ขอถามเรื่อง! ระดับความสุขครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Genial, 4 มีนาคม 2011.

  1. Genial

    Genial Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +82
    ผมเคยได้ยินมาว่า ! ความสุข มี 4 ระดับ

    1. ความสุขทางกามารมณ์ ระดับต่ำสุด

    2. ความสุขทางปัญญา

    3. ความสุขทางสมาธิ

    4. ความสุขทางนิพพาน



    ที่ผมอยากจะถามคือ ทำไมผมรู้สึกว่า ความสุขทาง กามารมณ์ มันช่างหอมหวานเหลือเกินครับ ผมเองก็ไม่ค่อยได้ปฏิบัติธรรมหรอก ยังเป็นนักศึกษาอยู่ ผมก็เคยมีความสุขทางปัญญา และ ทางสมาธิ มาแล้วเหมือนกันครับ แต่ทำไมผมรู้สึกว่ามันเทียบกับความสุข ระดับต่ำสุดไม่ได้เลย หรือเป็นเพราะผมยังไม่เข้าถึงความสุขนั้นอย่างแท้จริง หรือไม่ก็จิตใจไม่ละเอียดพอที่จะมีความสุขระดับนั้นได้อย่างซาบซึ้ง (เหมือนเคยได้ยินมา) ซึ่งผมว่าหลายคนคงเป็นแบบนี้เหมือนกันนะ ประมาณว่า ทำสมาธิ ก็สุขอยู่หรอก แต่มันสู้ กามารมณ์ ทาง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่ได้เลยซักนิด ไปทำอย่างอื่น มีความสุขกว่าเยอะ (ก็ผมเองแหละ -_-a)


    คำถามคือ ?


    1. ทำไมผมจึงรู้สึกอย่างนั้น

    2. ควรทำอย่างไรจึงจะรับรู้ความสุขได้อย่างลึกซึ้ง ในระดับที่สูงกว่า กามารมณ์ ได้ครับ


    ปล. คำถามอาจ กวนๆ งงๆ หน่อย รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะทีครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูง และ เป็นประโยชน์จนถึงขั้นเปลี่ยนชีวิตวัยรุ่นคนหนึ่งที่ไม่ได้รู้เรื่องธรรมะอะไรสักเท่าไหร่เลย -‘•’-
     
  2. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    กามคุณ 5 มี 1
    รูปฌาณ มี 4
    อรูปฌาณ มี 4
    นิพพาน มี 1

    ที่ผมอยากจะถามคือ ทำไมผมรู้สึกว่า ความสุขทาง กามารมณ์ มันช่างหอมหวานเหลือเกินครับ...ตอบ เป็นสุขชั้นสูงสุด ที่ปุถุชนสามารถรับรู้ในรสได้ ผมเองก็ไม่ค่อยได้ปฏิบัติธรรมหรอก ยังเป็นนักศึกษาอยู่ ผมก็เคยมีความสุขทางปัญญา และ ทางสมาธิ มาแล้วเหมือนกันครับ แต่ทำไมผมรู้สึกว่ามันเทียบกับความสุข ระดับต่ำสุดไม่ได้เลย ตอบหรือเป็นเพราะผมยังไม่เข้าถึงความสุขนั้นอย่างแท้จริง หรือไม่ก็จิตใจไม่ละเอียดพอที่จะมีความสุขระดับนั้นได้อย่างซาบซึ้ง (เหมือนเคยได้ยินมา) ตอบ ตรงนี้ควรตัดคำในวงเล็บออก ที่เคยได้ยินมา ไม่ทำให้เข้าถึงรสจริงๆ ของคำตอบได้ ต้องเข้ามาทำรสที่สงสัยให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง ซึ่งผมว่าหลายคนคงเป็นแบบนี้เหมือนกันนะ ตอบ ใช่ กามคุณมีสูงสุดอยู่ที่น้ำ และจุดที่กามคุณถึงความสำเร็จ (เสียว) รสนั้นเทียบได้กับรสของฌาณสี่ แต่ในระดับทางร่างกาย ที่ให้ผลคนละแบบ กับฌาณสี่ในทางจิตใจ ประมาณว่า ทำสมาธิ ก็สุขอยู่หรอก แต่มันสู้ กามารมณ์ ทาง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่ได้เลยซักนิด ไปทำอย่างอื่น มีความสุขกว่าเยอะ ตอบ เป็นเรื่องธรรมดา ในเมื่อเคยเจอแค่รสเดียว จริงไม่มีรสอีกฝั่งมาเปรียบเทียบในใจเราอย่างยุติธรรม ประมาณว่า ความสุขในกาม เป็นความสุขทางร่างกาย ส่วนความสุขที่เหลืออยู่ทั้งหมด จะเห็นได้ด้วยใจของผู้ปฏิบัติเข้าถึงได้เท่านั้น

