พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03col03170350&day=2007/03/17&sectionid=0303


    วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5952​

    ปัญหาสุขภาพจิตก่อเกิดได้


    คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

    อุษา ลิ่มซิ้ว/กรมสุขภาพจิต



    ถ้าถามคนทั่วไปว่ามีปัญหาสุขภาพจิตอะไรหรือไม่ หลายคนยังไม่กล้าบอกไม่กล้าเล่าและยอมรับว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิต เกรงเพื่อนๆ จะมองว่าตนเองเป็นคนบ้า วิกลจริต เป็นเรื่องแปลกประหลาดไปหรือบางคนก็จะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองก็สามารถเกิดปัญหาสุขภาพจิตขึ้นได้เพราะเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจรายได้การทำมาหากิน การใช้ชีวิตในครอบครัว เรื่องการเรียน การเลี้ยงดูบุตร ฯลฯ

    เหล่านี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของคนเราทั้งสิ้น คนเราย่อมเคยมีความเครียด เคยวิตกกังวล เคยเจออุปสรรค ปัญหาและทำให้ไม่สบายใจก็เป็นเรื่องของสุขภาพจิตโดยที่เราอาจไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราคือปัญหาของสุขภาพจิตทั้งสิ้น แต่เรากลับไปแยกส่วนแยกเข้าใจว่าเรื่องสุขภาพจิตคือเรื่องของคนบ้าคนวิกลจริตพูดจาไม่รู้เรื่องคิดแปลกๆ แต่งตัวสกปรกรกรุงรัง หากคนใดบอกว่าเป็นผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจึงเข้าข่ายเป็นคนบ้าที่สุด

    จึงไม่มีใครกล้าบอกกล้ายอมรับว่าตนเองมีปัญหา สุขภาพจิต เกรงว่าสังคมจะมองว่าตนเองบ้าไม่มีใครกล้าคบค้าสมาคมด้วย พูดจาในทางเสียหาย มีท่าทีรังเกียจและไม่ยอมให้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ในแวดวงเพื่อนๆ ไม่ยอมสนทนาพาทีด้วย ทั้งยังกล่าวถึงคนนั้นอย่างเสียหาย ถ่ายทอดเรื่องราวจนทำให้คนอื่นๆ ก็เข็ดขยาดต่อการคบค้าสมาคมด้วยจึงไม่มีใคร ยอมรับการเป็นคนมีปัญหาสุขภาพจิตหรือมีก็จะปฏิเสธบอกไม่มี ไม่ยอมรับ ไม่กล้าบอกว่าเรื่องบางเรื่องการกลุ้มใจ ทุกข์ใจที่กำลังประสบอยู่ก็คือเรื่องสุขภาพจิตนั่นเอง
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03col01170350&day=2007/03/17&sectionid=0303


    วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5952​

    โรคจิต-โรคประสาท


    คอลัมน์ คอลัมน์ที่13



    จากกรณีน.พ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ เข้ารักษาตัวในสถานพยาบาลทางจิต ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าโรคจิตคืออะไร

    คำอธิบายจากกรมสุขภาพจิต ก็คือ โรคทางจิตเวชกลุ่มหนึ่งที่มีอาการรุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางจิต ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติ

    มีความผิดปกติทางอารมณ์ ความคิด และการแสดงออก ผู้ป่วยจะไม่ยอมรับว่าตนเองป่วย

    แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

    1.กลุ่มโรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นกลุ่มโรคที่พบมากที่สุด มีอาการหูแว่ว หวาดระแวง และคิดผิดๆ เชื่อผิดๆ หรือได้ยินเสียงคนต่อว่า ข่มขู่

    และที่พบมากที่สุด คือ พารานอยด์ หรือหวาดระแวง อาการคือ ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบในเรื่องทั่วไปได้ แต่จะไม่ทราบว่าตัวเองทำอะไรและทำเพื่ออะไร ได้ยินเสียงพูดหลอน มักเดินพูดคนเดียวเรื่อยเปื่อย

    อีกชนิดที่พบบ่อยคือ CATAPONIA เกิดจากความผิดปกติกับกล้ามเนื้อ จะนั่งนิ่งทั้งวัน อยู่ในท่าเดิมๆ คิดสับสนวนไปวนมา

    กลุ่มโรคนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตในสังคม และมีแนวโน้มป่วยแบบเรื้อรัง

    2.กลุ่มโรคอารมณ์แปรปรวน แบ่งเป็น 2 โรค คือโรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์ 2 ขั้ว

    3.กลุ่มโรควิตกกังวล จะมีอาการเครียด กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ครุ่นคิดแต่เรื่องเดิมๆ

    อาการของโรคจิตโดยทั่วไปพบความผิดปกติในด้านต่างๆ ดังนี้

    ความผิดปกติด้านความคิด เช่น หลงผิด คิดว่าตนเองเป็นใหญ่เป็นโต เป็นผู้วิเศษ ระแวงว่ามีคนปองร้าย

    ความผิดปกติด้านอารมณ์ เช่น หัวเราะ ร้องไห้โดยไม่สมเหตุผล หรือเฉยเมยไม่สนใจใคร

    ความผิดปกติด้านการแสดงออก เช่น ไม่สนใจตัวเอง ปล่อยให้เนื้อตัวสกปรก อาละวาด ทำร้ายคนทำลายของ พูดคนเดียว ไม่นอน วุ่นวาย รบกวนคนอื่น

    ความผิดปกติด้านการรับรู้ เช่น หูแว่ว ได้ยินเสียงคน สัตว์ หรือเสียงแปลกๆ เห็นภาพหลอน

    ส่วนโรคประสาท (neurosis) เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมได้

    มักเกิดขึ้นฉับพลัน ก่อนเกิดอาการมักมีสาเหตุที่กระตุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ ทั้งยังเป็นความแปรปรวนชนิดอ่อน ส่วนมากยังทำงานหรือเข้าสังคมได้ แต่สมรรถภาพไม่ดีเท่าที่ควร

    ประเภทของโรคประสาท แบ่งเป็น 8 ชนิด

    1.ชนิดวิตกกังวล มีอาการวิตกกังวลเป็นสำคัญ ไม่สบายใจ กล้ามเนื้อตึงเครียด ใจสั่น อาจตัวร้อน ชาเป็นแถบๆ หายใจไม่อิ่ม เบื่ออาหาร มีเหงื่อออกตามมือและเท้า ก่อนหลับมีอาการสะดุ้งคล้ายตกเหว

    2.ชนิดฮิสทีเรีย เกิดจากความขัดแย้งทางจิตใจหรือความวิตกกังวล เจ้าอารมณ์ หลงตัวเอง มีปัญหาทางเพศมาเกี่ยวข้อง

    3.ชนิดหวาดกลัว มีความกลัวอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ แสดงออกในรูปการเป็นลม อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ และอาการหายไปเมื่อพ้นสภาพการณ์

    4.ชนิดย้ำคิดย้ำทำ เกิดจากสภาวะที่ความวิตกกังวล ถูกแก้ไขด้วยการคิดหรือการกระทำบางอย่างซ้ำๆ กัน โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้

    5.ชนิดซึมเศร้า เป็นความแปรปรวนซึ่งมักเกิดจากความขัดแย้งภายในใจ หรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสีย ทำให้มีความรู้สึกเศร้า ขาดความสนใจ ความคิดช้า เคลื่อนไหวช้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้องผูก เป็นต้น

    6.ชนิดท้อแท้ อาการมีหลายแบบ ส่วนมากเป็นแบบท้อแท้ใจ หมดแรง ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ

    7.ชนิดบุคลิกภาพแตกแยก จะรู้สึกว่าส่วนของร่างกาย บุคลิกภาพตนเองเปลี่ยนแปลง รู้สึกสับสน ไม่รู้ตัวเองเป็นใคร

    8.ชนิดฮัยโปคอนดิเคิล มีความวุ่นวายเกี่ยวกับร่างกายและย้ำคิดเกี่ยวกับสุขภาพ

    ทั้งที่ร่างกายอยู่ในสภาพปกติเหมือนคนทั่วไป
     
  3. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ประสบการณ์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นทูลเกล้าถวายรัชกาลที่5 (หลวงพ่อเงินเสก และสร้างที่วังหน้า) เนื้อดำ ที่ผมบูชาจากพี่หนุ่ม
    บริจาคในกระทู้ขอความเมตตาต่อชีวิตพระเณร

    วันนั้นผมห้อยเดี่ยวหลวงพ่อเงินขับรถไปหาลูกค้าแถวนวนคร ถนน3เลนซึ่งผมอยู่เลนซ้ายสุดมีรถอยู่ข้างหน้าประมาณ 3 คัน เห็นรถมิตซูอีคาร์ขับมาอย่างเร็ว ปาดมาตั้งแต่เลนขวาสุดมาถึงเลนซ้ายสุด ปาดหน้ารถถึง 3 คันตกลงคูข้างทางรถพังเลย ไม่มีรถชนถูกสักคันน่าแปลกว่ารถทุกคันก็ขับเร็วแต่มีความรู้สึกเหมือนเคลื่อนช้าๆ พอขับเลยมาอีกหน่อยผมก็ขับตามรถ 10 ล้อ ช่วงที่ผมกำลังเปลี่ยนเลนออกข้างนอกทันใดนั้น ท่อไอเสียและไฟท้ายของรถ 10 ล้อ หลุดมาทั้งยวงเลยครับ รถฟอร์จูนเนอร์ขับมาเกือบชนถูก

    แคล้วคลาดจริงๆครับ เพราะมันเกิดระยะเวลาห่างกันไม่ถึง 2 นาที


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2007
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]
    ที่มา http://www.dailynews.co.th/dailynew...ult.aspx?ColumnId=36681&NewsType=2&Template=1

    <TABLE id=Table9 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left height=118><TABLE id=Table1 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff height=32><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>ถอดรหัสความปวด ?


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left>ความเจ็บปวดเป็นสัญญาณเตือนว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ดังนั้นจำเป็นที่เราจะต้องมีความรู้เบื้องต้นในการประเมินอาการปวดด้วยตัวเอง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับแพทย์ในการวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการปวดได้อย่างแม่นยำ

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย บอกว่า แนวทางในการสำรวจหรือประเมินอาการปวดมี 8 ข้อ ดังต่อไปนี้

    1.ตำแหน่งหรือบริเวณที่มีอาการปวด เช่น ปวดหลัง ปวดหัว ปวดท้อง เนื่องจากตำแหน่งทางกายภาพมักจะเป็นเวทีแสดงออกของอาการของอวัยวะตรงนั้นหรือใกล้เคียง

    2.ระยะเวลาที่มีอาการ ถ้าเป็นมานานกว่า 3 เดือน จะจัดอยู่ในประเภทปวดเรื้อรัง ปวดหลายกรณีก็สามารถหายเองได้ เช่น ปวดหัว ปวดหลัง แต่ถ้าเรื้อรังนอกจากไม่หายเองแล้วยังมักจะลุกลามหรือคุกคามไปถึงสภาพจิตใจ และบั่นทอนคุณภาพชีวิต ซึ่งการรักษามีรายละเอียดเพิ่มมากกว่ากลุ่มอาการปวดเฉียบพลัน

    3.ลักษณะของความปวด ได้แก่ ปวดตลอดเวลา หรือปวดเป็นพัก ๆ ได้แก่ ปวดจากการอักเสบมักจะปวดตลอดเวลา ปวดอวัยวะภายในที่เป็นท่อ เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ ท่อหลอดไต จะปวดเป็นพัก ๆ ปวดเมื่อย ปวดร้าว มักเป็นคุณสมบัติของปวดกล้ามเนื้อ ปวดขัดมักจะเกี่ยวกับข้อต่อ ปวดแสบปวดร้อน ปวดเหมือนไฟช็อตเป็นครั้งคราว เป็นลักษณะของระบบประสาท

    4.สิ่งกระตุ้นที่ทำให้มีอาการปวดร้าวมากขึ้น เช่น เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วเกิดอาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่ มักชวนให้คิดถึงโรคกระเพาะหรือเมื่อถูกแสงจ้า หรือได้กลิ่นหลังจากกินชีส หรือเกิดภาวะเครียด แล้วปวดหัว มักเป็นอาการไมเกรน

    5.สิ่งที่ช่วยบรรเทาให้อาการปวดหายไปหรือทุเลาลง อาการปวดของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อส่วนใหญ่จะหายหรือบรรเทาหลังจากพักการใช้งาน กล้ามเนื้อหรือกระดูกนั้น ๆ

    6.ความรุนแรงของความปวด หัวข้อนี้นอกจากบอกขนาดของอาการแล้ว ยังมีประโยชน์มากในการใช้เป็นมาตรวัดติดตามการดำเนินของโรคหรือผลของการรักษาว่าได้ผลหรือไม่ เราสามารถแบ่งความรุนแรง ออกเป็น ปวดน้อย ปวดปานกลาง และปวดมาก หรือลงรายละเอียดมากขึ้นโดยใช้มาตรวัดโดยเทียบกับตัวเลข 0-10 คือ 0 ไม่ปวดหรือหายปวดแล้ว 1-3 ปวดเล็กน้อย 4-6 ปวดปานกลาง 7-9 ปวดมาก และ 10 ปวดมากที่สุดเท่าที่จะทนได้

    7.อาการร่วมอื่น ๆ ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย มีไข้และนอนไม่หลับ

    8.สำรวจตัวเองว่า ความปวดครั้งนี้มีผลต่อคุณภาพชีวิตมากน้อยเพียงไร หมายถึงบั่นทอนกิจวัตรประจำวัน ประสิทธิภาพของการทำงานและการเข้าสังคม ตลอดจนส่งผลต่อสุขภาพจิตมากน้อยเพียงไร

    แปดข้อสั้น ๆ ที่กล่าวมานับว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำทางให้แพทย์มีความแม่นยำในการไขปริศนาถึงสาเหตุที่แท้จริงของความปวด และยังช่วยลดความจำเป็นของการตรวจค้นสาเหตุที่มีราคาแพงได้เป็นอย่างดี.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]
    ที่มา http://www.dailynews.co.th/dailynew...ult.aspx?ColumnId=35674&NewsType=2&Template=1

    <TABLE id=Table9 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left height=118><TABLE id=Table1 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff height=32><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>ปวดหลัง


