เรื่อง อมตเถระ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 3 เมษายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    <table style="font-size: 12px;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="560"><tbody><tr style="font-size: 12px;" align="center"><td style="font-size: 12px;" colspan="2" class="title5" bgcolor="#b9b9b9" height="30">หลวงปู่โตพรหมรังสี<!-- InstanceEndEditable --></td> </tr> <tr style="font-size: 12px;" valign="top"> <td style="font-size: 12px;" class="title" height="65" width="278">:<!-- InstanceBeginEditable name="groupname" --><!-- InstanceEndEditable --></td> <td style="font-size: 12px;" class="txt9" align="right" width="282"><!-- InstanceBeginEditable name="name" -->เรื่อง อมตเถระ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี<!-- InstanceEndEditable --></td> </tr> <tr style="font-size: 12px;" valign="top"> <td style="font-size: 12px;" colspan="2"><!-- InstanceBeginEditable name="txt" --> ชาตะ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ (จุลศักราช ๑๑๕๐) เวลาเช้า ๖.๓๕ นาฬิกา
    มรณะ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ (จุลศักราช ๑๒๓๔) เวลาเที่ยงคืน ๒๔.๐๐ นาฬิกา รวมชนมายุ ๘๔ ปี ๒ เดือน ๕ วัน

    คติธรรม
    ปราชญ์แท้ ไม่คุยฟุ้งอวดตน
    คนดี ไม่เที่ยวยกสอพลอ
    คนเก่ง ย่อมทะนงอย่างเงียบ
    คนชั่ว อวดรู้ดีทั่วภพ
    คนโง่ อวดฉลาดมากมาย
    สิ่งทั้งหลายท่านเห็นมีทุกที่เอย
    สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

    ในบรรดาเกจิอาจารย์ที่โด่งดังเป็นอมตะในประเทศไทย คงไม่มีใครเกินท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ท่านเป็นยอดอัจฉริยบุคคลที่ควรเคารพบูชา เป็นพหูสูตรอบรู้ทั้งทางโลกทางธรรม มีความเจนจบทั้งพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์
    </td> </tr> </tbody></table> <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="20%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="80%">ประวัติของท่านพิสดารชนิดที่เรียกว่า ไม่มีใครเหมือน และใครจะทำเหมือนท่านไม่ได้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นนักเทศน์ที่หาตัวจับยากในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ท่านได้แสดงความเป็นอัจฉริยะตั้งแต่เยาว์ ทั้งเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดิน และประชาชนคนเดินดินทั่วไป คุณวิเศษสำคัญประการหนึ่งของท่าน คือ สามารถเทศน์ให้ใครหัวเราะก็ได้ เทศน์ให้ใครร้องไห้ก็ได้ เทศน์ให้คนเทกระเป๋าทำบุญก็ได้
    </td> </tr> </tbody></table> นอกจากนี้ ท่านยังเป็นนักโอกาสาสตร์ ทำนายดวงชะตาได้แม่นยำนัก และยังเป็นนักใบ้หวยที่โด่งดังผู้หนึ่ง
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี มีชนมชีพอยู่ถึง ๕ แผ่นดิน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งพระราชวงศ์จักรี กับ งุด สาวงามแห่งเมืองกำแพงเพชร บุตรีของนายผลและนางลา
    สมภพ
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ สมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ เวลา ๖.๓๕ น. ที่จังหวัดพิจิตร อีกทางหนึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฉิม กรมหลวงอิสรสุนทร เป็นแม่ทัพยกไปปราบ
    ในราวเดือนเก้า ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๓๐ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร แม่ทัพใหญ่ เดินทัพถึงวัดเกศไชโย (ปัจจุบันชื่อ วัด ไชโยวรวิหาร) ก็ได้ตั้งค่ายหลวง ณ ที่นั้น เนื่องจากทรงเห็นว่าเมืองอ่างทองเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ พืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ จึงมีพระบัณฑูรให้เหล่าทหารไปจัดหามา เพื่อส่งกำลังบำรุงกองทัพ ขณะนั้นมีแม่สาวน้อยนางหนึ่งชื่อ งุด พายเรือขายกระท้อนอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา มหาดเล็กของเจ้าฟ้าผู้สูงศักดิ์เห็นเป็นสาวสวยผิวพรรณเปล่งปลั่ง ใบหน้าหมดจดงดงามยิ่งกว่าสาวใดในละแวกนั้น ก็เกิดความคิดจะเอาความชอบ จึงใช้อุบายชักพานางสาวงุด เข้าไปยังค่ายแม่ทัพ
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="80%">ด้วยบุพเพสันนิวาส เจ้าคุณแม่ทัพใหญ่ทรงรู้สึกพึงตาพึงใจในสาวงามชาวกำแพงเพชร จึงชวนแม่สาวงุดร่วมเรียงเคียงเขนยอยู่ในค่ายทหารหนึ่งราตรี ก่อนจะพรากจากกัน ท่านแม่ทัพได้ประทานรัดประคดผืนหนึ่ง เพื่อมองให้กับบุตรที่อาจจะเกิดมา มีรับสั่งว่า ถ้าคลอดบุตรเป็นชายให้ตั้งชื่อว่า"โต" ถ้าคลอดเป็นหญิงให้ตั้งชื่อว่า "เกศแก้ว" หลังจากกำชับเรียบร้อยแล้ว ประทานเงินให้จำนวนหนึ่ง พร้อมกับให้มหาดเล็กนำไปส่งบ้าน จากนั้นท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็เคลื่อนทัพออกจากวัดเกศไชโย
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" width="20%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">กาลเวลาผ่านไป ทารกในครรภ์ก็โตขึ้น เกิดข่าวลือว่า แม่งุดเป็นหญิงชั่ว แม่งุดจึงตัดสินใจลงเรือน้อยล่องสู่บางกอก ผ่านคลองบางกอกน้อย เพื่อสืบเสาะหาพ่อของเด็ก เมื่อไต่ถามชาวบ้านจนรู้แน่ว่าบิดาของเด็กเป็นเจ้าฟ้า ไม่ได้เป็นแม่ทัพธรรมดาอย่างที่คิด ด้วยความเจียมตัวเจียมใจในชาติตระกูลที่ต่างกัน สาวน้อยก็ไม่กล้าเข้าไปเฝ้า จึงบ่ายหัวเรือกลับอ่างทอง บอกบิดาว่าพ่อของลูกในท้องเป็นเจ้าฟ้าผู้สูงศักดิ์ ตาผลถึงกับเป็นลมพับ หลังจากนวดเฟ้นจนฟื้นแล้ว สาวงามเมืองกำแพงเพชร ได้ปรึกษากับตาผลผู้บิดาว่า จะจัดการอย่างไรกับเด็กในครรภ์ที่โตขึ้นทุกวัน ในที่สุดทั้งสองมีความเห็นว่าจะคลอดบุตรที่อ่างทองนั้น คงไม่ได้ ชาวบ้านที่ไม่รู้ความจะประณามให้ต้องอับอาย จึงตัดสินใจละบ้านที่อ่างทอง พายเรือแล่นทวนน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไปคลอดบุตรที่บ้านญาติในจังหวัดพิจิตร (หน้าวัดท่าหลวง วัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร มีหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ประดิษฐาน)
