พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.saktalingchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=262016


    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร<O:p</O:p


    วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    1. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงนี้ เมื่อพระคุณท่านมีอายุเพียง 27 ปี มีพรรษา 7 ยั่งยืนตลอดมาเป็นเวลาช้านานถึง 53 ปีฯ<O:p</O:p
    2. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ นั้นมีอายุเพียง 56 ปี เท่านั้น ฯ<O:p</O:p
    3. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งธรรมเนียมการเทศนาธรรมในวันอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก เริ่มเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ติดต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลา 45 ปี ล่วงแล้ว ฯ<O:p</O:p
    4. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ แลบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงสืบต่อมาเป็นเวลา 5 ปี ( ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2481 ) ฯ<O:p</O:p
    5. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถาติดต่อกันถึง 4 รัชกาล คือตั้งแต่รัชกาลที่ 6-7-8-9 เป็นเวลาถึง 25 ปี ฯ<O:p</O:p
    6. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มีสัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก มากที่สุดถึง 6,666 องค์ ฯ<O:p</O:p
    7. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นต้นกำเนิดตำราไหว้ 5 ครั้งให้ศิษยานุศิษย์ปฏิบัติตาม หากผู้ใดไหว้ครบ 1 ปี เป็นกำหนด ผู้นั้นจักได้รับรูปที่ระลึกจากองค์ท่านด้านหน้าเป็นรูปองค์ท่าน ด้านหลังเป็นรูปยันต์ภควัม จากกรึกนามองค์ท่านเป็นอักษรย่อ โดยลำดับแห่งราชทินนามนั้น ๆ กระทั่งครั้งสุดท้ายได้จารึก 3 อักษรว่า พ.ฆ.อ. ซึ่งย่อจากราชทินนามว่า พุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระราชาคณะ ฯ<O:p</O:p
    8. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ ท่านเจ้าคุณพระโศภณศีลคุณ ( หลวงปู่หลุย พาหิยเถร ) ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 23 ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 67 ( เกิด 9 สิงหาคม 2426 ) ยังเดินลงโบสถ์ลงสวดมนต์ทำวัตรได้เป็นประจำทุก ๆ วัน เป็นพระเถราจารย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือยิ่งของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ<O:p</O:p
    9. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่ประพฤติปฏิบัติยอดเยี่ยม และเป็นพระเถระองค์สำคัญที่มีเกียรติคุณโด่งดังในปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ธมมฺวิตกฺโก ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 1740 ฯ

    ................................................................................................<O:p</O:p
    <O:p

    ไหว้ 5 ครั้ง<O:p</O:p

    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์<O:p</O:p
    วัดเทพศิรินทราวาส<O:p</O:p



    <O:p</O:p
    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาใด ตามแต่เหมาะ ต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวกัน ถ้ามีดอกไม้ ธูปเทียน ก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประนมมือว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสฺมพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ อิติปิ โส ภควา อรห<SUP>&deg;</SUP> สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสาน<SUP>&deg; </SUP>พุทฺโธ ภควาติ ฯ หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตาม ของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ สฺวากฺขาโต ภควตา ธฺมโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺ จตฺต<SUP>&deg;</SUP> เวทิตพฺโพ วิญฺญหีติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ ครั้งที่ 3ว่าสังฆคุณ คือ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ยทิทฺ จฺตตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสฺงโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนฺยโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรฺ ปุญฺญกฺเขตตฺ โลกสฺสาติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ พุทฺธ<SUP>&deg;</SUP> สรณ<SUP>&deg;</SUP> คจฺฉามิ ธมฺม<SUP>&deg;</SUP> สรณ<SUP>&deg;</SUP> คจฺฉามิ สงฺฆ<SUP>&deg;</SUP> สรณ<SUP>&deg;</SUP> คจฺฉามิ ฯ ทุติยมฺปิ พุทฺธ<SUP>&deg;</SUP> สรณ<SUP>&deg;</SUP> คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ ธมฺม<SUP>&deg;</SUP> สรณ<SUP>&deg;</SUP> คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ สงฺฆ<SUP>&deg;</SUP> สรณ<SUP>&deg;</SUP> คจฺฉามิ ฯ ตติยมฺปิ พุทฺธ<SUP>&deg;</SUP> สรณ<SUP>&deg;</SUP> คจฺฉามิ ตติยมฺปิ ธมฺม<SUP>&deg;</SUP> สรณ<SUP>&deg;</SUP> คจฺฉามิ ตติยมฺปิ สงฺฆ<SUP>&deg;</SUP> สรณ<SUP>&deg;</SUP> คจฺฉามิ ฯ ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผู้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์ และครูบาอาจารย์เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O:p</O:p
    ต่อนี้ไปไม่ต้องประนมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่องและร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณ มีบิดามารดาเป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ ทั้งเทพดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ<O:p</O:p
    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้หนี้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยอมือไม่ขึ้นก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้ เป็นเครื่องหยุดตนให้เป็นคนดีไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดีไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอจนตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มชั้นของตน ฯ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ


    </O:p
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.saktalingchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=262021

    [​IMG]

    ประวัติ

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์<O:p</O:p

    ( ญาณวรเถร )<O:p</O:p





    วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร<O:p</O:p


    <O:p</O:p

    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นามเดิมว่า เจริญ ในสกุล สุขบท เป็นบุตรอุบาสกทองสุข อุบาสิกาย่าง ตั้งบ้านเรือนอยู่สะพานแม่ย่าง ตำบลตลาดกลาง อำเภอบางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรี เกิดในรัชกาลที่ 5 วันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศาสน-กาล 2415 ตรงกับวันอังคารขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 อุตรษาฒ ปีวอก จุลศักราช 1234 ในปีที่จะเกิดนั้นอุบาสกทองสุข ฝันว่า มีผู้นำช้างเผือกมาให้ ถึงเรื่องนี้จะเป็นเพียงความฝัน แต่โบราณก็ถือกันมาว่าเป็นมงคลนิมิตสำคัญอย่างหนึ่ง <O:p</O:p
    เมื่ออายุได้ 8 ขวบ ไปเป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนี ( ปุณฺณโก พุฒ ) แต่ยังเป็นพระอธิการวัดเขาบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี <O:p</O:p
    ท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนีนั้น เป็นสัทธิวิหาริก ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อบวชครั้งแรกเป็นที่สมุห์ฐานานุกรมของพระศรีวิสุทธิวงศ์ ( พระยาศรีสุนทรโวหารฟัก ครั้งบวชเป็นพระ ) เรียนรู้ภาษาอังกฤษพอประมาณ ลาสิกขาเข้ารับราชกาลในรัชกาลที่ 4 ได้เป็นขุนสาครวิสัย ในกรมมหาดเล็ก ครั้นออกจากราชการตอนปัจฉิมวัยจึงบวชอีกครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ 5 เป็นอธิการวัดบางทราย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี ทรงทราบประวัติเดิมของท่านอธิการพุฒทรงพระราชดำริว่า ท่านอุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มากและเป็นข้าหลวงเดิม จึงทรงตั้งเป็นพระครูชลโธปมคุณมุนี เจ้าคณะจังหวัดชลบุรี ต่อมาโปรดให้เลื่อนเป็นพระชลโธปมคุณมุนี ที่พระราชาคณะ<O:p</O:p
    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เล่าเรียนอักษรสมัยในสำนักท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนี จนย่างเข้าปีที่ 12 ไปบรรพชาที่ศาลาในสวนของย่า ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ย่านิมนต์ท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนีไปให้บรรพชาต่อเนื่องกับการอุปสมบทบุตรคนเล็กของย่า ครั้นแล้วกลับมาเล่าเรียนที่วัดเขาบางทรายสืบต่ออีก เมื่ออายุ 14 ปี อาจเรียนวิชาชั้นสูงเพิ่มขึ้นได้ จึงเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม อยู่ในสำนักท่านพระครูวินัยธรฉายฐานานุกรมของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธ ในพระนคร คืนวันรุ่งขึ้นจะมาฝากอยู่กับท่านพระครูวินัยธรฉาย ๆ ก็ฝันทำนองเดียวกับอุบาสกทองสุขเคยฝันมานั้น ในระหว่างที่ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักท่านพระครูวินัยธรฉายอาจารย์ โรคเหน็บชาเป็นดวงกลมเท่าปลายนิ้วชี้เป็นที่ริมน่องเท้าซ้าย ซึ่งเป็นมาในขณะอายุราว 9 ขวบ แต่ไม่ได้รักษาเพราะพิการอะไร เป็นอย่างคนธรรมดา ต่อเมื่ออายุราว 15 ปี ก็ไม่รู้สึกตัวว่าเท้าพิการ ท่านพระครูวินัยธรฉายอาจารย์เห็นเวลาเดินบอกว่า เท้าพิการ จึ่งได้รู้สึกตัว คือทำให้เส้นส้นหน้าแข้งแฟบเดินปลายเท้าตก <O:p</O:p
    ต่อมาไปเล่าเรียนในสำนักท่านพระยาธรรมปรีชา ( บุญ ) จนอายุครบ 20 กลับออกไปอุปสมบทที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี ในวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2435 มีนิยมนามตามภาษามคธว่า ญาณวโร ท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุนีเป็นพระอุปัชฌายะ ท่านพระครูวินัยธรฉายเป็นพระอุปสัมปทาจารย์ กลับเข้ามาจังหวัดพระนครอยู่วัดกันมาตฺยาราม เพื่อความสะดวกในการศึกษา เพราะใกล้ที่อยู่ของท่านพระยาธรรมปรีชา ( บุญ ) ผู้เป็นอาจารย์สอนพระปริยัติธรรม เรียนอยู่ 4 ปีเศษ ต่อมาไปเรียนในสำนักท่านเจ้าคุณศาสนโศภณ ( อหึสโก อ่อน ) แต่ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพกวี อยู่วัดพิชัยญาติการาม เรียนอยู่ 3 เดือนเศษ ถึงปีมะแม พ.ศ. 2438 เข้าสอบพระปริยัติธรรมในมหามกุฎราชวิทยาลัย ได้โดยลำดับจนถึงชั้นเปรียญตรี เทียบ 4 ประโยค<O:p</O:p
    ปีวอก พ.ศ. 2439 มาอยู่วัดเทพศิรินทราวาส เล่าเรียนพระวินัยปิฎก ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ-ยาวชิรญาณวโรรส เมื่อยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเป็นพระอาจารย์ ในปีนั้นเข้าสอบพระปริยัติธรรมในมหามกุฎราชวิทยาลัยได้โดยลำดับ จนถึงชั้นเปรียญเอก เทียบ 7 ประโยค ได้รับรางวัลที่ 1 ทุก ๆ ประโยคตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงชั้นที่สุด และได้รับตำแหน่งเป็นครูเอกโรงเรียนภาษาบาลีวัดเทพศิรินทราวาสสืบมา<O:p</O:p
    ถึงปีจอ พ.ศ. 2441 มีพรรษา 7 อายุเข้า 38 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่อมราภิรักขิต โปรดให้เป็นผู้อำนวยการศึกษา ในมณฑลปราจีนบุรี และในปีเดียวกันนั้น วันที่ 22 มกราคม สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงตั้งให้เป็นผู้กำกับวัดสัมพันธวงศ์อีกตำแหน่งหนึ่ง ถึงวันที่ 25 ในเดือนนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส<O:p</O:p
    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้เอาใจใส่คิดการรอบคอบ พยายามประกอบกิจการนั้น ๆ ด้วยวิริยภาพอันแรงกล้า ที่โปรดให้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑล ก็ทำให้บังเกิดผลเป็นที่ต้องพระราชประสงค์เป็นอันมาก จะเห็นได้จากความในพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่ง ซึ่งทรงยกย่องชมเชยด้วยความเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ดั่งปรากฏอยู่ในตำนานวัดเทพศิรินทร์ ตอนกล่าวถึงยุคที่ 5 มีดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ที่ 24 / 642 พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท<O:p</O:p
    วันที่ 11 กันยายน รัตนโกสินทรศก 118<O:p</O:p
    กราบทูล กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส<O:p</O:p
    หม่อนฉันได้รับหนังสือฉบับหมายเลขที่ 108 ลงวันที่ 9 เดือนนี้ ส่งรายงานพระอมราภิรักขิตตรวจจัดการศึกษามณฑลปราจีนบุรีนั้นได้ตรวจดูตลอดแล้วเห็นว่า พระอมราภิรักขิตมีความสังเกตและความจดจำละเอียดนัก ทั้งได้เอาใจใส่ตริตรองในการที่จะทำมาก ควรจะสรรเสริญ และดูเป็นผู้เข้าใจปรุโปร่งในเขตแขวงเหล่านั้นมาก เพราะเป็นชาติภูมิ สมควรแก่ที่จะจัดการศึกษา และการในแถบนั้นให้เจริญได้ แต่จะเว้นเสียไม่แสดงความพอใจ อันเกิดขึ้นในใจแล้วอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ คือ ดีใจว่า วัดเทพศิรินทร์ได้สมภารอันพึงหวังใจได้ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด<O:p</O:p