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left>กระดูกสันหลังมีความสำคัญต่อร่างกายของคนเรามาก เพราะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อส่วนของลำตัวกับกระดูกเชิงกรานและขา 2 ข้าง การจะก้มเงยหลังหรือการบิดเอวไปมา รวม ทั้งการเดิน การนั่ง ล้วนต้องใช้กระดูกสันหลัง ดังนั้นถ้าเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้น อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมา

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ชลัท วินมูน ศัลยแพทย์กระดูก บอกว่า อาการปวดหลัง เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้

    กล้ามเนื้อสันหลัง กล้ามเนื้อสันหลังและเส้นเอ็นที่หลังจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างกระดูกข้อต่อสันหลังเข้าด้วยกัน การเดิน วิ่ง หรือยกของ ต้องใช้กล้ามเนื้อสันหลัง ถ้าใช้ผิดวิธี เช่น ยกของหนัก อาจทำให้บาดเจ็บได้ ซึ่งการปวดหลังจากกล้ามเนื้อสันหลัง เป็นสาเหตุของการปวดหลังที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในคนที่กล้ามเนื้อสันหลังไม่แข็งแรง อ้วน สูบบุหรี่ และคนที่ใช้กล้ามเนื้อผิดวิธี

    กระดูกสันหลังเสื่อม อายุ ที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการเสื่อมของอวัยวะ ต่าง ๆ เช่น กระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง จนเป็นสาเหตุของการปวดหลัง กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาทจะทำให้โพรงประสาทสันหลังตีบแคบ และเกิดการกดทับของเส้นประสาทไขสันหลังส่วนที่ไปขาทั้งสองข้าง ทำให้มีอาการ ปวดหลังร่วมกับปวดขา หรือชาขา

    ภาวะกระดูกพรุน ทำให้กระดูกสันหลังบาง เปราะ อาจมีกระดูกสันหลังยุบตัวลงและก่อให้เกิดอาการปวดหลัง

    หมอนรองกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลังจะเชื่อมระหว่างกระดูกสันหลัง 2 อันที่อยู่ติดกัน โดย จะทำหน้าที่เป็นตัวรับแรงกระแทก เมื่ออายุผ่านเข้าสู่วัยกลางคน จะเริ่มมีการเสื่อมทำให้มีอาการปวดหลังได้ ถ้าการฉีกขาดมีมากขึ้น อาจทำให้เกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน ทำให้เกิดอาการปวดหลังร่วมกับปวดขา

    กระดูกสันหลังเคลื่อน อาจเกิดจากการผิดปกติของกระดูกสันหลังเช่น กระดูกสันหลังบางส่วนไม่เชื่อมต่อกันในเด็กและวัยรุ่น หรืออาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมในคนสูงอายุ เมื่อกระดูกสันหลังเคลื่อนมากขึ้น อาจมีการกดทับเส้นประสาทจากกระดูกที่เคลื่อนได้

    การรักษาอาการปวดหลังโดยทั่วไปตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด การรักษาด้วยการผ่าตัดมักใช้ในกรณีที่การปวดเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือกระดูกสันหลังเสื่อมที่มีอาการกดทับเส้นประสาท ในกรณี ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์กระดูกและข้อเพื่อพิจารณาการรักษาที่เหมาะสม.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]
    ที่มา http://www.dailynews.co.th/dailynew...ult.aspx?ColumnId=33949&NewsType=2&Template=1

    <TABLE id=Table9 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left height=118><TABLE id=Table1 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff height=32><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>ฉลากโภชนาการ?


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left>เมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้เขียนมีโอกาสติดตามคณะของ อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ โฆษกสาธารณสุข และ รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปตรวจเยี่ยม โรงเรียนวัดช่องลม ยานนาวา กท. ซึ่งเป็น 1 ใน 41 โรงเรียนจาก 4 ภาค ที่กรมอนามัย และ สสส. ได้ร่วมกับกลุ่มภาคีเครือข่ายโภชนาการเชิงรุก ดำเนินงานรณรงค์การอ่านฉลากก่อนซื้อ โดยเฉพาะการอ่านข้อมูลโภชนาการข้างซองขนม หรือกล่องขนมกรุบกรอบประเภทต่าง ๆ

    อาจารย์สง่า ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้พบประชาชนไทยนิยมอาหารสำเร็จรูป และมีพฤติ กรรมการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะการ บริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งเป็นอาหารให้พลังงานสูงเกินความต้องการของร่างกาย รวมทั้งยังกินเค็มจัดมากขึ้น แต่กลับบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวและธัญพืชต่าง ๆ รวมทั้งอาหารประเภทผัก ผลไม้ ที่มีเส้นใยน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาการทำลายสุขภาพ เจ็บป่วยแบบเรื้อรังหลายโรค รวมทั้งโรคฟันผุ ทำให้เกิดการสูญเสียเศรษฐกิจตามมาอย่างมาก

    ฉลากโภชนาการที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ซึ่งระบุเป็นภาษาไทยทั้งหมด นับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ และนำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตัวเองได้ดียิ่งขึ้น แต่จากผลการสำรวจผู้บริโภคกรุงเทพมหานครหลายอาชีพ โดย รศ.ดร. ประไพศรี ปี 2548 พบว่า ประชาชน 40% ยังไม่เข้าใจความหมายของข้อมูลปริมาณสารอาหารที่ระบุอยู่บนฉลาก ส่วนใหญ่จะอ่านฉลาก ดูเฉพาะวันหมดอายุเท่านั้น มีเพียงกลุ่มอาชีพด้านสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ที่มักอ่านฉลากโภชนาการ

    ด้าน รศ.ดร.ประไพศรี บอกว่า หากเด็กสามารถอ่านฉลากโภชนาการเป็น จะทำให้เด็กรู้จักเลือกรับประทานในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สามารถเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน ซึ่งฉลากโภชนาการที่ข้างกล่อง หรือซองผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม อย. ไม่ได้บังคับ แต่เป็นความสมัคร ใจของผู้ประกอบการ จากการศึกษาพบว่า ขนม อาหารว่าง และเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่วางขายในท้องตลาด 78% ไม่มีฉลากโภชนาการบอกเอาไว้

    สารอาหารสำคัญที่ทุกคนควรรู้ใน 1 หน่วยบริโภค คือ น้ำตาล โซเดียม (เกลือ) ไขมันอิ่มตัว และพลังงาน

    การรับประทาน น้ำตาล ใน 1 หน่วยบริโภค ถ้าค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า 12 กรัมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ ถ้าปริมาณน้ำตาลมากกว่า 12 กรัมแต่ไม่เกิน 24 กรัม ถือว่าเกินเกณฑ์ คือ มีน้ำตาลสูงปานกลาง และถ้ามากกว่า 24 กรัมถือว่าสูงมาก

    โซเดียม (เกลือ) ถ้ามีปริมาณเท่ากับหรือน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมใน 1 หน่วยบริโภคถือว่าอยู่ในเกณฑ์ แต่ถ้ามากกว่า 100 มิลลิกรัมแต่ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ถือว่าสูงปานกลาง มากกว่า 200 มิลลิกรัมถือว่าสูงมาก

    ไขมันอิ่มตัว ใน 1 หน่วยบริโภค เท่ากับหรือน้อยกว่า 2.5 กรัม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ แต่ถ้ามากกว่า 2.5 กรัมแต่ไม่เกิน 5 กรัม อยู่ในเกณฑ์สูงปานกลาง และถ้ามากกว่า 5 กรัมถือว่าสูงมาก

    ส่วน พลังงาน ใน 1 หน่วยบริโภคเท่ากับหรือน้อยกว่า 150 กิโลแคลอรี่ ถือว่าอยู่ใน เกณฑ์ ถ้ามากกว่า 150 กิโลแคลอรี่แต่ไม่เกิน 200 กิโลแคลอรี่ ถือว่าสูงปานกลาง และมากกว่า 200 กิโลแคลอรี่ขึ้นไปถือว่าสูงมาก ดังนั้นถ้าข้างซอง ขนม ระบุว่า 3 หน่วยบริโภคก็นำจำนวนพลังงานคูณ เข้าไป เช่นถ้าข้างซองขนมระบุว่าให้พลังงาน 150 กิโลแคลอรี่ แสดงว่า 1 ซอง ให้พลังงาน 450 กิโล แคลอรี่ มิใช่ 150 กิโลแคลอรี่แต่อย่างใด

    จากฉลากโภชนาการที่กล่าวในข้างต้น มิได้หมายความว่า ใน 1 หน่วยบริโภค ถ้าน้ำตาล โซเดียม ไขมันอิ่มตัว และพลังงาน ไม่เกินเกณฑ์แล้วจะรับประทานได้จำนวนมาก เพราะมีข้อแนะนำว่า ใน 1 วันไม่ควรจะรับประทานเกิน 2 หน่วยบริโภค อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผลิตภัณฑ์อาหาร หรือเครื่องดื่มไม่แสดงฉลากโภชนาการ ผู้บริโภคควรดูส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่รับ ประทานเป็นสำคัญว่ามีอะไรบ้าง เช่น ถ้าฉลากโภชนาการระบุว่า มีส่วนผสมของแป้งสาลี เครื่องปรุงรส ไขมันอิ่มตัว น้ำตาล ไม่มีส่วนประกอบอื่นก็แสดงว่า มีแต่เค็ม มัน หวาน พลังงาน ไม่มีสารอาหารอย่างอื่นเลย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ที่มา http://www.dailynews.co.th/dailynew...ult.aspx?ColumnId=36680&NewsType=2&Template=1

    <TABLE id=Table9 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left height=118><TABLE id=Table1 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff height=32><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>งีบหลับกลางวันช่วยลดตายจากโรคหัวใจ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left>การงีบหลับตรงกับภาษาอังกฤษว่า Siesta มาจากภาษาสเปน หมายถึงการหลับไปชั่วขณะหนึ่งในระยะเวลาอันสั้น มัก จะเป็นช่วงกลางวันหลังจากทำงานมาด้วยความเหนื่อยล้า พอตื่นขึ้นมาจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แจ่มใสขึ้น แล้วทำการงานต่อไปด้วยความสดชื่น อารมณ์ดี งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    งีบหลับ เป็นการนอนระยะสั้น ๆ ราว 30 นาที เพียงเพื่อผ่อนคลายร่างกายจากความเครียดหรือปวดเมื่อย มิใช่อดหลับอดนอนมาแล้วมานอนชดเชยตอนกลางวัน หลับแบบนี้จะหลับลึก นอนนาน ตื่นมาถ้านอนไม่พอจะพลอยเวียนหัวไปด้วย ยิ่งไปนอนหลังอาหารกลางวันจะหลับเร็วและหลับลึกทันที ไม่ใช่งีบหลับจะหลับนานเอาจริง ๆ

    บ้านเราเป็นเมืองร้อน ตอนบ่ายการงีบหลับดูจะเป็นของธรรมดา จะพบได้ทั่วไป คนนั่งทำงานหรือนั่งอ่านหนังสือเผลอ ๆ ก็หลับงีบไป ตื่นมาก็ทำงานต่ออ่านหนังสือต่อไปอีกเป็นปกติ ผมเคยไปฝั่งลาว ตอนกลางวันยังมีร้านค้าบางแห่งปิดอยู่ สงสัยจะได้รับวัฒนธรรมของชาติตะวันตก ปิดร้านงีบหลับพักผ่อนชั่วคราวเหมือนกัน

    ที่มาคุยเรื่องงีบหลับในวันนี้ บังเอิญได้ไปอ่านวารสารทางแพทย์ (Arch Intern Med) เล่มต้นปีนี้ รายงานเกี่ยวกับการงีบหลับจะช่วยลดการตายจากโรคหัวใจลง และอีกเรื่องหนึ่งลงระยะเวลาใกล้กัน เกี่ยวกับเรื่องกินอาหารแบบประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จะช่วยลดอัตราตายจากการเป็นโรคหัวใจด้วยเช่นกัน

    ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ทำงานทั้งวัน เครียดทั้งวัน หากได้พักบ้าง คล้ายเครื่องยนต์ที่ทำงานตลอด พอได้ พักให้เครื่องคลายร้อนแล้วค่อยเริ่มต่อไปใหม่ ร่างกายก็เช่นเดียวกัน การงีบหลับได้พักทั้งกายหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว จิตก็สงบหยุดคิดฟุ้งซ่าน ทั้งกายและจิตหยุดให้สงบชั่วคราว หัวใจจะเต้นช้าลง ความดันจะลดลง ถ้าไม่พักทั้งความดันและชีพจรจะขึ้นอยู่ตลอด อัตราเสี่ยงต่อสุขภาพของหัวใจย่อมมากกว่าการไม่ได้พักแน่นอน

    ความจริงเรื่องการงีบหลับกลางวันในประเทศแถบร้อนทำกันเป็นปกติมานานแล้ว แต่ไม่มีใครวิจัยเอาตัวเลขมาบอกกล่าว เป็นธรรมชาติของคนเมืองร้อนเมื่อทำงานย่อมเสียเหงื่อ เพลีย ต้องการงีบหลับสักหน่อยเป็นธรรมดาโดยเฉพาะประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อากาศร้อนมากตอนกลางวัน จากอดีตที่ได้มีการบันทึกไว้ ผู้มีชื่อเสียง อาทิ นโปเลียน ก็งีบหลับช่วงพักระหว่างสงคราม โธมัส เอดิสัน, ลีโอนาโด ดาวินชี่, วินสตัน เชอร์ชิล ก็ยังชอบงีบหลับกลางวันด้วย

    ดร.นาสคา แห่งมหาวิทยาลัยเอเธนส์ ประเทศกรีซ กับ ดร.ทริโชปูโรส แห่งฮาวาร์ด สาธารณสุข บอสตัน อเมริกา ได้ร่วมกันวิจัย เรื่องการงีบหลับในคนกรีซ 23,681 คน ซึ่งปกติ
    กลุ่มคนเหล่านี้ที่ร่างกายปกติดี ไม่มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดมาก่อนในวัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุด้วย

    จากการติดตามผลโดยเฉลี่ยร่วม 7 ปี ปรากฏว่าพบอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดน้อยกว่า 37% จากคนปกติทั่ว ๆ ไปที่พบมา