    1. ทำไมผมจึงรู้สึกอย่างนั้น คำตอบข้างบน

    2. ควรทำอย่างไรจึงจะรับรู้ความสุขได้อย่างลึกซึ้ง ในระดับที่สูงกว่า กามารมณ์ ได้ครับ ตอบ นำตัวเองเข้ามาชิมรส ด้วยการหาวิธี เข้าให้ถึงรสที่สงสัยอยู่นั้นด้วยใจตนเอง (ฌาณสี่ทางใจ)จ้า..
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]


    การบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนา




    (การเลือกนำข้อความตอนนี้มาแปล ก็เพื่อชี้แจงหลักวิชาทางพระพุทธศาสนา ที่แสดงว่าความสุขมีเป็นขั้น ๆ ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูงสุด ถึง ๑๐ ขั้น คือความสุขในกาม ความสุขในรูปฌาน ๔ ความสุขในอรูปฌาน ๔ และความสุขในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ในการแปลจะแปลอย่างเต็มสำนวนเพื่อให้เห็นลีลาของอารมณ์ฌานทั้งที่เป็นรูปฌานและอรูปฌานอยางสมบูรณ์).
    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? กามคุณ ๕ คือรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องได้) ที่พึงรู้แจ้งทางหู, จมูก, ลิ้น และกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ดูก่อนอานนท์ นี้แล คือกามคุณ ๕. ดูก่อนอานนท์ ความสุขกายสุขใจอันใด ที่เกิดขึ้นเพระอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ ความสุขกายสุขใจนี้ เรียกว่ากามสุข. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใยอันมีอยู่นั้น นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น."
    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (กามสุข) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าสู่ฌานที่ ๑ อันมีความตรึก (วิตก) ความตรอง (วิจาร) มีความอิ่มใจและความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่ความสงัดอยู่. นี้แล อานนท์ คือ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น (กามสุข). ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นัน (สุขในฌานที่ ๑) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่า ความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น."
    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสงบความตรึก ความตรอง (วิตก วิจาร) ได้ จึงเข้าฌานที่ ๒ อันมีความผ่องใสภายใน มีภาวะแห่งจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่งเกิดขึ้น ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง มีความอิ่มใจ และความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่สมาธิอยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๒) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น."
    <CENTER></CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะคลายความอิ่มใจจึงเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเสวยความสุขด้วยนามกาย เข้าสู่ฌานที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุ ให้พระอริยเจ้ากล่าวถึงผู้เข้าฌานนี้ว่าเป็นผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุข. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๓) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนพระอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น."



    [​IMG]
    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขละทุกข์ได้ (ละสุขกายทุกข์กายได้) เพราะสุขใจ (โสมนัส) ทุกข์ใจ (โทมนัส) ดับไปในกาลก่อน<SUP></SUP> จึงเข้าถึงฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีความบริสุทธิ์แห่งสติ. อันเกิดขึ้นเพราะอุเบกขา (ความวางเฉย). นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น. คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๔) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้น."
    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินนัยนี้ เพราะก้าวล่วงความกำหนดหมายในรูป (รูปสัญญา) ด้วยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งความกำหนดหมาย ความกระทบกระทั่ง (ปฏิฆสัญญา ได้แก่ความกำหนดหมายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เมื่ออารมณ์ทั้งห้านี้ ผ่านมาทางตา หู เป็นต้น) เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งสัญญาต่าง ๆ (นานัตตสัญญา-หมายความได้ ๒ อย่าง คือสัญญาที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ และสัญญาต่าง ๆ ๔๔ ชนิด-ดูคำอธิบายในวิสุทธิมรรค อารุปปนิทเทส) ทำไว้ในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ (มีอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในเนที่ ๔) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น."
    <CENTER></CENTER>


