ผีเปรตมาขอเสื้อผ้าใส่

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย พระจิรวัฒน์ ญาณวโร, 24 กรกฎาคม 2011.

  1. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    เมือกลางเตือนสิงหาคม พ.ศ.2548 ช่วงเข้าพรรษา หลวงปู่ดี คัมภีโร ท่านเป็นอาจารย์ ของอาตมาบอกว่า ถ้าจะบวชจริงๆ(ตอนนั้นเป็นโยม) ก็ขอให้ทดลองรักษาศิลเเปด สัก3เดือนดูก่อน อาตมาตอบตกลงทันที ปกติตัวอาตมาเป็นคนที่กลัวผีมากๆ เเต่เมื่อตัดสินใจมุ่งมั่น ตัดขาดจากทางโลก เเล้วว่า เราต้องทำให้ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ตั้งใจจะบวชตลอดชีวิต ตั้งเเต่วันนั้น
    หลวงปู่ดีโกนผมให้ พร้อมนุ่งขาว ห่มขาว พร้อมรับศิล8 ถือสัจจะว่าจะไม่เข้าไปในหมู่บ้านจนกว่าจะออกพรรษา ป่าช้าวัดป่าบ้านหนองผักเเว่น มีเนื้อที่50กว่าไร กว้างมาก ปฏิบัติตามหลวงปู่สอนทุกอย่าง กินน้อย นอนน้อย เจริญสติให้มาก นั่งสมาธิ ได้พอสมควรก็จะเดินจงกลม วันเเรกจำได้ว่านั้งสมาธิได้เเค่20นาที ทรมานมาก ค่อยๆฝึก นั่งให้นานขึ้น จนนั้งได้ที่1ชั่วโมงกว่า เมื่อเข้าเดือนที่สอง พยามตัดโลกภายนอก เเม้โทรศัพท์ ก็ปิดสนิท ไม่ติดต่อใครเลย อยู่ในป่าช้าทั้งกลางวันเเละกลางคืน จะอยู่อุโมงค์ ที่หลวงปู่ดี กำหนดเท่านั้น หากวันไหน ศิลขาด ด้วยความประมาท เเละเผลอตัวเช่น หลงร้องเพลง เเค่หนึ่งประโยค ก็จะมาต่อศิล ถือชาวบ้านเรียกว่าขอศิลเเปดใหม่ ตั้งใจปฏิบัติจนจวนจะออกพรรษา มีอยู่คืนหนึ่ง เป็นคืนเเรกในชิวิต ที่รู้ว่าความสุขที่เกิดจากความสงบเป็นอย่างไร สวดมนต์ ทำวัตรเย็นเเล้ว ประมาณห้าทุ่ม นั่งมาสมาธิต่อเลย ขณะที่นั้งสมาธิ ได้นานพอสมควรนั้น ดูที่ลมหายใจเข้าออกอยากเดียว เเม้จิตมันจะวิ่งไปใหน ก็เอาสติดึงกลับทันที ขณะทีกำหนดลมหายใจ เข้าออกๆ อยู่นั้น มีอาการขนลุก ทั้งตัว เเต่ว่าไม่ให้ขาดสติ เปรียบเทียบ เหมือนเรากำลังเดินไป ตกหลุมลึกมากวูป ดวงจิตรวมเป็นหนึ่ง สว่างรอบตัว เเต่ก็ไม่ทิ้งสติ ดูมันพร้อมภาวนาตลอด ดูความสงบ...เเสงสว่างรอบทิศมองเห็นเเม้ตัวเองนั่งอยู่ มีความสุขที่สุดในชีวิต เหมือนกำลังอมยิ้ม อธิบายได้ไม่หมด ต้องรอให้พบด้วยตัวคุณโยมเอง มีความสุข สุขจนน้ำตาไหลอาบเเก้ม สุขหาที่สุดไม่ได้ ขณะนั้นความรู้สึกลึกๆเหมือนว่าไม่ได้ หายใจ เเต่ยังมีสติรู้ต้องหายใจอยู่เเล้ว ถึงไม่หายใจ มันจะตายตอนนี้ ก็ไม่เป็นไร สติบอกตลอด(หลวงปู่ ท่านเน้นตรงนี้มาก หากปฏิบัติ อย่าทิ้งสติ เเม้จะเกิดอะไรขึ้น หลวงปู่ดี ท่านย้ำเเล้ว ย้ำอีก ตั้งเเต่เริ่มปฏิบัติใหม่ๆเเล้ว...อยู่ในอาการสงบนั้น นานมากมีเเต่ความสุขที่สุด หาที่เปรียบไม่ได้ในโลกนี้ ความสุขที่เกิดจากความสงบ เป็นอย่างนี้เอง ...พอจิตสงบเเล้วก็หันมาดูร่างกาย ตัวเอง เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ดูว่าเป็นของไม่น่ายินดีเอาซะเลย วันนั้นนั่งได้นานมาก นานที่สุดอยุ่ในอารมณ์สงบตลอด จนออกจากสมาธิ
    ดูเวลาตี3 กับอีกสิบนาที เเปลกใจ ทำไมเรานั่งเเป็บเดียว ตี3เเล้ว ความรู้สึกลึกๆนึกว่าเเค่1ชั่วโมงเท่านั้น ออกจากสมาธิ เดินออกจากกลางป่าช้า กลับกุฏิหาหลวงปุ่ดี เดินอมยิ้ม ไม่กลัวอะไรทั้งนั้น เเม้เเต่งู ที่มีอยู่เต็มป่าช้าก็ไม่กลัว คิดว่าถ้าเราไม่เคยมีกรรมต่อกัน ก้คงไม่กัด เเต่ถ้ามันเกิดก็เเค่ตาย ไม่เป้นไร คิดอย่างนี้จริง...มาทีกุฏิ มองเห็นเเสงเทียนของหลวงปู่ที่จุดไว้ ปลายทางที่เดินจงกลม ค่อยๆเดิน กลัวว่าจะรบกวนความสงบของหลวงปู่ ...อาตมาใจตอนนั้นมีเเต่อยากนั้งสมาธิ ไม่ทักหลวงปุ่เหมือนทุกวัน สวดมนต์ ทำวัตรเช้าต่อเลย ทำวัตรเสร็จ สวดธัมมะจักกัปปะวัตะนะสูตตัง ตีสีเกือบตีห้านั้งสมาธิต่อเลย ภาวนาพุทโธ ได้ไม่นานจิตสงบเป็นสมาธิ เกิดนิมิต เห็นเปรต มากราบสาม ไม่มีเสื้อผ้าใส่ ในจิตถามว่า พากันมาทำไม เปรตตอบว่ามาขอเสื้อผ้าใส เพราะไม่เคยได้รับส่วนบุญ จากญาติพี่น้องเลย ...เเคนี้ก่อน ได้เวลาสวดมนต์ทำวัตรเย็น เเล้วคุณโยม17.00น.เเล้ว ค่อยมาฟังกันต่อเด้อ
    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร
    โทร0860152130
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2011
  2. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    คำว่า “นิมิต” มีความหมายตามที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานเเปลว่า “นิรมิต, สร้าง, แปลง, ทำ”
    และในความหมายของคำว่า “นิรมิต” นั้น ยังหมายถึง “บันดานให้มีขึ้น” อีกด้วย นี้เป็นความหมายที่ ๑

