ก่อนจะเป็นพระโสดาบัน ต้องรู้จัก โคตรภูญาณก่อน?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ผู้มีสติ1, 24 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637
    โคตรภูญาณ..

    คนที่เข้าถึงโคตรภูญาณ พระท่านบอกว่า จิต กำลังใจ อยู่ระหว่างความเป็น ปุถุชน

    กับอริยะชน ก็คือโลกีย์และโลกุตตระ ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนมีลำรางเล็กๆ

    ขาข้างหนึ่งอยู่ฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น อีกข้างก็อยู่ฝั่งโลกุตตระแล้ว

    อย่างท่านที่เข้าถึงไตรสรคม เข้าถึงพระรัตนตรัย ก็มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    เป็นที่พึ่ง อามรณ์ใจก็ต่ำลงมาหน่อย น้อยกว่า ท่านที่เข้าถึงโคตตระภูญาณ

    แสดงความคิดเห็นไว้แบบนี้นะครับ เชิญท่านผู้รู้เพิ่มเติมได้ครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กุมภาพันธ์ 2011
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    แล้วจิตใจของพระโสดาบันกับปุถุชนต่างกันตรงไหน อะไรเป็นเส้นแบ่ง
    ใช่ว่ามีความสุขมากกว่ากันไหม หรืออะไรที่เห็นได้ชัดรู้ได้ด้วยตัวเอง
    แบบนั้นมีไหมครับ
     
  3. 2499

    2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,033
    อธิบายโคตรภูญาณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน






    ขอให้อธิบายโคตรภูญาณ​

    </B>​
    โครภูญาณ จิตมันอยู่ระหว่าง โลกีย์ กับ โลกุตตระ คือ ความเป็นคนกับความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเปรียบเหมือนกับ ลำรางเล็ก ๆ น่ะ คือ ขาหนึ่งยืนอยู่นี่ อีกขาหนึ่งฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น

    ทีนี้อารมณ์ของโคตรภู เราต้องรู้ว่า ขณะใด เราเข้าถึงโคตรภู ไอ้พูด ตามตำรานี่ มันพูดได้ ไม่ยากหรอก แต่ตัวเข้าถึงนี่ซี ถ้าเราเป็นฝ่ายวิชชาสามนะ มันเห็นชัด คือ เวลาที่เราถอดจิตขึ้นไป ตามปกติเราจะท่อง เที่ยวแต่เฉพาะในส่วนของโลกีย์ใช่ไหม จะเป็นเมืองมนุษย์ก็ดี อบายภูมิก็ดี เทวดา พรหมก็ดี แต่ส่วนโลกุตตระเราจะเข้าไม่ได้ ไม่สามารถจะเห็น แต่ถ้าอารมณ์ของจิตเข้าถึงโคตรภู เราจะเห็นพระนิพพานชัด

    ถ้าพูดถึงอารมณ์ อันดับแรก อารมณ์มันจะยึดตัว "ธรรมดา" คือ ใครด่า เขาด่าก็ว่าเป็นธรรมดา เกิดมาต้องมีคนเขาด่าว่า อันที่จริงก็โมโหเหมือนกันนะ แต่โมโหแล้วมันปล่อยไม่เกาะอยู่ ถ้ายังไม่ได้ อนาคามี อย่านึกว่า ไม่มีโมโห โทโส มีโกรธ เหมือนกัน โกรธเดี๋ยวเดียว แต่ไม่ไปอาฆาต ไม่ไปทำร้ายเขาแล้วมัน ก็หายไป เห็นอะไรๆ มันก็ธรรมดา ถ้าไปเจอะคน ตายมันก็วาบหวิวไปนิดหนึ่ง ประเดี๋ยวตัว "ธรรมดา" มันก็ปรากฏ

    ถ้าอารมณ์เข้มขึ้น มันก็ยัน "ธรรมดา" อยู่เสมอ แต่ก็ยังมีสะท้านอยู่บ้าง ในขณะเดียวกัน ก็มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นที่สุด ใครจะพูดเรื่องอะไร ก็ฟังได้ แต่ฉันไม่เอาด้วย ฉันจะไปนิพพาน นี่สำหรับพวกมี วิชชาสาม ส่วนพวกสุกขวิปัสสโก ก็ต้องสังเกตอารมณ์ เอาว่ายึด "ธรรมดา" และรักพระนิพพานเพียงใด ถ้ารักมากก็ชื่อว่าเข้าถึง โคตรภู ต้องสังเกตตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเราไปแกล้ง "ธรรมดา" นะ ต้อง "ธรรมดา" นะ ของมันเป็นปกติ จิตจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์จริง ๆ

    แต่ถ้าไปนิพพานไม่ได้อย่างอื่นก็ต้องการ คือ จะไปพักสวรรค์พักพรหมโลก พักเพื่อหวังนิพพาน จะทำอะไรก็ตามไม่หวังผลตอบแทนฉันหวังจะไปนิพพาน นี่คือ อารณ์โคตรภู

    ถึงโคตรภูแล้วสงสัยว่าเราจะเป็น พระโสดาบัน ก็มานั่งไล่เบี้ย สังโยชน์สาม ดูว่า สักกายทิฏฐิ เราเป็นอย่างไร เรารู้หรือเปล่าว่า ร่างกายมันจะพัง ตัวของเรา ตัวของคนอื่นน่ะ รู้หรือเปล่าว่ามันจะพัง มันจะตาย รู้ว่าจะตาย ความจริงก็มีจิตห่วงนั่นห่วงนี่บ้าง พระโสดาบันนี่ยังห่วง แต่ว่าห่วงไม่มาก ถ้ามันจะตายจริงๆก็ เอวังกิ่ม ฉันจะไปนิพพานนะ

