เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 26 ธันวาคม 2011.

  1. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    อนิจจสัญญาก็เหมือนกัน อนิจจสัญญาก็หมายถึงระรึกถึงอนิจจังที่จิตรู้แล้วจริงๆเหมือนกัน

    ถ้าเอาอนิจจังแบบตรึก นึกเอา คะเนเอา มาระรึกบ่อยๆ จะเอาอะไรมาระรึก ก็เหมือนคนไม่เคยเห็นช้างนึกถึงช้าง นึกทั้งชาติก็ไม่รู้จักช้างจริง
    อนัตตสัญญายิ่งหนักกว่านั้น

    แต่อนิจจังถึงจิตจริงๆก็มาจากการระรึกรู้อนิจจังในปัจจุบันขณะได้

    นานาทัศนะ ว่ากันไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2012
  2. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    อ้างอิง : เวบไซต์หลวงตามหาบัว
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ชัดเจนดีครับ damrong :cool:
     
  4. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    คำว่า ความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
    หมายถึงอะไร

    ก็หมายถึงว่า จิตตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ว่า
    ลาภสักการะและความสรรเสริญ
    เป็นของปฏิกูล

    ไม่ใช่อุเบกขาอยู่เป็นเรื่องแย่
    การที่อุเบกขาไม่ไปรับลาภสักการะและความสรรเสริญนี่
    เพราะจิตเห็นแล้วว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของปฏิกูล
    จิตจึงไม่ไปรับเอา

    แต่นี่กลับเพ้อเจ้อไปยกอะไร นิโรธ อะไร มาเกี่ยวข้อง
    ทั้งที่ในพระสูตรนี้ไม่ได้กล่าวถึง นิโรธ อะไรเลย

    นี่ล่ะสัทธรรมปฏิรูป บัญญัติอะไรต่าง ๆ ขึ้นมาภายหลัง
    ทั้งที่พระพุทธไม่ได้ทรงบัญญัติเอาไว้

    ศาสนาจะเสื่อมก็เสื่อมเพราะคนพวกนี้นี่แหละ
    ใครสอนนี่ วิธีการพวกนี้
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอออกความเห็นด้วยคนครับ
    คล้ายๆ เคยได้ยินมาว่า คำว่า งอ กลับ ถอย กลับ เหมือนหนึ่งว่า
    สิ่งใดเป็นอกุศลรู้ว่าเป็นอกุศลเป็นการ งอกลับ ถอยกลับของจิตที่รู้ได้โดยเป็นอัตตโนมัติ
    เหมือนหนึ่ง ขนนก หรือ ขนไก่ หรือ เส้นผม พอเข้าใกล้ไฟยังไม่ถึงไฟก็ย่อม งอกลับ โดยอัตโนมัติ
    รายละเอียดมากว่านี้อธิบายไม่ได้ครับ ช่วยกันขยายต่อก็แล้วกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 มกราคม 2012
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    55+ดีแล้วที่ยังฟังไม่รู้เรื่อง บางคนที่ตอบ ยังไม่รู้เลยว่าตอบอะไรไป

    ถ้าเร่มคิดว่าฟังรู้เรื่องเมื่อไหร่ ก็จะเหมือนที่ตอบอยู่ข้างล่างของตนเอง


    V

    ^
    ^
    ไม่รู้ก็ให้รู้ว่าไม่รู้ สงสัยก็ให้รู้ว่าสงสัย ค่อยๆศึกษาและลงมือปฏิบัติภาวนาไปด้วยก็ดี

    ที่เปรียบเทียบว่า ขนนก ขนไก่ เส้นผม ที่งอกลับอาการแบบที่่ว่า

    งอกลับเพราะรู้ไม่ทันตามความเป็นจริง โดยความร้อนเล่นงานจนหงิกงอกลับใช่หรือไม่?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  7. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80

    เจริญ เจริญ ในธรรมนะท่าน ^^
     
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เขาอาจตั้งเป้าหมายไว้อย่างนั้นก็ได้บางทีคนเราเวลาใช้ชีวิตก็หลงลืมลำดับขั้นตอนมองไปที่ผลอย่างเดียวโดยคาดว่าการกระทำสิ่งนั้นก็จะทำให้ได้ผลดังนั้นและในความเป็นจริงก็ยังมีอยู่เลยมีการถกเถียงกันเป็นระยะๆว่า ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งนั้นก็ได้เช่น ไม่ต้องมีการตั้งจิตให้เป็นสมาธิก็เห็นธรรมได้เป็นต้น อาจมองจากผลเลยไม่ได้มองเหตุ บางทีนะบางทีเขาอาจไม่ได้ละเลยเหตุนั้นเพียงแต่คาดไม่ถึงว่าเหตุการระลึกได้ในสิ่งต่างๆนั้นมันจากการเกิดสมาธิ แต่ก่อนจะเกิดสมาธิมันก็ควรต้องมีเหตุให้เป็นสมาธิ เช่น จิตเห็นว่าความทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งหลาย เกิดความเบื่อหน่าย และสู่ทางปัญญา ในระหว่างที่จิตเห็นทุกข์ขณะนั้นแหละจิตเป็นสมาธิ ส่วนผมเข้าใจว่านิโรธเป็นผลอันควรได้รับ แต่มันไม่ง่ายซะทีเดียวและก็ไม่ยากซะทีเดียว เขาอาจมองแบบนั้นก็ได้นะผมว่า มันอาจเกี่ยวกันอยู่แต่ไม่ใช่สาระเท่าไหร่มันเป็นเรื่องเหตุกับผลและในท่ามกลางเหตุและผลนั้น
    สาธุคั๊บ
     