    สำหรับความหมายที่ ๒ ของคำว่า “นิมิต” ก็หมายถึง เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล” เป็นต้น
    โดยความหมายหลายอย่างต่างๆ กันนี้เอง ที่มีผู้ใช้คำว่า “นิมิต” ในหลายสถาน เช่นว่า

    ความฝัน ที่เวลาบุคคลนอนหลับแล้วฝันไป ก็เรียกว่า สุบินนิมิต

    การแสดงนัยให้ทราบ อย่างเช่น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงนัยให้พระอานนท์ทราบถึงวาระที่พระพุทธองค์จะทรงปลงสังขารแล้ว อย่างนี้ก็เรียกว่า พระพุทธองค์ได้ทรง แสดงนิมิต”

    หรือการกำหนดเครื่องหมายใด ๆ ขึ้นในใจ คือนึกให้เห็นเครื่องหมายนั้นด้วยใจ ก็เรียกว่า บริกรรมนิมิต บริกรรม แปลว่า กำหนดในใจ, ถ้านึกเห็นนิมิตด้วยใจได้ชัดเจนเพียงชั่วขณะ ก็เรียกว่าเกิด อุคหนิมิต” และถ้าเห็นเครื่องหมายได้ชัดเจน นาน ติดตา จะนึกขยายให้โตใหญ่ หรือย่อให้เล็กลงด้วยใจก็ทำได้ อย่างนี้เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต”

