พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ต่อเรื่องพระมาลัยครับ
    ที่มา http://www.dhammajak.net/pictures/phramalai/index.php

    ภาพเขียนโดย
    พระเทวาภินิมมิต จิตรกรเอกกรมศิลปกร

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 8

    กะทาชายถวายดอกบัว 8 ดอกงามโสภา
    ปรารถนาพ้นความเข็ญใจ พระมาลัยเทวะเถระจึงนำไปบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 9

    พระมาลัยเทวะเถระโปรดสวรรค์
    จดจำวิมานเทพบุตร เทพธิดา เมื่อเป็นมนุษย์รักษาศีล
    สร้างพระไตรปิฎก โบสถ์ วิหารเป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 10

    พระมาลัยบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี
    สนทนากับพระอินทร์ และพระศรีอารย์
    ถึงกุศลของเทพยดา ตลอดถึงศาสนาพระศรีอารย์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 11

    ยุคมิคสัญญี
    ก่อนศาสนาพระศรีอารย์ มนุษย์จะไร้ศีลธรรม
    มุ่งประหัสประหารกันไม่เลือกหน้า จะรอดตายแต่ผู้จำศีลภาวนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 12

    เกิดต้นกัลปพฤกษ์
    ในศาสนาพระศรีอารย์ ผู้ใส่บาตร ถวายไตรจีวร
    สร้างพระพุทธรูป ทอดกฐินเป็นต้น จะไปเกิดนึกอะไรก็สอยเอาได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 13

    คนเกิดในศาสนาพระศรีอารย์
    คนกตัญญูให้ทาน รักษาศีล บวชพระเณร
    สร้างศาลากุฎีเป็นต้น จะได้ไปเกิดเป็นสุขยิ่ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE borderColor=#dddddd cellSpacing=6 cellPadding=1 bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=270>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD align=middle>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 height=80 cellSpacing=2 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff align=middle bgColor=#f7f7f7>ภาพที่ 14

    พระมาลัยแจ้งข่าวนรกสวรรค์
    ที่ท่านพบเห็นและรับสั่งมาแก่บรรดาญาติ
    ให้ละบาป ตั้งใจทำบุญแผ่บุศลส่งไปให้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2007
  2. Chatchaic

    Chatchaic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +286
    ขอขอบคุณ...อีกครั้งครับ สำหรับสมเด็จหลังเบี้ย ที่คุณหนุ่มกรุณามอบให้
    ตอนที่ได้รับ..ก็สงสัยอยู่ว่าเป็นพระรุ่นไหน คิดว่าจะสอบถามอยู่เหมือนกัน

    ขอบคุณมากๆอีกครั้งครับ.....(deejai)
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สัญลักษณ์ประจำชาติไทย


    สัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) ..3 สิ่ง

    [​IMG]
    นายยงยุทธ ติยะไพรัช โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี .แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 2 ตุลาคม 2544 ว่า คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) ..3 สิ่ง ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ ซึ่งจะเป็นการ ช่วยประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย ดังนี้
    1. สัตว์ประจำชาติไทย คือ "ช้างไทย" Chang Thai (Elephant หรือ Elephas Maximas)
    2. ดอกไม้ประจำชาติ คือ "ดอกราชพฤกษ์" (คูน) Ratchapruek (Cassiafistula Linn.X
    3. สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ "ศาลาไทย" Sala Thai (Pavilion)
    ทั้งนี้ .เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ ไทย (Nation Identity) และการส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ส่งเสริม ภาพลักษณ์ประเทศไทยให้มีผลระยะยาว .....ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลแล้ว จึงกำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย 3 สิ่งดังกล่าว ตามที่กระทรวงต่างประเทศเสนอ
    สำหรับภาพลักษณ์สัตว์ประจำชาติ "ช้างไทย" .....ทางกรมศิลปากรได้ออกแบบ..... และคณะกรรมการ เอกลักษณ์ของชาติ ได้พิจารณาเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว. และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัว และจะได้เห็นความหลากหลาย ..ทางคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติจะจัดให้มีการประกวดภาพ 3 สิ่งสร้างภาพ ลักษณ์ "ดอกราชพฤกษ์" ดอกไม้ประจำชาติและสถาปัตยกรรมประจะชาติ ......จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการ ประกวดภาพเพื่อให้ประชาชนได้ทีส่วนร่วมในการคัดเลือกรูปแบบสัญลักษณ์ประจำชาติต่อไป
    ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 ก.พ. 2548 รับทราบเรื่องการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอมา โดยกำหนดให้สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์ หรือดอกคูน สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ ศาลาไทย ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาการออกแบบภาพสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ทั้ง 3 สิ่ง มาตั้งแต่ปลายปี 2544 โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบภาพช้างไทย ส่วนภาพดอกราชพฤกษ์และภาพศาลาไทยได้จากการประกวดการออบแบบ แต่มีการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขภาพหลายครั้ง และคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบภาพเอกลักษณ์ประจำชาติไทยทั้ง 3 สิ่ง ในการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมา



    สัตว์ประจำชาติ
    [​IMG]


    ดอกไม้์ประจำชาติ
    [​IMG]


    สถาปัตยกรรมประจำชาติ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • changthai.jpg
      changthai.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171.2 KB
      เปิดดู:
      505
    • rajapruek.jpg
      rajapruek.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.6 KB
      เปิดดู:
      572
    • salathai.jpg
      salathai.jpg
      ขนาดไฟล์:
      162.6 KB
      เปิดดู:
      449
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.dhammathai.org/articles/view.php?No=216

    [​IMG]
    พระวรธรรมคติ วันมาฆบูชา ๒๕๕๐ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    พระวรธรรมคติ วันมาฆบูชา ๒๕๕๐

    วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง เสวยมาฆฤกษ์
    เมื่อ ๒๕๙๕ ปี มาแล้วนั้น
    จัดวันนั้น เป็นวันมาฆบูชา
    ด้วยสมเด็จพระบรมศาสดาทรงประกาศ หัวใจพระพุทธศาสนา ๓ ประการ
    ในท่ามกลางพระอรหันตขีณาสพ ๑ พัน ๒๕๐ รูป

    เพื่ออัญเชิญไปเป็นหลักในการประกาศพระพุทธศาสนาแก่โลก
    ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ

    การไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง
    การทำบุญกุศลทุกประการ
    และการทำจิตของตนให้ผ่องแผ้วไกลกิเลสทั้งปวง

    หัวใจพระพุทธศาสนาก็เปรียบเช่นหัวใจเราท่านทั้งหลาย
    แม้ปล่อยหัวใจให้มีโรค ร่างกายก็จะเป็นทุกข์ทรมาน จนถึงตายได้

    หัวใจพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกันไม่รักษาให้ดี
    ด้วยการไม่ทำตาม ที่พระพุทธองค์ทรงสอน
    ก็ย่อมจะก่อให้เกิดความบอบช้ำแสนสาหัส
    ถึงจบชีวิตพระพุทธศาสนาได้

    พร้อมกันนั้นชีวิตของเราท่านทั้งหลายก็จะสิ้นความสวัสดี
    แม้ไม่อยากให้ชีวิตต้องผ่านพ้นสภาพเช่นนั้น
    ก็จงเร่ง คิด พูด ทำ ให้ได้ดังหัวใจพระพุทธศาสนา

    เริ่มต้นให้จริง ในวันมาฆบูชานี้เถิด
    มหามงคลจะเกิด
    ความเดือดร้อนวุ่นวายจะสงบลงได้
    ด้วยพระพุทธานุภาพแน่นอน

    ขออำนวยพร
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


    คัดลอกจาก...คุณ I am
    http://www.dhammajak.net
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 216.jpg
      216.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.5 KB
      เปิดดู:
      571
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.dhammathai.org/articles/view.php?No=214

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>อยากรวย....มาทางนี้ <HR width="100%" color=#dddddd SIZE=1></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] พอได้ยินคำว่า เศรษฐี ไม่ว่าใคร จะเป็นเด็กที่พอรู้ความ ผู้ใหญ่ คนแก่ คน เ ฒ่า ทั้งหญิง ทั้งชาย ต่างก็ชอบที่จะได้ฟัง ปรารถนาจะเป็นด้วยกันทุกคน เพราะคนที่เป็นเศรษฐี ก็หมายถึงคนที่มีเงินมีทองมาก ร่ำรวย เพียบพร้อมด้วย สมบัติต่างทรัพย์สิน เช่น มีรถงาม ๆ คันโต ๆ บ้านใหญ่ ๆ สวย ๆ มีที่ดินมากมาย ตลอดจนมีเครื่องใช้ไม้สอย เครื่องประดับตกแต่ง แต่ละอย่างล้วนแต่ดี ๆ มีค่ามากทั้งนั้น ดูราวกับว่า ถ้าต้องการอะไร คนที่เป็นเศรษฐีหรือคนที่ร่ำรวยเงินทอง แทบจะบันดาลให้เป็นไปได้ทั้งนั้น ฉะนั้นคนส่วนใหญ่จึงปรารถนาจะ
    ้เป็นด้วยกันทั้งนั้น แต่จะทำอย่างไรจึงจะได้เป็นเศรษฐี ข้อนี้ยังเป็นปัญหา ข้าพเจ้าแม้จะไม่เคยเป็นเศรษฐีจริง ๆ แต่ก็เคยได้เห็นเคยได้ยิน หรือได้คุยกับคนที่
    เขาเป็นเศรษฐีมาแล้วหลายคน ปรากฎว่าคนที่จะเป็นเศรษฐีได้จริง ๆ และมีความสุขดีด้วย จำเป็นต้องมีคาถาดีหรือเรียกว่ามีคุณธรรมดีอย่างน้อย 4 ข้อ หรือที่เรียกกันว่า "หัวใจเศรษฐี"ด้วยกันทุกคน ถ้าขาดคุณธรรม 4 ข้อนี้ จะเป็นเศรษฐีที่ดีมั่นคงถาวรและมีความสุขอย่างแท้จริงได้ยาก
    คาถาหัวใจเศรษฐีนี้ บรรดาเศรษฐีเขาถือกันว่าเป็นหัวใจที่จะต้องหมั่นท่องเป็นประจำไม่ขาดแม้แต่วันเดียว คาถามีแค่ 4 ตัว จำง่าย ใครที่อยากเป็นเศรษฐีหรือสนใจอยากจะจดจำไปใช้ท่องบ้างก็ไม่ขัดข้อง ไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด คาถาบทนี้เป็นคาถาเก่าแก่ที่ท่านใช้กันมาแต่โบราณ คาถามีอยู่ว่า "อุ อา กะ สะ"
    ถ้าใครอยากเป็นเศรษฐีที่เพียบพร้อมด้วยความสุข ต้องหมั่นท่องทุกวันอย่าให้ขาด ไม่ว่าจะทำอะไรหรือกิจการใด ถ้านึกขึ้นได้ก็ให้รีบท่องไว้ ยิ่งท่องไว้ได้เป็นประจำ ก็จะทำให้เป็นเศรษฐีได้เร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น ที่สำคัญถ้าต้องการให้ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ละก็ ต้องทำตามคาถาที่ท่องนั้นด้วย
    คาถาทั้ง 4 ตัวนั้น ย่อมาจากคำสี่คำ ดังนี้ คำว่า "อุ" ย่อมาจากคำว่า "อุฎฐานสัมปทา" ซึ่งแปลว่า "ความถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร หมายถึง ถ้าอยากเป็นเศรษฐี ก่อนอื่นต้องมีความขยันหมั่นเพียร เริ่มตั้งแต่ต้องขยันหมั่นเพียรในการแดงหาความรู้ วิชาการต่าง ๆ ตลอดจนการเรียนรู้วิชาชีพ ขยันหมั่นเพียรในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมายให้กระทำโดยไม่บกพร่อง และพยายามแก้ไขการงานที่ได้รับมอบหมายหรือที่กระทำอยู่ให้ดียิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การงานมีประสิทธิภาพและได้ผลดีที่สุด ต้องขยันทำมาหากิน โดยไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคที่ต้องเผชิญหน้า ตลอดจนต้องคอยศึกษาหาความรู้สำหรับใช้รักษาตัวเองและครอบครัวมิให้เกิดการเจ็บป่วยด้วย
    คำว่า "อา" ย่อมาจากคำว่า "อารักขสัมปทา" ซึ่งแปลว่า ความถึงพร้อมด้วยการความหมั่นรักษา หมายถึง เมื่อได้รับมอบหมายการงานอะไรให้กระทำ หรือเมื่อได้ดำเนินกิจการงานอะไร ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของคนอื่นก็ดี ต้องเป็นคนมีความรับผิดชอบในการงานหรือกิจการนั้น ๆ มิให้บกพร่องต่อหน้าที่ อะไรที่ยังทำไม่ดีก็พยายามทำให้ดี อะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุงให้ดี เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานต้องหมั่นดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลาโดยไม่ปล่อยปะละเลย เช่น มีอะไรชำรุดเสียหายก็แก้ไขให้ดี ตลอดไปจนถึงต้องรู้จักรักษาทรัพย์สินเงินทองที่เกิดจากการปฏบัติงาน เกิดจากการทำมาหากินหรือที่รับผิดชอบอยู่มิให้สูญเสียหรือใช้ไปให้สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ หรือปราศจากเหตุผลอันสมควร หน้าที่การงานที่กระทำอยู่หรือกิจการส่วนตัวที่ดำเนินอยู่ก็อย่าให้ต้องหลุดมือไปง่าย ๆ เพราะการงานที่ทำแต่ละอย่างไม่ใช่จะหาได้ง่ายนัก ฉะนั้น เมื่อได้การงานใด ๆ แล้ว ก็อย่าทำให้งานที่ทำนั้นต้องหลุดไป นอกจากกรณีที่เราได้งานหรือกิจการใหม่ที่เราพิจารณาเห็นชัดแล้วว่าจะต้องทำให้เราดีกว่าเดิมได้ จึงค่อยพิจารณาเปลี่ยนแปลง ถ้าการงานหรือกิจการที่ดำเนินการอยู่ดีอยู่แล้ว ต้องพยายามรักษาให้ดีที่สุด และต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ และประการสำคัญไม่ว่าจะทำงานกับใครที่ไหนก็ตามต้องถือว่างานนั้นเป็นงานของเราเอง เพราะถ้ากิจการของเขาเจริญขึ้น เราก็จะพลอยได้ผลประโยชน์ไปด้วย ถ้ากิจการของเขาเลวลง เราก็จะต้องพลอยลำบากไปด้วย
    คำว่า "ก" ย่อมาจากคำว่า "กัลยาณมิตตตา" ซึ่งแปลว่า ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรเป็นมิตร หมายความว่า ต้องรู้จักคบมิตรที่ดี มิตรแท้ ที่จะเป็นกัลยาณมิตรหรือเป็นมิตรที่จะพาเราหรือสนับสนุนเราไปสู่ความเจริญก้าวหน้า และมีความสุขสมหวังในชีวิตได้ มิตรดีหรือมิตรแท้นี้ท่านแบ่งไว้ 4 จำพวก คือ มิตรอุปการะพวกหนึ่ง เป็นผู้ที่สามารถจะช่วยเหลือเกื้อกูลเราได้ในยามที่เราเดือดร้อนจำเป็นในด้านทรัพย์สินเงินทองหรือในยามที่ เรามีภัยเดือดร้อน เพราะความประมาทของเรา พวกหนึ่งคือมิตร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมเป็นร่วมตายที่จะอยู่เคียงข้างเรา เป็นเพื่อนปรับทุกข์กันได้ในยามที่เราถึงความวิบัติเพราะความเลินเล่อเผลอตัวหรือมีภัย พวกหนึ่ง คือ มิตรแนะประโยชน์ มิตรชนิดนี้ท่านหมายถึง ครูบาอาจารย์ผู้มีวิชาการ มีความชำนาญดี ตลอดจนถึงผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชาที่ดี ที่จะเป็นผู้คอยห้ามปรามเราในเวลาที่เราเกิดความประมาทกระทำความชั่ว คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี คอยแนะนำสั่งสอนวิชาการที่มีประโยชน์แก่การทำงาน และการดำรงชีวิตที่ถูกต้อง ตลอดจนคอยเมตตาให้กำลังใจแก่เราในยามที่เราพลาดหวัง ล้มเหลว หรือ เกิดความท้อถอยขณะในขณะปฏิบัติงาน
    มิตรแท้พวกสุดท้ายได้แก่มิตรมีความรักใคร่ เป็นแรงสนับสนุนให้เราสามารถมีกำลังใจต่อสู้อุปสรรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ท้อถอย มิตรทั้ง 4 ชนิดนี้ควรคบไว้ และควรสร้างให้มีขึ้นแก่เราตลอดชีวิต นอกจากเราจะต้องเลือกคบมิตรที่ดี มิตรแท้ไว้แล้ว เราต้องเว้นหรือว่าต้องห่างไกลจากมิตรเทียมหรือมิตรชั่วอีก 4 จำพวกด้วยกัน
    มิตรเทียมเหล่านี้ได้แก่ มิตรปอกลอก ที่หวังคบเราเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว โดยมิได้ให้ประโยชน์อะไรเลย หรือให้แต่น้อยหวังเอาแต่มากพวกหนึ่ง พวกหนึ่งได้แก่มิตรดีแต่พูด คือพวกที่ชอบเอาแต่เรื่องไร้สาระหารประโยชน์ไม่ได้มาพูด หรือเอาสิ่งที่หาประโยชน์จริง ๆไม่ได้มาให้เวลาเราออกปากจริง ๆ ก็พึ่งอะไรไม่ได้เลย
    อีกพวกหนึ่ง ก็เป็นพวกหัวประจบที่เวลาเราทำอะไรก็คล้อยตาม เช่น ทำดีก็คล้อยตาม ไม่ห้ามปราม ต่อหน้าก็ทำสรรเสริญเราดี แต่ลับหลังกัลบนินทาเป็นไฟ
    มิตรเทียมพวกสุดท้าย พวกนี้ร้ายที่สุด เพราะเป็นประเภทที่ชอบชักชวนเราไปในทางที่ฉิบหายไม่เกิดประโยชน์ เช่นพวกที่ชักชวนไปกินเหล้าเมายา เที่ยวกลางคืน เล่นการพนัน ตลอดจนพาไปหาสิ่งเสพติดให้โทษต่าง ๆ เช่น ฝิ่น กัญชาฮโรอีน เป็นต้น บุคคลจำพวกหลังนี้ ผู้ที่อยากเป็นเศรษฐีต้องพยายามอย่างไปข้องแวะด้วย
    คำสุดท้ายว่า "ส" ย่อมาจากคำว่า "สมชีวิตา" แปลว่า ความเป็นผู้มีความเป็นอยู่เหมาะสมหรือสมควรแก่ฐานะ หมายถึง เมื่อเราแสวงหาทรัพย์มาได้แล้ว ก็ต้องรู้จักใช้จ่ายใช้สอยให้เหมาะสมแก่ความเป็นอยู่ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยหรือฝืดเคืองจนเกินไปนัก เช่น เรามีรายได้เดือนหนึ่ง 10,000 บาท ก็ต้องพยายามใช้จ่ายให้เหมาะสมกับผู้มีเงินเดือนหรือรายได้ 10,000 บาท ไม่ใช่ใช้จ่ายจนเกินเดือนละ 10,000 บาท อันเป็นการเกินฐานะของตนหรือประหยัดการใช้จ่ายอย่างมาก คือใช้จ่ายเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง คือใช้จ่ายเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง คือใช้จ่ายเพียงเดือนละ 200 - 300 บาท ทั้ง ๆ ที่มีรายได้ถึง 10,000 บาท ซึ่งเป็นการไม่สมควรแก่ฐานะและความเป็นอยู่ เป็นต้น
    เพราะฉะนั้น ถ้าใครปรารถนาจะเป็นเศรษฐี คนร่ำรวยที่ประกอบด้วยความสุขในภายภาคหน้าหรือในอนาคต ก็ต้องพยายามท่องคาถาทั้ง 4 ตัวนี้ คือ อุ อา กะ สะ ไว้ให้ขึ้นใจเสียแต่วันนี้ และต้องหมั่นท่องไว้อยู่เสมอมิได้ขาด รับรองว่าจะสามารถเป็นเศรษฐีได้ในเวลาไม่ช้านัก และค่อนข้างแน่นอน ข้อสำคัญต้องถือหลักสี่ประการนี้ไว้ให้มั่น คือ
    ประการแรก ต้องเป็นคนหมั่นขยันในการแสวงหาความรู้ วิชาการต่าง ๆ ตลอดจนวิชาชีพที่ตนต้องการให้รู้จริงและชำนาญที่สุด ต้องขยันทำงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รับผิดชอบ ต้องขยันทำมาหากิน และต้องรู้จักศึกษาและแสวงหาความรู้ไว้สำหรับรักษาตัวเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัว
    ประการที่สอง ต้องรู้จักรักษาทรัพย์สินที่หามาได้ ตลอดรักษาวิชาความรู้ที่เล่าเรียนมา อย่าให้สูญเสียไป และพยายามเพิ่มพูนอยู่เสมอ
    ประการที่สาม ต้องรู้จักคบมิตรที่ดี มิตรที่มีความรักใคร่ แนะนำแต่สิ่งที่มีประโยชน์แก่เรา ตลอดจนเป็นผู้สามารถร่วมสุข ป้องกันช่วยเหลือเราได้ในยามที่มีภัย หรือต้องเดือดร้อนเพราะความวิบัติ หรือเพราะความประมาท
    และควรเว้นจากมิตรไม่ดี 4 จำพวก คือ คนปอกลอกคิดเอาแต่ได้จำพวกหนึ่ง พวกดีแต่พูดเรื่องไร้สาระหาประโยชน์มิได้ เวลาออกปากก็พึ่งอะไรไม่ได้พวกหนึ่ง พวกหัวประจบ ทำดีทำชั่วก็คล้อยตาม ไม่ห้ามปราม ซ้ำต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังยังนินทาหัวเราซะอีก พวกสุดท้าย คือพวกที่ชอบชักชวนเราไปในทางฉิบหาย
    ประการที่สี่ ต้องรู้จักใช้สอยหรือดำรงชีวิตให้เหมาะแก่ฐานะความเป็นอยู่และรายได้ที่ได้รับไม่ให้ฟุ่มเฟือย ทิ้ง ๆ ขว้างๆ สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ หรืออยู่อย่างฝืดเคือง ทำตัวลำบาก
    พร้อมกันนี้ ทุกวันก่อนนอนควรสำรวจว่า ได้ทำครบ 4 อย่างหรือยัง ถ้ายังทำไม่ครบก็ต้องรีบพยายาทำให้ครบ แค่นี้เท่านั้น ท่านก็จะมีโอกาสเป็นเศรษฐีสมใจ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : หัวใจเศรษฐี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    Toonjan [​IMG] [DT02619] [ วันพุธ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 22:02 น. ]
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 5 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) </TD><TD class=thead width="14%">

