ของดีราคาถูก พระหลักร้อย พุทธคุณหลักล้าน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย mayakarn, 22 กรกฎาคม 2011.

  1. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ตามหัวข้อเลยครับ

    ใครมีพระดีๆ ราคาไม่แพง หลักสิบ หลักร้อย หลักพันต้นๆ

    เอามาบอกกล่าวให้ทราบกันบ้างครับ

    เผื่อสำหรับคนที่อยากมีของดีไว้คุ้มครอง แต่ทุนทรัพย์น้อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2012
  2. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ขออนุญาติเริ่มก่อนนะครับ

    องค์แรกนี่เป็นพระของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

    [​IMG]
    [​IMG]
     
  3. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    องค์นี้เป็นเหรียญหล่อของ อ.เชื้อ หนูเพชร ออกวัดชัยพฤกษ์ ตลิ่งชันครับ

    [​IMG]
    [​IMG]

    ใครมีอะไรดีๆ มาบอกต่อแบ่งปันกันบ้างนะครับ
     
  4. Magicbunny

    Magicbunny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +614
    พระผงดวงเศรษฐี หลวงปู่หมุน ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    ขอนำเสนอองค์นี้เลยครับ พระอู่ทองออกศึก

    ของดีราคาถูกที่ไม่ควรมองข้ามจริงๆ เก็บได้รีบเก็บนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    อีกสักองค์ พระพุทโธน้อย คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม วัดอาวุธ องค์นี้เริ่มทำท่าว่าราคาจะไม่ค่อยถูกซะแล้ว เจอต้องรีบเก็บครับ

    [​IMG]
    [​IMG]
     
  7. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    พระเทริดขนนก ค่ายอดิศร พิธีเดียวกันกับพระกริ่งตากสินฯ ครับ พระคณาจารย์ผู้ทรงอภิญญาปลุกเสกเพียบครับ
    พระดีไม่จำเป็นต้องตามกระแสครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ขอบคุณคุณ Magicbunny และคุณเด็กมัธยม ที่ช่วยมาแบ่งปันสิ่งดีๆ ครับ
    พระของหลวงปู่หมุนนี่ผมก้กำลังสนใจอยู่เลยครับ
    ส่วนอู่ทองออกศึกนี่ผมมีอยู่องค์นึง ยังไม่รู้เลยว่าจริงหรือปลอม ไม่ทราบว่าอู่ทองออกศึกนี่มีของปลอมมั๊ยครับ
     
  9. Magicbunny

    Magicbunny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +614
    เหรียญหมุนเงินหมุนทอง หลวงปู่หมุนครับ
    ใครค้าขาย ควรหามาบูชา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    พระขรรค์ หลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด เพชรบุรี เล่มนี้แกะจากงาครับ

    [​IMG]

    ส่วนเล่มนี้ผมแกะเองจากไม้มะยมตายพราย (ตายยืนต้น) แล้วเอาให้หลวงพ่อแถมท่านช่วยลงให้ครับ

    [​IMG]
     
  11. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ค่าเช่าบูชาประมาณเท่าใหร่เหรอครับ ที่วัดยังมีเหลือบ้างมั๊ยอ่ะครับ
     
  12. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ปี13 ครับ ตอนนี้ของปลอมเยอะมากๆแต่ราคายังไม่แรงมากนะครับ รีบๆเก็บไว้ก็ดีนะครับ

    พิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ พิธียิ่งใหญ่รองจาก พิธี 25 พุทธศตวรรษเลยทีเดียว จากระยะนั้นถึงเวลานี้ได้มีวัตถุมงคลอุบัติขึ้นหลายแบบ หลายประเภท และบางแบบ บางชนิด ได้ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งจะเป็นด้วยเหตุใดก็ไม่อาจทราบ หรือบางทีอาจจะเป็นเพราะธุรกิจในเชิงพุทธพาณิชย์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ ทั้ง ๆ ที่จัดว่าเป็นของดีมีองค์ประกอบอยู่หลายประการคือ เจตนาการสร้างดี พิธีกรรมดี คณาจารย์ปลุกเสกดี และประสบการณ์ดี วัตถุมงคลประเภทหรือชนิดหนึ่งที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้คือ เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์

    เหรียญนี้เริ่มสร้างขึ้นภายหลังจาก ที่ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัย ดาบหัก ครบ 1 ปี เรื่องอนุสาวรีย์นี้ ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เรียกร้องปรารถนาให้มีขึ้นนานแล้วแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาถึงสมัยนายเวทย์ นิจถาวร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีพ่อค้า ประชาชน ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นทุนก่อสร้าง โดยไม่มีงบประมาณแผ่นดินของทางหน่วยงานราชการ มาเกี่ยวข้องเลย เป็นการเกิดจากกำลังศรัทธาอันแรงกล้า ของชาว จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ต้องการเทิดทูนเกียรติประวัติยอดวีรบุรุษผู้กล้าหาญ และเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และประชาชนชาวไทย ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้นเชิงแม้ไม้มวยไทย และ ชั้นเชิงทางเพลงดาบ และเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ท่านเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช ในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู มาได้จนเป็นประเทศไทยกระทั่งถึงทุกวันนี้

    อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ออกแบบและหล่อด้วยทองเหลืองและโลหะผสม โดยกรมศิลปากร ขนาดใหญ่กว่าคนในยุคปัจจุบันจริง 3 เท่า ในชุดนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ในลักษณะยืนถือดาบ 2 ข้าง มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มีการวางศิลาฤกษอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ. ศ. 2511 จนก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดอย่างป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ. ศ 2512 และทางคณะกรรมการซึ่งมีพลโทสำราญ แพทย์กุล แม่ทัพภาคที่ 3 (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) เป็นประธาน นายเวทย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ขณะนั้นป็นรองประธาน พร้อมด้วยที่ปรึกษาอันทรงเกียรติอีกหลายท่าน ได้ร่วมดำเนินงานการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหักขึ้น ออกแบบเหรียญโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยจำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์

