{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง

    พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม

    พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    กายวิภาคของพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม

    กายวิภาคของพระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม

    พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. อชิระวิชญ์

    อชิระวิชญ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    ช่วยดูบางขุนพรมหน่อยครับ

    มีญาติผู้ใหญ่ให้มาได้มาตอนจอมพลประภาสเปิดกรุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 13032012659.jpg
      13032012659.jpg
      ขนาดไฟล์:
      619.6 KB
      เปิดดู:
      257
    • 21032012684.jpg
      21032012684.jpg
      ขนาดไฟล์:
      645.7 KB
      เปิดดู:
      311
  6. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ผมชอบภาพกายวิภาคของพระผงสุพรรณของพี่ amuletism มากครับ
    ผมว่ามันดู basic เรียบง่าย แต่ช่วยได้มากในการอธิบายการแยกเยอะพิมพ์พระ
    และความแตกต่างปรากฏชัดเจนดีครับ:cool
    ::cool::cool:
     
  7. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    เนื่องจากภาพไม่ค่อยชัด หากตั้งข้อสังเกตุผิดพลาดจึงต้องขออภัยไว้ล่างหน้านะครับ
    พระองค์นี้มีจุดที่น่าสังเกตุ คือ หัวเข่าด้านซ้ายมือเรา(เข่าขวาองค์พระ) น่าจะอวบอิ่ม
    และเชิดงอนขึ้นมากกว่านี้ พระเกตุจะค่อนข้างยาวชลูด ไม่รู้เป็นเพราะมุมกล้องรึเปล่า
    ที่ทำให้เกตุของพระดูสั้นกว่าที่ควรจะเป็น และก็การหักศอกของวงแขน ยังไงลองพิจารณา
    เปรียบเทียบกับภาพพระพิมพ์นี้ องค์อื่นๆดูนะครับ
     
  8. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ธรรมชาติด้านหลังของหลังพระผงสุพรรณ

    ธรรมชาติด้านหลังของพระผงสุพรรณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่

    พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่

    [​IMG]
     
  10. dukepalung

    dukepalung สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +3
    ดูให้หน่อยครับ บางขุนพรหม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5126.JPG
      IMG_5126.JPG
      ขนาดไฟล์:
      244 KB
      เปิดดู:
      263
    • IMG_5128.JPG
      IMG_5128.JPG
      ขนาดไฟล์:
      201.3 KB
      เปิดดู:
      225
    • IMG_5129.JPG
      IMG_5129.JPG
      ขนาดไฟล์:
      265 KB
      เปิดดู:
      184
  11. Galangal

    Galangal Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +40
    รบกวนช่วยดูสมเด็จวัดเกศไชโยให้หน่อยคับใช่รุ่นสร้างเขื่อนรึปล่าว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. FReeBeSoN

    FReeBeSoN สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +5
    แท้ไหมครับองค์นี้ 0836278105
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      321.4 KB
      เปิดดู:
      263
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      327.9 KB
      เปิดดู:
      130
  13. FReeBeSoN

    FReeBeSoN สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +5
    องค์นี้แท้ไหมครับ 0836278105 พร้อมปล่อย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      321.4 KB
      เปิดดู:
      127
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      327.9 KB
      เปิดดู:
      121
  14. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    อยากให้พิจารณาจากรอยตัดด้านข้างขององค์พระ
    ซึ่งไม่ว่่าจะเป็นสมเด็จวัดระฆัง/บางขุนพรหม
    พระเก่าที่ได้อายุ ด้านข้างจะไม่ค่อนเรียบร้อย
    และปรากฏรอยยุบตัวของเนื้อพระ
    รอยตัดข้างองค์นี้เรียบร้อยเกินไปหน่อยครับ
     
  15. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระสมเด็จวัดระฆัง

    พระสมเด็จวัดระฆัง คือพระเครื่องรางรูปสมมติพระพุทธเจ้า สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 4 เซนติเมตร สีขาว ส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง ปูนเปลือกหอย ข้าวก้นบาตร ผงวิเศษ 5 ชนิดและน้ำมันตังอิ๊ว

