ทุกท่านรู้จักพระพุทธศาสนาแบบศูนย์ภาวะหรือเปล่าครับ?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย กัลกิ, 5 กรกฎาคม 2011.

  1. กัลกิ

    กัลกิ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +5
    ธรรมชาติคือสิ่งสร้างสรรค์และทำลาย พระพุทธศาสนาก็สอนถึงหลักความสมดุล หรือจะเรียกว่าทางสายกลางก็ไม่ผิดจากกันนัก โดยเฉพาะมีพระพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่งซึ่งเราลืมกันไปแล้ว พระพุทธศาสนาแบบนี้พบในแถบใต้จรดอินโดนีเซีย ปะปนกับแบบมหายาน และยังพบที่ภาคอีสานตอนล่าง น่าจะพบที่เขมรอีก เราเรียกพระพุทธศาสนาแบบศุนย์ภาวะ พบหลักฐานที่จารึกปราสาทหินพิมาย คำว่า ศูนย์ภาวะ ก็หมายถึง การดับสูญ (ทั้งกิเลสและการเวียนว่ายตายเกิด) ซึ่งทางเถรวาทจะเรียก "สุญญตา" นอกจากนี้ยังบอกได้จากเลขฐานจำนวนเต็ม ก็คือ เส้นจำนวนนั่นเอง ถ้าเราลากเส้นจำนวนจะพบว่าธรรมชาติของตัวเลขจะมี 3 ชนิดใหญ่ ก็คือ จำนวนเต็มลบ จำนวนเต็มศูนย์ และจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มศูนย์อยู่ตรงกลางพอดี นั่นคือศูนย์ภาวะหรือทางสายกลาง หรือความสมดุลนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบหลักฐษนอีกว่า เลขศูนย์นี้ถูกค้นพบในแถบอารยธรรมสินธุ (อินเดียเนปาล โฮเมนโดจาโร - ฮารัปปา)) และอารยธรรมสุวรรณภูมิ (ไทย ขอม ลาว มอญ พม่า) นี้มาก่อน ฝรั่งไม่มีเลขศูนย์ตั้งแต่แรกแล้วครับ หลักฐานก็คือเลขฮินดูอารบิค และเลขไทยที่เราอยู่ทุกวันนี้ไงครับ ฝรั่งรับวัฒนธรรมเลขฮินดูอารบิคไปใช้นั่นเอง
    หลักทางสายกลางใช้ได้ทุกอย่างในจักรวาล ซึ่งก็คือ น้อยเกินไปไม่ดี มากเกินไปไม่ดี ต้องพอดี พอเหมาะ พอควร หรือสมดุลนั่นเองครับ ยกตัวอย่างเช่นโลกของเราก็เหมือนกัน ถ้าร้อนจัดแบบดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ก็กำเนิดสิ่งมีชึวิตไม่ได้นัก หรือถ้าหนาวจัด เหมือนดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มากก็กำเนิดสิ่งมีชีวิตไม่ได้นักเช่นเดียวกัน แม้มีได้ก็ไม่สามารถวิวัฒนการได้ เรียกได้ว่าต้องสมดุลหรือทางสายกลางเท่านั้น ซึ่งก็โยงไปหาหลัก "ศูนย์ภาวะ" ได้นั่นเองครับ ดังนั้นที่ธรรมชาติกำลังปรับสมดุลใหม่ ก็ด้วยสาเหตุแห่งทุกข์ การห่างไกลธรรม (ไม่มีศิลธรรม จริยธรรม และคุณธรรม) และเกินพอดีนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ประชากรโลกกำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ มีการคาดการว่าในอนาคตจะมีประชากรมากถึง 7000 ล้านคน ซึ่งก็กำลังจะเป็นจริงในไม่ช้านี้แล้ว ผมของการเกินพอดีจะทำให้เกิดวามวุ่นวายต่าง ๆ ตามมา ทั้งการแย่งปัจจัยต่าง ๆ การแข่งขัน และการเบียดเบียนกัน เป็นต้น