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, เสี่ยหมู, Nu_Bombam </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอให้ทุกๆท่านมีความสุขกับการอ่านครับ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ปัจจุบัน ผมมอบพระให้กับผู้ร่วมทำบุญในกระทู้ 2 กระทู้ดังนี้ครับ

    1. เชิญร่วมบริจาคค่าขุดบ่อบาดาล สนส บ่อเงินบ่อทอง บัญชีออมทรัพย์ 2030-06304-5 บัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง ปริยัติศึกษา บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม

    2.ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ <!-- / sig -->

    รายละเอียดสามารถดูได้หน้าแรกของทั้งสองกระทู้ครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระพิมพ์ชุดพิเศษ 2
    พระวังหน้า พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า,พระอุปคุตเถระเจ้าและหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตให้ครับ


    มีพระพิมพ์ 6 พิมพ์ดังนี้
    [​IMG]

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    1.พระสมเด็จวังหน้า เนื้อจูซาอั้ง (สีแดง) ปิดทองร่องชาด จำนวน 20 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,800 บาท <O:p</O:p

    2.พระสมเด็จวังหน้า เนื้อสีขาว ปิดทองร่องชาด จำนวน 20 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,500 บาท <O:p</O:p

    3.สมเด็จวังหน้า เนื้อปัญจศิริ จำนวน 30 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,300 บาท

    [​IMG]<O:p</O:p
    4.พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาว จำนวน 15 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,200 บาท <O:p</O:p
    5.พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาวแตกลายงา จำนวน 10 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,100 บาท

    [​IMG]<O:p</O:p
    6.พระพิมพ์ปิดตาวังหน้าสองหน้า จำนวน 30 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,000 บาท

    เมื่อโอนแล้วแจ้งยอดเงินและชื่อที่อยู่เพื่อจัดส่งไว้ในกระทู้ หรือส่งข้อความส่วนตัวมาที่ผม แล้วผมจะจัดส่งให้ครับ

    ขอขอบพระคุณและโมทนาสาธุกับทุกท่านที่เมตตาครับ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    จากกระทู้ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้...
    http://www.palungjit.org/board/showt...22445&page=101

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    (ร่วมทำบุญ"งานบุญคุณแผ่นดิน"และจัดตั้งโรงทานเพื่อทำอาหารเลี้ยงพระสงฆ์จำนวน ๕,๐๐๐ รูป และ ภาพบรรยากาศงาน "บุญคุณแผ่นดิน" 16 ธ.ค. 49 ณ ทุ่งลุมพลี )

    ในงานบุญคุณแผ่นดินที่ผ่านมา ผมเองได้บูชาตะกรุดยันต์พิชัยสงครามมา 1 ดอก ตะกรุดแบบที่ผมบูชามานี้พระอาจารย์นพวรรณท่านสร้างไว้แค่ 50 ดอกเท่านั้น วิธีใช้ให้เขียนชื่อ - นามสกุล และดวงตนเองใส่ในแผ่นทองหรือแผ่นเงิน แล้วสอดไว้ในตะกรุด เพื่อเสริมบารมีของตนเอง ผมมีแค่ 1 ดอกเท่านั้น แต่ผมจะนำมาให้บูชาเพื่อนำเงินไปสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ที่สำนักสงฆ์ศรีชัยผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ผมให้บูชาดอกละ 15,000.-บาทครับ (ผมบูชามา 1,500 บาท แต่เนื่องจากว่าตะกรุดนี้สร้างโดยพระอาจารย์นพวรรณ มีการจารยันต์พิชัยสงครามทุกอย่าง พระอาจารย์นพวรรณเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องพิชัยสงครามมามาก และตะกรุดนี้ผ่านพิธีพุทธาภิเษางานบุญคุณแผ่นดิน และมีแค่ 50 ดอกเท่านั้น) เท่าที่ผมฟังจากพระอาจารย์นพวรรณ ท่านบอกว่าท่านจะไม่สร้างอีกแล้ว ตะกรุดนี้จึงหาได้ยาก ผู้ที่ครอบครองไว้จึงหวงแหนกันครับ

    ***** หรือ 1.หากท่านใดร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 80,000.-บาท กรณีท่านร่วมทำบุญเองไปเรื่อยๆโดยขอรับพระพิมพ์หรือ2.กรณีไปชักชวนท่านอื่นๆมาร่วมทำบุญ อาจจะเป็นการจัดผ้าป่าไปที่ สนส.ผาผึ้ง ฯลฯ รวมแล้วไม่ต่ำว่า 120,000.-บาท (และผมต้องตรวจสอบได้ครับ) ผมขอมอบตะกรุดดอกนี้ให้ฟรีครับ *****

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]และที่สำคัญ ตะกรุดดอกนี้ พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า ,พระอุปคุตเถระเจ้า และหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ท่านอธิษฐานจิตให้ด้วยครับ [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    เมื่อท่านใดมีความประสงค์ที่ต้องการจะได้ตะกรุดดอกนี้ ให้โอนเงินเพื่อร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ เมื่อโอนแล้วแจ้งยอดเงินและชื่อที่อยู่เพื่อจัดส่งไว้ในกระทู้ หรือส่งข้อความส่วนตัวมาที่ผม แล้วผมจะจัดส่งให้ครับ

    ขอขอบพระคุณและโมทนาสาธุกับทุกท่านที่เมตตาครับ<!-- / message --><!-- attachments -->




    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    *******************************************

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550

    จากกระทู้(ร่วมทำบุญ"งานบุญคุณแผ่นดิน"และจัดตั้งโรงทานเพื่อทำอาหารเลี้ยงพระสงฆ์จำนวน ๕,๐๐๐ รูป และ ภาพบรรยากาศงาน "บุญคุณแผ่นดิน" 16 ธ.ค. 49 ณ ทุ่งลุมพลี )

    ในงานบุญคุณแผ่นดิน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 นั้น ผมได้รับแจกพระพิมพ์ และได้บูชาผ้ายันต์หลวงพ่อเพชร มา ผมมีความประสงค์จะมอบให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ ดังนี้

    1.พระพิมพ์ พระอาจารย์นพวรรณ อธิษฐานจิตเดี่ยว (มีจำนวน 1 องค์)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 300 บาท

    [​IMG]

    พระอาจารย์นพวรรณ ผู้อธิษฐานจิตพระพิมพ์
    [​IMG]

    2.หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ (มีจำนวน 1 องค์)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท

    [​IMG]

    ผู้อธิษฐานจิต
    [​IMG]

    3.เหรียญ 50 สตางค์ (มีจำนวน 1 เหรียญ)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 200 บาท หมดแล้ว (คุณพุทธันดร จองและร่วมบริจาคเงินแล้ว)

    [​IMG]

    ปู่ฤาษีเกตุแก้ว องค์ขวาสุด ผู้อธิษฐานจิตเหรียญ 50 สตางค์
    [​IMG]


    4.ผ้ายันต์หลวงพ่อเพชร วาจาสิทธิ์ (มีจำนวน 1 ผืน)
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 500 บาท

    [​IMG]

    เมื่อร่วมบุญและโอนเงินแล้ว ขอความกรุณาแจ้งให้คุณนักเดินทางทราบด้วย คุณนักเดินทางจะเป็นผู้ส่งพระพิมพ์และวัตถุมงคลให้

    โมทนาสาธุครับ


    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เชิญร่วมบริจาคค่าขุดบ่อบาดาล สนส บ่อเงินบ่อทอง

    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]

    [​IMG]


    เนื่องจากสำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง ยังขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ปัจจุบัน ต้องซื้อน้ำจากเอกชนทีละหลายคันรถ ทำให้แต่ละเดือนต้องมีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หลวงพ่อแผนจึงมีดำริที่จะขุดบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำจากธรรมชาติมาใช้ แต่ก็ยังขาดแคลนปัจจัยที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 45,000 บาท หากท่านใดประสงค์จะช่วยเหลือ ก็สามารถบริจาคโดยการโอนเงินเข้าบัญชีด้านล่างได้เลยครับ

    โรงเรียนปริยัติธรรม สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ก็ด้วยทุกท่านได้เมตตาช่วยเหลือ จนถึงปัจจุบันผ่านมา 1 ปีเต็มแล้ว ผมหวังว่าทุกท่านโปรดเมตตาช่วยเหลืออีกต่อไปคนละเล็กละน้อย อีกไม่นานโรงเรียนแห่งนี้ก็จะเสร็จสมบูรณ์ ถึงตอนนั้นสถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นแหล่งการศึกษาเพื่อพระ-เณร และเด็กด้อยโอกาส และผลิตบุคคลากรที่มีคุณภาพออกมาเป็นกำลังสำคัญ ของพระพุทธศาสนาและประเทศชาติ

    คุณ sithiphong ได้มอบพระพิมพ์มามอบให้ผู้ร่วมบริจาคทำบุญ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาที่ท่านได้หยิบยื่นให้สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง ดังนี้ครับ

    1. พระพิมพ์สมเด็จวังหน้า เนื้อผงสีขาว ลงรักปัดด้วยผงทอง

    [​IMG]
    ขนาด 2.4 x 3.8 ซม เสกโดยหลวงปู่พระโสณเถรเจ้าและหลวงปู่อิเกสาโร
    มอบให้ผู้ร่วมบริจาค 1,000 บาท

    2. พระพิมพ์ไกเซอร์เล็ก เนื้อขาว

    [​IMG]
    ขนาด 2.2 x 3.2 ซม เสกโดยหลวงปู่อิเกสาโร
    มอบให้ผู้ร่วมบริจาค 500 บาท

    3. พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าคะแนนร้อย เนื้อขาวลงรักสีน้ำเงิน, แดง และดำ

    [​IMG]
    ขนาด 2.5 x 3.8 ซม เสกโดยสมเด็จโตและหลวงปู่อิเกสาโร
    มอบให้ผู้ร่วมบริจาค 300 บาท

    4. พระพิมพ์จิตรลดาจิ๋ว เนื้อปัญจสิริ

    [​IMG]
    ขนาด 1.4 x 2 ซม เสกโดยหลวงปู่พระอุตรเถรเจ้า อิทธิคุณแรงมากแต่มีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับผู้หญิงและเด็ก
    มอบให้ผู้ร่วมบริจาค 800 บาท

    5. พระพิมพ์สมเด็จผงยาวาสนาคะแนนร้อยแบบธรรมดา

    [​IMG]
    ขนาด 2.5 x 3.8 ซม เสกโดยคณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้ง 5 องค์ เท่าที่ทราบนอกจากพระพิมพ์ผงยาจินดามณี(สีเทาดำ)แล้ว พิมพ์นี้เป็นอีกพิมพ์ที่เสกโดยหลวงปู่ทั้ง 5 องค์ จัดว่าเป็นสุดยอดของพระพิมพ์กรุวังหน้า
    มอบให้ผู้ร่วมบริจาค 2,200 บาท



    การบริจาค
    โอนเงินเข้าบัญชีต่อไปนี้
    พระมหาแผน ฐิติธัมโม 01-9408541
    สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง
    ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์
    หมายเลขบัญชี : 203-0-06304-5
    ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม
    ชื่อบัญชี : ร.ร.ปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง

    เมื่อโอนแล้วแจ้งยอดเงินและชื่อที่อยู่เพื่อจัดส่งไว้ในกระทู้ หรือส่งข้อความส่วนตัวมาที่ผม แล้วผมจะจัดส่งให้ครับ

    ขอขอบพระคุณและโมทนาสาธุกับทุกท่านที่เมตตาครับ
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อานิสงส์การสร้างพระเจดีย์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.ย่อมเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ไม่เป็นผู้มัวเมาในชีวิต<O:p</O:p
    2.ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย
    <O:p</O:p
    3.เมื่อใกล้ดับขันธ์ ย่อมไม่หลงลืม<O:p</O:p
    4.ย่อมได้เกิดในประเทศที่เหมาะสม สำหรับการสร้างบารมีในพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    5.ย่อมไปบังเกิดในสวรรค์ เมื่อยังไม่หมดกิเลส<O:p</O:p
    6.ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผล นิพพานได้โดยง่าย<O:p</O:p
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา หลักการบำเพ็ญธุดงควัตร..
    http://www.dhammathai.org/articles/view.php?No=206

    หมวด : ธุดงควัตร
    เรื่องธุดงควัตร
    เทศนาโดยท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    --------------------------------------------------------------------------