    </td> </tr> </tbody></table> ครั้นถึงกำหนดทศมาส นางงุดเจ็บครรภ์หนัก พอลุถึงเวลา ๐๖.๓๕ น. วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ชีวิตน้อย ๆ ชีวิตหนึ่งได้ลืมตามองโลก ท่ามกลางความทุลักทุเล ไม่มีแม้แต่หมอตำแยจะช่วยทำคลอด มีแต่ตาผลวิ่งงก ๆ เงิ่น ๆ ช่วยทำคลอด จนกระทั่งทารกน้อยเพศชายรูปร่างเล็ก ๆ คลอดออกมา และตั้งชื่อว่า "โต" แต่นั้นมา
    บรรพชา
    เด็กชายโต รูปร่างเล็กตัวกระเปี๊ยกเลี้ยก เพราะการกินอยู่ไม่สมบูรณ์ อยู่จังหวัดพิจิตรได้ระยะหนึ่ง แม่งุดกับตาผลได้อพยพกลับถิ่นเดิมที่อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ในขณะเยาว์วัย เด็กชายโตเห็นพระเห็นผ้าเหลืองก็มีใจผูกพันอยากบวช จึงอ้อนวอนขอแม่งุด ซึ่งทีแรกปฏิเสธ เพราะต้องการให้เด็กชายโตช่วยทำมาหากินเลี้ยงแม่เลี้ยงตา แต่เมื่อถูกรุกเร้าอ้อนวอนมาก ๆ ทั้งแม่งุดและตาผลก็ยินยอมให้บวช โดยพาไปบวชเณรที่สำนักสงฆ์ใหญ่กับพระอาจารย์แดง (ซึ่งต่อมาสร้างเป็นวัดไชโยวรวิหาร แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดเกศไชโย) ขณะที่บวชเป็นเณรนั้น เด็กชายโต มีอายุ ๗ ขวบแล้ว
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="20%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="80%">เมื่อท่านบวช ท่านซาบซึ้งในรสพระธรรม ทุกวันค่ำเช้า ท่านจะขลุกอยู่กับตำราคำภีร์และปรนนิบัติอาจารย์สม่ำเสมอเรื่อยมา เป็นที่รักใคร่ของอาจารย์และคนทั่วไป ครั้นบวชได้หนึ่งพรรษา แม่งุดและตาผลก็มาชักชวนให้สามเณรโตลาสิกขา แต่สามเณรโตขอบวชต่อ เพราะติดใจในพระธรรม มารดาและตาไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ปล่อยให้บวชไปเรื่อย ๆ ผ่านไปสัก ๓ พรรษา สามเณรโตมีอายุ ๑๐ ขวบ ท่านก็ยังไม่ยอมสึกตามที่มารดาของท่านพยายามให้สึก
    </td> </tr> </tbody></table> เข้าบางกอก
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="80%">สมัยนั้นหน้าวัดเกศไชโย มีเรือสำเภาล่องมาจากทางเหนือ คือ ทางปากน้ำโพผ่านมาจอดเสมอ สามเณรโตคิดว่า ขืนอยู่อ่างทองนี้ต้องสึกแน่ เพราะมารดาและตาของท่านฝากความหวังไว้กับท่าน ต้องการให้สึก จึงอ้อนวอนรบเร้าท่านอยู่เสมอ ท่านไม่อยากสึก จึงได้สอบถามทางเรือสำเภาว่า ลำไหนบ้างที่พรุ่งนี้เช้าจะล่องไปบางกอก ก็ได้มีไต้ก๋งแดงกัปตันเรือสำเภาของ เจ๊กหลง บอกว่า พรุ่งนี้จะล่องเรือเข้าบางกอกตอนตีห้า เณรจะไปไหน
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" width="20%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> สามเณรโตก็บอกไต้ก๋งว่า ท่านจะไปเที่ยวบางกอก แล้วก็กลับไปเก็บข้าวของเตรียมเดินทาง
    คืนนั้นท่านนอนไม่หลับ เพราะได้เกิดการต่อสู้ทางความคิดขึ้นในจิตใจของท่านเป็นอย่างมาก ตากับแม่ฝากความหวังไว้ที่ท่าน แต่ท่านนั้นดื่มด่ำในรสพระธรรม เกินกว่าจะตัดสินใจทำตามความต้องการของโยมแม่ ท่านตัดสินใจเด็ดเดี่ยวที่จะหนีไปโดยไม่บอกกล่าว และตั้งใจสนองคุณโยมแม่ในภายหลัง โดยเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระพุทธองค์ ซึ่งได้ตอบแทนพระคุณของพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดาในภายหลัง
    รุ่งเช้าตีห้า สามเณรโตเก็บจีวรลงเรือโดยไม่บอกทางบ้าน พอเรือถึงท่าวัดอินทร์ สามเสน ก็งงไปรู้จะไปหาใคร สามเณรโตสะพายย่ามเดินเข้าวัดบางขุนพรหมนอก (วัดอินทรวิหารในปัจจุบัน) พบพระอรัญญิก(ด้วง) เจ้าอาวาสวัดบางขุนพรหมนอก นักคอยท่าอยู่
    ทันทีที่พบหน้าสามเณรโต พระอริญญิกเถระ (ด้วง) ก็โพล่งออกมาว่า "นั่นแน่มาแล้ว เมื่อคืนฉันฝันว่ามีช้างป่าตัวหนึ่งมาที่นี่ แล้วก็เข้าไปไสพระไตรปิฎกของฉันพังหมดเลย ต้องเป็นเธอแน่ เอาอย่างนี้ มาอยู่กับฉันก็แล้วกัน"
    สามเณรโตได้ศึกษาอักขรสมัยทั้งสยามและขอมในสำนักเจ้าคุณพระอรัญญิกเถระจนแตกฉานดีแล้ว วันหนึ่งท่านรำลึกถึงโยมแม่ จึงได้เขียนจดหมายไปบอกว่าจะบวชไม่สึก ขณะนี้เป็นศิษย์อยู่ที่สำนักเจ้าคุณวัดบางขุนพรหมนอก
    แม่งุดเมื่อได้รับหนังสือบอกข่าวจากสามเณรโตก็มีจดหมายส่งกลับมาว่า "เรื่องจะบวชไม่สึกนั้น โยมไม่ว่า แต่ขอให้กลับมาก่อน โยมมีอะไรจะสั่งเสียบางอย่าง" สามเณรโตเข้านมัสการลาท่านเจ้าคุณพระอรัญญิก (ด้วง) และเดินทางกลับสู่บ้านไชโย แขวงเมืองอ่างทองอีกครั้งหนึ่ง
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="20%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="80%">หลังจากสองแม่ลูกพบกัน ต่างก็ถามไถ่ความเป็นอยู่ซึ่งกันและกัน สามเณรโตก็เล่าถึงเรื่องหนีแม่ไปศึกษาธรรมที่บางกอก ตลอดจนตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะบวชไม่สึก แม่งุดเอ่ยว่า "เอ็งจะเป็นพุทธสาวกก็ไม่ขัดเอ็ง เอ็งเป็นลูกพระพุทธเจ้าได้เลย แต่ถ้าเอ็งตั้งใจไปอยู่บางกอกจริงแล้ว เอ็งจงเอารัดประคดนี้ไว้ วันใดที่ได้เข้าเฝ้าเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เอ็งจงใช้รัดประคดนี้ให้เป็นประโยชน์ แล้ววันนั้นเอ็งจะรู้ว่าพ่อเอ็งเป็นใคร"
    </td> </tr> </tbody></table> สามเณรโตรับคำและกล่าวว่าจะจำใส่ใจ ต่อจากนั้นสามเณรก็ย้ำถึงปณิธานอันแน่วแน่ว่า จะขออยู่ใต้ผ้ากาสาวพัสตร์ตลอดชีพ แม่งุดก็ไม่ขัด จึงไม่รุกเร้าให้ลาสิกขาอีก