    สังโยชน์ที่สอง วิจิกิจฉา เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า "ไม่สงสัย" นี่ไม่ใช่ว่านึกเอา นะต้องปฏิบัติด้วย ต้องแน่ใจว่า เกิดแก่เจ็บตายนี่เป็นของมีจริงใช่ไหม เชื่อเหลือเกินว่า เราเกิดมานี่ต้องแก่ ไอ้การป่วยไข้ไม่สบายนี่ มันต้องมีแน่ ถ้ามันมีขึ้นมา เราก็ไม่ตกใจ การรักษาพยาบาล ถือเป็นของ ธรรมดา เพราะถือเป็นการระงับเวทนา

    แม้พระพุทธเจ้า แม้พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็ต้องรักษา แต่ในระหว่างรักษาตัว ก็นึกว่า จะระงับได้หรือไม่ได้ จะทรงอยู่ได้ หรือไม่ได้ก็ตามใจมัน ถ้าเกิดทุกเวทนามาก รักษาพยาบาลแล้ว อาการมันไม่ลด ก็ตามใจมันซี ฉันจะทนให้แกทรมาน ประเดี๋ยวเดียว แล้วฉันก็จะไปนิพพาน อารมณ์มันตัดตรงนี้นะ

    ทีนี้มาสังโยชน์ข้อที่ 3 ศีล 5 ไม่ต้องระวังจะทรงไว้เป็นปกติ อันนี้เป็น พระโสดาบัน กับ สกิทาคามี แต่ ว่าพระโสดาบัน ก็ยังมีลูกมีหลานได้อย่างคนทั่วไป กิเลสมันไม่ได้ตกไป กามราคะไม่ได้ตกไป ยังมีความรัก ความโลภ ความโกรธ แต่ว่า ไม่เป็นภัยแก่คนอื่น โกรธน่ะโกรธ แต่ไม่ฆ่าใครจริง ทำท่าย๊องแย๊งๆไปยังงั้น ความรักก็ยังรักอยู่ แต่ว่า เวลามันจะไปจริง ๆ ก็คลายได้ ความหลงก็ยังมีอยู่ว่า เอ๊ะ นี่กูนี่หว่า ไอ้นั่นก็ของกู ไอ้นี่ก็ของกู ยังมีอยู่ แต่ว่าหลงไม่หนัก

    มาถึง สกิทาคามี ตัวนี้ซียุ่ง ถ้าคนที่เข้าถึง สกิทาคามี ไม่รู้ตัวจริงๆ ละก็นึกว่าตัวเป็น พระอนาคามี ลักษณะอาการอย่างนี้ เคยไปไล่เบี้ยคนอื่นมาแล้ว ล่อเสียทุกองค์แหละทีแรกนึก ว่า เอ๋ ข้าว่าข้าได้ อนาคามี แล้วนี่หว่า ไปๆ มาๆ ไม่ยักใช่แฮะ เพราะ ไอ้กามารมณ์นี้น่ะ ตัวอยากมันไม่มีเลย ความรักในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส หรือเรียกว่า ความต้องการในเพศตรงกันข้าม มันไม่มีอยู่เลย แต่โน่นซี อีตอนอารมณ์ ฌานสบายๆ บางทีโผล่มาแล้ว นั่นแน่! ตัว อนุสัย ตีหัวเข้าบ้านเลย
    คือโผล่เข้ามานิดหนึ่ง พอเขารู้ตัวเขา ขับมันมันก็วิ่งเปิดไป นี่ตัวอนุสัย นานๆ ก็ย่องมาเสียที จนบางท่านคิดว่า ตัวเป็นอนาคามีไปแล้ว ไม่ใช่บางท่านหรอก ฉันว่า ร้อยเปอร์เซ็นต์เทียวแหละ ถามใครมันก็อีแบบนี้ทุกคน ตอนต้นดีใจ นึกว่าอนาคามีแล้วนะ ที่ไหนได้ 2-3 เดือนพ่อย่องมาโผล่หน้าแผล็บ โผล่ไม่นานนะ นาทีสองนาทีเท่านั้น

    เขาคอยสะกิดหลัง บอกว่า ยังไม่ถึงหรอกโว้ย คือ ชักจะปรารภ ไอ้รูปสวยสดงดงาม ไอ้เสียงเพราะ อะไรนี่ มันชักจะต้องการ มีความรูสึกขึ้นมาเอง พอรู้สึกปั๊บ กำลังเขาสูงเสียแล้ว เขาตบหัวแล้วไปเลย จิตก็ตกไป พอรู้ตัวก็ต้องเร่งรัด ต้องเร่ง สักกายทิฏฐิ หากถึง โสดาบัน ได้ มันก็ยึดหัวหน้า ได้แล้วนี่ ยกพลขึ้นบกได้แล้ว โจมตีแหลก มองดูก่อนอีจุดไหนแข็งมาก ก็ยังไม่ตี ล่อหน่วยลาดตระเวนเล็กๆ ไปก่อนจะไปตีฐานทัพใหญ่ เราเห็นจะแหลกเอง

    เมื่อถึงสกิทาคามีแล้ว อนาคามีก็ไม่ยากนักหรอก ตัดกามฉันทะความรู้สึกในทางเพศหมดไปเลย หายไปเลย อันนี้ แน่นอน ไม่กำเริบ ทีนี้ไอ้ความโกรธ ความพยาบาท ความกระทบกระทั่ง มันกระทบจิต พับตกเลย คือ ไม่พอใจเหมือนกัน แต่แป๊บเดียวหายเลย ไม่ใช่ไม่รู้สึก