    พุทธลักษณะพิมพ์ทรง
    พระสมเด็จวัดระฆัง มีหลายพิมพ์ด้วยกัน แต่ที่นิยมได้แก่ พิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์ปรกโพธิ์
    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธาน หรือ พิมพ์ใหญ่เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพิมพ์พระทั้ง 5 แม่พิมพ์ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน มีทั้งเนื้อละเอียด เนื้อหยาบ เนื้อแก่น้ำมันตังอิ๊ว หรือเนื้อสังขยา และเนื้อแก่ปูน ลักษณะ พิมพ์ทรง เป็นรูปสมมติของพระพุทธเจ้านั่งในระฆังคว่ำ องค์พระแลดูนั่งเอียงไปทางขวา ปลายพระเกศสะบัดเอียงไปทางซ้าย ในบางองค์อาจทะลุซุ้มด้านบน แลเห็นหูพระด้านซ้ายเป็นแนวจางๆยาวลงมา ไหล่ซ้ายดูยกสูงกว่าไหล่ขวา มองเห็นปลายพระบาท ยื่นเล็กน้อย ฐานขั้นล่างสุดเหมือนสี่เหลี่ยมคางหมู
    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม เป็นพระพิมพ์ของวัดระฆังที่พบจำนวนน้อยที่สุดในบรรดาพระพิมพ์ทั้งหมด ลักษณะพิมพ์ทรง เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ พระพักตร์กลมป้อม พระเกศเป็นมุ่นมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม (เป็นที่มาของชื่อพิมพ์) ต่างจากพิมพ์อื่น ตรงที่ปลายพระเกศไม่จรดเส้นซุ้ม องค์พระเป็นล่ำสัน มองเห็นเส้นสังคาฏิชัดเจน
    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์ ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ แลเห็นตั้งแต่พระเกศจรดฐานชั้นล่างสุดเรียงเสมอเป็น แนวรูปทรงเจดีย์ ลักษณะลำตัวพระแลดูหนากว่าทุกพิมพ์
    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ หูเป็นแบบบายศรี มีเส้นแซมระหว่างใต้องค์พระ กับ ฐานชั้นบนสุด และ ใต้ฐานชั้นบนสุด กับ ฐานชั้นกลาง
    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นพระนั่งในระฆังคว่ำคล้ายพิมพ์ฐานแซม เหนือพระเกศและหัวไหล่ปรกคลุมด้วยใบโพธิ์

    อ้างอิง วิกิพีเดีย
     
  16. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆษิตาราม

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=800><TBODY><TR><TD width=395>พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆษิตาราม


    </TD><TD width=10></TD><TD width=395></TD></TR><TR><TD colSpan=3>พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เป็นพระเครื่องที่มีผู้นิยมสูงสุดในประเทศไทย และนักนิยมสะสมพระเครื่องทั่วประเทศต่างยกย่องให้เป็นจักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง จึงทำให้นักนิยมพระเครื่องทั้งเก่าและใหม่ต่างอยากได้ พระสมเด็จวัดระฆังฯ มาไว้ครอบครองบูชากันทุกท่าน</TD></TR><TR><TD width=395></TD><TD width=10></TD><TD width=395></TD></TR><TR><TD width=395>ประวัติวัดระฆังโฆษิตารามโดยย่อ


    </TD><TD width=10></TD><TD width=395></TD></TR><TR><TD vAlign=top width=395>วัดระฆังโฆษิตารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครเป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ “วัดบางหว้าใหญ่” มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งมีพระราชวังไม่ไกลจากวัดบางหว้าใหญ่ ทรงปฏิสังขรณ์และยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง อีกทั้งได้อาราธนา พระอาจารย์ศรี ให้มาครองวัดนี้และทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) มาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเจ้านายในวังหลัง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) ก็ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่





    </TD><TD width=10>






    </TD><TD vAlign=top width=395>ได้มีการขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งมีเสียงดังไพเราะจึงได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆษิตาราม” ต่อมาถึงรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดราชกัณฑิยาราม” ซึ่งผู้คนไม่นิยมเรียก (คงจะเรียกยากและจำยาก) จึงยังคงเรียกกันว่า “วัดระฆังโฆษิตาราม” มาจนทุกวันนี้ วัดระฆังฯ มีพระราชาคณะที่สร้างพระเครื่องเป็นที่นิยมถึง 3 องค์ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) หรือ “สมเด็จปิลันทน์” และ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ในบทความนี้จะเสนอเรื่อง พระพิมพ์ พระสมเด็จฯ สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 ของวัดระฆังโฆษิตาราม อันเป็นพระเครื่องยอดนิยมอันดับ 1 ของประเทศไทย