    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "วิญญาณหาที่สุดมิได้" เข้าสู่อรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ (มีวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่ววว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนันเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น.

    [​IMG]


    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "อะไร ๆ ก็ไม่มี" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ (มีความกำหนดหมายว่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข ผในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น.
    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปเนชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วเข้าสู่อรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ<SUP></SUP> (มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌาน ชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.
    <CENTER>๑๐</CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา- เป็นสมาบัติสูงสุดที่พระอนาคามีกับพระอรหันต์เท่านั้นทำให้เกิดได้) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.





    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>สรุปความ</CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ มีฐานะอยู่ที่นักบวชเจ้าลัทธิอื่นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธในความสุข ข้อนั้นคืออะไรกัน ? ข้อนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรกัน ? (คือสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับความจำ ดับความรู้สึก แล้วจะว่ามีความสุขได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีความรู้สึก) ดูก่อนอานนท์ นักบวชเจ้าลัทธิอื่น ผู้กล่าวอย่างนี้พึงเป็นผู้อันท่านชี้แจง "ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคย่อมไม่ทรงบัญญัติในความสุขหมายเอาเฉพาะสุขเวทนาอย่างเดียว ในที่ใด ๆ ย่อมหาความสุขได้ ในฐานะใด ๆ มีความสุข พระผู้มีพระภาคย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ในความสุข."<SUP></SUP>


    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๗๘


    ๑. คำว่า ในกาลก่อน คือสุขทุกข์ดับไปตั้งแต่ยังอยู่ในขณะแห่งอุปจาระเกือบจะถึงฌานที่ ๔ คำว่า อุปจาระ แปลว่า ใกล้เคียง หรือเฉียด ก็ได้
    ๒. เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔ วิธีเจริญอรูปฌานข้อนี้ คือออกจากอรูปเนที่ ๓ (อากิญจัญญายตนะ) แล้วนึกในใจว่า สัญญา (ความจำได้หมายรู้) เป็นเหตุให้ยุ่งยาก นึกตำหนิสัญญานั้นจนจิตสงบ ก็เข้าสู่อรูปฌานนี้ได้ คำว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ หมายความว่า สัญญามีอยู่ แต่ทำหน้าที่ไม่ได้ มีอย่างละเอียดมาก
    ๓. จากพระพุทธภาษิตนี้ แสดงว่า ความสุขมีเป็นชั้น ๆ พระพุทธศาสนาแสดงความสุขหมดทุกชั้นตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง แต่ก็อาจย่อความได้ว่าเป็นสุขชั้นเวทนา คือรู้สึกได้เสวยได้ (Sensational Happiness) อย่างหนึ่ง ความสุขที่อยู่เหนือเวทนา ไม่ต้องรู้สึกไม่ต้องเสวย (Happiness Beyond Sensation) อีกอย่างหนึ่ง <!-- google_ad_section_end -->
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ข้อความทั้งหมดยกอ้างอิงจาก พระไตรปิฏกฉบับ สำหรับประชาชาชน........ของมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์......หน้าที่ 125....ข้อมูลทั้งหมดที่บรรยาย(ในช่วงของพระสูตร) เป็นของท่าน สุชีพ ปุญญานุภาพ......

    <O:p</O:p
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    พูดตามตรงนะครับ....ในช่วงวัยของน้องนั้น.....ยังอยู่ในช่วงที่อยากรู้อยากลอง....ชอบของสวย ของงาม มันเป็นเรื่องธรรมดานะ....คืออะไร คือมันไม่แปลกหลอกครับ.....