    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    สุญตา ไม่ใช่ดับสูญ ลัทธิดับสูญ หรือ มีอัตตา ไม่สูญ มีมาก่อนศาสนาพุทธ สุญตาเป็นบัญญัติ ของท่านนาคารชุน อธิบายภาวะนิพพาน ที่ไม่สามารถอธิบายด้วยคำพูดหรือ ตัวอักษร และไม่ใช่ทั้ง สูญ หรือไม่สูญ เข้าถึงได้ด้วยการปฎิบัติ ที่คุณกล่าวถึงที่มาว่าพบที่นั่นที่นี่ก็ คนนี้แหละครับ ท่านนาคารชุณ แห่งสำนัก มาธยมามิกะ(ศูนยตาวาท) และทางสายกลาง กำเนิดประมาณ 250 ปีหลังพุทธปรินิพพาน
     
  3. กัลกิ

    กัลกิ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +5
    ทราบครับผม ไม่ได้หมายถึงดับสูญอย่างนั้น แต่หมายถึงการดับจากกิเลศหรือไม่มีการเวียนว่ายตารเกิด ไม่ทราบว่าจะถูกต้องหรือเปล่า แต่พบจริง ๆ เพียงแต่อาจจะถูกนำมาใช้อธิบายได้บ้างบางกรณี แม้แต่หนังสือโบราณที่บ้านผมก็มีการอธิบายการใช้เลขศูนย์นี้ด้วย ในพจนานุกรม พ.ศ. 2525 ก็มีบอกไว้ว่าเป็นสายหนึ่ง ส่วนเรื่องทางสายกลางมีตั้งแต่ทรงตรัสรู้แล้วมิใช่หรือครับ... ส่วนเรื่องสมดุลนะผมต้องการอธิบายให้เข้าใจมีลักษณะที่เหมือนกัน แต่ต่างกันที่คำที่ใช้เท่านั้น เฉกเช่น คำว่า พอเพียง ก็มาจากทางสายกลางมิใช่หรือครับ... บางลัทธฺิใช้สมดุล เช่น เต๋า ก็คือคำ ๆ เดียวกัน ซึ่งเราจะพบว่าความสัมพันธ์ของเต๋านั้นใกล้เคียงกับพุทธสายเซ็นมากกว่าสายของเรามิใช่หรือครับ ? ผมเองบางทีก็ไปศึกษาพุทธสายอื่นบ้างเหมือนกัน อย่างไรก็ดีผมก็คิดว่าควรปฏิบัติดีทั้งกาย วาจา และใจ มากกว่าเช่นกันครับ
     
  4. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234
    ศูนย์ก็คือ0 เกินนิดเดียว ขาดนิดเดียว....ก็ไม่ได้.... ทางมันช่างแคบจริงหนอ....
     
  5. กัลกิ

    กัลกิ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +5
    มาว่ากันต่อนะครับ พจนานุกรม พ.ศ. 2525
    ศูนยวาท เป็นสายหนึ่งของมหายาน (หมายถึงศูนยภาวะ)
    สุญตา หมายถึง ความว่างเปล่า
    ท่านพุทธทาสภิกษุ ใช้คำว่า สุญญตา แทน ซึ่งก็คือ ความว่างเปล่านั่นเอง ความว่างเปล่านี้ คือไม่มีอัตตา (ตัวเรา) และ อัตตนียา (ของเรา) ทุกอย่างล้วนเป็นธรรมชาติ หรือเป็นธาตุตามธรรมชาติ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) มีกลไกปรุงแต่ง (mechanism) เพียงทำจิตให้ว่าง
    ศูนยวาท เท่าที่ดู จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนมหายานนัก ผมจึงเรียกเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่มีลักษณะคล้ายสุญญตา เพราะศูนย์ หมายถึง ไม่มี หรือว่างเปล่า ปัจจุบันเราใช้คำในภาษาไทยไปผิดจากสมัยก่อนมาก ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกับคำว่าว่างเปล่า คือบางคนใช้ในทางไม่ดี จริง ๆ แล้ว หมายถึง การปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น นั่นเอง และยังมีความหมายลึกลงไปอีก ท่านสามารถศึกษาได้จากสายของท่านพุทธทาสได้ครับ ด้วยความหมายดังกล่าว เรานำคำว่า "สุญ" มาใช้กับอวกาศ เป็นคำว่า "สุญญากาศ" หมายถึง ไม่มีอากาศ ด้วยเหตุนี้กระมัง ชาวศรีวิชัยโบราณ ถึงได้จารึกไว้ดังที่ sunhourse เคยโพส เรื่อง "คำสาบศรีวิชัย" ไว้นั่นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...