    คำว่า “นิมิต” ที่ใช้เรียกกันในหมู่ผู้ปฏิบัติภาวนานั้น มุ่งหมายถึง “นิมิต” หรือ “เครื่องหมายที่กำหนดขึ้นที่ใจ” ซึ่งเรียกว่า บริกรรมนิมิต หรืออุคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต “เครื่องหมายที่กำหนดขึ้นในใจ หรือที่ปรากฏขึ้นในใจ” อันได้แก่ บริกรรมนิมิต ซึ่งเป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจอันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือ ความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มารวมอยู่ในอารมณ์เดียว แนบแน่นเป็นสมาธิดี เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ก็จะเห็น อุคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต ตามลำดับของใจที่หยุดนิ่ง เป็นสมาธิที่แนบแน่นดี

    ในการให้กำหนดเครื่องหมายขึ้นที่ใจ หรือที่เรียกว่า บริกรรมนิมิต เพื่อให้ใจมารวมหยุดอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น อาจจะไม่เพียงพอที่จะช่วยประคองใจให้หยุดให้นิ่งได้โดยง่าย จึงมักให้กำหนด “บริกรรมภาวนา คือให้นุกว่าในใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น “สัมมาอะระหัง ๆ ๆ” หรือ “พุทโธ ๆ ๆ” ก็แล้วแต่ เพื่อให้ใจช่วยประคองนิมิตนั้นไว้ แปลว่าการที่จะตะล่อมใจให้เข้ามารวมอยู่ที่บริกรรมนิมิตนั้น อาจจะไม่พอที่จะขังใจ ที่มีสภาพเบา กวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านได้ง่าย ให้หยุดให้นิ่งได้ ก็จึงหางานให้ใจเขาทำอีกด้วยโสดหนึ่ง คือให้นึกว่าในใจที่เรียกว่า บริกรรมภาวนา เพื่อให้ใจประคองนิมิตนั้นยิ่งขึ้นจะได้ไม่ซัดส่ายออกไปข้างนอกนิมิตนั้น
    เมื่อใจถูกประคองให้มารวมอยู่เสียกับบริกรรมนิมิต และบริกรรมภาวนาคู่กันหนักเข้า ก็จะค่อยๆ เชื่อง แล้วก็ค่อยๆ รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ที่เรียกว่า “อารมณ์เดียว” หรือ เอกัคคตารมณ์ กล่าวคือ “ใจ” อันประกอบด้วย ความเห็นนิมิต, ความจำนิมิต, ความคิดและความรู้ในนิมิต มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นนิมิตนั่นชัดขึ้น เรียกว่า อุคหนิมิต หรือ ปฏิภาคนิมิต ตามระดับของใจที่รวมหยุดเป็นสมาธิที่แนบแน่นดี

    ในขณะที่ผู้ปฏิบัติภาวนาเพิ่งกำหนดบริกรรมนิมิตนั้น ใจเพิ่งจะเริ่มเป็นสมาธิ คืออยู่ในอารมณ์เดียว สมาธิในระดับนี้เรียกว่า อุปจาระสมาธิ, แต่พอเห็นนิมิตชัดเจนได้เพียงชั่วขณะ ที่เรียกว่า อุคหนิมิตนั้น ใจที่เป็นสมาธิระดับนี้เรียกว่า สมาธิในระดับขณิกสมาธิ แต่เมื่อเห็นปฏิภาคนิมิต คือเห็นนิมิตได้ชัดเจน นาน ติดตา และสามารถจะนึกขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงได้ เรียกว่าจิตเป็นสมาธิระดับ อัปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาณ

    กล่าวคือเมื่อจิตประกอบด้วยอารมณ์วิตก วิจาร คือยังมีความตรึกตรองประคองนิมิตอยู่, และมีอารมณ์ปีติยินดีที่ได้พบเห็นสิ่งที่เย็นตาเย็นใจ ก่อให้เกิดความสุขอย่างละเอียดๆ เช่นนั้น และจิตอยู่ในอารมณ์เดียวได้แนบแน่นดีเช่นนี้ ก็จัดว่าจิตเป็นสมาธิในขั้น ปฐมฌาณ

    สมาธิตั้งแต่ระดับปฐมฌาณขึ้นไปนี้เอง ที่เป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ธรรมแล้ว เพาะมีองค์ฌาณ เครื่องประหาณนิวรณ์ครบถ้วน จึงจัดเป็นจิตที่ควรแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะธรรมชาติที่เป็นจริง เพราะสามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ชัดแจ้งพอสมควร