    ( พระบรมนามาภิไธย ) สยามินทร์<O:p</O:p
    ครั้นถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2442 มีพระบรมราชโองการทรงตั้งเป็นกรรมการในมหามกุฎราชวิทยาลัย มีสำเนาทรงตั้งดั่งนี้<O:p</O:p
    สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม ผู้ปกครองอุปถัมภ์มหามกุฎราชวิทยาลัย โดยพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบรมพุทธศาสนา และความหวังพระราชหฤทัยต่อการเชิดชูเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<O:p</O:p
    ตั้งพระอมราภิรักขิต เป็นกรรมการในมหามกุฎราชวิทยาลัย ขอพระคุณจงมีอัธยาศัยประกอบไปด้วยความกรุณามีวิริยะอันแรงกล้าในการที่จะบำรุงวิทยาลัยให้เจริญ จำแนกพระปริยัติธรรมสรรพวิทยาศาสโนวาทให้แพร่หลายไพบูลย์ยิ่งขึ้น ด้วยความกตัญญูพระคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้พระคุณมีความผาสุกสิริสวัสดิ์เจริญในพระบรมพุทธศาสนาสืบไปสิ้นกาลนาน ฯ เทอญ<O:p</O:p
    พระราชทานแต่ ณ วันที่ 20 กันยายน รัตนโกสินทร์สก 118 เป็นปีที่ 32 หรือวันที่ 11271 ในรัชกาลปัตยุบันนี้<O:p</O:p
    ต่อมาปีขาล พ.ศ. 2445 ทรงเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระราชมุนี มีสำเนาดั่งนี้<O:p</O:p
    ให้เลื่อนพระอมราภิรักขิต เป็นพระราชมุนีตรีปิฎกาลังการ สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีนิตยภัตต์ราคาเดือนละ 4 ตำลึง 1 บาท มีฐานานุศักดิ์ ควรตั้งฐานานุกรมได้ 3 รูปคือ พระครูปลัด 1 พระครูสมุห์ 1 พระครูใบฎีกา 1 รวม 3 รูป<O:p</O:p
    ครั้นถึงวันที่ 19 กรกฎาคมในปีนั้น โปรดให้เป็นเจ้าคณะมณฑลมีสำเนาทรงตั้ง ดั่งนี้<O:p</O:p
    สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม ผู้เป็นพระบรมพุทธศาสนูปถัมภก มีพระราชประสงค์จะทรงทำนุบำรุงสังฆมณฑลให้เจริญยิ่งขึ้นเป็นการสืบพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองถาวรสืบไป<O:p</O:p
    มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาพระราชมุนี ตรีปิฎกาลังการ สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี ขอพระคุณจงมีอัธยาศัยประกอบไปด้วยวิริยะอันแรงกล้า ในการที่จะจัดการคณะสงฆ์ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และให้พระปริยัติธรรมสรรพวิทยาศาสโนวาทแพร่หลายไพบูลย์ยิ่งขึ้น ขอให้พระคุณมีความผาสุกสิริสวัสดิ์เจริญในพระบรมพุทธศาสนาสืบไปสิ้นกาลนานเทอญ<O:p</O:p
    พระราชทานตำแหน่งนี้ แต่วันที่ 19 กรกฎาคม รัตนโกสินทร์สก 121 เป็นปีที่ 35 หรือวันที่ 12303 ในรัชกาลปัตยุบันนี้ <O:p</O:p
    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ปฏิบัติการสนองพระเดชพระคุณได้ 3 ปี ประจวบกับโรคเบียดเบียนทำให้ทุพพลภาพไม่สามารถจะดำรงตำแหน่งนั้นต่อไป จึงทูลลาออก เพื่อพักผ่อนรักษาร่างกายตามควร<O:p</O:p
    ปีมะเมีย พ.ศ. 2449 โปรดเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวีมีสำเนาดั่งนี้<O:p</O:p
    ให้เลื่อนพระราชมุนี เป็นพระเทพกวี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกปรีชา มหาคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีนิตยภัตต์ราคาเดือนละ 6 ตำลึงกึ่ง มีฐานานุศักดิ์ควรตั้งฐานานุกรมได้ 4 รูป พระครูปลัด 1 พระครูสังฆวิชัย 1 พระครูสมุห์ 1 พระครูใบฎีกา 1 รวม 4 รูป<O:p</O:p
    ต่อมาปีมะแม พ.ศ. 2450 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะ ในวัดเทพศิรินทราวาส และในมณฑลปราจีนบุรี ฝ่ายธรรมยุตติกาทั้งหมด และวัดเสน่หา อำเภอเมืองนครปฐม กับวัดสัมปทาน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดเดียวกันนั้นด้วย<O:p</O:p
    ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2453 โปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ มีสำเนาประกาศดั่งนี้<O:p</O:p
    อนึ่งทรงพระราชดำริว่า พระราชาคณะที่ดำรงคุณธรรมปรีชาสามารถสมควรจะเลื่อนอิสริยยศและพระสงฆ์ ที่สมควรจะเป็นพระราชาคณะมีอีกหลายรูป<O:p</O:p
    จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเทพกวี เป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก- ตรีปิฎกคุณาลงกรณ์ ยติคณิศร บวรสังฆารามคามวาสี สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีนิตยภัตต์ราคาเดือนละ 28 บาท มีฐานานุศักดิ์ควรตั้งฐานานุกรมได้ 6 รูป พระครูปลัด 1 มีนิตยภัตต์เดือนละ 4 บาท 1 พระครูวินัยธร 1 พระครูวินัยธรรม 1 พระครูสังฆพินิจ 1 พระครูสมุห์ 1 พระครูใบฎีกา 1 รวม 6 รูป<O:p</O:p
    ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2460 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งให้เป็นแม่กองสอบวิชานักธรรมตรีในมณฑลปราจีนบุรี เป็นกรรมการในสนามหลวงสอบความรู้พระปริยัติธรรมเป็นกรรมการในมหาเถรสมาคมโดยลำดับ ในปีวอก พ.ศ. 2463 เป็นแม่กองสนามสาขาแห่งสนามหลวง และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิร-ญาณวโรรส ทรงตั้งให้เป็นแม่กองสอบนักธรรมสนามมณฑลจันทบุรีด้วยในปีนั้น<O:p</O:p
    ต่อมา เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2464 โปรดให้สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นที่พระสาสนโสภณ เจ้าคณะ รองคณะธรรมยุติกนิกาย จารึกนามในหิรัญบัฎ มีสำเนาประกาศดั่งนี้<O:p</O:p
    อนึ่งทรงพระราชดำริว่า พระธรรมไตรโลกาจารย์เป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกสุตาคมได้สอบไล่ได้ ถึงชั้นบาเรียนเอกในมหามกุฎราชวิทยาลัยชั้นบาเรียนเอก 7 ประโยค มีความอุตสาหะวิริยภาพ รับภาระเป็นอาจารย์สอนพระปริยัติธรรมแก่ภิกษุ สามเณรในวัดเทพศิรินทราวาสมาแต่ในรัชกาลที่ 5 ภายหลังโปรดให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิริน- ทราวาส เป็นผู้มั่นคงในสมณปฏิบัติ มีศีลาจารวัตร์เป็นที่น่าเลื่อมใส มีความรอบรู้ในอรรถธรรมชำนาญเชิงเทศนาโวหารอรรถาธิบายเป็นที่นิยมนับถือแห่งศาสนิกบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตเป็นอันมาก และเป็นผู้ที่ได้กระทำคุณประโยชน์ในทางทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการศึกษาให้เจริญมาเป็นอันมาก มีอาทิ คือได้เป็นกรรมการแห่งมหามกุฎราช-วิทยาลัย เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี และเป็นพระอุปัชฌายะให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร ในวัดเทพศิรินทราวาส และในมณฑลปราจีนบุรี ฝ่ายธรรมยุตติกาทั่วไป ทั้งได้เป็นแม่กองสอบวิชานักธรรมชั้นตรีในสนามมณฑลปราจีนบุรี และเป็นกรรมการในมหาเถรสมคม เป็นกรรมการสอบความรู้พระปริยัติธรรมในสนามหลวง และเป็นแม่กองสนามสาขาแห่งสนามหลวงเป็นต้น พระธรรมไตรโลกาจารย์ มีความอุตสาหะปฏิบัติการในตำแหน่งต่าง ๆ โดยเรียบร้อยสม่ำเสมอ อีกประการหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธทรงผนวช ได้ทรงวิสาสะคุ้นเคยกับพระธรรม-ไตรโลกาจารย์ ก็ได้ตามเสด็จพระราชดำเนินในกระบวนด้วยตลอดทางได้ทรงมีโอกาสทรงทราบคุณสมบัติของพระธรรม-ไตรโลกาจารย์ โดยตระหนักแน่ สมควรจะเพิ่มสมณศักดิ์ให้ดำรงตำแหน่งอันสูงได้ จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนพระธรรมไตรโลกาจารย์เป็นพระราชาคณะมีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฎว่า พระสาสนโสภณ วิมล-ญาณอดุลย์ตรีปิฎก คุณประสาทนวิภูสิต ธรรยุติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สังฆนายก สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง เจ้าคณะรองธรรมยุตติกนิกาย มีฐานานุศักดิ์ ควรตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป คือพระครูปลัดอรรถจริยานุกิจพิพิธธรรมโกศลวิมลสุตาคม อุดมคณานุนายกตรีปิฎกญาณวิจิตร์ 1 พระครูวินัยธร 1 พระครูธรรมธร 1 พระครูพิสิษสรเวท 1 พระครูพิเศษสรวุฒิ 1 พระครูสังฆวุฒิกร 1 พระครูสมุห์ 1 พระครูใบฎีกา 1 รวม 8 รูป<O:p</O:p
    ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 ทรงตั้งให้เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี และมณฑลจันทบุรี<O:p</O:p
    ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2469 ทรงตั้งให้เป็นกรรมการในราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2471 ทรงตั้งให้เป็นกรรมการที่ปรึกษาในการทำนุบำรุงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึงเดือนพฤศจิกายนในศกนั้นเอง โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธ-โฆษาจารย์ ดำรงฐานันดรมหาสังฆนายก เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ จารึกนามในสุพรรณบัฎ มีข้อความประกาศสถาปนาตามใบกำกับสุพรรณบัฎดั่งนี้<O:p</O:p
    ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาลเป็นอดีตภาคล่วงแล้ว 2471 พรรษา ปัจจุบันนสมัยสูรยคตินิยมนาคสมพัตสร พฤศจิกายนมาส ษัษฐสุรทิน มงคลวารโดยกาลบริจเฉท<O:p</O:p
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดลกรามาธิบดี เทพยปรียมหาราชรวิวงศ อสัมภิน พงศพีระกษัตร บุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสำ ศุทธเคราหณี จักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณ ราชวรางกูร มหามกุฎวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธอุต์กฤษฏนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินีร์หาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณวิจิตรเสาภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตษมาคม บรมราชสมภาร ทิพย-เทพาวดาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ มงคลลัคนเนมาหวัย สุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชนาวุธ วิชัยยุทธศาสตรโกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมจารภัทรภิชญานประติภานสุนทร ประวรศาสโนปสดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฐโสทรสมมตเอกราชชย-ยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิษิกต์ สรรพทศทิควิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชันยาศรัย พุทธาทิไตรรัตน-ศรณารักษ์ วิศษฎศักดิอัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบันยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<O:p</O:p
    ทรงพระราชดำริว่า พระสาสนโสภณ ดำรงในรัตตัญญูมหัตตาธิคุณ มีปรีชาญาณแตกฉานในมคธปริวรรตน์และอรรถธรรมวินัยดก้วยดี ตั้งอยู่ในสพรหมจารีวิหารโดยสมณากัปปมรรยาท มั่งคงดำรงจาตุปาริศุทธศีลสมบัติไม่ท้อถอย เป็นที่บังเกิดประสาทการแก่พุทธมามกชนทุกชั้น มีอาตมาหิตและปาหิตกรณคุณตามความประกาศสถาปนาเป็นเจ้าคณะรองฝ่ายธรรมยุตติกนิกาย เมื่อพระพุทธศาสนายุกาล 2464 พรรษานั้นแล้ว ต่อมาพระสาสนโสภณยิ่งเจริญด้วยอุตสาห-วีรยภาพไม่ย่อหย่อนในการประกอบศาสนากิจให้รุ่งเรืองสมกับเป็นธรรมทายาท อนึ่ง พระธรรมเทศนามงคลวิเศษกถา เป็นเทศนาพิเศษอย่างหนึ่งซึ่งพระมหาเถรเจ้าผู้ถวายย่อมทรงคุณวุฑฒิอันมโหฬาร เป็นอุตตมคุรุสถานียบุทคลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้พระสาสนโสภณถวายสืบจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระสาสนโสภณได้สนองพระเดชพระคุณมาจนรัชกาลปัจจุบันด้วยความเอาใจใส่ สอดส่องทั้งพระบรมพุทโธวาทและรัฎฐภิปาล นโยบายเป็นอย่างดี และเป็นผู้กระทำคุณประโยชน์ในทางบำรุงพระพุทธศาสนา และการศึกษาพระธรรมวินัยให้เจริญมาเป็นอันมาก มีอาทิคือ เป็นผู้อำนวยการสอบความรู้พระปริยัตติธรรมทุกประโยคในสยามรัฎฐ เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี และมณฑลจันทบุรีเป็นผู้ชำระพิมพ์พระบาลีไตรปิฎก อันควรแก้ไขพิมพ์ขึ้นใหม่ และเป็นธุระในการพิมพ์พระคัมภีร์อรรถกถา ชำระต้นฉบับให้ถูกต้องเป็นเบื้องต้นจนถึงตรวจใบพิมพ์เป็นที่สุด และยังพยายามสั่งสอนบรรพชิตคฤหัสถ์สัทธิวิหาริกอันเตวาสิกตลอด ประชาพุทธมามกชนทุกหมู่เหล่าให้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติเป็นสาธุชนสัตบุรุษต้องตามพระบรมพุทโธวาท เพราะความเป็นผู้ช่างขวนขวาย สำเหนียกความรู้ให้เทียมทันสมควรสมัย แสวงหาวิธีที่จะปลูกศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามไพบูลย์ภีโยภาพแก่ชนนิกร อุตส่าห์แสดงธรรมสั่งสอนเป็นเนืองนิตย์ มีวิจารณในฉันทจริตอาศยานุศัยแห่งสรรพ-เวไนย จัดการให้ธรรมสวนมัยประโยชน์สำเร็จด้วยดีโดยนิยมแห่งกาละเทศะ ด้วยปรีชาฉลาดในเทศนาลีลาวิธี ดั่งที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ เป็นที่ทรงนับถือเป็นอันมาก อนึ่งนอกจากกิจพระพุทธศาสนาโดยตรง พระสาสนโสภณยังเอาใจใส่ในการศึกษาสยามอักษรศาสตร์แห่งกุลบุตรเป็นอย่างดี ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมการในราชบัณฑิตยสภา และสำหรับการบริหารพระอาราม ได้ทรงตั้งให้เป็นกรรมการที่ปรึกษาในการทำนุบำรุงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม บัดนี้พระสาสนโสภณ ก็เจริญด้วยพรรษายุกาลสถาวีรธรรม อันให้อุปสัมปาเทตัพพาทิกิจทวียิ่งขึ้นตามทางพระวินยานุญาตเป็นหลักอยู่รูปหนึ่งในธรรมยุตติกสงฆมณฑล มีพุทธสมัยวิมลญาณปรีชาและศีลาจารวัตรมั่นคงในธรรมปฏิบัติ เป็นที่นิยมนับถือแห่งพุทธุปาสิตบริษัททั่วพุทธเกษตรสากล มีนิสสิตานุยนต์แพร่หลายทั้งในสกรัฎฐ์ และวิเทศรัฎฐพุทธศาสนิกบัณฑิต สมควรจะเป็นอุต-ดรมหาคณิสสราจารย์ที่สมเด็จพระราชา คณะผู้ใหญ่สังฆนายก มีอิสริยยศยิ่งกว่าสมณนิกรคามวาสีอรัณยวาสีฝ่ายเหนือทั้งปวง เพื่อเป็นศรีแห่งพระบวรพุทธศาสนาสืบไป<O:p</O:p
    จึ่งมีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสูรสิงหนาท ดำรัสสั่ให้สถาปนาพระสาสนโสภณเป็นสมเด็จพระราชา-คณะมีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบุล-คัมภีร์ญาณสุนทร มหาอุตดรคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี สถิต ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ 10 รูป คือพระครูปลัดสัมพิพัฑฒนศีลาจารย์ ญาณวิมล สกลคณิสสรอุตดรสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต 1 พระครูวินัยธร 1 พระครูธรรมธร 1 พระครูเมธังกร พระครูคู่เสวต 1 พระครูวรวงศ์ พระครูคู่สวด 1 พระครูธรรมราต 1 พระครูธรรมรูจี 1 พระครูสังฆวิจารณ์ 1 พระครูสมุห์ 1 พระครูใบฎีกา 1.<O:p></O:p>
    ขอพระคุณผู้รับราชทินนามเพิ่มอิสริยยศในครั้งนี้ จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ สามเณรในคณะและในพระอารามตามสมควรแก่กำลัง และอิสริยยศที่พระราชทานนี้ และขอจงจิรสถิติกาลเจริญอายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิวิรุฬหิไพบูลย์ในพระพุทธศาสนาเทอญ.<O:p</O:p
    ครั้นถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2476 พระมหาเถระบรรดาที่เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมได้ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ ยกย่องท่านขึ้นเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคม บัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สิ้นพระชนม์ จึงเป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงสืบมา เมื่อทรงพระกรุณาตั้งสมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) วัดสุทัศน์เทพวรารามขึ้นในปี พ.ศ. 2481 เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จึงพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม รวมเวลาที่ท่านเป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์ 4 ปี 9 เดือน กับ 27 วัน<O:p</O:p
    ถึงสมัยประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 เปลี่ยนระบอบการปกครองคณะสงฆ์ให้สอดคล้องต้องกันกับทางบ้านเมือง ท่านก็ได้เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง และได้เป็นคณะวินัยธรชั้นฎีกา อันเป็นคณะวินัยธรชั้นสุดยอด ต่อมาได้เป็นหัวหน้าคณะวินัยธรคณะนี้และเป็นประธานคณะวินัยธรโดยตำแหน่งด้วย วันที่ 28 กรกฎาคม เป็นประธานสังฆสภา วันที่ 1 มิถุนายน 2489 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2493 ครบ 4 ปี ถึงกำหนดพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่โดยที่ท่านได้รับภาระบริหารการคณะสงฆ์มาด้วยความเรียบร้อย เป็นผลดีแก่พระศาสนา และเป็นพระมหาเถระที่เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรพรหมจริยคุณ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก บริหารการคณะสงฆ์สืบต่อมาอีก และได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงวันที่มรณภาพ<O:p</O:p
    เป็นอันว่า เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญหลายตำแหน่ง อาทิเป็นผู้อำนวยการสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวงทั่วพระราชอาณาจักร 15 ปี เป็นเจ้าคณะมณฑล 2 คราว รวม 14 ปี เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนา พระมงคลวิเสสกถา 25 ปี เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์ 5 ปี เป็นประธานสังฆสภา เป็นประธานคณะวินัยธร และที่สุดเป็นสังฆนายก 5 ปีเศษ เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส 50 ปีเศษ<O:p</O:p
    ในเวลาที่ท่านเป็นผู้อำนวยการสอบพระปริยัติธรรมเป็นแม่กองสนามหลวง เป็นแม่กองสนามมณฑล และเป็นเจ้าคณะมณฑลนั้น ท่านบริหารงานเหล่านี้ด้วยความเรียบร้อยไม่บกพร่องเสียหาย เป็นที่เคารพยำเกรงของผู้น้อยทั่วไป เป็นที่นิยมนับถือของพระเถรานุเถระผู้ร่วมงานทุกท่าน เป็นที่ไว้วางใจและได้รับความยกย่องชมเชยจากท่านผู้ใหญ่ให้เกิดผลดีแก่พระศาสนาอย่างยิ่ง เนื่องด้วยกิจการบางอย่างในตำแหน่งดังกล่าวแล้ว จำเป็นต้องมีรายจ่ายมาก เป็นต้นว่า ค่าเครื่องเขียน สิ่งพิมพ์ ค่าพาหนะ เจ้าหน้าที่ และผู้นำข้อสอบไปเปิดสอบตามจังหวัดต่างๆ ที่มีการสอบทั่วประเทศ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ในปีหนึ่ง ๆ จำนวนไม่น้อย แม้มีทางจะเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณที่ได้ ท่านก็มิได้เบิกตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด<O:p</O:p
    นับว่าได้ประหยัดเงินของคณะสงฆ์ในการนี้เป็นจำนวนหลายหมื่นบาท ช่วยกิจพระศาสนาอันผู้ที่ยอมอุทิศกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติ ปัญญา ช่วยการพระศาสนาเช่นนี้ย่อมเป็นผู้หาได้ไม่ง่ายนัก.<O:p</O:p
    ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์ และดำรงตำแหน่งสังฆนายก อันเป็นตำแหน่งที่บริหารการคณะที่สำคัญยิ่ง ท่านก็ได้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อตรงเที่ยงธรรมรักษาวินัยระเบียบแบบแผนประเพณี โดยเคร่งครัดระมัดระวังรอบคอบ ประกอบด้วยรู้จักผ่อนผันในสิ่งที่ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดวินัย ระวังความแตกร้าวไม่ให้เกิดมี สมานสามัคคีให้เกิดแก่พุทธบริษัททุกหมู่เหล่า นำกิจการหมู่คณะให้ดำเนินไปด้วยดี ไม่ให้ความระส่ำระสายเกิดมีขึ้นในสังฆมณฑล ยังความเรียบร้อยในสังฆมณฑลให้เป็นไปด้วยดี ด้วยปรีชาสามารถ ตลอดสมัยของท่าน<O:p</O:p
    ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส 50 ปีเศษ เอาใจใส่ดูแลรักษาวัดเป็นอย่างดี ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ของเก่า เช่นพระอุโบสถและกุฎิ เป็นต้น แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และปลูกสร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติม เป็นต้นว่า ที่อยู่ที่อาศัย สถานการศึกษา รวมค่าซ่อมแซมแลค่าก่อสร้างประมาณ 3,600,000.00 บาท ทำวัดให้สะอาดสะอ้านเรียบร้อย น่าดู น่าอยู่ น่าอาศัย เป็นทางนำมาซึ่งศรัทธาปสาทะแก่พุทธบริษัทเป็นอันมาก สังหาริมทรัพย์ แลอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ที่นา ที่สวน และเงินทุนของวัด เกิดเพิ่มพูนเป็นผลประโยชน์สำหรับบำรุงพระอาราม บำรุงภิกษุสามเณร บำรุงการศึกษา เป็นต้น ประมาณราคา 6,800,000.00 บาท ซึ่งเดิมเมื่อครองวัดมีเพียง 800 บาทเศษเท่นั้น ทั้งนี้กล่าวแต่เฉพาะรายใหญ่ ๆ เท่าที่นึกได้ พุทธบริษัทก็เพิ่มขึ้นโดยลำดับกาล ในวันธัมมัสสวนะ มีอุบาสก อุบาสิกามารักษาศีลและฟังธรรมอย่างมากถึงวันละ 800 คน ท่านเป็นพระอุปัชฌายะบวชภิกษุ 4,847 รูป เป็นอุปสัมปทาจารย์ 364 รูป เป็นพระอุปัชฌายะบวชสามเณร 1,455 รูป รวมทั้งสิ้น 6,666 รูป<O:p</O:p
    ท่านเป็นผู้ฉลาดสามารถในการปกครองในการแนะนำสั่งสอน มีความเพียรไม่เบื่อหน่ายในการที่จะอบรมศิษยานุศิษย์ และแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัท ท่านถือเป็นกิจวัตรที่สำคัญ ไม่จำเป็น ไม่ขาดเลย เป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติของผู้ปกครองครบครัน คือมีอัธยาศัยเยือกเย็น หนักแน่น มีเมตตา กรุณา มุทิตา โอบอ้อมอารี มีใจเป็นห่วงในความเป็นอยู่แลความประพฤติของศิษย์หวังเจริญสวัสดีแก่ศิษย์ หมั่นอบรมสั่งสอนเป็นนิตย์ แม้สึกหาลาเพศไปแล้ว ก็ยังหวังดีอุตส่าห์ตักเตือนพร่ำสอนเมื่อมีโอกาส มีของกินของใช้ก็แบ่งเฉลี่ยให้ตามกาล เมื่ออาพาธป่วยไข้ก็หมั่นเยี่ยมเยียนถามอาการ หาหมอมาพยาบาลรักษาช่วยค่ายาค่ารักษา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่เคารพนับถือสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์สาธุชนผู้ได้รับอุปการคุณนั้น ๆ ทั่วกันไม่คืนคลาย<O:p</O:p
    ท่านเป็นผู้ไม่สะสม พอใจในการสละสิ่งของที่ได้มาบริจาคเป็นบุญเป็นกุศลแทบทั้งสิ้น แจกภิกษุสามเณรในวัดบ้าง ศิษย์วัดบ้างตามควรแก่บรรดามีบ้าง ให้หาเพิ่มเติมบ้าง จัดเป็นเครื่องบูชา มีแจกัน พาน กระถางธูป เชิงเทียนเป็นต้นชุดละ 50 ชิ้นเป็นอย่างน้อย ส่งไปถวายวัดที่ขาดแคลนในต่างจังหวัด วัดละชุดบ้าง 2 ชุดบ้าง บางวัดก็ถึง 3 ชุด ประมาณ 270 วัด พิมพ์หนังสือแจกเป็นธรรมทานด้วยทุนของท่านบ้างผู้อื่นช่วยบ้าง ประมาณ 100 เรื่อง คิดเป็นเล่มหนังสือประมาณ 400,000 เล่ม พิมพ์ไหว้ 5 ครั้ง แจกกรม กอง หน่วยราชการ ทหาร พลเรือน นักเรียน ประชาชน ตลอดถึงผู้ต้องขังทั่วราชอาณาจักรประมาณ 1,500,000 แผ่น นอกจากนี้ยังได้กระทำประโยชน์อันเป็นสาธารณะอีกมาก กล่าวเฉพาะส่วนใหญ่คือ<O:p</O:p
    ขุดสระขังน้ำฝนที่วัดเขาบางทราย และชาวตำบลอื่นที่ใกล้เคียงได้อาศัยบริโภคใช้สอยตลอดหน้าแล้งและหน้าฝน เพราะตำบลเหล่านั้นใกล้ทะเล มีแต่น้ำเค็ม กันดารน้ำจืด<O:p</O:p
    สร้างโรงเรียนเป็นตึกคอนกรีต 2 ชั้น 2 หลัง อยู่ในเขตวัดเขาบางทราย ชลบุรี มอบให้ทางการ เปิดสอนนักเรียน ตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 <O:p</O:p
    ซ่อมพระอุโบสถวัดเขาบางทรายชลบุรี เปลี่ยนแปลงจากเดิมขยายให้กว้างขวางงดงามยิ่งขึ้น ประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำลงรักปิดทองประดับกระจก เขียนลายผนัง ติดดาวเพดาน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบประกอบช่อฟ้าใบระกา<O:p</O:p
    สร้างตึกผ่าตัดให้แก่โรงพยาบาลจังหวัดชลบุรี 1 หลัง เป็นคอนกรีตทั้งหลัง มีเครื่องใช้เครื่องมือและเครื่องอุปโภคในการผ่าตัดทันสมัยอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังช่วยปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมกุฎี วิหาร ศาลา ถนนหนทาง และโรงเรียนเป็นต้น ทั้งที่วัดเขาบางทรายและวัดอื่น ๆ ในจังหวัดชลบุรีอีกหลายแห่ง ทั้งหมดนี้ด้วยทุนทรัพย์ส่วนขององค์ท่านตามกำลังเป็นส่วนมากมิได้เคยออกปากเรี่ยไรผู้อื่น เมื่อผู้อื่นทราบมีศรัทธาเลื่อมใสก็บริจาคร่วมสมทบด้วย แม้กุฎีที่อยู่อาศัย จะปฏิสังขรณ์หรือเพิ่มเติม เช่นติดกระเบื้องฝา ทาสี เป็นต้น หรืออื่นใด ท่านก็ทำไปด้วยทุนทรัพย์ส่วนองค์เอง มิได้ออกปากใครต่อเมื่อมีผู้เห็นเข้า ศรัทธาก็ถวายช่วยด้วย เรื่องจะเอาเปรียบบุคคล เอาเปรียบวัด เอาเปรียบศาสนาแม้โดยปริยายไร ๆ ท่านไม่นิยม ดังนั้นเวลาถึงมรณภาพลง จตุปัจจัยส่วนองค์เองจึงไม่มีเหลืออยู่เลย ท่านเป็นผู้ที่เจ้านาย ข้าราชการ คฤหบดี เลื่อมใสเป็นส่วนมาก แลเป็นกุศลปก คือเป็นพระประจำพระตระกูลของเจ้านายลางพระองค์ ถึงอย่างนั้นไม่มีธุระเป็นก็ไม่ไปเฝ้าหรือไปมาหาสู่ จะไปก็ไปเป็นกิจจะลักษณะท่านปลูกแลทำนุบำรุงศรัทธาเลื่อมใสของท่านนั้น ๆ ด้วยคุณธรรมแท้ ๆ จึงเป็นแท่นบูชาแห่งคุณธรรมความดีโดยส่วนเดียวของสาธุชน โวหารลางอย่างที่โลกนิยมใช้กัน เช่นมีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง คำว่า เป็นอย่างยิ่ง ท่านก็ไม่ใช้โดยอ้างถึงเจตนาว่า ไม่รู้สึกอย่างยิ่งเช่นนั้น ท่านเป็นผู้นิยมความกตัญญูกตเวทีนัก แลถือเป็นข้อหนึ่งสำหรับอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ ท่านเคยอ้างว่า องค์ท่านเองได้เจริญรุ่งเรืองมาเช่นนี้ก็เพราะดีต่อโยม ใครเคยมีคุณมามักประกาศคุณนั้น ๆ ให้ปรากฏไม่ลืมเลือนแลหาทางสนองคุณสมนาคุณในโอกาส.<O:p</O:p
    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้ถือเคร่งครัดในพระวินัยไม่ยอมประพฤติล่วงพระบัญญัติ แม้ในสิ่งที่ผู้อื่นโดยมากเห็นว่าเล็กน้อย เป็นผู้มีศีลาจารวัตรอันงามไม่บกพร่องด่างพร้อยแต่ประการไร กิจวัตรนอกจากสวดมนต์ไหว้พระทำกัมมัฏฐานภาวนาที่กุฏีที่อยู่ แล้วสวดมนต์ไหว้พระประจำวันทุกเช้าเย็นไม่จำเป็นท่านไม่ยอมขาด ทำตนเป็นผู้นำที่ดียิ่งและยังได้แนะนำชักชวนภิกษุสามเณรในวัดให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด ตลอดถึงได้ชักชวน เพื่อนสหพรหมจารีต่างวัดให้ช่วยกันทำนุบำรุงกิจวัตรแผนกนี้ ซึ่งถึงจะเป็นกิจวัตรพื้น ๆ แต่ก็นับว่าสำคัญประการหนึ่งอยู่เสมอในเมื่อมีโอกาส การฟังพระปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน ตั้งแต่อุปสมบทจนถึงวันมรณภาพขาดเพียง 2 ครั้ง ในเวลาอาพาธหนักไม่สามารถจะลุกนั่ง แลพลิกองค์เองได้แล้ว ท่านก็ยังแสดงความประสงค์จะลงฟังพระปาฏิโมกข์เมื่อวันอุโบสถมาถึงเข้า แต่ไม่มีผู้ใดจะปฏิบัติตามความประสงค์ของท่านได้เพราะเห็นว่าท่านอาพาธหนักมาก ถ้านำท่านลงไปอาจถึงเป็นอันตรายได้ การงานทุกอย่างที่ท่านทำมีระเบียบเรียบร้อยสม่ำเสมอเป็นเวลาไม่มากก็น้อย สิ่งไรที่ท่านทำเองได้ ท่านไม่รบกวนผู้อื่นแม้แต่ศิษย์ด้วยความเกรงใจ แม้ศิษย์จะสมัครใจยินดีทำถวายลางอย่าง เช่นช่วยถือบริขารเครื่องใช้สอยเป็นต้นว่าย่ามติดตามเมื่อไม่จำเป็น ท่านก็ไม่ยอมโดยอ้างว่า ใคร ๆ เขาจะเห็นว่าเป็นเจ้ายศเจ้าอย่างไป กิจการลางประการ ซึ่งต้องใช้พระเดช อันท่านเอง ก็สมควรแล้วที่จะใช้ได้ทุกประการ ท่านก็มักผ่อนลงมาเป็นใช้พระคุณโดยมาก โดยปรารภว่าวาสนาบารมีน้อยไม่ควร แก่พระเดชนัก อันผู้สูงศักดิ์มีวาสนาบารมีเมื่อจะทำกิจการไร ๆ ยังหวนระลึกถึง อตฺตญฺญฺตา มตฺตญฺญฺตา รู้ตน รู้ประมาณอันเป็นสัปปุริสธรรม ทั้งต่อหน้าแลลับหลังเช่นนี้ น่าเคารพบูชาของสาธุชนทั้งหลายนัก ท่านเป็นผู้ไม่มัวเมาในยศศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่เห็นแก่อามิสลาภยศชื่อเสียง ไม่ขวนขวายที่จะได้ตำแหน่งหน้าที่การงานนั้น ๆ แต่ด้วยเห็นแก่พระศาสนาจึงยอมรับตำแหน่งหน้าที่อันมาถึงตามกาลตามสมัย เมื่อรับทำสิ่งไรแล้วก็ตั้งใจจะทำจริงไม่ทอดทิ้ง ทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยความแช่มชื่นไม่ฝืนใจทำ มีความเพียรอดทนไม่ท้อถอย ทำตามกำลังสามารถ ลางอย่าง ลางโอกาส ถึงออกปากว่า ถ้าไม่ไหวก็ขอคืน ไม่ฝืนไว้ด้วยอาลัย ท่านไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ สิ่งไรทำพลาด เป็นผู้รู้จัก ผิดเป็น ยอมทำใหม่แก้ไขให้ถูก ยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไข ในเมื่อมีผู้ทักท้วง มีเหตุผลเป็นธรรมเป็นวินัย ไม่ปล่อยให้สิ่งผิดแล้วเลยตามเลย หรือขืนทำไปทั้ง ๆ ที่เห็นว่าผิด ท่านจึงเป็นผู้รู้อย่างที่กล่าวยกย่องว่า ไม่เมาในความรู้ไม่มีชนิดที่เรียกว่า เอาสีข้างเข้าดัน อันเป็นมลทินของผู้รู้ แต่ว่าเป็นผู้ถ่ายถอนถือเอาแต่ยุติที่ชอบด้วยเหตุผล เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นประมาณ มีธรรมวินัยเป็นใหญ่ มีธรรมวินัยเป็นธงชัย มายอมให้มานะทิฐิหรือเล่ห์กลใด ๆ เข้ามาปะปนแฝงอยู่ จึงเป็นหลักในความรู้และความเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้สนิท เป็นผู้ตรงไปตรงมาไม่มีแง่งอนมายาเป็นปฏิปทาของสาวกสงฆ์ข้อ อุชุปฏิปนฺโน คือเป็นผู้ปฏิบัติตรง ท่านเป็นผู้มีความอดกลั้นเป็นอย่างดี มีความสงบเสงี่ยม ไม่เคยแสดงอาการผลุนผลันให้ปรากฏไม่เคยพูดคำหยาบ กล่าวแต่คำอ่อนหวาน ไม่พูดให้เจ็บใจคนอื่น ไม่พูดเสียดสีกระทบกระทั่งนินทาว่าร้ายผู้อื่น องค์ท่านเคยปรารภเป็นเชิงสอนว่า คนเรานั้นมีอาวุธพิเศษสำหรับป้องกันตัวอย่างหนึ่งคือนิ่ง ไม่ต่อปากต่อคำ ต่อความยาวสาวความยืด อันเป็นเหตุให้เรื่องนั้น ๆ ไม่สุดสิ้น ปฏิปทานี้ท่านถือเป็นแนวปฏิบัติประการหนึ่ง จึงนิยมในการรู้แล้ว เลิกแล้วกันไปไม่ถือสาหาความอีก ไม่มีเวรไม่มีภัยกับใคร ๆ แม้ผู้ที่ถือโกรธท่าน ๆ ก็ไม่โกรธตอบ กลับหาทางสมัครสมานคืนดี เรื่องไม่ดีของผู้อื่นเป็นไม่พูดถึงมีผู้พูดก็ห้ามเสีย เรื่องการบ้านการเมือง รบราฆ่าฟัน อันไม่ใช้กิจสมณะไม่พูดเกี่ยวถึงเลย มีผู้พูดถ้าเป็นพูดน้อยก็ห้ามเสีย ถ้าเป็นผู้ใหญ่ท่านก็ยิ้ม ๆ รับฟังโดยมารยาท ท่านมีอาการสงบสม่ำเสมอ ไม่โลเลสับปลับ ไม่พูดถ้อยคำไร้สาระ พูดแต่สิ่งที่เป็นงานเป็นการ ประกอบด้วยอรรถด้วยธรรม มีประโยชน์ ไม่พูดเล่นตลกคะนองแต่ไหนแต่ไรมา.<O:p</O:p
    ท่านทำองค์ของท่านเป็นเนติแบบอย่าง สมกับเป็นผู้นำหมู่คณะ เป็นผู้ปกครองศิษยานุศิษย์ บริษัท บริวาร ตลอดถึงคณะสงฆ์ เป็นพระอุปัชฌาอาจารย์ของคนทุกชั้น สิ่งไรที่ท่านสอนให้คนอื่นละเว้นไม่ให้ทำไม่ให้ประพฤติ องค์ท่านเองย่อมละเว้น ไม่ทำไม่ประพฤติด้วย ไม่เป็นแต่เพียงสอนหรือห้ามผู้อื่นฝ่ายเดียวเท่านั้น ท่านเป็นผู้เคารพนับถือผู้ใหญ่เหนือตน ปฏิบัติตามบังคับบัญชาในสิ่งที่ถูกที่เป็นธรรมอย่างครบถ้วน แต่ถ้าสิ่งไรเป็นผิดเป็นเสียแล้วก็ไม่ยอมร่วมด้วย ระเบียบแบบแผนประเพณีอันใดที่ทางคณะสงฆ์บัญญัติไว้เป็นธรรมเป็นวินัย ท่านถือว่าปฏิบัติตามโดยไม่บกพร่องนี้เป็นเนติอีกประการหนึ่งคือดีทั้งปกครองเขา แลเขาปกครองก็ดีด้วย <O:p</O:p
    ทราบว่าเมื่อครั้งท่านสอบไล่ภาษาบาลีในมหามกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1 ทุกชั้นเป็นลำดับมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งว่า ตาบุญ ( คือพระยาธรรมปรีชาผู้เป็นอาจารย์ภาษาบาลีของเจ้าพระคุณ ) มอมช้างเผือกส่งเข้ามา จึงได้เป็นผู้ที่ทรงโปรดปราน เป็นผู้ที่ทรงปรึกษาทางด้านวิทยาการ แลด้านการปกครองคณะสงฆ์องค์หนึ่ง จนกาลที่สุดคือเมื่อจวนจะสิ้นพระชนม์ ก็ยังโปรดให้เจ้าพระคุณซึ่งในเวลานั้นดำรงตำแหน่งฐานันดรสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์ เข้าเฝ้าถวายธรรมลางประการเป็นครั้งสุดท้าย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อาพาธเป็นโรคเนื้องอกที่ตับ มีอาการเบื่ออาหารและอ่อนเพลียมาโดยลำดับ นายแพทย์ได้ตรวจพบเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2494 พักรักษาตัวอยู่ ณ วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรีประมาณเดือนเศษ อาการไม่ดีขึ้นถึงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ทางคณะสงฆ์กรมการศาสนาและกรมการแพทย์ส่งนายแพทย์ไปรับท่านมารักษาพยาบาล ณ วัดเทพศิรินทราวาส นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญเป็นต้นว่า หลวงนิตยเวชวิศิษฐ์ พระอัพภันตราพาธพิศาล นายแพทย์ใช้ ยูนิพันธ์ ได้ถวายการรักษาพยาบาลจนสุดความสามารถ แต่โรคชนิดนี้ยังไม่พบวิธีที่จะรักษาให้หายได้ เป็นโรคที่ทรมานเท่าที่ปรากฏผู้ที่เป็นโรคชนิดนี้มักได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส แต่องค์ท่านแม้ได้รับทุกขเวทนาเห็นปานนั้นก็สงบระงับไม่ยอมให้ทุกขเวทนานั้นครอบงำ มีสติสัมปชัญญะ ส่อให้เห็นคุณธรรมลางประการ อันท่านได้อบรมมาเป็นเวลานาน ไม่ครั่นคร้านต่อมรณภัยอันคุกคามอยู่ สู้อุตส่าห์แนะนำพร่ำสอนโดยย่อ ๆ ถึงคุณพระรัตนตรัย แลความจริงของสังขารกับทั้งความน่าเบื่อหน่ายในชาติภพ แลให้ศีลให้พรแก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียนแลรักษาพยาบาลจนที่สุดถึงมรณภาพด้วยอาการอันสงบเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.30 น. คำนวณอายุได้ 80 ปี โดยปีพรรษา 59<O:p></O:p>
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานน้ำสรงศพ และพระราชทานโกศไม้สิบสอง ประดับพุ่มและพู่เฟื่อง ฉัตรเครื่องสูง มีแตร จ่าปี่ จ่ากลองและกลองชนะ ประโคมเป็นเกยรติยศ ประดิษฐานโกศ ณ กุฎีที่อยู่วัดเทพศิรินทราวาส มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเป็นของหลวง 3 วัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกอบการพระราชกุศลทักษิณานุสรณ์ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในสัตมวารแรก ต่อจากนั้นมีเจ้านายคณะรัฐมนตรีข้าราชการ คณะสงฆ์ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือได้ทรงบำเพ็ญและบำเพ็ยกุศลถวายติดต่อกันมาเป็นลำดับ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2495 และเสด็จพระราชดำเนินทั้งสองพระองค์<O:p</O:p
    ประวัติและคุณสมบัติทั้งส่วนอัตตสมบัติแลปริหิตปฏิบัติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถระ เท่าที่ได้รำพันมานี้ชี้ให้เห็นว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้อาศัยความเป็นผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้วในกาลก่อน เป็น ปุพฺเพกตปุญญตา อันท่านผู้รู้เรียกว่า วาสนาแรกเริ่มนำให้มาอยู่ในถิ่นอันสมควร เป็นปฏิรูปเทสวาสคบหาศึกษาวิทยาการกับผู้ทรงคุณวุฒินั้น ๆ เป็น สปฺปุริสูปสฺสย คือคบสัตบุรุษกับทั้งตั้งองค์ท่านเองไว้ในที่ชอบ ประกอบด้วยสุจริตธรรมสัมมาปฏิบัติเป็นอตฺตสมฺมาปริธิ ศิริรวมเป็นจักรธรรมครบ 4 ประการ เป็นจักรสมบัติ พัดผันนำองค์ท่านไปสู่วัฒนะ เจริญรุ่งเรืองสุดวาสนาบารมี กับทั้งยังประกอบด้วยญาณปรีชาอันประเสริฐเป็นเหตุสำคัญนำองค์ท่านให้ผ่านพ้นอุปสรรคภยันตรายฝ่ายหายนะ รอดตลอดจนสุดชนม์ชีพด้วยประการฉะนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1136565399.jpg
      1136565399.jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.4 KB
      เปิดดู:
      983
    • 949.jpg
      949.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.4 KB
      เปิดดู:
      1,702
    • 950.jpg
      950.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.2 KB
      เปิดดู:
      2,901
    • 1136565703.jpg
      1136565703.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.7 KB
      เปิดดู:
      140
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2007
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.saktalingchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=262023