  9. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ความเป็นจริงมันก็นิโรธดับสนิท
    ในขณะที่อุเบกขาปรากฎนั่นแหละ

    รายละเอียดมันมีภาคปฏิบัติ

    เออ ถ้าอธิบายอย่างนี้มันก็เข้ากันได้

    แต่นี่มาบอก มันมีอะไรที่ดีกว่าอุเบกขา
    ก็เลยอุปโลก นิโรธ ขึ้นมา
    ตามความคิดความเห็นตนทั้งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น

    อ่านดูก็รู้มันมั่ว
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    "อุเบกขา หรือ ความปฏิกูลตั้งอยู่ไชร้" สองคำนี้ เป็น พุทธวัจน ที่ตรัสเคียง
    กัน ให้ บุพบทคำว่า "หรือ" เชื่อม เพื่อสื่อสารว่า เป็น การขยายความของ
    คำซึ่งกันและกัน หากไม่ตกหลักวิชาภาษาไทย ก็จะรับรู้ สาร ที่พระพุทธองค์
    ต้องการสื่อ ไม่ยาก

    ทำไม อุเบกขาจึงเป็นการตั้งอยู่ของสิ่งปฏิกูล ก็มีอีกหลาย พุทธวัจนะ ที่กล่าว
    ไว้ เช่น "อวิชชาจะอาศัยตามนอนในอุเบกขา" เป็นต้น

    แล้ว แบบภาษาลูกทุ่งมีไหม ก็มี

    ก็คือ "ฐีติจิต จิตเดิมแท้ผ่องใส จิตเดิมแท้นั้นติดอวิชชา"
    หรือ "ว่างๆ ว่างๆ"

    * * * * *

    ตรงนี้ก็เลยไม่แปลก ที่ พวกมิจฉาทิฏฐิ และ ผู้สนับสนุน จะเห็นเรื่อง จิตงอกลับ
    เป็นเรื่องแปลก เรื่องที่ไม่รู้จัก ไม่เคยได้ยิน ทั้งๆที่ จิตงอกลับ นี้ ในพุทธวัจนะ
    ก็จะอุปมาอุปมัยเปรียบดั่ง "ขนนก" ที่งอตัวรวมตัวกันเป็นก้อนเข้ามาเมื่อ
    ถูกไฟเผาให้หมอดไหม้

    ทั้งนี้เพราะไม่เข้าใจ สภาพธรรมตามความเป็นจริง จึงไม่รู้ว่า ลาภสักการะ และ
    สรรเสริญ นั้น เลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครเลี่ยงได้ มันต้องห้อมล้อมทุกทิศทางเป็นแน่
    และไม่มีทางที่เดินทางไปไหน จะไม่เหยียบโดน

    การที่พระพุทธองค์ ใช้ สภาพของ ขนนก ที่ถูกเผา แล้ว ตัวขนนกนั้น มอดไหม้
    แต่ก็ รวมตัวเป็นก้อน ไม่มีการ คลี่ตัวออกรับ อันนี้ก็เป็นอุปมาอุปมัย ที่ให้ภาพ
    ชัดเจนดีอยู่แล้ว

    คือ หมอดไหม้แน่ๆ แต่ ด้วยตัวจิตนั้น ไม่ได้เปิดอ้าออกรับ

    ก็เหมือนกรณีหลวงตา ที่ทำผ้าป่าช่วยชาติ ลาภสักการระ สรรเสริญ ( คู่กับ นินทา)
    ก็ย่อมต้องเกิดขึ้นให้เห็น แต่หลวงตาอก็บอกชัดเจนว่า "ไม่เอา"

