกรุงศรีอยุธยา เมืองหลวงคือพระนครศรีอยุธยา มีท้องถิ่นแห่งหนึ่งทางด้านทิศใต้ คือ เมืองบางกอก
    สำเนียงหลวงที่คนยุคอยุธยาถือเป็นสำเนียงมาตรฐาน ล้วนมีสำเนียงอย่างทุกวันนี้เรียก “เหน่อ” แบบสุพรรณบุรี แม้พระเจ้าแผ่นดินก็ตรัสแบบ “เหน่อ”



    มีพยานหลักฐานสำคัญ 3 อย่าง คือ



    1.ตำรับจินดามณียุคอยุธยา



    2.เจรจาโขน



    3.บทละครนอกยุคอยุธยา




    ส่วนสำเนียงบางกอก (อย่างที่พูดทั่วประเทศปัจจุบัน) เป็น “บ้านนอก” หรือ “เหน่อ” ของยุคอยุธยา





    สรุปว่ายุคอยุธยา สำเนียง “เหน่อ” แบบสุพรรณบุรีเป็นสำเนียงหลวง หรือสำเนียงมาตรฐานยุคอยุธยา จะมีสำเนียงเดียวกับสำเนียงหลวงพระบางในลาว
    พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ระบุว่า โอรสขุนบรมชื่องัวอิน เคลื่อนย้ายจากหลวงพระบางมาครองอยู่อโยธยา-สุพรรณภูมิ ราวหลัง พ.ศ.1700
    นับแต่นั้นพวกลาวสองฝั่งโขงก็เคลื่อนย้ายลงมาเป็นประชากรทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา แล้วเป็นคนไทยสำเนียงเหน่อในเวลาต่อมา

    " เรือนอินทร์ หน้าพระลาน"


     
  7. patuwan

    patuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +842
    ที่พระแท่นนี่...บนยอดเขามีคุณลุงท่านหนึงที่เฝ้าแท่นปลงพระบรม ( สังขาร )...เคยคุยกัน...เขาบอกว่าเขาเองแหละ...ที่เป็นคนเมาขี่รถไปขอพระกรรมฐาน...( มีอยู่ในหนังสือที่หลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่าไว้ในหนังสือ ) แต่เขาต้องการหนังสือเล่มนั้น ผมหาไม่เจอไม่รู้เล่้มใหนเคยอ่านเหมือนกัน ใครเจอหนังสือเล่มนั้น ผ่านไปเอาไปฝากคุณลุงด้วยนะ ขอบคุณล่วงหน้า เลยส่งหนังสือฝึกมโนไปให้แทนก่อน และบนยอดเขามีเม็ดทรายคล้ายข้าวสารดำแต่ไม่รู้ใช่หรือเปล่า แต่ค่อนข้างคล้ายข้าวสาร แต่เป็นสีดำ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...