    1). “การเข้าพรรษาทุก ๆ ปีมาขอให้มีหลักมีเกณฑ์สำหรับพวกประชาชนทั้งหลายก็ดี พระท่านมีหลักมีเกณฑ์ของท่าน เช่น สมาทานธุดงค์ ตั้งแต่มาตั้งวัดนี้ก็สมาทานธุดงค์ เฉพาะในพรรษารับเฉพาะมาถึงเขตวัดเท่านั้น เพื่อทำความมักน้อยในการขบการฉันไม่ให้โลเลไปกับลิ้นกับปากมากกว่าธรรม เวลาเข้าพรรษาพระไม่ได้ไปที่ไหนมาที่ไหน รวมกันอยู่ในเวลา ๓ เดือน ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติประกอบความพากเพียร มีความสัตย์ความจริงประจำตนตามแต่ละราย ๆ ที่จะตั้งกฎกติกาเพื่ออรรถเพื่อธรรมต่อตนเอง สำหรับพระเป็นอย่างนั้น

    เช่น บิณฑบาตรับเอาเฉพาะที่มาถึงเขตวัดแล้วก็หยุด ไม่รับต่อไป นั้นเรียกว่าไม่รับอาหารที่ตามมาทีหลัง อย่างนี้ก็เพื่อความมักน้อยในการขบการฉันไม่ให้กังวลมาก นอกจากนั้นท่านยังมีความคิดละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีก ได้มามากน้อยเพียงไรท่านจะเอาแต่เพียงเล็กน้อย ๆ เท่านั้น นี่ขยับลงไป นี่ละเรื่องของกิเลสถ้าไม่ดัดอย่างนี้ไม่ได้นะ หาความสุขไม่ได้โลกของเรา โลกร้อนเพราะวิ่งตามกิเลส กิเลสมันไม่มีเมืองพอ ทุกอย่างอยากตลอดเวลา ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสัมพันธ์อะไรอยากไปพร้อม ๆ แล้วก็ลากเจ้าของไปด้วย เพราะฉะนั้นจึงต้องมีธรรมเป็นเครื่องกำกับ หักเอาไว้ ๆ มันจะเลยเถิด ๆ เหยียบเบรกห้ามล้อ แล้วก็เร่งความเพียรทางด้านจิตใจเข้าเป็นลำดับ

    นี่ท่านชำระสะสางสิ่งที่สกปรก ทำการรบกวนและสร้างความทุกข์ให้แก่สัตวโลกตลอดมาก็คือกิเลสเท่านั้น กับธรรมที่เป็นเครื่องชะล้างกัน นอกจากนั้นไม่มี กิเลสไม่กลัวอะไรกลัวแต่ธรรมอย่างเดียว อย่างอื่นไม่มีกลัว สามแดนโลกธาตุเป็นบริษัทบริวาร อยู่ใต้อำนาจของกิเลสทั้งมวล โลกุตรธรรมเหนือกิเลสอีก จึงต้องเอาธรรมมาปราบมาปรามชะล้าง ไม่เช่นนั้นจะอยู่ไม่เป็นสุขมนุษย์เราถ้าไม่มีธรรม นี่เคยปฏิบัติอย่างนี้ตลอดมาตั้งแต่อยู่กับพ่อแม่ครูจารย์มั่นเรื่อยมา ปีแรกเป็นปีไปสังเกตดูข้อวัตรปฏิบัติของท่านทุกแง่ทุกมุม ไปศึกษาเอาจริง ๆ นะ ไปดูไปสังเกตทุกอย่าง ท่านทำยังไงต่อยังไง ๆ สังเกตมาหมด นั้นเป็นปีที่ตั้งรากฐานในการเข้มงวดกวดขันต่ออรรถต่อธรรม ที่จะมากำจัดปัดเป่ากิเลสภายในจิตใจของตัวเอง โดยอาศัยครูอาจารย์เป็นแนวทางเดิน

    ในพรรษาแรกจะว่ามีธุดงควัตรหรือจะพูดว่าไม่มีก็ได้ เพราะปีนั้นปีสังเกตที่จะสมาทานธุดงค์ข้อใด ๆ แม้เรียนมาตามปริยัติสมบูรณ์แล้ว ไม่มีผู้นำปฏิบัติก็ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นจึงต้องเอาออกมาทดสอบดูกับท่านพาดำเนินเป็นยังไง ตั้งแต่ปีนั้นมาละ ปีแรกนั้นยังไม่ได้อะไร คอยเก็บไปก่อนคติเครื่องเตือนใจทุกอย่างจากครูบาอาจารย์มีหลวงปู่มั่นเป็นสำคัญ พอได้หลักได้เกณฑ์แล้วปีหลังตั้งปุ๊บเลยสมาทานธุดงค์ ตั้งแต่วันเข้าพรรษาตลอดทะลุ ๆ จนกระทั่งมาทุกวันนี้เฒ่าแก่ เดี๋ยวนี้เฒ่าแก่มันเลยเถิดมันไม่มีธุดงควัตร นี่เราพูดถึงเรื่องเราดำเนินมาอย่างนั้น จริงจังทุกอย่าง จับปุ๊บ ๆ ติดมับ ๆ เลย เคลื่อนคลาดไม่ได้ แล้วก็พาหมู่เพื่อนมาดำเนิน ตั้งแต่อายุก้าวเข้ามาในย่านนี้แล้วเราค่อยปล่อยวางเรื่องของเราแล้ว เพราะสอนหมู่เพื่อนหมดทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเหลือแล้วในพุง สอนหมด ให้พากันดำเนินตามที่สอนและพาดำเนินมาแล้วนี้ เพราะฉะนั้นธุดงค์ข้อนี้จึงมีประจำตลอด สำหรับพระเณรทั้งหลายมีประจำตลอดในพรรษา

    ธุดงค์มี ๑๓ ข้อ ธุดงค์ แปลว่าเครื่องกำจัดกิเลส แปลออกแล้ว มี ๑๓ ข้อที่นำมาปฏิบัติ เช่น บิณฑบาตเป็นวัตร ถ้ายังฉันอยู่ต้องไปบิณฑบาตทุกวันเป็นวัตร ไม่ให้ขาด เว้นแต่ไม่ฉัน ไม่ฉันก็ไม่ขาดธุดงค์เพราะไม่ฉัน ถ้ายังฉันอยู่ต้องไปบิณฑบาตมาฉัน ฉันมื้อเดียวเท่านั้น ฉันหนเดียวตลอด แล้วก็ฉันในบาตร นอกจากฉันในบาตรแล้วก็ห้ามรับอาหารที่ตามมาเป็นข้อ ๆ ไปโดยลำดับลำดา เราก็ไม่บรรยายไปมากละ ที่อยู่ในป่าเป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง ๆ เช่น ป่าช้า ป่ารกชัฏ ตั้งสมาทานอยู่ในนั้น ๓ เดือนก็ต้องอยู่อย่างนั้นจึงเรียกว่าธุดงค์ เป็นลำดับมา สำหรับวัดนี้ได้ปฏิบัติมาอย่างนั้น

    เวลาในพรรษาเร่งความเพียร ไม่ให้มีงานใดเข้ามายุ่งเลย ประกอบความพากเพียรชำระจิตใจ ได้โอกาสหรือเวล่ำเวลาที่จะได้รับการอบรม ครูบาอาจารย์ท่านจะบอก เวลาเท่านั้นประชุมวันนี้ นั่นคือประชุมอบรมธรรมะ ตามปรกติที่เคยปฏิบัติมา ก็ประมาณสักอาทิตย์หนึ่งประชุมหนหนึ่ง หรืออย่างมากก็ ๑๐ วันเว้น ๑๐ วันบ้าง ประชุมทุกระยะ ๆ ตลอดมาอย่างนี้ สอนพระสอนเณร สอนสำคัญที่สุดคือภาคจิตตภาวนา ภาคจิตตภาวนาเป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียว จึงต้องเน้นหนักทางด้านจิตตภาวนาตลอดเวลา คำว่าจิตตภาวนาท่านสอนว่า ให้ดูหัวใจตัวเอง”

    [คัดจากกัณฑ์เทศน์ของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ณ วัดป่าบ้านตาด วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๔ (เปิดอ่านจาก www.Luangta.com)]
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา หลักการบำเพ็ญธุดงควัตร.. (ต่อครับ)
    http://www.dhammathai.org/articles/view.php?No=206

    2). (เป็นธรรมบรรยายของท่านพระอาจารย์มหาบัว) “การปฏิบัติต่อธุดงควัตรที่ท่านนับถือเป็นแบบฉบับอย่างฝังใจประจำองค์ท่านและสั่งสอนพระเณรให้ดำเนินตามมีดังนี้

    การบิณฑบาตเป็นกิจวัตรประจำวันมิได้ขาด ถ้ายังฉันอยู่ เว้นจะไม่ฉันในวันใดก็ไม่จำต้องไปในวันนั้น กิจวัตรในการบิณฑบาตท่านสอนให้ตั้งอยู่ในท่าสำรวมกายวาจาใจ มีสติประจำตนกับความเพียรที่เป็นไปอยู่เวลานั้น ไม่ปล่อยใจให้พลั้งเผลอไปตามสิ่งยั่วยวนต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาสัมผัสกับอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งไปและกลับ ท่านสอนให้มีสติรักษาใจตลอดความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ให้เผลอตัวและถือเป็นความเพียรประจำกิจวัตรข้อนี้ทุก ๆ วาระที่เริ่มเตรียมตัวออกบิณฑบาต หนึ่ง

    อาหารที่ได้มาในบาตรมากน้อยถือว่าเป็นอาหารที่พอดีและเหมาะสมกับผู้ตั้งใจจะสั่งสมธรรมคือความมักน้อยสันโดษให้สมบูรณ์ภายในใจ ไม่จำต้องแสวงหาหรือรับอาหารเหลือเฟือที่ตามส่งมาทีหลังอีก อันเป็นการส่งเสริมกิเลสความมักมาก ซึ่งมีประจำตนอยู่แล้ว ให้มีกำลังผยองพองตัวยิ่ง ๆ ขึ้น จนตามแก้ไม่ทัน อาหารที่ได้มาในบาตรอย่างใดก็ฉันอย่างนั้น ไม่แสดงความกระวนกระวายส่ายแส่อันเป็นลักษณะเปรตผีตัวมีวิบากกรรมทรมาน มีอาหารไม่พอกับความต้องการ ต้องวิ่งวุ่นขุ่นเคืองเดือดร้อน เพราะท้องเพราะปาก ด้วยความหวังอาหารมากยิ่งกว่าธรรม ธุดงค์ข้อห้ามอาหารที่ตามส่งมาทีหลังนี้เป็นธรรมหรือเครื่องมือหักล้างกิเลสความมักมากในอาหารได้เป็นอย่างดี และตัดความหวังความกังวลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอาหารได้อย่างดีเยี่ยม หนึ่ง

    การฉันมื้อเดียวหรือหนเดียวในวันหนึ่ง ๆ เป็นความพอดีกับพระธุดงคกรรมฐาน ผู้มีภาระและความกังวลน้อย ไม่พร่ำเพรื่อกับอาหารหวานคาวในเวลาต่าง ๆ อันเป็นการกังวลกับปากท้องมากกว่าธรรมจนเกินไป ไม่สมศักดิ์ศรีของผู้แสวงธรรมเพื่อความพ้นทุกข์อย่างเต็มใจ แม้เช่นนั้น ในบางคราวยังควรทำการผ่อนอาหาร ฉันแต่น้อยในอาหารมื้อเดียวนั้น เพื่อจิตใจกับความเพียรจะได้ดำเนินโดยสะดวก ไม่อืดอาดเพราะมากจนเกินไป และยังเป็นผลกำไรทางใจอีกต่อหนึ่งจากการผ่อนนั้นด้วยสำหรับรายที่เหมาะกับจริตของตน ธุดงควัตรข้อนี้เป็นธรรมเครื่องสังหารลบล้างความเห็นแก่ปากแก่ท้องของพระธุดงค์ที่มีใจมักจะละโมบโลเลในอาหารได้ดี และเป็นธรรมข้อบังคับที่เหมาะสมมาก ทางโลกก็นิยมเช่นเดียวกับทางธรรม เช่น เขามีเครื่องป้องกันและปราบปรามสิ่งที่เป็นข้าศึก ไม่ว่าจะเป็นข้าศึกต่อทรัพย์สินหรือต่อชีวิตจิตใจ เช่น สุนัขดุ งูดุ ช้างดุ เสือดุ คนดุ ไข้ดุ หรือไข้ทรยศ เขามีเครื่องมือหรือยาสำหรับป้องกันหรือปราบปรามกันทั่วโลก พระธุดงคกรรมฐานผู้มีใจดุ ใจหนักในอาหารหรือในทางไม่ดีใด ๆ ก็ตามที่ไม่น่าดูสำหรับตัวเองและผู้อื่น จึงควรมีธรรมเป็นเครื่องมือไว้สำหรับปราบปรามบ้าง ถึงจะจัดว่าเป็นผู้มีขอบเขตและงามตาเย็นใจสำหรับตัวและผู้เกี่ยวข้องทั่ว ๆ ไป ธุดงค์ข้อนี้จึงเป็นธรรมเครื่องปราบปรามได้ดี หนึ่ง

    การฉันในบาตรไม่เกี่ยวกับภาชนะอื่นใดจัดเป็นความสะดวกอย่างยิ่งสำหรับพระธุดงกรรมฐาน ผู้ประสงค์ความมักน้อยสันโดษและมีนิสัยไม่ค่อยอยู่กับที่เป็นประจำ การไปเที่ยวจาริกเพื่อสมณธรรมในทิศทางใดก็ไม่ต้องหอบหิ้วพะรุงพะรังอันเป็นความไม่สะดวก และเหมาะสมกับพระผู้ต้องการถ่ายเทสิ่งรกรุงรังภายในใจทุกประเภท เครื่องบริขารใช้สอยแต่ละอย่างนั้นทำความกังวลแก่การบำเพ็ญได้อย่งพอดู ฉะนั้น การฉันเฉพาะในบาตรจึงเป็นกรณีที่ควรสนใจเป็นพิเศษสำหรับพระธุดงค์ คุณสมบัติที่จะเกิดจากการฉันในบาตรยังมีมากมาย คือ อาหารชนิดต่าง ๆ ที่รวมลงในบาตรย่อมเป็นสิ่งที่สะดุดตาสะดุดใจและเตือนสติปัญญามิให้นิ่งนอนใจต่อการพิจารณา เพื่อถือเอาความจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่กับอาหารที่รวมกันอยู่ได้อย่างดีเยี่ยม ท่านเล่าว่า ท่านเคยได้รับอุบายต่างๆ จากการพิจารณาอาหารในขณะที่ฉันมาเป็นประจำ แม้ข้ออื่น ๆ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน ท่านจึงได้ถือเป็นข้อหนักแน่นในธุดงควัตรตลอดมามิได้ลดละ การพิจารณาอาหารในบาตรเป็นอุบายตัดความทะเยอทะยานในรสชาติของอาหารได้ดี การพิจารณาก็เป็นเครื่องถอดถอนกิเลส เวลาฉันใจก็ไม่ทะเยอทะยานไปกับรสอาหาร มีความรู้สึกอยู่กับความจริงของอาหารโดยเฉพาะ อาหารก็เพียงเป็นเครื่องยังชีวิตให้เป็นไปในวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น ไม่กลับเป็นเครื่องก่อกวนและส่งเสริมให้ใจกำเริบ เพราะอาหารดีมีรสอร่อยบ้าง เพราะอาหารไม่ดีมีรสไม่ต้องใจบ้าง การพิจารณาโดยแยบคายทุก ๆ ครั้งก่อนลงมือฉัน ย่อมทำให้ใจคงตัวอยู่ได้โดยสม่ำเสมอ ไม่ตื่นเต้น ไม่อับเฉา เพราะอาหารและรสอาหารชนิดต่าง ๆ วางตัวคือใจเป็นกลางอย่างมีความสุข ฉะนั้น การฉันในบาตรจึงเป็นข้อวัตรเครื่องกำจัดกิเลสตัวหลงรสอาหารได้เป็นอย่างดีด หนึ่ง