    [​IMG]

    ปัจฉิมโอวาท
    ของ
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรมหาเถระ
    วัดเทพศิรินทราวาส

    ไม่ตายควาวนี้ ก็ตายคราวหน้า อย่างเศร้าโศก เสียทีที่ศึกษาปฏิบัติมา ร้องให้เศร้าโศก ก็ร้องไห้เสร้าโศกสังขารที่
    เกิดแก่เจ็บตายนั้นเอง ที่ไม่ร้องไห้เศร้าโศกนั้นมิใช่จะเป็นคนใจไม้ใส้ระกำอะไร

    ธรรมของพระก็คือ
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
    ย่นลงก็ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา แล้วปรินิพพาน
    ไม่ต้องเกิดมาแก่ มาเจ็บ มาตายอีก

    (มีบัญชาให้บันทึกไว้เมื่อเช้าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๙๔)

    *************************************************

    ที่มา http://www.saktalingchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=262024

    เกียรติคุณสมเด็จฯ
    โดย
    ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

    <O:p</O:p
    .....พวกเรามีทุกข์สุขอย่างไร ก็ได้พึ่งท่านจนรู้สึกเหมือนท่านเป็นญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.saktalingchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=262030

    พระเศวต ฯ ของชลบุรี<O:p</O:p
    อุ่ณห์จิตต์ นพรัก
    </O:p
    ...พอผู้เขียนได้เห็นร่างอันมีสง่าราศี ผิวเนื้อขาวเหลือง เพราะสีผ้าเหลืองจับ ใบหน้ามีเมตตากรุณา กิริยามารยาทอ่อนโยนสงบเสงี่ยม นั่งเด่นเป็นสง่าอยู่ในท่ามกลางหมู่สงฆ์ พลันผู้เขียนก็เกิดความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในองค์ท่านขึ้นมาทันที ตั้งใจไว้อย่างแน่วแน่ว่า ถ้าผู้เขียนมีโอกาสได้อุปสมบทเมื่อใด จะขออุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเทพศิรินทราวาส และขอเลือกพระองค์นี้เป็นพระอุปัชฌาย์ของผู้เขียนด้วย
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.saktalingchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=34000

    ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

    ประวัติตอนบวช

    .ต. การุณย์ เหมวนิช นบ., น.บ.ท.<O:p</O:p
    ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต รับราชการจนกระทั่งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 สวรรคต ท่านจึงได้บวชอุทิศถวายพระราชกุศล เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2468 ที่วัดเทพศิรินทราวาสโดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุดมศีลคุณและพระพุทธวิริยากร เป็นพระกรรมวาจาจารย์และอนุสาวนาจารย์ ท่านได้บอกว่าตำแหน่งของท่านนี้ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตก็จะบวชถวายพระราชกุศล มีตัวอย่างมาเสมอแต่ไม่มีใครบวชถวายตลอดชีวิตตั้งแต่หนุ่มเหมือนท่าน ส่วนท่านเองนั้นครั้งแรกก็ไม่ได้คิดจะบวชถวายตลอดชีวิตเช่นกัน แต่จะเพราะเหตุใดท่านจึงไม่ลาสิกขา ผมจะไว้กล่าวตอนต่อไป ตอนนี้จะขอกล่าวถึงเหตุใดท่านจึงได้มาบวชที่วัดเทพศิรินทราวาสก่อน ในเมื่อบ้านท่านก็อยู่ใกล้วัดโสมนัส และท่านเองก็เรียนที่วัดโสมนัส ท่านมีอะไรเกี่ยวข้องกับวัดเทพศิรินทราวาสมาก่อนหรือ ตอนนี้แหละที่วิชาดูลายมือได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของท่านดังที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น ท่านบอกว่าเมื่อท่านตัดสินใจแน่วแน่ที่จะบวชแล้ว ท่านพิจารณาเห็นว่าการบวชนี้ก็เท่ากับว่าได้เกิดในเพศใหม่ มีพระอุปัชฌาย์เป็นพ่อ ฉะนั้นท่านก็ควรจะเลือกพ่อให้ดีที่สุดในเมื่อท่านมีสิทธิ์จะเลือกได้ วิธีเลือกของท่านนั้นท่านได้อาศัยวิชาดูลายมือและวิชาดูลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ โดยท่านได้นำภัตตาหารไปถวายพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เวลาจะประเคนท่านแอบดูลายมือขณะที่พระรับประเคนของบ้าง ขอดูบ้างเมื่อมีโอกาสสมควรและไม่ขาดคารวะ ท่านทำดังนี้อยู่หลายวัดจนกระทั่งถึงวัดเทพศิรินทราวาส ท่านได้เห็นลายมือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ตลอดจนเห็นลักษณะทุกอย่างแล้วท่านก็ปลงใจว่า จะเลือกสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพ่อในการเกิดเป็นพระภิกษุในครั้งนี้ ท่านจึงได้มาขอบวชที่วัดเทพศิรินทราวาส นอกจากนี้เมื่อสมัยที่ท่านรับราชการอยู่ท่านก็ได้รู้จักสมเด็จอุปัชฌาย์มาก่อนแล้ว โดยสมเด็จไปเทศน์ในวัง ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าท่านธมฺมวิตกฺโกเป็นผู้สุขุมละเอียดอ่อนมากในการจะตัดสินใจทำอะไร โดยมากท่านจะคิดวางโครงการเป็นขั้นเป็นตอนว่า จะทำอะไร และทำให้ได้เพียงใดก่อนเสมอ<O:p</O:p
    ส่วนเรื่องที่ท่านไม่ได้คิดบวชจนตลอดชีวิตมาแต่แรก แล้วทำไมจึงตัดสินใจบวชจนตลอดชีวิตนั้น ท่านบอกว่าตามโครงการของท่านนั้น ท่านได้วางไว้ว่าจะบวชถวายพระราชกุศลเพียงหนึ่งพรรษา แล้วหลังจากนั้นท่านจะแต่งงานแล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่อเมริกา แล้วจะกลับมารับใช้ชาติต่อไป แต่เมื่อบวชครบพรรษาแล้ว ท่านกลับไม่คิดลาสิกขา เหตุที่ท่านไม่ลาสิกขานี้ท่านบอกว่า เพราะได้กัลยาณมิตรในทางธรรมแล้วคือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระอุปัชฌาย์ของท่านเอง สมเด็จฯ ได้สอนเรื่องอริยสัจสี่แก่ท่าน จนท่านเห็นความทุกข์ที่แทรกซ้อนอยู่ในความสุข จนกล่าวได้ว่าไม่มีความสุขใดในชีวิตฆราวาสที่จะไม่มีความทุกข์ซ้อนอยู่ในความสุขนั้น และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตของท่านที่ผ่านมา ท่านก็เห็นได้ชัดเจนว่า ชีวิตเป็นทุกข์อย่างแท้จริง และอยากจะใฝ่หาทางพ้นทุกข์ อย่างไรก็ดีท่านก็บอกว่าท่านยังไม่ตัดสินใจจะบวชตลอดชีวิตอยู่นั่นเอง แต่จะบวชไปก่อน การบวชไปก่อนของท่านนั้นไม่ได้บวชอย่างขอไปทีหรือบวชอย่างคนที่ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะลาสิกขาหรือไม่ ซึ่งการบวชดังกล่าวมานี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บวชแต่อย่างใด นอกจากจะอยู่ไปวันหนึ่ง ๆ แต่สำหรับท่านธมฺมวิตกฺโก ท่านไม่ได้ปล่อยให้เวลาล่วงไปวันหนึ่ง ๆ อย่างเปล่าประโยชน์ ท่านบวชและเจริญสมาธิอย่างเข้มงวดในช่วงระยะเวลานี้ เพียงแต่ยังไม่ได้ตั้งใจจะบวชจนตลอดชีวิตเท่านั้น และจากการปฏิบัติของท่านนี้ ก็เกิดผลให้ท่านสมดังใจทำให้ท่านตัดสินใจได้ภายหลัง ผมได้เรียนถามท่านว่าแล้วท่านตัดสินใจบวชตลอดชีวิตเมื่อใด ท่านบอกว่าท่านตัดสินใจหลังจากบวชแล้วประมาณ 6 ปี ขณะนั้นท่านเกิดเบื่อหน่ายทุกสิ่งทุกอย่าง มีความบันเทิงแต่ในทางธรรมเพียงอย่างเดียว และเห็นความเป็นอนิจจังของบ้านเมือง จนเล็งเห็นว่าแม้ท่านจะลาสิกขาออกไป ท่านก็ไม่อาจจะไปใช้ชีวิตดังเดิมได้ ในเมื่อจิตใจของท่านเบื่อหน่ายต่อชีวิตการครองเรือน มองเห็นแต่ความทุกข์ หากลาสิกขาบทไปก็เท่ากับไปใช้ชีวิตอย่างเดิมอีก ในเมื่อท่านได้ก้าวออกมาจากชีวิตนั้นแล้ว เป็นอิสระแล้ว จะย้อนกลับไปใช้ชีวิตเช่นนั้นอีกทำไมเล่า เหมือนก้าวขึ้นมาจากโคลนตมแล้วกลับกระโดดลงไปอีกฉะนั้น ส่วนที่ท่านบอกว่า เห็นความเป็นอนิจจังของบ้านเมืองจนคิดเบื่อหน่ายนั้นก็คือ เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ทรงตั้งสมาคมเจ้า และท่านปรีดี พนมยงค์ ตั้งสมาคมราษฎร์ขึ้นมา ท่านจึงพิจารณาเห็นว่าท่านไม่อาจไปใช้ชีวิตฆราวาสได้อีกอย่างแน่นอน เพราะชีวิตฆราวาสเป็นชีวิตที่ต้องต่อสู้โดยไม่รู้ว่าต่อสู้ไปทำไม เพื่ออะไร ในเมื่อชีวิตนี้เป็นทุกข์ควรจะต่อสู้เพื่อให้พ้นทุกข์มิดีกว่าหรือ การที่ท่านตัดสินใจอย่างนี้ ผมคิดว่าคงจะเป็นผลจากการเจริญสมาธิของท่านนั่นเอง ท่านเองก็เคยปฏิเสธตำแหน่งทางราชการมาแล้ว เมื่อครั้งที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 รับสั่งให้เจ้าคุณไพชยนต์เทพฯ (ทองเจือ ทองใหญ่) มาติดต่อให้ไปรับราชการกับพระองค์ท่าน ซึ่งท่านธมฺมวิตกฺโกก็ได้กล่าวตอบในเชิงปฏิเสธว่า
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]


    รูปคณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตร)


    1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า
    2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า
    3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า (หลวงปู่อิเกสาโร)
    4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า (หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา ลพบุรี)
    5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า (หลวงปู่หน้าปาน หรือหลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด วัดโอภาสี กรุงเทพฯ)


    หมายเหตุ จากรูปนั้น ชื่อองค์แรกคือพระภูริยะเถระเจ้า แต่ที่ถูกต้องคือพระฌาณียะเถระเจ้า ส่วนองค์สุดท้ายคือพระฌาณียะเถระเจ้า ที่ถูกต้องคือพระภูริยะเถระเจ้า


    โดยปกติที่เห็นหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรกันทั่วๆไปนั้น จะเป็นรูปของหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)ครับ
    [​IMG]
    <O:pหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)</O:p
    <!-- / message --><!-- / message --><!-- sig -->​



    วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร<O:p</O:p

    จะเป็นภาพถ่ายหรือรูปหล่อของหลวงปู่ท่าน หรือพระพิมพ์ที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตไว้ย่อมใช้ได้ทั้งสิ้น หลวงปู่ท่านโปรดผู้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ชอบอาหารมังสะวิรัติ ชอบฟังคำสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ชอบบูชาด้วยดอกมะลิสด น้ำฝน 1 แก้ว เทียนหนักหนึ่งบาท 1 คู่ ธูปหอม 5 ดอก (คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด) ) การปฏิบัติธรรมสังวรณ์ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยศีล 5 เป็นอย่างน้อย ย่อมเป็นสิ่งพึงพอใจของหลวงปู่และทั้งยังให้ความสุชความเจริญทั้งคดีโลกและคดีธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ

    สำหรับพิมพ์อรหันต์ พิมพ์ปิดตา และพิมพ์มหากัจจายนะซึ่งเป็นองค์เดียวกันแต่ปางต่างกันหากจะอาราธนาอย่างพิศดารก็ย่อมกระทำได้ กล่าวคือพิมพ์อรหันต์ใหญ่ พิมพ์อรหันต์กลางและพิมพ์อรหันต์น้อย อยู่ในหมวดพระมหากัจจายนะรูปงามซึ่งเป็นรูปเดิมก่อนการอธิษฐานวรกายให้ต่อท้ายด้วยคาถาดังนี้

    พิมพ์อรหันต์
    อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม
    (เชยยะ อ่านว่า ไชยะ ; รูปะวะระ แปลว่า รูปงาม)
    *** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม ***

    สำหรับสำหรับพิมพ์พระปิดตาซึ่งเป็นปางอธิษฐานวรกายให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วยพระคาถาต่อไปนี้
    พิมพ์พระภควัมปติ(ปิดตา)
    ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    *** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***

    สำหรับพิมพ์พุงพลุ้ยที่นิยมเรียกกันว่า พระสังกัจจายน์ คำนี้ไม่มีศัพท์นี้ในภาษาบาลี ที่ถูกต้องคือ พระมหากัจจายนะ เถระเจ้าอัน
    เป็นปางหลังจากที่นิมิตวรกายแล้ว ให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วย พระคาถาต่อไปนี้
    อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    ***โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***
    จะเห็นว่าตัดเอาคำว่า รูปะวะระออกไปเพราะสิ้นความงดงามแล้ว

    พระพิมพ์ของคณะพระเทพโลกอุดรนั้นทุกรูปแบบทุกพิมพ์ทรงมีอานุภาพครอบจักรวาล อาราธนาทำน้ำมนต์ประสิทธิ์ยิ่งนัก โดยให้นำเอาพระแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเรียบร้อยแล้ว บูชาด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียน แล้วอธิษฐานตามความมุ่งหมาย เสร็จแล้วให้รีบนำพระขึ้นเช็ดน้ำด้วยสำลีหรือผ้าสะอาด ผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปบรรจุตลับ องค์พระจะไม่ละลายลบเลือนและไม่ควรแช่ในน้ำนานเกินควร จงทะนุถนอมให้จงดี เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว

    สำหรับท่านที่มีพระอันเป็นทิพยสมบัติอันทรงคุณค่า โดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพชนหรือได้รับจากทางใดทางหนึ่งก็ตาม เสมือนมีแก้วสารพัดนึกอยู่กับตัว ไม่จำเป็นต้องขวนขวายในอิทธิวัตถุอื่นอีก<O:p</O:p

    วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร

    คำบูชาบรมครูพระโลกอุดร
    นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯลฯ ( 3 จบ )<O:p</O:p
    โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรา นุสาสะโก โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิฐะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสาริกะธาตุ วะชิรัญจา ปิวานิตัง โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง เวเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม

    บทสวด แบบย่อหรืออาราธนาพระพิมพ์ (ได้ทุกทรงพิมพ์)<O:p</O:p
    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
    หรือภาวนา ๓ จบ , ๗ จบ , ๙ จบ (เช้า-เย็น ตื่นนอนและก่อนนอน)<O:p</O:p
    โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ

    หมายเหตุ : บทความที่นำมาเสนอนี้ได้รับการอนุญาตในการคัดลอกและเรียบเรียงเพื่อเผยแพรเป็นวิทยาทานจากท่าน อาจารย์ ประถม อาจสาครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นพระคุณและความกรุณาอย่างยิ่ง<O:p</O:p

    ผมขอเสริมนะครับ ท่านสามารถอาราธนาเป็นภาษาไทย ได้นะครับ ถ้ายังจำบทสวดของท่านไม่ได้ครับ

    ท่านที่ห้อยพระหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ท่านเมตตาเสกให้นั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องไปในสถานที่อโคจรทั้งหลาย ผมมีบทสวดที่ใช้ในการนี้มาฝากทุกท่านครับ

    ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อิติภะคะโว
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด โสภะคะวา

    หรือก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อะระหัง
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด หังระอะ

    บทแผ่เมตตาโบราณ<O:p</O:p
    นะเมตตา โมเมตตา ปะวาเสนตัง อะหังโหมิ สุจิตตาปะมาทาตุ สุจิตโตปะโมทาตุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บทแผ่เมตตาอันยิ่งใหญ่<O:p</O:p
    มหาโคตะโมปาทะเกอิ จะอะปาทะเกอิ เมเมตตังเมตตัง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สำหรับท่านที่ได้บูชาพระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตไว้ให้นั้น ผมขอเรียนชี้แจงให้ทราบกันนะครับว่า การวางพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลต่างๆ ต้องวางไว้ในที่เหมาะสม ควรใช้พวงมาลัยไว้พระพิมพ์ (เป็นการไหว้หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และเทวดาผู้ที่รักษาพระพิมพ์) พวงมาลัยที่ใช้ไหว้นั้น ต้องเป็นพวงมาลัยที่มีดอกรัก ,ดอกมะลิ ,ดอกกุหลาบ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ห้ามใช้พวงมาลัยที่เป็นดอกดาวเรืองโดยเด็ดขาด ส่วนการวางพวงมาลัย ควรหาพานมาเพื่อใช้ในการวางพวงมาลัยครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หากท่านใดที่ได้ทำบุญไม่ว่าจะเป็นการทำบุญเรื่องอะไรก็ตาม ควรที่จะกรวดน้ำให้กับผู้เสก,ผู้สร้าง และเทวดาประจำองค์พระพิมพ์ด้วยทุกๆครั้งนะครับ<O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
    **************************************************




    ไหว้ 5 ครั้ง<O[​IMG]</O[​IMG]


    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ )
    วัดเทพศิรินทราวาส<O[​IMG]</O[​IMG]

    [​IMG]

    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html<O[​IMG]</O[​IMG]

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาไร ตามแต่เหมาะต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวนั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประณมมือว่า<O[​IMG]</O[​IMG]
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโน สนฺทิฆฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 3 ว่าพระสังฆคุณ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโยทกฺขิเนยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    นั่งพับเพียบประณมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้ว กราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ข้า ฯ ขอ กราบไหว้คุณท่านบิดาและมารดา<O[​IMG]</O[​IMG]
    เลี้ยงลูกเฝ้ารักษา แต่คลอดมาจึงเป็นคน<O[​IMG]</O[​IMG]
    แสนยากลำบากกายไป่คิดยากลำบากตน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ในใจให้กังวลอยู่ด้วยลูกทุกเวลา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยามกินพอลูกร้องก็ต้องวางวิ่งมาหา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยามนอนห่อนเต็มตาพอลูกร้องก็ต้องดู<O[​IMG]</O[​IMG]
    กลัวเรือดยุงไรมดจะกวนกัดรีบอุ้มชู<O[​IMG]</O[​IMG]
    อดกินอดนอนสู้ ทนลำบากหนักไม่เบา<O[​IMG]</O[​IMG]
    คุณพ่อแม่มากนักเปรียบน้ำหนักยิ่งภูเขา<O[​IMG]</O[​IMG]
    แผ่นดินทั้งหมดเอามาเปรียบคุณไม่เท่าทัน<O[​IMG]</O[​IMG]
    เหลือที่ จะแทนคุณ ของท่านนั้น ใหญ่อนันต์<O[​IMG]</O[​IMG]
    เว้นไว้ แต่เรียนธรรม์ เอามาสอนพอผ่อนคุณ<O[​IMG]</O[​IMG]
    สอนธรรมที่จริงให้ รู้ไม่เที่ยงไว้เป็นทุน<O[​IMG]</O[​IMG]
    แล้วจึงแสดงคุณ ให้เห็นจริงตามธรรมดา<O[​IMG]</O[​IMG]
    นั่นแหละจึงนับได้ ว่าสนองซึ่งคุณา<O[​IMG]</O[​IMG]
    ใช้ค่าข้าวป้อนมาและน้ำนมที่กลืนกิน ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผุ้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ข้า ฯ ขอนอบน้อมคุณแด่ท่านครู ผู้อารี<O[​IMG]</O[​IMG]
    กรุณาและปรานีอุตส่าห์สอนทุก ๆ วัน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ยังไม่รู้ ก็ได้รู้ ส่วนของครูสอนทั้งนั้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    เนื้อความทุกสิ่งสรรพ์ดีชั่วชี้ ให้ชัดเจน<O[​IMG]</O[​IMG]
    จิตมากด้วยเอ็นดูอยากให้รู้เหมือนแกล้งเกณฑ์<O[​IMG]</O[​IMG]
    รักไม่ลำเอียงเอนหวังให้แหลมฉลาดคม<O[​IMG]</O[​IMG]
    เดิมมืดไม่รู้แน่เหมือนเข้าถ้ำเที่ยวคลำงม<O[​IMG]</O[​IMG]
    สงสัยและเซอะซมกลับสว่างแลเห็นจริง<O[​IMG]</O[​IMG]
    คุณส่วนนี้ควรไหว้ ยกขึ้นไว้ ในที่ยิ่ง<O[​IMG]</O[​IMG]
    เพราะเราพึ่งท่านจริงจึงได้รู้ วิชาชาญ ฯ<O[​IMG]</O[​IMG]

    (บทประพันธ์สรรเสริญคุณมารดาบิดา และ ครูบาอาจารย์ของ ท่านอาจารย์ จางวางอยู่ เหล่าวัตร วัดเทพศิรินทราวาส<O[​IMG]</O[​IMG]

    ลิขสิทธิ์เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระโศภนศีลคุณ (หลวงปู่หลุย พาหิยาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส)
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ต่อไปนี้ไม่ต้องประณมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่อง และร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้งพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดา เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือพระมหากษัตริย์ ทั้งเทพยดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยกมือไม่ขึ้น ก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และ ตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มขั้นของตน ๆ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญญาณวรเถระ )

    http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7

    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนาย ทองสุก และนางย่าง

    เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย

    เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส

    "ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของ
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา

    พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา

    พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็นสมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระหลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้
    เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน
    ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

    ความคิดเห็นส่วนตัวผม
    ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท่านบอกกับผู้ที่ไปกราบท่านว่า ขอให้ทุกๆวันได้ไหว้ 5 ครั้ง จะได้เป็นศิริมงคลกับตนเอง จะเหมือนกับชื่อของท่าน (เจริญ) ครับ ท่านเจ้าคุณนรเอง ก็มีความเคารพในท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)มาก โดยท่านเจ้าคุณนรเอง เวลาเดินผ่านกุฎิของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)ทุกครั้ง ท่านเจ้าคุณนร ก็จะก้มลงกราบที่กุฎิอยู่ทุกครั้งครับ

    .*********************************************.
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]
    รูปคณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตร)

    1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า
    2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า
    3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า (หลวงปู่อิเกสาโร)
    4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า (หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา ลพบุรี)
    5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า (หลวงปู่หน้าปาน หรือหลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด วัดโอภาสี กรุงเทพฯ)

    หมายเหตุ จากรูปนั้น ชื่อองค์แรกคือพระภูริยะเถระเจ้า แต่ที่ถูกต้องคือพระฌาณียะเถระเจ้า ส่วนองค์สุดท้ายคือพระฌาณียะเถระเจ้า ที่ถูกต้องคือพระภูริยะเถระเจ้า

    โดยปกติที่เห็นหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรกันทั่วๆไปนั้น จะเป็นรูปของหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)ครับ

    [​IMG][​IMG]


    ประวัติหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร
    ลิขสิทธิ์ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร


    กาลามสูตร


    ของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมครู
    <O:p</O:p

    1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา <O:p</O:p
    2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา<O:p</O:p
    3. อย่าปลงใจเชื่อ ค้วยการเล่าลือ <O:p</O:p
    4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์<O:p</O:p
    5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก <O:p</O:p
    6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน<O:p</O:p
    7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล <O:p</O:p
    8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว<O:p</O:p
    9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ <O:p</O:p
    10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา<O:p</O:p
    เรื่องราวเกี่ยวกับพระเทพโลกอุดร มีมาช้านานแล้ว เริ่มต้นในยุคสมัยสุวรรณภูมิ หริภุญไชย สุโขทัย อยุธยา และตนโกสินทร์ หลักฐานที่ปรากฏชัดแต่ขาดการค้นคว้า อย่างจริงจังรู้ในชนกลุ่มน้อยทางเจโตบ้าง เช่น พระอริยคุณาธาร (ปุสโสเส็ง) และหลวงปู่คำคะนิง ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า คณะพระเทพโลกอุดร เคยมาพำนัก ณ ถ้ำดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวไปก็ไม่มีผู้ใดเห็นอย่างท่าน บางท่านที่มีวาสนาก็พบเห็นท่านและยืนยัน ครั้นจะเอาเข้าจริงก็ไม่สามารถพบเห็นท่าน คล้ายคนหนึ่งเคยเห็นผีแต่หลายคนอยากเห็นบ้างก็ไม่เห็น จนเกือบจะเป็นเรื่องอจิณไตย (คือเรื่องที่ไม่ควรนึกคิด) แต่ก็ไม่ใช่นิยายท่านมักอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง สามารถปรากฏได้ในสถานที่ต่าง ๆ ไม่จำกัด ทั้งผู้ที่พบเห็นก็ปราศจากความรู้ว่าเป็นพระเทพโลกอุดรองค์ใดกันแน่ เพราะมีอยู่ด้วยกันถึง 5 พระองค์ และอาจมาในรูปต่าง ๆ ไม่ซ้ำกัน หรือปรากฏรูปเดิม แต่ที่มีวาสนาบารมีสูงส่งก็คือ คุณดอน นนทะศรีวิไล คนลาวไปประกอบอาชีพที่ประเทศแคนาดา ท่านผู้นี้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ถือเอกามังสะวิรัติมานานกว่าสิบปีซึ่งบรมครูพระเทพโลกอุดรโปรดปรานมาก คุณดอนและครอบครัว นับถือบรมครูพระเทพโลกอุดรมาก และเล่าให้ฟังว่าได้พบเห็นบรมครูพระเทพโลกอุดรด้วยตาเนื้อ 2 ครั้ง <O:p</O:p
    ครั้งแรกหลังจากเสร็จจากการนั่งสมาธิประจำวัน เป็นเวลาทางประเทศแคนาดา 00.02 น. ปรากฏพระภิกษุชรารูปหนึ่งเดินเข้ามาในบ้าน คุณดอนทราบทางจิตว่าเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดรแน่ จึงก้มลงกราบและเรียนถามว่า “หลวงปู่คือพระเทพโลกอุดรใช่ไหม” ท่านตอบว่า “ใช่” คุณดอนไม่ทันได้เตรียมตัวและไม่ได้ถามถึงข้อปฏิบัติธรรม จึงถามว่า “พระพิมพ์ที่อาจารย์ประถมฝากมาให้เป็นของหลวงปู่อธิฐานจิตจริงหรือเปล่า” ท่านตอบว่า “จริง” ต่อจากนั้นคุณดอนก็ตื่นเต้นไม่ทราบจะถามอะไรอีกต่อไปครั้นแล้วหลวงปู่ก็หายไป การที่ท่านปรากฏเช่นนั้นเรียกว่าปรากฏกายธรรม สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อและสัมผัสได้ จึงเกิดปัญหาถกเถียงกันสำรับผู้มีภูมิปัญญาไม่ถึงขั้น ไม่รู้จักคำว่า กายทิพย์ กายธรรม <O:p</O:p
    ครั้งที่สองเป็นการนั่งทำสมาธิทั้งคณะประมาณ 5 คนด้วยกัน หลวงปู่โลกอุดรมาปรากฏอีก ท่านยืนไม่ได้เตรียมอาสนะไว้ต้อนรับ ท่านแสดงธรรมย่อ และว่าคณะปฏิบัติธรรมพอจะทราบอะไรบ้างแล้วพอสมควร ต่อไปท่านอาจจะไม่มาอีก จะให้ของไว้เป็นเครื่องระลึก แล้ท่านก็มองไปยังแก้วน้ำปรากฏเป็นแสงสีเขียว พุ่งออกจากดวงตาข้างหนึ่ง ทันใดนั้นน้ำในแก้วได้จับตัวแข็งเป็นก้อนเล็ก ๆ หลายก้อนด้วยกันท่านบอกว่าให้แบ่งกันเก็บเอาไว้เป็นของดี มีอะไรคุณดอนก็เล่าสู่กันฟัง เป็นที่เชื่อถือได้ และมีตัวตนจริง <O:p</O:p
    หลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน สิงห์บุรี เคยได้พบท่านโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดรพบที่โคนต้นไทรใหญ่ โดยได้รับกราบอกเล่าจากเจ้าของที่ดินว่า ถึงปีหลวงปู่จะมาปักกลดอยู่ชั่วระยะหนึ่งเจ้าของที่เล่าว่าตั้งแต่จำความได้จนถึงอายุได้ 80 ปีเศษ หลวงปู่ก็ยังคงทรงลักษณะเดิมไม่แปรเปลี่ยนหลวงพ่อจรัล เรียกท่านว่า “หลวงพ่อดำ” ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานากท่านพอสมควร บางทีคนมีวาสนาได้พบท่านแล้วไม่รู้จักว่าท่านเป็นใครมีอยู่มาก คณะพระโลกอุดร เป็นชาวเปาล อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นคนไทยการที่ท่านพูดภาษาไทยได้ก็เนื่องจากบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ สามารถรู้ภาษาคนและสัตว์ได้ท่านชอบปรากฏองค์ทางป่าเมืองกาญจนบุรี เช่น อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ ครั้งล่าสุดท่านปรากฏองค์ที่เขาใหญ่ ท่านอภิชาโต ภิกขุ และท่านพันเอกชม สุคันธรัต ไปเฝ้าท่านอยู่นานวันและท่านอภิชิโต ภิกขุได้มรณภาพได้ไม่นาน เรื่องราวบางตอนได้อาศัยท่านอภิชิโต ภิกขุเป็นผู้บอกเล่า มิได้เป็นนวนิยายเลื่อลอยไม่จำเป็นต้องรอการพิสูจน์ และโปรดเข้าใจด้วยว่าภาพพระโลกอุดรองค์ที่สาม นามว่า “พระอิเกสาโร หรือหลวงปู่โพรงโพธิ์” ารปรากฏกาธรรมในปัจจุบัน ส่วนมากมักจะเป็นพระโลกอุดรองค์ที่สาม และแทรกซ้อนด้วยหลวงปู่แจ้งฌาน ซึ่งเป็นศิษย์เอกคู่กับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ท่านทั้งสองท่านอภิชิโต เรียกว่า “ครูฝึ” ปกติหลวงปู่ไม่ได้ลงมือสอนวิชาด้วยตนเอง ให้ศึกษากับครูฝึก เมื่อจบขั้นแล้วท่านจึงจะทำการทดสอบทุกครั้งไป
    <O:p</O:p



    วิเคราะห์คำว่า “ อรหันต์ ”<O:p</O:p

    “อรหัน” หมายถึง ผู้สำเร็จอภิญญาโลกีย์ หรืออภิญญาห้า ไม่สามารถทำอาสวะให้สิ้น ทุกอย่างมีอิทธิวิธีแบบพระอรหันต์ขีณาสพทั้งสิ้น พิจารณาอย่างเรา ๆ ปุถุชนมองไม่ออก ประเภทนี้การกระทำตนแบบโพธิสัตว์ เช่น โป๊ยเซียนโจ๊วซือทั้ง 8 พระแม่กวนอิม ฯลฯ และประเทศลาวก็มี สำเร็จลุน (ไม่ใช่สมเด็จลุน ท่านมิได้เป็นพระราชาคณะ) สามเณรคำ “อรหัน” จึงแปลว่าผู้วิเศษตามคำนิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน อรหันทองคำ จั๊บโป้ยล่อฮั่น ตั๊กม้อ โจ๊วซือ ก็ประเภท “อรหัน” นี่แหละ <O:p</O:p
    ผมก็ไม่กล้าที่จะวิเคราะห์ครูอาจารย์ให้เกินเหตุ เพียงแต่ว่าจะชี้แนะตามหลักวิชาให้หูตาสว่างตามประวัติกล่าวว่าพระโสณ พระอุตร เป็นพระอรหันต์ พระโลกอุดรมาจากคำอุตรแปลว่าผู้เหนือโลกย์พระโสณ บรรลุธรรมก่อนพระอุตร ซึ่งเป็นพี่ชายร่วมสายโลหิต จึงเรียกว่า “พระโสณอุตร” ไม่เรียก “อุตรโสณ” คำว่าหลวงปู่ใหญ่หมายถึง “พระอุตร เถรเจ้า” เป็นพระอรหันต์ยังไม่จบกิจ แบบพระแม่กวนอิมโพธิสัตว์ ยังค้ำจุนพระศาสนา ไปกว่าจะสิ้นพุทธธันดร (พ.ศ. 5000) ถ้าจบกิจแล้วท่านก็หมดหน้าที่เพียงแต่ท่านไม่ต้องสร้างบารมีต่อแบบอีกสององค์ คือ หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หลวงปู่หน้าปาน ซึ่งยังต้องบำเพ็ญเพียรสร้างบารมีต่อท่านมิได้ประกาศตนแจ้งชัด เพียงแสดงปริศนาธรรมเช่น หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ใหญ่ด้วยซ้ำไป มาในรูปหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา บ้านหมี่ ลพบุรี แสดงปริศนาธรรมหลวงปู่ขรัวขี้เถ้าเผาแหลก มีอะไรเผาจนหมดจนกลายเป็นขี้เถ้า ให้รู้ว่าแม้แต่ตัวเราต่อไปก็ไม่พ้นการเป็นขี้เถ้า หลวงปู่ขรัวหน้าปานท่านก็บอกอยู่โต้ง ๆ แล้วว่า ท่านเป็นพระสำเร็จ (อรหันต์) มาอาศัยร่างท่านมหาชวน เพื่อบำเพ็ญบารมีต่อ ท่านอภิชิโต ภิกขุ กล่าวกับผมว่า นับตั้งแต่เป็นศิษย์หลวงปู่ใหญ่ครั้งยังบรรพชาเป็นสามเณร จนอายุได้ 70 ปี ยังศึกษาไม่จบ ท่านเป็นอาจารย์ที่ผมรักและเคารพมาก ผมไม่อยากให้คนมีจิตฟุ้งติดฤทธิ์มากนักเพียงอยากให้เป็นความรู้ในด้านสารคดี อรรถคดีพอสมควร มิฉะนั้นเรื่องจะยาวเกินควร
    <O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ปริเฉทหนึ่ง