    หรือ ก็เหมือนกรณีที่ คุณธรรมภูติ และอาจรวมถึง ผู้สันสนุนความเจริญของคุณ
    ธรรมภูติ ที่ไปไล่ด่าพระ จับสึกพระ นั่นแหละ คือ ยังไงก็เกิดเพลิงไฟลุกไหม้ ไหม้
    ถึง มีปรกติไม่ห้ามพรรคพวกเรียกพระเป็นชื่อฆารวาสเฉยๆ กันไปเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2012
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    หลานรัก ช่วยทำลิ้งให้ลุงได้ยลเป็นขวัญตาในพระพุทธวจนะหน่อยสิ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต</CENTER><CENTER><CENTER>สัญญาสูตรที่ ๒
    </CENTER></CENTER>[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
    ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
    สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต-
    *สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ
    แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
    เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน
    อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
    การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ
    ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ
    เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว
    ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ
    เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่
    เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ
    เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก
    จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ
    ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ
    นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
    ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้
    ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน
    ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
    อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
    ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม
    แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
    การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
    เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก
    ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย
    มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
    ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
    และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น
    ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี
    ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ
    จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง
    อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
    เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
    ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
    มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ
    แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
    มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
    มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ
    ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ
    ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
    หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย
    อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น
    ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน
    เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง
    ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล-
    *สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล-
    *สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น
    ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
    ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
    และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ
    นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
    มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน
    ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
    อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน
    กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก
    อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา
    ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า
    เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม
    ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ
    พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ
    ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
    ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย
    มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ
    ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
    ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง
    ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
    ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว
    เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
    เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
    แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น
    ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล
    ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
    หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว
    ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ
    สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้
    ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี
    ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน
    อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา
    อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ
    และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
    ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง
    ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น
    ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
    อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
    อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ
    แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
    เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
    แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง
    กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน
    การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน
    ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก
    ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน
    ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ
    เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น
    ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ-
    *เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
    ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา
    อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ
    ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน
    ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้
    ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
    เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
    ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
    มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ
    แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
    มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
    มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา
    ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก
    เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ
    ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้
    และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง
    ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่
    เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา
    ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย
    มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย
    ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ
    ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา
    อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
    อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
    มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ

    ผมเห็นอันหนึ่งน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พิจารณากันเอาเองนะครับ
    สาธุคั๊บ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2012
  13. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ธรรมะของพระพุทธองค์นะ
    ไม่ใช่กฎหมาย หรือ รัฐธรรมนูญ
    จะเอาธรรมะมาตีความตามตัวหนังสืออย่างนี้ไม่ถูก
    ผิดตั้งแต่ตั้งเจตนา จนกระทั่งประพฤติปฏิบัติตนแบบนี้เรื่อยมา
    ก็จะผิดไปตลอด
    ทำอย่างนี้จะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการศึกษาธรรมไปจนตาย

    ธรรมะของพระพุทธองค์จะรู้เองเห็นเองได้ก็จากการปฏิบัิติเท่านั้น
    ไม่ใช่รู้ใช่เห็นจากการตีความตามตัวหนังสือ

    ถ้าคิดจะเรียนจะศึกษาธรรมะแบบนี้
    แบบต้องมาอ่านมาตีความตามตัวหนังสือ
    ก็ส่งธรรมะ ไปให้กฤษฎีกา หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความซะ
    แค่นี้ก็สิ้นเรื่อง ไม่ต้องมาตีความให้เหนื่อยเสียเวลาเฉย ๆ
     
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
    เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
    แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น
    ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล
    ย่อมตั้งอยู่
    เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
    หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว
    ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ
    สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้
    ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี
    ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่
    เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน
    อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา
    อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ
    และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
    ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง
    ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น
    ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
    อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
    อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ


    ..

    ..ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่

    ..ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะและความสรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มีผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่


    ลองทำความเข้าใจกับคำและความหมายของคำว่า
    ...จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
    ...จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะและความสรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้

    ความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ..คือเราไปเห็นมันเป็นของปฏิกูลได้จึงอุเบกขา
    ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ..คือเพราะเราไปเห็นว่ามันไม่ปฏิกูลจึงไหลไปกับมัน

    ขอขอบคุณ คุณนิวรณ์และหลายท่านที่ช่วยให้ร่วมกันศึกษาให้ลึกซึ้งขึ้น (หรือจะต้องลึกไปอีกก็ไม่รู้..)
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ส่วนเรื่องมณฑาทิพย์ กับมณฑาทอง
    บางท่านว่า คือดอกไม้ชนิดเดียวกัน
    แต่เลี้ยงให้ใหญ่เล็กไม่เท่ากันเอง (ข้าพเจ้าคงต้องสืบค้นต่อไป)
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อันนี้ต้อง สังเกตดีๆ ว่าประโยคนี้ พระพุทธองค์ต้องการตรัสเพื่อเตือนว่า ยังทำไม่พอ