    ท่านถือผ้าบังสุกุลเป็นกิจวัตร พยายามอดกลั้นไม่ทำตามความอยากอันเป็นความสะดวกใจ ซึ่งมีนิสัยชอบสวยงามในความเป็นอยู่ใช้สอยโดยประการทั้งปวงมาดั้งเดิม คือ เที่ยวเสาะแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งไว้ในที่ต่าง ๆ ที่ป่าช้า เป็นต้น เก็บเล็กผสมน้อยมาเย็บปะติดปะต่อเป็นเครื่องนุ่งห่มใช้สอย โดยเป็นสบงบ้าง เป็นจีวรบ้าง เป็นสังฆาฏิบ้าง เป็นผ้าอาบน้ำฝนบ้าง เป็นบริขารอื่น ๆ บ้าง เรื่อยมา บางครั้งท่านชักบังสุกุลผ้าที่เขาพันศพคนตายในป่าช้าก็มีที่เจ้าของศพเขายินดี เวลาไปบิณฑบาตมองเห็นผ้าขาดตกทิ้งอยู่ตามถนนหนทาง ท่านก็เก็บเอาเป็นผ้าบังสุกุล ไม่ว่าจะเป็นผ้าชนิดใดและได้มาจากที่ไหน เมื่อมาถึงที่พักแล้วท่านนำมาทำการซักฟอกให้สะอาด แล้วเอามาเย็บปะสบงจีวรที่ขาดบ้าง เย็บติดต่อกันเป็นผ้าอาบน้ำฝนบ้าง อย่างนั้นเป็นประจำตลอดมา ต่อมาศรัทธาญาติโยมทราบเข้าต่างก็นำผ้าไปบังสุกุลถวายท่านที่ป่าช้าบ้าง ตามสายทางที่ท่านไปบิณฑบาตบ้าง ตามบริเวณที่พักท่านบ้าง ที่กุฏิหรือแคร่ที่ท่านพักบ้าง การบังสุกุลที่ท่านเคยทำมาดั้งเดิมก็ค่อยเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์ที่พาให้เป็นไป ท่านเลยต้องชักบังสุกุลผ้าที่เขามาทอดไว้ตามที่ต่าง ๆ ในข้อนี้ปรากฏว่าท่านพยายามรักษามาตลอดอวสานแห่งชีวิต ท่านว่าพระเราต้องทำตัวเหมือนผ้าขี้ริ้วที่ปราศจากราคาค่างวดใด ๆ แล้วจึงเป็นความสบาย การกินอยู่หลับนอนและใช้สอยอะไรก็สบาย การเกี่ยวข้องกับผู้คนก็สบาย ไม่มีทิฏฐิมานะความถือตัวว่าเราเป็นพระเป็นเณรผู้สูงศักดิ์ด้วยศีลธรรม เพราะศีลธรรมอันแท้จริงมิได้อยู่กับความสำคัญเช่นนั้น แต่อยู่กับความไม่ถือตัวยั่วกิเลส อยู่กับความตรงไปตรงมาตามผู้มีสัตย์มีศีลมีธรรมความสม่ำเสมอเป็นเครื่องครองใจ นั่นแลคือศีลธรรมอันแท้จริง ไม่มีมานะเข้ามาแอบแฝงทำลายได้ อยู่ที่ใดก็เย็นกายเย็นใจ ไม่มีภัยทั้งแก่ตัวและผู้อื่น การปฏิบัติธุดงควัตรข้อนี้เป็นเครื่องทำลายกิเลสมานะความสำคัญตนในแง่ต่าง ๆ ได้ดี ผู้ปฏิบัติจึงควรเข้าใจระหว่างตนกับศีลธรรมด้วยดี อย่าปล่อยให้ตัวมานะเข้าไปยื้อแย่งครอบครองศีลธรรมภายในใจได้ จะกลายเป็นผู้มีเขี้ยวมีเขาแฝงขึ้นมาในศีลธรรมอันเป็นธรรมชาติเยือกเย็นมาดั้งเดิม การฝึกหัดทรมานตนให้เป็นเหมือนผ้าเช็ดเท้าจนเคยชิน โดยไม่ยอมให้ตัวทิฏฐิมานะโผล่ขึ้นมาว่าตัวมีราคาค่างวดนี้ เป็นทางก้าวหน้าของธรรมภายในใจโดยสม่ำเสมอ จนกลายเป็นใจธรรมชาติ เป็นธรรมธรรมชาติ ไม่หวั่นไหวเหมือนแผ่นดิน ใครจะทำอะไร ๆ ก็ไม่สะเทือน จิตที่ปราศจากทิฏฐิมานะทุกประเภทโดยประการทั้งปวงแล้ว ย่อมเป็นจิตที่คงที่ต่อเหตุการณ์ดีชั่วทั้งมวล การปฏิบัติต่อบังสุกุลจีวรท่านถือว่า เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยตัดทอนลบล้างตัวมีราคาที่ฝังอยู่ในใจอย่างลึกลับให้สูญซากลงได้อย่างมั่นใจข้อหนึ่ง

    การอยู่ป่าเป็นวัตรตามธุดงค์ระบุไว้ ท่านก็เริ่มเห็นคุณแต่เริ่มฝึกหัดอยู่ป่าเป็นต้นมา ทำให้เกิดความวิเวกวังเวงอยู่คนเดียว ตาเหลือบมองไปในทิศทางใดก็ล้วนเป็นทัศนียภาพเครื่องปลุกประสาทให้ตื่นตนอยู่เสมอ ไม่ประมาทนอนใจ นั่งอยู่ก็มีสติ ยืนอยู่ก็มีสติ เดินอยู่ก็มีสติ นอนอยู่ก็มีสติ กำหนดธรรมทั้งหลายที่มีอยู่รอบตัว เว้นแต่หลับเท่านั้นในอิริยาบถทั้งสี่เต็มไปด้วยความปลอดโปร่งโล่งใจ ไม่มีพันธะใด ๆ มาผูกพัน มองเห็นแต่ความมุ่งหวังพ้นทุกข์ที่เตรียมพร้อมอยู่ภายใน ไม่มีวันจืดจางและอิ่มพอ ยิ่งพักอยู่ในป่าเปลี่ยวอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ทุกชนิด ซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านด้วยแล้ว ใจปรากฏว่าเตรียมพร้อมอยู่ทุกขณะ ประหนึ่งจะทะยานเหาะขึ้นจากหล่มลึกคือกิเลสในเดี๋ยวนั้นราวกับนกจะเหาะบินขึ้นบนอากาศฉะนั้น ความจริงกิเลสก็คงเป็นกิเลสและฝังอยู่ในใจตามความมีอยู่ของมันนั่นแล แต่ใจมันมีความรู้สึกไปอีกแง่หนึ่ง เมื่อไปอยู่ในที่เช่นนั้น ความรู้สึกในบางครั้งเป็นเหมือนกิเลสตายลงไปวันละร้อยละพัน ยังเหลืออยู่บ้างประปรายราวตัวสองตัวเท่านั้น เพราะอำนาจของสถานที่ที่พักอยู่ช่วยส่งเสริม ทั้งความรู้สึกโดยปกติและเวลาบำเพ็ญเพียรกลายเป็นเครื่องพยุงใจทุกระยะที่พักอยู่ ความคิดเกี่ยวกับสัตว์ต่าง ๆ ทั้งสัตว์ร้ายและสัตว์ดีที่มีอยู่ทั่วไปในบริเวณนั้น ก็คิดไปในทางสงสารมากกว่าจะคิดในทางเป็นภัย โดยคิดว่าเขากับเราก็มีความเกิดแก่เจ็บตายเท่ากันในชีวิตที่ทรงตัวอยู่เวลานี้ แต่เรายังดีกว่าเขาตรงที่รู้จักบุญบาปดีชั่วอยู่บ้าง ถ้าไม่มีสิ่งนี้แฝงอยู่ภายในใจบ้างก็คงมีน้ำหนักเท่ากันกับเขา เพราะคำว่า “สัตว์” เป็นคำที่มนุษย์ไปตั้งชื่อให้เขาโดยที่เขามิได้รับทราบจากเราเลย ทั้ง ๆ ที่เราก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง คือสัตว์มนุษย์ที่ตั้งชื่อกันเอง ส่วนเขาไม่ทราบว่าได้ตั้งชื่อให้พวกมนุษย์เราอย่างไรหรือไม่ หรือเขาขโมยตั้งชื่อว่า “ยักษ์” ก็ไม่มีใครทราบได้ เพราะสัตว์ชนิดนี้ชอบรังแกและฆ่าเขา แล้วนำเนื้อมาปรุงเป็นอาหารก็มี ฆ่าทิ้งเปล่า ๆ ก็มี จึงน่าเห็นใจสัตว์ที่พวกมนุษย์เราชอบเอารัดเอาเปรียบเขาเกินไปประจำนิสัย และไม่ค่อยยอมให้อภัยแก่สัตว์ตัวใดง่าย ๆ แม้แต่พวกเดียวกันยังรังเกียจและเกลียดชังกัน เบียดเบียนกัน ฆ่ากันไม่มีหยุดหย่อนและผ่อนเบาบ้างเลย ในวงสัตว์ก็ร้อนเพราะมนุษย์เบียดเบียนและฆ่าเขา ในวงมนุษย์เองก็ร้อนเพราะมนุษย์เบียดเบียนและฆ่ากันเอง ฉะนั้น สัตว์จึงระเวียงระวังมนุษย์ประจำ+++ ท่านว่าการอยู่ในป่ามีทางคิดทางไตร่ตรองได้กว้างขวาง ไม่มีทางสิ้นสุดทั้งเรื่องนอกเรื่องใน ซึ่งมีอยู่รอบตัวตลอดเวลา ใจที่มีความใคร่ต่อธรรมแดนพ้นทุกข์ จึงรีบเร่งตักตวงความเพียรไม่มีเวลาลดละ บางครั้งหมูป่าเดินเข้ามาหาในบริเวณที่นั้นและมองเห็นท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ แทนที่มันจะกระโดดโลดเต้นวิ่งหนีเอาตัวรอด แต่เปล่า มันมองเห็นแล้วก็เดินหากินไปตามภาษาของมันอย่างธรรมดา ท่านว่ามันจะเห็นท่านเป็นยักษ์ไปกับมนุษย์ผู้ร้ายกาจทั้งหลายด้วย แต่มันไม่คิดเหมาไปหมด มันจึงไม่รีบวิ่งหนี และเที่ยวขุดกินอาหารอย่างสบายเหมือนไม่มีอะไร ในตอนนี้ผู้เขียนขอแทรกบ้างเล็กน้อยเพื่อเรื่องกระจ่างขึ้นบ้าง อย่าว่าแต่หมูมันกลัวท่านพระอาจารย์มั่นที่อยู่องค์เดียวในป่าเลย แม้แต่วัดป่าบ้านตาด เมื่อเริ่มสร้างวัดใหม่ ๆ และมีพระเณรอยู่ด้วยกันหลายรูป หมูป่าเป็นฝูง ๆ ยังพากันมาอาศัยนอนและเที่ยวหากินอยู่ตามบริเวณหน้ากุฏีพระเณรในเวลากลางคืนห่างจากที่ท่านเดินจงกรมราว ๒-๓ วาเท่านั้น ได้ยินเสียงมันขุดดินหาอาหารด้วยจมูกดังตุ๊บตั๊บ ๆ อยู่บริเวณนั้น ไม่เห็นมันกลัวท่านเลย เวลาท่านเรียกกันมาดูในบริเวณนั้นแทบทุกคืน ทั้งหมูและพระเณรเคยชินกันไปเอง แต่ทุกวันนี้ยังมีเหลือเล็กน้อยและนาน ๆ พากันมาเที่ยวหากินทีหนึ่ง เพราะยักษ์ที่สัตว์ตั้งชื่อให้ดังท่านพระอาจารย์มั่นว่าไว้ เอาไปรับประทานเกือบจะไม่มีสัตว์เหลือค้างแผ่นดินแถบนั้นอยู่แล้วเวลานี้ ต่อไปไม่กี่ปีคงจะเรียบไปเอง ที่ท่านเล่าคงเป็นความจริงในทำนองเดียวกัน เพราะสัตว์แทบทุกชนิดชอบมาอาศัยพระ พระอยู่ที่ไหน สัตว์ชอบมาอยู่ที่นั้นมาก แม้วัดที่อยู่ในเมืองสัตว์ยังต้องมาอาศัย เช่น สุนัข เป็นต้น บางวัดมีเป็นร้อย เพราะท่านไม่เบียดเบียนมัน เพียงเท่านี้ก็พอทราบได้ว่าธรรมเป็นของเย็น สัตว์โลกจึงไม่มีใครค่อยรังเกียจ เว้นกรณีที่สุดวิสัยจะกล่าวเสีย เท่าที่ท่านปฏิบัติมาก่อน ท่านว่าป่าเป็นสถานที่ช่วยพยุงใจได้ดีมาก ฉะนั้น ป่าจึงเป็นจุดที่เด่นของพระผู้มีความใคร่ตอทางพ้นทุกข์ จะถือเป็นสมรภูมิสำหรับบำเพ็ญธรรมทุกชั้น โดยไม่ระแวงสงสัยว่าป่าจะกลับเป็นข้าศึกต่อการบำเพ็ญธรรม ตรงกับอนุศาสน์ที่พระอุปัชฌาย์อบรมสั่งสอนภิกษุผู้อุปสมบทใหม่ ให้พากันเสาะแสวงหาอยู่ป่าตามอัธยาศัย ท่านพระอาจารย์จึงถือธุดงค์ข้อนี้จนวาระสุดท้ายแห่งขันธ์ นอกจากสมัยที่จำต้องอนุโลมผ่อนผันไปตามเหตุการณ์เท่านั้น เพราะทำให้ระลึกว่าตนอยู่ในป่าซึ่งเป็นที่เปลี่ยวกายเปลี่ยวใจตลอดเวลา จะนอนใจมิได้ คุณธรรมจึงมีทางเกิดไม่เลือกกาล หนึ่ง

    ธุดงควัตรข้อรุกขมูลคือร่มไม้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ท่านอาจารย์มั่นเล่าว่าขณะที่จิตของท่านจะผ่านโลกามิสไปได้โดยสิ้นเชิง คืนวันนั้นท่านก็อาศัยอยู่รุกขมูลคือร่มไม้ ซึ่งตั้งอยู่โดดเดี่ยวต้นเดียว ตอนสำคัญนี้จะรอลงข้างหน้าตามลำดับของการเที่ยวจาริกและการบำเพ็ญของท่าน จึงขออภัยท่านผู้อ่านทั้งหลายโปรดรออ่านข้างหน้า วาระนี้จำจะเขียนไปตามลำดับความจำเป็นก่อน เพื่อเนื้อเรื่องจะไม่ขาดความตามลำดับ การอยู่ใต้ร่มไม้ซึ่งปราศจากที่มุงบังและเครื่องป้องกันตัวย่อมทำให้มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ จิตที่ตั้งความรู้สึกไว้กับตัวย่อมเป็นทางถอดถอนกิเลสไปทุกโอกาส เพราะกาย เวทนา จิต ธรรม หรือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่เรียกว่า “สติปัฏฐานและสัจธรรม” อันเป็นจุดที่ระลึกรู้ของจิตแต่ละจุดนั้น ย่อมเป็นเกราะเครื่องป้องกันตัวเพื่อทำลายกิเลสแต่ละประเภทได้อย่างมั่นเหมาะ ซึ่งไม่มีที่อื่นใดจะยิ่งไปกว่า ฉะนั้น จิตที่ระลึกรู้อยู่กับสติปัฏฐานหรืออริยสัจ เพราะความเปลี่ยวและความกลัวเป็นเหตุ จึงเป็นจิตที่มีหลักยึดเพื่อการรบชิงชัยเอาตัวรอดโดยสุคโต ตามทางอริยธรรมไม่มีผิดพลาด ผู้ประสงค์อยากทราบเรื่องของตัวอย่างละเอียดทั่วถึงโดยทางที่ถูกและปลอดภัย จึงควรแสวงหาธรรมและสถานที่เหมาะสมเป็นเครื่องพยุงทางความเพียร จะช่วยให้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้นกว่าธรรมดาที่ควรจะเป็นอยู่มาก ดังนั้น ธุดงควัตรข้ออยู่รุกขมูลจึงเป็นธรรมเครื่องทำลายกิเลสได้เป็นอย่างดีเสมอมา ที่ควรสนใจเป็นพิเศษข้อหนึ่ง