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ในวันรุ่งขึ้น ตาผล แม่งุด และสามเณรโต ได้ล่องเรือมาขึ้นที่ท่าบางลำพูบน ทั้งสามได้เข้าพบ พระอาจารย์แก้ว ที่วัดบางลำพูบน (วัดสังเวชฯ) ตาผลได้กล่าวฝากสามเณรโตแก่พระอาจารย์แก้ว ขอให้ช่วยอบรมสั่งสอนพระธรรมเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนาสืบไป พระอาจารย์แก้วรับปากจะทำนุบำรุงสามเณรให้ดีที่สุด เพราะเล็งในฌานแล้วว่าสามเณรน้อยรูปนี้ ต่อไปจะเป็นหลักชัยของพระศาสนาและของราชอาณาจักรสยามด้วย
    </td> </tr> </tbody></table> สามเณรโตมีนิสัยขยัน หลังจากปรนนิบัติอาจารย์แล้ว มีเวลาว่างยามใดมักจะเอาอักขรคัมภีร์มาท่องบ่นศึกษาเป็นประจำ ความข้อใดไม่เข้าใจก็ไต่ถามพระอาจารย์แก้ว จนกระทั่งแตกฉานในพระธรรม พระอาจารย์แก้วหมดภูมิจะถ่ายทอด จึงแนะนำให้สามเณรไปศึกษาต่อที่วัดระฆังฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม
    ไปวัดระฆังฯ
    ก่อนวันที่สามเณรโตจะไปวัดระฆังฯ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ได้ฝันว่า มีช้างเผือกเชือกหนึ่ง ได้เข้ามากัดกินหนังสือพระไตรปิฎกในตู้ของท่านจนหมดสิ้น จนท่านตกใจตื่นเมื่อพิจารณาความฝันอันประหลาดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ท่านก็คิดว่า ชะรอยจะมีผู้นำเด็กที่มีสติปัญญาดีมาฝากเป็นศิษย์ศึกษาบาลี และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เด็กคนนี้ต่อไปจะเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านพระปริยัติอย่างวิเศษทีเดียว
    ด้วยความเชื่อมั่นในนิมิตนี้ ในวันรุ่งขึ้นท่านจึงได้สั่งพระเณรในวัดเป็นการล่วงหน้าว่า "วันนี้ถ้ามีอะไรมาให้รับเอาไว้"
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">วันนั้นสามเณรโตเก็บอัฐบริขารใส่ย่าม เข้านมัสการลาพระอาจารย์แก้ว แล้วเดินทางไปวัดระฆังฯ กับเด็กวัดบางลำพูบน โดยพายเรือไป พอข้ามแม่น้ำมาวัดระฆังฯ ขอเข้าพบท่านเจ้าอาวาส เณรรับใช้เจ้าอาวาสบอกว่าท่านสมเด็จไม่อยู่ และไม่ให้ขึ้นกุฏิ คนพายเรือศิษย์พระอาจารย์แก้วที่ไปด้วยกัน ก็นำสามเณรโต ฝากไว้กับเจ๊กขายกาแฟหน้าวัดระฆังฯ นั้นเอง วันนั้นสามเณรโตอดฉันเพลไปหนึ่งมื้อ
    </td> </tr> </tbody></table> <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="80%">บ่ายวันนั้นเอง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ กลับจากฉันเพล ได้ถามศิษย์วัดว่า "มีใครเอาอะไรมาฝากในวันนี้ไหม?" ศิษย์วัดตอบว่า "ไม่มีใครเอาอะไรมาฝาก มีแต่คนจะฝากเณรเป็นศิษย์วัด" ท่านเจ้าประคุณสมเด็จถามว่า ตอนนี้เณรนั้นอยู่ที่ไหน ลูกศิษย์วัดตอบว่า อยู่ที่ร้านกาแฟหน้าวัดระฆังฯ ท่านเจ้าอาวาสจึงมีบัญชาให้รีบตามมา
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" width="20%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ทันทีที่พบหน้าก็รู้สึกถูกชะตา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้กวักมือเรียกให้เข้ามาคุยในกุฏิ สามเณรโตก็ถวายหนังสือฝากจากพระอาจารย์แก้ว ท่านเจ้าประคุณสมเด็จมีความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ออกปากรับสามเณรโตเป็นลูกศิษย์ให้ศึกษาพระบาลี และ พระปริยัติธรรมนับแต่นั้นมา โดยให้พำนักที่กุฏิแดงข้างวัดระฆังฯ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">พอสามเณรโตอายุได้ ๑๘ ปี ท่านเป็นเณรนักเทศน์ที่หาตัวจับยาก แสดงธรรมได้ลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจชาวบ้าน ท่านพระโหราธิบดี พระวิเชียร และเสมียนตราด้วงพิจารณาเห็นว่า สามเณรโตเทศน์ได้จับใจนัก จึงปรึกษาเห็นควรว่าจะต้องนำไปถวายตัวแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร ซึ่งมีประชนมายุ ๓๘ พรรษา เป็นปีที่ ๒๓ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๔๘
    </td> </tr> </tbody></table> เข้าเฝ้า
    ครั้นถึงเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก (จ.ศ. ๑๑๖๗) พระโหราธิบดี พระวิเชียร และเสมียนตราด้วง ได้นำเรื่องที่จะนำสามเณรโตเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ หารือกับพระอาจารย์แก้ว ท่านก็เห็นดีงามด้วย และเรียกสามเณรโตอบรมสั่งสอนให้รู้ขนบธรรมเนียมการเดินนั่ง พูดจากับเจ้านายให้ใช้ถ้อยคำให้เหมาะถ้อยเหมาะคำ อย่ากลัว อย่าตกใจ อย่าให้มีความสะทกสะท้าน ให้พูดโดยคิดใคร่ครวญก่อน
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="20%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="80%">สามเณรโตน้อมคำนับรับคำสอนของพระอาจารย์ แล้วเข้าห้องน้ำชำระกาย ทาขมิ้น ครองผ้าจีวร และคาดรัดประคดที่โยมแม่มอบให้ เสร็จแล้วพระโหราธิบดี พระวิเชียร เสมียนตราด้วง และสามเณรโตก็ลงเรือแหวด ๔ แจว แล่นลำไปยังท่าตำหนักแพ หน้าพระราชวังเดิม แล้วนำพาเณรขึ้นไปบนท้องพระโรงในพระราชวังเดิม ณ ฝั่งธนบุรีใต้วัดระฆังนั้น
    </td> </tr> </tbody></table> <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ฝ่ายพนักงานหน้าท้องพระโรง นำความขึ้นกราบทูลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทรว่า พระโหราธิบดี พาสามเณรมาเฝ้า จึงเสด็จออกท้องพระโรง ทรงปราศรัยทักถามพระโหราธิบดี พระวิเชียร และเสมียนตราด้วง แล้วได้ทรงสดับคำพระโหราธิบดีกราบทูลเสนอคุณสมบัติของสามเณรขึ้นก่อน เพื่อให้ทรงทราบ จึงทอดพระเนตรสามเณรโต ทรงเห็นสามเณรโตเปล่งปลั่งรังษีกายออกงามมีราศี และมีรัดประคดหนามขนุน อย่างขุนนาง นายตำรวจใหญ่ คาดบริขารมาด้วย
    </td> </tr> </tbody></table> สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร ทรงพระเกษมสันต์โสมนัสยิ่งนัก ไม่เคยมีครั้งใดจะแสดงให้เห็นอย่างออกหน้าเช่นนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ องค์รัชทายาท ผู้จะสืบทอดราชบัลลังก์ต่อสมเด็จพระบรมราชชนก เสด็จ ฯ ตรงเข้าจับมือสามเณรโต จูงมาให้นั่งพระเก้าอี้เคียงพระองค์ แล้วทรงถามว่า "สามเณรเป็นคนบ้านไหน? "


    สามเณรทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร อาตมภาพเป็นชาวไชโย".
