ผมอยากรู้.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Kama-Manas, 8 สิงหาคม 2011.

  1. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    "วิปัสสนา" คืออะไร?ครับ (ขอผู้รู้จริงนะครับ..)
     
  2. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    คือการตั้งคำถามและหาคำตอบ
     
  3. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ...คิดว่านะครับ[​IMG]...คงต้องรอ"ท่านผู้รู้"มาตอบอีกที
     
  4. jets-one

    jets-one เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    460
    ค่าพลัง:
    +737
    คือการค้นหา ตนเอง
     
  5. wacaholic

    wacaholic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +214
    ด้วยตนเอง
     
  6. ธารธรา

    ธารธรา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +17
    คล้ายๆปุจฉา กับวิปัสสนา มั้ยคะ
     
  7. เทพเมรัย

    เทพเมรัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +80
    ปุจฉา(ถาม) คู่กับ วิสัชนา(ตอบ) ไม่ใช่วิปัสสนา

    ตามภาษาธรรม วิปัสสนา คือการพิจารณา ใคร่ครวญ หลักธรรมใดหลักธรรมหนึ่ง ให้ใจเราเห็นไปตามความจริงหรือตระหนักรู้แห่งหลักธรรมนั้น เช่น เห็นแจ้งในไตรลักษณ์ เมื่อยกอริยะสัจน์ 4 มาพิจารณา จนเกิดปัญญาดับทุกข์ได้ เป็นต้น
     
  8. มหิศวระ

    มหิศวระ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +8
    ปวดท้องหิว หาอะไรทาน อิ่มหายปวด
     
  9. wacaholic

    wacaholic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +214
    วิปัสสนา การใคร่รู้ ดูทดสอบ มอบอุบาย คลา่ยคำตอบ มอบธรรมถึง จึงลุแจ้ง แห่งสงสัย ใจเบ่งบาน ลานแห่งธรรม นำคำสอน ย้อนกลับดู รู้ความนัยย์ ให้ชัดแจ้ง แห่งแสงธรรม
     
  10. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    วิ = รู้....ปัสสนา = ปัญญา = รู้ด้วยปัญญา หรือ ปัญญารู้..ปัญญารู้แจ้ง
    วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้ง ไม่ใช่เป็นการเห็นด้วยตาเนื้อ แต่เป็นการเห็นด้วยตาคือปัญญา วิปัสสนาเป็นปัญญาขั้นภาวนา ไม่ใช่ปัญญาขั้นการฟัง ซึ่งเป็นขั้นปริยัติ (การศึกษา) ไม่ใช่ปัญญาขั้นการคิดพิจารณา ซึ่งก็มาจากขั้นการศึกษา เพราะว่า ถ้าไม่มีความเข้าใจขั้นการศึกษาปริยัติ จะมีปัญญาพิจารณาถูกต้องได้นั้น ย่อมเป็นไปได้ยาก แต่ปัญญาขั้นวิปัสสนาภาวนา เป็นขณะที่มีสติเกิดขึ้นพร้อมกับปัญญา ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และค่อยๆเข้าใจตามความเป็นจริง คือนามธรรมมีลักษณะอย่างไร ปัญญาก็รู้ตามความเป็นจริงอย่างนั้น รูปธรรมมีลักษณะอย่างไร ก็รู้ตามความเป็นจริงอย่างนั้น ไม่มีการสร้างหรือต้องไปทำอะไรให้ผิดปกติแต่อย่างใดเลย เป็นการอบรมเจริญปัญญาตามปกติในชีวิตประจำวัน เพราะตามความเป็นจริงมีสภาพนามธรรมรูปธรรมปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจบ่อยๆเสมอๆ แต่ไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงทำให้ยึดว่าเป็นคนเป็นสัตว์ เป็นวัตถุสิ่งของหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
     
  11. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    วิปัสสนา

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->

    วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง
    วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.
    อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.
    ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.
    ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.
    ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.
    การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ
    1. อุคคหะ การเรียนพระธรรม
    2. ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
    3. ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
    4. วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
    5. มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
    6. ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    วิปัสสนา คือ ส่วนหนึ่งของหนทางดับทุกข์ครับ ^-^
     
  13. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -วิปัสสนึก คือ ความคิด
    -วิปัสสนา คือ การหยุดความคิด
     
  14. chunhapong

    chunhapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +731
    เอาแบบเข้าใจง่ายๆ นะ.......

    วิปัสสนา คือการพิจารณาให้รู้ จนจิตยอมรับตามความเป็นจริง
    ความเป็นจริงตามธรรมะ ธรรมดา ธรรมชาติ เป็นเช่นนั้นเอง
    ความจริง คือจริงในอริยสัจ ๔ จริงในพระไตรลักษณ์

    เมื่อจิตยอมรับได้ทุกอย่างตามความเป็นจริง จิตก็พ้นจากสมมุติ เข้าสู่วิมุติ
    หมดความกลัวต่อภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ไม่กังวลเรื่องแก่ เรื่องเจ็บ เรื่องตาย
    ทุกอย่างเป็นเรื่องของธาตุ ของขันธ์ ห้ามไม่ได้ ไม่มีใครไปบังคับได้
    เมื่อห้ามไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปฝืนกรรม ฝืนธรรมเป็นทุกข์ ให้ยอมรับเสียทุกอย่าง
    อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด จิตก็เป็นสุข ไม่ทุกข์ ไม่ร้อนใดๆ
    เป็นการทรงอยู่ในอารมณ์สังขารุเปกขาญาณ


    ขอให้โชคดีนะ ต้องทำให้ได้ทุกคนนะ......ทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด มันจะได้ถึงไหนก็ช่างมัน ได้ก็ได้ไม่ได้ก็ไม่ได้......
    ทำทำไป เดี๋ยวมันก็ได้เอง...เป็นเองแหละ......นิพพานะสุขขัง..นิพพานะสุขขัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2011
  15. roop&nam

    roop&nam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +215

    ชอบคำตอบนี้ที่สุดครับ โมทนา
     
  16. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    วิปัสสนาคือรู้อย่างวิเศษ ก็คือรู้ตามความเป็นจริง รู้ธรรม
     
  17. อศูนย์น้อย

    อศูนย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +495
    ถึงตอบแตกต่างแต่ความหมายเดียวกัน อนุโมทนากับทุกท่่านด้วยครับ ^^
     
  18. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  19. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    [​IMG]อืมม เป็นเช่นนี้นี่เอง
     
  20. เฟลม

    เฟลม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +15
    สมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

    วิปัสสนาคือการเห็นตามจริง
    คือเห็นว่า สังขารธรรมทั้งหลายอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่อัตตาของเรา นี่จัดเป็นวิปัสสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...