การนั่งสมาธิและการนอนสมาธิแตกต่างกันเช่นไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย mummamman, 19 สิงหาคม 2006.

  1. mummamman

    mummamman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,598
    ค่าพลัง:
    +2,116
    ในส่วนตัวของผมนั้นการนอนสมาธิจะทำได้ดีกว่าเพราะสบาย
    ต่อยากรู้ว่าการเข้าถึงญาณนั้นแตกต่างกันหรือไม่
    และเหตุอันใดคนจึงนิยมนั่งสมาธิ
     
  2. Kawee_win

    Kawee_win เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2006
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +420
    ผมก็อยากทราบเหมือนกันครับ

    ปกติผมจะนั่งสมาธิบนรถเมล์หรือที่เสียงดัง.....ภาวนาไปเรื่อยจนหายไป รู้สึกตัวอีกทีก็ หนึ่งชั่วโมงให้หลังไปแล้ว

    แต่พอกลับมาที่นั่งที่ห้อง เงียบ ก็ไม่สามารถเข้าถึงระดับนั้นได้

    จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า การเข้าและทรง ณาน 4 จิตจะมีความรู้สึกตัวอย่างไร หรือไม่มีความรู้สึกอะไร งงงง

    ผู้ทรงณาน 4 ได้แล้วช่วยบอกที
     
  3. angus

    angus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    545
    ค่าพลัง:
    +2,724
    จริงแล้วการทำสมาธิอ่ะ ทำได้ทุกกิริยา นั่ง นอน เดิน การเข้าณาณเหมือนกันหมด แล้วแต่ความชอบของคนนะ อย่างดิฉันเองไม่ถนัดนั่ง ชอบนอนสมาธิ กับทำในกิริยาอื่น ยกเว้นนั่ง ( กลัวคนจีนจะหาว่าบ้าเอา เพราะที่นี่นอกจากวัดจีนจะมีแม่ช่จีนเท่านั้นที่ทำ ) ......เลยเปลี่ยนมาทำกิริยาอื่นเอา นอน กับ ทำในท่าอื่นเอา เข้าณาณเหมือนกัน ....ของเราได้ณาณเท่าไรไม่เคยวัดระดับนะ เอาแบบสบายๆ ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ตัดคำภาวนาเอง แล้วเย็น ปิติทั่วร่างกาย จิตสงบนิ่ง บางครั้งรู้สึกอึดอัด ( ช่วงเปลี่ยนจากหยาบ ไปละเอียด อันนี้ทำเฉยไปเลยนะ รู้ ไว้อย่างเดียว แล้วจะผ่าน)
     
  4. ทางแห่งพุท

    ทางแห่งพุท สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมนอนสมาธิ ซักแป๊ปก็จะหลับไปเลยครับ
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708

    การเข้าถึงญาณไม่ต่างกันหรอกค่ะ แต่การนั่งสมาธิมันจะเห็นทุกขเวทนาเร็วกว่าการนอน จากการปวดเมื่อยของสังขาร เจริญวิปัสสนาต่อไปได้ แต่การนอนสมาธิมันสบายไม่เห็นทุกขเวทนา มีแต่สุขเวทนา แต่ก็มองไม่เห็นมัวแต่เพลินในสมาธิและฌาน แต่ก็สามารถก้าวหน้าในสมาธิได้ จนถึงขั้นวิปัสสนาเหมือนกัน อาจจะช้ากว่าเพราะมัวแต่ติดในฌาน กว่าจะแกะออกก็นาน

    การนอนสมาธิจะเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ข้อเข่าไม่ดี แล้วก็ผู้เริ่มทำสมาธิใหม่ๆ ที่สภาวะจิตอ่อนแอ ไม่หนักแน่นมั่นคง

    แต่ของตัวเองใช้วิธีเพ่งกสิณเปลวเทียนพร้อมบริกรรมพุทโธ พอจิตนิ่งก็นั่งสมาธิต่อ ประคองจิตให้อยู่ในสมาธิตลอดเวลา จนกระทั่งเข้านอน ก็นอนสมาธิต่อไปเลย เหมือนไม่ได้นอน แต่ตื่นขึ้นมาสดชื่นมีกำลัง สติปัญญาว่องไว ถ้าจะเจริญวิปัสสนา ก็น้อมเวทนาเข้ามาพิจารณา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ให้เห็นอยู่อย่างนั้น แล้วจึงน้อมเข้ามาสู่ไตรลักษณ์ คือ ทุกขเวทนา หรือสุขเวทนา ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาอยู่เนืองๆ จิตจะพัฒนาไปสู่ความละเอียด จนกระทั่งมองเห็นธรรมที่ละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป โดยไม่ต้องไปซักถามจากใคร

    เจริญในธรรมนะจ๊ะ
     
  6. inbhf123

    inbhf123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +35
    การทำสมาธิ เพื่อเป็นการฝึกสติ เพื่อผลในสัมปชัญญะ
    สมาธิ สามารถทำได้ ทุกอิริยาบท การนอนสมาธิ หากทรงอารมณ์ไว้ได้ ก็มีผลเหมือนกัน