    ถ้าน้องอยากทราบความสุขที่สูงขึ้นไปนั้น...น้องต้องปฏิบัติครับ.....การแนะนำให้คนปฏิบัตินั้นต้องบอกนะว่าเป็นอะไรที่ยากนะ....และถ้าใครก็ตามที่ได้ปฏิบัติแล้วได้พบกับความสุขนั้น...จะทราบได้เลยว่าความสุขทางโลกนั้นมันเทียบกันไม่ได้ราวฟ้ากับเหว....เป็นความสุขที่ปราศจากอามิสที่ต้องมาให้สมใจแล้วถึงจะสุข....ตามความสุขทางกามคุณแบบโลกๆ.......

    เอางี้นะน้อง....เมื่อใดก็ตามน้องเห็นว่าสิ่งที่น้องคิดว่าความสุขนั้น.....ลองดูนะ.....ความสุขที่ว่ามันเจอทุกข์อยู่ข้างใน....อย่างน้องอยากได้ผู้หญิงคนหนึ่งมาเสพกามด้วย....น้องพยายามทุกข์วิธีทาง....ให้สำเร็จใช่ไม....ขอพูดตรงๆนะ.....ม้าหนุ่มใช่ไม....แต่ก่อนที่จะสำเร็จนั้นต้องผ่านอะไรมากมาย....ถ้าไม่สมหวังก็จะทุกข์ใจ....บางครั้งต้องลงทุน จีบสาวนะ...ใช่ไม.....หลายอย่าง....ไม่อยากพูด.....

    เขาบอกว่าความสุขทางกามในเรื่องของเพศมันอยู่ที่แรงขับ....ถ้าขับเสียก็แล้วไปแค่นั้น....ความต้องการหล่นลงฮาบเลย....บางคนไม่มีสติ มามีสติอีกทีตอนขับไปแล้วถึงรู้จักคิดสติขึ้นมาอย่างนี้ก็มี....บางคนอยากหาที่ขับไม่มีที่ขับเอาตังไปจ่ายโสเภณี ไม่ก็เลี้ยงเด็ก..ใช่ไม...เงินที่หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงมันทุกข์ขนาดใหนบางครั้งเพื่อขับครั้งเดียว....เหมือนเราอยากขี้แล้วไปซื้อส้วมขี้อย่างนั้นหละ..เมื่อมันอยากขี้ขึ้นมาวิ่งหาที่ขี้จะขี้ให้ได้ใช่ไม..เมื่อได้ขี้แล้วสุขสุดยอดใช่ไม..โล่งเลย...ได้ขี้...รอสักครู่ไม่นานเกินวันสองวันขี้มันมีใหม่มันก็อยากขี้อีกใช่ไม..กามเพศเหมือนกันไม่ต่างกันกับความอยากขึ้...แต่มันทุกข์กว่าขี้นะพี่ว่า..คือมันใช้ความพยายามมากกว่าถ้าได้มาก็ต้องมีภาระมากกว่า..ทุกข์มากกว่า.....ถามตัวเองดูสิว่าจริงไม.....จะพูดมากเขาจะว่าพี่หยาบโลน.....เอาภาษาธรรมนะ......

    ถ้ารักใครขึ้นมา...ถ้าเขามาเป็นของเรา...อยู่กับเรามีความสุขใจ...อยากให้เขาอยู่กับเราตลอด ต้องตามใจเรา ถูกใจเรา เราจึงมีความสุขใช่ไม.....แต่ความสุขแบบโลกมันเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เจือทุกข์นะ......เหมือนน้ำผึ้งที่หอมหวานแต่มีพิษนั้นหนะ......ถ้าเขาไม่เป็นไปตามใจเราเราก็ทุกข์ใช่ไมน้อง......อย่างนี้.....อยู่ในวัยนี้มันตอบยากนะ.....คือมันยังไม่ผ่านโลกมามากๆ...ใช้เวลานานๆมันจะเข้าใจอะไรมากขึ้น....ว่าสุขนั้นมันทุกข์ถนัดเลยน้อง.......