    กล่าวย้อนไปถึงอดีตกาล พุทธศักราชผ่านพ้นไป 303 ปี (ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงศ์พงศาวดารลังกา คำบรรยายของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตภัณฑารักษ์เอกกรมศิลปกร ) และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (บันทึกอักษรเทวนาครี ขุดค้น พบ ณ ซากศิลา วัดคูบัว ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี) ว่าพระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิในปีพุทธศักราช 235 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันถึง 68 ปี พระเจ้าอโศก มหาราชได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ การชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ 3ครั้นแล้วจึง อาราธนาพระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระองค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันต์เถระออกทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆดังนี้ <O:p</O:p
    1. พระมัชฌันติกเถระ ปยังกัสสมิรและคันธารประเทศ (คือประเทศแคชเมียร์และอัฟฆานิสสถานปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    2. พระมหาเทวะเถระ ไปยังมหิสมมณฑล (คือแว่นแคว้นทางใต้ ลำน้ำโคทาวดี อันเป็นประเทศไมสอหรือไมเซอร์ ์ในปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    3. พระรักขิตเถระ ไปยังวนวาสีประเทศ (คือแว่นแคว้นกะนาราเหนืออันเป็นเขตเมืองบอมเบย์ปัจจุบัน แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    4. พระธรรมรักขิตเถระ ไปยังปรันตกประเทศ (คือแว่นแคว้นตอนชายทะเลด้านเหนือเมืองอมเบย์ปัจจุบัน)แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    5. พระมหาธรรมรักขิตเถระ ไปยังมหารัฐประเทศ (คือแว่นแคว้นตอนเหนือของลำน้ำโคทาวารี) แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    6. พระมหารักขิตเถระไปยังโยนกประเทศ (คือบรรดาหัวเมืองต่างๆที่พวกโยนกได้ครองความเป็นใหญ่ใน ดินแดน ประเทศเปอร์เซียปัจจุบัน) แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    7. พระมัชฌิมเถระ ไปยังหิมวันตประเทศ (คือมณฑลซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัย มีเนปาลราช เป็นต้น) แห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    8. พระโสณเถระกับพระอุตร เถระ ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ <O:p</O:p
    ข้อถกเถียงเรื่องสุวรรณภูมิเป็นมาช้านานฝ่ายไทยอ้าง นครปฐมเป็น ราชธานีของสุวรรณภูมิ พม่าอ้างเมืองสะเทิมอันเป็นมอญฝ่ายใต้เป็นสุวรรณภูมิ เขมรและลาวต่างก็อ้างว่าประเทศของตน คือสุวรรณภูมิ แต่ใครจะอ้าง อย่างไรก็ล้วนมีส่วนถูกด้วยกันทั้งสิ้น คือท่านศาสตราจารย์เดวิดส์ อธิบายว่าเริ่มแต่รามัญประเทศไปจรด เมืองญวนและตั้งแต่พม่าไปจรดแหลมมะลายูหรือที่เรียกว่าอินโดจีนเป็นสุวรรณภูมิทั้งนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงรับ สั่งว่า คำที่เรียกสุวรรณภูมิประเทศนั้น จะหมายรวมดินแดน ที่มีเป็นประเทศมอญและไทยภายหลังทั้งหมด เหมือนอย่างที่เราเรียกว่า อินเดีย เป็นชมพูทวีปกก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นใคร ในแหลมอินโดจีนจะอ้างว่า ประเทศของตนเป็นสุวรรณภูมิ จึงเป็นการถูกต้องด้วยกัน ทั้งนั้นไม่มีปัญหา ที่ไทยอ้างนครปฐม เป็นราชธานีนั้นก็เพราะจังหวัดนครปฐมมีเนื้อที่ภูมิประเทศ กว้างขวางและ มีโบราณวัตถุสถานสร้างไว้มาก แต่จะเรียกชื่อเมืองหลวงว่ากระไรในครั้งกระนั้นได้แค่สันนิษฐานเห็นจะเรียกสุวรรณภูมินั่นเองชื่อนี้จึงได้แต่เป็นที่รู้กันแพร่หลายไปถึงอินเดียและลังกาจนเป็นเหตุให้ใช้ชื่อนี้ในหนังสือมหาวงศ์ฯ ว่า พระโสณกับพระอุตรได้อัญเชิญพระพุทธศาสนามาประดิษฐานสถานที่เมืองสุวรรณภูมิ และเป็นเหตุให้เรียกชื่อมหาสถูปที่เมืองนั้นว่า “ พระปฐมเจดีย์ ” หมายความว่า เป็นพระเจดีย์องค์ ์แรกที่ได้สร้างขึ้นในแถบ ประเทศตะวันออกนี้ <O:p</O:p
    ส่วนคำจารึกอักขรเทวนาครีฉบับวัดเพชรพลี ปรากฏข้อความที่พิศดารยิ่งขึ้นโดยกล่าวถึงคณะพระธรรมฑูตได้เดินทาง มาเผยแพร่ พระพุทธศาสนาโดยทางเรือประกอบด้วย พระโสณะเถระ พระอุตรเถระ พระมูนิยะ พระฌานียะ พระภูริยะ สามเณรอิสิจน์ สามเณรคุณะ พระสามเณรนิตตย เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสิกา อดุลยอำมาตย์และคุณหญิงอดุลยา พราหมณ์และนาง พราหมณี ผู้คนอีก 38 คน ได้มาพักที่วัดช้างค่อม (นครศรีธรรมราช) เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ.235 ออกบิณฑบาต วันขึ้น 15 ค่ำ แล้วเทศนาพรหมชาลสูตรและได้วางวิธีอุปสมบทญัตติจตุตถกรรมวาจา โดยใช้อุทกเขปเสมาหรือเสมาน้ำและได้วางเพศชีไทยโดยถือ แบบเหล่าพระสากิยานีซึ่งเป็นต้นของพระภิษุณีโดยบวชหรือบรรชาไม่มีเรือนออกจาก เรือน (อาคารสมา อนาคาริย ปพพชชา)ได้วางวิธี ีสวดปาติโมกข์หรืออุโบสถกรรม ปวารณากรรม เมื่อพระเจ้าโลกละว้า (เจ้าผู้ครองแคว้นสุวรรณภูมิ)รับสั่งให้ ้มนขอมพิสนุ ขอมเฉย ขอมสอน ขอมเมือง สร้างวัดมหาธาตุ ท่านได้วางวิธีกำหนดนิมิตผูกขันธ์สีมา พ.ศ. 238 เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ท่านได้สอนพระบวชใหม่ให้ท่องพระปาฏิโมกข์จบหลายองค์แล้วจึงวางวิธีสวดสาธยายโดยฝึกซ้อมให้คล้องเมื่อคล่องแล้วจึงจะสัชณาย กัน จริง ๆ ท่านให้มนต์ขอมปั้นพระพุทธรูปด้วยปูนขาวเป็นพระประธานในโรงพิธีเมื่อเรียบร้อยแล้วท่านวางวิธีกราบสวดมนต์ไหว้พระ เห็นดีแล้วจึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา ท่านได้วางวิธีกฐินและธุดงค์ ไปในเมืองต่าง ๆ คือ การเที่ยวจาริก <O:p></O:p>
    การสร้างพระพุทธรูปในสมัยดังกล่าวนี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งสมมุติ มีพระพุทธรูปเป็นองค์สมมุติพระสงฆ์ก็เป็นเพียงสมมุติสงฆ์ ส่วนพระธรรม นั้นเป็นเพียงเสียงสวดท่านจึงใช้วงล้อเกวียนประดิษฐ์เป็นธรรมจักรแทนพระธรรม กับมีมิค (มิ–คะ)คือสัตว์ประเภท กวาง ฟาน หรือเก้ง เป็นเครื่องหมาย ในสมัยสุวรรณภูมิ <O:p</O:p
    พระพุทธรูปที่มีกวางกับธรรมจักรกลับไม่มี การสร้าง หรือ ออกแบบในสมัยนั้น มีอยู่สี่ลัษณะด้วยกันคือ (ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร ปรินิพพาน) มีอักษรเทวนาครีจารึกระบุพระนามว่า โลกกน แบบประภามณฑลมี 3 วงซึ่งเป็นเครื่องหมายพระนาม ว่า “โลก” คือ วัฎฎ 3 แบบโปรดสหาย พระยศส่วนปางมารวิชัยและปางสมาธิมีทุกสมัย <O:p</O:p
    ต่อมาในปี พ.ศ. 239 พระโสณกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุไทย 10 รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็น หัวหน้า 3 รูป อุบาสก อุบาสิกา ไปเรียนและศึกษา ณ กรุงปาตลีบุตรแคว้นมคธ นับเป็นเวลา 5 ปีพระญาณจรณะ (ทองดี)ท่านนี้ปรากฏ หลักฐานเพียงรูปของพระพิมพ์มีลักษณะ อวบอ้วนคล้ายพระมหากัจจายนะเถระเจ้า ด้านหลังมีรูปพระ 9 องค์เป็นอนุจร หรือ บวชทีหลัง คนชั้นหลังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นองค์เดียวกับพระมหา กัจจายนะเถระเจ้า และเรียกเพี้ยนเป็นพระสังขจายเรียกกันมานานนับพัน ๆ ปี ศัพท์สังขจายไม่มีคำนิยามในพจนานุกรมพุทธสาวกทุกพระองค์จะมีนามีเป็นภาษาบาลีทั้งสิ้นไม่มีนามเป็นภาษาไทย พระญานจรณะ (ทองดี)บรรลุอรหันต์และจบกิจนานนับพันปีแล้ว ปัญหาเช่นดังกล่าวนี้หากนำพระปิดตาขึ้นมาพิจารณาก็ยากที่จะตัดสินว่าเป็นพุทธสาวก องค์ใดกันแน่อาจจะเป็นพระมหากัจจายนะเถระเจ้า ปางเนรมิตวรกายก็ได้ อาจจะเป็นพระควัมปติก็ได้ เป็นพุทธสาวกทรงเอตทัคคะ ด้วยกัน แต่เป็นคนละองค์ คำพระควัมบดี ไม่มี) <O:p</O:p
    ลุปี พ.ศ. 245 พระเจ้าโลกละว้าสิ้นพระชนม์ ตะวันทับฟ้าราชบุตรขึ้นครองราชย์ นามตะวันอธิราชเจ้า ถึงปี พ.ศ.264 พระโสณะใกล้ ้นิพพาน พระโสณเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิ วางรากฐานธรรมวินัย ใน พระบวรพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา 29 ปี และท่านนิพพานในปีนั้น <O:p</O:p
    หลักฐานต่าง ๆ ตามที่กล่าวจารึกด้วยอักษรเทวนาครี ขุดพบที่โคกประดับอิฐ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี พบรูปปั้นลอย องค์ ลักษณะนั่ง ลักษณะนั่งห้อยเท้า มีลีลาแบบปฐมเทศนา มีเศียรโล้น ด้านหนึ่งจารึกว่า โสณเถร ด้านล่าง อุตตรเถ (ร) ด้านล่างสุด สุวรรณภูมิ มีอยู่ด้วยกัน 5 องค์ ผู้ค้นพบทุบเล่น 3 องค์ เหลือเพียง 2 องค์ ตกเป็นสมบัติของวัดเพชรพลี ส่วนครบชุด 5 องค์ คือ พระโสณเถระ พระอุตรเถระ พระมูนียะเถระ พระฌานียเถระ พระภูริยะเถระ ในท่านั่งแสดงธรรมสมัยต่อมาในรัชกาลที่ 4 และที่ 5 มีการสร้างแบบพระสมเด็จขึ้น แล้วเห็นเป็นพระสมเด็จผิดพิมพ์อีกด้วย จึงเป็นการสับสนสำหรับผู้ที่ไม่รู้จริง <O:p</O:p
    จะเห็นได้ว่าตามหลักฐานบันทึก กล่าวเพียงพระโสณเถระ ไม่ได้กล่าวถึงพระอุตรเถระ (อุตร ก็คืออุดร)เป็นปัญหาว่า หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรเป็นองค์ใดกันแน่เพราะในสมัยปัจจุบันกล่าวถึงบรมครูพระเทพโลกอุดรไม่มีใครรู้จัก พระโสณะเถระ ข้อเท็จจริง ท่านทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิต องค์พี่คือพระอุตร มีร่างกายสันทัด องค์น้องมีร่างกายสูงใหญ่ มีฉายาว่าขรัวตีนโต ถ้านำพระธาตุมาตรวจนิมิตจะบอกว่า โสณ - อุตร ไม่แยกจากกัน องค์น้องบรรลุอรหันต์ก่อนองค์พี่แต่มีความเคารพ องค์พี่มากต้องกราบองค์พี่แต่เหตุที่บรรลุก่อนพี่ชายจึงเรียกโสณ - อุตรไม่เรียก อุตร - โสณะฉะนั้น หลวงปู่ใหญ่ก็คือพระอุตร นั่นเองเจ้าประคุณสมเด็จพุฒจารย์ (โต) พรหมรังสี กล่าวพระนามขององค์ท่านว่า พระโสอุดรพระโลกอุดร ด้วยเหตุนี้ทำให้ผมเกิดความ คิดจัดกลุ่มพระเทพโลกอุดรขึ้น และเขียนเรื่องลงในวารสารพระเครื่อง โดยแบ่งกลุ่มออกดังนี้ กลุ่มที่ 1 มีพระโสณ อุตร กลุ่มที่ 2 พระมูนียะหรือหลวงปู่โพรงโพ เป็นเอกเทศ กลุ่มที่ 3 พระณานียะ (หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) พระภูริยะ (หลวงปู่หน้าปาน) รวมเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน แต่ไม่เป็นการถูกต้องตามข้อเท็จจริง ได้เกิดนิมิตครั้งแรกพบเพียง พระอุตร เถระเจ้า ปรากฏกายเพียงครึ่งท่อน (สอบแล้วตรงกับคนใต้ท่านหนึ่ง) ท่านบินเข้าสู่โดยลักษณาการที่รวดเร็วยิ่ง ตรงเข้ากอดรัดด้วยความเมตตา ผมทัดท่านว่า “หลวงปู่ใหญ่” ท่านยิ้มแล้วบอกกับผมว่า “ปู่ชื่อเปลี่ยนนะลูก” ขอให้ลูกจงหลุดจากการยึดมั่นถือมั่น ท่านสอนธรรมง่าย ๆ แต่มันลึกและ เป็นขั้นสูง ไม่ธรรมดา ท่านมาองค์เดียว ท่านอภิชิโตภิกขุก็เคยเล่าให้ฟังว่าหลวงปู่อยู่องค์เดียว นอกนั้นก็เป็นเพียงศิษย์ในสำนัก เรื่องนี้ผมไม่ได้คุย ์ให้ใคร ฟังมากนักเกรงจะไม่เชื่อ คนที่มาหาก็ชอบแต่ส่องพระด้วยแว่นไม่ส่องด้วยจิต และผมจะดีใจในเมื่อพบคนส่องพระทางจิตคุยกัน ถูกคออยู่มาวันหนึ่งท่านอาจารย์บุญส่ง สามผ่องบุญ โรงเรียนทวีธาภิเศกได้มาเยือนผมถึงบ้านพักท่านมาด้วยกันหลายคน พร้อมภรรยา แต่ทิ้งไว้ในรถยนต์ ท่านเล่าว่าที่มานี้ก็เพราะได้รับประสบการณ์ คือ มีพรรคพวกของท่านคนหนึ่งแขวนพระพิมพ์โลกอุดร รุ่นเทิดพระเกียรติวังหน้า พิมพ์ปิดตาสี่กร เกิดไปปะทะกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อเข้าอย่างจังแต่หาอันตรายอันใดมิได้ พระพิมพ์วิเศษชนิดนี้หากเอาพระสมเด็จวัดระฆังที่เขานิยมกัน องค์ละ 3 ล้าน 3 องค์มาแลกอย่าได้เอา แล้วท่านก็แนะนำตนเองว่าได้ฝึกฝนในด้านสมาธิมานาน จบธรรมกายอรหันต์ละเอียดแล้ว ไปศึกษาพุทโธสาย ท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ละเลิกการติดฤทธิ์แล้ว ตัวท่านเองรู้จักกับพระภิกษุและวัดต่าง ๆ ใน กทม. มากมาย แต่น่าอัศจรรย์ใจ คือมีบุคคลท่านหนึ่ง ประสงค์จะอุปสมบท และขอร้องให้ท่านช่วยไปหาสำนักที่ดี ๆ ให้ด้วยท่านพาดุ่มไปยังหนึ่ง ไม่เคยรู้จักกับสมภารเจ้าอาวาสวัดนั้นมาก่อนเป็นสมภาร หนุ่ม เรียนจบขั้นปริญญาโทจากต่างประเทศ และมีภาพพระเทพโลกอุดร ขนาดใหญ่ตั้งบูชาอยู่ ท่านอาจารย์บุญส่งก็ถามว่า “อาจารย์ก็นับถือหลวงปู่เทพโลกอุดร- เหมือนกันหรือ” ท่านเจ้าอาวาสตอบว่า “ใช่ เคารพนับถือมาก” ทันใดนั้นท่านอาจารย์บุญส่งก็กำหนดจิตไปยัง เจ้าอาวาส ปรากฎเป็นพระเทพโลกอุดรทาบร่างเจ้าอาวาสมีรัศมีทองคำแพรวพราว และสอนธรรมประโยคหนึ่งก็คือสอนท่านอาจารย์บุญส่งแหละ ผมรีบถามขึ้นว่า “ท่านสอนว่ากระไรทีนี้ผมจะสอบอาจารย์บ้างล่ะ"ท่านอาจารย์บุญส่งตอบว่า “ท่านสอนให้สิ้นการยึดมั่นถือมั่น” ผมจึงสิ้นฤทธิ์ไม่ติดฤทธิ์ต่อไป ผมจึงตอบ ท่าน อาจารย์บุญส่งว่า “ใช่ครับเป็นคำสอนของหลวงปู่ใหญ่ ผมขอรับรอง ไม่ใช่คำพูดของเจ้าอาวาส” ตัวผมเองไม่ได้ฌานได้ญาณ อะไรกับเขาหรอก ท่านอาจารย์บุญส่งไม่เรียกผมอาจารย์ขอเรียกพี่ ครั้นแล้วท่านอาจารย์บุญส่งก็เล่นงานผมเข้าให้บ้างแผล็บเดียวก็คุก เข่าก้มลงกราบ ผมถามว่า “อาจารย์ทำไมทำเช่นนี้” อาจารย์บุญส่งไม่ตอบ เรียกคนในรถทุกคนให้ขึ้นบ้านบอกว่าเข้ามากราบได้สนิทผม ก็ยิ่งสงสัยว่า นี่มันอะไรกันท่านอาจารย์บุญส่งจึงไขข้อปัญหาว่า “ "พี่ก็เป็นอย่างเดียวกับท่านเจ้าอาวาสนั่นแหละเพียงแต่รังสีไม่เฉิดฉายเท่ากับท่านเจ้าอาวาส เพราะท่านเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ แสดงว่าพี่เป็นคนของหลวงปู่และสิ้นการสงสัย" ต่อจากนั้นท่านก็ทำนายทาย ทักว่าผมจะเจ็บป่วยอีกครั้งและกำหนดระยะเวลาให้ซึ่ง ผมก็ต้องเข้าโรงพยาบาลรามาธิบดีทำการผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดีและพักอยู่นานวัน ท่านสงสารในสุขภาพของผม ท่านบอกว่าเรามาถ่ายทอดพลังปราณกันเถอะ แล้วเราก็เอามือทั้งสองยันกันทำสมาธิถ่ายทอดพลังลมปราณสู่กัน ท่านถ่ายทอด พลังเย็นคืออาโปธาตุสู่ตัวผมผมเองก็ถ่ายไปตามเรื่อง ท่านบอกว่าของผมเป็นเตโชพลังร้อนซึ่งก็เป็นความจริง ก่อนที่ท่านจะลากลับ ผมแจกพระพิมพ์โลกอุดรเป็นที่ระลึกให้กับท่านและผู้ติดตาม และเห็นท่านเดินไปทางหลังบ้าน คิดว่าจะเข้าห้องน้ำปรากฎ ความจริงว่าท่านได้มอบเงินจำนวนหนึ่งให้ ้กับลูกสาวผมไว้ โดยที่ลูกสาวไม่รู้เรื่องและปฏิเสธ ภายหลังท่านพยายามยัดเยียดเงินให้แล้ว รีบเดินทางกลับ หลังจากนั้นเราไม่ได้พบกันอีก ท่านเป็นคนดีมาก คนหนึ่ง <O:p</O:p
    คำสอนของหลวงปู่เป็นตัวสุดท้ายในมหาสติปัฎฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม สักแต่ว่า ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อย่างที่เขาสอนกัน กายในกาย จิตในจิต ไม่ติดมันก็หลุด ก็ไม่รู้จำะหลุดอย่างไร ตามความเข้าใจของผม ธรรมตัวนี้ก็คือ สภาวะธรรม มันแปรเปลี่ยนไม่คงที่คือทุกข์ การทนอยู่ ู่ไม่ได้สิ่งที่มีชีวิตและปราศจากชีวิตมันเสื่อมสิ้น ไปตามสภาวะธรรมไม่ยืนยงคงที่ หลวงปู่จึง ให้ปริศนาว่า “ปู่ชื่อเปลี่ยนนะลูก” เมื่อมันไม่ดำรงคงที่ มันก็ไม่ เที่ยงนะซี มันทุกข์อนิจจ ก็เมื่อมันไร้สาระเช่นนี้จะไป ยึดถือเป็นตัวเป็นตนทำไม อนัตตา สัพเพธัมมาทุกขา สัพเพธัมมาอนิจจา สัพเพธัมมาอนัตตา ติ ถ้าจะตัดรูปนาม ปล่อยเวทนาสัญญาไว้ ละเพียงสังขาร เครื่องปรุงแต่งจิตอันเป็นตัวอุปาทาน ตัดตัวนี้เปรียบเหมือนการตัดคัดเอ้าท์สวิทช์ไฟฟ้า ไฟฟ้าดวง อื่นพากันดับหมด เป็น สุญญตนิพพาน ท่านอาจารย์วิชัย แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำผาจม เชียงราย เคยนำมาแสดงธรรมในรายการธัมมะทาง ที.วี. ผมฟังแล้วถึงกับ ก้มลงกราบเพราะความถูกใจไปเรียนให้มากทำไม ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) อบรมสั่งสอน สานุศิษย์ให้ไหว้ 5 ครั้ง ให้มีศีลบริบูรณ์ ไหว้พระเสร็จให้ทำสมาธิ ก่อนตายให้พิจารณาถึง สัพเพธัมมาอนัตตา จะไม่กลับมาเกิดอีก จึงว่าหลวงปู่ท่านสอนตามขั้นภูมิธรรมปัญญาฟังดูง่าย ๆ แต่ทำยาก <O:p</O:p
    นิมิตครั้งที่ 2 พบกับพระโสณเถระเจ้า ท่านมากับพระอิเกสาโร จิตผมทราบทันทีว่าเป็นหลวงปู่องค์ที่สองรูปกายท่าน สูงใหญ่เกสายาว ่ประมาณ 1 องคุลี ผมคิดอยู่ภายในใจว่าอยากจะได้เกสาของท่านไว้บูชา หลวงปู่เรียกผมเข้าไปใกล้ ผมก้มลงกราบท่าน ๆ ยิ้มด้วยความปราณี ยกมือลูบศรีษะ ของผมพลางเรียกชื่อ ท่านมิได้กล่าวธรรมอันใด ส่วนองค์ที่นั่งถัดไป ประมาณ 4 วา ปรากฎเกสายาว คลุมด้านหลังห่มจีวรสีกรัก แสดงว่าเป็นพระอิเกสาโร (เกสา แปลว่าผม) มิได้กล่าวธรรมใดเช่นกัน แสดงชัดว่าพระอิเกสาโรเป็นสานุศิษย์ พระโสณะ ภาพนิมิตเลือนหายไปปรากฎเห็นพระภิกษุชรารูปหนึ่ง ร่างกายใหญ่ ยืนเทียบแล้วยังสูงไม่พ้นไหล่ท่าน มีขนตายาวพิเศษ ประกอบอารมณ์ขัน ท่านยกมือลูบศรีษะของผมพลางกล่าวว่า “ลงศีรษะมากมายจริง” ทันใดนั้นท่านก็หัวเราะก๊าก ผลักผมกระเด็นไป ประมาณ 2 วา แล้วกล่าวว่า “โอ้โฮมีพระมากจัง” แล้วท่านก็พาเดิน ผมก็ตามหลังท่านไปในจิตรู้ว่าท่านคือ หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า จนในที่สุด ไปพบกลุ่มพระภิกษุและฆราวาสกลุ่มหนึ่ง มีฆราวาสท่านหนึ่งอุ้มขันสำริดเดินอยู่ในกลุ่มท่านชี้มือไปยังบุคคลผู้นั้นและกล่าวว่า “ท่านผู้นี้เป็นสามี” ทำให้ผมต้องตีปัญหาพักใหญ่ ขันนั้นน่าจะหมายถึงขันธ์ห้า คำว่าสามีแปลได้หลายอย่าง เจ้าของ ผัว ตำแหน่ง พระสังฆราชบัณฑิต น่าจะเป็นบัณฑิตนั่นเองท่านผู้นี้จิตบองว่าเป็นหลวงปู่ขรัวหน้าปานองค์ที่ห้าเป็นอันว่าผมได้เห็นหน้าพระเทพโลกอุดรครบทุกพระองค์
    9. พระมหินทรเถระ เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าอโศกมหาราช พร้อมด้วยพระภิกษุหลายรูปไปลังกาทวีปแห่ง
    <O:p</O:p