    ทรงถามต่อไปว่า "โยมแม่ชื่ออะไร?"
    สามเณรทูลตอบว่า "แม่งุด ขอถวายพระพร"
    สมเด็จเจ้าฟ้ารับสั่งถามว่า "อายุเท่าไร?"
    สามเณรโตทูลว่า "ขอถวายพระพร เกิดปีวอก อัฐศก"
    สมเด็จเจ้ารับสั่งอีกว่า "บ้านเกิดอยู่ที่ไหน?"
    สามเณรทูลว่า "ขอถวายพระพร บ้านเดิมอยู่กำแพงเพชร แล้วย้ายมาตั้งบ้านอยู่อ่างทอง ขอถวายพระพร"
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงอิสรสุนทร ตรัสถามว่า "โยมผู้ชายชื่ออะไร"
    สามเณรทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร ไม่รู้จัก"
    รับสั่งถามต่อไปว่า "ทำไม โยมผู้หญิงไม่บอกตัวโยมผู้ชายให้เจ้ากูรู้จักบ้างหรือ"
    สามเณรทูลว่า "โยมผู้หญิงเป็นเพียงแต่กระซิบบอกว่า เจ้าของรัดประคนนี้เป็นเจ้าคุณแม่ทัพ ขอถวายพระพร"

    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="75%">ครั้นได้ทรงฟัง ตระหนักพระหฤทัยแล้ว ทรงพระปราโมทย์เอ็นดูสามเณรยิ่งขึ้น จึงมีรับสั่งทึกทักว่า แน่ะ พระโหราฯ เณรองค์นี้ ฟ้าจะทึกทักเอาเป็นพระโหราฯ นำช้างเผือกเข้ามาถวาย จงเป็นเณรของเจ้าฟ้าต่อไป ฟ้าจะเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงเอง แต่พระโหราฯ ต้องเป็นผู้ช่วยเลี้ยงช่วยสอนแทนฟ้า ทั้งพระวิเชียรและเสมียนตราด้วง ช่วยฟ้าบำรุงเณร เณรก็อย่าสึกเลยไม่อนาทรอะไร ฟ้าขอบใจพระโหราฯ มากทีเดียว แต่พระโหราฯ อย่าทอดธุระทิ้งเณร ช่วยเลี้ยงช่วยสอนต่างหูต่างตาช่วยดูแลให้ดีด้วย และเห็นจะต้องย้ายเณรให้มาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช (มี) จะได้ใกล้ ๆ กับฟ้า ให้อยู่วัดนิพพานารามจะดีกว่า (วัดนิพพานาราม คือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ในปัจจุบัน)
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" width="25%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ครั้นมีรับสั่งแล้ว จึงทรงพระอักษรเป็นลายพระหัตถ์มอบสามเณรโตแก่สมเด็จพระสังฆราช (มี) แล้วส่งลายพระหัตถ์นั้นแก่พระโหราธิบดีให้นำไปถวาย พระโหราธิบดีน้อมเศียรคำนับ รับมาแล้วกราลถวายบังคมลา ทั้งพระวิเชียรและเสมียนตราด้วง สามเณรโตก็ถวายพระพรลา แล้ก็เสร็จขึ้น
    </td> </tr> </tbody></table> ไปวัดนิพพาราม
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="25%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="75%">ฝ่ายขุนนางทั้งสาม ก็พาสามเณรลงเรือแจวข้ามฟากมาขึ้นท่าวัดนิพพานารามตามรับสั่ง พาเณรเดินขึ้นบนตำหนักสมเด็จพระสังฆราช (มี) ครั้นพบแล้วต่างถวายนมัสการ พระโหราธิบดีก็ถวายลายพระหัตถ์แด่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชคลี่ลายพระหัตถ์ออกอ่านดู รู้ความในพระกระแสรับสั่งนั้นแล้ว จึงสั่งให้พระครูใบฎีกาไปหาตัวพระอาจารย์แก้ว วัดบางลำพูบน ซึ่งเป็นเจ้าของสามเณรเดิมนั้นขึ้นมาเฝ้า ครั้นพระอาจารย์แก้วมาถึงแล้ว จึงทรงให้อ่านลายพระหัตถ์ พระอาจารย์แก้วอ่านแล้วทราบว่า สมเด็จพระยุพราชนิยม ก็มีความชื่นชมอนุญาตถวายเณรให้เป็นเณรอยู่วัดนิพพานารามต่อไป ได้รับนิสัยแต่สมเด็จพระสังฆราชด้วย
    </td> </tr> </tbody></table> แต่วันนั้นมา สามเณรโตก็อุตส่าห์ทำวัตรปฏิบัติแก่สมเด็จพระสังฆราช และเข้าเรียนคัมภีร์พระปริยัติธรรมจนทราบชำนิชำนาญดี และเรียนกับพระอาจารย์เสม วัดนิพพานารามอีกอาจารย์หนึ่งด้วย
    รับพระราชทานเรือกัญญา
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ต่อมาสามเณรโต ได้รับนิมนต์ให้ไปเทศน์ที่วัดพระแก้ว วันนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสดับฟังคำเทศนาอยู่ด้วย ทรงโปรดฝีปากการเทศน์ของสามเณรโต ประกอบกับทรงทราบจากสมเด็จพระยุพราชว่า สามเณรโตเป็นพระหลานเธอ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปีติรับสามเณรโตอุปถัมภ์ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชทานเรือกราบกัญญา หลังคากระแซง ให้สามเณรโตไว้ใช้ในการบิณฑบาตไปมาในลำน้ำ
    </td> </tr> </tbody></table> เรือกราบกัญญาลำนี้ยาวประมาณ ๕ วาเศษ พื้นทาสีน้ำเงิน ขอบเป็นลายกระหนก มีกระทงสำหรับนั่งและมีช่องสำหรับสวมเสาติดตั้งขื่อโยงสี่มุม เพื่อประกอบหลังคากระแซงตามประเพณีของราชสำนักครั้งกระนั้น จะพระราชทานแก่เจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปเท่านั้น
    หลังจากที่ได้รับเรือกราบกัญญามาสด ๆ ร้อน ๆ เศรษฐีคู่หนึ่งอยู่คลองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี อยากได้หน้านิมนต์สามเณรโตไปเทศน์ แล้วก็เที่ยวคุยกับชาวบ้านว่า สามเณรโต เณรในหลวงจะต้องพายเรือกราบกัญญามาแน่ พอถึงวันแสดงธรรม สามเณรโตแจวเรือลำอื่นไปแต่ลำพัง เพราะลูกศิษย์สองคนของท่าน ที่พายเรือกราบกัญญานั้นชอบแย่งของที่ชาวบ้านถวาย และทะเลาะกันเกือบทุกครั้ง สามเณรโตตัดความรำคาญ มาเทศน์เพียงลำพังรูปเดียว เมื่อเจ้าภาพเห็นเรือแจวของท่านแล้วถึงกับหน้างุ้ม ไม่พอใจ ไม่สมกับศักดิ์ศรีของเศรษฐีและเณรในหลวง จึงเอาเครื่องไทยธรรมที่เตรียมจะถวายส่วนใหญ่ซุกไว้ใต้เตียง
