เผยแนวคิดพระทำนา'เอาบุญ-มวลชน'

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 17 สิงหาคม 2011.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    เผยแนวคิดพระทำนา'เอาบุญ-มวลชน'

    พระทำนาเอาบุญ-เอามวลชน ในแนวความคิดของ..."พระปลัดปราโมช อธิปญฺโญ" โดย ไตรเทพ ไกรงู / ภาพ กุลพันธ์ ศิริพิมพ์อัมพร 0


    "หว่านเดือนแม่เกี่ยวเดือนพ่อ" เป็นโครงการที่พระปลัดปราโมช อธิปญฺโญ หรือพระอาจารย์ปราโมช เจ้าอาวาสวัดเชิงผา ต.กลางดง อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย นำพระเณรประมาณ ๕๐ รูป และชาวบ้านอีกกว่า ๒๐๐ คน ร่วมกันดำนาบนเนื้อที่ของวัดเกือบ ๑๐ ไร่ โดยได้เริ่มโครงการไปแล้วระหว่างวันที่ ๙-๑๒ สิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ มีกำหนดเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ หรือ "เดือนพ่อ"

    พระอาจารย์ปราโมช บอกว่า ในสายตาของคนไทยที่เคยสัมผัสหรือมีโอกาสใกล้ชิดพระสงฆ์รูปแบบของพระสงฆ์ที่เคยเห็นหรือคุ้นเคยคือเรื่องการบิณฑบาตทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น แสดงธรรม กวาดลานวัด แม้กระทั่งเป็นเจ้าพิธีพุทธาภิเษก บอกเลข ลงยันต์ และกระทำแก้เคราะห์สเดาะกรรม ส่วนบางรูปไม่ต้องการวุ่นวายกับสังคม ก็แบกกลดเข้าป่าเพื่อหาความสงบจากธรรมชาติ ให้โอกาสกับการพัฒนาจิตตนเองก็มีอยู่มิใช่น้อย
    ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม อยู่กับสังคมจะทิ้งสังคมเพื่อเอาตัวรอด โดยไม่หันมาดูสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เอาตัวรอดเห็นแก่ตัวมากขึ้น ใช้ชีวิตแบบเมินเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นเห็นจะเป็นไปไม่ได้ ปัจจุบัน-สังคมขาดความสามัคคี-ในความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน เริ่มขาดหายไป
    วิถีชีวิตชาวนาแบบดั้งเดิมขาดหายไป วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เคยพึ่งพาอาศัยกันนั้นเริ่มขาดหายไป ชาวนาหันมาใช้อำนาจเงินหรือทุนทางเกษตรด้านอื่นเป็นตัวกำหนดบทบาทของความเป็นชาวนา
    ปัจจุบันวิถีชีวิตชาวนาได้เปลี่ยนแปลงจากเดิม คือ จากทำนาไม่เคยใส่ปุ๋ยเคมี หันมาใช้เคมี และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จากดำนาปีละครั้งกลายเป็นปีละ ๓ ครั้งในพื้นที่เดิม โดยไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน และจากทำนาเพื่อกินเหลือแล้วขาย กลายเป็นการทำนาเพื่อขายแล้วใช้เงินชื้อข้าวกิน