    ดร.ทริโชปูโรส ได้เคยวิจัยเมื่อ 2 ปีมาแล้ว ลงในวารสารเดียวกัน เกี่ยวกับเรื่องอาหารของคนที่อยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนี้ด้วย อาหารจะเป็นแบบไขมันอิ่มตัวน้อย ใช้น้ำมันมะกอกกันมาก และกินอาหารปลาเป็นหลักมากด้วย ได้ติดตามในคนกรีซ 1,302 คน ระยะเวลาร่วม 4 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติโดยทั่วไปกับผู้ที่กินอาหารตามที่กำหนด พบว่าอัตราตายจากโรคหัวใจขาดเลือดลดลงถึง 31%

    จากรายงานทั้งสองเรื่องนี้ พอสรุปคร่าว ๆ ได้ว่า จากการทำงานของผู้คนโดยเฉพาะผู้สูงอายุถ้าให้มีการได้งีบหลับพักบ้างในระยะสั้น ๆ ในช่วงกลางวัน แทนที่จะตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และควบคุมอาหารที่มีไขมันน้อยเข้าไว้ จะทำให้ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดจนถึงเสียชีวิตลดลงได้

    ประเทศที่อยู่แถบร้อนกับการงีบหลับกลางวันบ้างดูเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทำให้อัตราเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือดจนถึงชีวิตลดลงโดยไม่รู้ตัว เมื่อมีผู้มารายงานให้รู้ก็เป็นเรื่องที่ดี ทำให้เราได้รู้เข้าใจมากขึ้น ข้อที่ต้องระมัดระวังก็คืออย่าไปงีบหลับในที่ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ใกล้เครื่องจักรยนต์ สถานที่สูง ริมถนน หรือเผลอไปตอนขับรถจะทำให้เกิดอันตรายได้.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ที่มา http://www.dailynews.co.th/dailynew...ult.aspx?ColumnId=36349&NewsType=2&Template=1

    <TABLE id=Table9 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left height=118><TABLE id=Table1 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff height=32><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>กินยาแก้ปวดนานทำลายตับถึงชีวิต


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left>ตับ เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย อยู่ส่วนบนของช่องท้อง บริเวณใต้กระบังลม มี 2 พู ด้านขวาใหญ่กว่าด้านซ้าย น้ำหนักราว 1.3-3 กก. นุ่ม สีชมพูอมน้ำตาล เนื้อของตับหากเกิดบาดเจ็บหรือเป็นโรคจนเสียหายไป เสียแล้วจะเสียเลยไม่มีสร้างขึ้นใหม่แทน

    หน้าที่ มีหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ผลิตน้ำดีเพื่อช่วยย่อยอาหาร ควบคุมกลไกการเปลี่ยนแปลงของอาหารคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่เข้าไปในกระแสเลือด สร้างปัจจัยให้เลือดแข็งตัว แปรสภาพของสารที่เป็นพิษและยาให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถขับออกไปได้ และอีกหลาย ๆ อย่าง มากมาย

    โรคของตับ มีหลายแบบ หลัก ๆ คือ การอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อ เชื้อโรคเข้าไปในร่างกายทั้งทางอาหารและทางกระแสโลหิต จากสารพิษ ที่พบบ่อยคือสารเคมีหรือยาทั้งกินหรือพ่นเป็นฝอยผ่านทางจมูก จากเรื่องพันธุกรรมและภูมิแพ้ตัวเอง ตับแข็ง เป็นผลจากเชื้อไวรัสที่เข้าไป เช่น ไวรัสตับ B และ C ที่พบกันบ่อย ลงท้ายจะไปอยู่ในตับเป็นรังเก็บเชื้อขนาดใหญ่ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งตับภายหลังได้ นอกจากนี้ยังมีจากดื่มสุราเรื้อรังและจากสารพิษต่าง ๆ อีกด้วย

    ที่คุยเรื่องตับในวันนี้ อยากให้ระมัดระวังในการกินยานาน ๆ ยาทุกตัวตับต้องทำงานเพื่อสลายขับออก กินชั่วระยะหนึ่งเท่าที่จำเป็นคงไม่เป็นไร หากกินพร่ำเพรื่อโดยไม่จำเป็น จะเกิดการสะสม นานเข้าทำให้ตับเสียหน้าที่ ลงท้ายรายที่รุนแรงจะเกิดตับวายมีอันตรายถึงชีวิตได้

    บังเอิญได้พบคนไข้เรื่องนี้พอดี เลยขอเล่าให้ฟัง คนไข้ชายอายุ 47 ปี มีประวัติเป็นไข้ต่ำ ๆ ทุกวันและปวดบริเวณทรวงอกตอนกลาง อยู่ต่างจังหวัด ได้ไปให้แพทย์ตรวจอย่างสม่ำเสมอมาตลอดก็ยังหาสาเหตุไม่พบว่าจากเหตุใด ระหว่างรอผลอยู่ก็กินยาแก้ปวด Paracetamal ไปด้วย เป็นคนรักงาน รับผิดชอบงานสูงมาก พอกินยาระงับปวดแล้วก็สบายทำงานได้เป็นปกติ พอหมดฤทธิ์ยาไข้ไม่หาย จึงกินยาไปเรื่อย ๆ และมีอาการท้องเสียบ่อย ๆ เป็น ๆ หาย ๆ มาตลอด

    คนไข้รายนี้มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบมาก่อน ไม่ได้เฉลียวใจว่าการสะสมพิษของยาแก้ปวดไปเรื่อย ๆ จะไปทำลายเซลล์ของตับให้เพิ่มขึ้น เพียงระยะ 2 เดือน น้ำหนักลดไปร่วม 10 กก. จากเบื่ออาหาร กินไม่ค่อยลง แต่ก็ยังทำงานได้เป็นปกติ

    เมื่อคนไข้ถูกย้ายจากต่างจังหวัดมาอยู่แผนกศัลยกรรม รพ.ราชวิถี แพทย์ได้ตรวจจนพบสาเหตุของไข้ที่ขึ้นทุกวันนั้น เกิดจากต่อมน้ำเหลืองในทรวงอกโตและอักเสบ รวมทั้งเรื่องตับอักเสบร่วมด้วย ตรวจหน้าที่ของตับสูญเสียหน้าที่ไป มาก ถ้าเปรียบเทียบตับเหมือนเป็นโรงงานโรงหนึ่ง เครื่องในโรงงานเสียไปหมดแล้ว ตัวเอนไซม์แสดงหน้าที่ของตับ SGPT, SGOT ปกติไม่เกิน 40 หน่วยได้ขึ้นไปถึง 685 หน่วย ตาเหลืองชัดเจน ที่สำคัญหน้าที่ในการสร้างเกล็ดเลือดให้เลือดแข็งตัวได้เสียไปด้วย

    แพทย์ให้การวินิจฉัยคนไข้รายนี้ว่า ตับอักเสบจากพิษของยาระงับปวดที่กินมานานร่วม 2 เดือน ไข้มีสาเหตุมาจากเรื่องต่อมน้ำเหลืองโตในทรวงอก และที่ท้องเสียบ่อย ๆ ก็เกิดจากแผลในลำไส้ใหญ่ที่เนื้องอกลุกลามไปนั่นเอง

    เรื่องต่อมน้ำเหลืองโตในทรวงอก เป็นโรคอย่างหนึ่งที่สามารถให้การรักษาได้ผลดีทางเคมีบำบัดหรือรังสี ที่ผ่าน ๆ มาเห็นมีอายุยืนยาวด้วยกันทั้งนั้น แต่เป็นที่น่าเสียดายและเสียใจสำหรับคนไข้รายนี้ที่ ภาวะตับเสีย ทำให้เกิดการตกเลือดในลำไส้ใหญ่อย่างมาก แม้แพทย์จะได้ใส่กล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อหนีบเส้นเลือดที่ไหลออกจนหยุดแล้วก็ตาม ภาวะตับเสียทำให้ไตหยุดทำงานไปด้วย ทีมแพทย์ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันเต็มที่ พร้อมทั้งฟอกไตด้วย สุดท้ายก็มิอาจช่วยให้ชีวิตยืนยาว อยู่ต่อไปอีกได้ ทุกคนเสียดายและเสียใจอย่างมากเพราะอายุยังน้อย และอาการตกเลือดเกิดเร็วมากเป็นแบบเฉียบพลัน รวมเวลาอยู่ใน รพ. 2 อาทิตย์

    คนไข้รายนี้มองทางวิชาการเป็นตัว อย่างของผู้ที่กินยาแก้ปวดนานเกินไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยาทุกชนิดโดยเฉพาะยาแก้ปวดทำให้ตับต้องทำงานมากขึ้นเพื่อขับออก ยิ่งตับเคยอักเสบเก่าอยู่ด้วยจะทำให้ตับทำงานมากขึ้น คนไข้รายนี้ถือเป็นวิทยาทานอันยิ่งใหญ่ที่ให้เราพึงระลึกไว้ว่า การกินยาแก้ปวดหรือยาอื่นใดระยะยาวก็ตาม ควรต้องปรึกษาแพทย์ไว้ด้วยเสมอ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3025
    โดย ลูกโป่ง


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    อิทธิบาท ๔

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย ได้ทรงเป็นพระภควาที่เราแปลทับศัพท์มาเป็นไทยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งมีความหมายประการหนึ่งว่าผู้จำแนกแจกธรรมสั่งสอนประชาชน ดังที่ได้ทรงจำแนกธรรมะออกเป็นหมวดธรรมต่างๆ และที่ตรัสรวมเข้าเป็นหมวดโพธิปักขิยธรรม ซึ่งกำลังแสดงอยู่นี้ ได้แสดงมาแล้วในหมวดที่ ๑ คือสติปัฏฐาน ๔ หมวดที่ ๒ คือ สัมมัปปธาน ๔ วันนี้จะแสดงหมวดที่ ๓ คือ อิทธิบาท ๔

    คำว่า อิทธิบาท นั้น อิทธิเราแปลกันเป็นไทยอย่างหนึ่งว่าฤทธิ์ ดังที่มีแสดงไว้ในพุทธศาสนาเช่น อภิญญา ๖ วิชชา ๘ ซึ่งมีข้อ อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ดั่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่องพระโมคคัลลานะเป็นเอตทัคคะ คือเป็นพระสาวกผู้เลิศในทางมีฤทธิ์มาก


    ๏ ทางแห่งความสำเร็จ

    อีกอย่างหนึ่งคำว่า อิทธิ แปลว่าความสำเร็จ ความสำเร็จแห่งการปฏิบัติ ขั้นหนึ่งๆ ก็เป็นอิทธิอย่างหนึ่ง จนถึงเป็นความสำเร็จอย่างสูง คือสำเร็จความรู้ธรรมเห็นธรรม อันเป็นภูมิอริยชน จนถึงความตรัสรู้อันเป็นความรู้สูงสุดในพุทธศาสนา ก็เป็นอิทธิคือความสำเร็จ คำว่า บาท นั้นแปลตามศัพท์ว่า เหตุที่ให้บรรลุถึง เหตุที่ให้ถึง อันได้แก่ปฏิปทาคือทางปฏิบัติ หรือมรรคคือทาง บาท แห่งอิทธิ ก็คือเหตุที่ให้บรรลุถึงความสำเร็จ หรือบรรลุถึงฤทธิ์ ทางปฏิบัติมรรคาคือทางแห่งฤทธิ์ หรือแห่งความสำเร็จ

    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอิทธิบาทไว้ ๔ ประการ คืออิทธิบาทอันประกอบด้วย ความประกอบความเพียรด้วยสมาธิ ที่มีฉันทะคือความพอใจยังให้บังเกิดขึ้น ข้อ ๑ อิทธิบาทอันประกอบด้วย ความประกอบความเพียรด้วยสมาธิ ที่มีวิริยะคือความเพียรยังให้บังเกิดขึ้น ข้อ ๑ อิทธิบาทอันประกอบด้วยความเพียรด้วยสมาธิที่มีจิตตะความเอาใจใส่ยังให้บังเกิดขึ้นข้อ ๑ อิทธิบาทอันประกอบด้วยความประกอบความเพียรด้วยสมาธิ ที่มีวิมังสาความใคร่ครวญไตร่ตรองยังให้บังเกิดขึ้นข้อ ๑ เป็นอิทธิบาท ๔ ประการ

    เพราะฉะนั้น อิทธิบาททั้ง ๔ ที่มาพูดย่อๆ ว่า ได้แก่ ฉันทะ ความพอใจ วิริยะ ความเพียร จิตตะ ความเอาใจใส่ วิมังสา ความไตร่ตรองพิจารณา จึงเป็นการกล่าวอย่างย่อๆ


    ๏ ปธานะสังขาระ

    แต่เมื่อกล่าวตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เอง ก็เป็นไปดั่งที่ได้ยกมาแสดงในเบื้องต้นนั้น คืออิทธิบาทนั้นมิใช่มีความสั้นๆ เพียง ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา แต่ว่าจะเป็นอิทธิบาทได้ต้องประกอบด้วย ความประกอบความเพียร มาจากคำบาลีว่า ปธานะสังขาระ หรือ ปธานสังขาร

    คำว่า ปธานะ ก็คือสัมมัปปธาน ๔ อันเป็นหมวดที่ ๒ นั้น สังขาระ คือสังขาร ก็ได้แก่สังขารคือความปรุงแต่ง ในที่นี้ใช้แปลว่าความประกอบ เพราะความประกอบนั้นก็คือปรุงแต่งนั้นเอง อย่างเช่น ประกอบไม้ให้เป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ เป็นบ้านเป็นเรือน ก็คือเอาของหลายๆ อย่างมาประกอบกันเข้า ก็มีความหมายตรงกับคำว่าความปรุงแต่ง ซึ่งมีความหมายว่าต้องมีหลายอย่างมาประกอบกันเข้า อย่างปรุงอาหารก็ต้องมีของหลายอย่าง มาต้มมาแกงปรุงเป็นอาหารขึ้น เพราะฉะนั้น คำว่าความประกอบหรือความปรุงแต่ง จึงมีความหมายเป็นอันเดียวกัน และออกมาจากคำเดียวกันว่า สังขาร หรือ สังขาระ ความปรุงแต่งหรือความประกอบ ปธานสังขาร ก็คือประกอบความเพียร อันได้แก่สัมมัปปธาน ๔ ที่แสดงแล้ว