    ธุดงควัตรที่เกี่ยวกับการเยี่ยมป่าช้าเป็นธุดงค์เครื่องปลุกเตือนพระและหมู่ชนมิให้ประมาทในเวลามีชีวิตอยู่ โดยเข้าใจว่าตัวจะไม่ตาย ความจริงก็คือคนที่เริ่มตายเล็กตายน้อยตามไปอยู่ทุกเวลานั่นเอง เพราะคนที่ตายจนถึงกับย้ายบ้านใหม่ไปปลูกสร้างกันอยู่ที่ป่าช้าจนดาษดื่นแทบจะหาที่เผาและที่ฝังกันไม่ได้ ก็ล้วนแต่คนที่เคยตายเล็กตายน้อยมาแล้ว เช่น พวกเราผู้ยังมีชีวิตอยู่นี่เอง จะเป็นคนแปลกหน้ามาจากที่ไหน พอจะเห็นว่าเราเป็นคนที่แปลกกว่าเขา แล้วประมาทว่าตนจะไม่ตาย ที่ท่านสอนให้เยี่ยมญาติพี่น้องผู้เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน ก็เพื่อเตือนไม่ให้หลงลืมญาติพี่น้องอันดั้งเดิมในป่าช้านั่นเอง เพื่อจะได้ท่องบ่นไว้ในใจว่า เรามีความแก่ เจ็บ ตายอยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน ไม่มีใครจะกล้าอุตริเย่อหยิ่งตัวว่า จะไม่เกิด แก่ เจ็บ ตายได้ เมื่อสายทางแห่งวัฏฏะที่ตนยังท่องเที่ยวเรียนสูตรอยู่ยังไม่จบ พระซึ่งเป็นเพศที่เตีรยมพร้อมแล้วเพื่อความหลุดพ้นจึงควรศึกษามูลเหตุแห่งวัฏฏทุกข์ที่มีอยู่กับตน คือความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งภายนอกคือการเยี่ยมป่าช้าอันเป็นที่เผาศพ ทั้งภายในคือตัวเองอันเป็นป่าช้าร้อยแปดพันเก้าแห่งศพที่นำมาฝังหรือบรรจุอยู่ในตัวตลอดเวลา ทั้งเก่าและใหม่จนนับไม่ครบและแทบเรียนไม่จบ ให้จบสิ้นลงด้วยการพิจารณาธรรมสังเวชโดยทางปัจจเวกขณะ คือ องค์สติปัญญาเครื่องทดสอบ แยกแยะหามูลความจริง ไม่นิ่งนอนใจทั้งนักบวชและฆราวาสที่ชอบเข้าเยี่ยมทั้งป่าช้านอกและป่าช้าในตัวเอง โดยการพิจารณาความตายเป็นต้น เป็นอารมณ์ย่อมมีทางถอดถอนความเผลอเย่อหยิ่งในวัยในชีวิตและในวิทยฐานะต่าง ๆ ออกได้อย่างน่าชม ไม่ชอบผยองพองตัวในแง่ต่าง ๆ ตามนิสัยมนุษย์ซึ่งมักมีความพิสดารประจำใจอยู่เป็นนิตย์ ทั้งจะเห็นโทษแห่งความบกพร่องของตัวและพยายามแก้ไขไปเป็นลำดับ มากกว่าจะไปเห็นโทษคนอื่นแล้วนำมานินทาเขา ซึ่งเป็นการสั่งสมความไม่ดีใส่ตนประจำนิสัยมนุษย์ที่ชอบเป็นกันอยู่ทั่วไป เหมือนโรคระบาดเรื้อรังชนิดแก้ไม่หายหรือไม่สนใจจะแก้ นอกจากจะเพิ่มเชื้อให้มากขึ้นเท่านั้น ป่าช้าเป็นสถานที่อำนวยความรู้ความฉลาดให้แก่ผู้สนใจพิจารณาอย่างกว้างขวาง เพราะคำว่าป่าช้าเป็นจุดใหญ่ที่สุดของโลก ทุกคนทุกเพศทุกวัยและทุกชาติชั้นวรรณะจำต้องประสบด้วยกันจะกระโดดข้ามไปไม่ได้ เพราะไม่ใช่คลองเล็ก ๆ พอจะก้าวข้ามไปอย่างง่ายดายโดยมิได้พิจารณาจนรู้รอบขอบชิดก่อน ดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ท่านข้ามไป แม้เช่นนั้นก็ปรากฏว่า ท่านต้องเรียนวิชาจากสถาบันใหญ่ คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนเชี่ยวชาญทุก ๆ แขนงก่อน แล้วจึงโดดข้ามไปอย่างสบายหายห่วง ไม่ต้องติดบ่วงแห่งมารอยู่เหมือนพวกที่ลืมตนลืมตาย ไม่สนใจพิจารณาเรื่องของตัวคือมรณธรรมอันขวางหน้าอยู่ ซึ่งจะต้องโดนในไม่ช้านี้ การเยี่ยมป่าช้าเพื่อพิจารณาความตายจึงเป็นทางผ่อนคลายหายกลัวทั้งเรื่องของตัวและเรื่องของคนอื่นได้อย่างไม่มีประมาณ จนเกิดความอาจหาญต่อความตาย ทั้ง ๆ ที่โลกกลัวกันทั่วดินแดน ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็ได้เป็นไปในวงของนักปฏิบัติธรรมมาแล้ว มีพระพุทธเจ้าและพระสาวกเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมเสร็จแล้วจึงประกาศพระโอวาทเกี่ยวกับการพิจารณาความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไว้ทุกแง่ทุกมุม เพื่อหมู่ชนผู้มีความรับผิดชอบในตนและผู้เกี่ยวข้องได้นำไปพิจารณาหาทางแก้ไข บรรเทาความมัวเมาเขลาปัญญาของตนขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นเวลาที่พอดิบพอดี ยังไม่สายเกินไป เมื่อสิ้นลมหายใจจนไปถึงสถาบันใหญ่แล้ว ต้องนับว่าหมดหนทางแก้ไข มีอยู่เพียงอย่างเดียวคือ ถ้าไม่เผาก็ต้องฝังเท่านั้น จะพาไปรักษาศีลภาวนาทำบุญสุนทร์ทานอย่างแต่ก่อนนั้นเป็นไปไม่ได้แล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเห็นคุณของการเยี่ยมป่าช้า ว่าเป็นสถานที่ที่ให้สติปัญญารอบรู้กับเรื่องของตนตลอดมา ท่านจึงสนใจเยี่ยมป่าช้านอกและป่าช้าในอยู่เสมอ แม้พระบางองค์ที่เป็นลูกศิษย์ท่านก็ยังพยายามตะเกียกตะกายปฏิบัติตามท่าน ทั้ง ๆ ที่ตนเป็นพระที่กลัวผีมาก ซึ่งเราไม่ค่อยได้ยินกันในคำว่าพระกลัวผีและธรรมกลัวโลก แต่พระองค์นั้นได้เป็นพระที่กลัวผีเสียแล้ว

    ท่านเล่าให้ฟังว่า พระองค์หนึ่งเที่ยวธุดงค์ไปพักอยู่ในป่าใกล้กับป่าช้า แต่เจ้าตัวไม่รู้ว่าถูกโยมพาไปพักริมป่าช้า เพราะไปถึงหมู่บ้านนั้นตอนเย็น ๆ และถามถึงป่าที่ควรพักบำเพ็ญเพียร โยมก็ชี้บอกตรงป่านั้นว่าเป็นที่เหมาะ แต่มิได้บอกว่าเป็นป่าช้า แล้วพาท่านไปพักที่นั้น พอพักได้เพียงคืนเดียว วันต่อมาก็เห็นเขาหามผีตายผ่านมาที่นั้นเลยไปเผาที่ป่าช้า ซึ่งอยู่ห่างจากที่พักท่านประมาณ ๑ เส้น ท่านมองตามไปก็เห็นที่เขาเผาอยู่อย่างชัดเจน องค์ท่านเองพอมองเห็นหีบศพที่เขาหามผ่านมาเท่านั้นก็ชักเริ่มกลัว ใจไม่ดี และยังนึกว่าเขาจะหามผ่านไปเผาที่อื่น แม้เช่นนั้นก็นึกเป็นทุกข์ไว้เผื่อตอนกลางคืนอยู่อีก กลัวว่าภาพนั้นจะมาหลอกหลอนทำให้นอนไม่ได้ตอนกลางคืน ความจริงที่ท่านพักอยู่กลับเป็นริมป่าช้า และยังได้เห็นเขาเผาผีอยู่ต่อหน้าซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลเลย ท่ายิ่งคิดไม่สบายใจและเป็นทุกข์ใหญ่ คือทั้งจะคิดเป็นทุกข์ในขณะนั้น และคิดเป็นทุกข์เผื่อตอนกลางคืนอีก ใจเริ่มกระวนกระวายเอาการอยู่ นับแต่ขณะที่ได้เห็นศพทีแรก เมื่อตกกลางคืนยิ่งกลัวมาก และหายใจแทบไม่ออก ปรากฏว่าตีบตันไปหมด น่าสงสารที่พระกลัวผีถึงขนาดนี้ก็มี จึงได้เขียนลงเพื่อท่านผู้อ่านที่เป็นนักกลัวผี จะได้พิจารณาดูความบึกบึนที่ท่านพยายามต่อสู้กับผีในคราวนั้น จนเป็นประวัติการณ์อันเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียมีอยู่ในเนื้อเรื่องอันเดียวกันนี้ พอเขากลับกันหมดแล้ว ท่านเริ่มเกิดเรื่องยุ่งกับผีแต่ขณะนั้นมาจนถึงตอนเย็นและกลางคืน จิตใจไม่เป็นอันเจริญสมาธิภาวนาเอาเลย หลับตาลงไปทีไร ปรากฏว่ามีแต่ผีเข้ามาเยี่ยมถามข่าวถามคราวความทุกข์สุกดิบต่าง ๆ อันสืบสาวยาวเหยียดไม่มีประมาณ และปรากฏว่าพากันมาเป็นพวก ๆ ก็ยิ่งทำให้ท่านกลัวมาก แทบไม่มีสติยับยั้งตั้งตัวได้เลย เรื่องเริ่มแต่ขณะมองเห็นศพที่เขาหามผ่านหน้าท่านไปจนถึงกลางคืน ไม่มีเวลาเบาบางลงบ้างพอให้หายใจได้ นับว่าท่านเป็นทุกข์ถึงขนาดที่จะทนอดกลั้นได้ นับแต่วันบวชมาก็เพิ่งมีครั้งเดียวเท่านั้นที่ต่อสู้กับผีในมโนภาพอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมง ท่านจึงพอมีสติระลึกได้บ้างว่า ที่เราคิดกลัวผีก็ดี ที่เข้าใจว่าผีพากันมาเยี่ยมเราเป็นพวก ๆ ก็ดี อาจไม่เป็นความจริงก็เป็นได้ และอาจเป็นเรื่องราววาดมโนภาพศพขึ้นมาหลอกตนเองให้กลัวเปล่า ๆ มากกว่า อย่ากระนั้นเลย เพราะถึงอย่างไรเราก็เป็นพระธุดงคกรรมฐานทั้งองค์ ที่โลกให้นามว่าเป็นพระที่เก่งกาจอาจหาญเอาจริงเอาจัง และเป็นพระประเภทที่ไม่กลัวอะไร ๆ ไม่ว่าจะเป็นผีที่ตายแล้ว หรือเป็นผีเปรต ผีหลวง ผีทะเลอะไร ๆ มาหลอกก็ไม่กลัว แต่เราซึ่งเป็นพระธุดงค์ที่โลกเคยยกยอสรรเสริญอย่างยิ่งมาแล้ว ไม่กลัวอะไร แล้วทำไมจึงมาเป็นพระที่อาภัพอับเฉาวาสนา บวชมากลัวผี กลัวเปรต กลัวลม กลัวแล้ง อย่างไม่มีเหตุมีผลเอาได้ เป็นที่น่าอับอายขายหน้าหมู่คณะ ซึ่งเป็นพระธุดงคกรรมฐานด้วยกัน เสียเรี่ยวแรงและกำลังใจของโลกที่อุตส่าห์ยกยอให้ว่าเป็นพระดีพระไม่กลัวผีกลัวเปรต ครั้นแล้วก็เป็นพระอย่างนี้ไปได้ เมื่อท่านพรรณนาคุณของพระธุดงค์และตำหนิตัวเองว่าเป็นพระเหลวไหลไม่เป็นท่าแล้ว ก็บอกกับตัวเองว่า นับแต่ขณะนี้เป็นต้นไป ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน เรามีความกลัวในสถานที่ใด จะต้องไปในสถานที่นั้นให้จงได้ ก็บัดนี้ใจเรากำลังกลัวผีที่กำลังถูกเผา ซึ่งมองเห็นกองไฟอยู่ในป่าช้านั้น เราต้องไปที่นั้นให้ได้ในขณะนี้ ว่าแล้วก็เตรียมตัวครองผ้าออกจากที่พัก เดินตรงไปที่ศพซึ่งกำลังถูกเผาและมองเห็นอยู่อย่างชัดเจนทันที พอออกเดินไปได้ไม่กี่ก้าว ขาชักแข็ง ก้าวไม่ค่อยออกเสียแล้ว ใจทั้งเต้นทั้งสั่น ตัวร้อนเหมือนถูกแดดเผาเวลากลางวัน เหงื่อแตกโชกไปทั้งตัว เห็นท่าไม่ได้การจึงรีบเปลี่ยนวิธีใหม่ คือเดินแบบเท้าต่อเท้าติด ๆ กันไป ไม่ยอมให้หยุดอยู่กับที่ ตอนนี้ท่านต้องบังคับใจอย่างเต็มที่ ทั้งกลัวทั้งสั่นแทบไม่เป็นตัวของตัว เหมือนอะไร ๆ มันจะสุด ๆ สิ้น ๆ ไปเสียแล้วเวลานั้น แต่ท่านไม่ถอยความพยายามที่จะก้าวไปให้ถึงแบบเอาเป็นเอาตายเข้าว่ากัน สุดท้ายก็ไปจนถึง พอไปถึงศพแล้ว แทนที่จะสบายตามความรู้สึกในสิ่งทั่ว ๆ ไปว่า “สมประสงค์แล้ว” แต่เวลานั้นปรากฏว่าตัวเองจะเป็นลมและลืมหายใจไปจนแล้วจนรอด จึงข่มใจพยายามดูศพที่กำลังถูกเผาทั้ง ๆ ที่กำลังกลัว แทบจะเป็นบ้าเป็นหลังไปอยู่แล้ว พอมองเห็นกระโหลกศรีษะผีที่ถูกเผาจนไหม้และขาวหมดแล้ว ใจก็ยิ่งกำเริบกลัวใหญ่ แทบจะพาเหาะลอยไปในขณะนั้น จึงพยายามสะกดใจไว้ แล้วพานั่งสมาธิลงตรงหน้าศพห่างจากเปลวไฟเผาศพพอประมาณ โดยหันหน้ามาทางศพเพื่อทำศพให้เป็นเป้าหมายของการพิจารณา บังคับใจที่กำลังกลัว ๆ ให้บริกรรมว่า เราก็จะตายเช่นเดียวกับเขาคนนี้ ไม่ต้องกลัว เราก็จะตาย ไม่ต้องกลัว เราก็จะตาย กลัวไปทำไม ไม่ต้องกลัว ขณะที่นั่งบังคับใจให้บริกรรมภาวนาความตายอยู่ด้วยทั้งความกระวนกระวาย เพราะกลัวผีนั้น ได้ปรากฏเสียงแปลกประหลาดขึ้นข้างหลัง เสียงบาทย่างเท้าดังเข้ามาเป็นบทเป็นบาทเหมือนมีอะไรเดินมาหาท่าน ซึ่งกำลังนั่งสมาธิภาวนาอยู่ และเดิน ๆ หยุด ๆ เป็นลักษณะจด ๆ จ้อง ๆ คล้ายจะมาทำอะไรท่าน ซึ่งเป็นความรู้สึกที่คิดขึ้นในขณะนั้น ก็ยิ่งทำให้ใจกำเริบใหญ่ ถึงขนาดจะวิ่งหนีและร้องออกมาดัง ๆ ว่า ผีมาแล้ว ช่วยด้วย ถ้าเทียบทางวัตถุก็ยังอีกเส้นผมเดียวที่ท่านจะออกวิ่ง ท่านอดใจรอฟังไปอีกก็ได้ยินเสียงค่อย ๆ เดินมาข้าง ๆ ห่างท่านประมาณ ๓ วา แล้วก็ได้ยินเสียงเคี้ยวอะไรกร้อบแกร้บ ยิ่งทำให้ท่านคิดไปมากว่า มันมาเคี้ยวกินอะไรที่นี่ เสร็จแล้วก็จะมาเคี้ยวเอาศรีษะเราเข้าอีก ก็เป็นอันว่าเราต้องจบเรื่องกับผีตัวร้ายกาจไม่ไว้หน้าใครอยู่ที่นี้แน่ ๆ พอคิดขึ้นมาถึงตอนนี้ ท่านอดรนทนไม่ไหว จึงคิดจะลืมตาขึ้นดูมัน เผื่อเห็นท่าไม่ได้การจะได้เตรียมวิ่งหนีเพื่อเอาตัวรอด ดีกว่าจะมายอมจอดจมให้ผีตัวไม่มีความดีอะไรเลยกินเปล่า เมื่อชีวิตรอดไปได้เรายังมีหวังได้บำเพ็ญเพียรต่อไป ยังจะมีกำไรกว่าการเอาชีวิตของพระทั้งองค์มาให้ผีกินเปล่า พอปลงตกแล้วก็รีบลืมตาขึ้นมาดูผีตัวกำลังเคี้ยวอะไรกร้อบ ๆ อยู่ขณะนั้น พร้อมกับเตรียมตัวจะวิ่งเพื่อตัวรอดหวังเอาชีวิตไปจอดข้างหน้า พอลืมตาขึ้นมาดูจริง ๆ สิ่งที่เข้าใจว่าผีตัวร้ายกาจ เลยกลายเป็นสุนัขบ้านออกมาเที่ยวเก็บกินเศษอาหารที่เขานำมาเพื่อเซ่นผู้ตายตามประเพณี ซึ่งไม่สนใจกับใครและมาจากที่ไหน คงเที่ยวหากินไปตามภาษาสัตว์ซึ่งเป็นผู้อาภัพทางอาหารประจำชาติตามกรรมนิยม ส่วนพระธุดงคกรรมฐาน พอลืมตาขึ้นมาเห็นสุนัขอย่างเต็มตาแล้ว เลยทั้งหัวเราะตัวเอง และคิดพูดทางใจกับสุนัขตัวไม่รู้ภาษาและไม่สนใจกับใครนั้นว่า แหม! สุนัขตัวนี้มีอำนาจวาสนามากจริง ทำเอาเราแทบตัวปลิวไปได้ และเป็นประวัติการณ์อันสำคัญต่อไปไม่มีสิ้นสุด ทั้งเกิดความสลดสังเวชตนอย่างยิ่งที่ไม่เป็นท่าเอาเลย ทั้ง ๆ ที่ได้พูดกับตัวเองแล้วว่า จะเป็นนักสู้แบบเอาชีวิตเข้าประกัน แต่พอเข้ามาเยี่ยมศพในป่าช้า และได้ยินเสียงสุนัขมาเที่ยวหากินเท่านี้ก็แทบตั้งตัวไม่ติด และจะเป็นกรรมฐานบ้าวิงเตลิดเปิดเปิงไปจนได้ ยังดีที่มีพระธรรมท่านเมตตาไว้ให้รออยู่ประมาณผมเส้นหนึ่ง พอรู้เหตุผลต้นปลายบ้าง ไม่เช่นนั้นคงเป็นบ้าไปเลย โอ้โฮ! เรานี้โง่และหยาบถึงขนาดนี้เชียวหรือ ควรจะครองผ้าเหลืองอันเป็นเครื่องหมายของศิษย์พระตถาคตผู้องอาจกล้าหาญไม่มีใครเสมอเหมือนอีกต่อไปละหรือ และควรจะไปบิณฑบาตจากชาวบ้านมากินให้สิ้นเปลืองของเขาเปล่า ๆ ด้วยความไม่เป็นท่าของเราอยู่อีกหรือ เราจะปฏิบัติต่อตัวเองที่แสนต่ำทรามอย่างไรบ้าง จึงจะสาสมกับความเลวทรามไม่เป็นท่าของตนซึ่งแสดงอยู่ขณะนี้ ลูกศิษย์พระตถาคตผู้โง่เขลาและต่ำทรามขนาดเรานี้จะยังมีอยู่ให้หนักพระศาสนาต่อไปอีกไหมหนอ ขนาดมีเราเพียงคนเดียวเท่านี้ก็นับว่าจะทำพระศาสนาให้ซวยพอแล้ว ถ้าขืนมีอีกเช่นเรานี้พระศาสนาคงแย่แน่ ๆ ความกลัวผีซึ่งเป็นเรื่องกดถ่วงให้เราเป็นคนต่ำทรามไม่เป็นท่านั้น เราจะปฏิบัติต่อกันอย่างไร รีบตัดสินใจเดี๋ยวนี้ ถ้ารอไปนานก็ขอให้เราตายเสียดีกว่า อย่ามายอมตัวให้ความกลัวผีเหยียบย่ำบนหัวใจอีกต่อไปเลย อายโลกเขาแทบไม่มีแผ่นดินจะให้คนหนักพระศาสนาอยู่ต่อไปอีกแล้ว พอพร่ำสอนตนจบลง ท่านทำความเข้าใจกับตัวเองว่า ถ้าไม่หายกลัวผีเมื่อไร จะไม่ยอมหนีจากที่นี้อย่างเด็ดขาด ตายก็ยอมตาย ไม่ควรอยู่ให้หนักโลกและพระศาสนาต่อไป คนอื่นยังจะเอาอย่างไม่ดีไปใช้อีกด้วย และจะกลายเป็นคนไม่เป็นท่าไปหลายคน และหนักพระศาสนายิ่งขึ้นไปอีกมากมาย นับแต่ขณะนั้นมา ท่านตั้งใจปฏิบัติต่อความกลัวอย่างกวดขัน โดยเข้าไปอยู่ป่าช้าทั้งกลางวันกลางคืน ยึดเอาคนที่ตายไปแล้วมาเทียบกันตน ซึ่งยังเป็นอยู่ ว่าเป็นส่วนผสมของธาตุเช่นเดียวกัน เวลาใจยังครองตัวอยู่ก็มีทางเป็นสัตว์ เป็นบุคคลสืบต่อไป เมื่อปราศจากใจครองเพียงอย่างเดียว ธาตุทั้งมวลที่ผสมกันอยู่ก็สลายลงไป ที่เรียกว่าคนตาย และยึดเอาความสำคัญที่ไปหมายสุนัขทั้งตัวที่มาเที่ยวหากินในป่าช้าว่าเป็นผีมาสอนตัวเองว่า เป็นความสำคัญที่เหลวไหลจนบอกใครไม่ได้ ไม่ควรเชื่อถือว่าเป็นสาระต่อไปกับคำว่าผีมาหลอก ความจริงแล้วคือใจหลอกตัวเองทั้งเพ การกลัวก็กลัวเพราะใจหลอกหลอนตัวเอง ทุกข์ก็เพราะความเชื่อความหลอกลวงของใจจนทำให้เป็นทุกข์แบบจะเป็นจะตายและแทบจะเสียคนไปทั้งคนในขณะนั้น ผีจริงไม่ปรากฏว่ามาหลอกหลอน เราเคยหลงเชื่อความคิดความมั่นปั้นเรื่องหลอกลวงต่าง ๆ ของจิตมานาน แต่ยังไม่ถึงขั้นจะพาตัวให้ล่มจมเหมือนครั้งนี้ ธรรมท่านสอนไว้ว่า สัญญาเป็นเจ้ามายานั้น แต่ก่อนเรายังไม่ทราบความหมายชัดเจน เพิ่งมาทราบเอาตอนจะตายทั้งเป็นและจะเหม็นทั้งที่ยังไม่เน่า ขณะกลัวผีที่ถูกเข้าสัญญาหลอกและต้มตุ๋นนี้เอง ต่อไปนี้สัญญาจะมาหลอกเราเหมือนแต่ก่อนไม่ได้แน่นอน เราจะต้องอยู่ป่าช้านี้จนกว่าเจ้าสัญญาที่เคยหลอกตายไปเสียก่อน จนไม่มีอะไรมาหลอกให้กลัวผีต่อไปถึงจะหนีไปที่อื่น เวลานี้เป็นเวลาที่เราจะทรมานสัญญาตัวปลิ้นปล้อนหลอกลวงเก่ง ๆ นี้ให้ตายไป จนได้เผาศพมันเหมือนเผาศพผีตายดังที่เราเห็นเมื่อวานเสียก่อน เมื่อชีวิตยังอยู่ อยากไปที่ไหนเราถึงจะไปทีหลัง ตอนนี้ถึงขั้นเด็ดขาดกับสัญญา ท่านก็เด็ดจริง ๆ และทรมานถึงขนาดที่สัญญาหมายขึ้นว่า ผีมีอยู่ ณ ที่ใด และเกิดขึ้นในขณะใดท่านต้องไปที่นั้น เพื่อดูและรู้เท่ามันทันที จนสัญญาเผยอตัวขึ้นไม่ได้ในคืนวันนั้น เพราะท่านไม่ยอมหลับนอนเอาเลย ตั้งหน้าต่อสู้กับผีภายนอก คือสุนัขซึ่งเกือบเสียตัวไปกับมัน พอได้เงื่อนและได้สติ ท่านก็ย้อนกลับมาต่อสู้กับผีภายในให้หมอบราบไปตาม ๆ กัน นับแต่ขณะที่รู้ตัวแล้ว ความกลัวผีไม่เคยเกิดขึ้นรบกวนท่านได้อีกตลอดทั้งคืน แม้คืนต่อมา ท่านก็ตั้งท่ารับความกลัวนั้นอย่างแข็งแกร่งต่อไป จนกลายเป็นพระองค์กล้าหาญต่อหลาย ๆ สิ่งขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ แต่เรื่องก็เป็นความจริงจากท่านมาแล้ว จนเป็นเรื่องฝังใจและตั้งตัวได้เพราะผีเป็นเหตุแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ความกลัวผีจึงเป็นธรรมเทศนากัณฑ์เอกโปรดท่านให้กลายเป็นพระอันแท้จริงขึ้นมาองค์หนึ่ง ถึงได้นำมาแทรกลงในประวัติของท่านพระอาจารย์มั่น เผื่อท่านผู้อ่านได้นำไปเป็นคติต่อไป คงไม่ไร้สาระไปเสียทีเดียว เช่นกับประวัติของท่านผู้เป็นอาจารย์ ซึ่งเป็นประวัติที่ให้คติแก่โลกอยู่เวลานี้ ฉะนั้น การเยี่ยมป่าช้าจึงเป็นความสำคัญสำหรับธุดงควัตรประจำสมัยตลอดมา หนึ่ง
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา หลักการบำเพ็ญธุดงควัตร.. (จบครับ)
    http://www.dhammathai.org/articles/view.php?No=206