    </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD width=395>ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี


    </TD><TD width=10></TD><TD width=395></TD></TR><TR><TD vAlign=top width=395>สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2331 เวลาย่ำรุ่ง ที่ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อเกศ บิดาไม่ปรากฎนาม ว่ากันว่ามารดาท่านเป็นชาวบ้านตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ บิดาท่านอาจจะเป็นชาวเมืองกำแพงเพชรก็ได้ เพราะมีบันทึกเขียนว่า “ปีระกา จุลศักราช 1211 (พ.ศ.2391) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง กรุงเทพฯ ขึ้นมา เยี่ยมญาติ ณ เมืองกำแพงเพชร” ซึ่งแสดงว่าท่านมีญาติเป็นชาวเมืองกำแพงเพชร สมเด็จฯ ท่านเกิดในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านมีอายุยืนยาวถึง 5 รัชกาล เมื่อครั้งมีการปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 (ปัจจุบันอยู่ที่ปราสาทพระเทพบิดร) ผู้ปั้นต้องอาศัยผู้ที่เกิดทันและเคยเห็นรัชกาลที่ 1 ซึ่งในขณะนั้นมีเหลือเพียงไม่กี่คน บอกพระลักษณะพระองค์ หนึ่งในนั้นก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ขอประมวลประวัติของท่านโดยย่อในที่นี้ ดังนี้

    - เกิด 17 เมษายน พ.ศ.2331
    - บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.2342 อายุ 12 ที่ วัดสังเวชวิศยาราม มี พระบวรวิริยเถร (อยู่) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชแล้วข้ามไปศึกษาในสำนัก พระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ โดย ท่านเจ้าคุณอรัญญิก วัดอินทรวิหาร เป็นผู้นำไปฝากตัว พ.ศ.2350 อุปสมบที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรัชกาลที่ 1 ทรงเป็นนาคหลวง สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์
    - พ.ศ.2395 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระธรรมกิติ”
    - พ.ศ.2397 โปรดฯ ให้เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “พระเทพกวี”





    </TD><TD width=10></TD><TD vAlign=top width=395>- พ.ศ.2407 โปรดสถาปนาเป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์”
    - วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 มรณภาพ ชนมายุ 85 ปี

    ผู้เรียบเรียงขอให้สังเกตบางประการ ซึ่งผู้คนอาจมองข้ามไปคือ

    1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ “พระธรรมกิติ” เป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2395 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในระหว่างรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 (หลังจากสมเด็จฯ บรรพชา พ.ศ.2350 - พ.ศ.2394) ซึ่งเป็นเวลายาวนานร่วม 44 ปี ท่านมิได้มีสมณศักดิ์ใดๆ คงเป็น “ขรัวโต” ซึ่งผู้คนในสมัยนั้นนิยมเรียกกัน ดังนั้นข้อที่ว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จฯ ท่านหลีกเลี่ยงที่จะได้รับสมณศักดิ์ โดยออกธุดงค์แทบทุกปี จึงเป็นเรื่องที่น่ารับฟัง ต่อเมื่อมาถึงรัชกาลที่ ท่านถึงยอมรับการแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ “พระธรรมกิติ” เป็นสมณศักดิ์แรก ต่อมาเป็น “พระเทพกวี” และ “สมเด็จพุฒาจารย์” ในที่สุด

    2. เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามองค์ก่อนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็คือ สมเด็จพระพน (ฤกษ์) ท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ของวัดระฆังฯ มาตั้งแต่ พ.ศ.2373 จนถึงมรณภาพในปลายรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2390 - พ.ศ.2393) จากนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ องค์ต่อมา ซึ่งคงจะอยู่ในช่วงรอยต่อรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4 ดังนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ องค์ที่เมื่อท่านอายุร่วม 65 ปี แล้ว และครองวัดระฆังฯ ได้ประมาณ 20 ปี จึงมรณภาพในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415