    เพราะฉะนั้น คำว่าอิทธิบาทนั้นจึงรวมสัมมัปปธาน ๔ เข้ามาด้วย แต่ว่ามีขยายความออกไปว่า ความประกอบปธานะคือความเพียรนั้น ประกอบด้วยสมาธิที่มี ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ยังให้บังเกิดขึ้น ก็คือธรรมะทั้ง ๔ ข้อนี้ อันได้แก่ฉันทะวิริยะจิตตะวิมังสา ยังให้เกิดสมาธิขึ้น คือความตั้งใจมั่น ไม่กลับกลอกคลอนแคลน

    สมาธิคือความตั้งใจมั่นนี้ที่ธรรมะทั้ง ๔ ข้อนั้นให้บังเกิดขึ้น ก็ทำให้เกิดความประกอบความเพียร อันเป็นสัมมัปธานทั้ง ๔ ข้อนั้น เพราะฉะนั้นฉันทะวิริยะจิตตะวิมังสา จึงเป็นอธิปไตยคือเป็นใหญ่ อันจะนำให้เกิดสมาธิความตั้งใจมั่นเพื่อประกอบความเพียร อันเป็นสัมมัปปธานทั้ง๔ นั้น เมื่อเป็นดั่งนี้ จึงจะเป็นปฏิปทาความปฏิบัติหรือทางปฏิบัติ เป็นมรรคคือมรรคา คือทางแห่งอิทธิความสำเร็จ หรือแห่งฤทธิ์ทั้งหลาย


    ๏ อิทธิบาทเป็นเหตุให้สัมมัปปธานสำเร็จได้

    ในหมวดสัมมัปปธาน ๔ นั้นก็ได้มีเริ่มตรัสท้าวมาถึงอิทธิบาททั้ง ๔ นี้ด้วยแล้ว คือดังที่ตรัสไว้ว่า ยังฉันทะคือความพอใจให้เกิดขึ้น พยายามเริ่มความเพียร ประคองจิตตั้งความเพียรขึ้นมา ในการระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ในการละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ในการยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ในการรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว และปฏิบัติเพิ่มเติมให้บริบูรณ์

    เพราะฉะนั้น ครั้นตรัสสัมมัปปธาน ๔ และมีท้าวมาถึงอิทธิบาท อันเป็นอุปการธรรมในการปฏิบัติสัมมัปปธานทั้ง ๔ นั้นด้วยแล้ว จึงมาตรัสถึงหมวดอิทธิบาท ๔ นี้ และก็ได้ตรัสว่าประกอบด้วย ความประกอบปธานะทั้ง ๔ นั้น ที่ตรัสว่า ปธานะสังขาระ ความประกอบความเพียร ด้วยสมาธิที่มีฉันทะวิริยะจิตตะวิมังสาให้บังเกิดขึ้น

    เพราะฉะนั้น เมื่อแสดงความให้เนื่องกันแล้วจึงกล่าวได้ว่า อิทธิบาทดังที่ตรัสไว้นี้เองเป็นเหตุให้ประกอบปธานะ คือสัมมัปปธานทั้ง ๔ นั้นสำเร็จขึ้นได้ และความต้องการของอิทธิบาทในที่นี้ก็คือว่า เป็นเหตุให้ประกอบความเพียร อันเป็นสัมมัปปธานทั้ง ๔ นั้นได้สำเร็จ

    โดยอาศัยฉันทะสมาธิ วิริยะสมาธิ จิตตะสมาธิ วิมังสาสมาธิ คือสมาธิที่มีฉันทะวิริยะจิตตะวิมังสายังให้บังเกิดขึ้น


    ๏ สมาธิในสัมมัปปธาน

    และเมื่อกล่าวจำเพาะสมาธิก็กล่าวได้ว่า ในการประกอบความเพียรอันเป็นสัมมัปปธานทั้ง ๔ นั้น จะต้องมีสมาธิ คือความตั้งใจมั่นเพื่อที่จะประกอบความเพียร เพื่อประกอบความเพียรอันเป็นสัมมัปธานทั้ง ๔ ข้อนั้น ถ้าขาดสมาธิเสียแล้วความประกอบความเพียรอันเป็นสัมมัปปธาน ๔ นั้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะว่าจิตใจนี้ไม่ตั้งเพื่อที่จะทำให้สัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้บังเกิดขึ้น คือจิตนี้ไม่ตั้งมั่นในอันที่จะระมัดระวัง อันเรียกว่า สังวรปธาน ในอันที่จะละ อันเรียกว่า ปหานปธาน ในอันที่จะปฏิบัติให้มีให้เป็นขึ้น อันเรียกว่า ภาวนาปธาน ในอันที่จะรักษากุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นไว้ไม่ให้เสื่อม และให้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ จึงต้องมีสมาธิคือความตั้งจิตมั่นในอันที่จะประกอบความเพียร สมาธิในที่นี้จึงมีความหมายว่าความตั้งจิตมั่นที่จะประกอบความเพียรทั้ง ๔ ข้อนั้น ไม่เปลี่ยนจิตเป็นอย่างอื่น

    เพราะฉะนั้น จึงไม่หมายถึงการที่มานั่งปฏิบัติ ภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างที่เรียกว่าทำสมาธิกันทั่วๆ ไป แต่หมายเอาถึงความที่ตั้งจิตมั่นในอันที่จะประกอบความเพียร เมื่อมีความตั้งจิตมั่นดั่งนี้แล้ว การประกอบความเพียรอันเป็นสัมมัปปธานทั้ง ๔ ซึ่งตรัสเรียกในหมวดอิทธิบาทนี้ว่า ปธานสังขาร ปรุงแต่งความเพียร หรือประกอบความเพียร จึงจะบังเกิดขึ้นได้ แต่ว่าสมาธินั้นก็จำต้องอาศัยความมีฉันทะวิริยะจิตตะวิมังสาทั้ง ๔ ข้อนี้ มาทำให้บังเกิดเป็นสมาธิขึ้น ถ้าขาดทั้ง ๔ ข้อนี้ สมาธิคือความตั้งจิตมั่นในอันที่จะประกอบความเพียรก็ไม่บังเกิด


    ๏ ความเนื่องกันของธรรมปฏิบัติ

    เพราะฉะนั้น ธรรมะทั้ง ๔ ข้อนี้จึงมีความสำคัญ อันจะเป็นอุปการะแก่ความประกอบความเพียรทั้ง ๔ หากว่าจะกล่าวให้เนื่องกันมาจากสติปัฏฐาน ก็กล่าวได้ว่า สติปัฏฐานทั้ง ๔ นั้นเป็นข้อธรรมที่เป็นที่ตั้งของความปฏิบัติตั้งสติ เป็นหลักในการปฏิบัติธรรมทางจิต หรือว่าจิตภาวนา เป็นข้อปฏิบัติทางจิตภาวนาที่เป็นตัวหลัก หลักสำคัญ แต่ว่าจะต้องอาศัยอุปการะธรรมคือสัมมัปปธาน ๔ มาเป็นเครื่องอุปการะ ให้การปฏิบัติในสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้บังเกิดขึ้น เป็นไป และก้าวหน้า จนกระทั่งสำเร็จเป็นสติปัฏฐานทั้ง ๔ ขึ้นได้

    และสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้เล่า ก็ต้องมีอิทธิบาททั้ง ๔ นี้เป็นอุปการะ ถ้าขาดสัมมัปปธาน ๔ สติปัฏฐานก็มีไม่ได้ จึงต้องมีสัมมัปปธาน ๔ ช่วย ถ้าขาดอิทธิบาททั้ง ๔ สัมมัปปธานทั้ง ๔ ก็มีไม่ได้ จะต้องมีอิทธิบาท ๔ ช่วย คือจะต้องมีฉันทะคือความพอใจในความประกอบความเพียร รักที่จะประกอบความเพียร ไม่เกลียดความประกอบความเพียร ไม่รังเกียจความประกอบความเพียร ไม่เฉยๆ ต่อความประกอบความเพียร ต้องมีความพอใจความรักที่จะประกอบความเพียร ข้อ ๑

    ต้องมีวิริยะคือความเพียร คือความกล้าที่จะประกอบความเพียร วิริยะนั้นแปลว่าความกล้า และวิริยะคือความกล้านี้ก็ตรงกันข้ามกับความไม่กล้า คือความย่อหย่อน อันหมายถึงความเกียจคร้าน จะต้องมีความไม่เกียจคร้าน ความขยันลุกขึ้นประกอบความเพียร ก็คือมีจิตใจที่กล้าที่แข็ง ในอันที่จะประกอบกระทำความเพียรนั้นเอง ข้อ ๑

    ต้องมีจิตตะคือมีจิต จิตที่ตั้งคือเอาใจใส่ดูแล จิตใจไม่ทอดทิ้งแต่จิตใจตั้งดูแล ถ้าขาดจิตใจตั้งดูแล จิตใจทอดทิ้งแล้ว ก็เกิดความประกอบความเพียรขึ้นไม่ได้ หรือเกิดขึ้นได้ก็ย่อหย่อน เพราะเมื่อไม่มีจิตเข้าประกอบก็เป็นไปไม่ได้ ต้องมีจิตเข้าประกอบ จิตต้องตั้งมั่น แน่วแน่ และดูแล ข้อ ๑

    ต้องมีวิมังสาคือจิตที่ตั้งมั่นนั้นจะต้องดูแล ก็คือต้องมีวิมังสาคือความใคร่ครวญพิจารณา ให้รู้จักทางและมิใช่ทาง ให้รู้จักการปฏิบัติที่ตั้งขึ้นได้ หรือไม่ตั้งขึ้นได้ ที่ก้าวหน้าหรือถอยหลัง ด้วยเหตุอะไร จะต้องรู้ ในการปฏิบัติประกอบความเพียรของตน โดยเหตุโดยผล โดยถูกทางโดยผิดทาง อะไรที่เป็นเหตุให้ย่อหย่อนเป็นเหตุให้ผิดทาง ก็ต้องรู้ อะไรที่เป็นเหตุให้ความประกอบความเพียรตั้งอยู่และก้าวหน้า เมื่อถูกทางก็ให้รู้ เพื่อว่าความประกอบความเพียรนั้นจะได้ดำเนินขึ้นได้ และเป็นไปโดยถูกต้องไม่ผิดทาง


    ๏ ผลหลายอย่างในการปฏิบัติ

    เพราะฉะนั้นทั้ง ๔ ข้อนี้สำคัญทั้งนั้น เพราะในการประกอบความเพียรนั้น จะต้องประสบกับผลที่บังเกิดขึ้นหลายอย่าง เป็นผลของกิเลสอันปฏิปักษ์ต่อสัมมัปปธาน คือความประกอบความเพียรที่ชอบก็มี เป็นผลของตัวความเพียรก็มี ซึ่งให้ผลปรากฏเป็นสุขก็มี เป็นทุกข์ก็มี และบังเกิดความประสบการณ์ในการปฏิบัติ ซึ่งมีเป็นขั้นตอน อาจจะเห็นนั่นเห็นนี่ในภายนอกก็มี จะต้องมีวิมังสาคือความใคร่ครวญพิจารณา ว่าสิ่งที่รู้ที่เห็นในระหว่างปฏิบัตินั้น บางอย่างก็เป็นอุปกิเลส คือเป็นเครื่องเศร้าหมองของปฏิปทาที่ปฏิบัติไปสู่ความตรัสรู้

    ถ้าหากว่าขาดปัญญาที่รู้จักก็ไปสำคัญตนว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ บางทีก็ไปเกิดความกลัวเมื่อไปพบนิมิตที่น่ากลัว บางทีก็เกิดความเข้าใจผิดในเมื่อได้ประสบกับปีติสุขต่างๆ ที่บังเกิดขึ้น

    ดังที่มีเล่าถึงว่าท่านที่ปฏิบัติธรรมในป่าบางท่าน เมื่อท่านปฏิบัติไปได้รับความรู้และความสุข จิตใจปลอดโปร่งสะอาด ถึงกับร้องขึ้นว่าเราสำเร็จแล้วดังนี้ก็มี และต่อมาเมื่อถึงวันรุ่งขึ้นจึงรู้สึกว่ายังไม่สำเร็จ เพราะในขณะที่จิตบริสุทธิ์สะอาดนั้นรู้สึกเหมือนไม่มีกิเลส แต่เมื่อพ้นจากการปฏิบัตินั้นแล้ว จิตกลับสู่ภาวะปรกติรับอารมณ์ทั้งหลาย จึงรู้ว่ายังมียินดียินร้าย ยังไม่สำเร็จ อย่างนี้ก็มี จึงต้องมีวิมังสาความใคร่ครวญพิจารณานี้ อันเป็นข้อสำคัญ และเมื่อมีทั้ง ๔ ข้อนี้แล้ว ก็ทำให้ได้สมาธิคือความตั้งใจมั่น ในอันที่จะประกอบความเพียร ความประกอบความเพียรจึงบังเกิดขึ้นได้

    ดั่งนี้แหละจึงกล่าวได้ว่าเป็นอิทธิบาท ซึ่งมีฉันทะเป็นใหญ่เรียกว่าฉันทาธิบดี มีวิริยะเป็นใหญ่เรียกว่ามีวิริยาธิบดี มีจิตตะเป็นใหญ่เรียกว่ามีจิตตาธิบดี มีวิมังสาเป็นใหญ่เรียกวิมังสาธิบดี ก็จะนำให้ได้สมาธิในการประกอบความเพียร แล้วก็ทำให้ประกอบความเพียร ซึ่งเป็นสัมมัปปธานะ นำให้การปฏิบัติในสติปัฏฐานนั้นสำเร็จอิทธิ คือความสำเร็จในการปฏิบัติดังกล่าว ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป



    .......................................................

