เทศนาของพระโพธิสัตว์ปาเดนโดรเจหลังจากนั่งสมาธิ6ปี

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 6 มกราคม 2012.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    พระโพธิสัตว์ปาเดนโดรเจ

    ขอนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวร ขอนอบน้อมแด่พระอริยไมตรี ขอให้ศาสนาทุกศาสนามีเมตตา เราจะแนะนำทางที่บริสุทธิ์ เพื่อสันติภาพแก่ชาวโลก เพื่อผู้มีบุญบารมีในชาติก่อน ซึ่งวันนี้ก็เป็นวันดีที่นั่งสมาธิครบ 6 ปีแล้ว ในยุคแห่งความวุ่นวายและความเปลี่ยนแปลงของโลกนี้ ด้วยอานุภาพของพระอริยไมตรีจะคุ้มครองให้ชาวโลกรอดปลอดภัย ชาวโลกไม่รู้ว่าพระอริยไมตรีเคยเกิดขึ้นมาแล้ว 4 ครั้ง และได้ให้คำสอนไว้กับชาวโลก หลังจากที่ข้าพเจ้านั่งสมาธิผ่านไปได้ 10 เดือนโดยไม่ลุกไปไหน รู้สึกได้ถึงความร้อน ความหนาว ฝนตก ซึ่งร่างกายมีเพียงผ้าบางๆ มองไปด้านหลังช้าๆก็เห็นปลวกขึ้นผ้า


    ไม่ควรแยกชนชั้นวรรณะ เพศ สิทธิของผู้หญิง ผู้ชาย สีผิว เชื้อชาติและศาสนา ไม่ควรดูถูกศาสนาว่า ศาสนาใดสูงหรือต่ำกว่ากัน ไม่ควรลบหลู่ศาสนาต่างๆ อย่าแบ่งแยกประเทศ ว่าเป็นศัตรูหรือมิตร อย่าเห็นผิดเป็นชอบ อย่าไปเปรียบเทียบว่าคนนี้ดี คนนี้ไม่ดี อกุศล 10 อย่างและบาปทุกอย่างต้องละเว้น ฝึกให้มีศีล สมาธิ ปัญญา ช่วยเหลือสังคม และอุทิศชีวิตแก่ประเทศชาติ ในโลกนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติตามศีล 8 ได้ ก็จะเหมือนอยู่ในดินแดนสุขาวดี อยู่ในยุคทอง เพื่อความสุขของชาวโลก ข้าพเจ้าจะอุทิศชีวิต ชีวิตของมนุษย์จะสำคัญเมื่อใช้ชีวิตโดยธรรม ธรรมะก็คือสูญญตา ก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง ความไม่มีตัวตน ความว่างเปล่า การทนต่อความหิวทำได้ยากมาก แต่ข้าพเจ้าก็สามารถข้ามผ่านความหิวนั้นมาได้ จนได้พุทธภาวะ ถ้ามีพุทธภาวะ ก็จะมีความสงบร่มเย็น และเป็นหนทางที่จะหลุดพ้นจากกิเลสได้ ขอให้มีความสุขสมหวังทุกประการเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มกราคม 2012
  2. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    เชิงอรรถ

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodycontent -->[​IMG]
    <TABLE style="WIDTH: 280px; MARGIN-BOTTOM: 1em; FLOAT: right; MARGIN-LEFT: 1em" class=toccolours><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TH style="BACKGROUND-COLOR: #40a080" class="fn org" colSpan=2>พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์</TH></TR><TR><TD></TD></TR><TR style="TEXT-ALIGN: center"><TD colSpan=2>[​IMG]
    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ปัทมปาณี
    นาลันทา, รัฐพิหาร, อินเดีย,
    พุทธศตวรรษที่ 14-15 (คริสต์ศตวรรษที่ 9)
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD>สันสกฤต: </TD><TD>अवलोकितेश्वर
    (Avalokiteśvara, อวโลกิเตศวร)</TD></TR><TR vAlign=top><TD></TD><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD>พม่า: </TD><TD>လောကနတ် (<SMALL>Burmese pronunciation: </SMALL>[lɔ́ka̰ naʔ])
    လောကနာထ (<SMALL>Burmese pronunciation: </SMALL>[lɔ́ka̰nətʰa̰])</TD></TR><TR vAlign=top><TD>เบงกาลี: </TD><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD>จีน: </TD><TD>觀世音 (Guānshìyīn)
    觀音 (Guānyīn)
    觀自在 (Guānzìzài)</TD></TR><TR vAlign=top><TD>ญี่ปุ่น: </TD><TD>観世音 (คังเซะอง)
    観音 (คันนง)</TD></TR><TR vAlign=top><TD>ไทย: </TD><TD>พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
    เจ้าแม่กวนอิม</TD></TR><TR vAlign=top><TD>ทิเบต: </TD><TD>སྤྱན་རས་གཟིགས་
    spyan ras gzigs; chenrezig</TD></TR><TR vAlign=top><TD>มองโกล: </TD><TD>Жанрайсиг, Нүдээр Үзэгч
    ᠨᠢᠳᠦ ᠪᠡᠷ ᠦᠵᠡᠭᠴᠢ</TD></TR><TR vAlign=top><TD>เกาหลี: </TD><TD>관세음보살 (gwanseeum bosal)</TD></TR><TR vAlign=top><TD>เวียดนาม: </TD><TD>Quán Thế Âm</TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: center; BACKGROUND-COLOR: #40a080" colSpan=2>ข้อมูลจำเพา</TH></TR><TR vAlign=top><TD>ได้รับการนับถือใน: </TD><TD>มหายาน, วัชรยาน, เถรวาท (นับถือทั่วไปอย่างไม่เป็นทางการ)</TD></TR><TR vAlign=top><TD>คุณลักษณะ: </TD><TD>มหากรุณา</TD></TR></TBODY></TABLE>พระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นเสมือนปุคคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปฺรชฺญาปารมิตาสูตฺร, สทฺธรฺมปุณฑรีกสูตฺร และการณฺฑวยูหสูตฺร
    <TABLE id=toc class=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[แก้] ความหมายของพระนาม