    สามเณรโตเทศน์เท่าไร เจ้าภาพก็ไม่ติดกัณฑ์เทศน์ถวาย สามเณรก็เทศน์ไปว่า "ทำบุญอยากได้หน้า มักไม่ใครได้บุญ ตั้งใจทำบุญแล้วไม่ทำ บุญก็ไม่ได้ วันนี้มาเทศน์บ้านเศรษฐี เศรษฐีได้เตรียมของถวายไว้ใต้เตียง รีบถวายซะไว ๆ จะได้บุญสมดังตั้งใจ" เศรษฐีเมืองนนท์ถึงยกเครื่องไทยธรรมมาถวาย
    อุปสมบท
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="75%">ครั้นถึงเดือน ๖ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๕๒ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร ทรงคำนวณวันเดือนปีเกิดของสามเณรโต อายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ถึงกาลอุปสมบทได้แล้ว จึงมีรับสั่งให้พระโหราธิบดีกับเสมียนตราด้วง มาเข้าเฝ้าแล้วมีรับสั่งให้พระโหราฯ เป็นผู้แทนพระองค์อุปสมบทสามเณรโต ที่วัดตะไกร อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐ ชั่ง เพื่อการนี้ และมีรับสั่งให้เจ้าเมืองพิจิตร เจ้าเมืองพิษณุโลก เจ้าเมืองกำแพงเพชร เจ้าเมืองพิชัย และเจ้าเมืองไชยนาทบุรี เป็นผู้รับผิดชอบอุปสมบทนาคหลวง
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" width="25%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> หลังจากนั้น พระโหราธิบดี และ เสมียนตราด้วง ได้นำสามเณรโตขึ้นไปเหนือ สมทบกับแม่งุดและเจ้าเมืองทั้งห้า เพื่อประกอบพิธีอุปสมบทนาคหลวง ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระยุพราช
    ลุถึงเวลาบ่ายสามโมงเศษ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ สามเณรโต ลาสิกขานิวัติออกเป็นนาคเข้าสู่โรงพิธีบนหอนั่ง ขณะนั้นท่านเจ้ากรมเมืองการ เจ้าบ้านคหบดี เจ้าภาษีนายอากร ราษฎรและญาติโยมต่าง ๆ ได้ทยอยเข้าสู่บริเวณพิธี พระโหราธิบดีเรียกหมอทำขวัญ และพราหมณ์จากบางกอกทำขวัญเวียนเทียน พิณพาทย์ก็บรรเลงตามเพลงตระ กลม กราว เชิด ไปเสร็จ แล้วฉลองอาหารกันเต็มอิ่ม ค่ำมืดก็จุดไฟ เต้นรำทำเพลงกันสนุกยิ่ง ถือเป็นงานบุญอันยิ่งใหญ่ ที่เคยจัดที่วัดตะไกร
    เช้า ๐๖.๐๐ น. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๓๕๒ ตรงกับวันวิสาขบูชา ขบวนแห่นาคหลวงขบวนใหญ่ จัดแบ่งเป็น ๗ ตอน ประกอบด้วยพวกนักมวย กระบี่กระบอง กลองยาว เทียนอุปัชฌาย์ ไตร บาตร ไตรอุปัชฌาย์ เจ้าเมือง ข้าราชการผู้ใหญ่ กรมการเสมียนตรา ข้าหลวง ญาติมิตร คนช่วยงานถือของถวายอันดับ และพวกเต้นรำรำปร๋อหน้ากระบวนแห่ กระบวนเวียนโบสถ์ ๓ รอบ เจ้านาควันทาสีมา แล้วขึ้นโบสถ์ทิ้งทานเงินเกลื่อนพื้น เด็กผู้ใหญ่วิ่งเข้าแย่งเก็บกันอลหม่าน เจ้านาคเปลื้องเครื่องแต่งกายที่แห่มาเป็นชุดขาว ผ้ากรองทองห่มสไบเฉียง แล้วญาติโยมช่วยกันจูงเข้าอุโบสถ พระโหราธิบดีนำเข้ากราบไหว้พระประธาน
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="25%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="75%">ท่านเจ้าคุณพระธรรมาจารย์ วัดท่าหลวงเป็นประธานที่พระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูหนู เป็นกรรมวาจาจารย์ และพระครูพัฒน์ เป็นอนุศาสนะ ลงโบสถ์พร้อมกับพระสงฆ์อื่นรวม ๒๙ รูป แม่งุดจึงยื่นผ้าไตรส่งให้นาค เจ้านาคน้อมคำนับรับเอาเข้ามาในท่ามกลางสงฆ์ พวกกรมการยกเทียนอุปัชฌาย์ ไตรอุปัชฌาย์ พร้อมด้วยกรวยหมากเข้าส่งให้นาคถวายพระอุปัชฌาย์ แล้วเจ้านาคยืนขึ้นวันทาอ้อนวอนขอบรรพชาเป็นภาษาบาลี ครั้นเสร็จเรียนกรรมฐานแล้ว ออกครองผ้าเข้ามาถวายเทียน ผ้าไตรแก่พระครูหนู พระกรรมวาจา แล้วยืนขึ้นขอประทานวิงวอนขอพระสรณาคมน์ เข้ามายืนขอนิสัยพระอุปัชฌาย์ สำเร็จเป็นภิกษุภาวะ เมื่อ ๐๗.๐๐ น. ครั้นเสร็จการอุปสมบทแล้ว พระสงฆ์ทั้งปวงออกจากโบสถ์ก็ลงมาฉันเช้าที่ศาลาวัดตะไกร พร้อมกับพระภิกษุโตด้วย
    </td> </tr> </tbody></table> หลังจากพิธีอุปสมบทผ่านพ้นไปแล้ว พระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง ได้นิมนต์พระภิกษุโตกลับบางกอก เพื่อเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดระฆังฯ ต่อไป
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">พระภิกษุโตมีความรู้แตกฉานลึกซึ้งในพระไตรปิฎก เรียนจนกระทั่งพระอาจารย์หมดภูมิถ่ายทอด พระภิกษุโตต้องไปเรียนกับพระประธานในโบสถ์ รู้แจ้งเห็นธรรมทะลุปรุโปร่งแม้ท่านจะเรียนเก่งเพียงใด ท่านก็ปฏิบัติตรงต่อพระธรรมวินัย มีความเคารพยำเกรงต่อผู้ใหญ่ ปฏิบัตินอบน้อมถ่อมตนสม่ำเสมอกับคนทุกชนชั้น จึงเป็นเหตุให้อำมาตย์ราชเสนา คฤหบดี คฤหปัตนี คุณท้าว คุณแก่ คุณแม่ คุณนาย คุณชาย คุณหญิง ผู้คุ้นเคยไปมาหาสู่อาราธนาให้แสดงธรรมตลอดไตรมาสบ้าง พิเศษบ้าง เทศน์มหาชาติบ้าง สวดมนต์เย็น ฉันเช้าในงานมงคลต่าง ๆ เกิดอติเรกลาภเสมอ ๆ มิได้ขาด
    </td> </tr> </tbody></table> มหาโต