    จากนั้นจึงจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้น เป็นพิธีมหาจักรพรรดิ์ครั้งยิ่งใหญ่ ฃึ่งรองจาก พิธี 25 พุทธศตวรรษเลยทีเดียว โดยกราบทูลอาราธนา สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฎกษัตริย์ กรุงเทพฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย พร้อมกันนี้ ทางคณะกรรมการผู้จัดสร้าง ได้กราบอาราธนา นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณร่วมสมัย ซึ่งมีชื่อเสียงทรงวิทยาคุณ เป็นที่รู้จักกันดีจากจังหวัด ต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น

    1.สมเด็จ พระสังฆราช วัดมกุฏกษัตริย์ กรุงเทพฯ ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย

    2.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง

    3.หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว อุตรดิตถ์ (ท่านเก่งทุกด้าน ที่ลือลั่นไปถึง ต่างประเทศนั่นคือ กิเลนเงิน-กิเลนทอง นำโชค)

    4.หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง อุตรดิตถ์

    5.หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย สุโขทัย

    6.หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง สุโขทัย (ท่านดัง ด้านตะกรุดมหาสะท้อน )

    7.หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี

    8.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

    9.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์

    10.หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์

    11.หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา

    12.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี

    13.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร

    14.หลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์

    15.หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง

    16.หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ระยอง

    17.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง

    18.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี

    19.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์

    20.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช

    21.หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์

    22.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม

    23.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ศรีสะเกษ

    24.หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร

    25.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่

    26.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร

    27.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี

    28.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี

    29.หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี

    30.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม

    31.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร

    32.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี

    33.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี

    34.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพน

    35.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา

    36.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม

    37.หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม

    38.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม

    39.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร

    40.หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ

    41.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี

    42.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช

    43.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม

    44.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา

    45.หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช

    46.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ (อธิษฐานส่งจิตมา)

    47.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี

    48.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี

    49.หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี

    50.หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา

    51.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา

    52.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่

    53.หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา

    54.หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น

    55.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่

    56.หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์

    57.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี

    58.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา

    59.หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธานี

    60.หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี

    61.หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี

    62.พระครูเมตยานุรักษ์ วัดวชิราลงกรณ์ นครราชสีมา

    63.พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี

    64.พระวิบูลเมธาจารย์ (เก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

    65.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี

    66.พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี

    67.หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี

    68.พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม

    69.หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นครนายก

    70.หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี

    71.พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี

    72.หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี

    73.พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์

    74.พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา

    75.หลวงพ่อมิ วัดสะพาน ธนบุรี

    76.พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.

    77.พระอาจารย์บำเรอ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.

    78.พระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล กทม.

    79.พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา

    80.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร

    81.หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี

    82.หลวงพ่ออินทร์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม.

    83.หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง

    84.หลวงพ่อสาย วัดจันทรเจริญสุข

    85.หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี

    86.หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม

    87.หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง

    88.หลวงปู่สี วัดสะแก

    89.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน

    90.หลวงพ่อเขียว วัดหรงบล

    91.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน

    92.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก

    93.หลวงพ่อโด่ วัดนาตูม

    94.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ (ใช้มวลสารของหลวงพ่อเปลี่ยนมาร่วมสร้าง) ศิษย์ท่านมาเสกให้นะครับ

    95.หลวงพ่อ อุตมะ วัดวังวิเวการาม

    96.หลวงพ่อหว่าง วัดท่าพุทรา (ท่านดังเรื่องตะกรุด)

    97.ครูบาวัง วัดบ้านเด่น

    98.หลวงพ่อทองสุข วัดโพธิ์ทรายทอง

    99.หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร

    100.หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม

    101.หลวงพ่อเกษม เขมโก

    102.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ

    103.หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ

    104.หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก

    105.หลวงปู่บุญทอง พัทลุง

    106.หลวงพ่อหรั่ง พิษณุโลก

    107.หลวงปู่อ่อน พิษณุโลก

    108.หลวงพ่อรอด พิษณุโลก

    109.หลวงพ่อทา วัดดอนตัน จ.น่าน

    110.พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร

    111.พ่อท่านบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช

    112.หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี

    113.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา

    และคณาจารย์ต่างๆที่ไม่ได้กล่าวนามอีกหลายท่าน มานั่งปรกอธิษฐานจิตมหาพุทธาภิเษกในพิธีครั้งนี้ ตามหมายกำหนดซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2513 ดังนี้ มีการรำมวยชกมวยไทย รำดาบและฟันดาบจากสำนักดาบพุทธไธสวรรค์ ต่อหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เวลา 14.30 น. พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมดพร้อมที่ ปะรำมลฑลพิธี เวลา 15.00 น. พระราชครูวามเทพมุณี ฝ่ายพราหมณ์ ได้ทำพิธีบวงสรวงสักการะดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก กับบวงสรวงสักการะเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล และบูชาฤกษ์ เป่าสังข์ เคาะบัณเฑาะว์ และลั่นฆ้องชัย เวลา 15.27 น. สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำพิธีจุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ แล้วสมเด็จพระสังฆราชทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ในมลฑลพิธี ขณะเดียวกันก็เกิดปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ทรงกลดและมีฝนตกเป็นละอองเบาบาง ทั้งๆที่เป็นฤดูหนาวและไม่มีเค้าว่าฝนจะตกเป็นอัศจรรย์ ประหนึ่งว่าเหล่าเทพยาดาทั่วจักรวาล อนันตจักรวาล ได้รับรู้ ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ได้ประพรมประสาทพรด้วยน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์ บรรดาผู้ร่วมพิธีต่างปิติยินดี ในปรากฏการณ์ในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง

    เมื่อถึงเวลา 19.30 น. เริ่มพิธีมหาพุทธาภิเศก พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทั้งหมด เข้านั่งปรกอธิษฐานจิต ในมลฑลพิธีมหาพุทธาภิเษก สลับกับ การสวดมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช โดยพระพิธีธรรมจาก สำนักวัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ จำนวนสองชุดละ 8 รูป จนตลอดรุ่ง จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 เวลา 06.10 น. กระทำพิธีดับเทียนชัย