    </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD width=395>การสร้างพระสมเด็จฯ


    </TD><TD width=10></TD><TD width=395></TD></TR><TR><TD vAlign=top width=395>ตามประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในตอนก่อน จะเห็นได้ว่าท่านเป็นพระที่ไม่ยึดติดในยศศักดิ์และไม่มีภาระในการปกครองวัด ท่านจึงมีเวลาและมีอิสระในการออกธุดงค์เป็นเวลายาวนาน เป็นที่ยอมรับว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ เล่ากันว่าท่านเป็นศิษย์ของ ขรัวตาแสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงรับสั่งว่าเป็นผู้มีวิชา “เดินตั้งแต่เมืองลพบุรี ลงมาฉันเพลที่กรุงเทพฯ ได้” แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดในเรื่องนี้ส่วนสาเหตุของการสร้างพระสมเด็จฯ นั้นมี 2 กระแส คือ
    กระแสแรก ว่ามีพระภิกษุในเมืองเขมรที่มีความนับถือในตัวท่าน อาราธนาขอให้สร้างพระพิมพ์เพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อท่านกลับมาจึงสร้างพระสมเด็จฯ ตามที่ถูกร้องขอ ในเรื่องนี้น่าสงสัย คือ ในประเทศเขมรหรือกัมพูชานั้นไม่มีคติในการสร้างพระพิมพ์เลย เหตุใดพระภิกษุเขมรที่ว่าจึงมีแนวคิดขอให้ท่านสร้างพระเครื่องได้





    </TD><TD width=10>






    </TD><TD vAlign=top width=395>อีกกระแสหนึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ธุดงค์ไปจังหวัดกำแพงเพชร ในพ.ศ.2391 ได้พบแผ่นศิลาให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระพิมพ์ (พระซุ้มกอ พระเม็ดขนุน ฯลฯ) เมื่อกลับมากรุงเทพฯ (หลังจากนั้นได้กว่า 10 ปี ท่านจึงสร้างพระสมเด็จฯ ขึ้นมาแจกชาวบ้าน ในเรื่องนี้น่ารับฟังกว่าเพราะมีบันทึกหลักฐานดังที่ว่า อนึ่ง ตามคำบอกเล่าของ
    เจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) ลูกศิษย์ของสมเด็จฯ ทราบว่าท่านเริ่มพระพิมพ์ในราว พ.ศ.2409 เมื่อท่านมีอายุ 78 ปี สร้างอยู่ในราว 6 ปี จึงมรณภาพใน พ.ศ.2415





    </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD width=395>แม่พิมพ์พระสมเด็จฯ


    </TD><TD width=10></TD><TD width=395></TD></TR><TR><TD vAlign=top width=395>พิมพ์มาตรฐานที่วงการพระยอมรับมีอยู่เพียง 5 พิมพ์ คือ
    1. พิมพ์ใหญ่ สันนิษฐานว่านำรูปแบบมาจากพระประธานสมัยสุโขทัย
    2. พิมพ์เจดีย์ มีลักษณะพุทธศิลปสกุลช่างเชียงแสน
    3. พิมพ์เกศบัวตูม พุทธลักษณะคล้ายพระเชียงแสนสิงห์
    4. พิมพ์ฐานแซม มีพุทธศิลปแบบพระบูชาสมัยอู่ทอง
    5. พิมพ์ปรกโพธิ์ มีสองแบบ คือ แบบพิมพ์ฐานแซมกับพิมพ์เกศบัวตูม





    </TD><TD width=10>






    </TD><TD vAlign=top width=395>ทุกพิมพ์เป็นพิมพ์พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิ มีฐานสามชั้น ไม่ปรากฏรายละเอียด ของพระพักตร์ นับว่าเป็นศิลป์สมัยใหม่คือ เป็นเพียงลายเส้น พระพิมพ์ก่อนหน้านั้นจะให้รายละเอียดมีพระเนตร พระนาสิก ฯลฯ ถือได้ว่าพระพิมพ์สมเด็จฯ มีพุทธศิลปแบบสมัยใหม่ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อีกทั้งทำด้วยผงวิเศษซึ่งนับว่าเป็นของใหม่ (ก่อนหน้านั้นจะทำด้วยดินหรือชิน)