    เพราะฉะนั้น “นิมิต” จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เป็นอุบายวิธี ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์วิตก วิจาร เครื่องประหานนิวรณ์ และเพื่อทำใจให้หยุดให้นิ่ง เป็นสมาธิที่แนบแน่นดีกว่าอย่างอื่น และเมื่อจิตเจริญภาวนาจนเป็นสมาธิระดับฌาณต่างๆ นั้น ก็จะต้องมีนิมิตหรือผ่านนิมิตทั้งสิ้น แม้แต่จะเป็นอรูปฌาณ ที่ว่าไม่กำหนดรูปเป็นอารมณ์ อย่างเช่น กำหนดยึดหน่วงเอาอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เมื่อจิตละเอียดหนักเข้า ก็เห็นนิมิต คืออากาศนั้นแหละ หรือในกรณีที่กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือกำหนดยึดหน่วงเอาความว่างเปล่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ก็เห็นวิญญาณ หรือความว่างเปล่านั้นแหละ ที่เห็นนั่นแหละคือนิมิตล่ะ, แม้เมื่อจิตเป็นอุเบกขา ที่เรียกว่า อุเบกขินทรีย์ ก็ยังต้องมีนิมิต ดังพระพุทธดำรัสมีมาในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวรรค อุปปฏิกสูตร ข้อ ๙๑ พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้า ๒๖๙ ความว่า

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความ
    เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเบกขินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ
    มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้น ไม่
    ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้
    ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้…”
    ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน อย่างเช่น พิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องอาศัยนิมิต นึกเห็นนิมิตจึงจะพิจารณาสภาวะธรรมได้ จึงจะเห็นสภาวะที่แท้จริงตามธรรมชาติที่เป็นจริงได้ อย่างเช่น

    การเจริญอสุภกัมมัฏฐานอันนับเนื่องอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่า จะต้องไปพิจารณาดูแต่ที่ซากศพ หรือจะต้องนำศพไปพิจารณาด้วย หรือจะต้องสาวไส้สาวพุงของใครมาดูจึงจะเรียกว่า อสุภกัมมัฏฐานหาใช่เช่นนั้นไม่

    ในทางปฏิบัตินั้น เมื่อได้เคยเห็นซากศพหรืออวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายในหลายๆ ลักษณะ ก็จำภาพนั้นหรืออารมณ์นั้น แล้วน้อมเอาอารมณ์นั้นหรือภาพนั้นมาพิจารณาด้วยใจ การพิจารณาก็จะต้องนึกเห็นทั้งลักษณะและสภาพที่เป็นจริง ว่าเป็นแต่สิ่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด และเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาเหล่านี้เป็นต้น จึงจะเรียกว่ารู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ถ้านึกไม่เห็นแล้วทำไมจึงจะอ้างได้ว่า เห็นแจ้งตามสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงได้เล่า

    การเห็นของจริงด้วยตาเนื้อนั้นเป็นแต่เพียงเริ่มต้นของเรื่องที่จะนำมาพิจารณาเท่านั้น แต่การเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นเป็นกิจทางใจ แม้จะเห็นธรรม ณ เบื้องหน้าซากศพ ก็เป็นการเห็นด้วย “ใจ” หาใช่เห็นธรรมด้วยตาเนื้อไม่ และการเห็นสิ่งที่น้อมนำมาพิจารณาสภาวะธรรมด้วยใจนั้น ก็คือนิมิตนั่นเองเรียกว่า
    หนีนิมิตไม่พ้น ในทางปฏิบัติแล้วจะต้องผ่านนิมิตเสมอไป ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ได้เห็น ถ้าไม่ได้เห็น ก็จะอ้างว่าเห็นแจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงไม่ได้ ก็มีแต่ท่องจำเอาจากตำราเท่านั้น พระพุทธองค์ก็มิได้ปฏิเสธนิมิตในการเจริญภาวนาธรรม และยังแถมประทานพระบรมพุทโธวาท มีมาในพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวรรค ข้อ ๕๓๓ พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ความว่า
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์
    ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์, ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต(คิอนิมิตแห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่
    การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้
    สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2011
  3. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    [​IMG]