    ถ้ายังทำไม่พอละก้อ เรื่องคุณธรรมเบื้องต้นหรือเบื้องปลาย ไม่ต้องพูดถึง ล้มเหลวหมด

    คราวนี้กลับมาดูประโยคที่ซับซ้อน


    ตรงนี้เป็นการกล่าวถึง การเพียรไม่พอ พอเพียรยังไม่พอ หรือไปเกยตื้น จิตย่อมไหลไป
    ในโลกธรรมอีก

    แต่ตรงนี้ ปุณฑ์ปู้น ชี้ให้สังเกตคำว่า หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้

    ผมก็จะถอดคำด้วยทิฏฐิอย่างนี้ว่า "ของไม่ปฏิกูล" ก็คือ "ความผ่องใส"

    เปลี่ยน วลีนั้นเสียใหม่ได้เป็น "หรือความผ่องใสย่อมตั้งอยู่ไซร้ " พูดง่ายๆ
    ไปเกยตื้น อุเบกขา เข้า ไปเกยตื้น ฐีติจิต จิตเดิมแท้ผ่องใส เข้า ถ้าเกยตื้น
    ฌาณจิตเป็นนิพพานเข้า ตรงนี้ก็ไม่ต้องพูดถึง คุณธรรมเบื้องต้นเบื้องปลาย
     
  17. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    ที่จริงจิตงอ กลับนี้ไม่ได้สงสัยเพราะเหมือนกับการพิจารณาธรรมที่เป็นคู่ปรับ เป็นปฏิปักกันย่อมให้ผลตรงข้ามกัน

    แต่สงสัียตรงนี้
    ..ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่

    ..ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะและความสรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มีผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่

    ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก
    ]ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก

    2ประโยคนี้ความหมายต่างกันหรือ ถึุงมีผลต่างกัน คือ อันหนึ่งไหลไป อันหนึ่งไม่ไหลไป
    แต่ก็ไม่ได้สนใจวิจัยนักหรอก คงไม่มีใครว่านะ
    แก้นิดนึง
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    จะว่าอุเบกขา ไม่ดีให้ได้ ว่างั้นเถอะ

    ที่จริงเรื่องนี้เคยจะถามอาแปะอยู่เหมือนกัน
    ว่าจิตที่เป็นเอกัคตา ซึ่งเอกัคตาเป็นเจตสิกสาธารณะ เมื่อประกอบด้วยฉันทะ
    แต่สัมปยุตต์กับอกุศลเจตสิก ขาดปัญญาเจตสิก เป็นมิจฉาสมาธิ จะมีอุเบกขาได้ไหม
    แต่หากสัมปยุตต์กับกุศลเจตสิกมีปัญญาเจตสิก เป็นสัมมาสมาธิ จะต้องมีอุเบกขาเข้าร่วมใช่ไหม
    สังเกตจาก พรหมวิหารสี่ สัมโภชฌงค์เจ็ด ญาณ16 ....ฯลฯ..

    ถ้าตรงนี้ชัดเจน เราจะเข้าใจได้ทันทีว่า อุเบกขาจิต เป็นปัญญาเท่านั้นหรือเปล่า
    ซึ่งจะทำให้ต่างกับเอกัคตาได้ในตรงนี้

    แต่เน็ตช้ามาก ไม่มีเวลาศึกษาด้วย อาแปะ..อาหลง..จิตใจเลิฟ..อาจช่วยได้
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันก็เหมือนประโยค

    ถ้าเธอออกเดินทางไปกรุงเทพแล้ว เธอย่อมถึงกรุงเทพ

    ตามด้วย

    ถ้าเธอออกเดินทางไปกรุงเพทแล้ว เธอกลับแวะกลางทาง ติดฝั่งซ้าย ไหลไปฝั่งขวา
    เกยตื้น เธอย่อมต้องรู้ว่า เธอยังไปไม่ถึงกรุงเทพแน่ๆ

    ตามด้วย ( ใน พุทธวัจนะ จะกล่าว 3 ครั้ง )

    ถ้าเธอยังใส่ใจด้วยดีในการออกเดินทางไปกรุงเทพ(ไม่ลืมกำหนดรู้) เธอย่อมถึงกรุงเทพแน่
    เธอย่อมรู้ได้ว่า เธอถึงแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2012
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าลืมจิ สังขารุเบกขาญาณ มันไปไม่ถึง !!

    ต้องกำหนดรู้

    ตรงนี้ก็ไปย้อนที่ พระสูตร เห็น อนิจจาทุกเขสัญญา นั่นแหละ
    ยกซะ อีกรอบ ยกอุเบกขาเป็นทุกขสัจจเสีย กำหนดรู้ทุกเขเสีย เดี๋ยวไปต่อ

    สมมติว่า เอ๊ะอะไร หมดคำศัพท์จะเรียกตรงนั้น ก็ลองหยิบคำว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    มารองรับก่อน ถ้าเห็นจิตตั้งมั่นอีกแบบ ก็ค่อยว่ากันต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...