    คำว่า อวโลกิเตศวร ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายนัยด้วยกัน แต่โดยรูปศัพท์แล้ว คำว่าอวโลกิเตศวรมาจากคำสันสกฤตสองคำคือ อวโลกิต กับ อิศวร แปลได้ว่าผู้เป็นใหญ่ที่เฝ้ามองจากเบื้องบน หรือพระผู้ทัศนาดูโลก ซึ่งหมายถึงเฝ้าดูแลสรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์นั่นเอง, ซิมเมอร์ นักวิชาการชาวเยอรมันอธิบายว่า พระโพธิสัตว์องค์นี้ทรงเป็นสมันตมุข คือ ปรากฏพระพักตร์อยู่ทุกทิศอาจแลเห็นทั้งหมด ทรงเป็นผู้ที่สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คืออาจจะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อใดก็ได้ แต่ทรงยับยั้งไว้เนื่องจากความกรุณาสงสารต่อสรรพสัตว์ นอกจากนี้นักปราชญ์พุทธศาสนาบางท่านยังได้เสนอความเห็นว่า คำว่า อิศวร นั้น เป็นเสมือนตำแหน่งที่ติดมากับพระนามอวโลกิตะ จึงถือได้ว่าทรงเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์เดียวที่มีตำแหน่งระบุไว้ท้ายพระนาม ในขณะที่พระโพธิสัตว์พระองค์อื่นหามีไม่ อันแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญยิ่งของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้
    พุทธศาสนิกชนชาวจีนจะรู้จักพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ในพระนามว่า กวนซีอิม หรือ กวนอิม ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต คือผู้เพ่งสดับเสียงแห่งโลก แต่โดยทั่วไปแล้วมักให้อรรถาธิบายเป็นใจความว่าหมายถึง พระผู้สดับฟังเสียงคร่ำครวญของสัตว์โลก (ที่กำลังตกอยู่ในห้วงทุกข์) คำว่ากวนซีอิมนี้พระกุมารชีวะชาวเอเชียกลางผู้ไปเผยแผ่พระศาสนาในจีนเป็นผู้แปลขึ้น ต่อมาตัดออกเหลือเพียงกวนอิมเท่านั้น เนื่องจากคำว่าซีไปพ้องกับพระนามของ จักรพรรดิถังไท่จง หรือ หลีซีหมิง นั่นเอง
    [แก้] พระอวโลกิเตศวรในฐานะเป็นพระธยานิโพธิสัตว์

    พุทธศาสนามหายานได้จำแนกพระโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภท อันได้แก่ พระมนุษิโพธิสัตว์ และ พระธยานิโพธิสัตว์
    • พระมนุษิโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ในสภาวะมนุษย์หรือเป็นสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่น ๆ ที่กำลังบำเพ็ญสั่งสมบารมีอันยิ่งใหญ่เพื่อพระโพธิญาณอันประเสริฐ ถ้าตามมติของฝ่ายเถรวาทก็คือผู้ที่ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารเพื่อบำเพ็ญ ทศบารมี ๑๐ ประการให้บริบูรณ์ เหมือนเมื่อครั้งสมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ทรงกระทำมาในอดีต โดยที่ทรงเสวยพระชาติเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์จนได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระศากยมุนีพุทธเจ้า การบำเพ็ญบารมีดังกล่าวนี้เป็นความยากลำบากแสนสาหัส สำเร็จได้ด้วยโพธิจิต อีกทั้งวิริยะและความกรุณาอันหาที่เปรียบมิได้ ต้องอาศัยระยะเวลายาวนานนับด้วยกัปอสงไขย สิ้นภพสิ้นชาติสุดจะประมาณได้
    • พระธยานิโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ประเภทนี้มิใช่พระโพธิสัตว์ผู้กำลังบำเพ็ญบารมีเพื่อแสวงหาดวงปัญญาอันจะนำไปสู่ความรู้แจ้งเหมือนประเภทแรก แต่เป็นพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีบริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว และสำเร็จเป็นพระธยานิโพธิสัตว์หรือพระโพธิสัตว์ในสมาธิโดยยับยั้งไว้ยังไม่เสด็จเข้าสู่พุทธภูมิ เพื่อจะโปรดสรรพสัตว์ต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด พระธยานิโพธิสัตว์นี้เป็นทิพยบุคคลที่มีลักษณะดังหนึ่งเทพยดา มีคุณชาติทางจิตเข้าสู่ภูมิธรรมขั้นสูงสุดและทรงไว้ซึ่งพระโพธิญาณอย่างมั่นคง จึงมีสภาวะที่สูงกว่าพระโพธิสัตว์ทั่วไป พระธยานิโพธิสัตว์มักจะมีภูมิหลังที่ยาวนาน เป็นพระโพธิสัตว์เจ้าที่สำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์มาเนิ่นนานนับแต่สมัยพระอดีตพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สุดจะคณานับเป็นกาลเวลาได้ พระธยานิโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานรู้จักดี อาทิ พระมัญชุศรี พระอวโลกิเตศวร พระมหาสถามปราปต์ พระสมันตภัทร พระกษิติครรภ์ เป็นต้น
    [แก้] ประวัติความเป็นมาในคัมภีร์ฝ่ายมหายาน

    พระไตรปิฎกของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทไม่มีปรากฏเรื่องราวหรือแม้แต่พระนามของพระอวโลกิเตศวรอยู่เลย ทว่าในส่วนของนิกายมหายานแล้ว พระอวโลกิเตศวรมีบทบาทปรากฏอยู่มากในพระสูตรสำคัญ ๆ และยังมีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรมหายานว่าพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังได้เคยตรัสสนทนาธรรมกับพระโพธิสัตว์พระองค์นี้อยู่บ่อยครั้งทีเดียว ในพุทธศาสนามหายานยกย่องพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ว่าเป็นพระผู้ได้รับธรรมจักรมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และเป็นผู้นำในการรักษาพระพุทธศาสนาและหมุนธรรมจักรต่อไป
    การอุบัติของพระอวโลกิเตศวรนี้สันนิษฐานว่ามีขึ้นภายหลังการเกิดนิกายมหายานขึ้นแล้วในราวพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ ภายหลังพุทธปรินิพพาน ซึ่งเมื่อตรวจสอบจากวรรณคดีสันสกฤตยุคต้น ๆ ของมหายานอย่าง ชาดกมาลา ทิวยาวทาน หรือลลิตวิสตระ ก็ยังไม่ปรากฏนามพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แต่อย่างใด แต่มีปรากฏขึ้นครั้งแรกพร้อม ๆ กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ในพระสูตรปรัชญาปารมิตาซึ่งถือว่าเป็นพระสูตรมหายานรุ่นเก่าที่สุด และในพระสูตรรุ่นต่อ ๆ มาก็ได้มีเรื่องราวเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ปรากฏขึ้นมากมาย
    พระสูตรมหายานกล่าวว่าพระอวโลกิเตศวรประทับอยู่ ณ สุขาวดีพุทธเกษตร คอยช่วยพระอมิตาภะโปรดสรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ และเนื่องจากทรงเป็นพระธยานิโพธิสัตว์จึงมีความเป็นมาอันยาวนานสุดจะคาดคำนวณได้ นับแต่สมัยของ พระวิปัสสีพุทธเจ้า เป็นต้นมาก็ทรงได้โปรดสัตว์มาเป็นลำดับจนถึงบัดนี้ อันเป็นกาลสมัยของพระสมณโคดมศากยมุนีพุทธเจ้า ก็เป็นระยะเวลาเนิ่นนานสุดจะพรรณนา ใน กรุณาปุณฑริกสูตร อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรเป็นพระธรรมกายโพธิสัตว์ สูงกว่าพระโพธิสัตว์สามัญอื่น ๆ และเป็นเอกชาติปฏิพัทธะเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์อารยเมตตรัย กล่าวคือเป็นผู้ที่ยังข้องอยู่กับการเกิดอีกเพียงชาติเดียวก็จะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ กล่าวกันว่าพระอวโลกิเตศวรจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายหลังการดับขันธปรินิพพานของพระอมิตาภะ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป ณ แดนสุขาวดี
    นอกจากนี้ในพระสูตรมหายานอื่น ๆ ก็ยังมีปรากฏว่าอธิบายแตกต่างออกไปอีก กล่าวคือ บางพระสูตรกล่าวว่าพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์นั้นแท้จริงแล้วคืออวตารภาคหนึ่งของพระอดีตพุทธเจ้า ที่ได้ทรงบรรลุพุทธภูมิเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะแล้วในอดีตกาลอันยาวไกล ก่อนสมัยพระพุทธเจ้าของเรา แต่ด้วยพระมหากรุณาที่เล็งเห็นสรรพสัตว์ยังตกอยู่ในโมหะอวิชชา ทำให้ต้องทนทุกข์อยู่ในวังวนแห่งสังสารวัฏยากจะหลุดพ้นไปได้ จึงทรงแบ่งภาคมาเป็นพระอวโลกิเตศวรเพื่อโปรดปวงสัตว์ให้เห็นธรรมพ้นทุกข์ด้วยพระเมตตากรุณา ในบางแห่งก็กล่าวว่าพระอวโลกิเตศวรเป็นพุทธโอรสของพระอมิตาภะที่ทรงบันดาลด้วยพุทธาภินิหาริย์ให้อุบัติขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่โลก แต่ทางฝ่ายทิเบตเชื่อว่าพระอวโลกิเตศวรอุบัติขึ้นมาพร้อม ๆ กับพระนางตาราด้วยอานุภาพของพระอมิตาภพุทธ จากแสงสว่าง (บางแห่งว่าเป็นน้ำพระเนตรจากความกรุณาสงสารสรรพสัตว์) ที่เปล่งออกมาจากพระเนตรเบื้องขวาของพระอมิตาภะได้บังเกิดเป็นพระอวโลกิเตศวรประทับบนดอกบัวที่ปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กับมนตร์ โอม มณี ปัทเม หูม ส่วนแสงจากพระเนตรเบื้องซ้ายก่อให้เกิดพระนางตาราโพธิสัตว์ อย่างไรก็ตาม ในพระสูตรอื่นบางแห่งก็มีกล่าวว่าแท้จริงแล้วพระอวโลกิเตศวรก็คือภาคหนึ่งขององค์พระอมิตาภะนั่นเอง
    [แก้] ลักษณะทางประติมานวิทยา

    [​IMG] [​IMG]
    พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะศรีวิชัย


    ภาพเขียนหรือรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรเริ่มแรกนิยมสร้างเป็นรูปบุรุษหนุ่ม ทรงเครื่องอลังการวิภูษิตาภรณ์อย่างเจ้าชายอินเดียโบราณ และมีอยู่หลายปางด้วยกัน แต่สิ่งสำคัญคือศิราภรณ์บนพระเศียรพระอวโลกิเตศวรจะต้องมีรูปของพระอมิตาภะในปางสมาธิ หากเป็นปางที่มีหลายเศียร เศียรบนสุดจะเป็นเศียรพระอมิตาภะ นับเป็นข้อสังเกตในด้านปฏิมากรรมของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ ส่วนดอกบัวอันเป็นสัญญลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร คือ บัวสีชมพู ขณะที่สีขาวคือบัวของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เท่านั้น และด้วยดอกบัวสีชมพูในตระกูลปัทมะนี้เอง ทำให้พระองค์ได้รับการขนานพระนามว่าปัทมปาณีโพธิสัตว์
    เมื่อพระพุทธศาสนามหายานได้เข้าสู่ประเทศจีนในช่วงแรกคือสมัยก่อนราชวงศ์ถัง ในยุคนั้นรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรยังสร้างเป็นรูปบุรุษตามแบบพุทธศิลป์ของอินเดีย หากในกาลต่อมาช่างชาวจีนได้คิดสร้างเป็นรูปสตรีเพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร สะท้อนถึงความรู้สึกและความเชื่อของประชาชนพื้นถิ่นที่ห่างไกลแม่แบบซึ่งมาจากอินเดีย จนอาจจะเรียกได้ว่ากวนอิมในรูปลักษณ์ของสตรีเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในจีน และแพร่หลายมากกว่าปางอื่น ๆ กระทั่งแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย ทั้งนี้เพราะรูปลักษณ์ของฝ่ายหญิงแทนค่าในเรื่องความเมตตากรุณาได้ดี ในขณะที่รูปลักษณ์อย่างบุรุษเพศจะสะท้อนเรื่องคุณธรรมมากกว่าความเมตตา เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปยังเกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม พุทธศาสนิกชนในประเทศนั้นก็พลอยสร้างรูปพระอวโลกิเตศวรเป็นสตรีตามแบบอย่างประเทศจีนไปด้วย
    [แก้] เรื่องราวในสทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตร

    สัทธรรมปุณฑรีกสูตรเป็นที่นับถือโดยทั่วไปทั้งในทิเบต จีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะนิกายเทียนไท้ทั้งในจีนและญี่ปุ่น รวมถึงนิกายนิชิเรนในญี่ปุ่นอีกด้วย ในญี่ปุ่นเจ้าชายโชโตกุได้ทรงแต่งอรรถกถาอธิบายความพระสูตรนี้ แม้ว่าเนื้อหาหลักของคัมภีร์นี้จะเป็นการอรรถาธิบายถึงหลักการของมหายานคือสัจจะเอกยาน และสอนมีศรัทธาในพระสัทธรรมอันเป็นหนึ่งเดียว แต่ในตอนหนึ่งได้มีการกล่าวสรรเสริญอานุภาพแห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไว้ในบทหนึ่งชื่อว่า “สมันตมุขปริวรรต” ว่าด้วยการสำแดงร่างเพื่อโปรดสัตว์ของพระอวโลกิเตศวร เนื้อความในบทนี้เริ่มต้นด้วยการสนทนาระหว่างพระอักษยมติกับพระศากยมุนีพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่องราวในอดีตกาลของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
    [แก้] พระสหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวร

    [​IMG] [​IMG]
    พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพันหัสตหัตถ์


    รูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีอยู่หลายปาง ทั้งภาคบุรุษ ภาคสตรี ไปจนถึงปางอันแสดงลักษณาการที่ดุร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปราบมารคือสรรพกิเลส แต่ปางที่สำคัญปางหนึ่งคือปางที่ทรงสำแดงพระวรกายเป็นพันหัสถ์พันเนตร ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรสันสกฤตคือ สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตรมหากรุณามนตร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มหากรุณาธารณีสูตร (大悲咒) นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรมชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ คือ “มหากรุณาหฤทัยธารณี” เนื้อหากล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่าพระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า “สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง”
    ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า “ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล” เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง
    จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ทำให้เกิดการสร้างรูปพระโพธิสัตว์พันหัสถ์พันเนตร อันแสดงถึงการทอดทัศนาเล็งเห็นทั่วโลกธาตุและพันหัสต์แสดงถึงอำนาจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ บทสวดในพระสูตรนี้เป็นภาษาสันสกฤตผสมภาษาท้องถิ่นโบราณในอินเดีย ที่หลงเหลือมาในปัจจุบันมีหลายฉบับที่ไม่ตรงกัน ทั้งในฉบับทิเบต ฉบับจีนซึ่งมีทั้งของพระภควธรรม พระอโมฆวัชระ ฯลฯ ต่อมาได้มีการค้นคว้าและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โดย Dr.Lokesh Chandra และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ. 1988 เป็นบทสวดสำคัญประจำองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานสวดกันอยู่โดยทั่วไป
    [แก้] อ้างอิง

    • คณาณัติจีนพรต (เย็นบุญ), หลวงจีน และ เลียง เสถียรสุต, มหากรุณาธารณี, กรุงเทพ ฯ : ไทยวรศิลป์การพิมพ์, ๒๕๔๗.
    • วิศวภัทร (เสี่ยเกี๊ยก), หลวงจีน, "พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ฝ่ายมหายาน",กรุงเทพฯ : หมื่นคุณธรรมสถาน,๒๕๕๐.
    • ชะเอม แก้วคล้าย, สัทธรรมปุณฑรีกสูตร, กรุงเทพ ฯ : คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๗.
    • Chandra,Lokesh, The thousand arms Avalokiteśvara, Delhi:Abhinav,1988.
    • Dayal, Har,The Bodhisattva Doctrine in Buddhist Sanskrit Literature,Delhi: Motilal Banarsidass, 1975.
    • McGovern,An Introduction to Mahayana Buddhism,Vanarasi : Sahityaratan Malakarijalaya,1967.
    • Nariman, G.K.,Literary History of Sanskrit Buddhism, Delhi : Motilal Banarsidass,1992
     
