คุ้มครองโลกด้วยธรรมะ..งามด้วยธรรมะ(ถึงรู้แล้วก็ควรอ่านย้ำเตือน)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย กระเจียว, 26 พฤศจิกายน 2004.

  1. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    ธรรมคุ้มครองโลก 2
    1. หิริ (ความอายบาป, ละอายใจต่อการทำชั่ว) moral shame
    2. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป, เกรงกลัวต่อความชั่ว) moral dread



    ธรรรมทำให้งาม 2
    1. ขันติ (ความอดทน, อดได้ทนได้เพื่อบรรลุความดีงามและความมุ่งหมาย) patience: forbearance: tolerance
    2. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม, อัธยาศัยงาม) modesty



    ธรรมมีอุปการะมาก 2
    1. สติ (ความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ) mindfulness
    2. สัมปชัญญะ (ความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง) clear comprehension



    บุคคลหาได้ยาก 2
    1. บุพการี (ผู้ทำอุปการะก่อน, ผู้ทำความดีหรือทำประโยชน์ให้แต่ต้นโดยไม่ต้องคอยคิดถึงผล ตอบแทน)one who is first to do a favour; previous benefactor
    2. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน, รู้จักคุณค่าแห่งการกระทำดีของผู้อื่น และแสดงออกเพื่อบูชาความดีนั้น) one who is grateful and repays the done favour; grateful person



    กรรม 3
    1. กายกรรม (กรรมทำด้วยกาย, การกระทำทางกาย) bodily action
    2. วจีกรรม (กรรมทำด้วยวาจา, การกระทำทางวาจา) verbal action
    3. มโนกรรม (กรรมทำด้วยใจ, การกระทำทางใจ) mental action



    อกุศลมูล 3 (ต้นตอของความชั่ว)
    unwholsome roots
    1. โลภะ (ความอยากได้) greed
    2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) hatred
    3. โมหะ (ความหลง) delusion



    ไตรลักษณ์ (ลักษณะ 3 ประการ แห่งสังขารธรรมทั้งหลาย) the Three Characteristics
    1. อนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง) impermanence; transiency
    2. ทุกขตา (ความเป็นทุกข์) state of suffering
    3. อนัตตตา (ความเป็นของไม่ใช่ตน) soullessness; not-self



    บุญกิริยาวัตถุ 3 (bases of meritorious action)
    1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ) meritorious action consisting in giving or generosity
    2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย) meritorious action consisting in observing the precepts or moral behaviour
    3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ) meritorious action consisting in mental developmet



    ปัญจธรรม 3 (กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่ง ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริง และทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกต้องตรงไปตรงมา)
    1. ตัณหา (ความทะยานอยาก, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอเปรอตน, ความอยากได้อยากเอา) craving; selfish desire
    2. ทิฏฐิ (ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่าง ๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงายหรือโดยการเชิดอชูว่าอย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น เป็นต้น ทำให้ปิดตัวแคบ ไม่ยอมรับฟังใคร ตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่นที่ไม่ถืออย่างตน, ความยึดติดในทฤษฎี ฯลฯ ถือความคิดเห็นเป็นความจริง) view; dogma; speculation
    3. มานะ (ความถือตัว, ความสำคัญตนว่าเป็นนั้นเป็นนี่ ถือสูงถือต่ำ ยิ่งใหญ่เท่าเทียมหรือด้อยกว่าผู้อื่น, ความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยื่งใหญ่) conceit



    พุทธโอวาท 3
    1. ความไม่ทำชั่วทั้งปวง (not to do any evil)
    2. ทำแต่ความดี (to do good; to cultivate good)
    3. ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ (to purify the mind)



    สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา the Threefold Training
    1. ศีล (morality) คือ ข้อปฎิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง
    2. สมาธิ (concentration) คือ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่น สมาธิอย่างสูง
    3. ปัญญา (wisdom) คือ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง



    ปัจจัย 4 (สิ่งค้ำจุนชีวิต, สิ่งจำเป็นเบื้องต้นของชีวิต, สิ่งที่ต้องอาศัยเลี้ยงอัตภาพ) the four necessities of life
    1. ผ้านุ่งห่ม clothing
    2. อาหาร food
    3. ที่อยู่อาศัย lodging
    4. ยารักษาโรค medicine


    พรหมวิหาร 4 (ธรรมประจำใจอันประเสริฐ )
    1. เมตตา (ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรี และคิดทำประโยชนต่อมนุษย์สัตว์ทั่วหน้า) loving kindness; friendliness
    2. กรุณา (ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวง สัตว์) compassion
    3. มฑิตา (ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป) sympathetic joy
    4. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ไม่เอนเอียงด้วยความรักความชัง ) equanimity; neutrality


    อิทธิบาท 4 (basis for success)
    1. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป) will; aspiration
    2. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็งอดทน เอาธุระไม่ท้อถอย) energy; effort; exertion
    3. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป) thoughtfulness
    4. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น) investigation; examination; reasoning; testing



    อคติ 4
    1. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ) prejudice caused by love or desire
    2. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) prejudice caused by hatred
    3. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง, พลาดผิดเพราะเขลา) prejudice caused by delusion or stupidity
    4. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) prejudice caused by fear



    อริยสัจจ์ 4 (ความจริงอันประเสริฐ)
    1. ทุกข์ (ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก) suffering
    2. สมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด) the cause of suffering; origin of suffering
    3. นิโรธ (ความดับทุกข์) the cessation of suffering; extinction of suffering
    4. มรรค (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) the path leading to the cessation of suffering



    ศีล 5 (the Five Precepts; rules of morality)
    1. to abstain from killing
    2. to abstain from stealing
    3. to abstain from sexual misconduct
    4. to abstain from false speech
    5. to abstain from intoxicants causing heedlessness



    อบายมุข 6 (ช่องทางของความเสื่อม, ทางแห่งความพินาศ)
    1. ติดสุราและของมึนเมา (addiction to intoxicants)
    2. ชอบเที่ยวกลางคืน (roaming the streets unseemly hours)
    3. ชอบเที่ยวดูการละเล่น (frequenting shows)
    4. ติดการพนัน (indulgence in gambling)
    5. คบคนชั่ว (association with bad companions)
    6. เกียจคร้านการงาน (habit of idleness)



    vocabulary
    กรรม kamma; volitional action
    กรรมฐาน meditation exercises; subject of meditation
    ชาติก่อน previous birth; former life
    ตรัสรู้ enlightenment; (v) to be enlightened
    ไตรปิฎก the Three Baskets; the Three divisions of the Buddhist Canon
    ทำบุญ merit-making; (v) to make merit
    บูชา worship
    พระพุทธรูป Buddha image
    พระพุทธเจ้า the Buddha; Lord Buddha
    วันพระ the Buddhist holy day

    เรียบเรียงจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)



    อริยมรรคมีองค์ ๘ (ทางอันประเสริฐ)
    ๑ . สัมมาทิฐิ : ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔ (คือเห็นว่า ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่และความตายเป็นทุกข์ การพลัดพรากสิ่งที่รักประสบสิ่งที่ไม่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่สมหวังสิ่งเหล่านี้ก็เป็นทุกข์ การเอาชนะความคิดดีหรือชั่วไม่ได้ปัดให้ออกจากตัวทันทีไม่ได้ก็เป็นทุกข์)
    ๒. สัมมาสังกัปปะ : ความดำริชอบ คือคิดออกจากกาม ไม่คิดพยาบาท และคิดที่จะไม่เบียดเบียนใคร
    ๓. สัมมาวาจา : วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
    ๔. สัมมากัมมันตะ : กระทำชอบ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    ๕. สัมมาอาชีวะ :เลี้ยงชีวิตชอบ คือ การประกอบอาชีพแต่ในทางสุจริต ไม่ผิดกฎหมายไม่ผิดศีลธรรม ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ผิดจากหน้าที่อันควร
    ๖. สัมมาวายามะ : ความเพียรชอบ คือ เพียรในที่ ๔ สถาน (พยายามละอกุศลที่ยังไม่ได้ละ
     