    คัดลอกมาจาก
    เทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
    http://www.mahayana.in.th/tsavok/tsavok.html </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3564
    โดย ธรรมจักร
    ผู้เยี่ยมชม


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    ได้แสดงอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นปัพพะคือข้อที่สุด ในหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร และได้แสดงอธิบายข้อที่ ๔ คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเรียกสั้นว่ามรรคมีองค์ ๘ ซึ่งก็ได้จำแนกแสดงแล้ว และก็พึงทราบเพิ่มเติม ดั่งที่จะได้แสดงในวันนี้


    ๏ มัชฌิมาปฏิปทา

    มรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นหลักปฏิบัติธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ตั้งแต่ในปฐมเทศนา เทศนาครั้งแรก ว่าพระองค์ได้ทรงพบทางอันเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ตั้งแต่ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ คือสัตว์ผู้ที่จะได้ตรัสรู้ หรือผู้ที่ยังข้องอยู่เพื่อที่จะได้ตรัสรู้

    และได้ทรงปฏิบัติไปตามทางอันเป็นมัชฌิมาปฏิปทานี้ จึงได้ตรัสรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ ที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ก็ได้มีพระพุทธาธิบายไว้ด้วยในปฐมเทศนานั้นว่า คือเป็นทางปฏิบัติที่อยู่ตรงกลางระหว่างทางปฏิบัติที่สุดโต่งสองข้าง คือกามสุขัลลิกานุโยค ความประกอบอยู่ด้วยความสุขสดชื่นในกาม เป็นสุดโต่งทางหนึ่ง กับอัตตกิลมถานุโยค ความประกอบทรมานตนให้ลำบาก อีกทางหนึ่ง

    พระพุทธเจ้าเองก่อนจะตรัสรู้ ในชั้นแรกยังมิได้ออกทรงผนวช ก็ทรงประทับอยู่ด้วยกามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนด้วยความสุขสดชื่นในกามอย่างชาวบ้านชาวเมืองทั่วไป และเมื่อเสด็จออกทรงผนวช ได้ทรงเข้าศึกษาในสำนักของท่านอาจารย์ทั้งสอง คืออาฬารดาบส และอุททกดาบส ซึ่งท่านเป็นผู้บรรลุชำนาญในสมาบัติ ๗ สมาบัติ ๘ แต่ทรงเห็นว่ายังไม่เป็นทางแห่งความตรัสรู้ จึงเสด็จออก และทรงเลือกบำเพ็ญทุกรกิริยา คือทรมานกายให้ลำบากมีประการต่างๆ อันนับว่าเป็นทางสุดโต่งในด้านอัตตกิลมถานุโยค การทรมาณตนให้ลำบาก เป็นอันว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติมาแล้วทั้งสองทาง ทั้งกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค แต่ก็ไม่อาจที่จะตรัสรู้ได้ จึงได้ทรงพบทางที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ไม่ข้องแวะด้วยทางที่เป็นกามสุขัลลิกานุโยค ประกอบตนด้วยความสุขสดชื่นในกาม และอัตตกิลมถานุโยค ประกอบทรมานตนให้ลำบาก อันได้แก่มรรคมีองค์ ๘ นั้นเอง


    ๏ ทางปฏิบัติให้ได้ดวงตาเห็นธรรม

    ทรงพบขึ้นด้วยพระองค์เอง และก็ได้ทรงดำเนินไปในทางที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือมรรคมีองค์ ๘ นี้ ซึ่งเป็นเครื่องกระทำให้ได้จักษุดวงตาเห็นธรรม เป็นเครื่องกระทำให้ได้ญาณคือความหยั่งรู้ในธรรม จึงได้ตรัสรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ และมัชฌิมาปฏิปทาคือมรรคมีองค์ ๘ ก็ตรัสว่าเป็นอริยสัจจ์ข้อที่ ๔ คือเป็นทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์


    ๏ ไตรสิกขา

    ฉะนั้น จึงได้ตรัสมรรคมีองค์ ๘ นี้ตั้งแต่ในปฐมเทศนา ก่อนที่จะได้ทรงแสดงไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ได้ทรงแสดงในตอนหลังต่อมา และศีลสมาธิปัญญาคือไตรสิกขา สิกขาทั้ง ๓ คือข้อที่พึงศึกษาคือสำเหนียก เมื่อยังไม่รู้ก็สำเหนียกให้รู้ เมื่อยังมิได้ปฏิบัติก็สำเหนียกปฏิบัติให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น อันเรียกว่าไตรสิกขานี้ก็ได้นับถือเป็นหลักปฏิบัติโดยย่อ เป็นที่รวมของธรรมปฏิบัติทั้งสิ้น

    และมรรคมีองค์ ๘ นี้เองก็ย่อเข้าในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ได้

    สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ย่อเข้าใน ปัญญาสิกขา

    สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ ย่อเข้าใน สีลสิกขา

    สัมมาวายามะเพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกได้ชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ สงเคราะห์เข้าใน จิตตสิกขา คือสมาธิ

    เพราะฉะนั้น ในมรรคมีองค์ ๘ จึงได้จัดลำดับปัญญาสิกขาไว้เป็นที่ ๑ สีลสิกขาไว้เป็นที่ ๒ จิตตสิกขาคือสมาธิไว้เป็นที่ ๓ ฉะนั้น จะได้แสดงอธิบายไตรสิกขาตามหลักของมรรคมีองค์ ๘


    ๏ ปัญญาสิกขา

    ปัญญาสิกขาอันได้แก่สัมมาทิฏฐิก็ได้แก่ ญาณคือความหยั่งรู้จักทุกข์ ญาณคือความหยั่งรู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ ญาณคือความหยั่งรู้จักนิโรธความดับทุกข์ ญาณคือความหยั่งรู้จักทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง

    ปัญญาสิกขานี้ก็ได้แก่ เนกขัมมสังกัปปะ ความดำริออกจากเครื่องพัวพันทั้งหลาย อัพยาปาทสังกัปปะ ความดำริไม่พยาบาทปองร้าย อวิหิงสาสังกัปปะ ความดำริไม่เบียดเบียน ญาณคือความหยั่งรู้จักอริยสัจจ์ทั้ง ๔ อันเป็นสัมมาทิฏฐิ และสังกัปปะคือความดำริทั้ง ๓ ดำริออกจากเครื่องพัวพันทั้งหลาย ดำริไม่ปองร้าย ดำริไม่เบียดเบียน ซึ่งเป็นสัมมาสังกัปปะ จัดเป็นปัญญาสิกขา


    ๏ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

    เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการปฏิบัติในปัญญาสิกขาตามหลักของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือข้อสัมมาทิฏฐิ ก็หัดพิจารณาทำความรู้จักทุกข์ รู้จักเหตุเกิดทุกข์ รู้จักความดับทุกข์ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั่นแหละ อันเป็นปริยัติ หมั่นพิจารณาเพื่อที่จะให้ได้เกิดปัญญา คือความหยั่งรู้ขึ้นที่ตนเองด้วยตนเอง อันเป็นปฏิบัติ และจนถึงสามารถเจาะแทงอวิชชาโมหะ ทำความรู้แจ่มแจ้งในอริยสัจจ์ ให้บังเกิดขึ้นตามภูมิตามชั้น จึงนับเป็นปฏิเวธ นี้เป็นการหัดปฏิบัติทำปัญญาสิกขาตามหลักของสัมมาทิฏฐิ

    และหัดปฏิบัติในความดำรินึกคิดตริตรองไปในทางออกอยู่เสมอ ไม่ยอมให้ติดข้องพัวพันอยู่ในกามคุณารมณ์เป็นต้น หัดทำใจออกจากความผูกพันเกี่ยวเกาะดังกล่าวนี้อยู่เสมอ และหัดดำริไปในทางที่ไม่ปองร้าย แต่ให้ประกอบด้วยเมตตากรุณาแผ่ออกไป หัดดำริคิดนึกตรึกตรองในทางไม่เบียดเบียน แต่ให้เป็นไปในทางช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งก็สงเคราะห์เข้าในเมตตากรุณาคล้ายๆ กัน

    แต่อวิหิงสาวิตก หรืออวิหิงสาสังกัปปะ ความดำริในทางไม่เบียดเบียน ท่านมุ่งแสดงแยกออกมาด้วยต้องการที่จะแยกว่า อันความคิดเบียดเบียนนั้นเป็นไปด้วยโมหะคือความหลง ส่วนความคิดปองร้ายนั้นเป็นไปด้วยโทสะ

    เพราะฉะนั้น ดับโทสะก็ด้วยอาศัยเมตตากรุณา ดับวิหิงสาก็ด้วยอาศัยปัญญา คือแม้ว่าจะไม่มีโทสะโกรธแค้นขัดเคือง แต่ทำไปด้วยโมหะคือความหลง ก็เป็นไปเพื่อเบียดเบียนใครต่อใครให้เป็นทุกข์ได้

    เพราะฉะนั้น ก็มุ่งที่จะให้ปฏิบัติละทั้งราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภะ โทสะ โมหะ ดำริไปในทางออกนั้นเป็นไปเพื่อละราคะหรือโลภะ ดำริไม่ปองร้ายนั้นเป็นไปดับโทสะ ดำริไม่เบียดเบียนนั้นเป็นไปเพื่อดับโมหะ คือความเบียดเบียนนั้นที่เป็นไปด้วยโมหะ ก็อาจจะเบียดเบียนได้ทั้งตนเองทั้งผู้อื่น


    ๏ สัมมาสังกัปปะ

    ฉะนั้นจึงต้องอาศัยปัญญาที่รู้จักคิดนึกตรึกตรองไป ในทางที่จะออกจากราคะหรือโลภะ ด้วย เนกขัมมสังกัปปะ ในทางที่จะดับหรือออกจากโทสะ ด้วยอัพยาปานะสังกัปปะ และในทางที่จะออกจากโมหะ ด้วยอวิหิงสาสังกัปปะ หัดใช้ความคิดไปในทางดับกิเลสดั่งนี้ ไม่ใช้ความคิดไปในทางก่อกิเลส กองราคะหรือโลภะ กองโทสะหรือกองโมหะขึ้นมา ก็เป็นการปฏิบัติปัญญาสิกขา ด้วยอาศัยสัมมาสังกัปปะ นี้เป็นปัญญาสิกขา


    ๏ สีลสิกขา

    ในส่วนสีลสิกขา ก็พึงหัดปฏิบัติทำความงดเว้นทางวาจา อาศัยสัมมาวาจา วาจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียดยุแหย่ให้แตกสามัคคีกัน ไม่พูดคำหยาบด่าว่าใครต่อใครให้เจ็บแสบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล แต่พูดจามีหลักฐานยุติด้วยธรรมด้วยวินัย งดเว้นทางวาจาดั่งนี้ อาศัยสัมมาวาจาเจรจาชอบ

    และปฏิบัติงดเว้นทางกาย อาศัยสัมมากัมมันตะการงานชอบ ด้วยการเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เว้นการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ด้วยความที่เป็นขโมยคือลักฉ้อ เว้นจากประพฤติในกามทั้งหลาย หรือเว้นจากอพรหมจริยกิจ เมื่อเว้นดั่งนี้ทางกายก็เป็นปฏิบัติในสีลสิกขา อาศัย สัมมากัมมันตะ การงานชอบ

    และเว้นจากมิจฉาอาชีวะเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด สำเร็จความเลี้ยงชีวิตในทางชอบถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติในสีลสิกขา อาศัยสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีวิตชอบ นี้เป็นการปฏิบัติในสีลสิกขา อาศัยสัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ


    ๏ จิตตสิกขา

    อนึ่ง ปฏิบัติในจิตตสิกขาหรือสมาธิความตั้งใจมั่น อาศัยสัมมาวายามะ เพียรชอบ คืออาศัย สังวรปธาน ความตั้งใจมั่นในอันที่จะระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ปหานปธาน ความตั้งใจมั่นในอันที่จะละบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ความตั้งใจมั่นใน ภาวนาปธาน คือเพียรทำบุญทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ความตั้งใจมั่นใน อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมลง แต่ให้เจริญงอกงามมากขึ้น นี้เป็นการปฏิบัติในจิตตสิกขาหรือสมาธิ อาศัยสัมมาวายามะ เพียรชอบ

    อนึ่ง ตั้งใจมั่นในอันกำหนดสติตามดูตามรู้ตามเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม คือสติปัฏฐานทั้ง ๔ ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติในจิตสิกขาคือสมาธิ อาศัยสัมมาสติระลึกชอบ อนึ่ง ตั้งใจมั่นเป็นสมาธิในกรรมฐานอันเป็นที่ตั้งของสมาธิทั้งหลาย จนได้บริกัมมสมาธิ สมาธิในบริกรรม อุปจารสมาธิ สมาธิเป็นอุปจารคือใกล้ที่จะแน่วแน่แนบแน่น จนถึงอัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบแน่น เข้าขั้นฌานคือความเพ่ง

    คือจิตสงบสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีวิตก ความตรึก มีวิจาร ความตรอง มีปีติ มีสุข อันเกิดจากวิเวกคือความสงบสงัด มีเอกัคคตา คือมีจิตที่มีอารมณ์เป็นอันเดียว

    และยิ่งขึ้นไปก็สงบวิตกวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน ฌานที่ ๒ คือมีความผ่องใสใจ ณ ภายใน มีธรรมเอกคือความเป็นหนึ่งผุดขึ้นเป็นไป ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติสุขอันเกิดจากสมาธิคือความตั้งจิตมั่น มีเอกัคคตาคือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว

    ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ละปีติเสียได้ มีอุเบกขาอยู่ มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย คือด้วยรูปกาย ด้วยนามกาย เข้าถึงตติยฌาน ฌานที่ ๓ ซึ่งพระอริยะเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า มีอุเบกขา มีสติ มีสุขะวิหาร คือธรรมะเป็นเครื่องอยู่ คือสุข และจิตเป็นเอกัคคตาคือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว

    ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น เพราะละสุขละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสโทมนัส เข้าถึงฌานที่ ๔ ซึ่งไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีอุเบกขา มีสติที่บริสุทธิ์อยู่ ทั้งมีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว

    ความทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นได้ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้นี้ ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติทำจิตตสิกขาคือสมาธิ อาศัยสัมมาสมาธิความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอันว่าชื่อว่าได้ปฏิบัติทำจิตตสิกขาคือสมาธิ อาศัยสัมมาวายามะ เพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกได้ชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงอาจหัดปฏิบัติไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อาศัยอริยะมรรคทั้ง ๘ ประการได้ดั่งนี้ ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป



    .......................................................