    พอถึง อนาคามี แล้ว ไม่ยึดหรอกเรื่อง อรหันต์ ชาตินี้ไม่ได้ เราก็ไปนิพพาน เอาตอนเป็นเทวดา น่น หมดเรื่องกัน เพราะได้อนาคามีแล้ว เขาไม่ลงมาเกิดกันอีก ไม่เป็นเทวดา เป็น พรหมแล้วอยู่นั่นบำเพ็ญ บารมีเป็นอรหันต์ไปเลย สกิทาคามี ยังลงมาอีกครั้งหนึ่ง

    โสดาบัน แบ่งเป็น 3 พวก สัตตขัตตุปรมะ โกลังโกละ กับ เอกพิชี ฉันขึ้น สัตตขัตตุปรมะ ก่อน เพราะว่า ถ้ามีบารมีอ่อนอยู่ ก็ต้องลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก 7 ชาติ แช่อยู่แค่มนุษย์นี่แหละ เปรต หรือ นรก ไม่ไป บาปจะมีอยู่เท่าไร ก็ช่างมัน ไอ้เจ้าหนี้ไม่มีทางจะได้หรอกเงินต้น จะได้ก็ได้ดอกของดอกเบี้ย เท่านั้น แค่ดอกเบี้ยก็ไม่เต็มนะ คือมันจะมารบกวน ในขณะที่มีขันธ์ 5 คือเกิดเป็นมนุษย์ ไอ้บาปเก่าๆ มันก็จะทำให้เจ็บป่วยบ้าง ของหายบ้าง ไฟไหม้บ้านบ้าง น้ำท่วมบ้านบ้าง ก็ตามเรื่องตามราวไป
    แต่มีเกณฑ์ว่า 7 ชาติเป็นอรหันต์ ถ้าหากว่า โกลังโกละ ก็เกิดอีก 3 ชาติเป็นอรหันต์ ถ้าเอกพิชีก็ 1 ชาติ

    คือ ลงมาชาตินั้น ก็เป็นอรหันต์เลย พระสกิทาคามี ก็ลงมาเหมือนกัน แต่เขาบางกว่า สะกิดปั๊บเดียว เป็นอรหันต์เลย แต่ถ้าเป็นพระอนาคามี ไม่ลงมาเกิดเป็นเทวดา หรือพรหมแล้ว บำเพ็ญบารมีไปเลย นี่ว่ากันตามแบบนะ แต่ถ้าเราจะว่ากันอีกแบบหนึ่ง ถึงความเป็นอรหันต์นี่น่ะ ถ้าเราหากินเป็น คือ ฉลาดสักนิดหนึ่ง ชาตินี้ถ้าเราตั้งใจ พอใจธรรมส่วนไหน เช่น เวลานี้เราต้องการ พุทธานุสติกรรมฐาน พุทโธ ๆ

    ใครไป บ้านไหนเมืองไหนก็ช่าง ใจฉัน พุทโธ พุทโธ ด้วยความเต็มใจมากบ้าง น้อยบ้าง ดีบ้าง ชั่วบ้าง ก็ตามเรื่องของมัน วันนี้ได้ 30 นาที พรุ่งนี้ได้ 5 นาที มะรืนนี้ได้ 3 นาที บางวันได้ชั่วโมงหนึ่งก็ตามเรื่องตามราวแต่ ว่าตั้งใจจริง ๆ ด้วยอำนาจของ พุทโธ หรือ จะใช้อะไรก็ช่าง ฉันไม่จำกัด "พุทโธ" นะ จะ สัมมาอรหัง นะมะพะทะ หรือ นะโมพุทธายะ อะไรก็ตามเถอะ ตั้งใจใน ธรรมะ หรือ ในทานบารมี ศีลบารมี จุดใด จุดหนึ่ง เป็นชีวิตจิตใจ เอาจริง ๆ นะ รักจริง ๆ ตายไป ก็นั่งพักอยู่แค่เทวดา หรือพรหม พอถึงเวลา หมดอายุขัย ก็ลงมาใหม่ แต่ก็ไม่แน่นะ เทวดา หรือพรหม ไม่แน่ว่าจะรอให้หมดอายุ พวกชอบโดดลงมาก่อนก็เยอะ คือ เห็นมีจังหวะจะบำเพ็ญได้ ก็โดดปุ๋ปลงมาทีเดียว ถ้าโดดลงมาพบพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์
    ท่านก็ย่อมรู้นิสัย คือ หมายถึงพระอรหันต์ที่มีวิชชาสามขึ้นไป หรือไม่งั้นพระพุทธเจ้า พอท่านเห็นหน้าท่าน ก็รู้ว่าอีตานี่ "พุทโธ" มาแต่ชาติก่อน ข้ารู้ยายนี่ชอบให้ทานมาตั้งแต่ชาติก่อนข้ารู้ ท่านก็ไม่เทศน์อะไรละ เทศน์ไปแกะไอ้ผลเก่านั่นแหละ อีชาตินั้นละไปเลย เป็นอรหันต์ไม่เห็นยากหากินง่ายๆ



    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99.109156/<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ว่ากันว่า ปุถุชน ผู้เข้าถึงธรรมพระท่านเปรียบเสมือนยืนบนเรือสองแคม
    มันลำบากพอสมควรในการจะละทางหนึ่งเพื่อไปอีกทางหนึ่ง แต่ด้วยเหตและปัจจัยใดใดก็ตาม
    เมื่อมองเห็นสิ่งที่พึงกระทำไม่ว่าจะด้วยภาระหน้าที่ที่ควรกระทำก่อนและหลัง
    ผู้มีปัญญาย่อมหาจังหวะเวลาและโอกาสที่เหมาะแก่การปลีกวิเวกอย่างเหมาะสมและลงตัวได้ในที่สุด

    อนุโมทนาครับ
     
  5. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    ส่วนเก้ากระผม ถึงไตรสรณคม มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง

    นิพพานนะปัจจะโยโหตุ...[​IMG][​IMG][​IMG]
     