  2. คนเก่า

    คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    สังคหวัตถุ ธรรมะเพื่อความสามัคคีปรองดอง

    - วาจาอ่อนหวาน อ่อนโยน น่าฟัง
    - สงเคราะห์ด้วยวัตถุทาน
    - สงเคราะห์ช่วยเหลือกิจการงาน
    - ไม่ถือตัว ไม่วางตัวเหนือผู้อื่น
     
  3. พฤติจิต

    พฤติจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +230
    โอ!!!!!!!คุณน้องกระเจียว
    ขอร่วมอนุโมธนาสาธุการอย่างสูงยิ่ง เป็นการให้ธรรมทานที่เยี่ยมยอดมากๆขอให้ทุกคนได้อ่าน แม้เพียงอ่านก็จะได้สะกิดใจอะไรอีกหลายอย่าง
    สาธุ สาธุ ผู้เจริญในธรรมแห่งองค์สมเด็จพระจอมตรัยบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลาย
     
  4. พฤติจิต

    พฤติจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +230
    หลักกาลามะสูตร
    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกถึงนิคมเกสปุตตะของพวกเจ้ากาลามะ ชาวกาลามะได้พากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลถามว่า ได้มีสมณะและพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม ได้สำแดง เชิดชู วาทะของตนฝ่ายเดียว แต่กระทบกระทั่งดูหมิ่นเหยียดหยามวาทะของฝ่ายอื่นให้เห็นว่าเป็นฝ่ายต้อยต่ำ ต่อมามีสมณะและพราหมณ์อีกพวกหนึ่งได้มาสำแดง เชิดชูวาทะของตนฝ่ายเดียวโดยกระทบกระทั่ง ดูหมิ่น เหยียดหยามวาทะของฝ่ายอื่นว่าเป็นฝ่ายต้อยต่ำเช่นเดียวกัน พวกตนจึงสงสัยว่าทำอย่างไรจึงจะรู้ได้ว่าพวกตนสมควรเชื่อใคร และสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นใครพูดจริง พูดเท็จอย่างไร
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสต่อชาวกาลามะทั้งหลายให้ใช้หลักวินิจฉัยด้วยตนเอง โดยมิให้ปลงใจเชื่อถือ ด้วยเหตุ ๑๐ ประการ ดังต่อไปนี้
    (๑) มา อนุสสะเวนะ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะได้ยินได้ฟังอยู่เนือง ๆ
    (๒) มา ปรัมปรายะ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะเป็นไปตามประเพณีสืบ ๆ กันมา
    (๓) มา อิติกิรายะ อย่าเชื่อถือตามคำที่เขาเล่าลือกัน
    (๔) มา ปิฏะกะสัมปะทาเนนะ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะตรงกับตำรา
    (๕) มา ตักกะเหตุ อย่าเชื่อถือเพราะคาดคะเนเอา
    (๖) มานะยะเหตุ อย่าเชื่อถือเพราะมีนัยเทียบเคียงกันได้
    (๗) มา อาการะปริวิตักเกนะ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะคิดไปตามอาการที่ได้เห็น

    (๘) มา ทิฏฐินิชฌานักขันติยา อย่าเชื่อถือเพียงเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎี
    (๙) มา ภัพพะรูปะตายะ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะคนพูดน่าเชื่อถือ
    (๑๐) มา สะมะโณ โนคะรูติ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะผู้พูดเป็นสมณะหรือครูอาจารย์

    ดีมักๆๆๆๆๆๆๆอ่านซะอ่านซะ
     
  5. Jeekha

    Jeekha สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนา สาธุ ด้วยค่ะ...ดีมากค่ะ ได้อ่านได้เตือนสติค่ะ

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  6. beer1360

    beer1360 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,039
    ค่าพลัง:
    +420
    ขอบคุณมากครับผม ได้ความรู้เสมอเลยเวพนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...