    </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD width=395>เนื้อพระ


    </TD><TD width=10></TD><TD width=395></TD></TR><TR><TD colSpan=3>มวลสารของพระสมเด็จฯ ส่วนใหญ่เป็นปูนขาว ผสมผงพระพุทธคุณ คือ ผงมหาราช อิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห ฯลฯ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ทำผงกรรมวิธีแบบโบราณ คือ เขียนบนกระดานชนวน เขียนแล้วลบ รวบรวมผงนำมาสร้างพระ นอกจากนี้ยังมีอิทธิวัตถุอื่น เช่น ใบลานเผา ว่าน อิฐหัก ดอกไม้บูชาพระ ฯลฯ ทั้งหมดนำมาโขลกผสมประสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว ทำให้เนื้อพระไม่เปราะหรือแตกหักง่าย</TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD width=395>จำนวนการสร้างและความนิยม


    </TD><TD width=10></TD><TD width=395></TD></TR><TR><TD vAlign=top width=395>คงจะเป็นการยากที่จะทราบจำนวนการสร้างของพระสมเด็จฯ เพราะท่านสร้างเป็นครั้งเป็นคราว ตามปริมาณวัสดุที่มี และไม่มีผู้นับจำนวนไว้ แต่ท่านสร้างเป็นเวลาราว 6 ปี คือ พ.ศ.2409 - พ.ศ.2415 เจ้าคุณทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ผู้เกิดทันเห็นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้บันทึกเรื่องพระสมเด็จฯ และความนิยมของผู้คนไว้เมื่อ พ.ศ.2473 ความว่า “วันเมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มาถึงวัดระฆังฯ (ท่านมรณภาพที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม) พระธรรมถาวร (ช่วง) พระราชาคณะที่มีอายุ 88 ปี มีตัวถึงวันเรียงประวัติเรื่องนี้ ได้ตักพระพิมพ์แจกชำร่วยแก่บรรดาผู้มาส่งศพ สักการะศพ เคารพศพนั้น





    </TD><TD width=10>






    </TD><TD vAlign=top width=395>แจกทั่วกันคนละองค์สององค์ ท่านประมาณราวสามหมื่นองค์ที่แจกไป และต่อๆ มาก็แจกเรื่อย เดี๋ยวนี้จะหาสักครึ่งองค์ก็ไม่มี มีแต่จำเพาะตนๆ” ความข้างต้นให้ข้อมูลว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีการสร้างจำนวนเป็นหมื่น ไม่ทราบว่าตัวเลขจะถูกต้องหรือไม่ แต่ก็ต้องเป็นจำนวนมากถึงกล่าวไว้เช่นนั้น และเมื่อมาถึง พ.ศ.2473 (วันบันทึกเรื่อง) พระสมเด็จฯ ก็หายากแล้ว “เดี๋ยวนี้จะหาสักครึ่งองค์ก็ไม่มี” แสดงว่าผู้คนนิยมและแสวงหากันมาก เมื่อมาถึงปัจจุบันแทบจะหาดูยังไม่ได้ พระที่สภาพสมบูรณ์มีราคาหลายล้านบาท ถือว่าเป็นพระเครื่องที่มีราคาสูงที่สุดของวงการ ท่านผู้มีฐานะดีระดับเศรษฐีเท่านั้นถึงจะมีไว้ครอบครองได้





    </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD colSpan=3>ข้อสังเกตและลักษณะในการศึกษาและเรียนรู้การดูพระสมเด็จเบื้องต้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=395>1. การสังเกตและจดจำ พิมพ์-ทรง-ความคม-ลึก ของพระสมเด็จในแต่ละพิมพ์ เช่น การจดจำพุทธลักษณะของพระเกศ พระพักตร์ การวางวงแขน การประทับนั่ง ซ้อนขา ฐานขององค์พระ เส้นซุ้มบนขอบกระจก เพราะพระในแต่ละพิมพ์จะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันไป ขนาดขององค์พระที่เป็นองค์จริง (พระแท้) ของพระในแต่ละพิมพ์ ซึ่งพระในพิมพ์เดียวกันมักมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเรื่องของความหนา-บางของพระ หรือความสูง-ความกว้างขององค์พระ คิดว่าคงเกิดจากการใช้เนื้อวัสดุในการสร้างพระ และการตัดขอบพระมากน้อยไม่เท่ากันทุกองค์
    2. การสังเกตและดูด้านหลังองค์พระ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆังในแต่ละพิมพ์ การดูลักษณะการทำงานด้านหลังขององค์พระ และพระใน แต่ละพิมพ์ก็จะมองเห็นการทำงานไว้หลายลักษณะ เข้าใจว่าเกิดจากการใช้วัตถุช่วยในการกดเนื้อพระลงบนพิมพ์พระ จึงทำให้เห็นลักษณะด้านหลังองค์พระเป็นเอกลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ต่างๆ