    แต่หากทรงไว้ไม่ได้ อารมณ์จะถูกตัดหลับ จึงมีผลน้อย ความเข้มแข็งของจิตจะไม่เกิดหรือเกิดน้อย

    การนั่งสมาธิ มีผลดี คือเราต้องมีสติในการควบคุมร่างกาย ทำให้สติมีความเข้มแข็ง ได้ไวกว่า ... แต่ถ้าคิดจะทำสมาธิ โดยการนอน ตลอดเรื่อยไป อันนี้ขาดความเพียรครับ ไม่คุ้มกับการลงทุน ที่เป็นนักปฏิบัติ
     
  7. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    นี่ก็จะย่างเข้า ครบรอบปีที่หกแล้ว

    จขกท. พอจะพบคำตอบได้หรือยัง
     
  8. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    สาธุ ขออนุโมทนา...........................................................

    ขอเสริมอีกนิดเรื่อง ทุกขเวทนา ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใด ในระหว่างการกระทำความเพียร หากเราพิจารณาจนจิตเห็นทุกข์อย่างชัดเจนและผ่านความทรมานเจียนตายไปได้ ปัญญาแท้ๆย่อมเกิดขึ้น คือจิตยอมรับความจริงในเรื่อง อุปาทานขันธ์ว่าเป็นทุกข์ ไม่มีทุกข์ใดจะยิ่งใหญ่เสมอด้วยเบ็ญจขันธ์นี้อีกแล้ว...วิปลาสธรรมก็เป็นอันละได้จริง เพราะเชื่อแน่ว่าในโลกนี้ไม่มีแม้สักสิ่งเดียวที่เป็นของให้เรายึดถือได้เลย ถึงจะมีพรวิเศษขอให้อายุสังขารเรายืนยาวเป็นหมื่นๆปี จิตนี้จะไม่ปรารถนาเลยแม้แต่น้อย(เรียกว่าจิตลงสนิทแล้ว)...มีแต่จะปรารภความเพียรให้สูงยิ่งๆขึ้นไป ในทุกอิริยาบถ และจะเป็นผู้เปรี่ยมด้วยเมตตาปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสภาวธรรมแบบที่ตนได้รับอีกด้วย

    เมื่อถึงตรงจุดนี้ ความลังเลสงสัยในเรื่องอิริยาบถย่อมหมดไป มีแต่ความพิจารณาในส่วนตน ถึงความเหมาะสมในการบริหารอิรยาบถนั้นๆ และใช้ได้อย่างพอเหมาะกับธาตุขันธ์ของตน...คือไม่เป็นไปเพื่อ "อัตตะกิละมะถานุโยค"และ"กามะสุขัลลิกานุโยค"อีกต่อไป

    ดังนั้นการนอนสมาธิ กับการนั้งสมาธิ จึงเป็นความแตกต่างกันในเรื่องของรูปธรรม...แต่ส่วนของนามธรรมนั้น ความสำคัญอยู่ตรงที่ ปัญญาท่านเห็นแจ้งในอริยาบถใด อิริยาบถนั้นแหละ เป็นครูของท่าน !

    เจริญในรสธรรม
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เหมือนกันนั่นหละครับ...ผลแห่งการเข้าฌานก็ได้เหมือนกัน...ถ้าคนเขาทำได้จริง...จะต้องทำได้ไม่ว่าอริยาบทใดนะครับ....

    ถามผมว่าชอบแบบใหน ผมชอบทุกแบบครับ..แล้วแต่สะดวกในแต่ละเวลา....
     
  10. jamnanza

    jamnanza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +156
    อุชุงกายัง
    ความรู้อาจจะน้อย อยากทราบว่า มีวัด หรือสำนักใหน บ้างคะ ที่เวลาทำสมาธิ ท่านให้นอนทำ อยากจะไปทดสอบดู เพราะการนั่งรู้สึกจะปวดเมื่อย
    เพราะเคยได้ยินมาแต่ ทำนองว่า หากจะนอน ก็ให้กำหนดอานาปานสติไปด้วย แต่การปฏิบัติจริง โดยส่วนตัวยังไม่เคยเจอ วัดหรือสำนักใหน ค่ะ
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เปรียบอย่างคุณไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน อาจารย์สอนคุณในชั้นเรียน คุณจะนอนฟังอาจารย์มันก็ไม่สมควรนะครับ...อันนั้นคือเราไปเรียน เราต้องทำตามแบบฉบับที่ทุกคนในชั้นเรียนจะต้องทำ...การไปศึกษากรรมฐานในแต่ละสำนักเรียนก็เหมือนกันนั่นหละครับ....