  6. YOMI_NK

    YOMI_NK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +91
    โคตรภูญาณ นี่ข้ามทะเลหลวงไปรึยังคับ....จำไม่ได้อะ
     
  7. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452

    คนนี้ เขาเป็นใครนิ พูดเหมือนคนปัญญาอ่อนเลย

    ฟันธงครับ..
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    โคตรภู คือ ความดับไป
    ญาณ คือ รู้

    โคตรภูญาณ คือ ญาณที่รู้ถึงความดับไปทั้งหมด คือ ดับสมมติทั้งหมด
    ลักษณะอาการ คือ เหมือนกับเห็นนิพพานชั่วแวบ เกิดเป็น ปัญญาขึ้นทันทีว่า ดับไปหมด เป็นอย่างไร ละสมมติเป็นอย่างไร ปรมัตถ์เป็นอย่างไร
    ธรรมดา อาการของผู้ได้โคตรภูญาณ ย่อมได้ผลพลอยได้คือ วิปัสสนูกิเลสห้อยท้ายมาด้วย เพราะว่า ปัญญามันเกิดนี่ มันก็นึกว่า นี่แหละ บรรลุ แต่จริงๆ คนที่มีบารมีมา บางครั้งมันก็ต่อยอดด้วยกำลังสติ ไม่หลง แล้วแทงตลอดไปจนถึงมรรคญาณก็มี เลยเรียกว่า อาการเห็นแจ้ง โคตรภู นั้นคือ การบรรลุ พระโสดาบันไปในตัว

    แต่สำหรับคนที่ประมาท ก็ไม่ก้าวต่อไป กลายเป็นว่า ยืนเก้ๆกังๆ อยู่จะก้าวต่อไปอริยมรรค ก็ไม่ก้าว เพราะตนเองประมาท จะก้าวกลับไปสู่แบบปุถุชนทั่วไป ก็ไม่ใช่ เพราะตนเองเห็น ปรมัตถ์ธรรมแล้ว ก็เหนือกว่าคนทั่วไป
    มันก็เลย ต้องยืนเก้ๆ กังๆ อยู่

    ทีนี้ จะได้โคตรภูญาณ ตอนไหน ตอบว่า ตอนรวมสมาธิ ด้วยปัญญาตามไป สติตามไป เรียกว่า ดำเนินตามวิถีอริยมรรคนั้นแหละ แต่เป็น รอบเล็ก รอบเร็ว สติความเพียร และ สมาธิ วิตก วิจารณ์ รู้แล้วละ รู้แล้วละ จนหยุดกึ๊ก ดับสมมติที่เคยตามมาทั้งสิ้น พร้อมปัญญาเกิดตามมาด้วยนั้นแหละ เรียกว่า โคตรภูญาณเกิดตรงนั้น

    จากนั้น จะเข้าใจ สมมติปรมัตถ์ไปเอง

    นี่คือโคตรภูญาณ

    ใครได้ตรงนี้แล้ว อย่านอนใจ ให้วิปัสสนา เจริญสติต่อ อย่าไปคิดว่า เจริญสติ เจริญความเพียร เป็นการสร้างสมมติ
    เพราะธรรมดา คนที่ได้โคตรภูญาณ มักจะหลงตรงนี้ คือ นึกว่า การทำกุศลกรรมใดๆ เป็นการสร้างภาระให้จิต เป็นการกลับไปสู่สมมติ ซึ่งเป็นทัสนะของวิปัสสนูกิเลส นี่จำเอาไว้ นั้นแหละ จึงเกิดทัสนะแบบเซ็นขึ้นมา
    อย่าไปติดกับตรงนั้น
    ให้ทำความเพียรต่อไป ด้วยการลดกิเลส เจริญสติ ให้เห็นว่า กิเลสยังมี จะเกิดวิปัสสนาญาณใหม่อีกรอบ คราวนี้แหละ จะแจ่มชัดกว่าเดิมเยอะ เรียกว่า ทำอริยมรรค อริยผลให้แจ้ง คราวนี้ จะค่อยๆ แจ้งขึ้นไปตามลำดับ

    ที่พูดนี้ ไม่มีใครบอกแบบนี้แล้วนะ ไม่ผิดเพี้ยน
     
  9. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    ฆราวาสก็มีหวังได้ลิ้มรสนิพพาน