    </TD><TD width=10>






    </TD><TD vAlign=top width=395>3. การสังเกตดูรอยการตัดขอบ ขององค์พระทั้ง 4 ด้านของพระในแต่ละพิมพ์ (สังเกตจากภาพ)
    4. สังเกตดูลักษณะพื้นผิวขขององค์พระ เช่นการส่องดูลักษณะความแห้งแล้งของพื้นผิวพระและเนื้อพระ รอยปิ รอยแยกบนพื้นผิวขององค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การยุบและการหดตัวขององค์พระ ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งของเนื้อพระ ที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีโดยเป็นธรรมชาติ
    5. สังเกตดูเนื้อหามวลสาร ที่เป็นส่วนผสมขององค์พระ อาจจะสังเกตได้จาก พื้นผิวด้านหน้า-ด้านหลัง-ขอบข้างขององค์พระ (ในองค์พระที่ผ่านการใช้มามากและเสียผิวก็จะสามารถมองเห็นมวลสารได้มากกว่าองค์พระที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่ผ่านการใช้)สิ่งที่กล่าวถึงมานี้คงต้องใช้ประสบการณ์ในการศึกษาและการเรียนรู้จากการได้ดูองค์พระจริงๆ (พระแท้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของวงการพระ) เป็นเวลานานพอสมควรจึงจะค่อยๆ พัฒนาให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น หลักการที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางในการศึกษาและเรียนรู้เบื้องต้นเท่านั้น






    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง นิตยสารท่าพระจันทร์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • aa01.jpg
      aa01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.9 KB
      เปิดดู:
      107
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  17. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ อกใหญ่

    ผมเปิดให้ก่อนนะครับ องค์จริงไม่มีวาสนาครอบครองครับ
    ภาพจากหนังสือรุ่นใหม่ ที่พยายามแยกพิมพ์ต่างๆ เป็นพิมพ์ย่อยลงไปอีก
    แต่ก็มีทัศนะของเซียนใหญ่หลายท่านที่บอกว่ามีแม่พิมพ์ตัวเดียวนะครับ
    ลองทัศนาและพิจารณาดูนะครับ


    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่
    อกใหญ่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มีนาคม 2012
  18. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

    [​IMG]
     
  19. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ อกวี

    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ อกวี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    บทความสมเด็จวัดระฆังปลอม

    สมเด็จวัดระฆังปลอม

    ก่อนจะพูดถึง “พระสมเด็จวัดระฆังปลอม” ที่ยังมีข้อมูลอีกเยอะวันนี้กระผม “นายรู้ลึก แสนรู้ชัด” ผู้นำเสนอต้องขอ “ขอบคุณและขอบคุณ” แฟน ๆ ผู้อ่านที่ให้ “ความสนใจ” ด้วยการจดหมายที่มีทั้ง “ชื่นชม” และ “ประชดประชัน” การนำเสนอ “หลายสิบฉบับ” ด้วยกันกระผมจึงขอผ่านการ “ชื่นชม” โดยขอนำเรื่องการ “ประชดประชัน” ที่ท่านผู้อ่านร่อนจดหมายมาชี้แจงเพื่อจะได้ “เข้าใจกัน” ต่อการนำเรื่อง “พระสมเด็จวัดระฆังปลอม”

