** สรุปแก่นธรรมตามพุทธวัจน **

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ท่ามกลาง, 25 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    สรุปแก่นธรรมตามพุทธวัจน

    ถ้าได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง (พุทธวัจน) จะทราบว่าท่านได้อธิบายแนวทางพ้นทุกข์ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งในทุกพระสูตรมีความสอดรับเป็นแนวทางเดียวกันทั้งหมด ท่านได้ให้หลักมหาประเทศไว้เป็นหลักวินิจฉัยธรรมว่าธรรมและวินัยที่สืบต่อกันมาทรงจำมาถูกต้องหรือไม่ และใช้เพื่อป้องกันการตีความพระสูตรไปแบบผิดๆ

    พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้พระสัจธรรมว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง(อนิจจัง) ผู้มีปัญญาไม่ควรยึดติดกับสรรพสิ่งใดๆ เพราะเมื่อสิ่งเหล่านั้นมีอันต้องเปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้ดังอยาก(ตัณหา) ไม่ได้ดังยึด(อุปาทาน) ก็จะเป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น

    พระองค์ทรงแสดงในอริยสัจ๔ ว่า ขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทานหรือความยึดติดในกายและจิต(ว่าเป็นเรา เป็นของเรา) นั้นเป็นทุกข์ ส่วนเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย) คือ ความอยาก(ตัณหา) การจะดับทุกข์ ต้องดับที่เหตุ เมื่อเหตุลดผลก็ลด เมื่อเหตุดับ ผลก็ดับ(นิโรธ) ต้องกำจัดความเป็นตัวตน ทรงชี้ว่าความเพียรที่ถูกต้อง ก็คือ เพียรที่จะไม่เจริญตัณหา ไม่ทำตามความอยาก

    พระองค์ทรงสอนเรื่องกรรมและภพภูมิ ว่าการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาจัดว่าเป็นกรรม ซึ่งจะต้องมีผล(วิบาก)แห่งกรรมให้ต้องชดใช้ เรียกว่า กฎแห่งกรรม ทุกครั้งที่กระทำตามตัณหา ก็จะเกิดเป็นภพชาติภายใน(ตัวตนทางจิต) ซึ่งหากตายไปแล้วไปยึดจิตดังกล่าว หรือที่เรียกว่า จิตสุดท้าย ก็จะต้องไปเกิดใหม่ตามจิตนั้น เป็นภพชาติภายนอกทันที ท่านชี้ว่านิพพานไม่เนื่องด้วยความพยายาม เพราะถ้าพยายามก็แสดงว่าเป็นการกระทำตามความอยาก มีเจตนาจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ซึ่งก็เป็นกรรมไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกรรมไม่ใช่นิพพาน นิพพานไม่ใช่กรรม จะต้องลดการใช้ธาตุขันธ์ เพราะยิ่งใช้ยิ่งกรรม ยิ่งใช้ยิ่งยึดติดเพิ่ม

    พระองค์สอนเรื่องการปล่อยการวางความยึดมั่นถือมั่น ทรงชี้ว่าเมื่อประพฤติถูกทาง กิริยาไปนิพพาน เบาสบายเหมือนไม้ลอยตามน้ำ เพราะการปล่อยวางก็เพียงแค่ไม่ต้องไปยุ่งกับมัน ไม่ต้องมีตัวตนไปข้องเกี่ยว ท่านให้แนวทาง คือ อริยมรรค ซึ่งมรรคตัวที่สำคัญที่สุด คือ สัมมาทิฏฐิ ทรงชี้ว่าเมื่อมีสัมมาทิฏฐิแล้ว มรรคตัวอื่นย่อมมีเพียงพอตามมาเอง เรียกว่า มรรคสมังคี ซึ่งการมีสัมมาทิฏฐิ ก็คือ แจ้งว่าทุกสรรพสิ่งล้วยไม่เที่ยง ไม่ควรยึดติด(ว่าเป็นเรา เป็นของเรา) นั่นเอง

    สรุปจะเห็นได้ว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดเพราะมีตัวตนไปเวียนว่ายตายเกิด และสรรพสัตว์ต้องทุกข์ก็เพราะมีตัวตนไปทุกข์ ซึ่งความจริงตัวตนที่แท้จริงนั้นก็ไม่มีอยู่แล้ว หรือนิพพานอยู่แล้ว มีเพียงโมหะความหลงเข้าใจเอาเองว่ากายและจิตเป็นเรา เป็นของเรา

    ธรรมะขององค์พุทธะทั้งหมดจึงสรุปลงสู่ความไม่ยึดติด เป็นธรรมะกำจัดความเป็นตัวตน ท่านชี้ว่ากายและจิตไม่ใช่ของเรา ซึ่งสิ่งใดมิใช่ของเราก็ไม่ควรต้องอยากให้มันดีขึ้นหรือเลวลงแต่ประการใด และไม่ควรแม้แต่ไปคอยรู้ คอยสนใจมัน ให้เลิกฝึกวิชาเฝ้ายาม ไม่ต้องไปคอยสังเกต คอยพิจารณา ไปพอใจไม่พอใจไปคอยแบกขันธ์เสียก่อนแล้วค่อยวาง คอยเอาเราไปรู้มันวางมัน แล้วเหลือเราอยู่ทนโท่ ซึ่งการไม่เน้นรู้ ไม่เฝ้ารู้นั้นเป็นการลดตัวเข้าไปกระทบ ลดตัวรับรู้ผัสสะ ตัดวงจรปฏิจสมุปบาทที่ต้นขั้วอย่างแท้จริงเป็นการละอวิชชาโดยตรง ซึ่งกิเลสทั้งหลายจะค่อยๆ ถูกกำจัดไปจากหยาบสุดไปจนละเอียดสุดตามลำดับที่ได้อธิบายไว้ในสังโยชน์สิบ

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  2. Teethat

    Teethat สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +9
    นมัสการครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...