  3. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    เชิงอรรถ

    พระศรีอริยเมตไตรย

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodycontent --><TABLE style="WIDTH: 280px; MARGIN-BOTTOM: 1em; FLOAT: right; MARGIN-LEFT: 1em" class=toccolours><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TH style="BACKGROUND-COLOR: #ffff00" class="fn org" colSpan=2>พระศรีอริยเมตไตรย</TH></TR><TR><TD></TD></TR><TR style="TEXT-ALIGN: center"><TD colSpan=2>[​IMG]
    พระไมเตรยโพธิสัตว์ ศิลปะคันธารราษฏร์
    ราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 (คริสต์ศตวรรษที่ 2)
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD>สันสกฤต: </TD><TD>मैत्रेय (ไมเตฺรย)</TD></TR><TR vAlign=top><TD>บาลี</TD><TD>เมตฺเตยฺย</TD></TR><TR vAlign=top><TD>พม่า: </TD><TD>အရိမေတ္တေယျ (Arimeiteiya)</TD></TR><TR vAlign=top><TD>จีน: </TD><TD>彌勒菩薩 (Mílè Púsa)</TD></TR><TR vAlign=top><TD>ญี่ปุ่น: </TD><TD>弥勒菩薩 (Miroku Bosatsu)</TD></TR><TR vAlign=top><TD>เกาหลี: </TD><TD>미륵보살 (Mireuk Bosal)</TD></TR><TR vAlign=top><TD>มองโกล: </TD><TD>ᠮᠠᠶᠢᠳᠠᠷᠢ᠂ ᠠᠰᠠᠷᠠᠯᠲᠣ;
    <SMALL>Майдар, Асралт;
    Mayidari, Asaraltu
    </SMALL></TD></TR><TR vAlign=top><TD>ไทใหญ่: </TD><TD>ဢရီႉမိတ်ႈတေႇယႃႉ</TD></TR><TR vAlign=top><TD>ไทย: </TD><TD>พระศรีอริยเมตไตรย, พระศรีอาริย์</TD></TR><TR vAlign=top><TD>ทิเบต: </TD><TD>Byams Pa</TD></TR><TR vAlign=top><TD>เวียดนาม: </TD><TD>Di-lặc (Bồ Tát)</TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: center; BACKGROUND-COLOR: #ffff00" colSpan=2>ข้อมูลจำเพาะ</TH></TR><TR vAlign=top><TD>ได้รับการนับถือใน: </TD><TD>เถรวาท, มหายาน, วัชรยาน</TD></TR><TR vAlign=top><TD>คุณลักษณะ: </TD><TD>ผู้มีมหากรุณาแก่สรรพสัตว์</TD></TR><TR vAlign=top><TD></TD><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD>องค์ก่อนหน้า: </TD><TD>พระโคตมพุทธเจ้า</TD></TR><TR vAlign=top><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: center; BACKGROUND-COLOR: #ebebeb" colSpan=2>[​IMG] สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา
    </TH></TR></TBODY></TABLE>พระศรีอริยเมตไตรย <SUP id=cite_ref-0 class=reference>[1]</SUP> เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ หลังจากที่ศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันสิ้นสุดไปแล้ว ซึ่งก็คือ พ.ศ. 5000 เป็นต้นไป โดยจะมีพระนามว่า "พระศรีอริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า"
    <SUP id=cite_ref-1 class=reference>[2]</SUP>
    <TABLE id=toc class=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[แก้] พุทธพยากรณ์

    พุทธพยากรณ์เกี่ยวกับพระศรีอริยเมตไตรยพบในงานเขียนทางศาสนาของขุททกนิกายของศาสนาพุทธ ดังเช่น หลักฐานจากพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 3 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จักกวัตติสูตรซึ่งเป็นพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยถือกันว่ารักษาเนื้อหาได้สมบูรณ์ที่สุดในบรรดาทุกนิกาย ดังนี้<SUP id=cite_ref-2 class=reference>[3]</SUP>
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD>
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้เป็นอรหันต์ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น ฯ
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>[แก้] พระประวัติ

    [​IMG] [​IMG]
    พระเมตไตรยโพธิสัตว์และนางปรัชญาปารมิตา


    พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกในอนาคตที่จะมาประสูติเพื่อประกาศพระธรรม กล่าวกันว่าขณะนี้พระศรีอริยเมตไตรยได้บำเพ็ญพระโพธิญาณอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตาภูมิเพื่อรอการประสูติแล้วตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เมื่อย้อนไปในยุคของพระสิริมัตตะพุทธเจ้า พระศรีอริยเมตไตรยทรงเป็นกษัตริย์พระนามว่า
    "พระเจ้าสังข์จักรจอมจักพรรดิ์แห่งนครอินทปัตต์"
    วันหนึ่งทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาใกล้ๆเมืองอินทปัตต์ทรงดีพระทัยยิ่งจึงรีบเสด็จไปด้วยพระบาท
    เพียงหนึ่งวันพระบาททั้งสองก็แตกช้ำ วันที่สามพระชงฆ์ก็แตกยับพระโลหิตนอง วันที่สี่ไม่สามารถเสด็จต่อไปได้แต่ด้วยพระวิริยะและจิตมุ่งมั่นที่จะเข้าเฝ้าจึงกระเถิบไปด้วยพระอุระ พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยญาณทิพย์จึงแปลงเป็นมาณพหนุ่มขับเกวียนพาไปถึงที่พำนักของพระพุทธเจ้า พระอินทร์และมเหสีทั้งสี่ได้แปลงเป็นหญิงชาย นำห่อข้าวทิพย์และน้ำทิพย์มาให้เสวย
    เมื่อพระองค์หายบอบช้ำจึงเสด็จไปในพระวิหาร เพียงแรกพบพระพุทธเจ้าก็ทรงสลบลงด้วยความปลื้มปิติ เมื่อฟื้นพระวรกายจึงตรัสว่า
    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า"
    และมิได้ตรัสอะไรได้อีกด้วยความยินดีพระทัย พระองค์ขอสดับธรรมของพระพุทธเจ้าเพียงบทเดียวเพราะไม่มีสิ่งใดถวายบูชาพระธรรมเทศนา จึงทรงตัดพระเศียร (ศีรษะ) ด้วยพระนขา (เล็บ) ถวายเป็นพุทธบูชา และในยุคของพระโคตมพุทธเจ้า พระศรีอริยเมตไตรยทรงเป็นพระสงฆ์สาวกของพระโคตมพุทธเจ้า พระนามว่าพระอชิตเถระ ครั้งหนึ่งทรงได้รับพุทธยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
    [แก้] การตรัสรู้

    พระประวัติของพระศรีอริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีบันทึกในเอกสารต่างๆ เช่น อนาคตวงศ์ สรุปได้ว่า พระโพธิสัตว์จะจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตมาถือปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์ ในครรภ์ของนางเมตไตรยพรหมวดี ภรรยาของสุพรหมพราหมณ์ ปุโรหิตของพระเจ้าสังขจักรพรรดิ แห่งเกตุมดีนคร เมื่อทรงประสูติได้มีนิมิต ๓๒ ประการแล้ว ก็บังเกิดปราสาท ๓ หลังเพื่อเป็นที่ประทับ เมื่อพระชนมายุ ๘,๐๐๐ ปี ทอดพระเนตรเห็นนิมิตทั้ง ๔ จึงทรงพอพระทัยในการบวช เสด็จขึ้นไปสู่ปราสาท ปราสาทก็ลอยขึ้นสู่อากาศ มาลงที่ใกล้โพธิมณฑล ท้าวมหาพรหมอัญเชิญอัฏฐบริขารมาถวาย พระโพธิสัตว์ทรงเอาพระขรรค์แก้วตัดพระเมาลี ทรงรับเครื่องอัฏฐบริขารที่ท้าวมหาพรหมนำมาถวาย ผนวชแล้วบำเพ็ญเพียร มีคนบวชตามเป็นอันมาก พระโพธิสัตว์ประทับนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์ในปฐมยาม ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณในมัชฌิมยาม ทรงทำให้แจ้งทิพยจักษุญาณในปัจฉิมยาม ทรงพิจารณาปัจจยาการ ๑๒ ประการ ในเวลารุ่งอรุณ ทรงบรรลุซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใต้ต้นกากะทิง
    พระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ทรงมีพระฉัพพรรณรังสีจากพระวรกาย ทำให้สว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน คนทั้งหลายอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ บริโภคข้าวสาลีที่เกิดจากพระพุทธานุภาพ
    [แก้] ยุคพระศรีอาริย์

    [​IMG] [​IMG]
    หลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) วัดอินทรวิหาร


    พระศรีอริยเมตไตรยจะมาเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งมาในอนาคต โลกนี้จะมีความสงบสุข และพระศาสนาจะมีความรุ่งเรืองกว่า พระศาสนาของพระพุทธเจ้าในองค์ปัจจุบันนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าจะมีพระอริยบุคคลมากกว่า และประชาชนจะมีความสุขอย่างยิ่ง คือจะไม่มีเรื่องร้อนใจเลย ทุกคนพอใจในความเป็นอยู่ ไม่มีการเบียดเบียน ตอนนอนไม่ต้องปิดประตูก็ได้ บ้านเลยไม่ต้องทำประตูก็ได้ เรื่องคนร้าย หรือขโมยก็ไม่ต้องกลัว แล้วก็คนจะเป็นคนดีเหมือนกันหมด ไม่มีคนพาล จนกระทั่งลงจากบ้าน ก็ไม่มีใครจำได้ว่าใครเป็นใคร เพราะมันดีเหมือนกันหมด มันสุภาพเหมือนกันหมด มันสวยเหมือนกันหมด จนเมื่อกลับเข้าบ้าน จึงจะจำได้ว่า นี่คือภรรยาของเรา นี่คือสามีของเรา นี่คือลูกของเรา และต้องการอะไรก็ได้ มันมีต้นไม้พิเศษที่เรียกว่า ต้นกัลปพฤกษ์ อยู่ทุกทิศ อยากได้อะไรก็ไปขอที่ต้นไม้ จะสะดวกสบาย แม้แต่การคมนาคม การไปการมา จนว่าน้ำในแม่น้ำนั้น จะไหลลงข้างหนึ่ง จะไหลขึ้นข้างหนึ่ง เพื่อจะสะดวกต่อการใช้เรือ สรุปว่าไม่มีความทุกข์ อยู่กันเป็นผาสุก ไม่มีอันธพาล ทุกอย่างได้อย่างใจ
    [แก้] ความเชื่อ

    มนุษย์มีความเชื่อ ตามตำนานการได้เข้าไปในยุคของพระศรีอริยะเมตไตรโดยการบูชามหาชาติหรือดอกไม้หนึ่งพันดอกหรือฟังให้ครบทั้งพันภาษาหรือทั้งพันคาถา อย่างนี้เป็นต้น บุญบารมีทำได้หลายอย่าง หลักๆ คือ
    1. ทาน การให้ทานทุกชนิด
    2. ศีล การรักษาศีลให้บริสุทธิ์
    3. ภาวนา การไปปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ หรือภาวนาด้วยวิธีอื่นก็ได้
    [แก้] รายการอ้างอิง

    1. ^ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2552, หน้า 290
    2. ^ http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:VZ9hmauGGVoJ:www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/+%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th&source=www.google.co.th
    3. ^ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จักกวัตติสูตร ท่อน ๔๘ ย่อหน้า ๔
    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

    [​IMG]

    คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
    พระศรีอริยเมตไตรย
     
  4. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    เชิงอรรถ

    <!-- google_ad_section_start(name=default) -->อกุศลกรรมบถ 10 คืออะไร ประกอบด้วย
    1. ปาณาติบาต ทำให้สัตว์ให้ตกล่วง คือ ฆ่าสัตว์
    2. อทินนาทาน ถือ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย อาการแห่งขโมย
    3. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
    4. มุสาวาท พูดเท็จ
    5. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
    6. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
    7. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
    8. อภิชญา โลภอยากได้ของเขา
    9. พยาบาท ปองร้ายเขา
    10. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม



    ศีลแปด

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodycontent --><TABLE style="BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center; BORDER-LEFT: #060 1px solid; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; FLOAT: right; BORDER-TOP: #060 1px solid; BORDER-RIGHT: #060 1px solid" id=WSerie_Buddhism class=toccolours cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    ศาสนาพุทธ