    หลังจากนั้นทางคณะกรรมการได้เปิดจำหน่ายเหรียญพระยาพิชัยดาบหักในงานประจำปีที่

    กำหนดขึ้นระหว่าง วันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2513 เพื่อให้ผู้มาเที่ยวงานได้บูชากันเป็นการน้อมรำลึกถึง บรรพบรุษผู้กล้าหาญของชาติท่านหนึ่ง นั่นคือ “ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ซึ่งเก่งกล้าสามารถทั้งชั้นเชิงแม้ไม้มวยไทยและชั้นเชิงทางเพลงดาบ และท่านเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งของพระเจ้าตากสิน มหาราช ท่านจะเป็นทัพหน้าในการออกศึกโจมตีข้าศึกทุกครั้ง คือ”ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก “ ท่านเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน มหาราช คู่พระทัยในการกอบกู้เอกราช ของชาติไทย ปราบชุมนุมต่างๆ รวบรวมเป็นประเทศชาติไทย และปกป้องอธิปไตยให้พ้นจากข้าศึกศัตรู มาได้จนเป็นประเทศไทยถึงทุกวันนี้ ลักษณะของเหรียญเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ออกแบบเหรียญโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ด้านหน้า มีรูปพระยาพิชัยดาบหัก ในชุด แม่ทัพนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ยืนถือดาบ 2 ข้างส่วนข้างขวาหัก 1 ข้าง ซึ่งกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์ มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มุมขอบข้างล่างปรากฎตัวหนังสือไทยว่า พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านหลังเป็น ยันต์เกราะเพชร ยันต์มะอะอุ ยันต์หัวใจมนุษย์ ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ยันต์พุทธซ้อน ยันต์เฑาะว์ ยันต์ฤษี ฤาฤา ประกอบอักขระขอมและตัวนะต่าง ๆ กับมีตัวหนังสือ ๑ ก.พ. ๒๕๑๓ ด้านล่างเหรียญ ในการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ครั้งแรกนี้ทางคณะผู้ดำเนินการสร้างได้เตรียมการสร้างอย่างดีที่สุด ดังนั้นเพื่อให้สมกับเป็นเหรียญยอดวีรบุรุษนักรบผู้เก่งกล้า ทั้งแม้ไม้มวยไทยและชั้นเชิงเพลงดาบ ร่วมกับพระเจ้าตากสินมหาราชกู้เอกราช และรวบรวมชาติไทย โดยคณะกรรมการได้ส่งแผ่นโลหะทองคำ เงิน และทองแดง ไปอาราธนาให้คณาจารย์ผู้ทรง คุณวุติแก่กล้าทางวิทยาคมทุกท่านทั่วประเทศที่ได้ลงรายนามที่ทุกท่าน ช่วยลงอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาหลอมเป็นชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์ยังมีการรวบรวมเอาตะกรุดและชนวนวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆอีกเป็นจำนวนมากผสมเพิ่มเติมอีกด้วย มารีดเป็นแผ่นโลหะพร้อมที่จะนำไปปั้มเป็นเหรียญ โดยแบ่งเหรียญโลหะออกเป็นสามชนิดคือ ทองคำ เงิน และทองแดง เรียกว่าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ปี 2513 นี้ ดีทั้งในคือชนวนมวลสารดี และดีทั้งนอกคือเจตนาการสร้างดี พิธีดี คณาจารย์พุทธาภิเศกดี เลยทีเดียว มีจำนวนการสร้างเหรียญดังนี้

    1.เนื้อทองคำสร้างจำนวน 189 เหรียญ สร้างไว้เท่าจำนวน 189 ปีที่พระยาพิชัยดาบหักถึงแก่อสัญกรรม ถึงพ.ศ.2513 ให้บูชาราคาเหรียญละ 999 บาท (สมัยนั้นราคาทองคำบาทละ 450 บาท )

    2.เนื้อเงินสร้างจำนวน 999 เหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 99 บาท (ราคาสมัยนั้น)

    3.เนื้อทองแดงสร้างจำนวนมากหลายหมื่นเหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 9 บาท (ราคาสมัยนั้น)

    เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ๒๕๑๓ แบ่งออกเป็น 2 บล๊อกพิมพ์ คือ บ.ขาด และ บ.เต็ม(เส้นขีดด้านล่างของ บ.) คือ บ.ของคำว่า “ดาบ” ส่วนด้านหน้าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ตรงไหล่ซ้ายจะมีจุดไข่ปลา 1 จุด และยันต์ต่างๆ ด้านหลังเหรียญ จะเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันที่บ.ขาด และบ.เต็ม เท่านั้น และบล๊อกแม่พิมพ์ทั้ง 2 บล๊อกได้ถูกเจียรทำลายไปทั้งหมด..................

    (ขอขอบคุณ คุณแรมโบ้ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    หลวงพ่อเจ็ก วัดระนาม เป็นเกจิอาจาย์ชื่อดังของเมืองสิงห์บุรีอีกองค์ครับ

    [​IMG]
     
  14. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    พระนางพญา อ.ถนอม เห็นที่ไหนให้รีบเก็บเลยครับ

    พระนางพญา อ.ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก สร้างเมื่อปี2514 โดยนำพระแตกหักของพระนางพญากรุเก่าพิษณุโลกมาเป็นส่วนผสม จัดสร้างโดย วัดนางพญา จ.พิษณุโลก สมัย พระอาจารย์ถนอม เขมจาโร และพระครูบวรชินวัฒน์ โดยมี สมเด็จพระวันรัต (ปุน ปุณณสิริ) ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่17แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และทรงจุดเทียนชัย พระอาจารย์ไสว สุมโน เป็นเจ้าพิธี พระครูวามเทพมุนี เป็นประธานฝ่ายพราหมณาจารย์ และพลโทสำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่3 เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ทำพิธีดับเทียนชัย วัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาจตุปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถวัดนางพญา โดยเริ่มดำเนินการเมื่อวันพุธที่ 29 มกราคม 2512 เวลา 9 นาฬิกา 12 นาที เป็นปฐมฤกษ์ตามพระฤกษ์สร้างพระอุโบสถที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ตราธิราชตามจารีตประเพณีโบราณาจารย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2514 ในวิหารวัดนางพญา จ.พิษณุโลก พิธีนี้เป็นอภิมหาพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่มากในยุคนั้น โดยนิมนต์ยอดเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศ 108 รูป มาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเศกอาทิเช่น