    คัดลอกมาจาก
    เทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
    (อธิบายขั้นตอนของการปฏิบัติในมรรค ๘ ดีเยี่ยม)
    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
    http://www.mahayana.in.th/tsavok/tsavok.html </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/dhamma/pudule/pudule02.php

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 width="80%" align=center border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    อเหตุกจิต
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>

    อเหตุกจิต ๓ ประการ
    ๑. ปัญจ ทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตาม อายตนะ หรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้

    ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักษุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตา เห็นรูปไม่ได้

    หู ไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หู ได้ยินเสียงไม่ได้

    จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานะวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูก รับกลิ่นไม่ได้

    ลิ้น ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้น รับรู้รสไม่ได้

    กาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กาย รับสัมผัสไม่ได้

    วิญญาณทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกายตามทวาร ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น

    ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอกที่เข้ามากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามมิให้เกิด มี เป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำไม่ได้

    การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่นเมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้ เป็นต้น​
    (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว)
    ๒. มโนทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ที่มโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความคิดนึกต่างๆ นานา คอยรับเหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้
    ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น
    ทำความเห็นให้เป็นปกติ ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์
    ๓. หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่าไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของมันเอง กิริยาจิตอันนี้มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี
    สำหรับ อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ มีเท่ากันในพระอริยเจ้าและในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจากกองทุกข์ควรพิจารณา อเหตุกจิต นี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาดในการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม
    อเหตุกจิต นี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจใน อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ นี้เอง
    อเหตุกจิต ข้อ ๓ เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเองโดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญจิตจนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้องในโลกมายา เพราะความรู้เท่าทันเหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง
    - จบ -
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,784
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เอ้าลูกหลานหลวงปู่เทพผู้มีบุญไม่ทราบเคยอ่านหรือยัง ถ้าอ่านแล้วขออโหสิฯ เอามาฝากันตาม link web ข้างล่างนี้
    http://www.thaidoweb.com/freeboard/...aksa&forum=1&No=1611&picfolder=AmErz0123&#top

    และก็ขอยืนยันว่าพระทุกองค์ที่ให้ทำบุญในกระทู้นี้ ผ่านมือชายชราผู้ซึ่งเป็นดุจดังอาจารย์ของเราท่านนึง คืออ.ประถม อาจสาคร บางครั้งท่านทำพิธีขอบารมีหลวงปู่ให้พวกเราเองด้วยซ้ำไป ทำบุญก็ต้องทำทานด้วย ถือศีลก็ต้องถือธรรมด้วย นั่งภาวนาก็ต้องพิจารณาด้วย ถึงครบทานศีลภาวนาเน้อ....



    อย่าลืมอ่าน link ในกระทู้ด้วย เพราะมีวิธีสอนกรรมฐานของหลวงปู่ใหญฯ ที่สอนหลวงพ่อจรัลฯ ให้อ่านเป็นบุญตาด้วยล่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2007
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    อีกเรื่องก็คือ มีบารมีก็ได้ไว้บูชา ไม่มีบารมีก็ไม่มีไว้บูชาครับ

    พระพิมพ์ย่อมเลือกผู้ครอบครองเช่นกัน

    กราบขอบพระคุณอย่างสูงต่อพระอาจารย์ท่านหนึ่งที่สอนให้ผมทราบครับ

    กราบ กราบ กราบ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ส่วนเรื่องที่มีผู้บอกว่าหลวงปู่ใหญ่ ไม่ใช่หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า หรือหลวงปู่พระโสณเถระเจ้านั้น หลวงปู่ใหญ่ของแต่ละคนนั้น อาจจะเป็นคนละองค์กับหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ซึ่งเป็นพระอริยสงฆ์องค์อื่นๆก็ได้ แต่ถ้าหากไม่มีคณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร(คณะโสณะ-อุตระ)แล้ว จะมีพระอริยสงฆ์องค์อื่นๆหรือ มีพระพุทธศาสนาในประเทศไทยหรือ

    ขอกราบขอบพระคุณต่อความเมตตากรุณาที่คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ยอมทนกับความลำบากยากเข็นเพื่อมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิครับ

    กราบ กราบ กราบ
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=74
    โดย admin


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    ภาวะของคนสองประเภท
    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


    แสดงเนื่องในงานทำบุญฉลองอายุครบ ๕๐ ปี
    พระอาจารย์ คำ ยสกุลปุตฺโต
    วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕



    ทุฆราวาสํ ทุปพฺพชิตํ
    อยู่ครองฆราวาสก็เป็นทุกข์ เป็นบรรพชิตก็เป็นทุกข์


    ในพระภาษิตทั้งสองบทนี้ ได้แสดงถึงความเป็นอยู่ของบุคคล ๒ ประเภทว่า เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น พระพุทธเจ้ามีจิตอันบริสุทธิ์และซื่อตรง ได้แสดงถึงสภาพความเป็นจริง ซึ่งผิดจากความเห็นของบุคคลบางคนในโลกผู้ยังตกอยู่ใต้อำนาจแห่งความหลงว่า เป็นฆราวาสมีความสุขบ้าง บวชมีความสุขบ้าง จึงได้ทำความไม่สงบวุ่นวายให้เกิดขึ้นในวงสังคมทั้งสองดังที่ปรากฏเห็นกันอยู่แล้ว เมื่อบุคคลมีความเข้าใจผิดเห็นผิดแล้วก็ย่อมกระทำผิดเป็นธรรมดาอยู่เอง สิ่งที่ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นอีก ก็คือ บางคนเมื่อตนเข้าใจผิดแล้ว ยังแถมไปใส่โทษพระพุทธเจ้าเข้าไปอีกว่า

    คำสอนของพระพุทธองค์ผู้เป็นทุกขนิยม พระองค์ยอมสละเสียซึ่งความเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่และความสุขทั้งปวงแล้ว จะมาทรงปรารถนาประโยชน์อะไรจากชาวโลกอีก มีแต่ทรงยอมทรมานพระวรกายเสด็จไปประกาศสัจธรรมของจริงแก่พลโลก เนื่องจากทรงพระเมตตากรุณาอันใหญ่หลวงแก่ปวงสัตว์ผู้ตกอยู่ในห้วงแห่งความมืด ซึ่งต่างก็พากันดิ้นรนเพื่อให้พ้นเสียจากความมืด แล้วจะยังมาหาว่าคำสอนของพระพุทธองค์เป็นทุกขนิยมไปเสียอีก

    สัตว์โลกผู้ยังหนาแน่นด้วยความมืด คือ อวิชชา มีฝ้าปิดบังกล่าว คือ โมหะ ย่อมไม่เห็นด้วยกับสัจจวาทีของผู้หวังดีต่อตน นอกจากไม่เห็นดีด้วยแล้วยังเห็นคำสอนเป็นไม้เบื่อไม้เมาอีกด้วยจึงเป็นที่น่าสงสารมาก แต่ถึงกระนั้นพระองค์ผู้ซึ่งปราศจากพระโยธาหาญาติมิได้ ก็มิได้หวั่นเกรงต่ออำนาจอิทธิพลใดๆ และของใครๆ ทั้งนั้น

    ทรงเปล่งสีหนาทประกาศสัจจธรรมในท่ามกลางพระพุทธบริษัทตามความเป็นจริง โดยมิได้อคติอันใดทั้งสิ้น ดังพุทธภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้ ณ เบื้องต้น อันมีความว่า “อยู่ครองฆราวาสก็เป็นทุกข์ บวชก็เป็นทุกข์” ดังนี้ โดยมิได้เกรงใจใคร และมิได้เห็นแก่หน้าใครๆ ทั้งสิ้น ว่าเขาเหล่านั้นจะชอบใจหรือไม่ แต่ตรัสตามความเป็นจริง เพราะสิ่งที่อุบัติมาในโลกนี้ทั้งหมดจะเป็นรูปก็ตาม เป็นนามก็ตาม ที่เรียกว่า สังขาร ล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น

    ความจริงคนเราเกิดมาแล้ว มิใช่พึงเป็นทุกข์เมื่อเป็นฆราวาสและเมื่อบวชเท่านั้น มันเป็นทุกข์ตั้งแต่แรกปฏิสนธิอยู่ในครรภ์ของมารดาโน้น ที่พระพุทธเจ้าทรงยกเอาทุกข์ของฆราวาสและบรรพชิตมาตรัสนี้ เพียงแต่เพื่อชี้ให้เห็นทุกข์ส่วนหนึ่งในบรรดาทุกข์ทั้งหลายเท่านั้น และทรงมุ่งให้ผู้เข้าใจผิดเห็นตามเป็นจริงแล้วจะได้ปรับปรุงตัวเองให้ได้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ไม่ต้องดิ้นรนจนทำให้สิ่งแวดล้อมยุ่งเท่านั้น หาไม่แล้ว ผู้ที่เข้าใจผิดเห็นผิดดังว่ามาแล้วนั้นจะทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมยุ่งไปหมด

    ฆราวาสผู้ที่ไม่มีความสามารถในอาชีพ หรือเกียจคร้านในการงาน เป็นต้น ก็หาว่าฆราวาสเป็นทุกข์ บวชเป็นสุขสบายดีกว่าไม่ต้องทำงานอะไร ถึงเวลาก็มีคนหามาให้กินเอง ก็เลยอยากบวช ผู้บวชอยู่แล้วบางคนได้เคยเป็นฆราวาสมีลูกมีเมียมาก่อนเสียด้วยซ้ำ ก็ยังหาว่าบวชเป็นทุกข์เหมือนกับขังไว้ในคอกในกรง จะไปจะมาจะอยู่กินใช้สอยอย่างไร ก็ล้วนแต่มีข้อกฎ - กติกา - ระเบียบ พระวินัย บังคับไปเสียหมดทุกอย่าง ที่สุดแม้แต่ ตา หู จมูก กาย ลิ้น ของตน ซึ่งเป็นสมบัติเดิมพ่อแม่แบ่งปันให้มาโดยเฉพาะแท้ๆ ก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้ได้อย่างเต็มที่ ยังต้องให้ระวังควบคุมรักษาอีกด้วย ก็เลยอยากสึกเสีย บางคนสึกออกไปแล้วได้รับอุปสรรคขัดข้องบางประการ ซึ่งตัวเองปรับปรุงตัวของตัวให้เข้ากับสังคมเขาไม่ได้ก็ดี หรือไม่รู้เท่าเข้าใจต่อเหตุการณ์นั้นๆ ตลอดจนไม่มีความสามารถในหน้าที่ของตนก็ดี ก็เลยคิดถึงความสุขเล็กน้อย ที่ตนได้รับเมื่อครั้งที่บวชอยู่ แล้วหาว่าฆราวาสมันยุ่ง สกปรกเป็นทุกข์มาก กลับมาบวชอีกสองครั้งสามทีก็มี

    คนประเภทที่กล่าวนี้ มีจิตใจคลอนแคลนไม่หนักแน่น ไม่มีหลักธรรมประจำใจ มักกระทำตามความคิดที่เหลวไหลของตน แล้วก็ไม่เชื่อความคิดเห็นของคนอื่นอีกด้วย พูดง่ายๆ ว่า เป็นคนเจ้าอารมณ์ (เป็นทาสของอารมณ์) ยอมแพ้ทั้งทางโลกและทางธรรม คนโบราณจึงได้พูดเป็นคำพังเพยไว้ว่า “หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์” ไม่ควรคบเอาเป็นมิตร (อย่าเอาเป็นตัวอย่าง)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    แท้จริงสิ่งที่อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ที่เรียกว่า สังขาร คือ พวกที่มีแต่ชีวิต เช่น ต้นไม้และเถาวัลย์เป็นต้นก็ดี ที่มีวิญาณด้วยเช่น สัตว์ มนุษย์ เป็นต้นก็ดี ล้วนแล้วแต่พากันเกลียดทุกข์ต้องการสุขด้วยกันทั้งนั้น ต่างพากันดิ้นรนให้พ้นไปจากทุกข์ หมายจะเอาชนะทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะคนเราต้องการความสุขมากกว่าเขาทั้งหมด และเมื่อได้รับความสุขมาแล้วก็ไม่รู้จักพอเสียด้วย คนเราจึงได้ทำให้โลกเป็นทุกข์และเดือดร้อนมาก

    อาจกล่าวได้ว่าโลกที่เดือดร้อนเป็นทุกข์อยู่ทุกข์วันนี้เกิดมาจากมนุษย์เราเป็นส่วนมาก แม้แต่สัตว์ที่หนีไปซุกซ่อนอยู่ในป่าดงพงลึก หรือในก้นทะเล ก็ไม่พ้นจากคนตามไปเบียดเบียน เป็นธรรมดาผู้ต้องการมากก็ต้องใช้ความคิดมาก พร้อมกันนั้นก็มีความฉลาดมากอีกด้วย แต่ถ้านำความฉลาดนั้นมาใช้ให้เกินขอบเขตไป มักจะเป็นเหตุทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งแก่ตนและคนอื่น พุทธภาษิตที่ตรัสว่า อยู่ครองฆราวาสก็เป็นทุกข์นั้นอยู่ในข่ายนี้เหมือนกัน ทุกข์มากก็ดิ้นรนมากก็ยิ่งแต่จะเดือดร้อนมากเหมือนกับนกที่ติดข่าย ยิ่งดิ้นก็ยิ่งแต่จะรัดตัวเข้า ไม่ดิ้นเสียเลยก็มีหวังเข้าหม้อแกงแน่ พูดสั้นๆ ว่า ดิ้นรนก็เป็นทุกข์ ไม่ดิ้นรนก็เป็นทุกข์ ไม่พ้นคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ไปได้

    เมื่อเหตุผลมีอยู่อย่างนี้แล้ว จะไม่ให้พระองค์ผู้ทรงมีจักษุดี ทรงมองดูมนุษย์และสัตว์ผู้มืดมัวอยู่ด้วยความเมตตาแล้วทรงเปล่งสีหนาทประกาศก้องว่า นั่นเป็นทุกข์ๆ อย่างไรเล่า และยังได้ทรงชี้ตัวทุกข์อย่างตรงๆ ตามที่มีอยู่เป็นอยู่จริงๆ อีกด้วยว่ามี ๑๑ ประการ คือ

    ๑. ความเกิด
    ๒. ความชรา (ความเจ็บไข้ก็รวมอยู่ในชรานี้)
    ๓. ความตาย
    ๔. ความโศก
    ๕. ความพิไรร้องไห้รำพัน
    ๖. ความทุกข์ใจ
    ๗. ความน้อยใจ
    ๘. ความเหือดแห้งใจ
    ๙. ความประสบอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ
    ๑๐. ความปรารถนาสิ่งใดๆ แล้วไม่สมประสงค์ และ
    ๑๑. ความวิปโยคพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรักและชอบใจ


    เหล่านี้แต่ละอย่างล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์ ถ้าหากทุกข์ทั้ง ๑๑ อย่างนั้นโหมกลุ้มรุมเข้ามาพร้อมกันทั้งหมดใส่บุคคลใดแล้ว บุคคลผู้นั้นถ้าไม่ถึงดิ้นแด่วดับชีวิต ก็มีหวังเหลืองไปทั้งตัวทีเดียว ทุกข์ทั้งหมดดังกล่าวมาแล้วนี้ เมื่อสรุปแล้วก็อยู่ที่ความถือว่ากาย ใจ นี้ เป็นเรา เป็นของเรา (อัตตานุทิฎฐิ) ที่เรียกว่า อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

    อุปทานขันธ์เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เมื่อบุคคลมาพิจารณา อุปทานขันธ์ เห็นตามเป็นจริง และปล่อยวางได้ ทุกข์ทั้งหลายก็ไม่มี ถ้าปล่อยวางอุปทานขันธ์ นี้ยังไม่ได้ตราบใด กายและใจก็จะพร้อมกันสร้างกิเลสขึ้นเสวยร่วมกันอยู่ตราบนั้น เมื่อกายแตกดับทำลายไปตามสภาพของสังขาร ใจเป็นผู้หอบเอากิเลสอันเป็นเชื้อนำให้ไปเกิดในภพอื่น และร่วมกันทำกรรมเสวยทุกข์ต่อไปอีก แล้วก็ดิ้นรนเดือดร้อนประกอบกิเลส อันเป็นเหตุให้เกิดภพชาติต่อไปอีก วนไปวนมาไม่รู้จักจบจักสิ้นเสียที หากจะเขียนให้เข้าใจง่ายแล้ว ก็ต้องเขียนดังนี้

    แผนผังของภพชาติ

    เหตุ............................................... ผล

    วิปากวัฏฏ์ (เกิดมา)..... กัมมะวัฏฏ์ (ทำกรรม)..... กิเลสวัฏฏ์ (เศร้าหมองใจ)

    ปากวัฏฏ์ (เกิดอีก)....... กัมมะวัฏฏ์ (ทำกรรม)...... กิเลสวัฏฏ์ (เศร้าหมองใจ)


    จะหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปเป็นเหตุเป็นผล ผลัดเป็นต้นผลัดเป็นปลายของกันและกันวนอย่างนี้อยู่เรื่อยไป ไม่รู้จักจบจักสิ้นตลอดภพตลอดชาติ ท่านจัดเรียกว่า วัฏฏสงสาร การหมุนของวัฏฏ์ทั้ง ๓ ดังแสดงมานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องแสดงอาการของความทุกข์สลับกันไปมาทั้งนั้น
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=74
    โดย admin


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    ฉะนั้น มนุษย์คนเราเกิดมาก็จะต้องดิ้นรนหมุนเวียนอยู่ในวัฏฏสามนี้ เด็กเกิดมาแล้วก็อยากเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โดยเข้าใจว่า เราจะได้อิสระภาพใช้เฉพาะตนเอง ไม่ต้องอยู่ใต้อำนาจบังคับของบิดามารดา หนุ่มๆ สาวๆ ไม่เชื่อโอวาทของพ่อแม่และผู้ปกครอง ก็ด้วยเข้าใจว่าตนมีความสามารถพอตัวแล้ว การอยู่ใต้บังคับคนอื่นเป็นทุกข์ ผู้เป็นโสดอยากมีคู่ครอง ก็ด้วยความเข้าใจว่าเราจะได้อิสระภาพเต็มที่ ผู้ที่มีลูกมีหลานแล้วก็อยากที่ให้เขาแต่งงานเสีย เพื่อที่จะได้หมดห่วงหมดใย

    เมื่อชีวิตเปรียบเหมือนกับความฝันแล้ว เรื่องทั้งหลายดังกล่าวมาแล้วนั้นมันจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากจะเป็นความฝันไปตามชีวิตเท่านั้น แต่กระนั้นบุคคลก็ยังดิ้นรนไปตามความฝันของตนๆ อยู่ร่ำไป เพื่อหวังผล คือ ความสุขอันตนวาดภาพไว้บนอากาศ อนิจจา สังขารเอ๋ย หาสาระอะไรมิได้ นอกจากจะมีไว้เป็นเครื่องประดับความคิดของผู้มีความหวังอยู่

    แท้จริงเด็กๆ และหนุ่มๆ สาวๆ ซึ่งเป็นกุลบุตรกุลธิดา ของผู้บังเกิดเกล้า ได้ชื่อว่าเป็นทรัพย์อันมีค่าของวงศ์สกุลตลอดถึงประเทศชาติด้วย ย่อมมีอิสระภาพควรแก่ฐานะของตนเพียงพออยู่แล้ว แต่เขาเหล่านั้นไม่รู้จักคุณค่าของอิสรภาพที่ตนได้ และนำออกมาใช้ไม่ถูกหน้าที่ของตน จึงได้ทำให้เสียคนเสียเกียรติ ทำทรัพย์อันมีค่าของบิดา มารดา ตลอดจนประเทศชาติให้เสื่อมสลายไปอย่างน่าเสียดาย ไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเกียจคร้าน หัวดื้อ ถือรั้น ไม่เชื่อคำบิดามารดา และผู้ปกครองเหล่านี้เป็นต้น แต่ละอย่างล้วนแล้ว แต่จะทำทรัพย์อันมีค่าของบิดามารดา ให้ลดน้อยถอยลงไปทั้งนั้น

    เมื่อบิดามารดาหรือผู้ปกครองผู้ที่เมตตาปรารถนาดี หวังจะเทอดทูนคุณค่าของทรัพย์ ที่มีคุณค่าอยู่แล้วให้ดีเด่นขึ้น เมื่อเห็นบุตรธิดาทำสิ่งใดลงไปที่ไม่เหมาะสมก็ตักเตือนว่ากล่าวเขากลับโกรธชักไม่พอใจ เลยเห็นความดีที่บิดามารดามีต่อตนเป็นภัยไปทั้งหมด ความเมตตาปราณีความหวังดีมีคุณค่าเท่ากับ ข้อบังคับ ให้โอวาทตักเตือนเปรียบเหมือนกับการสร้างเรือนจำให้อยู่

    หากเขาเหล่านั้นแหละได้แต่งงานไปแล้วด้วยความผิดพลาด หลงมัวเมาของเขา หรือด้วยความยินยอมของผู้ใหญ่ก็ตามที ซึ่งเขาคิดว่าจะมีอิสระภาพนั้น แท้จริงก่อนจะแต่งงาน ทุกๆ ฝ่ายจะต้องยอมสละสิทธิเพื่ออิสระภาพให้แก่กันและกันเสียก่อนจึงจะแต่งงานกันได้ ถ้าหากไม่มีแล้ว ไม่มีใครจะยอมรักและแต่งงานกันเลย นอกจากจะยอมสละเพื่อคู่รักของตนโดยไม่รู้ตัวแล้ว ยังยอมสละเพื่อบริวารชน มีพ่อตาแม่ยาย พ่อผัวแม่ผัว เป็นต้น

    อิสระเหล่านี้ย่อมไม่เหมือนกับอิสระเมื่อยังเป็นหนุ่มสาวคราวอยู่กับบิดามารดาที่เหมือนเรือนจำของลูก เมื่อแต่งงานแล้วหน้าที่การงานตลอดถึงความประพฤติและด้านจิตใจเราจะทำอย่างอยู่ด้วยบิดามารดาไม่ได้เด็ดขาด จำจะต้องเปลี่ยนแปลงไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง การงานในบ้านเราจะต้องรับผิดชอบแต่ผู้เดียว รายได้และใช้จ่ายจะต้องมีขอบเขตจำกัด เมื่อได้ลูกขึ้นมา ทุกๆ อย่างจะต้องเพิ่มปริมาณขึ้นเป็นเงาตามตัว

    อันรูปร่าง ผิวพรรณ กิริยามารยาทตลอดถึงความรู้สึกนึกคิด การงานทั้งปวงของหนุ่มๆสาวๆ นั้น จะคลี่คลายหายเข้ากลีบเมฆไปทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว ผลที่สุดก็จะยังเหลือแต่ความยุ่งและความแก่ตลอดเวลา

    สมาชิกในครอบครัวมากขึ้นมิใช่อาชีพมันจะเจริญขึ้นตามตัวเสมอไปซ้ำอายุกำลังเรี่ยวแรงก็มีแต่จะลดน้อยถอยลงไปทุกๆ วัน แม่เหล็กแม่แรงพ่อเหล็กพ่อแรงนั้นมันจะถ่วงน้ำหนักได้สักกี่คน เมื่อถึงเวลานั้นโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดา และครูอาจารย์ ซึ่งเคยเป็นยาเบื่อไม้เมามาแต่ก่อนโน้น จะกลับมาเป็นยาแก้ลมชโลมหัวใจของลูกรักด้วยความระลึกถึงบุณคุณของท่านอีกครั้ง

    คนแก่ๆ ก็ไม่ยอมแพ้หนุ่มๆ สาวๆ เหมือนกัน มีลูกมีหลานแล้วไม่เพียงแต่จะเอาไว้กอดรัก และโชว์เพื่อนบ้านเท่านั้น ยังครุ่นคิดอยากจะปลูกฝังเพื่อจะให้มีหน่อแหนงสืบเชื้อวงศ์ตระกูลเป็นห่วงถึงอนาคตของเขา กลัวจะพ้นผ่านขัยวัยอันควรแก่กาลของเขา ยิ่งบางคนลูกมากเลี้ยงไม่ไว้หาให้ไม่พอ นึกว่าแต่งงานให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเสียที จะได้ไม่เป็นทุกข์ด้วยเขา ที่ไหนได้กว่าจะเสร็จเรื่องแต่ละคน เข้าทำนองที่ว่า ที่ดีไม่ได้ ที่ได้ไม่ดี ก็เป็นทุกข์ตอนหนึ่งแล้ว

    ต่อจากนั้นไปก็จะต้องเฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวของเขาทุกวิถีทาง หากอาชีพและความรักใคร่ของเขายังกลมกลืนพอไปกันได้ ก็ค่อยสบายใจไปตอนหนึ่ง ถ้าเขาเกิดมีเรื่องจุกจิกอะไรขึ้นในระหว่างนี้แล้ว ก็จะทำให้คนแก่ใช้สมองมากเหมือนกัน ขั้นต่อไปเมื่อเขาได้หลานขึ้นมาแล้ว สองตายายก็จะตาลุกตาล่อจนลืมตัว ทิ้งแบก กลับมาได้หาม ไม่ทราบว่าความทุกข์ของฆราวาสนี้มันจะไปสิ้นสุดลงไหน ยิ่งดิ้นก็ยิ่งแต่พันเข้าเหมือนกับปลาติดอวน พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งแทงตลอดในทุกข์ของฆราวาสได้เป็นอย่างดี ว่าเป็นของสุดวิสัยของผู้ครองฆราวาสที่จะปลดเปลื้องทุกข์ให้หมดสิ้นไปได้ </TD></TR></TBODY></TABLE>


    คำพิพากษาของศาลว่า ผู้นี้กระทำผิดต่อกฏหมายมาตรานี้แล้วจะต้องได้รับโทษจำคุกเท่านี้เท่านี้ๆ ปีแล้วจึงจะพ้นได้ เรียกว่า โทษมีกฎหมายปรับตามโทษานุโทษนั้นๆ แต่ส่วนโทษของฆราวาสนี้ซิ เมื่อไรมันจะพ้นได้ เพราะทำผิดเองตัดสินตนเอง โดยไม่มีแม่บทกฎหมาย นี่ว่าเฉพาะทุกข์เดียว คือ ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งแก่ถึงขนาดนี้ หากจะพูดถึงเรื่องทุกข์สายใหญ่ๆ แล้วก็ยังมีอีกมากเป็นต้นว่าทุกข์เรื่องอาชีพ เจ็บป่วย และทะเลาะวิวาททุบตีซึ่งกันและกัน ตลอดถึงทุกข์ใจเศร้าโศกอาลัย มันเหลือที่จะคณานับให้ถ้วนได้ พระพุทธเจ้าทรงประมวลความทุกข์ของมนุษย์ สัตว์ไว้มีอยู่ ๑๑ ประการแล้ว ดังที่ยกมากล่าวแล้วไว้ในข้างต้นนั้น

    สรุปแล้วทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้เกิดแต่อุปทานขันธ์ คือ ถือว่านามและรูปอันนี้มันเป็นของๆ เรา แต่ถึงอย่างไรก็ดี หากผู้ได้รับทุกข์แล้วไม่หลงมัวเมาประมาทจนเกินควร มาสำนึกถึงความผิดโดยการยกเอาทุกข์ขึ้นมาพิจารณาให้ถ่องแท้ แล้วตั้งใจจะบำเพ็ญตนให้สมภาวะที่ตนเป็นฆราวาสดำเนินชีวิตตามวิธีที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้เพื่อผู้ครองฆราวาส ถึงแม้ทุกข์จะไม่หมดสิ้นไปทีเดียวแต่ก็พอจะได้รับความสุขตามอัตภาพวิสัย เท่าที่การปฏิบัติของตนจะพึงอำนวยผลให้

    เราเกิดมามิใช่เทวดาบนชั้นฟ้าสวรรค์จะมีความสุขได้ มิใช่แต่เฉพาะมีทรัพย์มากมีเกียรติยศชื่อเสียงโด่งดังและบริวารชนมากเท่านั้นก็หาไม่ ถึงจะมีสิ่งเหล่านั้นแล้วก็ตามที ถ้าไม่มีคุณธรรมประจำตนเป็นลักษณะแล้ว อาจเป็นทุกข์มากกว่าคนที่เขามีคุณธรรมเป็นเครื่องดำเนินชีวิตของเขาถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ได้ ดังนั้น จึงนำฆราวาสธรรม มาแสดงให้เห็นพอเป็นเอกเทศ เพื่อเป็นการศึกษาของผู้สนใจ เมื่อน้อมนำไปปฏิบัติตามแล้วจะได้รับผลดังที่ท่านแสดงไว้หรือไม่เชิญทดลองดู



    ........................... เอวัง ...........................
     