    อุโมงที่สร้างไว้กลางป่าช้า วัดป่าบ้านหนองผักเเว่น คือที่ ที่อาตมานั้งสมาธิเเล้วจิตสงบ
    ในครั้งเเรกขณะยังไม่ได้บวช รักษาศิล8 สามเดือนหลวงปู่ถึงอนุญาตให้บวชเป็นพระ จนถึงปัจจุบันนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2011
  5. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    อุโมงที่สร้างไว้กลางป่าช้า วัดป่าบ้านหนองผักเเว่น คือที่ ที่อาตมานั้งสมาธิเเล้วจิตสงบ
    ในครั้งเเรกขณะยังไม่ได้บวช รักษาศิล8 สามเดือนหลวงปู่ถึงอนุญาตให้บวชเป็นพระ จนถึงปัจจุบันนี้
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  6. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    [​IMG]

    หลวงปู่ดี คัมภีโร อายุ66ปี พรรษาที่44ท่านเป็นพ่อเเม่ครูอาจารย์ ของอาตมา ภูมิธรรมท่านสูงมาก เป็นพระที่ชาวบ้านเคารพ ในวัตร ปฏิบัติมาก ท่านเคร่งมากคุณโยม อาตมาโดนทดสอบอยู่3เดือนถึงได้บวชกับท่าน ช่วงเข้าพรรษา3เดือน
    ท่านจะเน้นปฏิบัติ ฉันน้อย นอนน้อย มุ่งทำสมาธิ ภาวนาให้มาก หลวงปู่ดี โทร 043612037 วัดป่าบ้านหนองผักเเว่น
    ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 45120
     
  7. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    [​IMG]
     
  8. aof1982

    aof1982 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +401
    ขอโมทนาบุญกับการบวชไม่สึกในครั้งนี้ด้วยนะครับ
    กระผมก็อยากบวชไม่สึกเหมือนกัน แต่พร้อม ติดที่ครอบครัวด้วย
    เคยไปวัดที่พม่ามา ไหว้พระทุกเมืองหลายวัดอยู่ ตอนนั้นขอพรว่า
    อยากบวชไ่ม่สึก ขอให้ข้าพเจ้ามีโอกาสด้วยเถิด

    สงสัยบุญยังไม่ถึง หรือไม่ถึงเวลา

    รออ่านตอนต่อไปอยู่นะครับ สาธุ
     
  9. ผู้เลื่อมใสศรัทธา

    ผู้เลื่อมใสศรัทธา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +2,082
    ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ

    ถ้าสำเร็จทางธรรมแล้ว อย่าลืมโปรดคนนะครับ

    ถ้าได้ ผมขอเป็นคนแรกเลย
     
  10. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452

    เจริญพรคุณโยม คุณโยมอาจจะเข้าใจผิด อาตมายังไม่ได้อะไรเลย เเต่อาตมารู้ว่าทุกอย่างในตัวอาตมาคือเป็นเเต่เพียงสมมุติ เท่านั้น สมมุติว่าชื่อญาณวโร สมมุติว่าชื่อจิรวัฒน์ ของเดิมไม่มีอะไร เราปรุงเเต่งขึ้นเองทั้งนั้น ร่างกายเราก็เป้นเพียงของสมมุติ ไม่ไช่ของเราอย่างเเท้จริง ถ้าเป้นของเราจริงๆ อาตมาจะห้ามไม่ให้มันเเก่ ห้ามไม่ให้มันเจ็บเเลห้ามไม่ให้มันตาย อาตมายังเป็น
    ผู้มีกเลสอยู่ ยังต้องเฝ้าดูจิตของอาตมาเองเป็นระบะ มีสติรู้ ตลอดเวลา อนูโมทนาสาธุๆ
     
  11. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    เจริญพร บริเวณด้านทิศใต้ของเมรุคือบริเวณที่ต้องถมดินจำนวนมาก เพราะเป็นพื้นที่ต่ำน้ำท่วมขังประจำ เเละที่สำคัญเมรุ เมรุสร้างเสร็จเเล้ว เวลาก่อนเผาศพจะต้องเวียนรอบเมรุ3รอบ ตรงนี้ ถ้าไม่ปรับพื้นที่ใหม่ จะจูงศพรอบเมรุไม่ได้ เพราะว่ามีเเต่เสาที่ฝังศพไว้มาก คนโบราณจึงฝังเสาไม้ไว้เเละสลักชื่อไว้เป็นจำนวนมาก
    ศพทั้งหมดจะขุดขึ้นมาทำพิธีเเละนำกระดูกไปบรรจุ ไว้ที่กำเเพงรอบวัดเเทน
    เจริญพร
    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร โทร0860152130
     