    ปัญหา เท่าที่ได้ฟังมานั้น การที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน รู้สึกว่าเป็นกิจที่ทำได้ยากมาก จะต้องสละโลกออกบวช ไปอยู่ในป่าบำเพ็ญศีลสมาธิปัญญาอย่างเคร่งครัด ซึ่งน้อยคนจะกระทำได้ สำหรับฆราวาสที่ยังต้องอยู่ครองเรือนมีหน้าที่ในการเลี้ยงครอบครัว จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะมีโอกาสได้ลิ้มรสแห่งนิพพานสุขบ้าง ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....สาวกของพระอริยเจ้าในศาสนานี้ย่อมพิจารณาเห็นว่า
    เราปรารถนาชีวิตไม่คิดอยากตาย ปรารถนาแต่ความสุขสบายเกลียดหน่ายต่อความทุกข์ บุคคลผู้ใดจะพึงปลงเราเสียจากชีวิต ข้อนั้นจะไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แล ถ้าเราจะพึงปลงผู้อื่นเสียจากชีวิต ถึงข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้นั้น ธรรมอันใดที่ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราธรรมอันนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของคนอื่น....... พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วตนก็เว้นเสียจากปาณาติบาต แลชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากปาณาติบาต และกล่าวพรรณนาคุณของการเว้นจากปาณาติบาต......
    “บุคคลใดจะพึงถือเอาสิ่งของที่เราไม่ให้ซึ่งนับว่าเป็นขโมย ข้อนั้นก็ไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แล เราจะถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ให้ ถึงขอนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น.... พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากอทินนาทานและชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากอทินนาทาน และกล่าวพรรณนาคุณของการเว้นจากการอทินนาทาน...
    “บุคคลใดจะประพฤติละเมิดในภรยาของเรา ข้อนั้นไม่ถึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะถึงประพฤติละเมิดในภรรยาของผู้อื่น ถึงข้อนั้นก็ไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น... พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากกาเมสุมิจฉาจาร และชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากกาเมสุมิจฉาจาร และพรรณนาคุณของการเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร....
    “บุคคลใดจะพึงทำลายประโยชน์ของเราเสียด้วยการพูดปด ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะพึงทำลายประโยชน์ของผู้อื่นเสียด้วยการพูดปด ถึงข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น.... พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากการพูดปด แลชักชวนผู้อื่นให้เว้นเสียจากการพูดปดแลกล่าวพรรณนาคุณของการเว้นจากการพูดปด....
    “บุคคลใดจะพึงทำให้เราแตกจากมิตรด้วยการกล่าวส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่พึงเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะพึงทำผู้อื่นให้แตกจากมิตรด้วยการกล่าวส่อเสียด ถึงข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น.... พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ตนก็เว้นเสียจากกการกล่าวส่อเสียด และชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการกล่าวส่อเสียด และกล่าวพรรณนาคุณของการเว้นจากการกล่าวส่อเสียด
    “บุคคลใดจะพึงร้องเรียกเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลเราจะพึงร้องเรียกคนอื่นด้วยคำหยาบเล่า พึงข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น.... พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วตนก็เว้นเสียจากการกล่าวว่าจากหยาบ และชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการกล่าววาจาหยาบ และกล่าวพรรณนาคุณของการเว้นจากการกล่าววาจาหยาบ....
    “บุคคลใดจะพึงร้องเรียกเราด้วยการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์ ข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเราเลย ก็แลจะพึงร้องเรียกผู้อื่นด้วยการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์ ข้อนั้นก็จะไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของผู้อื่น.... แลชักชวนผู้อื่นให้เว้นจากการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์ และพรรณนาคุณของการเว้นจากการกล่าววาจาปราศจากประโยชน์
    “สาวกของพระอริยเจ้านั้น ประกอบด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่หวั่นไหว... ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระธรรมไม่หวั่นไหว... ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระสงฆ์ ไม่หวั่นไหว... ประกอบด้วยศีล ทั้งหลายอันพระอริยเจ้ารักใคร่ไม่ให้ขาด ไม่ให้เป็นท่อน ไม่ให้ด่างพร้อย เป็นไทย (ไม่เป็นทาสแหงตัณหา) อันผู้รู้สรรเสริญอันตัณหาแลทิฐิไม่ครอบงำได้เป็นไปเพื่อสมาธิ
    “เมื่อใด สาวกของพระอริยเจ้า ประกอบด้วยสัทธรรมความชอบเหล่านี้แล้ว... ก็จะพึงพยากรณ์ได้ด้วยตนเองว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว เรามีกำเนิดเดียรัจฉานเปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงต้นกระแสแห่งพระนิพพานแล้ว ไม่มีทางที่จะตกไปในอบายทั้งสี่อย่างแน่นอน เป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า” ดังนี้
    เวฬุทวารสูตร ม. สํ. (๑๔๕๙-๑๔๖๗)
    ตบ. ๑๙ : ๔๔๓-๔๔๖ ตท. ๑๙ : ๔๐๓-๔๐๖
    ตอ. K.S. V : ๓๐๘-๓๑๑
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    สาธุนะครับ.............
     
  12. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    พ่อครัวชั้นต้น ปรุงอาหารได้เองแล้ว รู้ว่าอะไรควรทาน อะไรไม่ควรทาน อาหารชนิดใดมีพิษ ชนิดใดไม่มีพิษ รู้ว่าอาหารชนิดไหนควรจะปรุงยังไงให้อร่อยหรือพอกินได้ เรียกว่า ดับทุกข์คือความกระหาย ความหิวโหยของตนเองได้ดี ได้ถูกต้องตามสมควร

    รูป-ความคิดปรุงแต่งทั้งหลาย-อารมณ์
     
  13. itipizo

    itipizo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +86
    ขอยกตัวอย่าง สายสติปัฏฐาน (สุกขวิปัสสกะ)
    ส่วนใหญ่ช่วงหลังการปฏิบัตินั้น
    สติจะตั้งมั่นที่กายได้เป็นปกติ
    ดังนั้นงานช่วงหลังจะเป็นการดู อาการทางจิต
    (อันที่จริง ก็ดูความคิดนั่นแหละ แต่ความคิดไม่ใช่จิต
    ดูความคิด เพื่อให้เห็นจิตเท่านั้น)

    จะผู้ปฏิบัติ ที่เดินสายนี้ครองสติอยู่กับปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
    ไม่ละความเพียร จะมีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่จะเห็นความคิด
    ด้วยกำลังแห่งความรู้ตื่นนี้ มันจะเหวี่ยง สลัดความคิด
    ออกไป ด้วยกำลังมหาศาล ที่ไม่เคยทำได้มาก่อนตั้งแต่ปฏิบัติมา
    จิตจะเกิดอาการ วืด เหมือนสภาวะตกเหวสักพัก มันจะสว่าง
    แจ่มแจ้งในใจสว่าง เหมือนร่างกายนี้จะแตกดับ สรรพสิ่งทุกอย่าง
    ไม่มีนอก ไม่มีใน ว่าง สลายหายไปหมดสิ้น ทุกอย่างราบเป็นหน้ากลอง
    ไม่มีสะดุดภายในจิต (อาการนี้แป้บเดียวเท่านั้น)
    แต่ไม่รู้จะไปสรรหาภาษาบนโลกนี้บรรยายได้อย่างไร
    ท่านถึงบอกว่า ถ้าเข้าถึงแล้ว คำว่าไม่รู้นั้นไม่มี (ปัตจัตตัง)