    <O:p</O:pปริเฉทสอง<O:p</O:p

    พระอุตรเถระเจ้าอวตารเป็นพระอุทุมพรมหาสวามีในสมัยพระเจ้าลิไทแห่งราชวงศ์สุโขทัยปี พ.ศ.1900 ห่างจากระยะแรกประมาณ1600ปีมีบางท่านกล่าวว่าในสมัยหริภุญไชยท่านมาเกิดเป้นครูบาบุญทาแต่เป็นเรื่องของความฝันไม่ปรากฏหลักฐานแจ้งชัดและมีผู้เล่าให้ฟังว่าในครั้งกระนั้น ผมเป็นสามเณรอาศัยอยู่กับท่านมีชื่อว่าb “น้อยคำอ้าย” เป็นสล่าคือช่างปั้นพระคนเล่าเป็นพนักงานออมสินสำนักงานใหญ่โดยการผ่านร่างแต่ไม่ถึงกับประทับทรงจึงเกิดปัญหาว่า คนฝันกับคนที่เป็นร่างผ่านให้ข้อความไม่ตรงกันจึงตัดออกเอาแต่เรื่องที่มีหลักฐานมากล่าวและมีบันทึกคณะพระเทพโลกอุดรมีหน้าที่ดูแลทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาไปจนกว่าจะสิ้นพุทธธันดร(พ.ศ.5000)คราใดที่พระพุทธศาสนาอ่อนแอลงท่านมักจะมาโปรดท่านเป็นฑูตเดินทางมาจากประเทศลังกาสู่ประเทศมอญความว่าในสมัยนั้นมีพระอาจารย์ชาวลังกาท่านหนึ่งนามว่า “พระมติมา” เป็นศิษย์ในสำนักพระอุทุมพรมหาสวามีสังฆราช ซึ่งมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดที่สุดในประเทศลังกา มาตั้งสำนักที่เมืองนครพันหรือเมืองเมาะตะมะของมอญในสมัยพระสุตโสมเป็นพ่อเมืองพระเถระทางกรุงสุโขทัยได้ทราบข่าวเกิดความศรัทธาปสาทะจึงพากันมาขออุปสมบทใหม่ในสำนักพระมติมาและข่าวได้แพร่ไปถึงพระเจ้าลิไทแห่งกรุง สุโขทัยจึงจัดส่งสมณฑูตอาราธนาพระมติมามาอยู่ ณ กรุงสุโขทัย แล้วพระองค์ได้ทรงผนวชในสำนักพระมติมา ประกาศปรารถนาพุทธภูมิแล้วลาสิกขาบท เพื่อบำเพ็ญพระราชกรณียกิจตามเดิม แต่งตั้งพระมติมาให้เป็นที่พระสวามี (ตำแหน่งพระสังฆราชของลังกา ) พระมติมาได้พยากรณ์ไว้ว่าพระพุทธศาสนาจะไม่ตั้งมั่นในมอญแต่จะตั้งมั่นในไทยจนถึง พ.ศ.5000 (เป็นอันแสดงว่าพระสังฆราชรูปนี้เป็นชาวลังกา) บางท่านยังอ้างข้อความบางตอนในศิลาจารึกกล่าวถึงความเค่งครัดของท่านว่า มีจริยาวัตรเยี่ยงพระอรหันต์ แต่หลักฐานในหนังสือชินกาลบาลีปกรณ์ระบุความตอนหนึ่งว่าพระสังฆราชรูปนี้ความจริงเป็น ชาวสุโขทัย ชื่อพระสุมนเถระ เดิมได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมจากสำนักต่าง ๆ หลายสำนักจากเมือง อโยชฌปุระ (อยุธยา) จนความรู้แตกฉานแล้วกลับมาอยู่ที่เมืองสุโขทัยตามเดิมครั้นต่อมาได้ทราบข่าวว่าพระมหาสวามีองค์เถระชาวลังกาผู้ทรงคุณอันเลิศในทางธรรมชื่อว่า “อุทุมพร”ได้จาริกจากลังกามาอยู่ที่รัมนะประเทศ (ในพงศาวดารโยนกเรียกชื่อว่าเมืองเมาะตะมะในศิลาจารึกเรียกนครพัน) พระสุมนเถระจึงชักชวนพระภิกษุซึ่งเป็นสหายทางธรรมจำนวนหนึ่งพากันเดินทางจากกรุงสุโขทัยไปนมัสการ พระหมาสวามีอุทุมพร แล้วอยู่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมกับ พระมหาสวามีอุทุมพร นั้นกาลต่อมาความทราบถึงพระกรรณพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงสุโขทัย (คือพรญาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราชพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งก็คือพระเจ้าลิไทแต่คำในลายสือไทอ่านยากมิได้จารึกคำว่า “ลิไท”โดยตรงมีพระนามว่าก่อนเสวยราชย์ว่า พรญาฤาไท อ่านอย่างภาษามคธว่า “ลิไท” คำว่าพรญาศรีสูรยพงศ์เป็นพระนามเดียวกับพระราชบิดาเพียงแต่เติมคำว่าบุตรต่อท้ายคำ)ว่าพระมหาสวามีอุทุมพรจาริกมาจากเมืองลังกามาอยู่ที่เมืองรัมมประเทศ ก็ทรงมีพระราชประสงค์ใคร่จักได้พระภิกษุสงฆ์ผู้สามารถคงแก่เรียนกระทำสังฆกรรมได้ครบถ้วนมาประจำที่สำนักเมืองสุโขทัยจึงจัดส่งสมณฑูตไปนมัสการพระมหาสวามีอุทุมพรเพื่อขอพระภิกษุผู้ทรงคุณธรรมดังกล่าวพระมหาสวามีอุทุมพรจึงได้ส่งพระสุมนเถระพร้อมด้วยคณะที่มาด้วยกัน ให้แก่พระมหาธรรมราชาประจำกรุงสุโขทัย พระสุมนเถระและคณะได้นมัสการพระมหาสวามีอุทุมพร แล้วเดินทางกลับกรุงสุโขทัยพระมหาธรรมราชาทรงดีพระทัยยิ่งนักโปรดเกล้าให้สร้าง “วัดอัมพวนาราม” (คือวัดป่ามะม่วงในปัจจุบัน) แล้วได้ นิมนต์พระสุมนเถระให้อยู่ที่วัดนั้น (ในศิลาจารึกไม่มีคำว่าวัด มีแต่อาวาสสุมม่วง สุม คือ ซุ้ม หมายถึง ซุ้มมะม่วง ป่าม่วง ปรากฏว่าเป็นสถานที่เดียวกัน)
    <O:p</O:p
    ปัญหาที่เคยสงสัยกันว่าถ้าพระมหาสวามีสังฆราชเป็นภิกษุชาวลังกาจริงแล้วได้ทำการเผยแพร่ธรรมแก่ชาวบ้าน เป็นการยากที่จะทำความเข้าใจได้ง่ายๆ(ความคิดเช่นนี้ยังไม่ลึกซึ้งพอไม่ได้ศึกษาในเรื่องปฏิสัมภิทาญาณสี่จะเข้าใจผิดกันไปใหญ่และก็เมื่อตอนที่คณะพระธรรมฑูตชุดแรกที่มาเผยแพร่พระพุทธศาสนายังแคว้นสุวรรณภูมิเล่าท่านจะทำประการใด ท่านก็เทศน์โปรดตามภาษาพื้นบ้านนั้นเอง และในการตรวจพระพิมพ์โลกอุดร โดยพระวิปัสสนาจารย์รูปหนึ่ง ท่าน ไม่มีความรู้เรื่องพระโลกอุดร จึงใช้จิตถาม พระพิมพ์ตอบว่า ข้าคือ บรมครูศรีสัชนาลัย ซ้ำอยู่ 2 ครั้ง ซึ่งหมดภูมิปัญญาของผู้ตรวจ จึงได้รับคำอธิบายจากตัวกระผมผู้เขียนเรื่องว่าถูกแล้วเพียงศิษย์ท่านยังเป็นถึงพระสังฆราชองค์ท่านจะเป็นอะไร ก็ดี (เลิกเรียกพระครูโลกอุดรกันเสียทีเถอะ) และการที่พระสุมนเถระเพียงถวายพระธรรมคำสอนแก่พระมหาธรรมราชาช่วงระยะพรรษาเดียวก็ทรงบรรลุภูมิธรรมแตกฉานก็คือภาษาไทยนี้เองต่อมาได้ทรงสถาปนา พระสุมนเถระ ขึ้นดำรงตำแหน่ง “พระสวามีสุมนเถระ” <O:p</O:p
    อนึ่งพิจารณาแผ่นศิลาจารึกของวัดป่ามะม่วงเป็นศิลาจารึกลายสือไทหลักที่27ได้กล่าวถึงพรญาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชาทรงผนวช แต่อักษรจารึกด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ชำรุดอ่านไม่ได้ความคงเหลือเพียงด้านที่ 2 และด้านที่ 4 ตัดเฉพาะด้านที่ 2 ถอดความเป็นภาษาไทยปัจจุบันดังนี้ <O:p</O:p
    “…อั (น)… นี้ ในกลางสุมม่วงให้ประดิษฐานกุฎี พิหาร แถลงเมื่อพระนิรพาน ทางกุสินารนคร แถลงฝูงขสินาสรพนั้งบริพารแถลงทั้งพระอารยกัสสปมาทูลฝ่าตีนพระเจ้าอันชำแรกจากโลงทองแถลงทั้งขุนมัลลราชที่คนมากระทำ
    บูชา ประดิษฐานทั้งปฏิมากระลาอุโบสถ แลเสมานั้นโสดเทียน <O:p</O:p
    ญ่อมฝูงสงฆ์อันคง…ปรัชญา…ร…อันมีสังฆราชา…พระไตรปิฏกอันได้…บวชแต่…ไ…ฝูงมหาสมณลังกาทวีป น…มานั้น…นั้น ที่พรญาศรีสูรยพงศ์ธรรมราชาธิราชออกผนวชแลแผ่นดินป่า ม่วงนี้ไหว…มหาสมณทั้งอัน…เลิก…น ปลายพ…ปาลย…น นำให้ฝูง…ทั้งหลายเห็น <O:p</O:p
    ซึ่งผมขอถอดและขยายความดังนี้ ภายในบริเวณศูนย์กลางของอาวาสสุมม่วงหรือวัดป่ามะม่วงมีการก่อสร้างเป็นกุฏีวิหารปรากฏภาพเจียนภายในผนังพระวิหารแสดงภาพพระอรหันต์ขีณาสพมาประชุมกันหนาแน่นดุจกำแพง กั้นน้ำ เพื่อเตรียมถวายเพลิงพระบรมศพพระผู้เป็นเจ้าซึ่งดับขันปรินิพพานแสดงภาพพระมหกัสสปเถระเจ้า ก้มถวายบังคมเบื้องพระยุคคลบาทซึ่งยื่นจากโลงทองบรรจุพระบรมศพ แสดงภาพขุนมัลลราช คือเหล่าบรรดามัลลกษัตริย์ทั้งสี่ (ทรงเชี่ยวชาญในวิชามวยปล้ำ) กำลังถวายสักการะ ภายในพระวิหารมีพระประธานประกอบด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา มีตู้พระไตรปิฏกโดยรอบๆพระวิหารประกอบด้วยพันธเสมาแสดงภาพพระภิกษุสงฆ์ผู้คงแก่เรียนอันได้แก่พระสุมนสวามี ีสังฆราชฝูงสมณแห่งลังกาทวีปคือคณะของ พระอุทุมพระสวามีสังฆราช(บรมครูพระเทพโลกอุดร)ประกฏในศิลาจารึกเนินปราสาทด้านที่ 2 บรรทัดที่ 17 – 18 “เมื่อได้สมเด็จพระมหาเถระกับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายมา” พรญาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราชมีพระบัญชาให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสวามีอุทุมพรจากเมืองนครพันทราบว่าท่านรับการอาราธนาและเดินทางมาได้ครึ่งทางแล้ว(ทราบทางจิต)พระญาศรีสูรยพงศ์มหาธรรมราชาธิราชทรงจัดให้หมู่อำมาตย์มุขมนตรีและบรรดาราชตระกูลไปเตรียมการต้อนรับทำการสักการะบูชาพระมหาสวามีอุทุมพรสังฆราชตามหัวเมืองต่าง ๆ ที่ทรงจาริกผ่าน เริ่มจัดเครื่องสักการะบูชา ตั้งแต่เมืองเชียงทอง เมืองจันทร์ เมืองบางพาร ตลอดมาจนถึงเมืองสุโขทัย นับว่าเป็นการต้อนรับเป็นพิธีการอันยิ่งใหญ่ของเมืองสุโขทัย วันทรงผนวชขณะที่พรญาศรีสูรยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราชรับผ้าไตรจากพระอุปัชฌาย์แล้วทรงอธิษฐานจิตปรารถนาพุทธภูมิ ได้ยังเกิดแผ่นดินไหวไปทั่วทุกสารทิศในบริเวณอาวาสสุมม่วงเป็นที่ประจักษ์แก่ฝูงชนทั้งหลาย ่ทั่วกัน พระองค์ได้รับพระฉายาในสมณเพศว่า “ปับละวะราชา” (ปลลุวราชา) แปลว่าพระราชาผู้เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูรสันนิษฐานว่าพระอุทุมพรมหาสวามีสังฆราชพร้อมคณะน่าจะพำนักณอาวาสสุมม่วงชั่วระยะหนึ่งโดยธรรมเนียมพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณมักนิยมสร้างพระพุทธรูปพระพิมพ์พระเครื่องเพื่อหวังอานิสงส์แลบรรจุกรุเจดีย์ไห้สืบพระพุทธศาสนาจึงมีการสร้างพระพิมพ์เนื้อดินขึ้นชุดหนึ่งนิยมเรียกกันว่า พระพิมพ์วัดป่ามะม่วงเป็นพระพิมพ์ที่พระอุทุมพรมหาสวามีสังฆราชทรงอธิษฐานจิตให้ สมัยสุโขทัยหลวงพ่อโอภาสีแห่งอาศรมบางมดยืนยันว่า พระพิมพ์โลกอุดรวิเศษ ้กว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ มากมาย สิ่งนี้เป็นข้อยืนยันสำหรับปริเฉทสอง
    <O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ปริเฉทสาม<O:p</O:p

    เริ่มสมัยรัตนโกสินทร์ในราชกาลที่ 4 ประมาณปี พ.ศ.2395 ในขณะที่พระองค์เจ้ายอดหรือพระองค์เจ้ายอดยศ บวรราโชรสราชกุมารประสูติ ณ วันพฤหัสบดี เดือน 10 แรม 2 ค่ำปีจอสัมฤทธิศก จุลศักราช 1200 พุทธสกราช 2381ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระเจ้าลูกยาเธอนับเป็นพระราชโอรสองค์ต้นในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมายุได้ 14 พรรษาปี 2395 เป็นการปรากฎทั้งคณะพระธรรมฑูตมีดังนี้ <O:p</O:p
    1. พระอุตรเถระเรียกกันว่าพระครูโลกอุดรหลวงปู่ใหญ่หรือหลวงพ่อดำเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังสีเรียกท่านว่า พระโลกอุดร” <O:p</O:p
    2. พระโสณเถระเรียกกันว่าพระครูโลกอุดรเช่นกัน ฉายานามขรัวตีนโตเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ท่านว่าพระโสอุดร” <O:p</O:p
    3. พระมูนียะเรียกกันว่าหลวงปู่โพรงโพท่านอิเกสาโร หรือหลวงปู่เดินหน<O:p</O:p
    4. พระฌานียะเรียกกันว่าหลวงปู่ขรัวขี้เถ้า<O:p</O:p
    5. พระภูริยะเรียกกันว่าหลวงปู่หน้าปาน<O:p</O:p
    ทราบโดยญาณของผมเองว่าพระอิเกสาโรเป็นศิษย์พระโสณเถระส่วนอีกสองท่านจะเป็นศิษย์พระอุตรเถระหรือพระโสณเถระยังไม่แจ้งชัดเพียงอาจารย์ผมบอกว่าท่านฌานียะ ยังมีอาจุแก่กว่าพระอุตรเถระด้วยซ้ำไปหลวงปู่ขรัวขี้เถ้ากับหลวงปู่หน้าปานจะจบกิจเป็นพระอรหันต์หรือยังมิอาจทราบได้เพียงท่านหายไปตอนตอนแรกอาจเป็นเพียงอรหัน (ตามคำวิเคราะห์ศัพท์ในตอนต้น)จึงต้องมาสร้างบารมีเพิ่มในรูปของหลวงหลวงพ่อกบวัดเขาสาริกาอำเภอบ้านหมี่จังหวัดลพบุรีก็คือท่านขรัวขี่เถ้าเผาแหลกมีอะไรท่านเผาหมดเป็นปริศนาธรรมอันหนึ่งว่า ตูนี่แหละคือขรัวขี้เถ้าท่านแปรธาตุแบบสำนักโลกอุดรเป็นกบเลี้ยงลูกศิษย์จึงมีฉายาว่าหลวงพ่อกบกล่าวกันว่าเมื่อท่านมรณะภาพแล้วนำใส่โลงศพได้เกิดหายไปไม่มีร่องรอยก็ท่านตามจริงเสียเมื่อไรที่เห็นนั่นเป็นเพียงกายธรรมเท่านั้นส่วนอีกท่านหนึ่งมาในนามของหลวงพ่อโอภาสีหรือมหาชวนแห่งอาศรมบางมดท่านก็บอกว่ามหาชวนตายไปแล้วท่านเป็นพระสำเร็จมาอาศัยร่างเพื่อสร้างบารมีต่อปริศนาธรรมของท่านก็คือมีพระบรมสาทิศของล้นเกล้า ร.5 คนก็ตีความไปต่างๆนาๆว่าท่านนับถือรัชกาลที่ 5 มาเกิดบ้างก็รัชกาลที่ 5 สวรรคตในปีพ.ศ.2453ท่านมหาชวนเกิดก่อนแล้วความจริงก็คือตูนี่แหละพระโลกอุดรองค์ที่ 5” ก็เท่านั้น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศฯน่าจะสร้างบารมีต่อเนื่องมาแต่ปางบรรพ์ ทรงมีธรรมาพิสมัยแต่ครั้งยังเยาว์วัยนอกจากจะทรงสนพระทัยในวิทยาการทางอักษรศาสตร์รัฐศาสตร์ การช่างช่างฝีมือยุทธศาสตร์จนถึงวิชาการฟ้อนรำทรงสนพระทัยในวิปัสสนากรรมฐานแต่เยาว์วัยขณะที่พระชนมายุเพียง14พรรษาฝึกฝนจนอินทรียพละฝึกฝนจนอินทรีย์พละแก่กล้าพอควรบรมครูพระเทพโลกอุดร (พระอุตร เถระ)เห็นว่าเจ้าชายท่านนี้เคยเป็นศิษย์ในความอุปการะกันมาจึงมาเข้านิมิตสอนธรรมกรรมฐานโดยต่อเนื่องในสภาพกายทิพย์(มองเห็นได้ด้วยตาใน)จนเห็นว่าบรรลุขั้นทิพยจักศุแล้วจึงปรากฏเป็นกายธรรมมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อและสามารถใช้ผัสสะจับต้องได้โดยที่ผู้ศึกษาไม่ถึงจะตู่ว่าเป็นองค์จริงแทบร้อยทั้งร้อยนั้นคือความไม่รู้จริงแล้วคิดว่ารู้สำหรับสำหรับเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาอุปราชแห่งพระราชวังหน้าก็มิได้ทราบความจริงเท่าใดนักเพียงแต่กล่าวกันว่าพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศมักจะหายไปคราวหนึ่งๆประมาณ 15–20 วัน คงมีแต่เจ้าจอมมารดาเอมซึ่งเป็นพระชนนีที่ทราบความเป็นไปและในการที่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเสด็จทิวงคตด้วยโรควักกะ (ไต) พิการในปีพ.ศ.2428นั้นท่านมิได้ทิวงคตจริงแต่บรมครูพระเทพโลกอุดรหรือหลวงปู่ดำพาไปอยู่ด้วยและเสกใบพลูแทนตัวไว้เรื่องออกจะเหลือเชื่อแต่ก็น่าเชื่อเพราะปรากฏหลักฐานยืนยันจากท่านอาจารย์ชาญณรงค์ศิริสมบัติหรือท่านอภิชิโตภิกขุได้ไปพบท่านวังหน้าที่สำนักโลกอุดรแต่ไม่ใช่ถ้ำวัวแดงอย่างที่เล่าลือกันท่านวังหน้า กับ ท่านอาจารย์แจ้งฌาณ 2 รูปเป็นพี่เลี้ยงถ่ายทอดวิชาให้ท่านอภิชิโต มักเรียกว่าครูฝึกโดยปกติหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรจะมิได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้โดยตรงต่อเมื่อเรียนจบขั้นหนึ่งๆแล้วท่านจะต้องทอสอบความรู้และรับรองให้เรียนขั้นสูงต่อไปปัจจุบันท่านวังหน้ายังดำรงชีวิตอยู่ประมาณ 150 ปีเศษ ท่านรู้จักผมดีเรียกผมว่า"โยมประถม"ท่านอภิขิโตได้ให้ช่างวาดภาพท่านวังหน้าด้วยถ่านเครยองมองเห็นครั้งแรกเกิดความสนใจคิดว่าเป็นภาพหลวงปู่ใหญ่เพราะเป็นภาพของบรรพขิตแต่กลับเป็นภาพของท่านวังหน้าส่วนภาพที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้เป็นเพียงภาพของพระอิเกสาโรหรือหลวงปู่โพรงโพ พระโลกอุดรองค์ที่ 3 เคยมีผู้นำภาพถ่ายขนาดเล็กมาให้ชมท่านเขียนเป็นภาษาขอมว่า"ไตรโลกอุดร"หมายถีงพระโลกอุดรองค์ที่ 3 ผมเคยเรียนถามหลวงปู่ว่าในการอธิษฐานจิตพระพิมพ์โลกอุดรกรุแรกซึ่งบรรจุในเจดีย์วัดบวรสถานสุธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้าหลวงปู่ได้มาในสภาพของกายทิพย์ หรือกายธรรมท่านตอบว่าท่านอยู่ในรูปแห่งกายธรรมถามท่านว่าปัจจุบันเหตุใด ท่านไม่เสด็จมาในรูปกายธรรมอีกท่านหัวเราะตอบว่าคนเราในสมัยปัจจุบันไม่เหมือนกับคนในสมัยก่อน<O:p</O:p
    <O:p</O:p