    ความสุขทางธรรม...เป็นความสุขชั้นสูงกว่า...กล่าวคือ ไม่เป็นความสุขที่ต้องมีอามิสมากระทบใจแล้วจึงเป็นสุข......ความสุขนี้อยู่ที่เรา....นะ......พูดง่ายๆความสุขของโลกขนาดที่ได้รับแล้วถึงกับปิติร้องไห้ออกมานั้นถือว่าสุขสุดยอดใช่ไม(ไม่รู้ว่าน้องเคยไมความสุขแบบขนาดที่สุขมากๆแบบโลก..ขนาดทำให้น้ำตาไหล)........แต่ความสุขนี้เป็นความสุขที่หาได้ง่ายมากๆ....ในทางธรรม...ปฏิบัติธรรมอยู่ในอุปจารสมาธิเท่านั้นหละ.....ถือเป็นแค่เรื่องปกติ.....น้องก็ไปคิดดูเอาแล้วกันนะ......

    พูดถึงคนที่ไม่เคยได้สัมผัสนี่พูดยาก......น้องลองพิจารณาความสุขที่น้องเรียกว่าสุขนั้น...ที่หลงยึดว่ามันเป็นสุขนั้น.....ลองพิจารณามันดูว่าขั้นตอนตั้งแต่เริ่มจนจบนี้มันเป็นอย่างไร....ไปพิจารณาดู....หยิบยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาพิจารณาดูก็ได้ไม่ต้องมาก.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2011
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เมื่อเราปฏิบัติได้...ไม่ต้องมาก....ถ้าได้สัมผัสความสุขในสมาธิเล็กน้อย......

    น้องจะทราบว่า ความสุขที่เรียกว่าความสุขเป็นทิพย์ เป็นทิพย์แห่งสุข มันต่างกันมากกับความสุขแบบโลกๆ...

    ลองได้เลยน้องพิสูจน์ดูสิที่เขาว่ามันจริงไม..อย่าได้แต่คิดอย่างเดียว.....
     
  7. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    สุขทางกามมันก็สุขจริงอยู่แต่มันสุขแค่ชั่วขณะถ้าเทียบเวลาจริงๆ
    หลัก หนึ่งในพันล้านวินาที แล้วที่เหลือเป็นเวลาที่เรายึดกับความ
    สุขตรงนั้น แต่สุขจากสมาธิอยากมีเมื่อไหร่ก็ได้จะนานแค่ไหนก็ได้
    แต่จะนานแค่ไหนมันก็มีสิ้นสุด เมื่อสิ้นสุดแล้วมันก็กลับเป็นทุกข์ไป
    อีก ยิ่งรู้จักกับความสุขมาก เมื่อคลายแล้วมันก็ทุกข์มากนั่นแหละ
    ต้องดูว่าอันไหนประโยชน์มันมากความทุกข์น้อย อย่างนิพพานสุข
    นี่มันไม่มีทุกข์เลย แต่สุขก็ไม่มีเหมือนกัน เพราะพอมันไม่มีทุกข์ก็
    ไม่มีอะไรให้เปรียบเทียบ อย่างนิพพานคือความดับทุกข์ ไม่ใช่การ
    ทำให้มีความสุขเพราะเมื่อทุกข์ดับสุขก็ไม่เหลือด้วย การรู้สึกสุขที่ลึก
    ซึ้งกว่ากามารมณ์นั้นผมว่าคงยาก ไม่ใช่ด้วยเหตุผลว่ามันดีที่สุด
    แต่เพราะระยะเวลามันสั้นที่สุด ทำให้เรารู้สึกถึงมันมาก
     
  8. สามเณรผู้เดียว

    สามเณรผู้เดียว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +16
    กามสุขมีสุขน้อย แต่มีโทษมาก
     
  9. Genial

    Genial Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +82
    ขอบพระคุณอย่างมากครับ เป็นประโยชน์มากมาย


    โดน...................
     

แชร์หน้านี้

Loading...