    ความรู้ ความแจ่มแจ้ง
    ต่าง ๆ ในเรื่องธรรม จะรู้ แจ่มแจ้งไปหมด ไม่สงสัยในคุณของพระรัตนตรัย
    อีกต่อไป
    หลังสภาวะนี้หายไป จิตจะสลัด สัญญาในอตีด สลัดอารมณ์
    ได้เร็วมาก โดยเฉพาะ โทสะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่แป้บเดียวแค่รู้รส
    และจะสลัดทิ้งทันที ไม่ติดค้างในจิต
    ความสุขจะมากขึ้น ในระหว่างวันสติจะครองกาย ครองใจตลอดเวลา
    เคลื่อนไหว เหยียดกาย คู้แขน กลืนน้ำลาย ตากระพริบ
    หรือแม้แต่พลังความคิดของคนอื่นที่มากระทบเรา (อันนี้ไม่ทุกคน)
    จิตจะแบ่งภาคอารมณ์ ในการรับรู้สภาวะที่มากระทบโดยไม่ทิ้งกายทิ้งจิต
    (แต่ก็ยังมีช่วงเผลอ หลง)
    มีอารมณ์สงสัย ครุ่นคิดบ้างในธรรมระดับสูง แต่จะสลัดทิ้งได้เร็วกว่าแต่ก่อนเก่า

    ขอให้มั่นใจเถิด ถ้าถึงจริง ๆ อุทปาทิ ญาณัง อุทปาทิ ปัญญา อุทปาทิ วิชชา
    อุทปาทิ อาโลโก ฯ

    ความหยั่งรู้เกิด ปัญญาเกิด วิชชาเกิด ความสว่างไสวทั่วโลกธาตุเกิด

    หมั่นสร้างเหตุตามสายปฏิบัติของเราให้ต่อเนื่อง
    ให้เหมือนกับเราลงทะเบียนเรียนหลักสูตรสติปัฏฐาน
    ต้องเรียนทุกวัน สม่ำเสมอ แล้วทุกคนต้องจบได้
    เพราะเรามีความเป็นพุทธะอยู่ในจิตทุกคน
    เราแค่มีหน้าที่เรียนรู้ เอาของเก่าเราคืนมา


    แต่อย่าได้เข้าใจว่าพระโสดาบัน จะเป็นผู้วิเศษ แต่ท่านเป็นผู้พิเศษ
    ส่วนเรื่องอื่น ก็คนธรรมดาทั่วไป กินข้าว ขี้เหม็น เหมือนกันนั่นละ
    เพียงแต่สลัดทิ้งทุกข์ได้เร็วขึ้นมาหน่อย ...
    ....
     
  14. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    สาธุ สาธุ สาธุ

    พระโสดาบันละกิเลส 16 ภายในจิตตนเองได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มี ท่านมีกิเลส 16 ในบางครั้งตามธรรมชาติจิตรู้อารมณ์ คือรู้อารมณ์ของกิเลส 16 ที่คนภายนอกผลิตให้ ได้มาด้วยการคลุกคลีของหมู่คณะ ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่โดยเจตนาตัวท่านเอง จิตจะหยุดผลิตกิเลสพวกนี้แล้ว ตรงนี้แล ที่พระโสดายังสับสนในตนเองบางครั้ง เพราะการกำหนดรู้อารมณ์ภายใน ภายนอก ยังไม่ชัดเจนในจิตท่านฯ เอง ต่อเมื่อจิตลื้อสังขาร (ตัวปรุงแต่งอารมณ์) ได้ ดับสังขารได้ แล้วกลับมามองดู จึงจะได้เห็นเรื่องราวของตนในอดีตชัดขึ้น ประมาณนี้แล...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 เมษายน 2016
  15. kammatanclub

    kammatanclub สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +7
    ใครได้ตรงนี้แล้ว อย่านอนใจ ให้วิปัสสนา เจริญสติต่อ อย่าไปคิดว่า เจริญสติ เจริญความเพียร เป็นการสร้างสมมติ
    เพราะธรรมดา คนที่ได้โคตรภูญาณ มักจะหลงตรงนี้ คือ นึกว่า การทำกุศลกรรมใดๆ เป็นการสร้างภาระให้จิต เป็นการกลับไปสู่สมมติ ซึ่งเป็นทัสนะของวิปัสสนูกิเลส นี่จำเอาไว้ นั้นแหละ จึงเกิดทัสนะแบบเซ็นขึ้นมา
    อย่าไปติดกับตรงนั้น
    ให้ทำความเพียรต่อไป ด้วยการลดกิเลส เจริญสติ ให้เห็นว่า กิเลสยังมี จะเกิดวิปัสสนาญาณใหม่อีกรอบ คราวนี้แหละ จะแจ่มชัดกว่าเดิมเยอะ เรียกว่า ทำอริยมรรค อริยผลให้แจ้ง คราวนี้ จะค่อยๆ แจ้งขึ้นไปตามลำดับ

    ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
     
  16. kammatanclub

    kammatanclub สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +7
    หมั่นสร้างเหตุตามสายปฏิบัติของเราให้ต่อเนื่อง
    ให้เหมือนกับเราลงทะเบียนเรียนหลักสูตรสติปัฏฐาน
    ต้องเรียนทุกวัน สม่ำเสมอ แล้วทุกคนต้องจบได้
    เพราะเรามีความเป็นพุทธะอยู่ในจิตทุกคน
    เราแค่มีหน้าที่เรียนรู้ เอาของเก่าเราคืนมา
     
