ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิด ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อได้สัมผัสกับอารมณ์ต่าง ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 18 ตุลาคม 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ก่อนอืนขอให้เข้าใจก่อนว่า
    ราคะ โทสะ โมหะคือ อะไร ขอให้อ่าน

    ราคะ คือ

    ราคะ แปลว่า ความกำหนัดยินดี, ความพอใจ, ความติดใจ จริต แปลว่า ความประพฤติ, พฤติกรรมปกติ หมายถึงความประพฤติที่ติดต่อสืบเนื่องมานานจนเป็นเรื่องปกติของผู้นั้น ใช้ว่า จริยา ก็ได้
    ราคะ หรือ ราคจริต หมายถึงพฤติกรรมของคนที่มีราคะเป็น ปกติ คือรักสวยรักงาม มีกิริยาคือ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้นที่เรียบร้อย นิ่มนวล ชอบสะอาด ทำกิจต่างๆ ไม่รีบร้อน ชอบกินของที่บรรจงจัด ชอบของหวาน มีอารมณ์สุนทรีย์ ดูอะไรก็ดูนาน ละเอียดพิเคราะห์ อุปนิสัยเป็นคนเจ้าเล่ห์ ถือตัว แง่งอน ชอบอวด ชอบยอ อยากได้หน้า ราคจิตแก้ได้ด้วยการพิจารณากายคตาสติ หรือ อสุภกรรมฐาน


    โลภะ แปลว่า ความโลภ ความอยากได้ เป็นเป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ 3 อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ
    โลภะ เกิดจากตัณหาคือความทะยานอยากได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตหิว โหยอยากได้ เกิดความดิ้นรน อยู่ไม่เป็นสุข หากหยุดยั้งไม่ได้ก็จะเป็นต้นเหตุให้ดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่อยากได้มาสนองความ ต้องการ หรือเมื่อไม่ได้โดยวิธีชอบธรรมก็นำให้ไปทำความชั่วความไม่ดีงามต่างๆ เช่น ลักขโมย ทุจริต คอรัปชั่น โกง ปล้น จนถึงฆ่าคนตาย
    โลภะ เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งปวง คือเป็นตัวทำลายศีลธรรม มโนธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม สามัคคีธรรม ยุติธรรมและธรรมชาติ
    โลภะ ละได้ด้วยการให้ทาน การเสียสละ เกื้อเฟื้อเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ<sup id="cite_ref-0" class="reference">[1]</sup>


    โทสะ แปลว่า ความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ เป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ทั้ง 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
    โทสะ เกิดจากมานะคือความถือตัวถือตน ความรู้สึกว่าตัวเด่นกว่าเขา ตัวด้อยกว่าเขา หรือตัวเสมอกับเขา เมื่อถูกกระทบเข้าก็เกิดความไม่พอใจ เกิดโทสะขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วหากระงับไม่ได้ก็จะนำให้ทำความชั่วความ ไม่ดีต่างๆ เช่น ทะเลาะวิวาทกัน กลั่นแกล้งกัน ทำร้ายกัน ฆ่ากัน เป็นเหตุให้ตัวเองเดือดร้อน โลกก็เร่าร้อน ขาดสันติภาพ อยู่กันอย่างเดือดร้อน หวาดระแวงกันและกัน
    โทสะ กำจัดได้โดย เมตตา คือการมีความรักปรารถนาดีต่อกัน<sup id="cite_ref-0" class="reference">[1]</sup>
    กลุ่มโทสะ

    ธรรมฝ่ายชั่วนี้มี 3 อย่าง คือ

    • โทสะ เป็นธรรมชาติที่ประทุษร้ายหรือความโกรธ
    • อิสสา เป็นธรรมชาติที่ไม่พอใจในคุณสมบัติหรือคุณความดีของผู้อื่นหรือความอิจฉา
    • มัจฉริยะ เป็นธรรมชาติที่หวงแหนในสมบัติและคุณความดีของตนหรือความตระหนี่
    • กุกกุจจะ เป็นธรรมชาติที่รำคาญใจในความชั่วที่ได้ทำแล้วและรำคาญใจหรือร้อนใจทียังไม่ได้ทำความดี

    โอเคครับ พอเข้าใจแล้ว ผมก็ขอเอาพุทธดํารัส มาเลยนะครับ

    “ดูก่อนมาลุงกยบุตร ในบรรดาธรรมที่เธอเห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้แล้ว รู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ในรูปที่เห็นแล้ว จักเป็นแค่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน จักเป็นแต่ได้ยิน ในอารมณ์ที่จักเป็นแต่รู้ ในอารมณ์ที่รู้แจ้งจักเป็นแต่รู้แจ้ง เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ......”

    ย่อให้ สั้น ในบรรดาธรรมที่เธอเห็นแล้ว (ในนี้คือ มาลุงกยบุตร) ฟังแล้ว รู้แล้ว แจ้งแล้ว เหล่านั้น เห็นแล้วก็เป็นแค่เห็น เสียงที่ได้ยิน ก็ได้จะได้ยิน อารมณ์ที่รู้ ในาอารมณืที่แจ้ง ก็เป็นแต่รู้แจ้ง เธอจะเป็นผู้ไม่ถูก ระคะย้อม ไม่ถูกโทสะทําร้าย ไม่หลง เพราะโมหะ

    ย่อให้สั้นกว่านี้ เมื่อเห็นก็เห็นเมื่อได้ยินก็ได้ยินเมื่อรู้ก็รู้ (อารมณ์ที่รู้นะครับ) เมื่อเห็นเป็นอย่างั้น โทสะ โมหะ ราคะ ก็จะไม่เป็นผลทํารายเลย


    อ่อ ตัวอักษรสีฟ้ากดไปอ่านได้ ผม copy มาจาก Wikipedia

    แล้วก็ เวปนี้ผมก็ ก๊อบมาอีกทีhttp://www.84000.org/true/363.html ส่วนย่อก็ย่อเองแล้วแปลคําให้ภาษาเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ถ้าผมแปลผิดบอกผมทีจะได้รีบแก้ ส่งเมล์มาเลยก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2011
  2. tuta868248

    tuta868248 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +1,116
    เห็นสักแต่เห็น รู้สักแต่รู้ ไม่ต้องเอาจิตปรุงแต่ง อุเบกขา วางเฉยคะ รู้เฉย ปล่อยวาง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อุเบกขา บุญรักษาคะ
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ปฎิบัติศึกษาภาวนาไปเรื่อยเรื่อยครับ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา. รู้อริยสัจสี่..อริยมรรคมีองค์8..............แต่ถ้าในขั้นต้นผมว่า สติสัมปชัญญะ และจะต้อง ภาวนาอย่างเข้มข้นพอควร...จขกท ใฝ่รู้ทีเดียว:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...