    [​IMG] สถานีย่อย
    <HR>[​IMG]
    ประวัติศาสนาพุทธ
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>จุดมุ่งหมาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>นิพพาน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ไตรรัตน์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>หลักธรรมที่น่าสนใจ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>สังคมศาสนาพุทธ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>การจาริกแสวงบุญ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ</TD></TR></TBODY></TABLE>ศีลแปด หรือ อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ หมายถึง อุบาสกอุบาสิกาทั่วไป มิใช่สงฆ์ (ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว) โดยมักจะรับศีลแปดในวันพระ นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน จัดเป็นศีลขั้นตำของพระอนาคามี
    โดยปกติผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลตั้งแต่เช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า "ปกติอุโบสถ" และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า "ปฏิชาครอุโบสถ"
    [แก้] ศีลทั้งแปด

    1. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการฆ่าสัตว์
    2. อทินฺนา ทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการลักสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้
    3. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์(ผู้ชายกับผู้หญิงอยู่ใกล้กันไม่ได้ แต่ศีล ๕ อยู่ใกล้กันได้)
    4. มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
    5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    6. วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงวันใหม่)
    7. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม
    8. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี
    [แก้] ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีลกับศีล 8

    1. อุโบสถศีล กับ ศีล 8 มีข้อห้าม 8 ข้อเหมือนกัน
    2. คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน
    3. อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะ วันพระเท่านั้น ส่วนศีล 8 สมาทานรักษาได้ทุกวัน
    4. อุโบสถศีล มีอายุ 24 ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล 8 ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา
    5. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีล ของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี) ส่วนศีล 8 เป็นศีลสำหรับ ชาวบ้านผู้ไม่ครองเรือน เช่น แม่ชี <SUP id=cite_ref-0 class=reference>[1]</SUP>
    [แก้] อ้างอิง

    1. ^ html ประณีต ก้องสมุทร.ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ


     
  5. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    เชิงอรรถ

    ชั้นของสุขาวดี

    ดินแดนสุขาวดีหรือพุทธเกษตรของพระอมิตาภะตามที่กล่าวไว้ในอมิตายุรธยานสูตรมี 9 ชั้นคือ
    1. สำหรับผู้มีเมตตากรุณา มีศีลสมบูรณ์ มีจิตเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
    2. สำหรับผู้มีความรู้แตกฉานในธรรม เลื่อมใสนิกายมหายาน เชื่อในกฏแห่งกรรม เมื่อตายจะไปอยู่ในดอกบัวไม่ทันข้ามวัน ดอกบัวจะบาน ได้ฟังธรรมภายใน 7 วัน
    3. สำหรับผู้เชื่อมั่นในกฏแห่งกรรม เลื่อมใสนิกายมหายาน เมื่อตายจะไปอยู่ในดอกบัว 7 วันจึงจะบาน ได้ฟังธรรมภายใน 37 วัน
    4. สำหรับผู้รักษาศีลอุโบสถสมบูรณ์ ดอกบัวที่ผู้นั้นไปเกิดจะค่อยๆบาน เมื่อได้ฟังธรรมก็จะได้เป็นพระอรหันต์
    5. สำหรับผู้ถือศีลอุโบสถเพียงวันหนึ่ง คืนหนึ่ง หรือสมาทานศีลภิกษุหรือศีลสามเณรไม่บกพร่อง เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวอยู่ 7 วัน ดอกบัวจึงจะบาน เมื่อฟังธรรมจะได้เป็นพระโสดาบัน อีกครึ่งกัลป์จะได้เป็นพระอรหันต์
    6. สำหรับผู้เลี้ยงดูบิดามารดา มีมนุษยธรรม เมื่อใกล้ตายได้ฟังเรื่องของสุขาวดีและมีจิตเลื่อมใส เมื่อตายจะไปเกิดในสุขาวดี และฟังธรรมเรื่องไปหนึ่งกัลป์จึงจะได้เป็นพระอรหันต์
    7. สำหรับผู้ทำอกุศลกรรม แต่ได้ฟังเสียงสวดพระธรรม หรือมีผู้สอนให้ระลึกถึงพระอมิตาภะ เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวนาน 77 วัน จึงจะบาน หลังจากนั้นต้องฟังธรรมนานถึง 10 กัลป์ จึงจะได้เป็นพระอรหันต์
    8. สำหรับผู้ทุศีล มีทุคติเป็นที่หมาย แต่เมื่อใกล้ตายมีผู้สอนให้ระลึกถึงพระอมิตาภะ เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวนาน 6 กัลป์ จึงจะบาน เมื่อฟังธรรมจึงเริ่มตั้งจิตปรารถนาพุทธภูมิ
    9. สำหรับผู้ทำอกุศลกรรมไว้มาก มีอบายภูมิเป็นที่หมาย แต่มีผู้สอนให้ระลึกถึงพระอมิตาภะ แล้วทำตามอยู่ชั่ว 10 ขณะจิต เมื่อตายจะไปเกิดในดอกบัวนานถึง 12 กัลป์จึงจะบาน เมื่อได้ฟังธรรมจึงตั้งจิตถึงพุทธภูมิ

    สุญญตา

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodycontent -->[​IMG]
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center; BORDER-LEFT: #060 1px solid; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; FLOAT: right; BORDER-TOP: #060 1px solid; BORDER-RIGHT: #060 1px solid" id=WSerie_Buddhism class=toccolours cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    ศาสนาพุทธ