    ครั้นพระภิกษุโตมีอายุ ๓๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทรได้รับพระราชทานพระบวรราชอิสรศักดิ์สูงขึ้น เมื่อเสร็จอุปราชาภิเษกแล้ว พระภิกษุโตได้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล จึงทรงโปรดพระราชทานเรือพระที่นั่งกราบ เป็นเรือสีถวายให้โดยมีรับสั่งว่า "เอาไว้สำหรับไปเทศน์โปรดญาติโยม" ทั้งยังทรงแต่งตั้งให้เป็น "มหาโต" ด้วย แต่นั้นมาทุกคนในสยาม ก็เรียกท่านว่า มหาโต ทั่วทั้งแผ่นดิน มหาโตสอบได้เปรียญห้า ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร และไม่เคยคิดจะสอบเปรียญธรรม เพื่อเพิ่มเติมประโยคบาลีให้สูงขึ้นไปอีก เนื่องจากท่านมีความคิดว่า ท่านจะเหนืออาจารย์ไม่ได้ แต่กระนั้นก็ตาม มหาโตมักจะได้รับเชิญเป็นกรรมการสอบทุกครั้ง ในการสอบนักธรรมสนามหลวง
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="25%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="75%">ลุเข้าพุทธศักราช ๒๓๗๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักใหม่ ในวัดมหาธาตุ (เปลี่ยนชื่อจากวัดนิพพานาราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๒) เพราะทูลกระหม่อมฟ้าพระองค์ใหญ่ จะทรงพระผนวชเป็นสามเณร พระมหาโตได้เป็นพระพี่เลี้ยงและเป็นครูสอนอักขระขอม ตลอดจนคัมภีร์มูลกัจจายน์ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชมีกิจ พระมหาโตจะเป็นพระอาจารย์ขยายความแทน เป็นเหตุให้พระมหาโตสนิทคุ้นเคยกับทูลกระหม่อมองค์ใหญ่อย่างลึกซึ้ง และได้รับความไว้วางใจอย่างสูงสุด เมื่อทูลกระหม่อมองค์ใหญ่ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ต่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    </td> </tr> </tbody></table> เข้าป่า
    วิถีชีวิตของมหาโตเปลี่ยนแปลง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนแปด แรมสิบเอ็ดค่ำ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๑๘๖ อันเป็นแผ่นดินของรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติ มหาโตก็ธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ข้ามประเทศลาวและเขมร ตลอด ๒๕ปีที่รัชกาลที่ ๓ ขึ้นครองราชย์ พระมหาโตได้ศึกษาชีวิตของสัตว์ในป่า และธรรมชาติด้วยตนเองรูปเดียว จนกระทั่งฝึกจิตได้ฌานขั้นสูง สำเร็จอนุสติฌานและเจโตปริยญาณ สามารถหยั่งจิตพูดคุยกับสัตว์ป่ารู้เรื่อง ท่านปฏิบัติจิตอยู่ในดงพญาไฟนานถึง ๑๕ ปี จึงได้ประสบกับความสำเร็จดังกล่าว
    พอถึงปีพุทธศักราช ๒๓๙๔ ทูลกระหม่อมองค์ใหญ่เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว งานชิ้นแรกที่พระองค์ทำ คือ ประกาศหาตัวพระมหาโต โดยสั่งเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ ฝ่ายตะวันออก ฝ่ายตะวันตก ทั่วราชอาณาจักรให้จับพระมหาโต ส่งมายังเมืองหลวงให้ได้ พร้อมทั้งให้เจ้าคณะเหนือ กลาง ใต้ ตก ออก ค้นหามหาโต พระที่มีรูปร่างผอม ๆ หน้าตาเหมือนมหาโตหน่อยก็ถูกจับส่งเข้าเมืองหลวง จนกระทั่งข่าวจับพระมหาโต ดังถึงหูชาวบ้านชาวป่าต่างรู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินสั่งให้จับมหาโต
    มอบตัว
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="75%">มหาโตหนีกบดานเฉพาะอยู่ในดงพญาไฟนานถึง ๑๕ ปี ถึงกับอุทานขึ้นมาว่า "กูหนีมา ๒๕ ปี ทำไมเพิ่งมาประกาศจับ" ถามไปถามมาจึงรู้ว่าเปลี่ยนแผ่นดินแล้ว มหาโตก็ไปโผล่ที่บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ให้ตำรวจหลวงนำท่านเข้าบางกอก และได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๔ ณ พระที่นั่งอัมรินทร์ฯ ท่ามกลางขุนนาง ข้าราชการ ครั้นรัชกาลที่ ๔ เห็นมหาโต มีพระราชดำรัสว่า "เป็นสมัยของฉันปกครองแผ่นดินแล้ว ท่านต้องช่วยฉันพยุงพระบวรพุทธศาสนาด้วยกัน" แล้วมีพระบรมราชโองการให้กรมสังฆการี วางฎีกาตั้งพระราชาคณะตามธรรมเนียม พระมหาโตก็เข้าไปตามฎีกานิมนต์ จึงถวายสัญญาบัตร ตาลปัตรแฉกหักทอง ด้ามงาเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิตติ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม มีฐานานุกรม ๓ องค์ มี นิตยภัตเดือนละ ๔ ตำลึง ๑ บาท ทั้งค่าข้าวสาร
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" width="25%">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เจ้าคุณเจ้าอาวาส
    เมื่อออกจากพระบรมมหาราชวังแล้ว ท่านแบกพัดไปเองถึงบางขุนพรหมและบางลำพู บอกลาพวกสัปปุรุษที่เคยนับถือ มีเสมียนตราด้วงและพระยาโหราธิบดีเก่า และผู้อื่นอีกมาก แล้วท่านก็กลับมาวัดมหาธาตุฯ ลาพระสงฆ์ทั้งปวง ลงเรือกราบสีที่ได้รับพระราชทานมาแต่พระพุทธเลิศหล้าฯ ข้ามไปกับเด็กช้างผู้เป็นหลาน ท่านถือบาตร ผ้าไตร และบริขารไปบอกพระวัดระฆัง ฯ ว่า "เจ้าชีวิต ทรงตั้งฉันเป็นที่พระธรรมกิตติ มาเฝ้าวัดระฆังฯ วันนี้จ้ะ เปิดประตูโบสถ์รับฉันเถอะจ้ะ ฉันจะต้องเข้าจำวัดเฝ้าโบสถ์ จะเฝ้าวัดตามพระราชโองการรับสั่งจ้ะ" ท่านแบกตาลปัตรพัดแฉก สะพายถุงย่ามสัญญาบัติไปเก้ ๆ กัง ๆ มือหนึ่งถือกาน้ำ และกล้วยหวีหนึ่งพะรุงพะรัง พวกพระนึกขบขันจะช่วยท่านถือ เจ้าคุณธรรมกิตติก็ไม่ยอม