    -หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
    -หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี
    -หลวงปู่ฝั้น อาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำขาม สกลนคร
    -หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ จ.ขอนแก่น
    -หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    -ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    -หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก เพชรบูรณ์
    -หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    -หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
    -หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    -หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
    -หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    ..และคณาจารย์อื่นๆอีกมากมาย

    สำหรับพิมพ์พระเป็นพิมพ์พระนางพญาที่ถอดพิมพ์มาและผสมเนื้อพระนางพญาจากกรุวัดนางพญา และที่ด้านหลังได้อัญเชิญพระฤกษ์พระราชทานมาประดิษฐานไว้ พระรุ่นนี้ปั้นกดพิมพ์พระด้วยมือทุกองค์ ซึ่งบางองค์จะมีรอยนิ้วมือ หรือรอยเล็บขูดขีดอยู่พอสมควร และการตัดขอบใช้ใบเลื่อยตัดขอบพระทีละองค์ๆ ดังนั้นบางองค์จะเห็นรอยใบเลื่อยที่ด้านข้างอย่างชัดเจน
    อาจกล่าวได้ว่าพระนางพญารุ่นนี้ เป็นรุ่นที่ใช้แทนนางพญากรุเก่าซึ่งเป็นหนึ่งในพระเบญจภาคีได้อย่างสนิทใจ เพราะชนวนมวลสารสร้างจากผงพระนางพญากรุเก่า และประกอบพิธีมหาพุทธาภิเศกอย่างถูกต้องและยิ่งใหญ่ ถือเป็นของดีราคาไม่แพงถ้าเทียบกับพระนางพญากรุเก่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. Magicbunny

    Magicbunny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +614
    เหรียญหมุนเงินหมุนทอง มีหนากับ บางครับ (คนละโรงงาน)
    แต่ปลุกเสกโดยหลวงปู่เหมือนกัน พุทธคุณเหมือนกัน
    เหรียญหนา ยังแบ่งออกเป็น ประคำ 18เม็ด และประคำ 19เม็ด(บล็อคทองคำ)
    ราคา เหรียญบาง ไม่เกิน ๕๐๐
    เหรียญหนา 19เม็ด ตอนนี้ เห็นหลักพันแล้ว / ส่วน 18เม็ด หย่อนอยู่ 100-200 ครับ


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    พระผงชินราชใบเสมา พิธีจักพรรดิ์ ครับ

    พระผง พระพุทธชินราช ใบเสมา เนื้อผง รุ่น พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก สร้างปี 2515 โดย พุทธสมาคม จังหวัด พิษณุโลก พิธีจักรพรรคิ์มหาพุทธาภิเษก -เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2515 พุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ได้จัดพิธี “จักพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก” ขึ้น ณ วิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เพื่อนำวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นเข้าพิธีปลุกเสกวัดถุมงคลรุ่นนั้นมี พระพุทธชินราชจำลอง พระชัยวัฒน์ พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ พระพิมพ์และเหรียญมหาจักรพรรคิ์ ฯลฯ

    -พิธีมหาจักรพรรดิพุทธาภิเษก เป็นพิธีที่ใหญ่มาก ยากแก่การดำเนินการจัดหาเจ้าพิธี ตลอดจน ตำหรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้ยาก ตามประวัติในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์ พิธี “จักรพรรค์มหาพุทธาพิเษก” นี้ ครั้งแรกได้กระทำพิธีในสมัยรัชการที่ 1 และไม่มีการกระทำพิธีนี้อีก -ในพิธีนี้พระอาจารย์ผ่อง(จินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส พระนคร และอาจารย์เทพย์สาริกบุตร ซึ่งเป็นเจ้าพิธี ได้กำหนดและควบคุม การดำเนินการกระทำพิธี “จักพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก” ครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณพิธีทุกประการ คณะกรรมการพิธี -สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย -ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย

    -พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง เป็นประธานบริกรรมปลุกเสก กรรมการฝ่ายพิธี

    -พระอาจารย์ผ่อง(จินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส พระนคร -อาจารย์เทพย์ สาริกย์บุตร พระนคร

    -อาจารย์มาโนช มาโสภาศ จังหวัดลำบาง กรรมการอุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์

    -พระสุวรรณ์วิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก

    -พระพิษณุบูราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ พิษณุโลก ฯลฯ กรรมการอุปถัมภ์ฝายฆราวาส

    -นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปรัดกระทรวงมหาดไทย

    -พล.ท.สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ 3

    -สมาคมนักเรียนเก่าพิษณุโลกพิทยาคม ฯลฯ กรรมการดำเนินงาน

    -คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก กรรมการที่บรึกษา

    -นายประชุม กาญจนวัฒน์

    -นายสุฉันท์ โพธิสุวรรณ ฯลฯ

    รายนามพระคณาจารย์บริกรรมปลุกเสก

    หลวงพ่อทอง พระครูวิริยะโสภิต วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี

    หลวงพ่อเงิน พระราชธรรมมาภรณ์ วัดดอนยาหอม จ.นครปฐม

    หลวงพ่อนาค พระครูจันทรโสภณ วัดทัศนารุณสุทธิการาม กรุงเทพฯ หลวงพ่อแดง

    พระครูญาณวิลาศ วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี

    หลวงพ่อหอม พระครูภาวนาณุโยค วัดชากหมากป่าเรไร จ.ระยอง

    หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์

    หลวงพ่อสด พระครูวิจิตนชัยการ วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท

    หลวงพ่อชื่น พระครูนนทกิจวิมล วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี

    หลวงพ่อบุญ พระครูประดิษฐ์นวการ วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี

    หลวงพ่ออยู่ พระครูสุตาธิการี วัดหนองพะอง จ.สมุทรสาคร

    หลวงพ่อกรับ พระครูธรรมสาครวัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร

    หลวงพ่อเจริญ พระครูปัญญาโชติ วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี

    หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี

    หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี

    พระครูสนิทวิทยการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี

    พระครูปิยะธรรมโสภิณ(หลวงพ่อคำ) วัดบำรุงธรรม จ.สระบุรี

    พระครูกิตพิจารณ์(หลวงพ่อผัน) วัดราฎร์เจริญ จ.สระบุรี

    พระครูพุทธฉายาพิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี

    พระครูสุวรรณวุฒาจารย์(หลวงพ่อมุ่ย) วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี

    พระวินัยรักขิตาวันมุนี(หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี

    พระครูวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี

    หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี

    - หลวงพ่อกี้ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี พระอาจารย์สมภพ (หลวงพ่อสาลีโข) วัดสาลีโข จ.นนทบุรี

    พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุ กทม.