    การถือไตรจีวรคือผ้า ๓ ผืนเป็นวัตร ท่านพระอาจารย์มั่นถือปฏิบัติมาแต่เริ่มอุปสมบทไม่ลดละ จนถึงวัยชราจึงลดหย่อนผ่อนตามธาตุขันธ์ที่ต้องการความบำรุงมากขึ้นทุกระยะที่ท่านปฏิบัติเช่นนั้น โดยเห็นว่าพระธุดงคกรรมฐานครั้งนั้นไม่อยู่ประจำที่นัก นอกจากในพรรษาเท่านั้น ต้องเที่ยวไปในป่านั้น ในภูเขาลูกนี้อยู่เสมอ การไปก็ต้องเดินด้วยเท้าเปล่า ไม่มีรถราเหมือนสมัยนี้ มีบริขารมากน้อยต้องสะพายไปเอง ช่วยตัวเองทั้งนั้น ของใครของเรา ช่วยกันไม่ได้ เพราะต่างคนต่างมีพอกับกำลังของตัว จะมีมากกว่านั้นก็เอาไปไม่ไหว ทั้งเป็นความไม่สะดวก พะรุงพะรังอีกด้วย จึงมีเฉพาะที่จำเป็นจิรง ๆ นานไปก็กลายเป็นความเคยชินต่อนิสัย แม้ผู้มีมาถวายก็ให้ทานผู้อื่นไป ไม่สั่งสมให้เป็นการกังวล เพราะสมณะเรามีความสวยงามอยู่กับการปฏิบัติดีและไม่สั่งสม เวลาตายไป ให้มีแต่บริขารแปด ซึ่งเป็นของจำเป็นสำหรับพระเท่านั้น เป็นความงามอย่างยิ่ง เมื่อมีชีวิตอยู่ก็สง่าผ่าเผยด้วยความจนแบบพระ เวลาตายก็เป็นสุคโต ไม่มีอารมณ์กับสิ่งใด อันเป็นเกียรติอย่างยิ่งของพระผู้ตายด้วยความจน มนุษย์และเทวดาสรรเสริญ ธุดงควัตรข้อนี้จึงเป็นเครื่องประดับสมณะให้งามตลอดอวสานข้อหนึ่ง



    ธุดงควัตรเหล่านี้ ท่านเคยปฏิบัติมาเป็นประจำไม่ลดละ ปรากฏว่าเป็นผู้คล่องแคล่วชำนิชำนาญในทางนี้อย่างยากจะหาผู้เสมอได้ในสมัยปัจจุบัน และได้อบรมสั่งสอนพระเณรผู้มาศึกษาอบรมด้วยธุดงควัตรเหล่านี้ คือ ท่านพาอยู่รุกขมูลร่มไม้ ในป่า ในเขา ในถ้า เงื้อมผา ป่าช้า ซึ่งล้วนเป็นสถานที่เปล่าเปลี่ยวน่ากลัว พาบิณฑบาตเป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่พารับอาหารที่มีผู้ตามมาส่งทีหลัง ข้อนี้คณะศรัทธาเมื่อทราบอัธยาศัยท่านแล้ว เขามีอาหารคาวหวานอย่างไร ก็พากันจัดใส่บาตรถวายท่านไปพร้อมเสร็จ ไม่ต้องไปส่งให้ลำบาก พาฉันสำรวมในบาตร ไม่มีภาชนะชนิดสำหรับใส่อาหาร ทั้งคาวหวานรวมลงในบาตรใบเดียว พาฉันมื้อเดียวคือวันละหนมาเป็นประจำจนอวสานสุดท้าย

    เวลาท่านประชุมให้โอวาทแก่พระเณรตอนกลางคืน จะได้ยินเฉพาะเสียงท่านที่ให้โอวาทเท่านั้น เสียงจากพระเณรแม้จะอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ไม่ปรากฏในขณะนั้น กระแสเสียงและเนื้อธรรมที่ท่านให้โอวาทแก่พระเณร รู้สึกซาบซึ้ง จับใจ ไพเราะ ทำให้เคลิ้มไปตามกระแสธรรมจนลืมเนื้อลืมตัว ลืมความเหน็ดเหนื่อย ลืมเวล่ำเวลา ไม่รู้สึกกับสิ่งอื่นใดในขณะนั้น นอกจากกระแสธรรมกับใจสัมผัสสัมพันธ์กันอยู่อย่างเพลินตัว ไม่รู้จักอิ่มพอเท่านั้น การประชุมครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง เพราะถือเป็นการทำความเพียรทางสมาธิและปัญญาอันเป็นภาคปฏิบัติอยู่กับการฟังในขณะนั้นด้วย พระธุดงค์มีความเลื่อมใสในอาจารย์และในการฟังมากเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจารย์ผู้คอยให้โอวาทตักเตือนและการฟังถือเป็นเส้นชีวิตจิตใจแห่งการปฏิบัติทางภายในของพระธุดงค์จริง ๆ ท่านจึงมีความเคารพรักต่ออาจารย์มาก แม้ชีวิตก็ยอมสละได้

    ท่านพระอาจารย์มั่นเที่ยวจาริกและอบรมสั่งสอนในที่ต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัด เริ่มผ่านไปแต่จังหวัดนครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลฯ นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองคาย เลย หล่มสัก เพชรบูรณ์ และข้ามไปเวียงจันทน์ ท่าแขก ประเทศลาว กลับไปมาหลายตลบในแต่ละจังหวัด จังหวัดที่มีป่ามีเขามาก ท่านชอบพักอยู่นานเพื่อการบำเพ็ญเป็นแห่ง ๆ ไป เช่นทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวจังหวัดสกลนคร มีป่ามีเขามาก ท่านจำพรรษาอยู่แถบนั้น คือจำพรรษาที่หมู่บ้านโนสว่าง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แถบนั้นมีแต่ป่าแต่เขา พระธุดงค์จึงมีประจำมิได้ขาดตลอดมาจนทุกวันนี้ เพราะท่านเหล่านี้ชอบป่าชอบเขามาก เวลาท่านเที่ยวจาริกในหน้าแล้ง ที่พักหลับนอนโดยมากก็เป็นร้านหรือแคร่เล็ก ๆ ปูด้วยฟากที่ทำด้วยไม้ไผ่สับแผ่ออกเป็นแผ่นแบน ๆ ยาวประมาณ ๑ วา กว้าง ๒ หรือ ๓ ศอก สูงประมาณ ๒ ศอก เฉพาะแต่ละรูปอยู่ห่างกันตามแต่ป่าที่ไปอาศัยกว้างหรือแคบ ถ้าป่ากว้างก็อยู่ห่างกันออกไปประมาณ ๒๐ วา มีป่าคั่น มองไม่เห็นกัน ถ้าป่าแคบและอยู่ด้วยกันหลายรูป ก็ห่างกันราว ๑๕ วา แต่โดยมากตั้งแต่ ๒๐ วาขึ้นไป อยู่น้อยองค์ด้วยกันเท่าไรก็ยิ่งอยู่ห่างกันออกไปมาก พอได้ยินเสียงไอหรือจามเท่านั้น

    ถ้ามีพระขี้กลัวผี หรือกลัวเสือไปอยู่ด้วย ท่านมักจะให้อยู่ห่าง ๆ หมู่เพื่อนเป็นพิเศษ เพื่อเป็นการฝึกทรมานให้หายพยศความขี้ขลาดของตัวเสียบ้าง จนมีความเคยชินต่อป่าดงพงลึกและสัตว์เสือหรือผีต่าง ๆ ที่จิตไปทำความสำคัญมั่นหมายสิ่งนั้น ๆ มาหลอกตัวเอา ถ้าไปอยู่ใหม่ ๆ ต่างองค์ก็นอนกับพื้นดินไปก่อน ท่านว่าหน้าเดือน ๑-๒ ซึ่งเป็นฤดูฟ้าใหม่ฝนเก่าประปนกันนี้รู้สึกลำบากอยู่บ้าง เวลาฝนตกต้องเปียกและตากฝนทุกปี บางครั้งนอนตากฝนตลอดคืนจนกว่าจะหยุด กลดก็สู้ไม่ไหว เพราะทั้งฝนทั้งลม ต้องทนหนาวตัวสั่นอยู่ในกลดนั่นแล ตามองไม่เห็น จะหนีไปไหนก็ไม่ได้ ถ้ากลางวันก็ค่อยยังชั่วบ้าง แม้จะเปียกก็พอมองเห็นนั่นเห็นนี่ และคว้านั่นคว้านี่มาช่วยปิดบังฝนได้บ้าง ไม่มืดมิดปิดตายเสียทีเดียว ผ้าสังฆาฏิและไม้ขีดไฟซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ต้องเก็บไว้ในบาตร เอาฝาปิดไว้ให้ดี ส่วนจีวรเอาไว้สำหรับห่มกันหนาวขณะฝนกำลังตก มุ้งที่กางไว้กับกลดต้องลดลงเพื่อกันฝนสาดเวลาลมพัดแรง ไม่เช่นนั้นก็เปียกหมด ตกตอนเช้าไม่มีผ้าห่มบิณฑบาตก็ยิ่งแย่ใหญ่ พอตกเดือน ๓ เดือน ๔ หรือเดือน ๕ อากาศเริ่มร้อนขึ้น ก็ขึ้นบนภูเขา หาพักตามถ้ำหรือเงื้อมผา พอบังแดดบังฝนได้บ้าง

    ถ้าไปตอนเดือน ๑-๒ ซึ่งพื้นที่ยังไม่แห้งดี ก็ทำให้เป็นไข้และชนิดจับสั่นที่เรียกกันว่ามาเลเรีย ซึ่งใครเป็นเข้าแล้วไม่ค่อยหายเอาง่าย ๆ เสียเวลาตั้งหลาย ๆ เดือนกว่าจะหายขาด หรือบางทีก็กลายเป็นไข้เรื้อรังไปเลย คิดอยากไข้เมื่อไรก็เป็นขึ้นมา ชนิดที่เขาเรียกว่า “ไข้พ่อตาแม่ยายหน่ายเกลียดชัง” รับประทานได้ แต่ทำงานไม่ได้ คอยแต่จะไข้ ถ้าเป็นอย่างนี้ ไม่ว่าแต่พ่อตาแม่ยายใคร ๆ ก็คงจะเบื่อหน่ายเหมือนกัน ไข้ประเภทนี้ไม่มียารับประทาน ในสมัยโน้นใครเป็นเข้าต้องปล่อยให้หายไปเอง ไข้ที่น่าเข็ดหลาบ ประเภทนี้ผู้เขียนเอง (ท่านพระอาจารย์มหาบัว) เคยถูกมาบ่อยที่สุด เวลาเป็นขึ้นมาแล้วก็ต้องปล่อยให้หายไปเอง เช่นกัน เพราะไม่มียารักษา ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าเรื่องพระธุดงค์เป็นไข้ป่า ไข้มาเลเรีย นับแต่องค์ท่านลงไปถึงลูกศิษย์ บางองค์ถึงกับตายไปก็มี ฟังแล้วเกิดความสงสารสังเวชท่านและคณะของท่านมากมาย รอดตายมาแล้วถึงได้มาสั่งสอนธรรมพอเป็นร่องรอยแก่คณะลูกศิษย์ได้ยึดถือและปฏิบัติตามท่าน”

    [คัดจากงานเขียนธรรมะของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ในหนังสือ ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ฉบับพ.ศ. ๒๕๔๔ หน้า ๔๐–๔๕ )