  12. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    ความหมายของ 'บุญ' ที่แท้จริง
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif]ส่วนใหญ่คนไทยนึกถึงการทำบุญอยู่เสมอว่าขาดบุญไม่ได้ แต่มักไม่เข้าใจความหมายของ “บุญ” อย่างเช่น เวลาพูดว่า “ทำบุญทำทาน” เรามักเข้าใจว่า ทำบุญ คือถวายข้าวของแด่พระสงฆ์ ส่วนทำทาน คือให้ข้าวของแก่คนยากคนจน และยังเข้าใจจำกัดแต่เพียงว่าต้องทำกับพระสงฆ์เท่านั้นจึงจะเป็นบุญ แต่ความจริงแล้ว “บุญ” แปลว่าเครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด หรือคุณสมบัติที่ทำให้บริสุทธิ์ ส่วนคำว่า “ทาน” แปลว่า การให้ การสละ การเผื่อแผ่แบ่งปัน จะมอบของให้ใครหรือจะถวายของให้ใครก็เป็นบุญทั้งนั้น แตกต่างกันเพียงว่าได้บุญมากบุญน้อยเท่านั้นเอง ฉะนั้นเวลาเราพูดคำว่า “ทำบุญทำทาน” จึงหมายความว่าไปชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยการแบ่งปันสิ่งของ (ทานมัย) ซึ่งเป็นการแบ่งปันให้ใครก็ได้ และการทำบุญก็ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ เพียงแค่ให้ทานบริจาคสิ่งของแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น[/FONT]
     
  13. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    [​IMG]
    ยาย...ยายวันนี้ พระอาจารย์ จะเขียนเรื่องพี่หลอกพระ
    ต่อ.....
    กินหมากเสร็จ อย่าลืมอ่านนะยาย หลัง5โมงเย็นจ้า<!-- google_ad_section_end -->
     
  14. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    จะเล่าบรรยากาศที่ได้ไปป่าช้าวัดป่าหนองผักแว่นนะครับ ก็ไปถึงวัดป่าหนองผัก
    แว่นกับญาติโยมที่มาหาหลวงปู่ดีด้วยกัน พอถึงหน้าป่าช้าคนที่มาด้วยกันก็
    บอกว่าไม่อยากเข้าไปเพราะกลัววิญญาณจะออกมาหลอก ส่วนผมกับพระ
    อาจารย์ก็เดินต่อไปที่กุฏิใหม่ซึ่งใกล้กับป่าช้าเพื่อที่จะไปนอนพัก ส่วนตัวก็ไม่ได้
    กลัวอะไรมาก พระอาจารย์ยังบอกให้จุดธูป 9 ดอกบอกกับเจ้าที่ว่าเราไม่ได้มา
    ร้ายทำให้สบายใจมากขึ้น แต่พวกที่เขาพักข้างนอกไม่ได้ทำ พอนอนไปซัก
    พักก็มีคุณป้าคนหนึ่งเจอดีเลย ตื่นขึ้นมาก็เห็นเงาดำๆ ยืนอยู่ในมุ้ง คุณป้าคน
    นั้นก็นึกว่าเป็นผู้ชายคนหนึ่งในกลุ่ม แต่พอนับคนในมุ้งก็เกินมา 1 คน คุณ
    ป้าคนนั้นก็ตกใจมาก พอมองไปที่เงาดำนั้นก็หายไปซะแล้ว แต่ด้วยความเกรง
    ใจไม่กล้าปลุกคนอื่นก็เลยนอนต่อและมาเล่าเหตุการณ์ตอนเช้าครับ ส่วนผม
    นอนหลับสบายครับ
     
  15. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความ
    เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเบกขินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ
    มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้น ไม่
    ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้
    ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้…”
     
  16. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->


    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2011
  17. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  18. apichartmatiyapak

    apichartmatiyapak Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +96
    ขอให้พระคุณเจ้า ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบต่อไปอย่างนี้เรื่อย ๆ :cool:

    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
     
  19. พระจิรวัฒน์ ญาณวโร

    พระจิรวัฒน์ ญาณวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    5,029
    ค่าพลัง:
    +17,452
    โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
    อารทฺธวิริยา ...โหถ เอสา พุทธานุสาสนี
    ....ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย
    และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย
    แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี

    สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต
    อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ
    ....ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
    ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ
    ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยากดูเพิ่มเติม
    ‎.....พุทธานุศาสนี... โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทธานุสาสนี ....ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ ....ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...