    [​IMG] สถานีย่อย
    <HR>[​IMG]
    ประวัติศาสนาพุทธ
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>จุดมุ่งหมาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>นิพพาน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ไตรรัตน์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>หลักธรรมที่น่าสนใจ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>สังคมศาสนาพุทธ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>การจาริกแสวงบุญ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ</TD></TR></TBODY></TABLE>สุญญตา เป็นคำศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ความว่างเปล่า, ความเป็นของสูญ คือความไม่มีสาระ ถือเอาเป็นสาระไม่ได้ เขียนว่า สุญตา ก็มี ภาษาสันสกฤตใช้ว่า "ศูนยตา"
    สุญญตาหมายถึงสภาวะที่ว่างจากความเป็นตัวตนหรืออัตตา ได้แก่เบญจขันธ์ ธาตุ อายตนะ ซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีสาระที่พึงยึดถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล, สภาวะที่ว่างหรือปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง คือราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ได้แก่พระนิพพาน, สภาวะที่ว่างเปล่าไม่มีอะไร (นัตถิกิญจิ) ที่จิตกำหนดหมายไว้ในใจ ในการเจริญอากิญจัญญายตนฌาน คือการทำใจให้ว่าง ไม่เกาะเกี่ยวอารมณ์อื่น เป็นการพักผ่อนที่สำคัญ
    สุญญตาส่วนใหญ่ใช้ประกอบคำที่เป็นคุณธรรมอันสำเร็จมาจากการพิจารณาสุญญตา เช่น สุญญตสมาธิ สุญญตสมาบัติ สุญญตวิโมกข์ สุญญตวิหาร
    เพราะมีอวิชชา ถ้านามพ้นนาม ก็สู่สภาวะนิพพาน จิตเมื่อมีวิปัสสนาญาณจะพ้นรูปย่อมเป็นอิสระจากรูป ย่อมรูปแจ้งในรูป ดุจคนมองโลกในที่สูง เมื่อจิตพ้นจิต ด้วยอาสวักขยญาณ ย่อมเป็นอิสระจากนาม ย่อมรู้แจ้งในนาม ดุจอยู่ในกระแสแต่ทวนกระแสพบความว่างแห่งกระแส
    [แก้] อ้างอิง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มกราคม 2012
  6. pandablahblah

    pandablahblah Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +71
    ขอกราบอนุโมทนาสาธุค่ะ อยากพบท่านสักครั้งจังเลยนะคะ ^^
     
  7. 678wish

    678wish เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +382
    อนุโมทนาค่ะ...ได้ดูเ่ช่นกัน
    แววตาท่านเปลี่ยนละ...อารมณ์เบิกบานมากขึ้นนะคะ
     
  8. j.chaisat

    j.chaisat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +842
    สาธุในความดีงาม และตั้งใจมั่นในพุทธศาสนาของหลวงพ่อพระโพธิสัตว์ปาเดนโดรเจ สาธุๆ ครับ
     
  9. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487

    คราวะศิษย์ พี่ เราเป็นศิษย์ อ. กรู(เกิล)เหมือนกันเลย
     
  10. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    ในบุญกุศลทุกอย่างด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  11. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    โมทนา สาธุ.........

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    ขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
     
  12. rwoot

    rwoot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    336
    ค่าพลัง:
    +191
    กราบอนุโมนาสาธุครับผม...ไวเหมือนกันนะครับ 6ปีของท่านลาบาดู
     
  13. weruwan

    weruwan เวฬุวัน ว.มุจลินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +537
    อนุโมทนาสาธุการยิ่งนัก


    เย จะ พุทธา อะตีตา จะ เย จะ พุทธา อะนาคะตา
    ปัจจุปปันนา จะ เย พุทธา อะหัง วันทามิ สัพพะทา
    พุทธานาหัสมิ ทาโสวะ พุทธา เม สามิกิสสะรา
    พุทธานัญ จะ สิเร ปาทา มัยหัง ติฎฐันตุ สัพพะทา

    ....

    เย จะ ธัมมา อะตีตาจะ เย จะ ธัมมา อะนาคะตา
    ปัจจุปปันนา จะ เย ธัมมา อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ
    ธัมมานาหัสสมิ ทาโสวะ ธัมมา เม สามิกิสสะรา
    สัพเพ ธัมมาปิ ติฏฐันตุ มะมัง สิเรวะ สัพพะทา
    .......

    เย จะ สังฆา อะตีตา จะ เย จะ สังฆา อะนาคะตา
    ปัจจุปปันนา จะ เย สังฆา อะหัง วันทามิ สัพพะทา
    สังฆานาหัสสะมิ ทาโสวะ สังฆา เม สามิกิสสะรา
    เตสัง คุณาปิ ติฏฐันตุ มะมัง สิเรวะ สัพพะทา
     
  14. อาหลี_99

    อาหลี_99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +2,992
    จะชนะผู้อื่นเพียงแค่ชนะความโลภ โกรธ หลง ในใจตน
    โมทนาความดีต่อพุทธภูมิ.....^^ สาธุ ๆ ๆ
     
  15. PITINATTH73

    PITINATTH73 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    2,991
    ค่าพลัง:
    +9,624
    ผมขออนุโมทนาสาธุ ในบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญมาทั้งหมดทั้งปวงด้วยครับ
     
  16. เอื้อมบุญ

    เอื้อมบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    385
    ค่าพลัง:
    +617
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ..
    อีกแสงสว่างแห่งธรรมที่บังเกิดขึ้น
    ขออนุโมทนาในดวงจิตทุกดวงที่ยึดมั่นความดี
    ....................
    เคยมีหนึ่งประโยคที่อยู่ในใจเสมอ
    "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมฯ.."
    และนี่คืออีกหนึ่งประโยคที่เราต้องจดจำ
    "ชีวิตของมนุษย์จะสำคัญเมื่อใช้ชีวิตโดยธรรม"
    ขออนุโมทนาในดวงจิตทุกดวงที่ยึดมั่นความดี..อีกครั้ง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2012
  17. Violent Daughter

    Violent Daughter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +305
    มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ
     
  18. ukitake

    ukitake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +140
    อนุโมทนา สาธุ กับท่าน
    พระโพธิสัตว์ปาเดนโดรเจรเจ ด้วยครับ:cool:
     
  19. amarpinky

    amarpinky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    423
    ค่าพลัง:
    +522
    nom namaskal anumothana sathu sathu sathu with lot of respected
    kha
     
  20. naron

    naron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2,515
    ค่าพลัง:
    +3,573
    อนุโมทนาสาธุบุญกับท่านพระโพธิสัตว์ทุกๆกองบุญและกับทุกๆท่านทุกๆกองบุญกองกุศลครับผม สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...