    ที่มา : http://www.luangta.com/salawatpa/content_show.php?content_id=183

    webmaster [DT0003] [ วันอาทิตย์ ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 10:37 น. ]
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระสงฆ์ของใคร...?
    ที่มา http://www.dhammathai.org/articles/view.php?No=218

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] หนังสือพิมพ์ "มติชน" ประจำวันที่ 4 กันยายน 2532 ได้สรุปใจความไว้ว่า "พระวินัยเป็นอันมาก ในพระพุทธศาสนานั้นก็เกิดจากการที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์พระภิกษุสงฆ์นั่นเอง"
    "เกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระภิกษุบางรูปที่ออกมาในทางเสื่อมเสียนั้นสอดคล้องกับประสบการณ์จริงของคนที่เห็นพระภิกษุบางรูป(ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย) เวียนเทียนรับบาตรไปขายต่อให้แก่แม่ค้า พระภิกษุใบ้หวย แจกปลักขิก และเสกคาถาอาคมของขลังต่าง ๆ "
    นั่นเป็นข้อเขียนของคุณนิธิ เอียวศรีวงศ์ ลงในมติชนฉบับดังกล่าว
    และ ข่าวมติชนฉบับวันที่ 2 กันยายน 2532 ยังอ้างอีกว่า "ข้าราชการกรมการศาสนาถูกเชือดเลี้ยงไม่โต" เนื้อข่าวก็คือ พลเอกมานะ รัตนโกเศศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามในคำสั่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2532 ให้ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการ 23 คน ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตในกรมการศาสนา โดยมีนายสมชัย วุฒิปรีชา เลขาธิการคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นประธานกรรมการ
    ผู้ถูกสอบสวนทางวินัยมีทั้งอดีตอธิบดีกรมการศาสนารวมอยู่ด้วย นอกนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดเช่า จัดการทรัพย์สินของวัดต่างๆ รวมทั้งในการสร้างพุทธมณฑล และการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก
    ข่าวนี้เป็นการยืนยันว่าศาสนสมบัติของวัดมีผลประโยชน์มหาศาล กรมการศาสนาซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาผลประโยชน์ของศาสนสมบัติ ได้กระทำการอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างกว้างขวาง
    ก่อนหน้านี้ใครผู้ใดไปกล่าวถึงวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์องค์เจ้าในทางเสื่อมเสียจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนใจบาปหยาบช้า นรกกินหัว โดยถือว่าใครผู้นั้นบังอาจดูหมิ่นพระพุทธศาสนา โดยองค์กรของพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาเองไม่ยอมรับว่าพระสงฆ์ในสังกัดประพฤติในสังกัดประพฤติมิชอบด้วยพระธรรมวินัย
    แต่มาบัดนี้เหตุการณ์ดังกล่าวกำลังพลิกกลับ เหตุใดหรือจึงกล่าวได้เช่นนี้ ก็คำรับสารภาพของนายสมศักดิ์ พรรัตนสมบูรณ์ หรือสมีเจี๊ยบ อดีตพระครูสมุห์สรศักดิ์ คมฺภีรปญฺดย เป็นหลักฐานที่มหาเถรสมาคมมิได้ประกาศข้อโต้แย้งออกมาเหมือนแต่ก่อนๆ
    สมีเจี๊ยบให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ "มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับนั้นว่า "เขาบวชตั้งแต่อายุ 13 ปี รวมเวลาบวช 14 ปี มีความสัมพันธ์กับผู้หญิงประมาณอายุ 20 ปีกว่า"
    "กับผู้หญิงมากกว่า 7 คน เกือบ ๆ โหล ไล่อาชีพแล้วก็มีนักร้อง 1 คน แม่ค้า 2 คน ช่างเสริมสวย 1 คน นอกนั้นเป็นนักเรียน"
    ในเรื่องรัก สมีเจี๊ยบบอกความในใจว่า "ความรักเป็นคำสั้น ๆ แต่มันกินใจและยาวนานสำหรับคนบางคน ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่เลือกชั้นวรรณะ เมื่อเกิดขึ้นแล้วยากที่จะห้าม อย่างคนรักพระหรือพระรักคน เป็นเรื่องของสภาวะจิตใจ เมื่อความชอบเกิดขึ้นภายนอก ซึ่งอาจจะหลงรักกันโดยที่อีกคนไม่รู้ และเมื่อถึงวันที่มาประสาน มารับรู้ เข้าใจอะไรกัน ก็ถึงคราวสุกงอม จะว่าเราคนเดียวก็ไม่ได้ มันมีความพอใจและพร้อมกันทั้งสองฝ่าย พระเองก็ข่มขืนผู้หญิงไม่ได้ ความรักความใคร่ ความหลง ทำให้คนตาบอดไปชั่วขณะ บางครั้งก็เกิดอารมณ์ชั่ววูบ บางครั้งเราก็ทำไปด้วยสติสำนึกที่ดี ซึ่งในทางพระถือเป็นโทษที่ร้ายแรง เกินกว่าที่จะปลงอาบัติให้หลุดได้จึงไม่ได้ปลง"
    ในเรื่องเงินทอง สมีเจี๊ยบได้กล่าวว่า "บางคนอาจมองว่าผมไปจีบผู้หญิงต้องใช้เงินทุ่ม ที่จิงผู้หญิงเขาก็รู้อยู่แล้วว่าพระไม่ค่อยมีเงินที่จะไปทำอย่างนั้นอย่างจินตนา โพธิราช นักร้องประจำพลอยคาเฟ่นั้น ผมก็ให้ใช้เดือนละ 2,000 บาท ,3,000 บาทเท่านั้น และไม่ได้ให้ประจำ รายได้ของเขาตกเดือนละ 20,000 บาท ผู้หญิงคนอื่น ๆ เขาก็มีอาชีพมีงานทำ
    "บางคนว่าผมมีรถเบ็นซ์ รถบีเอ็มนั่ง นั่นเป็นรถของลูกศิลย์ที่ปวารณาตัวรับใช้ ผมจะเรียกใช้สัปดาห์ละสองสามวันเท่านั้น และที่ว่างกันว่าผมมีคอนโดมิเนี่ยมนั้น ก็ไม่จริง อย่างนั้นต้องเป็นคนมีเงิน 30-40 ล้านถึงจะสร้างได้ ผมรู้สึกเสียใจที่มีการกล่าวกันว่าผมมีรายได้วันละ 15,000-100,000 บาท ซึ่งถ้าผมมีรายได้ขนาดนี้ ผมคงไม่อยู่ดักดาน ต้องออกไปนานแล้ว ตอนนี้มีเงินอยู่เพียง 30,000 บาท ใช้ชีวิตเงินเพียง 500,000-600,000 บาท ก็คิดว่าเป็นชีวิตที่สุขสบายแล้ว"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา : สมพร พรหมหิตาธร
    Toonjan [​IMG] [DT02619] [ วันศุกร์ ที่ 2 มีนาคม 2550 เวลา 22:12 น. ]
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เหตุที่มนุษย์มีสภาพแตกต่างกัน
    ที่มา http://www.dhammathai.org/articles/view.php?No=215
    [​IMG]
    b]เหตุที่มนุษย์มีสภาพแตกต่างกัน มูลปัณณาสก์มัชฌิมนิกาย แสดงไว้ว่า</B>

    ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุ สั้น
    ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุ ยืน
    เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรค มาก
    ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรค น้อย
    มักโกรธ มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ ผิวพรรณ ชั่ว
    ไม่โกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณ ผุดผ่อง
    มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพ น้อย
    มีใจไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพ มาก
    ไม่บริจาคทาน เป็นเหตุให้ ยากจน อนาถา
    บริจาคทาน เป็นเหตุให้ มีโภคสมบัติมาก
    กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสุกล ต่ำ
    ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุล สูง
    ไม่อยากรู้ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญา น้อย
    อยากรู้ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญา มาก

    สัตว์นรก ครั้นสิ้นกรรมแล้ว
    มาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเกิดในสกุลต่ำ
    เป็นคนยากจนอดอยาก เป็นอยู่โดยฝืดเคือง
    มีรูปร่างผิวพรรณไม่สมประกอบ

    กิจโฉ มนุสสะปฏิลาโภ..... การเกิดเป็นมนุษย์..... นั้น แสนยาก
    กิจฉัง มัจจานะ ชีวิตัง..... การดำรงชีวิตอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย.....นั้น แสนยาก
    กิจฉัง สัทธัมมัสสะวะนัง..... การได้ฟัง พระสัทธรรม.....นั้น แสนยาก
    กิจโฉ พุทธานะมุปปาโท..... การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.....นั้น แสนยาก

    ที่มา : http://www.kanlayanatam.com/sara/sara15.htm

    <TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=right>ลูกโป่ง [DT0329] [ วันพฤหัสบดี ที่ 1 มีนาคม 2550 เวลา 14:37 น. ]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 215.jpg
      215.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.4 KB
      เปิดดู:
      676
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    จะเลือกถวายจีวรสีใด
    อาจารย์ธรรมจักร สิงห์ทอง
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8919

    [​IMG]
    จะเลือกถวายจีวรสีใด
    อาจารย์ธรรมจักร สิงห์ทอง


    จีวร ถือว่าเป็นธงชัย หรือเครื่องหมายของพระอรหันต์ มีหลักฐานปรากฏในพระคัมภีร์อุบาลีเถราปทาน ว่า

    "บุคคลเห็นผ้ากาสาวพัสตร์ที่ (แม้) เปื้อนอุจจาระที่ถูกทิ้งไว้ตามถนนหนทาง ก็ควรประนมมือไหว้ผ้านั้น อันเป็นธงชัยของพระอริยเจ้า ด้วยเศียรเกล้า"

    ในฉัททันตชาดก ติงสนิบาต กล่าวว่า "พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช้างฉัททันต์ กำลังจะเดินตรงเข้าไปทำร้ายนายพรานป่าใจบาป ผู้คิดจะฆ่าตน แต่พอมองเห็นจีวรที่นายพรานชูให้เห็นกลับคิดได้ว่า ผู้มีธงชัยหรือเครื่องหมายแห่งพระอรหันต์ ไม่ควรถูกฆ่า จึงไม่ได้ทำร้าย และให้อภัยแก่นายพรานปล่อยให้รอดไป..."

    ในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา กล่าวว่า "สมัยที่พระพุทธองค์ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ พระธนิยะได้ตัดไม้เป็นสมบัติของหลวงจำนวนมาก มีความผิดตามกฎหมายบ้านเมืองโทษฐานถึงขั้นประหารชีวิต แต่พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองกรุงราชคฤห์ ก็ทรงมีรับสั่งให้พระราชทานอภัยโทษ เพราะทรงเห็นแก่จีวร (ผ้าเหลือง) ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องหมายของพระอรหันต์นั่นเอง"


    กำเนิดแบบตัด - เย็บจีวร

    วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จถึงทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยพระภิกษุจำนวนหนึ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็นท้องนาของชาวมคธแล้ว มีรับสั่งกับพระอานนท์ว่า "อานนท์ เธอสามารถออกแบบตัดเย็บจีวรให้มีรูปร่างอย่างนี้ได้หรือไม่"

    พระอานนท์กราบทูลว่า "สามารถทำได้พระเจ้าข้า" หลังจากนั้นพระอานนท์ได้ออกแบบทำจีวรให้มีรูปร่างตามพุทธประสงค์ถวาย คือมีลักษณะคล้ายผืนนาที่มีคันนาคั่นเป็นระยะๆ พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญว่า "พระอานนท์เป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถเข้าใจคำสั่งของเราได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนถูกต้องและชัดเจน"

    ที่พระพุทธองค์มีรับสั่งให้ออกแบบจีวรเช่นนั้น เพราะมีพระประสงค์ ๓ ประการ คือ

    ๑. ผ้าที่มีราคาแพงๆ หากตัดเป็นชิ้นๆ จะทำให้ผ้าราคาตก แทบไม่มีใครต้องการ

    ๒ .เมื่อนำเศษผ้าที่ตัดแล้วมาเย็บติดกัน จะทำให้เกิดรอยตะเข็บ มีตำหนิขาดความสวยงาม

    ๓. ยิ่งนำไปย้อมเปลี่ยนสีพร้อมทั้งทำเครื่องหมาย (ทำพินทุ ใช้ปากกาหรือดินสอทำเป็นจุดที่ผ้าจีวร) ทำให้สีของผ้าเศร้าหมอง ไม่มีค่าไม่มีราคา ไม่เป็นที่ต้องการของใคร ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าสนใจ ไม่มีประโยชน์สำหรับใครๆ โจรผู้ร้ายไม่แย่งชิง แบบจีวรที่ถูกกำหนดตัดเย็บมาแต่โบราณ จึงถือเป็นแบบอย่างใช้มาจนถึงปัจจุบัน

    สีของจีวร แต่เดิมพระภิกษุใช้มูลโค (โคมัย) หรือดินแดงย้อมจีวร ทำให้สีของจีวรเป็นสีคล้ำไม่เหมาะสม มีการทักท้วงกันขึ้น จึงนำความกราบบังคมทูลให้พระองค์ทรงทราบ พระพุทธเจ้ามีดำรัสว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม ๖ ชนิดสำหรับย้อมจีวร คือ น้ำย้อมจากรากไม้ น้ำย้อมจากต้นไม้ น้ำย้อมจากเปลือกไม้ น้ำย้อมจากใบไม้ น้ำย้อมจากดอกไม้ และน้ำย้อมจากผลไม้"

    เมื่อย้อมเสร็จแล้วจีวรจะออกมาเป็นสีกรัก สีเหลืองหม่น หรือสีเหลืองเจือแดงเข้มเหมือนย้อมด้วยแก่นขนุน แต่ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุย้อมจีวรด้วย ขมิ้น ฝาง แกแล มะหาด เปลือกโลท เปลือกคล้า ใบมะเกลือ คราม ดอกทองกวาว ฯลฯ

    สีจีวรที่ต้องห้าม คือ

    ๑. สีเขียวคราม สีเหมือนดอกผักตบชวา

    ๒. สีเหลือง สีเหมือนดอกกรรณิการ์

    ๓. สีแดง สีเหมือนชบา

    ๔. สีหงสบาท (สีเหมือนเท้าหงส์) สีแดงกับเหลืองปนกัน

    ๕. สีดำ สีเหมือนลูกประคำดีควาย

    ๖. สีแดงเข้ม สีเหมือนหลังตะขาบ

    ๗. สีแดงกลายๆ แดงผสมคล้ายใบไม้แก่ๆ ใกล้ร่วง (เหมือนสีดอกบัว)

    มีบางแห่งระบุว่าสีต้องห้าม คือ สีดำ สีคราม สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีแสด และ สีชมพู ถ้าจีวรมีสีตรงตามนี้ ให้ภิกษุย้อมใหม่ ถ้าทำลายสีเดิมไม่ออกก็ให้นำไปใช้เป็นผ้าปูลาดสำหรับรองนั่ง หรือใช้งานอื่นๆ หรือใช้ซับในระหว่างจีวรสองชั้นก็ได้

    สีจีวรที่พระพุทธเจ้าและพระอัครสาวกใช้ การที่จะยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้จีวรสีใดย่อมเป็นการยากที่จะระบุให้ชัดเจนได้ เนื่องจากไม่เคยมีใครได้พบเห็นพระพุทธองค์ด้วยตัวเอง แต่สามารถประเมินได้จากหลักฐานพระคัมภีร์ในหลายแห่งที่พอเปรียบเทียบได้ คือ

    ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้า (พระพุทธเจ้า) ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาซึ่งมีสีดุจทอง ออกจากระหว่างบังสุกุลจีวรอันมีสีแดง

    ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งผ้าสองชั้นที่ย้อมดีแล้ว ทรงห่มจีวรมหาบังสุกุล ได้ขนาดสุตตประมาณ ปานผ้ารัตตกัมพล (ผ้าสีแดง)

    ๓. พระผู้มีพระภาค ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดง มีสีคล้ายสียอดอ่อนของต้นไทร

    สีจีวรของพระอัครสาวกมีหลักฐานปรากฏว่า ๑. แม้พระมหาเถระทั้งหลาย มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น ห่มบังสุกุลจีวร มีสีแดงเหมือนเมฆ ๒. พระมหาเถระทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะ เป็นต้น ห่มบังสุกุลจีวรมีสีแดงเหมือนเมฆ

    สีจีวรของพระเถระผู้ใหญ่ในสมัยพุทธกาล ก็เหมือนกับสีจีวรของพระพุทธเจ้า คือ สีแดง ตรงตามพระบรมพุทธานุญาต คือ สีเหลืองเจือแดงเข้ม ที่ใช้ย้อมด้วยแก่นขนุน คือสีกรักนั่นเอง

    สีจีวรของพระสงฆ์ไทยปัจจุบัน ในสมัยพุทธกาล แม้พระภิกษุสงฆ์จะย้อมจีวรด้วยสีธรรมชาติแท้ๆ แต่ก็เชื่อว่าสีคงจะไม่ออกมาเป็นมาตรฐานเดียวกันหมดแน่นอน คงจะมีผิดเพี้ยนแตกต่างกันไปบ้าง แม้ในยุคปัจจุบันก็มีการใช้สีจีวรต่างๆ แต่พอแยกออกได้ ๒ สี คือ สีเหลืองเจือแดงเข้ม และ สีกรักสีเหลืองหม่น

    วัดใดจะใช้จีวรสีไหนก็ได้ ไม่มีข้อห้าม เพราะถือว่าถูกต้องตรงตามพระบรมพุทธานุญาตทั้ง ๒ สี แต่ถ้าเป็นพระภิกษุสามเณรที่ยู่ในวัดเดียวกัน ก็น่าจะใช้จีวรสีเดียวกัน ส่วนสีที่นิยมในพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวัง (วัดพระแก้ว) นิยมใช้สีกรัก หรือสีเหลืองหม่น เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนผ้าไตรที่ทางฝ่ายพระราชพิธีจัดเตรียมไว้ถวายพระด้วย ทั้งนี้ เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย และปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน

    ผู้มีจิตศรัทธาต้องการถวายผ้าจีวรแก่พระสงฆ์ควรทราบ

    ๑. ข้อควรปฏิบัติ คือ จะเลือกซื้อจีวรแบบไหนสีใดไปถวายพระวัดใด ต้องคำนึงถึงคุณภาพของผ้า ที่พระท่านสามารถใช้สอยได้อย่างเหมาะสม อีกอย่างหนึ่งคือ ต้องเลือกสีให้ถูกต้องตรงตามความนิยมของแต่ละวัด เช่น วัดบวรนิเวศ ใช้สีกรักหรือเหลืองหม่น วัดสระเกศ ใช้สีเหลืองเจือแดงเข้ม เป็นต้น

    ๒. จุดประสงค์การถวายผ้าจีวร เพื่อให้พระภิกษุหมดภาระในการแสวงหาผ้านุ่งห่ม ไม่ต้องกังวลใจ มีเวลาปฏิบัติธรรมอย่างเพียงพอ และเป็นการช่วยให้พระภิกษุมีผ้านุ่งห่ม ป้องกันเหลือบยุง บำบัดความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันไม่ให้ป่วยไข้เพราะร้อนและหนาวเกินไป และรักษาสุขภาพอนามัยคือใช้ชายจีวรกรองน้ำดื่มเมื่อถึงคราวจำเป็น

    ๓. อานิสงส์การถวายจีวร ผู้ถวายต้องตั้งเจตนาบริจาคให้เป็นทานบารมีที่บริสุทธิ์จริงๆ ไม่ให้เกิดการเสียดาย จึงบังเกิดเป็นบุญมหาศาล แยกได้ดังนี้

    (๑) สามารถตัดบาปออกไปจากจิตใจได้เด็ดขาด

    (๒) กำจัดกิเลสขวางโลก คือ ความโลภ ความตระหนี่ถี่เหนียว ให้บรรเทาเบาบางจนจางหายไปในที่สุด

    (๓) ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นสุขสดใสใจเบิกบาน

    (๔) เกิดความภาคภูมิใจที่มั่นคงอยู่ในบุญกุศล

    (๕) พ้นจากความยากจน ความลำบากขัดสนทุกภพทุกชาติ

    (๖) มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔ ทุกภพทุกชาติ

    (๗) เกิดชาติใดภพใดจะเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส

    (๘) ทำให้บังเกิดความอิ่มบุญ เย็นใจตลอดเวลาทุกครั้งที่นึกถึง


    คำถวายจีวร

    อิมานิ มะยัง ภันเต จีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ จีวะรานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    หรือจะกล่าวเฉพาะคำแปลก็ได้ คือ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายจีวร พร้อมทั้งของบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ โปรดรับจีวร พร้อมทั้งของบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก
    นสพ.คม ชัด ลึก คอลัมน์ พระเครื่อง คม ชัด ลึก
    ฉบับวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2547
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ศัพท์ธรรมคำวัด : อนุโมทนา
    http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000099805
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>26 กรกฎาคม 2548 16:43 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> มีคำอยู่คำหนึ่งที่ชาวพุทธพูดกันจนติดปาก คำนั้นก็คือ “อนุโมทนา” ความหมายของอนุโมทนาคืออะไร และเมื่อไหร่ที่ควรใช้คำนี้ คำตอบก็คือ..
    ในหนังสือ‘คำวัด’ โดยพระธรรมกิตติวงศ์ ได้อธิบายความหมายของคำนี้ไว้ว่า
    อนุโมทนา หมายถึง การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำการ อนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญ แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย
    เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า “อนุโมทนากถา”
    เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า“อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา”
    เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า “อนุโมทนามัยบุญ”
    และการที่ภิกษุกล่าวสัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อยคำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของความดีของบุญกุศลที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา
    ส่วนในหนังสือศาสนพิธี เล่ม ๒ ฉบับมาตรฐาน โดย คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์ เลี่ยงเชียง ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
    ธรรมเนียมของพระภิกษุสามเณร เมื่อได้รับถวายปัจจัยสี่ ไม่ว่าจะเป็นภัตตาหาร หรือทานวัตถุใดๆก็ตามจากทายกทายิกา จะต้องทำพิธีอนุโมทนาทานนั้น ไม่ว่าจะได้รับรูปเดียวหรือหลายรูปก็ตาม ต้องอนุโมทนาทุกครั้ง จะละเว้นเสียมิได้ถือว่าผิดพระพุทธานุญาต ต่างแต่ว่าอนุโมทนาต่อหน้าหรือลับหลังเท่านั้น
    ธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันมาแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ฉะนั้นการอนุโมทนาทานจึงเป็น ประเพณีมานานในหมู่สงฆ์ การประกอบพิธีอนุโมทนาลับหลังทา ยกทายิกามีวิธีเดียว คือ การบิณฑบาตที่ต้องออกรับในสถานที่ต่างๆทั่ว ไปไม่จำกัด กรณีเช่นนี้ไม่ต้อง อนุโมทนาต่อหน้าขณะที่รับบิณฑบาต แต่กลับมาถึงวัดฉันอาหารเรียบร้อยแล้ว จึงอนุโมทนา หรือยกไปอนุโมทนาในช่วงทำวัตรสวดมนต์ เช้า-เย็นก็ได้
    ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆได้ ๒ หัวข้อคือ
    ๑. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน
    ๒. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษ คือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง
    สำหรับคำว่า“สาธุ” แปลว่า “ดีแล้ว ชอบแล้ว” ดังนั้นการเปล่งวาจาว่าสาธุก็เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วยชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ เพื่ออนุโมทนาในบุญ หรือความดีที่ผู้อื่นทำนั่นเอง
    ในพระไตรปิฎก ได้พูดเรื่องผลบุญของการอนุโมทนาที่ทำให้ไปเกิดในวิหารวิมานว่า
    ท่านพระอนุรุทธเถระได้ถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า เหตุใดมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ มีเสียงอันเป็น ทิพย์น่าฟัง รื่นรมย์ใจ มีกลิ่นทิพย์อันหอมหวนยวนใจ เสียงของเครื่องประดับผม ก็ดังเสียงไพเราะ ดุจเสียงดนตรี แม้พวงมา ลัยบนศีรษะก็มีกลิ่นหอมชวนให้เบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร?
    นางเทพธิดาตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นสหายของดิฉัน อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันเห็นมหาวิหารนั้น แล้วมีจิตเลื่อมใสอนุโมทนา ก็วิมานอันเป็นที่รักนี้อันดิ ฉันได้แล้ว เพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น วิมานนี้เป็นวิมานอัศจรรย์น่าดูน่าชม โดยรอบสูง ๑๖ โยชน์ เลื่อนลอยไปในอากาศ ได้ตามความปรารถนาของดิฉัน ดิฉันมีปราสาทเป็นที่อยู่อา ศัย อันบุญกรรมจัดแจงเนรมิตให้เป็นส่วนๆ งามรุ่งโรจน์ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบทิศ ..วิมานอันมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ น่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชมเช่นนี้ เกิดแต่ดิฉันเพราะกุศลกรรมทั้งหลาย ควรทำบุญโดยแท้.

    สรุปแล้วการอนุโมทนาเป็นสิ่งดี แต่สิ่งที่ดีกว่าก็คือการลงมือทำความดี สร้างบุญกุศลนั้นๆด้วยตนเอง


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ธรรมของผู้มุ่งปฏิบัติขั้นสูง
    ที่มา http://www.salatham.com/do-donts/3ariya.htm

    สัมมัปปธาน ๔

    หรือหมายถึงความเพียร ๔ ประการได้แก่
    ๑.เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในจิตใจ (สังวรปธาน)
    ๒.เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)
    ๓.เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในจิตใจ (ภาวนาปธาน)
    ๔.เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม (อนุรักขณาปธาน)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ศรัทธา ๔

    คือความเชื่อที่ต้องเชื่อด้วยความแนบแน่นเป็นพื้นฐานคือ
    ๑.เชื่อเรื่องกรรมว่ามีจริง (กัมมสัทธา)
    ๒.เชื่อวิบากหรือผลของกรรมว่ามีจริง (วิปากสัทธา)
    ๓.เชื่อการที่แต่ละคนมีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาสัทธา)
    ๔.เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (ตถาคตโพธิสัทธา)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในพระพุทธศาสนาผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอริยบุคคล คือบุคคลที่ประเสริฐ เป็นผู้ที่ละแล้วซึ่งสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพหรือผูกพันสัตว์ทั้งหลายไว้กับทุกข์) ใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นต้น เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้น ใครละได้หมดก็เป็นพระอรหันต์
    สังโยชน์ ๑๐ ประการ ได้แก่

    <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="70%"><TBODY><TR><TD>๑.สังกายทิฏฐิ </TD><TD>ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน</TD></TR><TR><TD>๒.วิจิกิจฉา</TD><TD>ความสงสัยในผลกรรม การเวียนว่ายตายเกิด</TD></TR><TR><TD>๓.สีลัพพตปรามาส</TD><TD>การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์</TD></TR><TR><TD>๔.กามราคะ</TD><TD>ความติดใจในกามารมณ์</TD></TR><TR><TD>๕.ปฏิฆะ</TD><TD>ความขัดเคืองใจ</TD></TR><TR><TD>๖.รูปนาคะ</TD><TD>ความติดใจในรูป เช่นสิ่งล้ำค่าสวยงาม</TD></TR><TR><TD>๗.อรูปนาคะ</TD><TD>ความติดใจในสิ่งไม่มีรูป เช่นคำสรรเสริญ</TD></TR><TR><TD>๘.มานะ</TD><TD>ความยึดถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ ติดในยศศักดิ์</TD></TR><TR><TD>๙.อุทธัจจะ</TD><TD>ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ไม่สงบใจ</TD></TR><TR><TD>๑๐.อวิชชา</TD><TD>ความไม่รู้อริยสัจ ๔</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    อานิสงส์ของการมีเมตตาที่เป็นฌาน ๑๑ ประการคือ (เมตตาเจโตวิมุติ)

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%"><TBODY><TR><TD>๑.หลับเป็นสุข</TD><TD>๗.ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย</TD></TR><TR><TD>๒.ตื่นเป็นสุข</TD><TD>๘.จิตเป็นสมาธิเร็ว</TD></TR><TR><TD>๓.ไม่ฝ้นร้าย</TD><TD>๙.ผิวหน้าผ่องใส</TD></TR><TR><TD>๔.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย</TD><TD>๑๐.ไม่หลงตาย (ตายด้วยจิตสงบ)</TD></TR><TR><TD>๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย</TD><TD>๑๑.ถ้าไม่บรรลุธรรมสูงขึ้นไป ก็จะเข้าสู่พรหมโลก</TD></TR><TR><TD>๖.เทวดาพิทักษ์รักษา</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    สติปัฏฐาน ๔ คือสิ่งที่เราควรระลึกถึง ๔ ประการได้แก่

    ๑.การตั้งสติพิจารณากาย (กายานุปัสสนา)
    ๒.การตั้งสติพิจารณาอารมณ์ (เวทนานุปัสสนา)
    ๓.การตั้งสติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว (จิตตานุปัสสนา)
    ๔.การตั้งสติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล (ธัมมานุปัสสนา)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในพระพุทธประวัติเขียนไว้ว่า พระบรมโพธิสัตว์ (ตอนก่อนตรัสรู้) ครั้งเมื่อมีชัยชนะต่อพญามาร ตอนที่กำลังบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น ก็ด้วยบารมี ๑๐ ทัศดังต่อไปนี้
    บารมีจะเกิดขึ้นได้มี ๑๐ อย่าง ได้แก่

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%"><TBODY><TR><TD>๑.ทานบารมี</TD><TD>การให้สิ่งที่ควรให้</TD></TR><TR><TD>๒.ศีลบารมี</TD><TD>การบำเพ็ญศีลให้ครบบริบูรณ์</TD></TR><TR><TD>๓.เนกขัมมบารมี</TD><TD>การออกจากกามซึ่งต้องบำเพ็ญให้ถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๔.ปัญญาบารมี</TD><TD>การไต่ถามจากผู้รู้</TD></TR><TR><TD>๕.วิริยบารมี</TD><TD>การทำความเพียรอย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๖.ขันติบารมี</TD><TD>การอดกลั้นอย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๗.อธิษฐานบารมี</TD><TD>การตั้งจิตไว้ให้มั่นคง</TD></TR><TR><TD>๘.สัจบารมี</TD><TD>การรักษาวาจาสัตย์อย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๙.เมตตาบารมี</TD><TD>การมีเมตตาอย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๑๐.อุเบกขาบารมี</TD><TD>การวางเฉยไม่ว่าเรื่องดีไม่ดี ไม่ว่าจะมีลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ธรรมที่ใช้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ ๗ ประการได้แก่
    โพชฌงค์ ๗

    ๑.ความระลึกได้ (สติ)
    ๒.ความสอดส่องธรรม (ธัมมวิจยะ)
    ๓.ความเพียร (วิริยะ)
    ๔.ความอิ่มใจ (ปิติ)
    ๕.ความสงบใจและอารมณ์ (ปัสสัทธิ)
    ๖.ความตั้งใจมั่น มีจิตแน่วแน่ในอารมณ์ (สมาธิ)
    ๗.ความวางเฉย หยุดนิ่ง (อุเบกขา)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕

    คือข้อพิจารณาถึงสังขารของกายเรา เพื่อรำลึกอยู่เนืองๆ
    ๑.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความแก่ไปได้(ชราธัมมตา)
    ๒.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้ (พยาธิธัมมตา)
    ๓.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความตายไปได้ (มรณธัมมตา)
    ๔.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เราจักต้องมีการพลัดพรากจากของรักเป็นธรรมดาด้วยกันทั้งสิ้น (ปิยวินาภาวตา)
    ๕.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดไว้ไม่ว่าดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักต้องรับผลของกรรมนั้น (กัมมัสสกตา)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    *วิปัสสนาญาณ ๙

    คือการวิปัสสนาให้เห็นรู้แจ้งถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง มีขั้นๆดังนี้
    ๑.ญาณที่เห็นว่าการเกิดมาและดับไปของเบญจขันธ์เป็นเรื่องธรรมดา (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ)
    ๒.ญาณที่เห็นการสลายไปของสังขารว่าต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา (ภังคานุปัสสนาญาณ)
    ๓.ญาณที่เห็นสังขารเป็นของน่ากลัวไม่ว่าภพใด เพราะว่าต้องสลายไปทั้งสิ้น (ภยตูปัฏฐานญาณ)
    ๔.ญาณที่เห็นเป็นโทษ เพราะว่าสังขารเป็นของน่ากลัวจึงต้องมีข้อบกพร่อง มีทุกข์ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ)
    ๕.ญาณที่เห็นความเบื่อหน่าย เมื่อเห็นว่าเป็นโทษแล้วก็บังเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร ไม่ติดใจ(นิพพิทานุปัสสนาญาณ)
    ๖.ญาณที่ปรารถนาจะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น เพราะว่าเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว (มุญจิตุกัมยตาญาณ)
    ๗.ญาณที่พิจารณาหาทางเพื่อพ้นจากสังขาร ได้แก่การยกเอาสังขารทั้งหลายมาพิจารณาเพื่อให้หลุดพ้นไป (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ)
    ๘.ญาณที่เห็นอย่างเป็นกลางในความเป็นไปของสังขาร ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่เห็น (สังขารุเปกขาญาณ)
    ๙.เมื่อเป็นกลางแล้ว ญาณก็คล้อยเข้าสู่การเห็นอริสัจจ์อันจะนำพาไปสู่ขั้นต่อไป จนกระทั่งจิตดิ่งลงเกิดมรรคญาณขึ้นจึงจะถึงที่สุดคือนิพพาน (สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    สมาบัติ ๘

    คือคุณวิเศษ หรือธรรมอันวิเศษที่ควรเข้าถึง การบรรลุธรรมชั้นสูงได้แก่ ฌาณ ๘ แบ่งเป็นรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ คือ
    ฌาน ๔ ได้แก่
    ๑.ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา (ปฐมฌาน)
    ๒.ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา (ทุติยฌาน)
    ๓.ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา (ตติยฌาน)
    ๔.ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา (จตุตถฌาน)
    อรูปฌาน ๔
    คือการเข้าฌานอันมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ได้แก่
    ๑.ฌานที่กำหนดเอาช่องว่างเช่นอากาศ สูญญากาศที่ไม่มีสิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (อากาสานัญจายตนะ)
    ๒.ฌานที่กำหนดเอาวิญญาณอันหาที่สุดไม่ได้มาเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (วิญญาณัญจายตนะ)
    ๓.ฌานที่กำหนดเอาภาวะที่ไม่มีอะไรๆเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (อากิญจัญญายตนะ)
    ๔.ฌานที่เข้าถึงภาวะที่เรียกว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้(เนวสัญญานาสัญญายตนะ)
    [​IMG]
    <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    *วิโมกข์ ๘

    คือความหลุดพ้น เป็นภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างเต็มที่ แบ่งออกเป็นขั้นๆดังนี้
    ๑.ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตนเช่น สีผมเป็นต้น
    ๒.ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก
    ๓.ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า งาม ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา
    ๔.เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้
    ๕.เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
    ๖.เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนัสิการว่าไม่มีอะไรเลย
    ๗.เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่
    ๘.เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่

    *อ้างอิงจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ โดยท่านพระธรรมปิฎก
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...