    พระอาจารย์วิริยัง วัดธรรมมงคล กทม.

    พระเทพโสภณ วัดชนะสงคราม กทม.

    หลวงพ่อเต๋คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม

    พระครูสาธุกิจวิมล(หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม

    พระวิสุทธิรังษี วัดชัยชุมพลชนะสงคราม จ.กาญจนบุรี

    พระครูอุดมสิทธาจารย์(หลวงพ่ออุตมะ) วัดศรีสุวรรณ จ.กาญจนบุรี

    พระครูจันทสโรภาส(หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี

    พระครูโกวิทยาสมุทคุณ(หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม

    พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน จ.ประจวบคีรีขันธ์

    พระครูอุดมศีลจารย์(พ่อท่านเย็น) วัดโคกสะท้อน จ.นครศรีธรรมราช

    พระครูพิศาลพัฒนกิจ (พ่อท่านพระครูปลัดบุญรอด) วัดพัฒนาราม จ.นครศรีธรรมราช

    พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง

    หลวงพ่อสง วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร

    หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคา จ.ขอนแก่น

    หลวงปู่จันทร์ วัดสำราญ จ.อุบลราชธานี

    หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม จ.กาฬสิน

    หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก

    หลวงพ่อครูบาตัน วัดเชียงทอง จ.ตาก

    หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย

    หลวงพ่อปี๋ วัดลานหอย จ.สุโขทัย

    พระครูคีรีมาศธรรมคุณ วัดวาลุการาม จ.สุโขทัย

    พระครูพิลาศธรรมคุณ วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย

    พระครูไกรลาศสมานคุณ วัดกงไกรลาศ จ.สุโขทัย

    พระอาจารย์พวง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย

    พระอาจารย์ฉลอง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย

    พระครูพินิจธรรมภาณ วัดวังแดง จ.พิจิตร

    พระครูศรีพรหมโสภิต(หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี

    พระอาจารย์ผ่อง(จินดา) วัดจักรวรรคิ์ราชาวาส กทม.

    พระครูศรีปริยานุรักษี วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่

    พระครูวิรุฬธรรมโกวิทย์ วัดเจดีย์สถาน จ.เชียงใหม่

    พระครูมงคลคุณาธร วัดหม้อตองคำ จ.เชียงใหม่

    หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสต๋อย จ.เชียงใหม่

    หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง

    หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จ.ลำปาง

    หลวงพ่อชุบ วัดเกาะวาลลุการาม จ.ลำปาง

    หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง

    หลวงพ่อเงิน วัดเขาสาก จ.ลำปาง

    หลวงพ่อบุญสม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง

    พระวิบูลวชิรธรรม วัดท่าพุทรา จ.กำแพงเพชร

    หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์

    หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์

    พระครูนิสัยจริยคุณ วัดจันเสน จ.นครสวรรค์

    หลวงพ่อคัด วัดท่าโบสถ์ จ.ชัยนาท

    หลวงพ่อกวย วัดบางแค จ.ชัยนาท

    หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี

    หลวงพ่อดวง วัดทอง จ.สิงห์บุรี

    พระครูอาทรสิกขการ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดสระเกศชัยโย จ.อ่างทอง

    พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดท่าช้าง จ.อยุทธยา

    พระครูประภาสธรรมคุณ(หลวงพ่อแจม) วัดวังแดง จ.อยุธยา

    พระครูประสาทวิทยาคม(หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา

    พระครูพิพิธวิหารการ(หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุทธยา

    พระครูสาธรพัฒนกิจ วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี พระครูวิเศษมงคลกิจ(หลวงพ่อมิ่ง) วัดกก กทม.

    พระครูอนุกูลวิทยา(หลวงพ่อเส็ง) วัดน้อยนางหงษ์ กทม.

    พระครูพิริยกิจติ(หลวงพ่อโต๊ะ) วัดประตูฉิมพลี กทม.

    พระครูภาวณาภิรมย์ วัดปาดน้ำ กทม.

    พระครูโสภณกัลป์ยานุวัฒน์(หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยา กทม.

    พระครูพินิจสมาจารย์(หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม จ.ชลบุรี

    หลวงพ่อทิม วัดบ้านค่าย จ.ระยอง

    พระครูธรรมมานิสิทธิ์ วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร

    พระอาจารย์ชัย วัดกลาง จ.อุตรดิดถ์

    หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส จ.อุตรดิดถ์

    หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว จ.อุตรดิดถ์

    พระพิษณุบุราจารย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

    พระสมุห์ละมัย วัดพระศรีรัตนมหาธาติ จ.พิษณุโลก

    พระครูศีลสัมบัน วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก

    พระครูอภัยจริยภิราณ์ วัดใหม่อภัยยาราม จ.พิษณุโลก

    พระวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว จ.พิษณุโลก

    พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก

    พระครูปรพภาสธรรมมาภรณ์ วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก

    พระครูศรีรัตนาภรณ์(หลวงพ่อไช่) วัดศรีรัตนาราม จ.พิษณุโลก

    หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก

    พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก

    พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ จ.พิษณุโลก

    หลวงพ่อเฉลิม วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก

    หลวงพ้อเปรื้อง วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก

    พระอาจารย์ชุม วัดกรมธรรม์ จ.พิษณุโลก

    พระอาจารย์โต วัดสมอแข จ.พิษณุโลก

    พระครูประพันธ์ วัดบางสะพาน จ.พิษณุโลก

    พระครูวิจารณ์สุภกิจ วัดตลาดชุม จ.พิษณุโลก

    พระอาจารย์หวล วัดนิมิตธรรมาราม จ.พิษณุโลก

    พระอาจารย์ธงชัย วัดวชิรธรรมราชา จ.พิษณุโลก


    ราคายังหลักร้อยนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    :cool: ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ไว้ต้องไปหามาบ้างแล้ววววว
     