    บุคลิกภาพและจริตแห่งพระโลกอุดร<O:p</O:p

    พระโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ท่านไม่ใช่คนไทยเป็นชาวเนปาลแต่ละองค์มีจริตและบุคลิกภาพแตกต่างกันผู้ที่อวดรู้เห็นยากที่จะเข้าใจได้ว่าเป็นพระโลกอุดรองค์ไหนดีไม่ดีไปพบหลวงปู่แจ้งฌานว่าที่พระโลกอุดรเข้าก็อาจเป็นได้หลวงปู่ท่านนี้ได้อภิญญาโลกีย์และเป็นพระสำเร็จชอบท่องเที่ยวไปทุกหนทุกแห่งนอกจากท่านอภิชิโตภิกขุแล้วยากที่ผู้อื่นจะดูออกท่านอภิชิโตมักจะสัพยอกครูฝึกว่านี่คนหรือผีกันแน่เห็นมากี่สิบปีร่างกายก็คงเดิมไม่แปรเปลี่ยน"สมัยยังมีการใช้รถราง บางครั้งก็จ๊ะเอ๋กันในรถก็ยังเคยถามท่านอภิชิโตว่าตามที่เขาลือกันว่าหลวงปู่สุขวัดปากคลองและหลวงพ่อเงินวัดบางคลานซึ่งเป็นสานุศิษย์สายโลกอุดรไม่มรณะภาพจริงอาจารย์เคยพบบ้างไหมท่านตอบว่าไม่เคยพบเป็นอันแสดงว่าสายของพระโลกอุดรมีอยู่หลายสายด้วยกันและยังแยกออกเป็นสายในดงและสายนอกดงสายในดงคือไปศึกษาความรู้จากองค์ท่านสายนอกดงนำมาสอนกันสืบต่อไปอาจเป็นทั้งฆราวาสและบรรพชิตเช่นอาจารย์พัวแก้วพลอย อาจารย์ฉลอง เมืองแก้ว อาจารย์ชมสุคันธรัตเป็นต้นพยายามศึกษาให้แตกฉานนะครับอย่าเขียนเรื่องเรื่อยเปื่อยจะเป็นบาปหลวงปู่ท่านเคยตำหนิว่ามีชายแก่นำชื่อท่านไปขายถามว่าเป็นตัวผมหรือเปล่าท่านว่าไม่ใช่ ที่ผมทำไปนั้นถูกต้องแล้ว<O:p</O:p
    องค์ที่หนึ่งพระอุตรเถระหรือหลวงปู่ใหญ่ คือบรมครูเทพโลกอุดรลักษณะรูปร่างสันทัดผิวกายค่อนข้างดำคล้ำจึงมีฉายาว่า หลวงพ่อดำมีจิตเยี่ยงพระโพธิสัตว์เจ้าบรรลุอภิญญาหกแ่ต่ในบทสวดกล่าวว่าเตวิชโชคือวิชชาสามซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวกับปฏิสัมภิทาญาณแต่ในบทสวดก็กล่าวว่าท่านบรรลุซึ่งปฏิสัมภิทาญานเช่นกันท่านได้วางหลักสูตรในการฝึกสมาธิซึ่งเรียกว่าวิทยาศาตร์ทางใจมิใช่วิชาไสยศาสตร ์และมิใช่มายากลศิษย์ในดงนอกดงสามารถแปรธาตุได้เช่นหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อปานวัดคลองด่านหลวงปู่สุขวัดปากคลองท่านอภิชิโตภิกขุอาจารย์พัวแก้วพลอยอาจารย์ฉลองเมืองแก้วหลวงพ่อแช่มวัดตาก้อง ฯลฯเป็นต้นท่านเชี่ยวชาญในวิชาแพทย์ท่านเชี่ยวชาญในวิชาแพทย์และเภสัชกรรมใจดีประกอบด้วยเมตตามีอารมณ์ขันหากจะกล่าวถึงหัวหน้าคณะพระธรรมฑูตซึ่งเดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิแหลมทองคงได้แก่พระโสณเถระซึ่งท่านเป็นน้องชาย ซึ่งเป็นน้องชายพระอุตรแต่บรรลุอรหันต์ก่อนพี่ชายบทบาทของพระอุตรเถระจึงไม่ค่อยมีปรากฏและพระโสณเถระก็บรรลุปฏิสัมภิทาญาณเช่นกันมิฉะนั้นจะสอนศาสนาแก่คนต่างชาติได้อย่างไรปฏิสัมภิทาญาณสี่มีดังนี้<O:p</O:p
    1. อัตถปฏิสัมภิทาคือความแตกฉานในอรรถเข้าใจถืออธิบายอรรถแห่งภาษิตให้พิศดาร และ เข้าใจคาดคะเนล่วงหน้าถึงผลอันจักมีเข้าใจผล<O:p</O:p
    2. ธรรมปฏิสัมภิทาคือความแตกฉานในธรรมเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้สาวเหตุในหนหลังให้เข้าใจเหตุ<O:p</O:p
    3. นิรุตติปฏิสัมภิทาคือความแตกฉานในภาษาและรู้จักใช้ถ้อยคำตลอดจนรู้ถึงภาษาต่างประเทศ<O:p</O:p
    4. ปฏิภาณสัมภิทาความแตกฉานในปฏิภาณมีไหวพริบเข้าใจทำให้สบเหมาะในทันทีหรือในเมื่อเหตุเกิดขึ้นโดยฉุกเฉินหรือกล่าวตอบโต้ได้ทันท่วงที<O:p</O:p
    ท่านมีสภาวะจิตที่รวดเร็วมากเพียงนึกถึงท่านท่านจะบอกให้นิมิต "เมื่อเจ้าต้องการพบเรา เราก็มาเรามาจากทางไกลด้วยความรวดเร็วยิ่งในการตรวจพพิมพ์ของท่านซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าท่านเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดรท่านอภิชิโตภิกขุมอบให้เป็นสมบัติบอกว่าอาจารย์ท่านคือหลวงปู่ดำเสกให้เคยทดลองให้ท่านอาจารย์วิเชียรคำไสสว่างชีปะขาวผู้ทรงคุณกำหนดจิตดูท่านอาจารย์บอกว่าพระนี้ว่องไวและรวดเร็วยิ่งต่อมาเพื่อเป็นการพิสูจน์ทดสอบได้นำพระพิมพ์ที่ว่านำไปตรวจสอบกับพระพิมพ์โลกอุดรกรุวังหน้าปรากฏว่าเหมื่อนกันทุกประการ<O:p</O:p
    องค์ที่สองพระโสณเถระหรือหลวงปู่ตีนโต รูปกายสูงใหญ่ผิวดำทรงคุณสมบัติเช่นองค์ที่หนึ่งเว้นวิชาแพทยใจดี<O:p</O:p
    เยือกเย็นประกอบด้วยเมตตาธรรมชอบผาดโผนเหินฟ้านภาลัยโขดเขินเนินไศลเป็นที่สัญจร<O:p</O:p
    องค์ที่สามพระมูนียะหรือพระอิเกสาโร หลวงปู่โพรงโพหลวงปู่เดินหนล้วนเป็นองค์เดียวกันมีบุคลิกภาพอันสง่างามปรากฏตามภาพซึ่งใช้บูชากันอยู่ในปัจจุบันเชี่ยวชาญในวิชาแปรธาตุเป็นผู้คงแก่เรียนชอบเจริญอศุภกรรมฐาน 10 มักสร้างรูปบูชาเป็นโครงกระดูกพูดน้อยค่อนข้างเคร่งขรึมคล้ายดุแต่ก็ไม่ดุเป็นอาจารย์หลวงพ่อเงินบางคลาน หลวงปู่สุขวัดปากคลองห่มจีวรสีหมองคล้ำหากปรากฏภาพในนิมิตมักจะปรากฏเส้นเกสายาวจรดเอวทีเดียวแสดงว่าอิเกสาโร” (เกสาแปลว่าเส้นผม)ท่านมีบทบาทไม่น้อยตามความรู้สึกน่าจะมีบทบาทมากกว่าองค์อื่นๆด้วยซ้ำไป<O:p</O:p
    องค์ที่สี่พระณานียะฉายาหลวงปู่ขรัวขี้เถ้าเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อแช่มวัดตาก้องจังหวัดนครปฐมท่านมีรูปกายค่อนข้างสูงใหญ่ขนตาดกยาวแปลกกว่าองค์อื่นมีอำนาจ แต่ขี้เล่นใจดีนิมิตไม่แน่นอนอาจเป็นรูปพระภิกษุ ท่านจะชื่ออะไรไม่ทราบแต่แปรธาตุเสกใบมะม่วงเป็นกบนำพร่ายำเลี้ยงสานุศิษย์เลยเรียกกันว่าหลวงพ่อกบท่านมาสร้างบารมีต่อปริศนาธรรมคือขรัวขี้เถ้าเผาแหลกมีอะไรเผาหมด แบบเถ้าสู่เถ้าผงคลีสู่ผงคลีดินจะใหญ่สักปานใดมันก็ไม่พ้นจากความเป็นขี้เถ้าหรอกที่สุดก็มรณะภาพและศิษย์นำใส่โลงศพรอวันเผาหลวงปู่เกิดหายไปไร้ร่องรอยเลยไม่มีการฌาปนกิจศพ<O:p</O:p
    องค์ที่ห้าพระภูริยะหลวงปู่หน้าปานบางคนก็เรียกท่านว่าหลวงปู่แก้มแดงเคยเรียนถามท่านอภิชิโตภิกษุท่านบอกว่าขรัวหน้าปานองค์นี้สำเร็จปรอทล่องหนย่นทางเก่งถ้าท่านเอาลูกปรอทอมทางซึกซ้ายแก้มซ้ายจะแดงถ้าเปลี่ยนเป็นอมทางแก้มขวาทางด้านขวาจะแดงจึงเกิดถกเถียงกันไม่รู้จบท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ขรัวขี้เถ้ามาสร้างเสริมบารมีในระยะเวลาเดียวกันโดยอาศัยร่างท่านมหาชวนหรือหลวงพ่อโอภาสีแห่งอาศรมบางมดท่านเป็นภิกษุทรงศีลเมื่อมีผู้ซักถามท่านก็บอกตามตรงว่าพระมหาชวนได้ตายไปแล้วอาตมาเป็นพระสำเร็จมาอาศัยร่างสร้างบารมีต่อ<O:p</O:p
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ปัจจุบัน ผมได้มอบพระพิมพ์ให้กับท่านที่ร่วมบุญใน 2 กระทู้ดังนี้ครับ

    1.เชิญร่วมบริจาคค่าขุดบ่อบาดาล สนส บ่อเงินบ่อทองบัญชีออมทรัพย์ 2030-06304-5 บัญชี รร.พระปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง ปริยัติศึกษา บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม

    2.ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ <!-- / sig -->


    ติดตามได้ในกระทู้ทั้งสองกระทู้นะครับ
    โมทนาสาธุครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คำไหว้งานศพ<O:p</O:p
    เวลาไปเยี่ยมศพ<O:p</O:p

    อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง<O:p</O:p

    เวลารดน้ำศพ<O:p</O:p

    แบบที่ ๑ กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง สัมพะปาปัง วินัสสะตุ<O:p</O:p
    แบบที่ ๒ อิทัง มะตะกะสะรีรัง อุทะกัง วิยะ สิญจิตัง อะโหสิกัมมัง<O:p</O:p
    คำแปล กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ขอให้อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า ทั้งต่อหน้าและลับหลังด้วยเทอญ
    <O:p</O:p
    คำถวายผ้าไตรอุทิศแก่ผู้ตาย<O:p</O:p

    อิมานิ มังยัง ภันเต ติจีวะรานิ อัยยัสสะ เทมะ สาธุ โน ภันเต อะยัง ติจีวะระปูชาวิปาโก อัมหากัง มาตาปิตุอาทีนัง ญาตีนัง กาละกะตานัง สังวัตตะตุ อัมหากัง มาตาปิตุอาทะโย ญาตะกา ทานะ ปัตติง ละภันตุ อัมหากัง เจตะสา ฯ<O:p</O:p
    คำแปล ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายไตรจีวรนี้ แก่พระผู้เป็นเจ้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ อันว่าผลวิบากของการบูชาด้วยไตรจีวรนี้ จงเป็นไปเพื่อญาติทั้งหลาย มีมารดาบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นต้น จงได้ส่วนแห่งทานนี้ ตามความประสงค์ ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย เทอญ ฯ
    <O:p</O:p
    คำภาวนาเวลาทอดผ้าหน้าศพ<O:p</O:p

    นามะรูปัง อะนิจจัง นามะรูปัง ทุกขัง นามะรูปัง อะนัตตา<O:p</O:p

    คำภาวนาเวลาจุดเผาศพ<O:p</O:p

    แบบที่ ๑ อะสุจิ อะสุภัง กัมมัฏฐานัง ภาเวติ<O:p</O:p

    แบบที่ ๒ จุติ จุตัง อะระหัง จุติ<O:p</O:p
    แบบที่ ๓ อะยัมปิ โข เม กาโย เอวัง ภาวี เอวัง ธัมโม เอวัง อะนะตีโต<O:p></O:p>
    คำแปล กายของเรานี้ ต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกัน มีอย่างนี้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป<O:p</O:p
    มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ<O:p</O:p
    คำแปล<O:p</O:p

    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำชื่อ นัมมทานที โน้น ด้วยประทีปนี้ กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คาถาบูชาพระเครื่องและพระกริ่งต่างๆ<O:p</O:p
    พุทธะบูชา ปะฏิหาโร อักขะระยันตัง อิติ วิเสเส ปะฏิรูปัง อะภิปูชะยามิ<O:p</O:p


    ( บางเล่มใช้ อิอิ )<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    คำอาราธนาพระเครื่อง<O:p</O:p
    นโม ๓ จบ<O:p</O:p


    พุทธัง อาราธะนานัง ธัมมัง อาราธะนานัง สังฆัง อาราธะนานัง<O:p</O:p
    พุทธัง ประสิทธิเม ธัมมัง ประสิทธิเม สังฆัง ประสิทธิเม<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    คำไหว้พระจุฬามณี ฯ<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p


    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ฯ กุศลสัมปันโน ฯ ( ๓ จบ )<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    คำจบเงินทำบุญ<O:p</O:p
    ทรัพย์ของข้าพเจ้า ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ขอบูชาพระพุทธ บูชาพระธรรม บูชาพระสงฆ์ จิตใจจำนง มุ่งตรงต่อพระนิพพาน ขอให้ถึงเมืองแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้พบพระศรีอาริย์ ในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้น เทอญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    คำถวายพระพุทธรูป<O:p</O:p

    อิมัง มะยัง ภันเต พุทธะรูปัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
    อิมัง พุทธรูปัง ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
    (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย พระพุทธรูปแด่พระภิกษุสงฆ์
    ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งพระพุทธรูปนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ)
    <O:p</O:p

    คำจบทาน<O:p</O:p
    อิทัง เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ
    (ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้สิ้นอาสวะกิเลส) <O:p</O:p
    อิทัง เม ทานัง นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ
    (ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันชาตินี้ ขอให้ได้มนุษย์สมบัติ ขอให้ได้สวรรค์สมบัติ ขอให้ได้นิพพานสมบัติ จะนึกประสงค์สิ่งใด ขอจงสมความปรารถนา ทุกประการ อันว่าโรคภัยไข้เจ็บ ความยากจนค่นแค้น และคำว่า "ไม่มี" ขออย่าให้ข้าพเจ้าประสบพบเลย) <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำภาวนาก่อพระเจดีย์ทราย<O:p</O:p

    อิมัง วาลุกัง เจติยัง อะธิฏฐามิ <O:p</O:p
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ขณะนี้ คณะของผมกำลังจัดทำหนังสือประวัติหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร (เดิมเป็นหนังสือที่ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร และท่านพันเอกชม สุคันธรัตน์ เป็นผู้เขียน) ได้นำมาจัดรูปเล่มใหม่ ตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจปรู๊พ ว่ามีการพิมพ์ผิดหรือไม่อย่างไร และต่อไปจะมีการถ่ายรูปพระพิมพ์บางส่วนเพื่อนำลงในหนังสือด้วย

    หากท่านใดที่สนใจ ผมจะมาแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ผมขอสงวนสิทธิ์จะให้จองเฉพาะท่านที่ได้เคยร่วมบุญกับผมเท่านั้น (และผมขอเป็นผู้พิจารณาว่าท่านใดสมควรที่จะได้สิทธิ์จอง)ครับ

    ส่วนหนังสือปู่เล่าให้ฟัง ซึ่งคณะผมจะออกใหม่ในช่วงปลายปีเช่นเดียวกันกับประวัติหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ต้องเป็นผู้ที่ร่วมบุญกับผมและผมจะขอเป็นผู้พิจารณาว่าท่านใดสมควรจะได้สิทธิ์จองหนังสือครับ


    โมทนาสาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2007
  15. nrcl

    nrcl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +4,318
    ขอจองเล่มนึงครับ
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 11 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 9 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, grasib </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ท่านใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเว็บไซด์พลังจิต สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับ แต่ต้องไปโพสในกระทู้ หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร หรือ http://www.agalico.com/board/showthread.php?p=29641#post29641เป็นลิงค์) ในเว็บไซด์อกาลิโกครับ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมได้เปิดกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ
    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=9798

    ไว้ที่เว็บไซด์อกาลิโกแล้วนะครับ

    หากท่านใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเว็บไซด์พลังจิต สามารถร่วมบุญกันได้ โดยแจ้งความประสงค์ได้ในกระทู้ครับ
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE style="WIDTH: 390pt; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=519 border=0 x:str><COLGROUP><COL style="WIDTH: 32pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 1572" width=43><COL style="WIDTH: 10pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 475" width=13><COL style="WIDTH: 89pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 4315" width=118><COL style="WIDTH: 9pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 438" width=12><COL style="WIDTH: 86pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 4169" width=114><COL style="WIDTH: 48pt" span=2 width=64><COL style="WIDTH: 68pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 3328" width=91><TBODY><TR style="HEIGHT: 18pt; mso-height-source: userset" height=24><TD class=xl24 style="BORDER-RIGHT: black 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 0.5pt solid; WIDTH: 390pt; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 18pt; BACKGROUND-COLOR: white" width=519 colSpan=8 height=24>วันพรุ่งนี้ ผมจะจัดส่งพระพิมพ์และวัตถุมงคลให้กับท่านผู้ร่วมทำบุญดังนี้</TD></TR><TR style="HEIGHT: 18pt; mso-height-source: userset" height=24><TD class=xl27 style="BORDER-RIGHT: #e0dfe3; BORDER-TOP: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 18pt; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" colSpan=4 height=24>1.คุณaries2947</TD><TD class=xl29 style="BORDER-RIGHT: black 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" colSpan=4>กระทู้สร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง</TD></TR><TR style="HEIGHT: 18pt; mso-height-source: userset" height=24><TD class=xl27 style="BORDER-RIGHT: #e0dfe3; BORDER-TOP: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 18pt; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" colSpan=4 height=24>2.คุณนิพนธ์ นครสวรรค์</TD><TD class=xl29 style="BORDER-RIGHT: black 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" colSpan=4>กระทู้สร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง</TD></TR><TR style="HEIGHT: 18pt; mso-height-source: userset" height=24><TD class=xl27 style="BORDER-RIGHT: #e0dfe3; BORDER-TOP: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 18pt; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" colSpan=4 height=24>3.คุณchaipat</TD><TD class=xl29 style="BORDER-RIGHT: black 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" colSpan=4>กระทู้สร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง</TD></TR><TR style="HEIGHT: 18pt; mso-height-source: userset" height=24><TD class=xl27 style="BORDER-RIGHT: #e0dfe3; BORDER-TOP: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 18pt; BACKGROUND-COLOR: #ffff99" colSpan=4 height=24>4.คุณทวีชัย จ.สมุทรปราการ</TD><TD class=xl29 style="BORDER-RIGHT: black 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: #e0dfe3; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc" colSpan=4>กระทู้สร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ส่วนคุณนิพนธ์ ที่ร่วมทำบุญรับพระสมเด็จวังหน้า เนื้อสีเขียวก้านมะลิ( 1 องค์)และพระไกเซอร์ปัญจสิริ (1องค์) ผมได้แจ้งคุณนักเดินทางแล้ว คุณนักเดินทางจะส่งพระพิมพ์ให้นะครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2007
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 6 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 3 คน ) </TD><TD class=thead width="14%">

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, โคมฉาย, พันวฤทธิ์ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    มาย้ำอีกรอบครับ

    ท่านที่ไม่ได้เป็นสมาชิก สามารถเข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ในเว็บไซด์อกาลิโกนะครับ
    กระทู้ หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร หรือ http://www.agalico.com/board/showthr...9641#post29641
    (เป็นลิ้งค์)ในเว็บไซด์อกาลิโกครับ

    และ กระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ
    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=9798
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2007
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    มาเตือนความทรงจำกันอีกสักครั้งนะครับ

    <TABLE class=tborder id=post484183 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">11-02-2007, 07:06 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#3489 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>:::เพชร:::<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_484183", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: 10-03-2007 12:25 AM
    วันที่สมัคร: Jul 2006
    อายุ: 42 ปี
    ข้อความ: 295 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 6,206 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 2,640 ครั้ง ใน 286 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 300 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_484183 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    *****ในขณะนี้นั้น มีพระของวังหน้าค่อนข้างปลอมเยอะนะครับ ให้ระวังกันมากๆ และในอนาคตข้างหน้า ผมว่าก็มีปลอมกันมากขึ้นครับ *****

    +++++ รูปที่ผมลงนั้น บางครั้งสีจะเพี้ยนจากของเดิม การดูพระพิมพ์นั้น ผมเคยบอกแล้วนะครับว่า ต้องดูทั้งรูปและนาม (เนื้อหาทรงพิมพ์และพลังอิทธิคุณขององค์พระพิมพ์) ประกอบกันไป ดูอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ครับ +++++

    (f) (f) (f) (f) (f) (f) (f) (f) (f) (f)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นำพระ(เณร)บางส่วนมาให้ชมกันครับ ระวังในการเช่าหาครับ รับประกันว่าเป็นเณร 100% เริ่มด้วยพระบรมครูโลกอุดร พิมพ์อธิษฐานฤทธิ์
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG]


    </FIELDSET>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...