พระอรหันต์...ทุกประเภทบรรลุ "ทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย k_pe, 30 มีนาคม 2012.

  1. k_pe

    k_pe สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +18
    แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

    [​IMG]

    พระอรหันต์ทุกประเภทบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ

    อนาสวํ เจโตวิมุตฺตึ ปญฺญาวิมุตฺตึ ทิฏเฐว ธมฺเม สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตวา อุปฺปสมฺปชฺช วิหรติ พระบาลีนี้แสดงว่าพระอรหันต์ทั้งหลายไม่ว่าประเภทใดย่อมบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้ง
    ปัญญาวิมุตติ...ที่ปราศจากอาสวะในปัจจุบัน หาได้แบ่งแยกไว้ว่า ประเภทนั้นบรรลุแต่เจโตวิมุตติ หรือปัญญาวิมุติไม่ ที่เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่า เจโตวิมุตติเป็นของพระ
    อรหันต์ผู้ได้สมาธิก่อน ส่วนปัญญาวิมุตติเป็นของพระอรหันต์สุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ นั้นย่อมขัดแย้งต่อมรรค มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีทั้งสัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ
    ผู้จะบรรลุวิมุตติธรรมจำต้องบำเพ็ญมรรค ๘ บริบูรณ์ มิฉะนั้นก็บรรลุวิมุตติธรรมไม่ได้ ไตรสิกขาก็มีทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา อันผู้จะได้อาสวักขยญาณจำต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้
    บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน ฉะนั้นจึงว่า พระอรหันต์ทุกประเภทต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติด้วยประการฉะนี้แลฯ

    คัดลอกบางส่วนจาก
    หนังสือ “มุตโตทัย”( หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1226.jpg
      IMG_1226.jpg
      ขนาดไฟล์:
      167.9 KB
      เปิดดู:
      1,760
  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาค
    ทรงแสดงธรรมในฝ่ายบุคคลบัญญัติ บุคคล ๗ พวกเหล่านี้ คือ อุภโตภาควิมุตติ ๑ ปัญญา
    วิมุตติ ๑ กายสักขิ ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ สัทธาวิมุตติ ๑ธรรมานุสารี ๑ สัทธานุสารี ๑ ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่าย บุคคลบัญญัติ ฯ
    (คัดลอกมาเพื่อ ขอความรู้เพิ่มครับ):mad::cool:
    ในความเข้าของผมว่าพระพุทธเจ้าแยกไว้ให้เห็นว่าแต่ละคนใช้มรรควิธีไม่เหมือนกันแล้วแต่ใครจะหนักไปทางไหนเช่นคนนี้สัทธามาก สัทธาก็เด่นกว่าอย่างอื่น
    ในขณะเดี่ยวกันตัวอื่นๆก็มีครบหมด นี้คือทางเดินกำลังเดินอยู่ ยังไม่จบกิจ แต่ตอนจบกิจ เป็นพระอรหันต์ต้องจบด้วย ทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ
    (ผมอ่านที่ผมคัดลอกมาก็ไม่เข้าใจความหมายสักเท่าไหร่ ผมเข้าใจแบบนี้ถูกไหมครับ)(tm-love)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2012
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ และอุบาย
    เป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็น จริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น
    ได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ ฯ
    [๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ
    ๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑
    ๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็น วิโมกข์ข้อที่ ๒
    ๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓
    ๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูป
    สัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดย ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์
    ข้อที่ ๔
    ๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้น
    อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕
    ๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วง วิญญาณัญ
    จายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖
    ๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการ
    ทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗
    ๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการ
    ทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘

    ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการ เหล่านี้ เป็น
    อนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง ตามคราวที่
    ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์ จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
    อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน
    อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่ง
    หรือประณีตไป กว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ"............ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ทั้งหลาย ห้าประการเหล่านี้มีอยู่ ห้าประการอย่างไรเล่า ห้าประการคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ห้าประการ................ภิกษุทั้งหลาย เพราะความเพียบพร้อมบริบูรณ์แห่งอินทรีย์ ห้าประการเหล่านี้แล ผู้ปฎิบัติย่อมเป็นพระ อรหันต์---------------เพราะอินทรีย์ ย่อหย่อนกว่านั้น ผู้ปฎิบัติย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี----------------------เพราะอินทรีย์ทั้งหลายย่อหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฎิบัติย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี----------------------- เพราะอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฎิบัติย่อมเป็น อสังขาปรินิพพายี----------------------เพราะอินทรีย์ทั้งหลายย่อหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฎิบัติย่อมเป็น อุทธํโสโตอกนิฎฐคามี----------------เพราะอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฎิบัติย่อมเป็น สกทาคามี-------------------เพราะอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฎิบัติย่อมเป็น เอกพีชี-------------------เพราะอินทรียืทั้งหลาย ย่อหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฎิบัติย่อมเป็น โกลังโกละ----------------เพราะอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อหย่อนกว่านั้นอีก ผุ้ปฎิบัติย่อมเป็น สัตตักขัตตุปรมะ----------------------เพราะอินทรีย์ทั้งหลายย่อหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฎิบัติย่อมเป็น ธัมมานุสารี-----------------เพราะอินทรีย์ทั้งหลายย่อหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฎิบัติย่อมเป็น สัทธาานุสารี----ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล ความต่างแห่งผลย่อมมี เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ เพราะความต่างแห่งผล จึงมีความต่างแห่งบุคคลแล-----------------ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นอันว่า ผู้กระทำให้บริบูรณ์ ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ผู้กระทำได้บางส่วนก็ทำให้สำเร็จได้บางส่วน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าอินทรีย์ทั้งหลายห้า ย่อมไม่เป็นหมันเลยดังนี้แล----มหาวาร.สํ.19/271/899-900.:cool:
     
  5. k_pe

    k_pe สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +18
    จริตนั้นแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 6 ประเภท หรือ 6 จริต คือ

    ๑.ราคจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางราคะ รักสวยรักงาม ละมุนละไม ชอบสิ่งที่สวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อยๆ สัมผัสที่นุ่มละมุน และจิตใจจะยึดเกาะกับสิ่งเหล่านั้นได้เป็นเวลานานๆ
    ๒.โทสจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางโทสะ ใจร้อน วู่วาม หงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง โผงผาง เจ้าอารมณ์
    ๓.โมหจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางโมหะ เขลา เซื่องซึม เชื่อคนง่าย งมงาย ขาดเหตุผล มองอะไรไม่ทะลุปรุโปร่ง
    ๔.วิตักกจริต หรือวิตกจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางฟุ้งซ่าน คิดเรื่องนี้ทีเรื่องนั้นที เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่สามารถยึดเกาะกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
    วิตก แปลว่าการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือการเพ่งจิตสู่ความคิดในเรื่องต่างๆ ไม่ได้หมายถึงความกังวลใจ วิตกจริตจึงหมายถึง ผู้ที่เดี๋ยวยกจิตสู่เรื่องโน้น เดื๋ยวยกจิตสู่เรื่องนี้ ไม่ตั้งมั่น ไม่มั่นคงนั่นเอง
    ๕.ศรัทธาจริต หรือสัทธาจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางศรัทธา น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสได้ง่าย ซึ่งถ้าเลื่อมใสในสิ่งที่ถูกก็ย่อมเป็นคุณ แต่ถ้าไปเลื่อมใสในสิ่งที่ผิดก็ย่อมเป็นโทษต่างจากโมหจริตตรงที่โมหจริตนั้นเชื่อแบบเซื่องซึม ส่วนศรัทธาจริตนั้นเชื่อด้วยความเลื่อมใส เบิกบานใจ
    ๖.ญาณจริต หรือพุทธิจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางชอบคิด พิจารณาด้วยเหตุผลอย่างลึกซึ้ง ชอบใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่เชื่ออะไรโดยไม่มีเหตุผล

    โดยความเป็นจริงแล้ว คนเรามักมีจริตมากกว่า 1 อย่างผสมกัน เช่น ราคโทสจริต ราคโมหจริต โทสโมหจริต ราคโทสโมหจริต สัทธาพุทธิจริต สัทธาวิตกจริต พุทธิวิตกจริต สัทธาพุทธิวิตกจริต เป็นต้น เมื่อรวมกับจริตหลัก 6 ชนิด จึงได้เป็นบุคคล 14 ประเภท หรือ 14 จริต

    ซึ่งบุคคลแต่ละจริตก็เหมาะที่จะทำกรรมฐานแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป
    หากว่าเราท่านสามารถ ตัดจริตที่ตรงกับจริตของเราจริงๆที่ฝั่งแน่นอยู่ในจิตใจได้ จริตด้านอื่้นๆก็ไม่ต้องพูดถึง จะคลายและหมดสิ้นไปเอง.

    พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ใน พระคิริมานนทสูตรตอนหนึ่งว่า...
    "ดูกรอานนท์ ปุถุชนคนหนาทั้งหลายที่ปรารถนาพระนิพพานได้ด้วยยากนั้น ก็เพราะเหตุที่ไม่รู้จักดับกิเลสตัณหา เข้าใจ
    เสียว่าทำบุญทำกุศลให้มากแล้ว บุญกุศลนั้นจักเลื่อนลอยมาจากอากาศเวหา นำตัวขึ้นไปสู่พระนิพพาน ส่วนว่าพระนิพพานนั้นจะ
    อยู่แห่งหนตำบลใด ก็หารู้ไม่ เป็นแต่คาดคะเนเอาอย่างนั้น จึงได้พระนิพพานด้วยยาก แท้ที่จริงพระนิพพานนั้นไม่มีอยู่ในที่อื่น
    ไกลเลย หากมีอยู่ที่จิตใจนั้นเอง ครั้นดับ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิได้ขาดแล้ว ก็ถึงพระนิพพานเท่านั้น ถ้าไม่รู้แลดับ
    กิเลสตัณหายังไม่ได้เป็นแต่ปรารถนาว่าขอให้ได้ พระนิพพานดังนี้ แม้สิ้นหมื่นชาติแสนชาติก็ไม่ได้พบประเลย เพราะ
    กิเลสตัณหาทั้งหลายย่อมมีอยู่ที่ตัวตนของเราทั้งสิ้น เมื่อตัวไม่รู้จักระงับ กิเลสตัณหาที่มีอยู่ให้หมดไป ก็ไม่ได้ไม่ถึง
    เท่านั้น จะคอยท่าให้บุญกุศลมาช่วยระงับดับกิเลสของตัว เช่นนี้ ไม่ใช่ฐานะที่จะพึงคิด บุญกุศลนั้นก็คือตัวเรานี้เอง เรานี่
    แหละจะเป็นผู้ระงับดับกิเลสให้สิ้นไป หมดไป จึงจะสำเร็จได้สมประสงค์"


    "ดูกรอานนท์ ปุถุชนคนเขลาทั้งหลายที่ได้ถึงพระนิพพานด้วยยากนั้น เพราะเขาปรารถนาเปล่าๆ จึงไม่ได้ไม่ถึง
    เขาไม่รู้ว่าพระนิพพานอยู่ที่ในใจเขา มีแต่คิดในใจว่าจะไปเอาในชาติหน้า หารู้ไม่ว่านรก แลสวรรค์ และพระนิพพานมีอยู่
    ในตน เหตุฉะนั้นจึงพากันตกทุกข์ได้ยากลำบากยิ่งนัก พากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้ ถือเอากำเนิดในภพ
    น้อยภพใหญ่อยู่ไม่มีที่สิ้นสุด
    "

    **สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดนั้นก็คือเราท่าน ต้องปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง โดยใช้ สติ ปัญญา พิจารณา ให้เห็นเด่นชัดตามความเป็นจริง ตามคำสอนของพระพุทธองค์ จงมั่นใจได้ว่า ผม หรือ ท่าน คงหมดสิ้นซึ่งความ สงสัย ไปในที่สุด ขอบพระคุณ...อนุโมทนากับทุกๆท่านด้วยนะครับ ที่เข้ามาร่วมแชร์** สาธุ..
     
  6. k_pe

    k_pe สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +18
    พระธรรม คำสอน ในทุกๆบททุกตอน ควรสอดคล้อง และ เข้ากันได้ ไม่ขัดแย้งกัน ในพระธรรมทั้งหลายตาม พุทธวจนะ ของพระพุทธเจ้า...
    กราบ...อนุโมทนา สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...