    หลังจากเราเลิกเรียนแล้วก็เป็นเวลาที่เราจะต้องทบทวนบทเรียนที่เราเรียนไป... ถามว่าถ้าคุณจะนั่งเป็นระเบียบแบบแผนแบบในห้องเรียนใครเขาก็ไม่ว่าหลอกครับ...ใครจะนอนท่องจำบทเรียน หรือคุณจะเดิน คุณจะเข้าส้วม แปลงฟัน มันก็ไม่เป็นไรหลอกครับ...เพราะนั้นคือการที่เราทบทวน ตลอดจนถึงการนำความรู้ที่ได้ในห้องเรียนมาปฏิบัติจริงให้เกิดผล.....

    จงเข้าใจนะครับว่าความรู้ที่ได้ในห้องเรียนนั้น ครูบาอาจารย์เขาสอนศิษย์เพื่อให้ศิษย์นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดความปกติสุข เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อที่ศิษย์จะได้ช่วยตัวเองได้ในอนาคต ...

    อย่าติดในรูปแบบครับ..อย่าว่าแน่นอนภาวนาเลย...เกิดคุณตายตอนคุณนั่งอยู่บนโถส้วม คุณไม่ได้ภาวนาคุณก็ไปตามจิตนั้นหละครับ....

     
  12. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ท่านั่ง มันก็เห็น เวทนา ได้ดีกว่า ชัดกว่า จะโน้มเอามา วิปัสนาเลยก็ได้

    ท่านอน ก็ สบายดี เเต่ ปิติ มันอาจจะน้อยไปหน่อย สําหลับพวก ติดในปิติ หรือ ใช้ ปิติ เป็นตัวชูกําลัง เหมือน กระทิงเเดง
    เวทนา ก็ ไม่ค่อยจะเกิด เพราะ มันสบาย ยาวไปได้ โดยไม่ต้องกังวล

    สําคัญ อย่า หลับ เป็นพอ เพราะท่านอน เขา เน้นเรื่อง ง่วงหลับ เป็นสําคัญจ๊าาาาาาาา
     
  13. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    นั่งสมาธิ ลำบาก
    นอนสมาธิ สบาย

    ได้คำตอบแล้วล่ะจริงไหม ?

    "อยากรู้ว่าการเข้าถึงญาณนั้นแตกต่างกันหรือไม่"

    ก็หาคำตอบได้แล้วก็พิสูจน์เองนะครับ การเข้าญาณไม่ใช่ง่ายแต่ก็ไม่ยากสำหรับบางคน

    เข้าใจว่าผู้ถามยังไม่เข้าใจ "ณาน" และ "ญาณ" ควรอย่างยิ่งที่แยกแยะให้เป็นจากการศึกษาตำราเสียก่อน เพื่อความเข้าใจที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันนะครับ
     
  14. ปอกระจาย

    ปอกระจาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +60

    เห็นด้วย ครับ นักปฏิบัติหากเคยได้ยิน เรื่องส่วนสุด 2 อย่าง จะเข้าใจเอง เค้าเรียก กามมลุขลิกานุโยค นักปฏิบัติพึงเว้นเสีย
     
  15. inbhf123

    inbhf123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +35
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างอันนักบวชไม่พึงส้องเสพ ส่วนสุด ๒ อย่างนั้นคืออะไร คือการประกอบตนให้พัวพันอยู่ในความสุข คือเรื่องเห็นแก่ความสุข เรื่องเห็นแก่ปากแก่ท้อง เรื่องความเห็นแก่หลับแก่นอน เรื่องยินดีในอารมณ์เป็นที่น่าใคร่น่าชอบใจ ทำให้เกิดราคะตัณหา อันนี้เรียกว่าส่วนสุดอันหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายกามสุขัลลิกานุโยค"

    เพราะฉะนั้น ในเมื่อฟังธรรมก็ดี ปฏิบัติธรรมก็ดี ถ้าหากว่าทุกขเวทนามันเกิดขึ้นมา ถ้าเราจะเอาชนะมัน ให้บริกรรมภาวนาว่าอย่างนี้ “มึงบ่ตาย กูตาย มึงไม่ตาย กูตาย มึงไม่ตาย กูตาย” แล้วก็รวมลงที่คำว่า “ตายๆๆๆๆ…ตาย” คำเดียว เสร็จแล้วจิตจะสงบ กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ นี่ตอนนี้ผ่านพ้นความเห็นแก่สุขเล็กน้อยแล้วนะนี่

    พอกายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ ถ้าแถมเกิดมีปีติขึ้นมาเหมือนตัวจะลอยอยู่บนอากาศ นี่เป็นสุขใหญ่ เป็นสุขเกิดจากปีติ


    คัดลอกบางส่วน
    เพราะฉะนั้น กามสุขัลลิกานุโยค ประกอบตนให้ติดความสุขจนเกินประมาณซึ่งเรียกว่าไม่พอดี มันทำให้คนเราหย่อนสมรรถภาพ เกิดความอ่อนแอ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ให้ประกอบคือไม่ให้ประพฤตินั่นเอง

    อ้างอิง สายกลางของการปฏิบัติ
    แสดงธรรมโดย
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
     

แชร์หน้านี้

Loading...