    แน่นอนครับ “ผู้เขียน” เกิดไม่ทันงานสร้าง “
    พระสมเด็จวัดระฆัง” ของ “สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี” เพราะท่านสร้างไว้ “ร้อยกว่าปีแล้ว” แต่ที่นำมาเสนอก็เพื่อให้ “นักสะสม” ทั่วไปที่ปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น ๆ ได้ทราบชัด ๆ “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่ถูกยกย่องให้เป็น “จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง” นั้นนอกจากสร้างด้วย “มวลสาร” ที่คนยุคเก่าเขาเล่าว่า “สุดวิเศษ” แล้วยังเป็นยอดพระที่ “ราคาแสนแพง” ชนิดซื้อ “บ้านหรู ๆ” ได้สบาย ๆ มี “ของปลอม” ระบาดทั่วไปจึงไม่อยากให้ “นักสะสมหน้าใหม่” หลวมตัวไปเชื่อบรรดา “นักปลอมพระ” และ “นักขายพระปลอม” เจตนามีแค่นี้จริง ๆ

    และเหตุใด “ผู้เขียน” จึงอวดตัวเป็น “ผู้รู้” ก็อยากเรียนว่าเพราะปัจจุบัน “ผู้เขียน” มีครูบาอาจารย์ที่เป็น “นักสะสมพระสมเด็จวัดระฆังตัวจริง” หลายท่านจึงทำการ “ศึกษา” พร้อมเรียนถามถึง “ความเป็นมา” ของ “พระสมเด็จวัดระฆังแท้” และ “พระสมเด็จวัดระฆังปลอม” มีที่มาและที่ไปเช่นไรบ้างเพื่อนำมา “เปิดเผย” เป็นความรู้เฉพาะ “ผู้สนใจ” เนื่องจาก “มาตรฐาน” การสะสม “พระสมเด็จวัดระฆังแท้” นั้นก็มีการกำหนด “กฎและกติกา” ที่เป็นสากลไว้แล้วใน “สมาคมผู้นิยมพระฯ” และใน “ชมรมพระเครื่องฯ” ตลอดทั้งใน “สังคมนักสะสมส่วนใหญ่” ซึ่งเป็น “บรรทัดฐาน” ของการนำเสนอบนเนื้อที่ตรงนี้เพื่อ “ชี้แนะ” นักสะสมหน้าใหม่ได้รู้ “การ สะสมพระเครื่อง” ที่ถูกต้องนั้นต้องใช้กฎกติกาของ “สังคมนักสะสมส่วนใหญ่” หากทำการสะสม “นอก กติกา” ดังว่าแล้วถือเป็นการสะสมที่ “ไร้มาตรฐาน” จึงต้อง “สะสมเองคนเดียว” เวลาขัดสนจะนำไปขอ “เปลี่ยนเป็นเงิน” ก็ไม่มีใครเล่นด้วยหรือหากนำไปประกวดก็มีสิทธิ์ “ถูกคัดออก” เพราะสังคมนักสะสม “ส่วนใหญ่” จะยึดถือ “หลักสากล” ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ “เซียนรุ่นปู่ของคุณปู่” จึงขอแจงท่านที่ประชดประชันพร้อมถามว่า “เกิดทันหรือ” ให้เข้าใจจะได้ไม่ขุ่นใจกันเพราะที่นี่นำเสนอเรื่องราวพระเครื่องบนบรรทัดฐานที่เป็น “มาตรฐานสากล” ประเภทนำเสนอ เพื่อ “เอาใจ” ผู้มี “พระสมเด็จวัดระฆังปลอม” พร้อม “พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์แปลก ๆ” ที่ขาด “มาตรฐานสากล” แล้ว “ที่นี่ไม่มีเล่นด้วยครับ”