พระเลยสนุกตามมุงดูกันแน่น แห่กันเป็นพรวนเข้าไปแน่นในโบสถ์ บางองค์ก็จัดโน่นทำนี่ ต้มน้ำบ้าง ตักน้ำถวายบ้าง ตะบันหมากบ้าง กิตติศัพท์เกรียวกราวตลอดกรุง คนนั้นก็มาเยี่ยม คนนั้นก็มาดูเลื่อมใสในจรรยาบ้าง เลื่อมใสในยศศักดิ์บ้าง ท่านทำขบขันมาก ดูสนุกเป็นมหรสพโรงใหญ่ทีเดียว บางคนชอบหวยก็เอาไปแทงหวย ขลังเข้าทุก ๆ วัน คนก็ยิ่งเอาไปแทงหวยถูกกันมากรายยิ่งขึ้น เลยไม่ขาดคนไปมาหาสู่ บางคนก็ว่าท่านบ้า บางคนก็ตอบว่า "เมื่อขรัวโตบ้า พากันนิยมชมว่าขรัวโตเป็นคนดี ยามนี้ขรัวโตเป็นคนดี พูดกันบ่นอู้อี้ว่าขรัวโตบ้า" บางวันเขานิมนต์ไปเทศน์ เมื่อจบท่านบอกว่า "เอวัง พังกุ้ย" บ้าง บางวันก็บอกว่า "เอวัง กังสือ" บางวันก็บอกว่า "เอวัง หุนหัน" เล่ากันต่อ ๆ มาว่าท่านเทศน์ไม่เว้นแต่ละวัน
    ครั้งหนึ่ง ที่วังเจ้าฟ้ามหามาลากรมหมื่นบำราบปรปักษ์ มีเทศน์ไตรมาส ๓ วัน ยก พระพิมลธรรม (อ้น) ถวายเทศน์ พระธรรมกิตติเป็นผู้รับสัพพี พระพิมลธรรมถวายเทศน์เรื่อง ปฐมสมโพธิ ปริเฉทลักขณะปริวัตรความว่า "กาลเทวินทร์ดาบสร้องไห้ เสียใจว่า ตนจะตายไปก่อน ไม่ทันเห็นพระสิทธารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซ้ำจะต้องไปเกิดในอสัญญีภพเสียอีก เพราะผลของอรูปสมาบัติเนวสัญญานาสัญญาตนะญานในปัจจุบันชาติ"
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">วันที่ ๓ ก็มาถวายอีก พระธรรมกิตติ (โต) ก็ไปรับสัพพีอีก เจ้าฟ้ามหามาลาฯ ทรงถามพระพิมลธรรมว่า "พระคุณเจ้า ฌานโลกีย์นี้ได้ยินว่าเสื่อมได้ไม่ใช่หรือ" พระพิมลธรรมรับว่า "ถวายพระพร เสื่อมได้" ทรงรุกอีกว่า "เสื่อมก็ได้ ทำไมกาลเทวินทร์ไม่ทำให้เสื่อมเสียก่อน บำเพ็ญแต่กามาวจรฌานถึงตายก่อนสิทธารถ ก็พอไปเกิดอยู่ในรูปพรหม หรือ ฉกามาพจรชั้นใดชั้นหนึ่งก็พอจะได้ เหตุใดไม่ทำฌานของตนให้เสื่อม ต้องมานั่งร้องไห้เสียน้ำตาอยู่ทำไม" คราวนี้พระพิมลฯ อั้นตู้ ไม่สามารถแก้ไขออกให้แจ้งได้ ส่วนพระธรรมกิตติ (โต) เป็นพระรับสัพพี เห็นพระพิมลธรรมเฉยไม่เฉลยข้อปัญหานั้น จึงออกเสียงเรอดัง "เออ" แล้วบ่นว่า "เราหนอช่างกระไรวัดระฆังฯ อยู่ใกล้ ๆ ตรงวังข้ามฝาก เหตุใดจึงไม่ข้ามฟาก ต้องมาฝืนร่างกายทนลำบากจนดึกดื่น ๒ วัน ๓ คืนดังนี้" แล้วท่านก็นั่งนิ่ง สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ ก็ทรงจุดเทียน พระพิมลธรรมก็ขึ้นถวายเทศน์จนจบ ลงธรรมาสน์แล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ ก็ทรงประเคนเครื่องไทยธรรมพระพิมลธรรมยะถา พระธรรมกิตติรับสัพพี พระพิมลธรรม ถวายพระพรลา
    </td> </tr> </tbody></table> ตอบปัญหา
    เมื่อถึงกำหนดเทศน์อีก พระธรรมกิตติก็ได้รับฎีกาอันเป็นลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ นิมนต์เทศน์ต่อจากพระพิมลธรรม ท่านเต็มใจรับและบอกมหาดเล็กให้ไปกราบทูลให้ทรงทราบ
    ครั้นวัน ๗ ค่ำ เวลา ๓ ทุ่ม พระธรรมกิตติก็ไปถึงท้องพระโรง สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ เสด็จออก ทรงเคารพแล้วปราศรัย แล้วจุดเทียน พระธรรมกิตติขึ้นธรรมาสน์ถวายศีล ถวายศักราช ถวายพระพร แล้วจึงเดินคาถาที่ผูกขึ้นว่า
    วิมลธมฺมสฺส ฯลฯ กสฺมาโส วิโสจตีติ
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="25%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="75%">อธิบายความว่า "มหาบพิตรเจ้า มีพระปุจฉาแก่เจ้าคุณพระพิมลธรรมว่า เหตุไฉนกาลเทวินทร์จึงร้องไห้ ควรทำฌานของตนให้เสื่อมดีกว่านั่งร้องไห้" ดังนี้ข้อนี้อาตมภาพผู้มีสติปัญญาทราม หากได้รับพระอภัยโทษ โปรดอนุญาตให้แสดงต่อข้อปุจฉา อาตมาจำต้องแก้ต่างเจ้าคุณพระพิมลธรรมดังมีข้อความตามพระบาลีที่มีมาในพระปุคคลบัญญัติ มีอรรถกาฎีกา แก้ไว้พร้อมตามพระคัมภีร์ว่า
    </td> </tr> </tbody></table> กุปฺปธมฺโม อกุปฺปธมฺโม
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ท่านแสดงตามคำภีร์เสียพักหนึ่ง ว่าด้วยข้อฌานโลกีย์เสื่อมได้ในคนที่ควรเสื่อม ไม่เสื่อมได้ในคนที่ไม่ควรเสื่อม ฌานก็เสื่อมไม่ได้ตามบาลี แล้วอธิบายซ้ำว่า ธรรมดาฌานโลกีย์เสื่อมได้เร็วก็จริงอยู่ แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของผู้ได้ฌานมีความกระหายต่อเหตุการณ์ อารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจเป็นของใหม่ ของเก่าก็ยังอาลัยสละทอดทิ้งเสียไม่ได้ เพราะเคยเสวยสุขคุ้นเคยกันมานาน ของเก่าคือฌานที่ตนอาศัยสงบอารมณ์ ก็เห็นมีคุณดีอยู่ของใหม่ตามข่าวบอกเล่ากันต่อมา และคนที่ควรเชื่อได้ชี้แจงอย่างถี่ถ้วนว่า ของใหม่ดีอย่างนั้น ๆ แต่อาลัยของเก่ามาก จึงทิ้งไม่ได้ ทำไปไม่ได้ จะยึดสองฝ่ายก็ไม่ได้ เพราะของใหม่ไม่คุ้นกัน ไม่เคยเห็นใจกัน พะอืดพะอมมาก เสียดายของรักก็มี เสียดายของใหม่ คือรู้แน่ว่าพระสิทธัตถะจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็มี แต่แก่เสียใจว่าจะตายไปเสียก่อนและเห็นว่าพรหมโลกอยู่ในเงื้อมมือแน่นอน แต่คุณของการพบพระพุทธเจ้านั้นจะทำประโยชน์สุขสมบัติอะไร