    พร้อมกันนี้พระอาจารย์ปราโมช ยังบอกด้วยว่า ตามทฤษฎีของพระนั้น การทำงานก็คือการปฏิบัติธรรม ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง ทำงานให้สนุกเป็นสุขในขณะทำงาน ในแนวความคิดของพระเกี่ยวกับการทำนา คือทำนาเอาคน ผลกำไรเพื่อสาธารณะ ใช้กิจกรรมทำนาเป็นสื่อหรือเป็นกาวที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ให้ได้มีโอกาสร่วมมือกันในการทำกิจกรรม รวมพลังสามัคคี เพียงแค่การพาพระเณรและชาวบ้านทำนานั้นประโยชน์ที่ได้จากการทำนานั้นย่อมแตกต่างจากชาวนาทั่วไปคือ
    ๑.นำมาซึ่งความร่วมมือทั้ง ๓ ฝ่าย อันเป็นรากฐานของสังคมไทยที่เราเรียกว่า “บวร” คือ บ้าน วัด โรงเรียน
    ๒.นำมาซึ่งความเสียสละจากบุคคลหลายฝ่าย หลายแบบ อาทิ สละแรงงาน โดยไม่หวังค่าตอบแทน สละทุนทรัพย์ร่วมบริจาคปัจจัย มาเป็นอาหารการกิน นำขนม ผลหมากรากไม้ แม้กระทั่งคนที่มีเครื่องจักร รถไถ ต่างก็มาร่วมด้วย
    ๓.เป็นการทำงานแบบผ่อนคลายให้กับชีวิต โดยไม่ยึดติดกับผลกำไร เพราะทุกคนที่มาร่วม แม้กระทั่งสามเณรที่มีส่วนร่วม ต่างก็ถือว่ามาทำมาเพื่อให้แตกต่างจากทำนาของตนเองเพราะแต่ละคนจะวิตกกังวลเรื่องต้นทุน เรื่องผลได้ หรือเรื่องกำไรที่ติดตามมา
    ๔.การทำนาเพื่อเอาบุญ เพราะจะได้บุญจากการทำนา หรือทำบุญด้วยการร่วมดำนา บุญในพระพุทธศาสนามี ๑๐ อย่าง ซึ่งมีอยู่ข้อหนึ่ง คือ ไวยาวัจมัย คือบุญที่สำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจที่ชอบ ที่ดีงาม หรือการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
    และ ๕.การทำนาของพระหรือพระพาทำนี้เพื่อมุ่งสอนให้ชาวบ้านได้เห็นคุณค่าของแผ่นดิน ไม่ต้องการให้ที่ดินว่างเปล่าจากการสร้างสรรค์ประโยชน์-ไม่ทำนาแบบโลภ คือต้องการผลผลิตข้าวมากจนทำลายระบบด้านอื่นๆ ทำลายระบบนิเวศ ทำนาเชิงเดี่ยว ไม่เน้นปุ๋ยเคมี เน้นปุ๋ยธรรมชาติ ทำนาแบบมีเมตตาต่อดินต่อระบบเกี่ยวข้อง
    "การทำนาไม่เอาความโลภนำหน้าแต่จะมุ่งสร้างปัญญาต่อการกระทำแนวความคิดที่เป็นตัวกระตุ้นให้ลงมือทำ เจตนามุ่งทำเพื่อผู้อื่นให้ได้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของเรา เพราะผลผลิตที่ใด้จะเป็นทุนในการบริการสังคม เป็นทุนในการหุงต้มให้คนที่เข้ามาอบรมได้บริโภค ส่วนหนึ่งแจกเป็นอาหารกลางวันเด็กและเป็นทุนอาหารของพระภิกษุ-สามเณร โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา วัดเหมืองนาวิทยา ในโครงการกองทุนสร้างศาสนทายาท ด้วยนี้คือที่มาและประโยชน์ของพระเณรทำนาเอาบุญ ทำนาเป็นคุณ ทำนาด้วยทุนเมตตาธรรม" พระอาจารย์ปราโมชกล่าวทิ้งท้าย