    ชี้แจงกันแล้วขอหันมาคุยเรื่อง “พระสมเด็จวัดระฆังปลอม” กันเลยเพราะการสร้าง “พระสมเด็จวัดระฆังปลอม” แล้วนำไปยัดกรุไว้จากนั้นก็ออกข่าว ว่าหลัง “สมเด็จพระพุฒาจารย์โต” สร้างเสร็จแล้วได้นำไปฝากกรุนั้นกรุนี้อย่างกรณี “พระสมเด็จกรุถ้ำสิงโตทอง” ที่หลังจากมีการพิสูจน์ว่าเป็น “พระยัดกรุ” ความนิยมก็ตกไปแต่กระนั้นก็ยังมีอีกหลาย ๆ วัดที่ “เห็นแก่ได้” จนลืมนึกถึงเรื่อง “บาปบุญคุณโทษ” ทำการนำ “พระผียัดกรุ” มาหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่ออยู่เนือง ๆ อย่างเช่น “วัดในฝั่งพระนคร” ย่านสะพานกรุงเทพเดิมก็สร้างเรื่องว่ามี “พระสมเด็จ” ที่สร้างโดย “สมเด็จพระพุฒาจารย์โต” แตกกรุพร้อมนำขายองค์ละหลาย ๆ พันบาทแต่พอ “เซียนใหญ่” เปิดเผยว่าเป็น “พระปลอม” ที่มีการศัลยกรรมให้ดูเป็น “พระเก่า” ด้วยสารเคมีแต่ก็ไม่มีใครโวยวายเพราะคิดว่าเป็นการร่วม “ทำบุญทำกุศล” สบายใจดี เรื่องราวจึงไม่ลุกลามใหญ่โตประกอบกับช่วงขณะนั้น (พ.ศ. ๒๕๒๙) สังคมวงการพระเครื่องยังไม่เปิดกว้างเหมือนปัจจุบันเรื่องจึงเงียบไป

    จากที่บอกเล่ามาผลการสร้าง “พระปลอม” แล้วยัดกรุของทั้ง “๓ รุ่น” ดังกล่าวเมื่อ “สังคมพระเครื่อง” ไม่ยอมรับโดยเฉพาะ “ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทย” ที่ช่วงนั้นมี “อาจารย์ช่าง สะพานพุทธ” เป็นประธานชมรมได้ปฏิเสธการสะสมโดยสิ้นเชิง จึงทำให้พระยัดกรุทั้งสามรุ่นนี้ค่อย ๆ เลือนหายไปจากวงการ ซึ่งเรื่องราวที่นำมาขานไขให้รู้กันนี้ล้วนเป็น “เรื่องจริง” ที่เกิดขึ้นมาแล้วจึงถือเป็น “ตำนาน” การปลอม “พระสมเด็จวัดระฆัง” ได้เป็นอย่างดี

    ถึงกระนั้นบรรดานักสร้าง “พระปลอม” ก็ยังคงมีการสร้างพระปลอมแล้วนำไป “ยัดกรุ” ก็ยังคงมีเป็นระลอกเพียงแต่ในระยะหลัง ๆ หลาย ๆ รุ่น “ฉลาดขึ้น” คือไม่กล้าที่จะสร้างข่าวว่ามี “พระแตกกรุ” ให้ใหญ่โตเหมือนที่ผ่าน ๆ มาเพราะหากเป็นข่าว “ใหญ่โต” แล้วโอกาสจะถูกนำมา “เปิดโปง” ก็ย่อมมีมากจึงใช้วิธี “กระซิบ” เฉพาะนักสะสมที่มีความรู้ระดับ “ครึ่ง ๆ กลาง ๆ” หรือแบบ “งู ๆ ปลา ๆ” เพราะหลอกได้ง่ายก็ย่อมมีสิทธิ “ขายคล่อง” และหลังจากขายให้เหยื่อได้แล้วก็ทำการกำชับอีกว่า “อย่าไปบอกใคร” เดี๋ยวจะกลายเป็นข่าวฉาวโฉ่ไปโน่นเลยนอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนอีกกลุ่ม ที่ชีวิตไม่ได้ยากจนข้นแค้นประการใดแต่กลับนิยมส่งเสริมนำ “พระสมเด็จวัดระฆังปลอม” มาซื้อขายกันพร้อมทำการพิมพ์ตำรา “ชี้ตำหนิ” พระสมเด็จวัดระฆังปลอมเหล่านั้น “ประการสำคัญ” ยังประกาศ “รับซื้อ” แถมให้ราคาดีอีกด้วยส่วนเรื่องราวจะเป็น “ประการใด” ติดตามอ่านได้ในฉบับ “วันเสาร์หน้า” แล้วท่านจะ “ทึ่งและอึ้ง” กับวิธีการ “หลอกขาย” ที่คาดไม่ถึงทีเดียว.

    อ้างอิง นายรู้สึก แสนรู้ชัด
     

แชร์หน้านี้

Loading...