กาลเทวินทร์ยังไม่รู้ จึงไม่อาจทำฌานให้เสื่อม ทั้งเป็นบุคคลที่เป็นอกุปปธรรมยังไม่เป็นคนที่ควรเสื่อมจากคุณธรรมที่ตนได้ตนถึงด้วย เปรียบเหมือนคนที่ป่วยไข้อยู่ จะกระทำกระปรี้กระเปร่า แข็งแรงคึกคัก กินข้าว กินน้ำ อร่อยอย่างคนธรรมดาดีดีนั้นไม่ได้ คนที่ดีดี ผิวพรรณผุดผ่อง จะมารยาทำป่วยไข้ จะนั่งห่มผ้าคลุมกรอมซอมซ่อพูดกระร่อกระแร่เป็นคนไข้ก็ทำไม่ได้ ทำให้คนอื่นแลเห็นรู้แน่ว่า คนที่ทำเป็นไข้นั้นเป็นไข้มารยาไข้ไม่จริง คนในเห็นคนนอกเป็นสุขสบายก็ออกมาเป็นคนนอกไม่ได้ เหตุอาลัยความคุ้นเคยข้างในอยู่มาก คนนอกเห็นคนในนวยนาดน้ำนวลผ่องใสด้วยผ้านุ่งห่ม แต่ไม่อาจเป็นคนในกับเขา เพราะเป็นห่วงอาลัยของข้างนอก จะไปเที่ยวชั่วคราวนั้นได้ แต่จะไปอยู่ทีเดียวไม่ได้ เพราะไม่ไว้วางใจว่าเหตุการณ์ข้างในจะดีหรือเลวยังไม่แน่ใจ เป็นแต่กระหายอยู่เท่านั้น คนที่มีความสุขสบายอยู่ด้วย เพศบวชมาช้านาน แต่แลเห็นคนที่ไม่บวชเที่ยวเตร่ กินนอน ดู ฟัง เล่นหัวสบาย ไม่มีเครื่องขีดคั่นอะไรบางคราวชาววัดบางคนเห็นดีแต่ไม่อาจออกไป เพราะถ้าออกไปไม่เหมือนเช่นเขาหรือเลวทรามกว่าเขา จะทุกข์ตรมระบมทวีมากจะเดือนร้อนยิ่งใหญ่มาก ก็เป็นแต่นึกสนุกแต่ไม่ออกไปทำอย่างเขา เพราะอาลัยในความสุขในการบวชค้ำใจอยู่ออกไปไม่ได้ เป็นแต่ทำเอะอะฮึดฮัดไปตามเพลง คนที่ยังไม่เคยบวชนั้น เห็นว่าผู้บวชสบายไม่ต้องกังวลอะไร กินแล้วก็นอน นอนแล้วก็เที่ยวตามสบาย ไม่ต้องเหงื่อไหลไคลย้อย ไม่ต้องแสวงหาอาหารมีคนเลี้ยงคนเชิญน่าสบาย คนที่ไม่บวชคิดเห็นดีไป เพ้อ ๆ เท่านั้น แต่ไม่กล้าหันเข้ามาบวช เหตุว่ากามคุณทั้งห้าเหนี่ยวรั้งจิตใจไว้ สละมาเอาอย่างผู้บวชไม่ได้ เลยนั่งดูกันไปดูกันมา เพราะยังไม่ถึงคราวบวช หรือยังไม่ถึงคราวจะสึกก็ยังสึกและยังบวชไม่ได้นั่นเอง ข้ออุปมาทั้งหลายดังถวายวิสัชนามานี้ ก็มีอุปไมยเปรียบเทียบด้วยฌานทั้ง ๙ ประการ ที่เป็นธรรมเสื่อมได้เร็วก็จริง แต่ยังไม่ถึงคราวเสื่อม ก็ยังเสื่อมไม่ได้ กาลเทวินทร์ดาบสก็เปรียบดังชาววัด ชาวบ้าน ชาวนอกชาวใน ต่างเห็นของกันและกัน ไม่อาจแสร้งให้ฌานเสื่อม ที่ตรงแกร้องไห้นั้น อาตมภาพเข้าใจว่า แกร้องไห้เสียดายขันธ์ เพราะแกกล่าวโดยอันยังไม่รู้เท่าทันขันธ์ว่ามันเป็นสภาพแปรปรวน แตกดับเป็นธรรมดาของมันเอง แต่เวลานั้นโลกยึดถือขันธ์มาช้านาน ที่กาลเทวินทร์เจริญอรูปฌานจนสำเร็จ ก็เพราะคิดรักษาขันธ์เพื่อมิให้ขันธ์พลันแตกสลายทำลาย จึงพยายามมาให้สำเร็จความปรารถนาและเสียดายหน้าตา ถ้าชีวิตของแกอยู่มาอีก ๓๖ ปี แกจะได้เข้าบรรจบประสบคุยกับหมู่พุทธบริษัท และหมู่พระประยูรญาติ และหมู่พุทธมามกะผู้นับถือ แกจะพลอยมีชื่อยกตัวเป็นครูอย่างดีกว่าที่แล้วมา แต่พระอรรถกถาจารย์ท่านไม่ว่าอย่างขรัวโตเห็น ท่านก็เพียงว่ากาลเทวินทร์เสียใจว่าจะตายเสียก่อนเท่านั้น ไม่ทันพระสิทธัตถะเป็นพระพุทธเจ้าเท่านี้ฯ
    </td> </tr> </tbody></table> ท่านเจ้าคุณธรรมกิตติ (โต) เทศน์ได้จับใจคนฟัง ธรรมเทศนาของท่านเข้าใจง่าย ไม่ต้องนั่งแปลไทยเป็นไทย เพราะท่านใช้คำไทยตรง ๆ เป็นภาษาพื้น ๆ ที่คนทั่วไปฟังเข้าใจ ญาติโยมชมว่าดี ได้อรรถรสในการฟังธรรม เป็นที่นิยมของคนทุกชั้น ฟังไปก็สนุกได้คติธรรม ไม่ง่วงเหงาหาวนอนเหมือนพระอาวุโสอื่น ๆ เทศน์บาลีปนภาษาสยาม สาธุชนผู้สดับฟังไม่ได้ร่ำเรียนมาฟังไม่เข้าใจ ผลสุดท้ายก็สัปหงกกันเป็นแถว
    ดั่งเช่นครั้งหนึ่ง เมื่อคราวที่พระธรรมกิตติ (โต) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้รับนิมนต์ให้แสดงธรรม ณ พระที่นั่งอัมรินทร์ฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกท่ามกลางหมู่ขุนนางข้าราชการ และข้าราชบริพาร

    พอปะหน้าท่านเจ้าคุณพระธรรมกิตติ (โต) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสัพยอกว่า "ว่าไงเจ้าคุณ เขาชมกันทั้งเมืองว่าเทศน์ดีนักนี่ วันนี้ขอพิสูจน์หน่อย"
    ท่านเจ้าคุณพระธรรมกิตติ (โต) ถวายพระพรว่า "ผู้ที่ไม่รู้เหตุผลในธรรม ครั้นเขาฟังรู้เขาก็ชมว่าดี ขอถวายพระพร"
    <!-- InstanceEndEditable -->
    </td></tr></tbody></table>
     
  2. naron

    naron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2,515
    ค่าพลัง:
    +3,573
    อนุโมทนาสาธุบุญทุกๆกองบุญ กับทุกหลวงพ่อ และทุกๆท่านพระโพธิสัตว์ครับ
     
  3. จันทโชติ

    จันทโชติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +471
    ร่วมกันสร้างไว้เพื่อเป็นสมบัติโลกครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,875
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    . .
    [​IMG]
    กราบหลวงพ่อโตเจ้าค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpToPrommrangsri.jpg
      LpToPrommrangsri.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.1 KB
      เปิดดู:
      658
    • LpToh.JPG
      LpToh.JPG
      ขนาดไฟล์:
      148.4 KB
      เปิดดู:
      77

แชร์หน้านี้

Loading...