    บวร...ในแบบพระอาจารย์ปราโมทย์
    นายนคร คงนวล นายอำเภอทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย บอกว่า ก่อนที่จะย้ายมาเป็นนายอำเภอทุ่งเสลี่ยมมีคำร่ำลือว่า พระเณร และชาวบ้านช่วยทำนาปลูกข้าว ซึ่งครั้งแรกเป็นโครงการเล็กๆ เป็นแปลงนาสาธิต แต่เมื่อเข้ามาร่วมจริงๆ พบว่าพระอาจารย์ปราโมทย์ทำนาแปลงใหญ่ เพื่อนำผลผลิตที่ได้ไปเลี้ยงคนปฏิบัติธรรม ขณะเดียวกัน เมื่อเห็นว่าท่านทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา ทำงานเพื่อประโยชน์ต่อสังคม จึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำถนน ต่อสายไฟ รวมทั้งสาธารณูปโภคต่างๆ เข้ามายังศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการที่ทำให้พระเณรออมาทำนานั้น ภาพหนึ่งอาจจะดูขัดกับสายตาญาติโยม แต่สิ่งที่ได้นั้นมีมากว่า ต่อไปในวันข้างหน้าถ้าบวชไม่สึกเป็นเจ้าอาวาส เป็นหลวงพ่อ หลวงตา รวมทั้งเป็นเจ้าคุณ จะได้เห็นคุณค่าของข้าวที่ญาติโยมใส่บาตรให้ฉันว่า กว่าจะได้ข้าวมาแต่ละเม็ดนั้นยากลำบาก และต้องรอระยะเวลายาวนานเพียงใด หากรูปใดสึกออกไปใช้ชีวิตทางโลกก็จะทำให้ไม่ลืมวิถีชีวิตดั่งเดิมของบรรพบุรุษไทย หรือสารถนำไปใช้ทำนาได้จริง

    "วัดในอำเภอทุ่งเสลี่ยมนั้นมีทั้งหมด ๔๔ วัด แต่ละวัดมีจุดเด่น และกิจกรรมต่อสังคมที่แตกต่างกัน อย่างกรณีของพระอาจารย์ปราโมทย์นั้น มีความโดดเด่นในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาเป็นแบบอย่างให้เป็นได้อย่างชัดเจน จับต้องได้ มีโครงการพัฒนาการเรียนรู้หลายโครงการแบบเต็มรูปแบบ อาทิ โครงการสร้างศาสนทายาท (บวชเรียนหนังสือ) โครงการมหาลัยชีวิต (บวชชี พราหมณ์) โครงการมวลชนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับดำนา โครงการเยาวชนคนต้นแบบ โครงการอบรมเข้าค่ายจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในอำเภอและนอกอำเภอ โครงการอบรมเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรภาครัฐ และทุกภาคส่วน” นายอำเภอทุ่งเสลี่ยมกล่าว

    �����ǤԴ��зӹ���Һح��Ū� ���Ѵ�֡ : ��������ͧ : ���Ƿ�����
     
  2. daeng007

    daeng007 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2009
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +84
    เอาจริงๆ นะครับ จะผิดศีลในปาณามั้ย
     
  3. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    น่าจะมีการนำพระวินัยมาอธิบายให้ฆราวาสเข้าใจเพิ่มขึ้น ว่าการทำนาเป็นกิจของสงฆ์หรือ?
     
  4. punpraya

    punpraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2006
    โพสต์:
    1,256
    ค่าพลัง:
    +2,228
    ไม่ผิดพระวินัยหรือครับ เอาแค่นี้แหละ เพราะถ้าเราอ้างว่าสิ่งที่ทำเป็นเรื่องดี ต่อไปก็คงมีพระท่านทำอาชีพอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโลกแตกแขนงไปเรื่อยๆ การกระทำนั้นดี แต่ผิดวินัยหรือเปล่า ทางมหาเถรฯ หรือผู้เกี่ยวข้อง ควรออกมาชี้แจงลงไปนะครับ ถ้าทำได้ก็ทำได้ ไม่ได้ก็ไม่ได้ จะได้หายสงสัยกันไป
     
  5. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,254
    น่าจะศึกษาพระไตรปิฏกบ้าง
    ดีทางโลก ไม่ใช่ ว่าจะดีทางธรรม เสมอไปนะครับ
    ดีทางโลก ไม่ดี ทางธรรม ก็มากนะครับ
     
  6. Pranikai

    Pranikai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +21
    สรุปแล้ว ผิดวินัยหรือเปล่า? สมควรทำต่อไปหรือเปล่า??
     

แชร์หน้านี้

Loading...