  18. minie20

    minie20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +161
    เห็นด้วย
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,784
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ลืมบอกไปให้อ่าน link ที่ 2 ในเรื่องด้วย เป็นบทสนทนาระหว่างท่าน พ.อ.ชมสุคันธรัตน์ กับ หลวงพ่อจรัลฯ เอ้า ตะโกนดังๆ นักกรรมฐานอย่าลืมอ่านล่ะสนุกมาก 2 ท่านจิตทันกัน รวมถึงท่านพุทธทาสด้วย ระวังล่ะใครปรมาสท่านพุทธทาส งานนี้ ท่านทั้ง 2 ยืนยันเองว่าท่านพุทธทาสเป็น "ฌาณลาภีสงฆ์" แล้ว ใครเผลอปรมาสท่านจุดธูปขอขมาท่านเอาเองก็ล่ะกัน
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ผมนำlink มาลงให้แล้วครับ

    ที่มา http://piyapani.www7.50megs.com/P7010.htm


    สนทนาธรรมกับ พ.อ.ชม สุคันธรัต<O:p</O:p


    พระราชสุทธิญาณมงคล<O:p</O:p
    ๑๙ เม.ย. ๓๖<O:p</O:p
    P7010<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    อาตมารู้จักกับ พ.อ.ชม สุคันธรัต ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ตอนนั้นมียศเป็นพันโท เป็นผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี นั่งสมาธิเก่งตั้งแต่ยังหนุ่มกับอาจารย์ที่อยู่ในป่า อาตมาเคยแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านในสมัยนั้น<O:p</O:p
    เดี๋ยวนี้ พ.อ.ชม สุคันธรัต อายุ ๗๐ ปีแล้ว มีบ้านอยู่กรุงเทพมหานคร ได้มาที่วัดอัมพวัน พอมีโอกาสท่านได้ถามข้อข้องใจและแลกเปลี่ยนความรู้กัน<O:p</O:p
    พ.อ. ชม<O:p</O:p
    เรื่องการเข้าทรงนี่ มันเป็นอีกตัวหนึ่งต่างหาก ปรากฏเป็นเสียงได้ อย่างสมเด็จโต (สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี) อย่างน้อยได้ฌาน เรื่องอะไรจึงจะมาเข้าทรง และทำไมวิญญาณสมเด็จโตองค์เดียว จึงเข้าทรงได้ ๑๐ กว่าแห่งพร้อม ๆ กัน แสดงว่าโกหกแล้ว ไม่มีใครแก้ปัญหาได้ พออาจารย์ในดงอธิบายเพิ่งจะรู้<O:p</O:p
    ท่านอธิบายว่า จิตที่ไม่อยากตาย ยังมีตัวอยู่ เขาเรียกวิญญาณประจำร่างหรือแม่ซื้อ จิตแท้อีกอันหนึ่ง จิตแท้มันไปเกิดทันทีก็จำญาติไม่ได้ แต่ถ้าไปเกิดเป็นเทวดาก็จำญาติได้ ลงมาช่วยมนุษย์ได้<O:p</O:p
    เหมือนอย่างสุวรรณสาม แม่ไปอยู่ชั้นดุสิต จำได้ว่า เอ๊ะ! ลูกนี่ ลูกกำลังถูกศรพิษจึงลงมาช่วย<O:p</O:p
    คนที่กำลังจะตายท่านว่าจะแยกเป็นสอง วิญญาณแท้ไปเกิดแล้ว มันระลึกชาติได้ แต่วิญญาณที่ไม่อยากตายเรียกว่า สัมภเวสี แปลว่าวิญญาณประจำร่าง และวิญญาณประจำร่างก็เป็นกายทิพย์เหมือนกัน<O:p</O:p
    เราจะรู้ว่ายืนยันกันอย่างไร ก็ดูว่ารัสเซียเกิดถ่ายรูปได้ ทีแรกเราถ่ายรูปคนตายไม่เป็นกายทิพย์ ตัวเท่าเก่าเป็นแก้วใส มันตรงกับคนที่ตายแล้ว ไปเห็นนรกสวรรค์ตัวเป็นแก้วใสไปเหมือนกัน<O:p</O:p
    ตกลงกลายเป็นว่าตัวเรานี้มีกายหยาบกับกายใน กายในเป็นตัวไม่อยากตาย จิตตัวไม่อยากตาย จะกระเด็นออกไป นึกว่าตัวไม่ตาย<O:p</O:p
    ถ้าอายุ ๔๐ ปี ก็นึกว่าตัวอายุ ๔๐ ปี นึกว่าตัวไม่ตาย เมื่อมันเป็นกายทิพย์อยู่เป็นหมื่นปีแสนปีได้ เพราะมันไม่กินอาหาร เหมือนเทวดา เทวดาชั้นที่ ๒ (ยามา) อยู่ตั้งเก้าล้านปี เพราะเป็นกายทิพย์<O:p</O:p
    เวลาอาจารย์ท่านเดินทางไปในดง ไปพบพวกนี้ ท่านบอกว่า เอ๊ะ! พวกนี้ ๕๐๐ ปียังไม่ตายเลย<O:p</O:p
    ท่านว่าวิญญาณประจำร่างนี่ ถ้าเป็นเด็กเขาเรียกว่าแม่ซื้อ จึงเข้าทรงได้<O:p></O:p>
    ทีนี้เราก็นึกได้ว่า อ๋อ! สมเด็จโตท่านคงแตกออกมาเป็นวิญญาณไม่อยากตาย ตั้งแต่ก่อนท่านสำเร็จตัวนี้อยู่ได้ มันก็มาเข้าทรงได้ มันจึงมีเข้าทรง มีผีเข้า แต่เราไม่รู้มาจากไหน<O:p</O:p
    อาจารย์ในดงบอก นี่แปลผิดแน่ แปลคำว่าสัมภเวสีว่า วิญญาณแสวงหาที่เกิด ไม่เกี่ยวกับอภิธรรม ที่จริงวิญญาณประจำร่างแตกออกเป็นสอง ดูได้จากฝรั่งถ่ายรูปคนฟื้น<O:p</O:p
    หลักสูตรที่อาจารย์ในดงสอน พอจบปีที่ ๖ ท่านจะให้โดดเหว โดดเหวจนสลบ ๔ วัน ท่านจะให้รู้ว่าตายเป็นอย่างไร<O:p</O:p
    กายหยาบอยู่ที่นี่ จิตแท้มันจะไปไหนได้ จิตประจำร่างมันจะไปกับกายทิพย์ จำญาติพี่น้องได้<O:p</O:p
    ท่านบอกว่าออกไปเดี๋ยวเดียวไปขึ้นเครื่องบิน ซื้อตั๋วเขาก็ไม่ขาย ไม่ได้ยินเราพูด แต่ไปเจอคนตายพูดกันได้ คุยกันจ้อเลย<O:p</O:p
    แต่เจอคนเป็นพูดไม่ได้ เขาไม่ได้ยิน ขึ้นไปนั่งบนเก้าอี้ก็นั่งไป ไม่มีตั๋วก็ขึ้นไปนั่ง ไม่มีใครเห็น แอร์โฮสเตสผู้หญิงขึ้นมานั่งทับอีก ท่านบอก โอ๊ย! ต้องลุกออกมา<O:p</O:p
    ที่สลบ ๔ วันไปเที่ยว เจอคนตายก็คุยกันได้ เจอญาติพี่น้องพูดกับเขา เขาก็ไม่ได้ยิน ท่านให้เห็นว่าตายเป็นอย่างไร จะได้ไม่กลัวตาย<O:p</O:p
    ตายแล้วตัววิญญาณแท้ไปเกิด ตัววิญญาณประจำร่างอยู่เป็นหมื่นปี แสนปี มันไม่ตาย ท่านว่ามันสบาย มันไม่ไปเกิด นึกว่าตัวไม่ตาย<O:p</O:p
    หลวงพ่อท่านสอนว่า วิญญาณนี้ ถ้าเผื่อ ได้สมาธิสูง จะทำได้ ๓ อย่างคือ<O:p</O:p
    ๑. ทำกายหยาบได้เหมือนคน<O:p</O:p
    ๒. ทำกลิ่นต่าง ๆ ได้<O:p</O:p
    ๓. ทำเสียงต่าง ๆ ได้<O:p</O:p
    เราพูดกับเขาก็ได้ ถามก็ได้ พบกันในดง พูดกันสองสามคำห้าหกประโยคแล้วก็ไป คล้าย ๆ คนละโลกจะไม่พูดกับเรานาน กายหยาบจะหายไป<O:p</O:p
    เราก็รู้ว่า อ๋อ! วิญญาณที่วัดหลวง เขาทำได้ครบ ๓ อย่าง ทำเสียงพูดได้ ทำให้เห็นกายหยาบได้ ลงในน้ำเขาจับบีบเราได้ เราจับอะไรเขาได้<O:p</O:p
    วิญญาณประจำร่างที่เป็นพระยอมตายดีกว่าเสียศีล เพราะว่าขณะที่ตัวเป็นสมาธิอยู่ ไปเกิดเป็นอะไรก็ได้ แต่วิญญาณประจำร่างที่นึกว่าตัวยังไม่ตาย อยู่เป็นแสนปี ล้านปี เขากลัวบาป บาปต้องรับอยู่นาน<O:p</O:p
    ที่อยู่นี่รับแค่ร้อยปีก็หมดแล้ว แต่วิญญาณประจำร่างรับอีกแสนปี ล้านปี ตายเสียดีกว่า ตายเป็นกายทิพย์เสียดีกว่า<O:p</O:p
    คนไม่รู้อย่างนี้ถึงไม่กลัวบาป ถ้าเรารู้ว่าร่างนี้รับอีก ๑๐๐ ปีก็หมด แล้วมันอยู่ในวิญญาณประจำร่างเป็นแสนปี ล้านปี ก็ต้องไปรับกรรมอีกนมนาน ไม่เอาแล้วการทำบาป<O:p</O:p
    ถ้ามองเห็นจุดนี้แล้ว จะเห็นชัด แต่ไม่มีพระสอน มีแต่หลวงตา (อาจารย์ในดง) เท่านั้นที่สอน มีแต่สอนในหนังสือ มันจะต้องไปเสวยกรรมในวิญญาณประจำร่าง กายทิพย์และจำได้นะ<O:p</O:p
    ถ้าบุญตัวไม่พอ สมาธิไม่พอ เราพูดทำเสียงไม่ได้ ก็ทำให้ได้กลิ่น หรือก๊อก ๆ แก๊ก ๆ ไป อย่างนี้วิญญาณทั่วไป<O:p</O:p
    ถ้าวิญญาณมีสมาธิจริง ๆ มันทำได้ครบเลย ทำกายหยาบก็ได้ ถ้าเดินป่ามาก ๆ จะเห็นพวกนี้มาแสดงตัวได้ หลวงพ่อถึงว่าปฏิบัตินี่แตกต่างกับปริยัติเยอะเลย<O:p</O:p
    พระราชสุทธิญาณมงคล<O:p</O:p
    ต่างกัน มีตัวอย่างที่วัดนี้<O:p</O:p
    รายที่ ๑<O:p</O:p
    นายวิโรจน์ ปัญจบุรี<O:p</O:p
    นักศึกษาจากวิทยาลัยครูเชียงราย เคยมาปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันนี้ เมื่อสำเร็จการศึกษาได้ทำงานแล้ว อาจารย์สมเดช มุงเมือง ได้ชวนมาปฏิบัติธรรมที่วัดนี้อีก พร้อมกับพาคณะนักศึกษาจากวิทยาลัยครูเชียงรายมาด้วย นายวิโรจน์เกิดถูกรถชนตายก่อนที่จะถึงวันเดินทาง ได้มารายงานตัวที่หอประชุมภาวนากรศรีทิพา ที่อาตมาลงกฎแห่งกรรมไปแล้ว มีคนเห็นกันหลายคน<O:p</O:p
    เขาตั้งใจมาปฏิบัติธรรมที่นี่ แสดงเป็นกายหยาบได้ พูดได้ แต่มีข้อแตกต่างจากคนธรรมดาอยู่ ๒ ข้อ คือ ตาไม่กระพริบ และเวลาเดิน เท้าไม่ถึงพื้น เดินตัวแข็งออกไป จะไม่เชื่อได้อย่างไร พระบวชใหม่ ปริญญาตรี ปริญญาโท ต้องยอมรับเพราะเห็นกับหูรู้กับตา ถ้าไม่เห็นจะไม่เชื่อเลย<O:p</O:p
    รายที่ ๒ <O:p</O:p
    พ.อ.วิโรจน์ ทสยันไชย<O:p</O:p
    อดีตอนุศาสนาจารย์ กองทัพภาคที่สอง นครราชสีมา เป็นมะเร็งที่คอ น้ำเหลืองไหล ผ่ามา ๒ หนแล้ว หมอบอกว่าจะตายภายใน ๑ เดือน แต่ภรรยาแข็งแรง <O:p</O:p
    พ.ศ. ๒๕๒๕ กองกำลังพลกองทัพบกได้จัดอบรมทหารรุ่นแรก โดยส่งอนุศาสนาจารย์มาก่อน พ.อ.วิโรจน์ได้เข้าอบรมด้วย และขอตายที่วัดอัมพวัน แต่โชคดีที่เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมจึงหายจากโรคมะเร็ง ได้ลงกฎแห่งกรรมไปแล้วเช่นเดียวกัน<O:p</O:p
    เมื่อหายแล้ว อาตมาก็ขอให้ พ.อ.วิโรจน์ ปฏิญาณตนต่อหน้าอาตมา บอกว่าให้จดไว้ ภรรยาของ พ.อ.วิโรจน์จะตายก่อน ทั้ง ๆ ที่แข็งแรงดี แต่จะล้มในห้องน้ำตาย อาตมาเคยไปเยี่ยมที่บ้าน ก็เห็นหนอ ศีรษะหายไปครึ่งหนึ่ง รับรองตาก่อนสามีแน่ หลังจากนั้น พ.อ.วิโรจน์จะมีภรรยาใหม่ไม่ได้ ถ้ามีต้องตายแน่<O:p></O:p>
    พ.อ. วิโรจน์ก็ปฏิญาณตนว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...