  17. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    โคตรภูเป็นคำใช้เรียกอาการที่จะข้ามโคตรหนึ่งๆไปสู่อีกโคตรนึง
    แม้ในอุปจารสมาธิ กับอัปปนาสมาธิ ก็มีโคตรภูระหว่างกามจิตกับฌานจิต
    อย่างไรก็มีการข้ามกันอยู่แล้วครับ เป็นธรรมชาติของภูมิจิต
    แต่เป็นข้อควรสังเกตนะครับ ว่าโลกุตตรจิตจะเกิดขึ้นกับรูปฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง
    วิปัสสนาญาณอาจเป็นกามาวจรจิตได้ แต่มรรคญาณขึ้นไปต้องเป็นอัปปนาจิตหมด
    ไม่มีพระอริยะท่านใดไม่ได้ฌาน เพราะเป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้
     
  18. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    เป็นเรื่องที่เกิดมานานมากแล้วเกือบสิบปีหรือสิบกว่าปีนี่แหละครับ ถ้าจะเล่าก็ยาวมากรายละเอียดนึกได้ไม่หมด ตอนที่ใส่ใจพิจารณาอยู่ ขณะที่จิตได้สัมผัสสิ่งที่ประเสริฐสุด ยิ่งใหญ่สุดอบอุ่นสุดและความรู้สึกเหล่านั้นประกอบด้วยมหาเมตตากรุณาสุด ตอนนั้นผมอฐิษฐานทั้งน้ำตาปิติว่าขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้รับรู้ในสิ่งดีงามทั้งหลายที่ข้าพเจ้าประสพมาขณะที่พิจารณาไปด้วย ความรู้สึกเหมือนได้รับภารกิจบางอย่างที่ไม่ทราบชัดเจน อาจเพราะด้วยกำลังสติแยกยังไม่เป็น แต่มุมมองทั้งหลายที่พิจารณาทั้งภายนอกภายในก็จบลงที่ไตรลักษณ์ สภาวะที่ได้รับจึงวางไปเรื่อยๆ หลังจากนั้นก็มองอะไรตามหลักธรรมได้ชัดเจนมากขึ้น เจอเรื่องไม่ดีอะไรต่างๆ หลบเลี่ยงมาได้เรื่อยๆ และเพราะศีล คุ้มครอง จากชีวิตที่ไม่มีทางออก ชีวิตดำเนินดีขึ้นมากเรื่อยๆและสงบรำงับมากขึ้น การปฏิบัติธรรมยังผลให้การงานและชีวิตจิตใจมั่นคงมากขึ้นจริง
    ......................................
    ......................................
    นิทานแถมท้าย

    ประมาณปีที่แล้วมีบางเวลาบางครั้งที่เดือดร้อนจากอกุศลวิบาก ตอนแรกยังทุกข์ใจอยู่ แต่เมื่อมองพิจารณาไปแล้ว จึงเห็นว่าเราทำตัวเราเองทั้งนั้น อดีตกรรมส่งผลให้เสวยวิบาก จึงถือว่าชดใช้กรรมให้เขาไป อโหสิกรรมให้เขา อโหสิกรรมให้ตัวเราเอง ยอมรับในความผิดพลาดที่ตนได้เคยกระทำ พร้อมตระหนักในคุณในโทษ และตระหนักว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแค่อดีตเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้วต้องแก้ไขที่ตนเอง พึงระวังไม่ให้เกิดขึ้นมาอีก ปัจจุบันควรทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง คือสิ่งที่ควรคิด อนาคตเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับการกระทำในขณะนี้ เลยเบาลงไปได้ ผลของอดีตใช่ว่าแก้ไขไม่ได้ แก้ไขได้ด้วยการสำนึกตนด้วยใจจริง ยอมรับความจริง พร้อมอภัยให้ตนและคู่กรณี แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น ภพภูมิจะค่อยๆปรับค่อยๆเปลี่ยนตามเหตุปัจจัยอกศลที่ประกอบ ยกตัวอย่างว่า ทะเลาะกับคู่กรณี จะเห็นได้ว่า เราและเขาผิดก็มี เขาผิดฝ่ายเดียวก็มี หรือเราผิดฝ่ายเดียวก็มี เช่นด้วยคิดพูดทำไปเบียดเบียนเขาเอง สร้างเป็นกรรมขึ้นมา จึงได้เสวยทุกข์อยู่ เมื่อมองว่าอาการเช่นนั้น มีประโยชน์ตรงไหนเป็นสุขตรงไหน คิดดูแล้วก็ไม่มี เห็นแต่ความเป็นโทษความเป็นทุกข์ เมื่อเห็นว่าเป็นโทษเพียงข้างเดียว ก็กลับมามองตนว่าเราเป็นเช่นนั้นเพื่ออะไร เพื่อทุกข์ไม่สบายใจหรือ เราชอบอะไรล่ะ เราชอบสุข เราก็ต้องเลิก ต้องละ ต้องหยุดมันซิ ภูตผีปีศาจยักษ์มารทั้งหลาย ในกาย ในจิต ควรหาทางปลดปล่อยทิ้งไป ควรกำจัดมันเสีย เมื่อเราสำนึกอโหสิกรรมให้เขาแล้ว จากที่เคยไม่พูดไม่มองหน้ากัน หรือมุ่งร้ายต่อกันด้วยโทสะ อาฆาตพยาบาท มานะทิฐิ เราก็เริ่มลดทิฐิก่อน เขาไม่ลดทิฐิ ไม่รู้เรื่องอะไรด้วย ก็ช่างเขา เราทำของเรา เราก็ได้ผลของเรา ทำเองได้เอง ทำไปเรื่อยๆเมื่อกาละเทศะอำนวยอาจมีการพูดคุยปรับความเข้าใจกับเขาเกิดขึ้นแต่การจะเป็นเช่นนี้เราต้องมีความพร้อมของเราก่อนคือไม่คิดเบียดเบียนเขาแล้วและปราถนาให้เขาเป็นสุขด้วยใจจริงถ้าทำอย่างนี้ได้ ก็ได้ผล อาจต้องใช้เวลาในการปรับสภาพจึงจะดีขึ้น แต่ถ้ามุ่งแก้ไขอดีตของสัญญาทุกข์ ปลดอดีตกรรม ก็ควรระลึกใว้เช่นนี้ วิธีลัดของพระอาจารย์หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ก็ดีเยี่ยม ท่านสร้างเป็นหลักสูตรไว้แล้ว ของพระอาจารย์ท่านอื่นก็มีมากมาย ลองศึกษาดูตามความเหมาะสม สวดมนต์และปฏิบัติกัมมัฏฐาน เจริญศีลสมาธิปัญญา แผ่เมตตาอโหสิกรรมได้ผลจริงถ้าใส่ความจริงใจและตั้งใจเข้าไปด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2011
  19. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    ก็แปลก ความรู้สึกปิติรุนแรงจริงครั้งเดียว ครั้งอื่นๆในช่วงหลังๆ ในสภาวะขณะเข้าถึงสภาวะนั้น ระยะเวลาสั้นลง เบาบางหายไปเร็วกว่าครั้งแรก ปิติน้ำตาไหลจริงแต่ไม่รุนแรงมาก บางครั้งก็ปิติไม่มาก แต่ผลเหมือนกัน สุข สงบ อิสระ เบา ว่าง โล่ง อาจเป็นเพราะยังไม่เจอความจริงในธรรมที่น่าอัศจรรย์พิสดารเช่นครั้งแรกก็เป็นได้ สงสัยอยู่ครับว่าโครตภูมีครั้งเดียว รึเปล่าครับ
     