  18. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    สมเด็จวัดระฆัง 122 ปี
    อนุสรณ์ 122 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง โฆสิตาราม
    ปูชนีย วัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ ครบรอบ 122 ปี แห่งวันคล้ายวันมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างขึ้น และประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2537
    โดยสร้างขึ้นหลังจากที่ปูชนียวัตถุมงคลรุ่นต่าง ๆ ที่สร้างก่อนหน้านั้น หมดไปในเวลาไม่นานนัก
    คณะ กรรมการวัดระฆังโฆสิตารามและคณะกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีความเห็นร่วมกันว่า สมควรจัดสร้างปูชนียวัตถุมงคลขึ้นอีก เพื่อเป็นอนุสรณ์และรำลึกถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จ และให้พุทธศาสนิกชนที่มากราบไว้ในพระคุณท่าน ได้นำไปสักการะบูชา และนำติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตนเอง และครอบครัว
    รายได้ทั้งหมด นอกจากนำมาเสริมเพิ่มทุนมูลนิธิของเจ้าประคุณสมเด็จแล้ว ยังได้นำมาใช้ในการบูรณะอุโบสถของวัดระฆังเอง ที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ปรากฎให้เห็นตั้งแต่ส่วนบนหลังคา ลวดลายหน้าบัน ดาวติดฝ้า เพดาน ซุ้มประตู หน้าต่าง คันทวย บัวปลายเสา ให้คงทนถาวรและสวยงาม โดยยังคงรักษาลวดลายศิลปะที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมไว้ทุกประการ
    การ บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ รวมทั้งการอัดเสริมคอนกรีตส่วนล่างเพื่อรองรับน้ำหนักจากการประดับหินอ่อน จากอิตาลีทั้งหลัง และปิดทององค์พระประทานในพระอุโบสถสำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. 2540
    ปูชนียวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ 122 ปี มีทั้งพระบูชาจำลององค์พระประทาน พระบูชารูปเหมือนสมเด็จ ขันน้ำพระพุทธมนต์ที่ทางวัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก พระเครื่องแบบต่าง ๆ และเหรียญเช่นเดียวกับทุกครั้งที่ผ่านมา
    พิธีมหาพุทธาภิเษกประกอบพิธีใน พระอุโบสถ โดยนิมนต์พระอาจารย์จากทั่วประเทศ 108 รูป ร่วมกับเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ นั่งปรกบริกรรมปลุกเสกตลอดทั้งคืน
    แบบพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 122 ปี มีดังนี้
    1. พิมพ์ทรงนิยม
    2. พิมพ์ทรงเจดีย์
    3. พิมพ์เกศบัวตูม
    4. พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จ
    5. พิมพ์คะแนน รูปเหมือนสมเด็จ
    รายนามพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์เข้าร่วม พิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลรุ่น อนุสรณ์ 122 ปี สมเด็จพระพุทธจารย์ โต พรหมรังสี
    จำนวน 112 รูป จากทั่วประเทศ
    ลำดับที่ 1 พระราชมงคลมุนี (ดอน) วัดชัยพฤกษมาลา กรุงเทพมหานคร
    ลำดับที่ 2 พระราชนันทาจารย์(ผล) วัดเวตวันธรรมาวาส กรุงเทพมหานคร
    ลำดับที่ 3 พระอาจารย์ สร้อย ธมมรโส วัดเลียบราษฎร์บำรุง กรุงเทพมหานคร
    ลำดับที่ 4 พระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อแพ เขมังกโร) วัดพิกุลทอง สิงหบุรี (มรณภาพแล้ว)
    ลำดับที่ 5 พระครูสุวรรณรัตนวิบูล(แก้ว) วัดโฆษิตารม สิงหบุรี
    ลำดับที่ 6 พระครูพิทักษ์ศาสนวงศ์(ทอด) วัดหนองสุ่ม สิงหบุรี
    ลำดับที่ 7 พระครูอินทคณานุสิชฌน์(เจ็ก) วัดระนาม สิงหบุรี
    ลำดับที่ 8 พระครูโสภิตกิตติคุณ(ห้อย) วัดดงยาง สิงหบุรี
    ลำดับที่ 9 พระครูเมตตานุศาสน์(บุญช่วย) วัดกุฎีทอง สิงหบุรี
    ลำดับที่ 10 พระครูโกศลวุฒิธรรม(เปรื่อง) วัดหลวง สิงหบุรี

    ลำดับที่ 11 พระครูฐาปนกิจสุนทร (หลวงพ่อเปิ่น ) วัดบางพระ นครปฐม (มรณภาพแล้ว)
    ลำดับที่ 12 พระครูสุนทรวุฒิคุณ(พุฒ) วัดกลางบางพระ นครปฐม
    ลำดับที่ 13 พระครูพิพัฒน์วิริยาภรณ์(ผูก) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    ลำดับที่ 14 พระสมุห์ เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    ลำดับที่ 15 พระครูสิทธิชัยวิศาล(ลำเจียก) วัดศาลาตึก นครปฐม
    ลำดับที่ 16 พระราชวิสุทธิคุณ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
    ลำดับที่ 17 พระครูนิยุติธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด) วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์ (มรณภาพแล้ว)
    ลำดับที่ 18 พระวิริยาโกศล(เบิ้ม) วัดวังยาว ประจวบคีรีขันธ์
    ลำดับที่ 19 หลวงพ่อจ้อย จนฺทสวณฺโณ วัดศรีอุทุมพร นครสวรรค์
    ลำดับที่ 20 พระครูสาทรพัฒนกิจ(ลมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี

    ลำดับที่ 21 พระครูจันทคุณวัฒน์(อำภา) วัดน้ำวน ปทุมธานี
    ลำดับที่ 22 พระภาวนานุสิฐเถร(หรุ่ม) วัดบางจักร อ่างทอง
    ลำดับที่ 23 พระมงคลชัยสิทธ์(สำราญ) วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท
    ลำดับที่ 24 พระครูธรรมจักรชโยดม(ผล) วัดดักคะนน ชัยนาท
    ลำดับ ที่ 25 พระครูประสิทธิ์ศึกษากร (ประสิทธิ์) วัดแจ้ง ปราจีนบุรี
    ลำดับที่ 26 พระครูกาญจนโนปคุณ (หลวงพ่อ ลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี (มรณภาพแล้ว)
    ลำดับที่ 27 พระครูวิบูลย์ธรรมประภาส (เบี่ยง) วัดทุ่งสมอ กาญจนบุรี
    ลำดับที่ 28 พระครูวิจารณ์พัฒนโนวาท
    ลำดับที่ 29 พระราชสังฆวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา (มรณภาพแล้ว)
    ลำดับที่ 30 พระสุนทรธรรมานุวัติ (หลวงพ่อสวัสดิ์) วัดศาลาปูน อยุธยา
    ลำดับที่ 31 พระครูเกษมคณาภิบาล (มี) วัดมารวิชัย อยุธยา
    ลำดับที่ 32 พระครูพุทธสิริวัฒน์ (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดโพธิ์ อยุธยา
    (ไม่แน่ใจว่า หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา หรือเปล่า ?)
    ลำดับที่ 33 พระครูสุนทรยติกิจ (ละเอียด) วัดไผ่ล้อม อยุธยา
    ลำดับที่ 34 พระครูโอภาสธรรมวัตร (ล้วน) วัดไผ่ล้อม อยุธยา
    ลำดับที่ 35 พระครูปรโชติธรรมวิจิตร (หลวงพ่อ เพิ่ม) วัดป้อมแก้ว อยุธยา
    ลำดับที่ 36 พระครูสังฆวรสมณกิจ (หลวงพ่อทิม) วัดพระขาว อยุธยา
    ลำดับที่ 37 พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (หลวงพ่อดี) วัดพระรูป สุพรรณบุรี
    ลำดับที่ 38 พระครูสุกิจวิจารณ์ (จวน) วัดไก่เตี้ย สุพรรณบุรี
    ลำดับที่ 39 พระครูนทวนาวิกรม (ประสิทธิ์) วัดไทยน้อย นนทบุรี
    ลำดับที่ 40 พระครูสุวรรณสิทธิการย์ ( ช่อ) วัดปราสาททอง

    ลำดับที่ 41 พระครูธรรมสารรักษา (ป่วน) วัดหนองบัวทอง
    ลำดับที่ 42 พระครูสมุทรพัฒนโสภณ (ทองหล่อ) วัดคันลัด
    ลำดับที่ 43 พระครูสุนทรสมุทรกิจ (โสภณ) วัดเพชรสมุทร
    ลำดับที่ 44
    ลำดับที่ 45
    ลำดับที่ 46
    ลำดับที่ 47
    ลำดับที่ 48 พระครูเกษมธรรมรักษ์ (หลวงพ่อยะ) วัดท่าข้าม นครปฐม
    ลำดับที่ 49 พระครูปรีชาวุฒิคุณ (ฮวด) วัดดอนโพธิ์ทอง สุพรรณบุรี
    ลำดับที่ 50พระครูสุนทรธรรมาภิรัตน์ ( เล็ก) วัดลาดหอย สุพรรณบุรี

    ลำดับที่ 51 พระครูอุดมโชติวัฒน์ (อรรถ) วัดองครักษ์ สุพรรณบุรี
    ลำดับที่ 52 พระครูวิจิตรวุฒิคุณ (พร) วัดโคกหม้อ สุพรรณบุรี
    ลำดับ ที่ 53 พระเทพชลธารมุนี (หลวงพ่อวิเชียร) วัดเครือวัลย์ ชลบุรี (มรณภาพแล้ว)
    ลำดับที่ 54 พระครูสุนทรธรรมกิจ (หลวงพ่อหยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    ลำดับ ที่ 55 หลวงพ่อ เก๋ วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม
    (ใบประกาศใบอื่น บังสมณศักดิ์พระราชทานของท่าน)
    ลำดับที่ 56
    ลำดับที่ 57
    ลำดับที่ 58 พระครูวชิรกิจโสภณ (ประสพ) วัดเขาตะเครา เพชรบุรี
    ลำดับที่ 59 พระครูปริยัตยานุโยค (หวล) วัดนิคมวชิราราม เพชรบุรี
    ลำดับที่ 60 พระครูภาวนาวชิโรภาส (แผ่ว) วัดโตนดหลวง เพชรบุรี

    ลำดับที่ 61 พระสมุห์ฮวย วัดห้วยทรายใต้ เพชรบุรี
    ลำดับที่ 62 พระปลัดบุญส่ง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
    ลำดับที่ 63 พระครูโสภณธรรมสาคร (ณรงค์ฤทธิ์) วัดอ้อมน้อย สมุทรสาคร
    ลำดับที่ 64 พระครูสุทธิธรรมสาคร (ประสาท) วัดสุทธิวาตราราม สมุทรสาคร
    ลำดับที่ 65 พระครูจันทโพธิคุณ (โทน) วัดเชิงหวาย อ่างทอง
    ลำดับที่ 66 พระครูอินทพัฒนกิจ (กนก) วัดวังน้ำเย็น อ่างทอง
    ลำดับที่ 67 พระครูวิมลปัญโญภาส (อุดม) วัดวังอุทิศ อ่างทอง
    ลำดับที่ 68 พระครูไพโรจน์วิริยคุณ (วิโรจน์) วัดท่าชุมนุม อ่างทอง
    ลำดับที่ 69 พระครูวิสุทธิ์หิรัญพงษ์ (เชื้อ) วัดบางคลานใต้ พิจิตร
    ลำดับ ที่ 70 หลวงปู่โง่น ยโสธโร วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร

    ลำดับที่ 71 พระครูนิทัศน์ศาสนกิจ (พิมพา) วัดหนองตางู นครสวรรค์
    ลำดับที่ 72 พระครูนิวาทธรรมโกวิท (ประเทือง) วัดหนองโพธิ์ นตรสวรรค์
    ลำดับที่ 73 พระอาจารย์ ทวี พลธมฺโม สำนักวิปัสนาสอนทวี ฉะเชิงเทรา
    ลำดับที่ 74 พระครูบริรักษ์วรเขต (วิชิต) วัดเสม็ดเหนือ ฉะเชิงเทรา
    ลำดับที่ 75 พระครูพิพัฒน์สุตากร (เชิด) วัดลาดบัวขาว ฉะเชิงเทรา
    ลำดับที่ 76 พระครูพิศาลพรหมจรรย์ (สวัสดิ์) สำนักวิปัสนาเม้าสุขา ชลบุรี
    ลำดับที่ 77 พระครูโสภณพัฒนภิรม วัดทุ่งเ***ยง ชลบุรี
    ลำดับ ที่ 78 พระครูบรรหารศีลคุณ (แร่) วัดเชิดสำราญ ชลบุรี
    ลำดับที่ 79 พระครูสุนทรสีลภิรัติ (สาย) วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา

    ลำดับที่ 80 พระครูพิพัฒน์วราภรณ์ (พุ่ม) วัดเนินหอม ปราจีนบุรี
    ลำดับที่ 81 พระครูบูรพาคณารักษ์ (ณรงค์ชัย) วัดป่าทรงคุณ ปราจีนบุรี
    ลำดับที่ 82 พระครูวรเวทย์นิวิฐ (สนิท) วัดลำบัวลอย นครนายก
    ลำดับที่ 83 พระครูเกษมวรกิจ (วิชัย) วัดถ้ำผาจม เชียงราย
    ลำดับที่ 84 พระครูนิมมานการโสภณ (สร้อย) วัดมงคลคีรีเขตร์ ตาก
    ลำดับที่ 85 พระครูใบฎีกา คล้อย ฐานธมฺโม วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร
    ลำดับที่ 86 พระครูประทุมชัยกิจ (นะ) วัดหนองบัว ชัยนาท
    ลำดับที่ 87 พระครูอุปกิตสารคุณ (เสน่ห์) วัดพันสี อุทัยธานี
    ลำดับที่ 88 พระครูสุเวทกิตติคุณ (บุญชม) วัดเกสะวาลุการาม ลำปาง
    ลำดับที่ 89 พระครูสุภัทรศีลคุณ (ครูบา ดวงดี) วัดท่าจำปี เชียงใหม่

    ลำดับที่ 90 พระอาจารย์ ดวง ฐิตวโร วัดศรีทรายมูล เชียงใหม่
    ลำดับที่ 91 พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
    ลำดับที่ 92 พระครูพิศาลธรรมคุณ (โถม) วัดธรรมปัญญาราม สุโขทัย
    ลำดับที่ 93 พระครูพระมหาวิบูลย์ พุทฺธญาโน วัดโพธิคุณ ตาก
    ลำดับที่ 94 พระครูอรุณธรรมประโชติ (โชติ) วัดอรุณฉายาราม นครนายก
    ลำดับที่ 95 พระครูวิมุติยาภรณ์ (เกิด) วัดโพธิ์แทน นครนายก
    ลำดับที่ 96 พระครูไพศาลสมณกิจ (ดี) วัดหนองจอก นครราชสีมา
    ลำดับที่ 97 พระครูคงคนครพิทักษ์ (คง) วัดตะคร้อ นครราชสีมา
    ลำดับที่ 98 พระครูพิศาลภัทรคุณ (พรหม) วัดบิง นครราชสีมา
    ลำดับที่ 99 พระครูนครธรรมโฆษิต (นิล) วัดครบุรี นครราชสีมา
    ลำดับที่ 100 พระครูสัจจานุรักษ์ (เที่ยง) วัดพระพุทธบาทเขากระโดง บุรีรัมย์
    ลำดับที่ 101 พระครูประยุตนวการ (แย้ม) วัดสามง่าม นครปฐม
    ลำดับที่ 102 พระครูสมุห์อวยพร วัดดอนยายหอม นครปฐม
    ลำดับที่ 103 พระครูเกษมปัญญาคม (ยิ้ม) วัดโกสินารายณ์ ราชบุรี
    ลำดับที่ 104 พระครูราชบุรานุรักษ์ (ลิขิต) วัดศรีชมภู ราชบุรี
    ลำดับ ที่ 105 พระครูสุตผลวิจิตร (หลวงพ่อ คร่ำ) วัดวังหว้า ระยอง (มรณภาพแล้ว)
    ลำดับที่ 106 พระครูวิมลสีลาภรณ์ (พูลทรัพย์) วัดอ่างศิลา ชลบุรี
    ลำดับที่ 107 พระอาจารย์ประสพชัย สำนักสงฆ์สงฆ์ถ้ำเขาชะอางโอน ชลบุรี
    ลำดับที่ 108 พระครูสรกิจพิจารณ์ (ผัน) วัดราษฎร์เจริญ สระบุรี
    ลำดับที่ 109 พระครูมงคลคุณาทร (คำปัน) วัดหม้อคำดวง เชียงใหม่
    ลำดับที่ 110 พระครูพิบูลวิหารการ (ตา) วัดโรงวัว เชียงใหม่
    ลำดับที่ 111 พระครูอุลศาสนการ (บุญมี) วัดบางโฉลงใน สมุทรปราการ
    ลำดับที่ 112 พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ (ชาญ) วัดบางบ่อ สมุทรปราการ


    ราคายังหลักร้อยต้นๆครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1a.jpg
      1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.3 KB
      เปิดดู:
      929
    • 2a.jpg
      2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.6 KB
      เปิดดู:
      797
  19. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    มาดูเครื่องรางของขลังกันมั่ง

    ปลัดขิก หลวงพ่อตี๋ วัดหูช้าง อันนี้แกะจากกัลปังหาครับ
    ที่วัดยังมีให้เช่าอยู่นะครับ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ กัลปังหานี่นานๆ มีทีครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    เขาก็ว่ามีปลอมกันนะครับ เพราะว่าเป็นพระที่มีชื่อเสียง แต่พระรุ่นนี้สร้างเยอะครับ ถ้าดูพิมพ์ทรงดูดี เก่าได้ ตราข้างหลังชัด ก็น่าจะโอเคนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...