  20. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    พูดถึงเรื่องโครตภู ลักษณะสมาธิก็เหมือนกัน หลังช่วงที่คิดว่าเป็นโครตภูนั้น ได้มีโอกาสบวชตามประเพณีของคนทำงานมนุษย์เงินเดือน หนึ่งเดือนเต็มนั้น ได้มีโอกาสทำสมถะสวอมนต์มากหน่อยค่อนข้างต่อเนื่อง เมื่อทำสมาธิจิตดิ่งลงละเอียดสุดแค่แป๊บๆซํกนาทีกว่าๆหรือไม่ถึง ละเอียดสุดได้แค่ครั้งเดียวเหมือนกัน ทำช่วงหลังๆได้ลึกกว่านั้นไม่ได้ เพราะจิต กระเพื่อมจึงเข้าสภาวะนั้นได้ยาก จึงกล่าวอยู่เสมอว่าสมาธิไม่ผ่านเพราะแยกนามออกจากกายไม่ได้ มองว่าไม่สำเร็จฌานสี่ แต่ก็สงสัยอยู่ว่า ความเป็นไปได้กรณีที่เข้าอากาสา รูป อรูปได้ คงเพราะเปลี่ยนฐานกำหนดในขณะที่ทำสมถะ
    เรื่องเล่าอีกเรื่องนึง
    ช่วงเป็นมนุษย์เงินเดือนกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด พี่ชายพาไปหา ครูอาจารย์ที่เก่งด้านเพ่งกษิณเท่าที่ทราบท่านมีวิชายกเมฆดำดูดวงชะตาและเหยียบเหล็กแดงรักษาโรคให้ชาวบ้านประมาณนั้น แต่หนังสือกองทัพธรรมที่ท่านแต่งออกมามีวิชาของท่านมากมายเกี่ยวกับกษิณ ลองอ่านดู คำไหว้ครูขอบารมีครูยาวมาก ท่านบอกว่าท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อ...วัดหนึ่ง ท่านดูดวงให้ผม ผมลองถามเพื่อยืนยันว่าตรงกันไหม ผมกำหนดจิตอยู่ในความว่างด้วยคิดว่าท่านจะมองได้ชัดเจนเพื่อจิตผมจะไม่ไปรบกวนท่าน ตอนที่ท่านดูท่านมองไม่ชัดบอกว่ามืด ไม่ชัดเจนรางๆ ท่านหลับตาหลายครั้ง จนผมลังเลสงสัยข้องใจ จิตจึงคลายจากกำหนดจิตดิ่ง แล้วก็นึกถึงคำตอบที่อยากให้เกิด แล้วท่านก็บอกในสิ่งที่ผมคิดในมโนรมย์ มาคร่าวๆ หลังจากหลับตาใหม่ท่านก็บอกมาตามนั้น แต่ก็ไม่ชัดเจนคลุมๆเคลือๆ เลยลืมๆไปแล้ว เห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ที่จะไปจำ ผ่านมานานแล้ว จะว่าไปท่านก็เก่งน่านับถือ ใช้ชีวิตสมถะอยู่กับลูกเมีย ในกระท่อมเล็กๆ รับจ้างทั่วไป ถักแหซ่อมอวนให้ชาวประมง ไปเรื่อยๆ พร้อมๆกับบรรเทาทุกข์ให้ชาวบ้าน ดูดวงชะตาหาทรัพย์หาย ค่ายกครูไม่กำหนด ผิวพรรณท่านผ่องออกแดงๆด้วยเลือดลมเลี้ยงดี เย็นสงบดี น่านับถือ ดูอายุไม่มากแต่ผมหงอกทุกเส้นเป็นเงา ตรงนี้คงจะเป็นกาใช้ความรู้จากครูอาจารย์และกำลังฌานให้เกิดประโยชน์สงเคราะห์ผู้อื่นละมัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...